วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2019, 00:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงการจำแนกรูป ๒๘ ประการ และแสดงปัจจยฆฏนานัยในรูป ๑๘ ประการ

ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงปัจจยฆฏนานัยในรูปกลาปทั้งหลายต่อไป ธรรมดาว่ารูปมี ๒๘ ประการ คือ
มหาภูตรูป ๔ ประการ คือ ๑.ปถวีธาตุ ๒.อาโปธาตุ ๓.เตโชธาตุ ๔.วาโยธาตุ
ปสาทรูป ๔ ประการ คือ ๑.จักขุปสาทรูป ๒.โสตปสาทรูป ๓.ฆานปสาทรูป ๔.ชิวหาปสาทรูป ๕.กายปสาทรูป
โคจรรูป ๕ ประการคือ ๑.รูปารมณ์ ๒.สัททารมณ์ ๓.คันธารมณ์ ๔.รสารมณ์ ๕.โผฐฐัพพารมณ์
บรรดาโคจรรูป ๕ ประการเหล่านั้น โผฐฐัพพารมณ์มี ๓ อย่างคือ ๑.ปถวีโผฐฐัพพารมณ์ ๒.เตโชโผฐฐัพพารมณ์ ๓.วาโยโผฐฐัพพารมณ์
ภาวรูป ๒ ประการคือ ๑.อิตถีภาวรูป ๒.ปุมภาวรูป
ชีวิตรูป ๑ หทยรูป ๑ อาหารรูป ๑ อากาสรูป ๑ กายวิญญัติรูป ๑ วจีวิญญัติรูป ๑
วิการรูป ๓ ประการ คือ ๑.ลหุตารูป ๒.มุทุตารูป ๓.กัมมัญญตารูป
และลักขณรูป ๔ ประการคือ ๑.อุปจยรูป ๒.สันตติรูป ๓.ชรตารูป ๔.อนิจจตารูป


แสดงปัจจยฆฏนานัยที่ช่วยอุปการะระหว่างรูปธรรมกับรูปธรรม

บรรดารูปธรรม ๒๘ ประการเหล่านั้น รูปธรรม ๖ ประการคือ มหาภูตรูป ๔ ประการ ชีวิตรูป ๑ อาหารรูป ๑ ย่อมช่วยอุปการะแก่รูปธรรมทั้งหลาย และในอธิการนี้ มหาภูตรูป ๔ ประการย่อมช่วยทำอุปการะแก่กันและกันได้ ๕ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. อัตถิปัจจัย
๕. อวิคตปัจจัย

และย่อมทำอุปการะแก่อุปาทายรูปทั้งหลายที่เกิดร่วมกันด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๔ เว้น อัญญมัญญปัจจัย ชีวิตรูปย่อมช่วยอุปการแก่กัมมชรูปทั้งหลายที่เกิดร่วมกันด้วยอำนาจแห่งอินทริยปัจจัย อาหารรูปย่อมช่วยอุปการะแก่อัชฌัตตรูปธรรมทั้งหลายทั้งปวง ทั้งที่เกิดร่วมกัน ทั้งที่ไม่เกิดร่วมกันด้วยอำนาจแห่งอาหารปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2019, 02:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงปัจจยฆฏนานัยที่ช่วยอุปการะระหว่างรูปธรรมกับนามธรรม

บรรดารูป ๒๘ ประการเหล่านั้นนั่นแล รูปธรรมที่เป็นวิเสสปัจจัยแห่งนามธรรมทั้งหลายมี ๑๑ ประการคือ

ปสาทรูป ๕ ประการ
โคจรรูป ๗ ประการ
และหทยวัตถุรูป ๑ ประการ

ในอธิการว่าด้วยการช่วยทำอุปการะนั้น ปสาทรูป ๕ ประการย่อมช่วยทำอุปการะแก่วิญญาณธาตุ ๕ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวัตถุปุเรชาตปัจจัย ๑ วัตถุปุเรชาตินทริยปัจจัย ๑ และวัตถุปุเรชาตวิปยุตปัจจัย ๑ เหมือนอย่างมารดาทั้งหลายช่วยทำอุปการะแก่บุตรและธิดาทั้งหลาย

โคจรรูป ๗ ประการย่อมช่วยทำอุปการะแก่วิญญาณธาตุ ๕ อย่าง มโนธาตุ ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอารัมปุเรชาตปัจจัยเหมือนอย่างบิดาทั้งหลายช่วยทำอุปการแก่บุตรและธิดาทั้งหลายฉะนั้น หทยวัตถุรูป ๑ ย่อมช่วยทำอุปการะแก่มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ ๒ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสหชาตนิสสยปัจจัยในปฏิสนธิขณะและด้วยอำนาจแห่งวัตถุปุเรชาตปัจจัย ๑ วัตถุปุเรชาตวิปยุตปัจจัย ๑ ในปวัตติกาล เหมือนอย่างต้นไม้ช่วยทำการอุปการะแก่รุกขเทวดาทั้งหลายฉะนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2019, 01:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงเหตุที่ชื่อว่า กลาปในรูปกลาป ๒๓ หมวด

ในรูปกลาปมีอยู่ ๒๓ หมวด บรรดารูปกลาป ๒๓ หมวดเหล่านั้น กลาป แห่งรูปธรรมทั้งหลายที่เนื่องกันอยู่ด้วยชาติรูปอย่างหนึ่ง เหมือนกับกำผมที่ถูกรวบไว้ด้วยเชือกเส้นหนึ่งและเหมือนกับกำหญ้า ฉะนั้น ปริปิณฑิรูปกลาป(หมวดแห่งรูปที่รวมกันอยู่)


แสดงสรุปสัพพมูลอัฏฐกกลาป

บรรดารูปกลาปเหล่านั้น รูปธรรรม ๘ ประการเหล่านี้ คือ มหาภูตรูป ๔ ประการ รูปารมณ์ ๑ คันธารมณ์ ๑ รสารมณ์ ๑ อาหารรูป ๑ ชื่อว่า สัพพมูลอัฏฐกลาป(กลาปที่เป็นมูลแห่งรูป กลาปทั้งปวง ๑ และถูกเรียกว่า สัพพมูลอัฏฐกลาป รูปกลาป ๘ อย่างที่เป็นมูลแห่งรูปกลาปทั้งปวง)


แสดงสรุปกัมมชกลาป ๙ หมวด

กัมมชกลาปรูปมี ๙ หมวด ๙ หมวดอะไรบ้าง มี
๑. ชีวิตนวกกลาป
๒. วัตถุทสกกลาป
๓. กายทสกกลาป
๔. อิตถีภาวทสกกลาป
๕. ปุมภาวทสกกลาป
๖. จักขุทสกกลาป
๗. โสตทสกกลาป
๘. ฆานทสกกลาป
๙. ชิวหาทสกกลาป

บรรดารูปกลาปเหล่านั้น สัพพมูลอัฏฐกลาปนั่นเองรวมกับชีวิตรูป ชื่อว่า ชีวิตนวกกลาป ชีวิตนวกกลาปรูปนั่นเองเป็นกลาป ๙ อย่างที่เป็นมูลในกัมมัชกลาป ๙ หมวด กลาป ๙ อย่างที่เป็นมูลนั่นเอง รวมกันกับรูป ๘ ประการ มีหทยวัตถุรูป เป็นต้น ย่อมเป็นวัตถุทสกรูป เป็นต้น และทสกกลาปรูป ๘ อย่าง


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 29 ธ.ค. 2019, 02:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2019, 02:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงกิจกับด้วยที่ตั้งแห่งกัมมชกลาปรูป ๙ หมวดแต่ละอย่างๆ


บรรดากัมมชกลาปรูป ๙ หมวด เหล่านั้น กลาปรูป ๔ หมวด คือ ชีวิตนวกกลาป ๑ กายทสกกลาป ๑ ภาวทสกกลาป ๒ ย่อมเป็นไปในร่างกายทั้งสิ้น ในถ้อยคำเหล่านั้น ปาจกัคคิ(ไฟที่เผาอาหารให้ย่อย) และกายัคคิ(ไฟในร่างกาย) เรียกว่า ชีวิตนวกะ ส่วนแห่งธาตุไฟที่เผาอาหารให้ย่อย ชื่อว่า ปาจกัคคิ ปาจกเตโชนั้น เป็นไปแล้วในกระเพาะอาหาร ย่อมทำหน้าที่เผาย่อยอาหารทั้งหลายที่ถูกกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม เป็นต้น

ส่วนแห่งอุสมาเตโช(ไฟที่ทำร่างกายให้อบอุ่น)แผ่ซ่านไปทั่วร่าง อุสมาเตโชนั้น เป็นไป แล้วในร่างกายทั้งสิ้น ย่อมทำให้น้ำดี น้ำเสมหะและเลือดไม่ให้เสีย ให้ใส เมื่อปาจกเตโชและอุสมาเตโชทั้ง ๒ นั้น มีความเป็นไปไม่สม่ำเสมอ สัตว์ทั้งหลายจึงเกิดมีอาพาธมาก เมื่อมีความเป็นไปสม่ำเสมอจึงเกิดมีอาพาธน้อย ชีวิตนวกกลาปทั้ง ๒ อย่างนั้น ย่อมให้อายุถึงพร้อมแก่สัตว์ทั้งหลาย ย่อมทำให้ผิวพรรณถึงพร้อม กายทสกกลาปย่อมให้สำเร็จสุขสัมผัสและทุกขสัมผัส ในร่างกายทั้งสิ้น

อิตถีภาวทสกกลาปและปุมภาวทสกกลาปย่อมให้สำเร็จอิตถีอาการทั้งปวงแห่งหญิงทั้งหลายและปุริสอาการทั้งปวงแห่งชายทั้งหลาย ส่วนทสกรูป ๕ หมวดที่เหลือมี วัตถุทสกกลาป เป็นต้น ชื่อว่าปเทสทสกกลาป(กลุ่มแห่งรูป ๑๐ ประการ ที่มีในบางส่วนบางฐานะ) บรรดาปเทสทสกทั้ง ๕ หมวดเหล่านั้น วัตถุทสกเป็นไปแล้ว ในส่วนแห่งหทยย่อมให้สำเร็จความคิด รวมทั้งอาการต่างๆ ทั้งดีทั้งชั่วแก่สัตว์ทั้งหลาย ทสกรูปทั้งหลาย ๔ หมวด มีจักขุสกกลาปรูปเป็นต้น เป็นไปแล้วในเบ้าตา โพรงหู โพรงจมูก บนแผ่นลิ้น ย่อมให้สำเร็จการเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรส เป็นต้น แห่งสัตว์ทั้งหลาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2019, 03:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงสรุปจิตตชกลาป ๘ หมวด

จิตตชรูปกลาปมีอยู่ ๘ หมวด, ๘ หมวด มีอะไรบ้าง?

๑. สัพพมูลอัฏฐกกลาป
๒. สัททนวกกลาป
๓. กายวิญญัตินวกกลาป
๔. สัททวจีวิญญัติทสกกลาป

และมูลกลาปรูปเหล่านั้นนั่นเอง รวมกับ วิการรูป ๓ ประการ คือ ลหุตารูป ๑ มุทุตารูป ๑ กัมมัญญตารูป ๑ จึงเป็นสวิการกลาปรูป ๔ หมวด


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 29 ธ.ค. 2019, 01:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2019, 23:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงความปรากฏขึ้นแห่งจิตตชรูป ๘ หมวด

บรรดาจิตตชกลาป ๘ หมวดเหล่านั้น ในเวลาที่มีความเป็นไปไม่สม่ำเสมอแห่งธาตุที่มีในร่างกาย แต่มูลกลาปรูป ๔ หมวด ย่อมเป็นไปแก่บุคคลผู้เป็นไข้ จริงอยู่ในเวลานั้น รูปที่มีในร่างกายทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นไข้นั้นย่อมเป็นสภาพหนัก แข็งกระด้างและมึนงง, ทั้งการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ทั้งการเคลื่อนไหวอวัยวะน้อยใหญ่ ทั้งการพูดจา ให้ได้อย่างใจคิดย่อมเป็นการลำบาก แต่ว่า ในเวลาที่มีความเป็นไปสม่ำเสมอแห่งธาตุที่มีในร่างกาย รูปกลาปที่เป็นไปพร้อมกับวิการรูป ๔ หมวดย่อมเป็นไปแก่ผู้ที่ไม่ป่วยไข้ ชนิดที่ต้องไม่มีความหนัก แข็งกระด้าง เพราะความไม่มีโทษในร่างกาย และบรรดารูปกลาปที่เป็นไปพร้อมกับวิการรูป ๔ หมวดเหล่านั้น กายวิญญัติกลาป ๒ หมวด ย่อมเป็นไปในเวลาที่เคลื่อนไหวองค์คืออวัยวะด้วยอำนาจแห่งองค์คือจิต ด้วยอำนาจแห่งจิตนั่นเอง วจีวิญญัติรูปกลาป ๒ หมวด ย่อมเป็นไปได้ ในเวลาที่เปล่งเสียงที่ไม่เป็นถ้อยคำมีการหัวเราะและร้องไห้เป็นต้น ที่เว้นจากอักษรวัณณะ ออกมาทางปาก ในเวลาที่เหลือทั้งหลาย สัพพมูลอัฏฐกกลาปและสัททนวกกลาปที่เป็นไปในเบื้องต้น ๒ หมวดย่อมเป็นไป


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 29 ธ.ค. 2019, 01:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2019, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงสภาวะและความปรากฏขึ้นแห่งอุตุชกลาป ๔ หมวด

อุตุชกลาปมีอยู่ ๔ หมวด ๔ หมวด, มีอะไรบ้าง มี มูลกลาป ๒ หมวดคือ

๑. สัพพมูลอัฏฐกกลาป
๒. สัททนวกกลาป
และกลาปรูปที่เป็นไปกับด้วยวิการรูป ๒ หมวด

ในถ้อยคำนั้นก็เพราะกายนี้ ย่อมเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนอิริยาบถจนตลอดชีวิต ฉะนั้นเพราะอาศัยอิริยาบถต่างๆ ความเป็นไปสม่ำเสมอและไม่สม่ำเสมอแห่งธาตุทั้งหลาย ย่อมปรากฏในกายนี้ทุกๆ ขณะ เหมือนอย่างนั้น เพราะอาศัยความเป็นไปแห่งฤดูต่างๆ เพราะอาศัยความเป็นไปแห่งอาหารต่างๆ เพราะอาศัยลม แดดต่างๆ เพราะอาศัยความเป็นไปแห่งการเคลื่อนไหวองค์คือกาย เพราะอาศัยความเป็นไปแห่งความพยายามแห่งตนและความพยายามแห่งคนอื่น ความเป็นไปสม่ำเสมอและไม่สม่ำเสมอแห่งธาตุทั้งหลาย ย่อมปรากฏ บรรดากลาป ๔ หมวดเหล่านั้น มูลกลาป ๒ หมวดเท่านั้น ย่อมเป็นไป ย่อมเป็นไปในเวลาที่มีความเป็นไปไม่สม่ำเสมอ กลาปที่เป็นไปกับด้วยวิการรูป ๒ หมวดย่อมเป็นไปในเวลาที่มีความเป็นไปสม่ำเสมอ และในกลาป ๔ หมวดเหล่านั้น สัททกลาป ๒ หมวด ย่อมเป็นไปในเสียงที่มีความสืบต่อกันจากเสียงที่เกิดจากจิต และเสียงมีประการต่างๆ ทั้งหลายในโลก


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 29 ธ.ค. 2019, 01:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2019, 01:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงสภาวะและความปรากฏขึ้นแห่งอาหารกลาป ๒ หมวด

อาหารชกลาปรูปมีอยู่ ๒ หมวดคือ
๑. สัพพมูลอัฏฐกกลาป
๒. กลาปรูปที่เป็นไปกับด้วยวิการรูป

กลาปรูป ๒ หมวดนี้ บัณฑิตพึงทราบ ด้วยอำนาจแห่งรูปที่เป็นไปสม่ำเสมอและเป็นไปไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นแล้วจากอาหารที่เป็นสัปปายะหรือไม่เป็นสัปปายะเถิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2019, 01:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงรูปที่พ้นจากความเป็นกลาปรูป

รูปที่พ้นจากความเป็นกลาปรูปมี ๕ ประการคือ

อากาศธาตุ ๑ และลักขณะรูป ๔ ประการ, บรรดารูปทั้ง ๕ ประการเหล่านั้น, อากาศธาตุพ้นจากความเป็นกลาปรูป เพราะเป็นแต่เพียงรูปที่กำหนดระหว่างแห่งกลาปรูปทั้งลาย และลักขณรูป ๔ ประการชื่อว่าพ้นจากกลาปรูป เพราะเป็นเพียงลักษณะ เพื่อการรู้ความเป็นภาวะที่รวมกันเกิดขึ้นกับรูปกลาปทั้งหลาย ที่รวมกันเกิดขึ้นจากเหตุธรรม


แสดงรูปกลาปทั้งหลายที่หาได้ทั้งภายในสันดานและภายนอกสันดาน

กลาปรูป ๒๓ ประการเหล่านี้ ย่อมหาได้ภายในสันดาน, ส่วนภายนอกสันดานย่อมหาได้เฉพาะอุตุชมูลกลาป ๒ หมวดเท่านั้น, ในอธการนั้น ความสืบต่อแห่งรูปทั้งหลาย ย่อมมีอยู่ ๒ อย่างคือ ในภายในสันดาน ๑ ในภายนอกสันดาน ๑ บรรดารูปทั้ง ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อว่าภายในสันดาน ถูกกล่าวเรียกว่า สันดานของสัตว์ทั้งหลาย ที่ชื่อว่าภายนอกสันดาน ท่านกล่าวหมายถึง แผ่นดิน ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ต้นไม้ และใบหญ้าเป็นต้น บรรดาสันดานทั้ง ๒ อย่างนั้น รูป ๒๘ ประการ และรูปกลาป ๒๓ หมวด ย่อมหาได้ภายในสันดาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2019, 01:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงปัจจยฆฏนานัยที่ช่วยอุปการะระหว่างนามธรรมกับกัมมชรูปทั้งหลาย


บรรดารูปธรรม นามธรรมเหล่านั้น ปฏิสนธินามขันธ์ ๔ อย่าง ย่อมช่วยอุปการะแก่กัมมชกลาปรูปทั้งหลาย โดยปัจจัยทั้ง ๖ คือ มหาสหชาตปัจจัย ๔ วิปากปัจจัย ๑ วิปยุตปัจจัย ๑

และย่อมช่วยอุปการะแก่หทยวัตถุรูปโดยปัจจัยทั้ง ๗ รวมกันกับอัญญมัญญปัจจัย ๑

ในนามขันธ์ ๔ อย่างเหล่านั้นนั่นเอง ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจปัจจัย ๖ ตามสมควรคือ
เหตุแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งเหตุปัจจัย
เจตนาเจตสิกย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งกัมมปัจจัย
อาหารธรรมทั้งหลาย ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งอาหารปัจจัย
อินทริยธรรมทั้งหลายย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งอินทริยปัจจัย
ฌานปัจจัยทั้งหลายย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งฌานปัจจัย
มรรคธรรมทั้งหลาย ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งมัคคปัจจัย

ส่วนกุศลกรรม อกุศลกรรมที่เป็นอดีต ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเดียวเท่านั้นคือ กัมมปัจจัย


ปวัตตินามขันธ์ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภายหลังมีปฐมภวังค์เป็นต้น ย่อมช่วยอุปการะแก่กัมมชรูปกลาปทั้งหลายที่เกิดในกาลก่อน ด้วยอำนาจแห่งปัจฉาชาตปัจจัยเดียว และในการช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งปัจฉาชาตปัจจัยนี้ ท่านรวมปัจจัยทั้ง ๔ ปัจจัยที่เป็นปัจฉาชาตชาติเข้าไว้ด้วยศัพท์ว่า ปัจฉาชาต และอดีตกรรมทั้งหลายย่อมช่วยอุปการะโดยปัจจัยเดียวเท่านั้น นามธรรมทั้งหลายย่อมช่วยอุปการะแก่กัมมชรูป

กลาปทั้งหลายโดยปัจจัย ๑๔ ปัจจัย ตามที่กล่าวมาแล้ว ตามสมควร และในอธิการว่าด้วยการช่วยอุปการะแก่กัมมชรูปนี้ย่อมไม่ได้ปัจจัย ๑๐ ปัจจัย คือ ๑.อารัมณปัจจัย ๒.อธิปติปัจจัย ๓.อนันตรปัจจัย ๔.สมนันตรปัจจัย ๕.อุปนิสสยปัจจัย ๖.ปุเรชาตปัจจัย ๗.อาเสวนปัจจัย ๘.สัมปยุตปัจจัย ๙.นัตถิปัจจัย ๑๐.วิคตปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2019, 02:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงปัจจยฆฏนานัยในเวลาที่ช่วยอุปการะระหว่างนามธรรมกับจิตตชรูปทั้งหลาย

ในปวัตติกาล นามขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาจากรูปย่อมช่วยอุปการะแก่จิตตชรูปกลาปที่เกิดร่วมกันกับตนด้วยอำนาจปัจจัย ๕ ปัจจัย คือ มหาสหชาตปัจจัย ๔ และวิปยุตตปัจจัย ๑ และในนามขันธ์ธรรมเหล่านั้นนั่นเอง ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๘ คือ

๑. เหตุธรรมทั้งหลาย ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจของ เหตุปัจจัย
๒. อธิบดีธรรมทั้งหลาย ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจของ อธิปติปัจจัย
๓. เจตนาธรรมทั้งหลาย ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจของ กัมมปัจจัย
๔. วิปากธรรมทั้งหลาย ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจของ วิปากปัจจัย
๕. อาหารธรรมทั้งหลาย ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจของ อาหารปัจจัย
๖. อินทริยธรรมทั้งหลาย ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจของ อินทริยปัจจัย
๗. ฌานธรรมทั้งหลาย ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจของ ฌานปัจจัย
๘. มัคคธรรมทั้งหลาย ย่อมช่วยอุปการะด้วยอำนาจของ มัคคปัจจัย ตามสมควร

นามขันธ์ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดในภายหลัง ย่อมช่วยอุปการะแก่จิตตชกลาปรูปทั้งหลายที่เกิดก่อนด้วยอำนาจปัจจัย ๑๔ ปัจจัย ตามสมควร และในอธิการว่าด้วยการช่วยอุปการะแก่จิตตชรูปแม้นี้ย่อมไม่ได้ปัจจัย ๑๐ ปัจจัย คือ ๑.อารัมณปัจจัย ๒.อนันตรปัจจัย ๓.สมนันตรปัจจัย ๔.อัญญมัญญปัจจัย ๕.อุปนิสสยปัจจัย ๖.ปุเรชาตปัจจัย ๗.อาเสวนปัจจัย ๘.สัมปยุตปัจจัย ๙.นัตถิปัจจัย ๑๐.วิคตปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2019, 02:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงปัจจยฆฏนานัยในเวลาที่ช่วยทำอุปการะระหว่างนามธรรมกับอุตุชรูปและอาหารชรูปทั้งหลาย

ในปวัตติกาลนับตั้งแต่ฐีติกาลแห่งปฏิสนธิจิตไป นามธรรมทั้งหลายแม้ทั้งปวงย่อมช่วยอุปการะแก่อุตุชรูปกลาปทั้งหลายและอาหารชรูปกลาปทั้งหลายทั้งปวง ด้วยอำนาจแห่งปัจฉาชาตปัจจัยปัจจัยเดียวเท่านั้น, แม้ในอธิการว่าด้วยการช่วยทำอุปการะด้วยอำนาจแห่งปัจฉาชาตปัจจัยนี้ ท่านรวมเอาทั้งปัจจัยที่เป็นปัจฉาชาตชาติ ๔ ปัจจัยเข้าด้วย ปัจจัย ๒๐ ปัจจัยที่เหลือย่อมหาไม่ได้


แสดงปัจจยฆฏนานัยในเวลาที่ช่วยทำอุปการะแก่กันและกันระหว่างอัชฌัตตรูปและพหิทธรูป

จะกล่าวต่อไป ในรูปกลาป ๒๓ หมวดทั้งหมด

มหาภูตรูป ๔ ประการ ย่อมช่วยอุปการะแก่กันและกันด้วยอำนาจแห่งปัจจัยทั้ง ๕ คือ มหาสหชาตปัจจัย ๔ ปัจจัย และอัญญมัญญปัจจัย ๑ และย่อมช่วยอุปการะแก่อุปาทายรูปทั้งหลายที่เกิดร่วมกันด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๔ คือ มหาสหชาตปัจจัย ๔

อาหารรูปย่อมช่วยอุปการะอัชฌัตตรูปกลาปทั้งหลายทั้งปวงทั้งที่เกิดร่วมกัน ทั้งที่ไม่เกิดร่วมกันด้วยอำนาจแห่งอาหารปัจจัย

ในกัมมชรูปกลาป ๙ หมวด ชีวิตินทริยรูป ย่อมช่วยอุปการะแก่รูปทั้งหลายที่เกิดร่วมกันด้วยอำนาจแห่งอินทริยปัจจัย

อัชฌัตตรูปธรรมทั้งหลายย่อมช่วยอุปการะอัชฌัตตรูปธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจปัจจัยทั้ง ๗ ตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้

ส่วนพหิทธรูปธรรมทั้งหลย ย่อมช่วยอุปการแก่อุตุชรูปกลาปทั้งหลาย ๒ หมวด ที่มีในภายนอกด้วยอำนาจแห่งปัจจัยทั้ง ๕



จบการแสดงปัจจยฆฏนานัยในรูปกลาปทั้งหลาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2019, 02:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงปัฏฐานนัยที่แสดงเอกันตปัจจัยพร้อมทั้งความพิเศษแห่งมุขยปัจจยุบันและนิสสันทปัจจยุบัน


จะกล่าวต่อไปนี้ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งปัฏฐานศัพท์

เหตุที่เป็นประธานเพราะเหตุนั้นชื่อว่าปัฏฐาน
ในถ้อยคำนั้น คำว่า ประธาน หมายถึง ประมุข
คำว่า ฐาน หมายถึง เหตุ อธิบายว่า เหตุที่เป็นประธาน เหตุโดยตรง เหตุโดยแน่นอน และเหตุโดยตรงนั้นก็พึงกล่าวอิงอาศัยผลโดยตรง(ปัจจยุบัน)



แสดงปัฏฐานนัยที่แสดงเอกันตปัจจัยพร้อมทั้งความพิเศษแห่งมุขยปัจจยุบันและนิสสันทปัจจยุบัน

จริงอยู่ ปัจจยุบัน(ผล) มีอยู่ ๒ อย่างคือ

๑. มุขยปัจจยุบัน (ผลโดยตรง หรือผลที่เกิดขึ้นก่อน)
๒. นิสสันทปัจจยุบัน (ผลโดยอ้อม หรือผมที่เกิดขึ้นในกาลต่อมา)

บรรดาปัจจยุบันทั้ง ๒ อย่างนั้น ผลที่เกิดขึ้นก่อนชื่อว่า มุขยปัจจยุบัน ผลที่เกิดขึ้นในกาลต่อมา ชื่อว่า นิสสันทปัจจยุบัน บรรดาปัจจยุบันทั้ง ๒ อย่างนั้น ผลที่เกิดขึ้นก่อนนั่นเองชื่อว่า เอกันตปัจจยุบัน(ผลโดยแน่นอน) จริงอยู่ ผลโดยแน่นอนนั้น เมื่อปัจจัย(เมื่อเหตุ)ของตนมีอยู่ ย่อมเกิดขึ้นโดยแน่นอนนั่นเอง ย่อมไม่เกิดขึ้นก็หามิได้ ส่วนผลที่เกิดในกาลต่อมา ชื่อว่า อเนกันตปัจจยุบัน ผลโดยไม่แน่นอน ความจริง ผลโดยไม่แน่นอนนั้น แม้เมื่อเหตุมีอยู่ย่อมเกิดขึ้นบ้าง บรรดาปัจจยุบันทั้ง ๒ อย่างนั้น เหตุที่อาศัยผลโดยแน่นอนนั้นมีชื่อว่า เอกันตปัจจัย(เหตุโดยแน่นอน) และเหตุโดยแน่นอนนั้นนั่่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้แล้วในคัมภีร์มหาปัฏฐานปกรณ์นี้ หลังจากการแสดงเหตุโดยแน่นอนนั่นเอง จึงมีการกำหนดนับปัจจัย ๒๔ ปัจจัยนี้ และมีการเรียกชื่อว่า มหาปกรณ์ปัฏฐาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2019, 02:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงเหตุปัจจัย ๒๔ ปัจจัย เริ่มต้นแต่เหตุปัจจัย ๖ อย่างที่เป็นมูลแห่งวิบัติและสมบัติของโลก

ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงนัยอื่นอีก

ธรรม ๓ ประการเหล่านี้คือ ๑.โลภะ ๒.โทสะ ๓.โมหะ ชื่อว่าเป็นเหตุ เพราะอรรถว่าเป็นมูลรากแห่งความวิบัติ แห่งสัตว์โลกบ้าง สังขารโลกบ้าง โอกาสโลกบ้างแม้ทั้งสิ้น

ธรรม ๓ ประการเหล่านี้คือ ๑.อโลภะ ๒.อโทสะ ๓.อโมหะ ชื่อว่าเป็นเหตุ เพราะหมายถึงเป็นมูลแห่งสมบัติ แห่งสัตว์โลกบ้าง สังขารโลกบ้าง โอกาสโลกบ้าง นัยนี้ บัณฑิตพึงทราบตามสมควร ในปัฏฐานปัจจัยทั้งหลาย เมื่อมีถ้อยคำที่กล่าวแล้วอย่างนี้ความเป็นไปแห่งโลกทั้งหลายทั้งปวง ในโลกบัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมมีเพราะผลที่เกิดในกาลต่อมา พร้อมกับผลที่เกิดก่อน แห่งปัจจัยทั้ง ๒๔ เหล่านี้


แสดงความจบบริบูรณ์แห่ง ปัฏฐานทีปนี โดยกัณฑ์ทั้ง ๓

โดยลำดับแห่งถ้อยคำตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ปัฏฐานทีปนี ที่ท่านกำหนดแล้วโดยกัณฑ์ทั้ง ๓ คือ
๑. ปัจจยอัตถทีปนี (การแสดงความหมายแห่งปัจจัย ๒๔)
๒. ปัจจยสภาวสังคหะ (การแสดงรวบรวมสภาวะที่เหมือนกันแห่งปัจจัย ๒๔)
๓. ปัจจยฆฏนานัย (นัยแห่งการแสดงสภาวะที่เข้ากันได้แห่งปัจจัย ๒๔)



คัมภีร์ปัฏฐานทีปนีนี้จบบริบูรณ์แล้ว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron