วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2019, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๙. สัปยุตปัจจัย



แสดงปัจจยทุกะ ๓ หมวด

ปัจจยทุกะ ๓ หมวด เหล่านี้ คือ

สัมปยุตปัจจัย
วิปยุตปัจจัย

อัตถิปัจจัย
นัตถิปัจจัย

วิคตปัจจัย
อวิคตปัจจัย


ย่อมไม่มีความแตกต่างกันแห่งปัจจัย เป็นแผนกหนึ่งสำหรับปัจจยทุกะ ๓ หมวด เหล่านี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้เพื่อแสดงว่า บรรดาปัจจัยทั้งหลายที่มาแล้วในกาลก่อน ปัจจัยทั้งหลายบางพวก ย่อมเป็นสัมปยุต(ประกอบได้)กับปัจจยุบันธรรมทั้งหลายของตน ย่อมเข้าถึงซึ่งความเป็นปัจจัย, ปัจจัยทั้งหลายบางพวกเป็นวิปยุต(ประกอบไม่ได้) ย่อมเข้าถึงซึ่งความเป็นปัจจัย, ปัจจัยทั้งหลายบางพวกเป็นอัตถิ(มีอยู่) ย่อมเข้าถึงซึ่งความเป็นปัจจัย ปัจจัยทั้งหลายบางพวกเป็นนัตถิ(ไม่มีอยู่) ย่อมเข้าถึงซึ่งความเป็นปัจจัย ปัจจัยทั้งหลายบางพวกเป็นวิคตะ(ไปปราศแล้ว) ย่อมเข้าถึงซึ่งความเป็นปัจจัย ปัจจัยทั้งหลายบางพวกเป็นอวิคตะ(ยังไม่ปราศ)ย่อมเข้าถึงซึ่งความเป็นปัจจัย.


แสดงพระบาลีที่แสดงความแตกต่างกันของสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิทั้งสอง แห่งอัตถิศัพท์และนัตถิศัพท์

จะกล่าวต่อไป ในอธิการนี้
อัตถิศัพท์ย่อมเป็นไปในสัสสตวาทะ, นัตถิศัพท์ ย่อมเป็นไปในอุจเฉทวาทะ ในฐานะทั้งหลายเห็นปานนี้ คือ

๑. ที่สุดข้างหนึ่งของอาจารย์บางพวกก็คือ อัตถิศัพท์
๒. ที่สุดข้างที่สองของอาจารย์บางพวกก็คือ นัตถิศัพท์

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัส วิคตทุกะไว้อีก เพื่อจะห้ามเนื้อความทั้งหลายเห็นปานนี้.



แสดงสรุปปัจจัยธรรมกับปัจจยุบันธรรมของสัมปยุตปัจจัย

จิต เจตสิกธรรมทั้งหลายแม้ทั้งปวง ที่เกิดขึ้นร่วมกันย่อมเป็นทั้งปัจจัยธรรมและปัจจยุบันธรรมแก่กันและกัน



แสดงเนื้อความแห่งสัมปยุตศัพท์

ถามว่า ที่ชื่อว่า สัมปยุต เพราะมีความหมายอย่างไร?
ตอบว่า ที่่ชื่อว่า สัมปยุต เพราะมีความหมายว่า มาตามพร้อม ประกอบ เข้าถึง ความเป็นอย่างเดียวกันด้วยสัมปโยคะทั้ง ๔ ประการ เหล่านี้ คือ

๑. ความเกิดขึ้นร่วมกัน (เอกุปปาทตา)
๒. ความดับลงพร้อมกัน (เอกนิโรธตา)
๓. ความมีที่อาศัยคือวัตถุอย่างเดียวกัน (เอกวัตถุกถา)
๔. ความมีอารมณ์อย่างเดียวกัน (เอการัมมณตา)



แสดงอธิบายถ้อยคำที่ว่า เข้าถึงความเป็นอย่างเดียวกัน ดังนี้

ในถ้อยคำนั้น คำว่า เข้าถึงความเป็นอย่างเดียวกัน บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ ดังต่อไปนี้
จักขุวิญญาณจิต ย่อมเข้าถึง ความร่วมกัน, เป็นอย่างเดียวกัน, เป็นขบวนการเดียวกัน, เป็นหมวดเดียวกัน กับเจตสิกธรรม ๗ ประการ มี ผัสสะ เป็นต้น, ย่อมเข้าถึงโวหารอย่างเดียวกันว่า เห็น ธรรมทั้ง ๘ ประการนี้ ย่อมไม่เข้าถึงโวหารอย่างอื่นๆ ย่อมไม่สามารถที่จะแยกออกแสดงให้รู้ได้, และในจิตตุบาททั้งปวงที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบตามนัยนี้แล.



จบการแสดงสัมปยุตปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2019, 05:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐. วิปยุตปัจจัย


แสดงประเภทของวิปยุตปัจจัย

วิปยุตปัจจัยมี ๔ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตวิปยุตปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตวิปยุตปัจจัย
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปยุตปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตปัจจัย


แสดงสภาวะแห่งปัจจัยธรรมกับปัจจยุบันธรรมของสหชาตวิปยุตปัจจัย

บรรดาปัจจัยทั้ง ๔ เหล่านั้น

ในนามธรรมและรูปธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสหชาตปัจจัยกับสหชาตปัจจยุบันธรรมทั้ง ๒ ที่ชื่อว่า สหชาตวิปยุตปัจจัย ก็คือ นามธรรมเป็นวิปยุต ช่วยอุปการะแก่รูปธรรม หรือว่า รูปธรรมเป็นวิปยุตช่วยอุปการะแก่นามธรรมในสหชาตวิปยุตปัจจัยนั้น บทว่า นามธรรม หมายถึง นามขันธ์ ๔ อย่าง ที่เป็นไปในปวัตติกาล

บทว่า แก่รูปธรรม หมายถึง แก่จิตตชรูปปัจจยุบันธรรม
บทว่า รูปธรรม หมายถึง หทยวัตถุรูป ในปฏิสนธิกาล
บทว่า แก่นามธรรม หมายถึง แก่ปฏิสนธินามขันธ์ ๔ อย่าง

วิปยุตปัจจัยแม้ทั้ง ๓ ที่เหลือจาก สหชาตวิปยุตปัจจัย บัณฑิตพึงทราบ ตามที่ข้าพเจ้าได้จำแนกไว้แล้วในตอนต้นนั่นเอง



จบการแสดงวิปยุตปัจจัย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 14 ธ.ค. 2019, 23:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2019, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๑. อัตถิปัจจัย



แสดงประเภทของอัตถิปัจจัย
อัตถิปัจจัยมีอยู่ ๗ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตัตถิปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๓. อารัมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๔. วัตถารัมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๕. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๖. รูปาหารัตถิปัจจัย
๗. รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย


แสดงความเหมือนกันของอัตถิปัจจัย ๗ หมวด ตามนัยที่แสดงไว้แล้วในตอนต้น

บรรดาปัจจัยทั้ง ๗ เหล่านั้น สหชาตปัจจัยนั่นเอง ชื่อว่า สหชาตัตถิปัจจัย, ในอัตถิปัจจัยทั้ง ๖ ที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบตามนัยนี้เถิด แม้การแสดงจำแนกปัจจัยธรรมและปัจจยุบันธรรม บัณฑิตพึงทราบตามนัยที่ข้าพเจ้าได้กล่าวเอาไว้แล้วในตอนต้น ในปัจจัยนั้นๆ เถิด


แสดงเนื้อความแห่งอัตถิศัพท์
ถามว่า ที่ชื่อว่า อัตถิปัจจัยเพราะหมายความอย่างๆร
ตอบว่า ที่ชื่อว่า อัตถิปัจจัย เพราะหมายความว่า ตนเองเป็นปัจจัยที่ช่วยอุปการะแก่ปัจจยุบันธรรมโดยสภาวะที่มีอยู่ กล่าวคือ ขณิกปัจจยุบัน



จบการแสดงอัตถิปัจจัย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 14 ธ.ค. 2019, 23:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2019, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๒. นัตถิปัจจัย
๒๓. วิคตปัจจัย
๒๔. อวิคตปัจจัย


แสดงความเหมือนกันระหว่างปัจจัยทั้ง ๒ คือ

นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย กับอนันตรปัจจัย และความเหมือนกันระหว่างอัตถิปัจจัยกับอวิคตปัจจัย

อนันตรปัจจัยทั้งหมดชื่อว่า นัตถิปัจจัย และชื่อว่าวิคตปัจจัยเหมือนกัน แม้อวิคตปัจจัยก็เป็นเช่นเดียวกันทั้งหมดกับอัตถิปัจจัย ศัพท์ว่า อัตถิและศัพท์ว่า อวิคต ว่าโดยความหมายก็เป็นอย่างเดียวกันนั่นเอง ศัพท์ว่า นัตถิ และศัพท์ว่า วิคต ว่าโดยความหมายก็เป็นอย่างเดียวกันเหมือนกัน



จบการแสดงนัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอวิคตปัจจัย

จบการแสดงไขปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2019, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจยสภาคะ


แสดงการจำแนกปัจจัยออกเป็นหมวดๆ โดยชื่อว่ามหาสหชาตปัจจัย
มัชฌิมสหชาตปัจจัย และขุททกสหชาตปัจจัยในปัจจัยสภาคะ

ข้าพเจ้าจะกล่าวปัจจัยสภาคะที่เป็นนยะที่รวบรวมปัจจัยที่มีความเหมือนกันโดยสภาวะ
สหชาติกะปัจจัยมีอยู่ ๑๕ ปัจจัย คือ

มหาสหชาตปัจจัย ๔
มัชฌิมสหชาตปัจจัย ๔
ขุททกสหชาตปัจจัย ๗

บรรดาสหชาตปัจจัยทั้ง ๑๕ นั้น ธรรมดาว่า มหาสหชาตปัจจัยมี ๔ คือ

๑. สหชาตปัจจัย
๒. สหชาตนิสสยปัจจัย
๓. สหชาตัตถิปัจจัย
๔. สหชาตอวิคตปัจจัย

มัชฌิมสหชาตปัจจัยก็มี ๔ คือ

๑. อัญญมัญญปัจจัย
๒. วิปากปัจจัย
๓. สัมปยุตปัจจัย
๔. สหชาตวิปยุตปัจจัย

และขุททกสหชาตปัจจัยมี ๗ คือ

๑. เหตุปัจจัย
๒. สหชาตาธิปติปัจจัย
๓. สหชาตกัมมปัจจัย
๔. สหชาตอาหารปัจจัย
๕. สหชาตินทริยปัจจัย
๖. ฌานปัจจัย
๗. มัคคปัจจัย



แสดงรูปอาหารปัจจัย ๓ ปัจจัย
รูปอาหารปัจจัยมีอยู่ ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปอาหารปัจจัย
๒. รูปอาหารัตถิปัจจัย
๓. รูปอาหาราวิคตปัจจัย



แสดงรูปชีวิตินทริยปัจจัย ๓ อย่าง

๑. รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๒. รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย
๓. รูปชีวิตินทริยาวิคตปัจจัย



แสดงสภาวะของปุเรชาตปัจจัย ๑๗ อย่าง

ปุเรชาติกปัจจัย มีอยู่ ๑๗ ปัจจัย คือ
วัตถุปุเรชาต ๖ ปัจจัย
อารัมณปุเรชาต ๖ ปัจจัย
วัตถารัมณปุเรชาต ๕ ปัจจัย

บรรดาปุเรชาต ๑๗ อย่างเหล่านี้ ธรรมดาว่า วัตถุปุเรชาตมีอยู่ ๖ ปัจจัย คือ
๑. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๓. วัตถุปถเรชาตินทริยปัจจัย
๔. วัตถุปุเรชาตวิปยุตปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2019, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงสปัจจยสังขตปฏิจจสมุปันธรรมพร้อมทั้งอธิบายปัจจัยฆฏนานัยโดยย่อ


ข้าพเจ้าจะกล่าว ปัจจัยฆฏนานัยต่อไป
การรวมปัจจัยหลายปัจจัยธรรมรวมไว้ในปัจจยุบันธรรมแต่ละอย่างชื่อว่าปัจจัยฆฏนา

ก็ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ที่ท่านเรียกว่า สปัจจัย ก็เพราะเกิดขึ้นมากับด้วยเหตุธรรม ที่ท่านเรียกว่า สังขต ก็เพราะ ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยธรรม และที่ท่านเรียกว่า ปฏิจจสมุปันธรรมก็เพราะอาศัยเหตุธรรมเกิดขึ้นมา ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวง ชื่อว่า สปัจจยะก็เพราะประกอบด้วยปัจจัย ๒๔ เหล่านี้ ทั้งในอุปาทักขณะ(เวลากำลังเกิดขึ้น) ทั้งในฐีติขณะ(เวลากำลังตั้งอยู่) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สปัจจยสังขตปฏิจจสมุปันธรรม

ถามว่า ก็สปัจจัยสังขตปฏิจจสมุปันธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน?
ตอบว่า สปัจจัยสังขตปฏิจจสมุปันธรรมเหล่านั้นก็คือ จิต ๑๒๑ ดวง เจตสิก ๕๒ ประการ และรูป ๒๘ ประการ นั่นเอง


แสดงการจำแนกจิต ๑๒๑ โดย วิญญาณธาตุ ๗

บรรดาจิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ และรูป ๒๘ เหล่านั้น จิต ๑๒๑ ย่อมมี ๗ อย่างด้วยอำนาจแห่งธาตุคือ

๑. จักขุวิญญาณธาตุ
๒. โสตวิญญาณธาตุ
๓. ฆานวิญญาณธาตุ
๔. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๕. กายวิญญาณธาตุ
๖. มโนธาตุ
๗. มโนวิญญาณธาตุ

ธรรมดาวิญญาณธาตุทั้ง ๗ อย่างนั้น

จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง ชื่อว่า จักขุวิญญาณธาตุ
โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง ชื่อว่า โสตวิญญาณธาตุ
ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง ชื่อว่า ฆานวิญญาณธาตุ
ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง ชื่อว่า ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายวิญญาณจิต ๒ ดวง ชื่อว่า กายวิญญาณธาตุ
ปัญจทวาราวัชนจิต ๑ ดวง สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง ชื่อว่า มโนธาตุ
จิต ๗๖ หรือ ๑๐๘ ดวงที่เหลือ ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ


แสดงการจำแนกเจตสิก ๕๒ โดยแบ่งเป็น ๔ หมวด

เจตสิก ๕๒ ประการ ย่อมมี ๔ โดยการจำแนกเป็นหมวด คือ

๑. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๒. ปกิณณกเจตสิก ๖
๓. ปาปเจตสิก ๑๔
๔. กัลยาณเจตสิก ๒๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2019, 01:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็บรรดาปัจจัย ๒๔ ปัจจัยที่มีทั่วไปแก่จิตตุบาททั้งปวงมีอยู่ ๑๕ ปัจจัย คือ

๑. อารัมณปัจจัย
๒. อนันตรปัจจัย
๓. สมนันตรปัจจัย
๔. สหชาตปัจจัย
๕. อัญญมัญญปัจจัย
๖. นิสสยปัจจัย
๗. อุปนิสสยปัจจัย
๘. กัมมปัจจัย
๙. อาหารปัจจัย
๑๐. อินทริยปัจจัย
๑๑. สัมปยุตปัจจัย
๑๒. อัตถิปัจจัย
๑๓. นัตถิปัจจัย
๑๔. วิคตปัจจัย
๑๕. อวิคตปัจจัย

ความจริงจิตบางดวงหรือเจตสิกบางประการ เว้นจากอารัมมณปัจจัยเสียชื่อว่าไม่มีความสามารถเกิดขึ้นได้ เหมือนอย่างนั้น เว้นจากปัจจัยทั้งหลายมีอนันตรปัจจัยเป็นต้น ก็ชื่อว่าไม่มีความสามารถเกิดขึ้นได้เหมือนกัน

ก็ปัจจัยที่สามารถเกิดได้ทั่วไปแก่จิตตุปาท
บางเหล่ามีอยู่ ๘ ปัจจัย
ถามว่า ๘ ปัจจัย อะไรบ้าง?
ตอบว่า ๘ ปัจจัย คือ

๑. เหตุปัจจัย
๒. อธิปติปัจจัย
๓. ปุเรชาตปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย
๕. วิปากปัจจัย
๖. ฌานปัจจัย
๗. มัคคปัจจัย
๘. วิปยุตปัจจัย

บรรดาปัจจัยทั้ง ๘ เหล่านั้น เหตุปัจจัยเกิดขึ้นได้ทั่วไปแก่สเหตุกจิตตุบาทเท่านั้น(การเกิดขึ้นของจิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยเหตุมีโลภะ โทสะ โมหะเป็นต้น)

อธิปติปัจจัย เกิดขึ้นได้ทั่วไปแก่ สาธิปติชวนจิตทั้งหลายเท่านั้น(ชวนจิตที่เกิดพร้อมกับอธิปติ)

ปุเรชาตปัจจัยเกิดขึ้นทั่วไปแก่จิตตุบาททั้งหลายบางพวกเท่านั้น

อาเสวนปัจจัยเกิดขึ้นทั่วไปแก่กุศล อกุศลและกิริยาชวนะทั้งหลายเท่านั้น

วิปากปัจจัยเกิดขึ้นทั่วไป แก่วิปากจิตตุบาททั้งหลายเท่านั้น

ฌานปัจจัยเกิดขึ้นได้ทั่วไปแก่มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุจิตตุบาททั้งหลายเท่านั้น

มัคคปัจจัยเกิดขึ้นได้ทั่วไปแก่สเหตุกจิตตุบาททั้งหลายเท่านั้น

วิปยุตปัจจัยย่อมไม่มีความสามารถเกิดขึ้นแก่จิตตุบาททั้งหลายที่กำลังเป็นไปในอรูปภูมิและ

ปัจฉาชาตปัจจัยเดียวย่อมเป็นปัจจัยที่เป็นแผนกหนึ่งแห่งรูปธรรมทั้งหลายเท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2019, 01:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงปัจจยฆฏนานัยที่กล่าวถึงการจำแนกโดยปัจจัยทั้งหลาย
สัพพจิตสาธารณเจตสิกที่ประกอบกับจิต

ในปัจจัยฆฏนานัยนั้นมีการแสดงไขดังต่อไปนี้ ชื่อว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๘ ประการ คือ

๑. ผัสสเจตสิก
๒. เวทนาเจตสิก
๓. สัญญาเจตสิก
๔. เจตนาเจตสิก
๕. เอกัคคตาเจตสิก
๖. ชีวิตินทรีย์เจตสิก
๗. มนสิการเจตสิก

ในอธิการนั้น จิตเป็นอธิปติปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทริยปัจจัย
ผัสสเจตสิก เป็นอาหารปัจจัย
เวทนาเจตสิกเป็นอินทริยปัจจัย และฌานปัจจัย
เจตนาเจตสิก เป็นกัมมปัจจัย และอาหารปัจจัย
เอกัคคตาเจตสิก เป็นอินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย
ชีวิตินทรีย์เจตสิก เป็นอินทริยปัจจัย

เจตสิกธรรม ๒ ประการที่เหลือคือสัญญาเจตสิก และมนสิการเจตสิกย่อมไม่เป็นวิเสสปัจจัย(ไม่ได้แสดงไว้โดยความเป็นปัจจัยอะไรๆ)

สัพพจิตสาธารณเจตสิก ๗ ประการ ย่อมหาได้ในจักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง จึงมีนามธรรม ๘ ประการกับด้วยจักขุวิญญาณจิต นามธรรม ๘ ประการเหล่านั้นย่อมช่วยทำอุปการะแก่กันและกันโดยปัจจัย ๗ ปัจจัย คือ มหาสหชาตปัจจัย ๔ ปัจจัย และมัชฌิมสหชาตปัจจัย ๓ ปัจจัยเว้นวิปยุตปัจจัย บรรดาธรรมทั้ง ๘ ประการเหล่านั้น จักขุวิญญาณจิตย่อมช่วยอุปการะแก่ธรรมทั้ง ๗ ประการที่เหลือโดยอำนาจแห่งอาหารปัจจัยและอินทริยปัจจัย

ผัสสเจตสิกย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งอาหารปัจจัย
เวทนาเจตสิกย่อมช่วยอุปการด้วยเพียงอำนาจอินทริยปัจจัย
เจตนาเจตสิกย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งกัมมปัจจัยและอาหารปัจจัย
เอกัคคตาเจตสิกย่อมช่วยอุปการะด้วยเพียงอินทริยปัจจัย

ชีวิตินทรีย์เจตสิกย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งอินทริยปัจจัยแก่นามธรรมทั้ง ๗ ประการที่เหลือ ก็จักขุวัตถุรูปย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งวัตถุปุเรชาตปัจจัย ๖ อย่างแก่นามธรรมทั้ง ๘ ประการนั้น ในจักขุวัตถุรูปนั้น รูปารมณ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบันมาสู่คลองแล้วเท่านั้น ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งอารัมมณปุเรชาตปัจจัย ๔ อย่าง แก่นามธรรมทั้ง ๘ ประการเหล่านั้น ปัญจทวารวัชชนจิตที่ดับไปก่อนจักขุวิญญาณจิตที่เกิดติดต่อกันย่อมช่วยอุปการโดยอนันตรปัจจัย ๕ อย่างแก่นามธรรมทั้ง ๗ ประการ กุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ที่ตนเคยทำไว้แล้วในกาลก่อนย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งนานาขณิกกัมมปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุจิตตุบาทที่เป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก อวิชชา ตัณหา อุปาทานทั้งหลายที่เป็นสหายแห่งกรรมในภพก่อน และอาวาส บุคคล อุตุ โภชนะเป็นต้น ในภพนี้ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งปกตูปนิสสยปัจจัยแก่นามธรรมทั้ง ๘ ประการเหล่านี้

ปัจจัย ๖ ปัจจัย คือ ๑. เหตุปัจจัย ๒. อธิปติปัจจัย ๓. ปัจฉาชาตปัจจัย ๔. อาเสวนปัจจัย ๕. ฌานปัจจัย ๖. มัคคปัจจัย ย่อมหาไม่ได้ในจักขุวิญญาณจิตนี้

๑๘ ปัจจัยที่เหลือย่อมหาได้และบัณฑิตพึงทราบว่า ปัจจัย ๖ ปัจจัยย่อมหาไม่ได้ในโสตวิญญาณจิตเป็นต้น
หาได้เฉพาะปัจจัย ๑๘ ที่เหลือเหมือนอย่างที่กล่าวไว้แล้วในจักขุวิญญาณจิตนี้เถิด.



จบการแสดงปัจจยฆฏนานัยในปัญจวิญญาณจิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2019, 01:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงการจำแนกปัจจัยทั้งหลายในปกิณณกเจตสิก ๖ ประการ โดยย่อ

ธรรมดาว่า ปกิณณกเจตสิกมี ๖ ประการ คือ

๑. วิตกเจตสิก
๒. วิจารเจตสิก
๓. อธิโมกข์เจตสิก
๔. วิริยะเจตสิก
๕. ปีติเจตสิก
๖. ฉันทะเจตสิก

บรรดาปกิณณกเจตสิก ๖ ประการเหล่านั้น

วิตกเจตสิก เป็นฌานปัจจัยและมัคคปัจจัย
วิจารเจตสิก เป็นฌานปัจจัย
วิริยเจตสิก เป็นอธิปติปัจจัย อินทริยปัจจัย และ มัคคปัจจัย
ปีติเจตสิก เป็นฌานปัจจัย
ฉันทะเจตสิก เป็นอธิปติปัจจัย
ส่วนอธิโมกข์เจตสิก ไม่เป็นวิเสสปัจจัย



แสดงปัจจยฆฏนาในปัญจทวาราวัชชนะ สัมปฏิจฉนะ และสันตีรณจิตตุบาททั้งหลาย

เจตสิก ๑๐ ประการนี้คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๘ ประการและวิตกเจตสิก วิจารเจตสิก และอธิโมกข์เจตสิกในปกิณณกเจตสิกทั้งหลายย่อมหาได้ในจิต ๕ ดวง คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ และอุเบกขาสันตีรณจิต ๒ แต่ละดวงมีนามธรรม ๑๑ ประการ รวมกับจิต ในจิตเหล่านี้ย่อมหาฌานกิจได้ เวทนาเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก วิตกเจตสิก และวิจารเจตสิกย่อมให้สำเร็จอำนาจแห่งฌานปัจจัย

แต่ว่าปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นกิริยาจิตจึงไม่มีวิปากปัจจัย นานาขณิกกัมมปัจจัยย่อมตั้งอยู่ในฐานะแห่งอุปนิสสยปัจจัย ปัจจัย ๖ รวมกับวิปากปัจจัยหาไม่ได้ ย่อมหาได้ ๑๘ ปัจจัย รวมกับฌานปัจจัย

๕ ปัจจัยย่อมหาไม่ได้ในสัมปฏิจฉนะและสันตีรณวิปากจิต ๔ ดวงที่เหลือ จึงหาปัจจัยได้ ๑๙ ปัจจัยรวมกับวิปากปัจจัยและฌานปัจจัย



แสดงปัจจยฆฏนานัยในโสมนัสสันตีรณะ มโนทวาราวัชชนะ และหสิตุบาทจิตทั้งหลาย

เจตสิก ๑๑ ประการรวมกับปีติย่อมประกอบในโสมนัสสันตีรณจิต
เจตสิก ๑๑ ประการ รวมกับวิริยะย่อมประกอบในมโนทวาราวัชชนจิตเพราะเหตุนั้นรวมจิตเข้าด้วยจึงมีนามธรรม ๑๒ ประการ

อนึ่งเจตสิก ๑๒ ประการรวมกับปีติเจตสิกและวิริยะเจตสิกย่อมประกอบในหสิตุบาทจิตรวมกับจิตจึงมีนามธรรม ๑๓ ประการ ในธรรมเหล่านั้น

เพียงแต่ปีติย่อมถือเป็นประมาณในองค์ฌานทั้งหลายในโสมนัสสันตีรณจิต ย่อมหาปัจจัยไม่ได้ ๕ ปัจจัยเหมือนในอุเบกขาสันตีรณจิต ๒ ดวงข้างตน จึงหาปัจจัยได้ ๑๙ ปัจจัย

และเพียงแต่วิริยเจตสิกเท่านั้นถือเป็นประมาณในมโนทวาราวัชชนจิต และวิริยเจตสิกนั้นย่อมให้สำเร็จอินทริยกิจและฌานกิจ ย่อมไม่ให้สำเร็จอธิปติกิจและมัคคกิจ และย่อมไม่มีวิปากปัจจัยเพราะเป็นกิริยาจิต ย่อมหาปัจจัยไม่ได้ ๖ ปัจจัย รวมกันกับวิปากปัจจัยเหมือนในปัญจทวาราวัชชนจิตข้างต้น ย่อมหาปัจจัยได้ ๑๘ ปัจจัยรวมกันกับฌานปัจจัย

แม้ในหสิตุบาทจิตย่อมไม่มีวิปากปัจจัยเพราะเป็นกิริยาจิตแต่เพราะเป็นชวนจิตจึงมีอาเสวนปัจจัย ย่อมหาปัจจัยไม่ได้ ๕ ปัจจัยรวมกับวิปากปัจจัย หาได้ ๑๙ ปัจจัยรวมกับอาเสวนปัจจัย



ปัจจยฆฏนานัยในอเหตุกจิตตุบาททั้งหลายจบแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2019, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงปัจจยฆฏนานัยในอกุศลจิตและอกุศลเจกสิกโดยสรุป



แสดงการถอนออกซึ่งอกุศลจิตและอกุศลเจตสิกโดยสรุป

อกุศลจิตมี ๑๒ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒

อกุศลเจตสิกมี ๑๔ ประการคือ

เจตสิก ๔ ประการเหล่านี้คือ โมหเจตสิก ๑ อหิริกเจตสิก ๑ อโนตตัปปะเจตสิก ๑ อุทธัจจเจตสิก ๑ ชื่อว่าโมจตุกะ

เจตสิก ๓ ประการคือ โลภเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑ มานะเจตสิก ๑ ชื่อว่า โลติกะ

เจตสิก ๔ ประการเหล่านี้คือ โทสเจตสิก ๑ อิสสาเจตสิก ๑ มัจฉริยเจตสิก ๑ และ กุกกุจจะเจตสิก ๑ ชื่อว่า โทจตุกะ

เจตสิก ๓ ประการเปล่านี้คือ ถีนเจตสิก ๑ มิทธเจตสิก ๑ และวิจิกิจฉาเจตสิก ๑ ชื่อว่า วิสุติกะ



แสดงความเป็นปัจจัยแห่งอกุศลเจตสิก

บรรดาอกุศลเจตสิกเหล่านั้น มูลธรรม ๓ ประการเหล่านี้คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ เป็นเหตุปัจจัย

ทิฏฐิเจตสิกเป็นมัคคปัจจัย

เจตสิก ๑๐ ประการที่เหลือชื่อว่าย่อมไม่เป็นวิเสสปัจจัย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 21 ธ.ค. 2019, 02:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2019, 01:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงปัจจัยฆฏนานัยในโมหมูลจิตตุบาททั้งหลาย


บรรดาอกุศลจิต ๑๒ ดวงเหล่านั้น ธรรมดาว่าโมหมูลจิตมี ๒ ดวงคือ จิตที่ประกอบด้วยวิจิกิจฉาเจตสิก ๑ ดวง จิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจเจตสิก ๑ ดวง บรรดาโมหมูลจิตเหล่านั้นในจิตที่ประกอบกับวิจิกิจฉาเจตสิก มีเจตสิกเกิดขึ้น ๑๕ ประการ คือ สัพพจิตสาธารณเจตสิก ๗ ประการ ปกิณณกเจตสิก ๓ ประการ คือ วิตกเจตสิก ๑ วิจารเจตสิก ๑ และวิริยเจตสิก ๑ และในอกุศลจิตทั้งหลาย โมจตุกะเจตสิก ๔ ประการและวิจิกิจฉาเจตสิก ๑ รวมกับจิตที่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ๑ จึงมีนามธรรม ๑๖ ประการ

และในวิจิกิจฉาสัมปยุตจิตนี้ย่อมหาได้ทั้งเหตุปัจจัย ทั้งมัคคปัจจัย บรรดานามธรรม ๑๖ ประการเหล่านั้นสำหรับโมหเจตสิกเป็นเหตุปัจจัย ส่วนวิตกเจตสกและวิริยะเจตสิกเป็นมัคคปัจจัย ส่วนเอกัคคตาเจตสิกเพราะถูกวิจิกิจฉาประทุษร้ายแล้วจึงไม่สำเร็จทั้งอินทริยกิจ ทั้งมัคคกิจ ในวิจิกิจฉาสัปยุตนี้จิตนี้ ย่อมให้สำเร็จเพียงฌานกิจ และย่อมหาปัจจัยไม่ได้ ๓ ปัจจัยคือ ๑. อธิปติปัจจัย ๒. ปัจฉาชาตปัจจัย ๓. วิปากปัจจัย ย่อมหาปัจจัยได้ ๒๑ ปัจจัยที่เหลือ แม้ในอุทธัจจสัปยุตจิตเพราะละวิจิกิจฉาเจตสิกจึงมีเจตสิกเกิด ๑๕ ประการเท่านั้นรวมทั้งอธิโมกขเจตสิกด้วย จึงมีนามธรรม ๑๖ ประการเท่านั้น และในอุทธัจจะสัมปยุตตจิตนี้ เอกัคคตาเจตสิกย่อมให้สำเร็จอินทริยกิจ ฌานกิจ และมัคคกิจ ย่อมหาปัจจัยไม่ได้ ๒ ปัจจัย หาได้ ๒๑ ปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2019, 14:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงปัจจยฆฏนานัยในโลภมูลจิตตุบาททั้งหลาย


ก็ในโลภมูลจิต ๘ ดวง ย่อมมีเจตสิกเกิดได้ ๒๒ ประการ คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ประการ ปกิณณกเจตสิก ๖ ประการ ส่วนอกุศลเจตสิกทั้งหลาย โมจตุกะเจตสิก ๔ ประการ โลติกะเจตสิก ๓ ประการ และถีนมิทธเจตสิก ๒ ประการ

บรรดาเจตสิก ๒๒ ประการเหล่านั้น

มูลเจตสิกทั้ง ๒ ประการ คือ โลภเจตสิกและโมหเจตสิกเป็นเหตุปัจจัย
นามธรรมาธิปติ ๓ ประการ คือ ฉันทเจตสิก วิริยเจตสิก และจิต ในการบางคราวย่อมให้สำเร็จอธิปติกิจ
ในโลภมูลจิต เหล่านี้ แม้อารัมณาธิปติทั้งหลายก็ย่อมหาได้
เจตนาเจตสิกเป็นกัมมปัจจัย
นามอาหาร ๓ ประการ คือ ผัสสะ เจตนา และวิญญาณ เป็นอาหารปัจจัย
อินทริยธรรม ๕ ประการคือ ๑.จิต ๒.เวทนา ๓.เอกัคคตาเจตสิก ๔. ชีวิตินทรีย์เจตสิก ๕.วิริยเจตสิก เป็นอินทริยปัจจัย
ฌานธรรม ๕ ประการคือ ๑.วิตก ๒.วิจาร ๓.ปีติ ๔.เวทนา ๕.เอกัคคตา เป็นฌานปัจจัย
มัคคธรรม ๔ ประการคือ ๑.วิตก ๒.วิจาร ๓.ทิฏฐิ ๔.วิริยะ เป็นมัคคปัจจัย
ย่อมหาปัจจัยไม่ได้ ๒ ปัจจัยคือ ปัจฉาชาตปัจจัยกับวิปากปัจจัย ย่อมหาได้ ๒๒ ปัจจัยที่เหลือ



แสดงปัจจัยฆฏนานัยในโทสมูลจิตตุบาททั้งหลาย


ในโทสมูลจิต ๒ ดวง เพราะละปีติเจตสิก ๑ และโลติกะเจตสิก ๓ ประการ จึงมีเจตสิกเกิดขึ้น ๒๒ ประการเท่านั้น รวมกับโทจตุกะเจตสิก ๔ ประการ มูลมี ๒ ประการคือ ๑.โทสะ ๒.โมหะ

อธิปติธรรมมี ๓ ประการ
อาหารธรรมมี ๓ ประการ
อินทริยธรรมมี ๕ ประการ
องค์ฌานมี ๔ ประการ
องค์มรรคมี ๓ ประการ
แม้ในโทสมูลจิตตุบาทนี้ ย่อมหาปัจจัยไม่ได้ ๒ ปัจจัย ย่อมหาปัจจัยได้ ๒๒ ปัจจัย


จบการแสดงปัจจยฆฏนานัยในอกุศลจิตตุบาททั้งหลาย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 21 ธ.ค. 2019, 02:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2019, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงปัจจยฆฏนานัยในจิตตุบาททั้งหลาย

แสดงโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง คือ

กามโสภณจิต ๒๔ ดวง
รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ดวง

ในโสภณจิตเหล่านั้น

กามโสภณจิตมี ๒๔ ดวงคือ
กามกุศลจิต ๘ ดวง
กามโสภณวิปากจิต ๘ ดวง
กามโสภณกิริยาจิต ๘ ดวง


แสดงโสภณเจตสิก ๒๕ ประการ

ธรรมดาว่า กัลยาณเจตสิกมี ๒๕ ประการ คือ
กัลยาณมูลเจตสิกมี ๓ ประการ คือ ๑.อโลภะ ๒.อโทสะ ๓.อโมหะ
สัทธา ๑
สติ ๑
หิริ ๑
โอตตัปปะ ๑
ตัตตรมัชฌัตตา ๑
กายปัสสัทธิ ๑
จิตตปัสสัทธิ ๑
กายลหุตา ๑
จิตตลหุตา ๑
กายมุทุตา ๑
จิตตมุทุตา ๑
กายกัมมัญญตา ๑
จิตตกัมมัญญตา ๑
กายปาคุญญตา ๑
จิตตปาคุญญตา ๑
กายุชุกตา ๑
จิตตุชุกตา ๑
วิรตีเจตสิก ๓ ประการ คือ ๑.สัมมาวาจา ๒.สัมมากัมมันตะ ๓.สัมมาอาชีวะ
และอัปมัญญาเจตสิก ๒ ประการคือ ๑. กรุณาเจตสิก ๒.มุทิตาเจตสิก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2019, 02:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงการจำแนกปัจจัยทั้งหลายแต่ละอย่างๆ แห่งโสภณเจตสิกทั้งหลาย


บรรดากัลยาณเจตสิกเหล่านั้น กัลยาณมูล ๓ ประการเป็นเหตุปัจจัย

ส่วนอโมหเจตสิกในอธิปติปัจจัยมีชื่อว่าวิมังสาธิปติ ในอินทริยปัจจัยชื่อว่าปัญญินทรีย์ ในมัคคปัจจัยชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ

สัทธาเจตสิกในอินทริยปัจจัยมีชื่อว่าสัทธินทรีย์

สติเจตสิกในอินทริยปัจจัยมีชื่อว่าสตินทรีย์ ในมัคคปัจจัยมีชื่อว่าสัมมาสติ

วิรตีเจตสิก ๓ ประการเป็นมัคคปัจจัย ธรรม ๑๗ ประการที่เหลือไม่เป็นวิเสสปัจจัย



แสดงปัจจยฆฏนานัยในมหากุศลจิตตุบาททั้งหลาย

ในกามกุศลจิต ๘ ดวง มีการรวมเจตสิกไว้ ๓๘ ประการ คือ
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ประการ
ปกิณณกเจตสิก ๖ ประการ
และกัลยาณเจตสิก ๒๕ ประการ

และบรรดาเจตสิก ๓๘ ประการเหล่านั้น
ปีติเจตสิกเท่านรวมไว้ในจิตทั้งหลายที่ประกอบกับโสมนัสสเวทนา ๔ ประการเท่านั้น
อโมหเจตสิกท่านรวมไว้ในจิตทั้งหลายที่เป็นญาณสัมปยุต ๔ ประการเท่านั้น
วิรตีเจตสิก ๓ ประการท่านรวมไว้ในจิตทั้งหลายที่เป็นญาณสัมปยุต ๔ ประการเท่านั้น
อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ประการท่านรวมไว้ในอาการทั้งหลาย มีอาการที่กรุณาและอนุโมทนาในคุณความดี ในสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น

บัณฑิตพึงทราบว่าในกามกุศลจิต ๘ ดวงเหล่านี้ กัลยาณมูล ๒ (คือ อโลภะ อโมหะ) หรือ ๓ (คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ) ประการเป็นเหตุปัจจัย

ฉันทเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ จิต ๑ และปัญญาเจตสิก ๑ แต่ละอย่างๆ ในกาลบางคราวเป็นอธิปติปัจจัย ในอธิปติปัจจัยทั้ง ๔ ประการ

เจตนาเจตสิกเป็นกัมมปัจจัย อาหารธรรม ๓ ประการเป็นอาหารปัจจัย

จิต ๑ เวทนาเจตสิก ๑ เอกัคคตาเจตสิก ๑ ชีวิตินทรีย์เจตสิก ๑ สัทธาเจตสิก ๑ สติเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ ปัญญาเจตสิก ๑ รวมทั้ง ๘ ประการเหล่านี้เป็นอินทริยปัจจัย

วิตกเจตสิก ๑ วิจารเจตสิก ๑ ปีติเจตสิก ๑ เวทนาเจตสิก ๑ และเอกัคคตาเจตสิก ๑ รวมองค์ฌานธรรม ๕ ประการเหล่านี้เป็นฌานปัจจัย

ปัญญาเจตสิก ๑ วิตกเจตสิก ๑ วิรตีเจตสิก ๑ สติเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ และเอกัคคตาเจตสิก ๑ รวมองค์มัคค์ธรรม ๘ ประการเหล่านี้เป็นมัคคปัจจัย

ในกามาวจรกุศลจิต ๘ ประการ แม้เหล่านี้ ย่อมไม่ได้ปัจจัย ๒ ปัจจัย คือ ๑.ปัจฉาชาตปัจจัย ๒.วิปากปัจจัย ย่อมได้ ๒๒ ปัจจัยที่เหลือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2019, 02:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงปัจจยฆฏนานัย ในมหากิริยาจิตตุบาททั้งหลาย

ในกามโสภณกิริยาจิต ๘ ดวง ย่อมไม่ได้วิรตีเจตสิก ๓ ประการ ย่อมไม่ได้ปัจจัย ๒ ปัจจัยเหมือนในกุศลจิต ย่อมได้ ๒๒ ปัจจัย



แสดงปัจจยฆฏนานัย ในมหากิริยาจิตตุบาททั้งหลาย

ในกามโสภณวิปากจิต ๘ ดวง ย่อมไม่ได้วิรตีเจตสิก ๓ ประการ อัปมัญญาเจตสิก ๒ ประการ และย่อมไม่ได้ปัจจัย ๓ ปัจจัยคือ ๑.อธิปติปัจจัย ๒.ปัจฉาชาตปัจจัย ๓.อาเสวนปัจจัย ย่อมได้ปัจจัย ๒๑ ปัจจัย



แสดงปัจจยฆฏนานัยในมหัคคตะและโลกุตตรจิตตุบาททั้งหลาย

แม้ในรูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต และโลกุตตรจิตตุบาททั้งหลายข้างต้น ย่อมไม่มีปัจจัยเกินไปกว่า ๒๒ ปัจจัย เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบการรวมปัจจัยใน รูปจิต อรูปจิต และโลกุตตรจิตเหล่านี้เหมือนในกามาวจรกุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุต ๔ ดวงเถิด



แสดงความที่มหัคคตธรรมและโลกุตตรธรรมทั้งหลายประเสริฐและมีกำลังมากกว่ากามธรรม

เมื่อเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุไร รูปจิต อรูปจิต และโลกุตตรจิตเหล่านั้นจึงมีกำลังมากกว่ากามจิต และประณีตกว่ากามจิต ถ้ามีคำถามดังนี้ก็ต้องแก้ว่า เพราะกำลังแห่งอาเสวนะจึงทำให้มีกำลังมากกว่า จึงทำให้รูปจิต อรูปจิต และโลกุตตรจิตทั้งหลายเหล่านั้น สำเร็จแล้วด้วยความพิเศษแห่งภาวนากรรม เพราะฉะนั้น อาเสวนปัจจัยในรูปจิต อรูปจิต และโลกุตตรจิตทั้งหลายเหล่านั้นจึงมีกำลังมาก และเพราะความมีกำลังมากแห่งอาเสวนปัจจัย ทั้งอินทริยปัจจัย ทั้งฌานปัจจัย ทั้งมัคคปัจจัย หรือว่า ปัจจัยทั้งหลาย แม้เหล่าอื่นแห่งรูปจิต อรูปจิต และโลกุตตรจิตทั้งหลายเหล่านั้นจึงเป็นสภาวะที่มีกำลังมาก และเพราะความที่ปัจจัยทั้งหลายมีกำลังมากสูงขึ้นไปๆ รูปจิต อรูปจิต และโลกุตตรจิตทั้งหลายเหล่านั้นจึงมีกำลังมากกว่าและประณีตยิ่งกว่า ประเสริฐยิ่งกว่ากามจิต


จบการแสดงปัจจยฆฏนานัย ในจิตตุบาททั้งหลาย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร