วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2015, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระศาสดาทรงอนุญาตให้อุปสมบท ๘ วิธี
เฉพาะเหตุการอันสมควรของแต่ละบุคคล คือ

๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา
อุปสมบทด้วยพระพุทธองค์ตรัสให้บวช

๒. ติสรณคมนูปสัมปทา
อุปสมบทด้วยการถึงพระรัตนตรัย

๓. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา
อุปสมบทด้วยญัตติที่ ๔ จากคณะสงฆ์ (วิธีการบวชที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน)

๔. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา
อุปสมบทด้วยการรับโอวาท (ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปเถระ)

๕. ปัญหาพยากรณูปสัมปทา
อุปสมบทด้วยการตอบปัญหาด้วยพระองค์ (ทรงอนุญาตแด่โสปากสามเณร)

๖. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา
อุปสมบทด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ (ทรงอนุญาตแก่พระมหาปชาบดีโคตมี)

๗. ทูเตนะอุปสัมปทา
อุปสมบทด้วยฑูต (ตัวแทน) (ทรงอนุญาตแก่อัฑฒกาสีภิกษุณี)

๘. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา
อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ (ทรงอนุญาตแก่ภิกษุณีทั้งหลาย)

พระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา
พิมพ์ครั้งที่ ๙ สุรีย์ มีผลกิจ หน้า ๑๐๘

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2015, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา
อุปสมบทด้วยการรับโอวาท (ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปเถระ)

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ประทานการอุปสมบทด้วยวิธี โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา
แก่พระมหากัสสปเถระด้วยโอวาท ๓ ประการ ดังนี้

เพราะเหตุนั้นแล กัสสป! เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอาย
และความเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า ทั้งที่เป็นผู้ใหม่ ทั้งที่เป็นผู้ปานกลาง อย่างแรงกล้า,
เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ กัสสป !

เพราะเหตุนั้นแล กัสสป ! เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่าเราจักฟังธรรมอันใดอันหนึ่ง
ซึ่งประกอบด้วยกุศล, เราเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้นทั้งหมด ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์
รวบรวมไว้ทั้งหมดด้วยใจ,
เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล กัสสป !

เพราะเหตุนั้นแล กัสสป ! เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ก็สติที่เป็นไปในกายของเรา
ซึ่งประกอบด้วยความสำราญ จักไม่ละเราเสีย, เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล กัสสป !

ครั้นประทานแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงหลีกไป ด้วยทรงดำริว่า เราจักทำภิกษุนี้ให้เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร มีอาสนะเดียวเป็นวัตร พระมหากัสสปเถระ จึงได้สมาทานธุดงค์คุณ ๑๓ ข้อ
และบำเพ็ญเพียรในการปฏิบัติธรรม เพียง ๗ วันและได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2015, 06:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

๕. ปัญหาพยากรณูปสัมปทา
อุปสมบทด้วยการตอบปัญหาพระพุทธองค์ (ทรงอนุญาตแก่โสปากะสามเณร)

มีเรื่องเล่าว่า
โสปากะ ถือกำเหนิดเติบโตในป่าช้า ในกรุงราชคฤห์ เมื่อโตอายุได้ ๔ เดือน บิดาก็สิ้นชีวิต
อาว์เลิ้ยงไว้จนอายุได้ ๗ ขวบ วันหนึ่งอาว์โกรธเพราะทะเลาะกับลูกชายของตนจึงนำไปยังป่าช้า
ผูกมือของโสปากะกับร่างของคนตาย ด้วยหวังว่าจะให้สุนัขจิ้งจอกกัดกิน แต่เพราะบุญของเด็กน้อย
ซึ่งมีภพเป็นครั้งสุดท้าย จึงไม่มีสิ่งใดทำอันตรายได้ ในเวลาเที่ยงคืนโสปากะเพ้อว่า

คติของเราผู้ไม่มีคติ จะเป็นอย่างไร
เผ่าพันธุ์ของเราผู้ไม่มีเผ่าพันธุ์ จะมีใคร
ใครจักช่วยเรา ผู้ถูกผูกอยู่ในป่าช้านี้

ในเวลานั้น พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยพระอรหันต์ของโสปากะ
จึงแผ่พระโอภาสไปยังเด็กนั้น แล้วตรัสว่า

มาเถิดโสปากะ อย่ากลัวเลย เธอจงแลดูตถาคต
เราจะยังเธอให้ข้ามพ้นไป ดุจพระจันทร์พ้นจากปากราหู

ในเวลาจบพระคาถา โสปากะบรรลุเป็นพระโสดาบัน ได้ไปยืนตรงหน้าพระคัณธกุฏี
มารดาของโสปากะ เมื่อไม่เห็นบุตรของตนจึงไไถามอาว์ เมื่อถามแล้ว อาว์ไม่ยอมบอก
ความเป็นไปของบุตร นางจึงไปยังสำนักของพระศาสดาเพื่อทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงปกปิดโสปากะไว้ด้วยพระพุทธานุภาพ เมื่อนางถามถึงบุตร พระพุทธองค์ตรัสว่า

บุตรก็ดี บิดาก็ดี เผ่าพันธุ์ก็ดี ญาติก็ดี
ย่อมไม่มีไครต้านทานได้ เมื่อความตายมาถึง

นางฟังธรรมนั้นแล้ว ได้เป็นพระโสดาบัน โสปากะได้บรรลุพระอรหันต
พระพุทธองค์ทรงคลายพุทธานุภาพ มารดาเห็นบุตรก็ดีใจ ทราบว่าบุตรเป็นพระขีณาสพ
จึงอนุญาตให้บวชแล้วนางก็จากไป
โสปากะเข้าเฝ้าพระศาสดา ซึ่งกำลังเสด็จจงกรมอยู่ในร่มเงาของพระคันธกุฏี
ถวายบังโคมแล้วตามเสด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะอนุญาตอุปสมบทแก่เธอ
จึงตรัสพระดำรัสตรัสถามปัญหา ๑๐ ข้อ ที่เรียกว่า กุมารปัญหา พระศาสดาทรงพอพระทัย
ในการพยากรณ์ปัญหาของโสปากะ จึงอนุญาตการอุปสมบทแก่สามเณร

พระพุทธองค์ทรงตรัสถามแบบอะไรเอ่ย แก่สามเณรน้อย ๑๐ ข้อ ดังนี้
อะไรเอ่ยชื่อว่า ๑ สัตว์ทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร.
อะไรเอ่ยชื่อว่า ๒ นามและรูป.
อะไรเอ่ยชื่อว่า ๓ เวทนา ๓.
อะไรเอ่ยชื่อว่า ๔ อริยสัจ ๔.
อะไรเอ่ยชื่อว่า ๕ อุปาทานขันธ์ ๕.
อะไรเอ่ยชื่อว่า ๖ อายตนะภายใน ๖.
อะไรเอ่ยชื่อว่า ๗ โพชฌงค์ ๗.
อะไรเอ่ยชื่อว่า ๘ อริยมรรคมีองค์ ๘.
อะไรเอ่ยชื่อว่า ๙ สัตตาวาส ๙. (คือ ที่อยู่อาศัยของสัตว)
อะไรเอ่ยชื่อว่า ๑๐ ท่านผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ เรียกว่าพระอรหันต์.(อันประกอบด้วยมรรคมีองค์ ๘
ในอริยมรรค และเพิ่ม สัมมาญาณ เป็นองค์ที่ ๙ และ สัมมาวิมุตติ เป็นองค์ที่ ๑๐)

โสปากะสามเณรนั้น ทูลแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทานสาธุการแก่เธอ
แล้วตรัสถามว่า “เธอมีอายุเท่าไหร่แล้วโสปากะ”
สามเณรทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า! หม่อมฉันมีอายุได้ ๗ ขวบขอรับ”
พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระหฤทัยอันโสปากสามเณรให้ยินดีว่า “โสปากะ” เธอแก้ปัญหาทัดเทียม
กับสัพพัญญุตญาณของเรา แล้วจึงทรงประทานอนุญาตให้อุปสมบท การอุปสมบทนี้มีชื่อว่า
“ปัญหาพยากรณอุปสัมปทา” สุปากะจึงเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์ในวัยเพียงแค่ ๗ ขวบเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2015, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

๖. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา
อุปสมบทด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ (ทรงอนุญาตแก่พระมหาปชาบดีโคตมี)
เงื่อนไขอย่างเข้มงวด ๘ ประการ ที่ภิกษุณีจะต้องปฏิบัติตลอดชีวิตอันได้แก่

๑. ต้องเคารพภิกษุแม้จะอ่อนพรรษากว่า
๒. ต้องไม่จำพรรษาในวัดที่ไม่มีภิกษุ
๓. ต้องทำอุโบสถและรับโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
๔. เมื่อออกพรรษาต้องปวารณาตนต่อภิกษุและภิกษุณีอื่นให้ตักเตือนตน
๕. เมื่อต้องอาบัติหนัก ต้องรับมานัต (รับโทษ) จากสงฆ์สองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายภิกษุและภิกษุณี ๑๕ วัน
๖. ต้องบวชจากสงฆ์ทั้งสองฝ่าย หลังจากเป็น *สิกขามานา เต็มแล้วสองปี
๗. จะด่าว่าค่อนแคะภิกษุไม่ได้
๘. ห้ามสอนภิกษุเด็ดขาด
สิกขามานา แปลว่า ผู้ศึกษา สตรีที่จะบวชเป็นภิกษุณีต้องเป็นนางสิกขามานา ก่อน ๒ ปี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2015, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. ทูเตนะอุปสัมปทา
อุปสมบทด้วยฑูต (ตัวแทน) (ทรงอนุญาตแก่อัฑฒกาสีภิกษุณี)

:b8: ทูเตนอุปสัมปทา คือ วิธีบวชแบบผ่านทางทูต โดยให้พระภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
ที่ฉลาดสามารถทำหน้าที่เป็นทูตรับเรื่องของผู้บวชจากฝ่ายภิกษุณีสงฆ์แล้ว
:b41: ไปแจ้งขอบวชต่อฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ โดยกุลธิดาผู้ขอบวชไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเอง
คือ ทำการบวชแบบอฏฐวาจิกาอุปสัมปทานั่นเอง แต่สำหรับขั้นตอนในฝ่ายพระภิกษุสงฆ์
ให้ส่งพระภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งทำหน้าที่เป็นทูตไปแจ้งแก่ฝ่ายพระภิกษุแทนตัวผู้ขอบวชเอง

:b46: สำหรับวิธีนี้มีเพียงพระอัฑฒกาสี ชาวแคว้นกาสี เพียงรูปเดียวเท่านั้นที่ได้บวชด้วยวิธีบวชแบบนี้
เนื่องจากมีนักเลงคอยดักฉุดตัวพระอัฑฒกาสีผู้ซึ่งทำการบวชในฝ่ายภิกษุณีแล้วแต่เพียงฝ่ายเดียว
แต่ไม่สามารถเดินทางไปทำการบวชในฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ได้เนื่องจากเหตุผลดังกล่าว
:b53: เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้ ท่านจึงอนุญาตให้พระพระอัฑฒกาสีทำการบวชด้วยวิธีการทูตได้
แต่มีข้อแม้ว่า ทูตนั้นต้องเป็นพระภิกษุณีเท่านั้น จะเป็นพระภิกษุ สิกขมานา สามเณร หรือ สามเณรี ไม่ได้เลย

เล่ากันมาว่า พระอัฑฒกาสีเถรีได้บวชในสมัยพระพุทธเจ้ากัสปปะ ครั้งหนึ่ง ได้ด่าพระเถรีขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทาองค์หนึ่งว่า หญิงแพศยา ด้วยผลแห่งวจีทุจริตนั้น ต้องหมกไม้อยู่ในนรก ด้วยกรรมที่เหลืออยู่ ได้เกิดเป็นนางคณิกาที่มีรูปดังเทพอัปสรเพราะผลแห่งพรหมจรรย์ เมื่อได้ฟังพระสัทธรรมถึงพร้อมด้วยบุพวาสนา ได้บวชเป็นภิกษุณีโดยทูต ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้รู้แจ้งในวิชชา ๓ มีความชำนาญในอิทธิฤทธิ์ทั้งหลาย ในทิพยโสตธาตุ เจโตปริยญาณ รู้บุพเพนิวาสญาณและทิพยจักษุอันหมดจด มีอาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว

พระพุทธเจ้าอนุญาติให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถเป็นทูต

ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุ สิกขมานา สามเณร สามเณรี ภิกษุณีผู้เขลา เป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2019, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


onion

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2020, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2021, 20:44 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร