วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 03:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ลักษณะการต่อ การดำเนิน การเดินทางไป เรียกว่า อยู่บนมรรค (อยู่บนทาง) ซึ่งการต่อมาตามทางในลักษณะที่ต่อ ๆ มาด้วยรถหลาย ๆ ต่อ ได้มีการอธิบายไว้โดยพระปุณณมันตานีบุตร ใน รถวินีตสูตร(อ่านเพิ่มเติมในส่วนพระสูตร/เรื่องที่เกี่ยวข้อง)ว่า การที่เราจะไปถึงนิพพานมันเหมือนการต่อรถจากจุดนี้ ไปอีกต่อหนึ่ง ต่อจากจุดนี้ก็ยังต่อไปอีกต่อหนึ่ง ๆ จนให้มันถึงที่หมาย หรือที่ ๆ เราต้องการจะไปการต่อ ๆ ตรงนี้ได้กล่าวไว้ใน วิสุทธิ ๗ (อ่านเพิ่มเติมในส่วนพระสูตร/เรื่องที่เกี่ยวข้อง)

วิสุทธิ ๗ คือ การทำความบริสุทธิ์หมดจดที่จะเป็นขั้น ๆ ไปจนทำให้มรรคสมบูรณ์ขึ้น ทำให้ไตรสิกขาเต็มเปี่ยมขึ้น ทำให้อินทรีย์มีความแก่กล้าขึ้น ทำให้ถึงขั้นที่เป็นผล ทำให้บรรลุถึงนิพพานได้ แต่ละขั้นประกอบด้วย

ขั้นที่ ๑. สีลวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งศีล)- ศีล ๕ หรือ ศีล ๘ หรือศีลตามสภาวะที่เราเป็นอยู่ รวมถึงศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิด้วย เช่น การสำรวมอินทรีย์ การรู้ประมาณในโภชนะที่ได้มา มีความสันโดษ มีการประกอบอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น ฝึกให้มีสติสัมปชัญญะ เป็นต้น

ศีลถ้าเผื่อว่ายังทำไม่สมบูรณ์พอเพียง ก็จะไม่สามารถทำให้สมาธิเกิดขึ้นได้ สมาธิที่ถ้ายังตั้งไม่ได้ ไม่พอเพียง ปัญญามันก็จะไม่พอเพียง พอปัญญาไม่พอเพียงก็ยังไม่สามารถตัดกิเลส ตัดเครื่องร้อยรัดได้ ดังนั้นศีลต้องเต็มที่ สมาธิพอประมาณ และปัญญามีพอประมาณด้วย

ขั้นที่ ๒. จิตตวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งจิต) เป็นเรื่องของสมาธิในการที่จะทำจิตให้มีอารมณ์อันเดียว ทำจิตให้บริสุทธิ์ ในช่องทางคือใจที่มีจิตอยู่นี้ ทุกอย่างจะไหลรวมมาอยู่ในใจของเรา

ศีลเป็นการรักษากาย และรักษาวาจา ตั้งแต่จิตตวิสุทธิไปเป็นส่วนของทางใจทั้งหมด ส่วนช่องทางทางใจเริ่มต้นรักษาที่จิตก่อน โดยฝึกตั้งสติสัมปชัญญะเอาไว้ ละนิวรณ์เครื่องกางกั้นต่าง ๆ ให้ได้ เข้าสู่เสนาสนะอันสงัด ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิทำมาดีพร้อม สำรวมอินทรีย์ สันโดษในเรื่องบริขารแห่งชีวิต อยู่หลีกเร้น

สมาธิทุกขั้นตั้งแต่ฌาน ๑ จนถึงฌาน ๔ จนถึง อรูปสัญญาสมาบัติในแต่ละขั้น ๆ จัดอยู่ในเรื่องของจิตตวิสุทธิ เป็นสมถะนั่นเอง


ขั้นที่ ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งทิฏฐิ)เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นอริยสัจ ๔ นั่นเอง พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นทุกข์, เห็นเหตุให้เกิดทุกข์ เห็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และเห็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ก็คือการวิปัสสนานั่นเอง

ให้เห็นตามความเป็นจริง เห็นเหตุเกิด เห็นความดีและความไม่ดีของมัน ให้มีความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้อง

ขั้นที่ ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย, ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้) ข้ามพ้นความสงสัย (สงสัยในเรื่องกุศลธรรม สงสัยในเรื่องความดีความชั่ว สงสัยในเรื่องของผลกรรม) คือ การเข้าสู่โสดาบันในขั้นมรรค และถ้าก้าวข้ามผ่านพ้นความสงสัยนี้ไปได้แล้ว ก็จะเป็นโสดาปัตติผลนั่นเอง

คนที่จะข้ามพ้นตรงนี้ได้ จะต้องเริ่มมีความศรัทธาเต็มที่ เริ่มต้นนี้ที่จะข้ามพ้นได้ วิจิกิจฉามันจะละไปได้ คือ เริ่มมีคุณธรรมของโสตาปัตติยังคะ ๔ แล้ว

ขั้นที่ ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่จะให้รู้ว่า อะไรคือใช่ทาง อะไรคือมิใช่ทาง)ทางซ้ายที่จะเป็นสีลพัตตปรามาส การปฏิบัติชนิดที่ลูบคลำ ผิด ๆ ถูก ๆ มึน ๆ งง ๆ อ้อนวอนขอร้อง บนบานศาลกล่าวอย่างไม่มีเหตุไม่มีผล ศรัทธาแบบหัวเต่า หรือ ศรัทธาแบบงมงาย มันไม่ใช่ทางอย่าไป ให้ไปทางขวา คือ มรรค (ทาง)

ขั้นที่ ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนินไป)รู้ว่าอะไรเป็นทาง หรือไม่ใช่ทางแล้ว ก็ดำเนินตามทางนั้นไป การดำเนินไปตรงนี้คือ ได้ทำความเพียรแล้ว ในเรื่องศีล ศรัทธา ที่ข้ามพ้นความสงสัยนี้แล้ว

คนที่ปฏิบัติจามศีลจากไม่เต็มที่ ทำ ดำเนินให้มันเต็มที่ คือ ทำให้เต็มที่ในทุก ๆ ด้านในชีวิตของเรา เป็นอาชีวะของเรา ดำเนินให้บริสุทธิ์หมดจดครบทุกด้าน

ขั้นที่ ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ)จะทำให้เกิดผลได้ คือ โสดาปัตติมรรคก็ตาม โสดาปัตติผลก็ตาม มีคุณธรรมเดียวกันคือ โสตาปัตติยังคะ ๔ แต่ในความที่เป็นโสดาปัตติมรรค ยังตัดเครื่องร้อยรัด (สังโยชน์) ๓ อย่างไม่ได้ ยังกับกำเริบได้ เช่น มีศรัทธาแล้วก็เสื่อมศรัทธา มีศีลแล้วบางทีก็ไม่มีศีล ยังสามารถถูกกิเลสดึงกลับไปได้

เพราะฉะนั้นในวิสุทธิ สามารถแก้สีลพัตตปรามาสด้วยสีลวิสุทธิ, สักกายทิฏฐิก็แก้ด้วยการทำทิฏฐิวิสุทธิให้เกิดขึ้น, วิจิกิจฉาก็แก้ด้วยการทำกังขาวิตรณวิสุทธิให้เกิดขึ้น จึงสามารถเปลี่ยนจากมรรคมาเป็นผลได้ ไม่ใช่แค่โสดาปัตติมรรค ยังรวมถึงสกิทาคามีมรรค อนาคามีมรรค และอรหัตตมรรคด้วย ซึ่งมีเครื่องร้อยรัดที่แตกต่างกันในแต่ละระดับ มาเป็นผลคืออนุปาทาปรินิพพาน (นิพพานที่ยังมีขันธ์อยู่) เป็นที่จุดจบตรงนี้ในการปฏิบัติในธรรมวินัยนี้อยู่ที่นิพพาน

เราทำให้มีการปฏิบัติมีความบริสุทธิ์เป็นขั้นเป็นตอนไป ประเด็นที่จะชี้ให้เห็นตรงนี้คือ ในขั้นที่จะเปลี่ยนจากมรรคมาเป็นผล ไม่ได้มีพุทธพจน์อะไรที่จะอธิบายจึงใช้ข้อความตรงนี้ที่พระสารีบุตรและพระปุณณมันตานีบุตรได้พูดคุยกัน เพื่อให้เห็นถึงความบริสุทธิ์เป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งรายละเอียดที่มันละเอียดแล้ว ยังสามารถที่จะละเอียดลงไปได้อีก แยกแยะแจกแจงจากแค่ริมฝั่ง ให้มาถึงกลางกระแสแม่น้ำ ว่ามันมีรายละเอียดถึง ๗ ขั้นอย่างนี้ พอเรารู้อย่างนี้แล้วจะได้ไม่ท้อใจ จะได้รู้ขั้นตอน รู้เส้นทาง รู้ทางดำเนินแล้วเราก็ดำเนินไป ในการดำเนินไปของเรานี้ด้วยกำลังของศรัทธา ด้วยกำลังของศีลที่เรามี จะทำให้เรามีความก้าวหน้าขึ้นเป็นไปตามลำดับได้

เส้นทางมีอยู่ ไม่ยากเกินความสามารถขอให้เรามีความศรัทธามีความมั่นใจ ดำเนินไปตามเส้นทางนี้แล้ว จะสามารถทำความบริสุทธิ์ คือ วิสุทธิในแต่ละขั้นให้เกิดขึ้นได้

เวลาเราขึ้นรถ ต้องซื้อตั๋ว เขาไม่ให้ขึ้นรถฟรี ๆ ตั๋วที่เราต้องซื้อนั้น ทางที่จะไปให้ถึงนิพพาน คุณต้องซื้อด้วยอริยทรัพย์ ให้เรามีอริยทรัพย์ ศีล ศรัทธา หิริโอตัปปะ สมาธิ ปัญญา พวกนี้เป็นอริยทรัพย์ทั้งสิ้น ให้เราสร้างสมคุณธรรมเหล่านี้ให้มีเกิดขึ้นในใจ อย่าเป็นคนจนกระจอกเข็ญใจ แต่ให้เป็นคนที่มีทรัพย์อยู่ภายใน เป็นอริยทรัพย์ จะสามารถทำให้การดำเนินตามเส้นทางที่จะไปสู่นิพพานนั้นเกิดขึ้นได้แน่นอน


กระทู้นี้ น่าสนใจ มีสาระและผมก็ติดตามอ่าน แต่ลุงหมาน เหมือนใส่ความคิดเห็นตนลงไปซึ่งก็เข้าใจได้ แต่ข้อธรรมบางอย่าง ไม่ตรงกับพระพุทธพจน์ เช่น อริยทรัพย์ มีศีล ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา

ไม่ได้รวมสมาธิไว้ด้วย ที่เป็นอริยทรัพย์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 03:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
สัมมัปปธาน ๔ ที่เป็นโพธิปักขิยะ
สมฺมา ปทหนฺติ เอเตนาติ สมฺมปฺปธานานิ ฯ
ธรรมชาติที่เป็นความเพียรพยายามกระทำชอบนั้น ชื่อว่า สัมมัปปธาน
สัมมัปปธานกล่าวโดยความหมายที่ง่ายกว่าความจดจำก็ว่า ตั้งหน้าทำชอบ
คือ เพียรพยายามกระทำการงานที่ชอบธรรม


ความเพียรพยายามทำชอบที่ว่าจะจัดเข้าถึงสัมมัปปธานนั้น ต้องประกอบด้วย

ก. ต้องประกอบด้วยความเพียรอันยิ่งยวด แม้ว่า เนื้อจะแห้งไป คงเหลือแต่ หนัง เอ็น
กระดูกก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่บรรลุถึงธรรมอันพึงได้ ก็จะไม่ท้อถอยจากความเพียรนั้นเป็นอันขาด

ข. ต้องมีความเพียรพยายามอันยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการ จึงจะได้ชื่อว่า
ตั้งหน้าทำในโพธิปักขิยธรรมนี้ ธรรม ๔ ประการนี้ได้แก่ :-

๑. อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ปหานาย วายาโม ฯ เพียรพยายามละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป
๒. อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อนุุปฺปาทาย วายาโม ฯ เพียรพยายามไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น
๓. อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ อุปฺปาทาย วายาโม ฯ เพียรพยายามให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ภิยฺโย ภาวาย วายาโม ฯ เพียรพยายมให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป
ด้วยเหตุว่า ต้องเพียรพยายามอย่างยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการ จึงได้ชื่อว่า สัมมัปปธาน ๔

จริงอยู่ อกุศลที่ดับไปแล้ว ย่อมดับไปแล้ว การที่จะลบล้างอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้สูญสิ้นไป
ย่อมไม่ใช่สิ่งที่กระทำได้ การเพียรพยายามละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปนั้น ในที่นี้มีความหมายว่า
อกุศลใดๆ ที่เคยได้กระทำแล้วก็จงอย่าไปนึกไปคิดถึงอกุศลนั้นๆอีก เพราะว่าการคิดการนึกขึ้นมาอีก
ย่อมทำจิตใจให้เศร้าหมอง อันก่อให้เกิดโทมนัส เดือดร้อนกระวนกระวายใจไม่มากก็น้อย
เมื่อจิตใจเศร้าหมองเดือดร้อน นั่นแหละได้ชื่อว่าจิตใจเป็นอกุศลแล้ว

ฉะนั้นประการต้น จะต้องไม่คิดไม่นึกถึงอกุศลที่เคยได้กระทำมาแล้ว คือ ละเสีย ลืมเสีย
ไม่เก็บมานึกคิดอึก จิตใจก็จะไม่เศร้าหมอง ประการต่อมาเมื่อจิตใจผ่องแผ้วไม่เศร้าหมองแล้ว
ก็ตั้งใจให้มั่นว่าจะไม่กระทำการอันใดที่เป็นอกุศลอีก ดังนี้จึงได้ชื่อว่าเพียรพยายามละอกุศล
ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป ทั้งนี้มีมาใน วิภังคอรรถกถา แห่ง สัมโมหวิโนทนี

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อกุศลที่ได้กระทำมาแล้วนั้นที่ได้ผลมาแล้วก็มี ที่ยังไม่ให้ผล
เพราะยังไม่มีโอกาสให้ผลก็มี ที่จะอันตรธานสูญสิ้นไปเองไม่มีเลย แต่ชาติใด
มีความสามารถประหารสักกายทิฏฐิได้ด้วยสัมมัปปธาน ๔ นี้แล้ว ชาตินั้นแลได้
ได้ประหารได้ละอกุศลที่เคยทำมาแล้วโดยสิ้นเชิง


สัมมัปธาน 4
คือ สัมมาวายามะ มีทั้งที่เป็นโลกิยะและเป็นโลกุตระ

ที่ถูกต้องเรียงแบบนี้

๑. ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้
เกิดขึ้น
๒. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำ
ความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น
๔. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำ
ความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์
ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กระทู้นี้ น่าสนใจ มีสาระและผมก็ติดตามอ่าน แต่ลุงหมาน เหมือนใส่ความคิดเห็นตนลงไปซึ่งก็เข้าใจได้ แต่ข้อธรรมบางอย่าง ไม่ตรงกับพระพุทธพจน์ เช่น อริยทรัพย์ มีศีล ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา

ไม่ได้รวมสมาธิไว้ด้วย ที่เป็นอริยทรัพย์


ไม่ได้กล่าวถึงอริยะทรัพย์ ๗ ครับ
แต่กล่าวถึง วิสุทธิ ๗ ตาม คัมภีร์วิสุทธิมรรค
ที่พระพุทธโฆษาจารย์ท่านได้รจนาไว้

ขอบคุณครับที่ติดตามอ่านและให้ข้อมูลที่เป็นกำลังใจประโยชน์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 04:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
กระทู้นี้ น่าสนใจ มีสาระและผมก็ติดตามอ่าน แต่ลุงหมาน เหมือนใส่ความคิดเห็นตนลงไปซึ่งก็เข้าใจได้ แต่ข้อธรรมบางอย่าง ไม่ตรงกับพระพุทธพจน์ เช่น อริยทรัพย์ มีศีล ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา

ไม่ได้รวมสมาธิไว้ด้วย ที่เป็นอริยทรัพย์


ไม่ได้กล่าวถึงอริยะทรัพย์ ๗ ครับ
แต่กล่าวถึง วิสุทธิ ๗ ตาม คัมภีร์วิสุทธิมรรค
ที่พระพุทธโฆษาจารย์ท่านได้รจนาไว้

ขอบคุณครับที่ติดตามอ่านและให้ข้อมูลที่เป็นกำลังใจประโยชน์


ติดตามครับ รอคุณลุงมาลงต่อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยสังคหะ กองที่เป็นอินทรีย์ ๕
อินทรีย์ ๒๒ กล่าวถึงความเป็นใหญ่ ความเป็นผู้ปกครองในสภาวธรรมที่เกิดขึ้นกับตน ไม่ว่าจะเป็นกุศล อกุศล หรืออพยากตะ ก็มี อินทรีย์ ๒๒ นัันได้ตามสมควร

ส่วนอินทรีย์ในโพธิปักขิยสังคหะนี้ เป็นความเป็นใหญ่ หรือความเป็นผู้ปกครองในสภาวธรรมที่เป็นฝ่ายดี และเฉพาะฝ่ายดีที่จะให้ให้ถึงฌานธรรมและอริยสัจจธรรม ดังนั้น อินทรีย์ในโพธิปักขิยะสังคหะนี้จึงมีเพียง ๕ ประการ เรียกว่า อินทรีย์ ๕ คือ

๑. สัทธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของศรัทธา มีหน้าที่ เชื่อ เลื่อมใสในสิ่งที่ควร ได้แก่ ศรัทธาเจตสิก เป็นนามธรรม ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔

สัทธามี ๒ อย่างคือ ปกติสัทธา และ ภาวนาสัทธา

ปกติสัทธา ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา อย่างสามัญของชนทั้งหลาย โดยปกติ ซึ่งสัทธาชนิดนี้ยังไม่แรงกล้า เพราะอกุศลธรรมสามารถทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยง่าย

ส่วน ภาวนาสัทธา ได้แก่ สมถะหนือวิปัสสนา ที่เนื่องมาจากกัมมัฏต่าง ๆ มีอานาปานสติเป็นต้น สัทธาชนิดนี้แนงกล้าและแนบแน่นในจิตใจมาก สมถภาวนาาัทธานั้นอกุศลจะทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยยาก ยิ่งเป็นวิปัสสนาภาวนาสัทธาแล้วไซร้ อกุศลไม่อาจจะทำให้สัทธานั้นเสื่อมไปได้เลย ภาวนาสัทธานี่แหละที่ได้ชื่อง่า สัทธินทรีย์

๒. วีริยินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของวิริยะ มีหน้าที่ เพียรพยายามยิ่งยวด ซึ่งต้องเป็นความเพียรที่บริบูรณ์ด้วยองค์ทั้ง ๔ แห่งสัมมัปปธาน ๔ จึงจะเรียกได้ว่าได้ว่า วิริยเจตสิก ในโพธิปักขิยธรรมนี้ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในจิเหตุกชวนจิต ๓๔

๓. สตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของสติ มีหน้าที่ รู้ทันปัจจุบันหรือระลึกในสิ่งที่ควร ที่เกิดมาจากสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๕

๔. สมาธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของสมาธิ มีหน้าที่ คือ ความแน่วแน่ตั้งมั่น ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน ติเหตุชวนจ้ต ๓๔

๕. ปัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางปัญญา มีหน้าที่รู้ไตรลักษณ์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกียะ) ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔

อนึ่ง เป็นที่น่าสงสัยว่า เหตุใดจึงไม่นับอินทรียอีก ๓ คือ อนัญญาตัญญัสสามิตินทรีย์, อัญญินทรีย์, และ อัญญาตาวินทรีย์, รวมอยู่ในโพธิปักขิยธรรมกองที่ ๔ นี้ด้วย เหตุที่ไม่นับ เป็นเพราะว่า

อินทรีย์ ๕ ในโพธิปักขิยธรรมนี้ แสดงความเป็นใหญ่ในอันที่จะให้เข้าถึงซึ่งความตรัสรู้ มรรค ผล นิพพาน ส่วนอินทรีย์ ๓ ที่กล่าวอ้างนี้เป็นโลกุตตรอินทรีย์ เป็นอินทรีย์ของพระอริยะเจ้า ผู้ตรัสถึงแล้ว ซึ่ง มรรค ผล นิพพาน กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า โพธิ เป็นตัวรู้โพธิปักขิยธรรมเป็นเครื่องให้เกิดตัวรู้ อนัญญาตัญญัสสามิตินทรีย์, อัญญินทรีย์, และ อัญญาตาวินทรีย์,ทั้ง ๓ นี้เป็นศัตรู ไม่ใช่เป็นเครื่องมือที่ใช้ให้เกิดตัวรู้ ดังนั้นจึงจัดรวมอยู่ ในที่นี้ด้วยไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2020, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-6078.jpg
Image-6078.jpg [ 94.4 KiB | เปิดดู 2590 ครั้ง ]
.
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ แบ่งออกเป็น ๗ หมวดคือ
๑. สติปัฏฐาน ๔.
๒. สัมมัปปธาน ๔
๓. อืทธิบาท ๔
๔. อินทรีย์ ๕
๕. พละ ๕
๖. โพชฌงค์ ๗
๗. มรรค ๘

จะแบ่งไปตามหมวด ศีล สมาธิ ปัญญา

สติปัฎฐาน ๔
ศีล --
สมาธิ ได้แก่ ๑. กายานุปัสสนา ๒.เวทนานุปัสสนา ๓. จิตตานุปัสสนา ๔.ธัมมานุปัสสนา
ปัญญา --

สัมมัปปทาน ๔
ศีล --
สมาธิ ได้แก่ สัมมัปปทาน ๔(วิริยะเจตสิก)
ปัญญา--

อิทธิบาท ๔
ศีล ได้แก่ ฉันทิบาท
สมาธิ ได้แก่ ๑.วิริยินทธิบาท ๒.จิตติทธิบาท
ปัญญา ได้แก่ ๑.วิมังสิทธิบาท

อินทรีย์ ๕
ศีล ได้แก่ ๑.สัทธินธินรีย์
สมาธิ ได้แก่ ๑.วิริยินทรีย์ ๒.สตินทรีย์ ๓.สมาธินทรีย์
ปัญญา ได้แก่ ๑.ปัญญินทรีย์

พละ ๕
ศีล ได้แก่ ๑. สัทธาพละ
สมาธิ ได้แก่ ๑.วิริยะพละ ๒.สติพละ ๓.สมาธิพละ
ปัญญา ได้แก่ ๑.ปัญญาพละ

โพชฌงค์ ๗
ศีล--
สมาธิ ได้แก่ ๑.สติสัมโพชฌงค์ ๒.วิริยะสัมโพชฌงค์ ๓.ปิติสัมโพชฌงค์
...................๔.ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๕.สมาธิสัมโพชฌงค์ ๖.อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ปัญญา ได้แก่ ๑.ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

มรรค ๘
ศีล ได้แก่ ๑.สัมมาวาจา ๒.สัมมากัมมันตะ ๓.สัมมาอาชีวะ
สมาธิ ได้แก่ ๑.สัมมาวายามะ ๒.สัมมาสติ ๓.สัมมาสมาธิ
ปัญญา ได้แก่ ๑.สัมมาทิฏฐิ ๒.สัมมาสังกัปปะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2020, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1599832393449.jpg
1599832393449.jpg [ 29.88 KiB | เปิดดู 2354 ครั้ง ]
โพธิปักขิยะธรรม ๓๗ กล่าวโดยย่อได้แก่วิสุทธิ ๗ ดังจะมีโพธิปักขิยะธรรมตามที่ประกอบได้ดังนี้

๑. สีลวิสุทธิความบริสุทธิแห่งศีล ได้แก่ ๑. สัมมาวาจา ๒. สัมมากัมมันตะ
๓. สัมมาอาชีวะ ๔. ฉันทิบาท ๕. สัทธินทรีย์ ๖.สัทธาพละ รวมความว่า สิลวิสุทธิมี ๖ ประการ

๒. จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งจิต ได้แก่ สมาธิ
จะมีโพธิปักขิยธรรมที่ประกอบร่วมด้วยมีจำนวน ๒๕ องค์ด้วยกันดังนี้
สติปัฏฐาน ๔ สัมปปธาน ๔ วิริยิทธิบาท ๑ จิตติทธิบาท ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑
สมาธินทรีย์ ๑ วิริยะพละ ๑ สติพละ ๑ สมาธิพละ ๑ สติสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยะสัมโพชฌงค์ ๑
ปิติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑
สัมมวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ ธรรมทัั้ง ๒๕ องค์นี้ สงเคราะห์ลงในจิตตวิสุทธิ

๓.ทิฎฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งความเห็น ได้แก่ ปัญญา มีโพธิปักขิยะธรรม ๖ คือ
๑.สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. วิมังสิทธิบาท ๔.ปัญญินทรีย์ ๕. ปัญญาพละ
๖. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ทั้ง ๖ นี้เป็นทิฏฐิวิสุทธิ

๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งการข้ามพ้นความสงสัย ได้แก่ ปัญญา

๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งความรู้เห็นว่าเป็นทางที่ถูกต้อง ได้แก่ ปัญญา

๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งความรู้เห็นว่านี้ใช่ทางปฏิบัติแล้ว
ทั้ง ๖ นี้ยังเป็นโลกียวิสุทธิอยู่

๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งความรู้เห็นพระนิพพาน ได้แก่ ปัญญา ซึ่งเป็นโลกุตตร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2020, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1602684405520.jpg
1602684405520.jpg [ 85.84 KiB | เปิดดู 2310 ครั้ง ]
......

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2020, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึงมีองค์ธรรม ๑๔ องค์
และจะได้แสดงฐานของ ๑๔ องค์ นั้น
ปัญญา ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สติ ๑ อุเปกขา ๑
ปัสสัทธิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ วิริยะ ๑ ปีติ ๑ ฉันทะ ๑ เอกัคคตา ๑ สัทธา ๑ จิตตะ ๑

ฐาน แปลว่า ที่ตั้ง หรือตำแหน่ง จึงมีความหมายว่า องค์ธรรม ๑๔ องค์นี้
แต่ละองค์เป็นโพธิปักขิยธรรมใน ๓๗ ประการนั้นได้กี่ตำแหน่ง หรือมีที่ตั้งกี่ตำแหน่ง
คือเป็นได้กี่ฐาน ฐานใดบ้าง ในส่วนที่มีฐานเดียวมี ๙ องค์ คีอ
สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ อุเปกขา ๑
ปัสสัทธิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ ปีติ ๑ ฉันทะ ๑ จิตตะ ๑

ส่วนวิริยะมี ๙ สติมี ๘ ฐาน สมาธิมี ๔ ฐาน ปัญญามี ๕ ฐาน สัทธามี ๒ ฐาน
เป็นการจำแนกโดยละเอียดแห่งธรรม ๓๗ ประการอันอุดม

๑. สัมมาสังกัปปะ องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก มีฐานเดียว คือ สัมมาสังกัปปะ
๒. ปัสสัทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัสสัทธิเจตสิก มีฐานเดียว คือ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๓. ปิติ องค์ธรรมได้แก่ ปีติเจตสิก มีฐานเดียว คือ ปีติสัมโพชฌงค์
๔. อุเบกขา องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตาเจตสิก มีฐานเดียว คือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
๕. ฉันทะ องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก มีฐานเดียว ฉันทธิบาท
๖. จิตตะ องค์ธรรมได้แก่ จิต มีฐานเดียว คือ จิตติทธิบาท
๗. วีรตี ๓ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก ๑ สัมมากัมมันตะเจตสิก ๑ สัมมาอาชีวะเจตสิก ๑
มีฐานเดียว คือ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ ตามลำดับ

๘. วิริยะ องค์ธรรมได้แก่ วิริยะเจตสิก มี ๙ ฐาน คือ สัมมัปปธาน ๔ วิริยิทธิบาท ๑ วิริยินทรีย์ ๑
วิริยะพละ ๑ วิริยะสัมโพชฌงค์ ๑ สัมมาวายามะ ๑
๙. สติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก มี ๘ ฐาน คือ สติปัฏฐาน ๔ สตินทรีย์ ๑ สติพละ ๑
สติสัมโพชฌงค์ ๑ สัมมาสติ ๑
๑๐. สมาธิ องค์ธรรมได้แก่ เอกคคตาเจตสิก มี ๔ ฐาน คือ สมาธินทรีย์ ๑ สมาธิพละ ๑
สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ และสัมมาสมาธิ ๑
๑๑. ปัญญา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก มี ๕ ฐาน คือ วิมังสิทธิบาท ๑ ปัญญินทรีย์ ๑
ปัญญาพละ ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ สัมมาทิฏฐิ ๑
๑๒. สัทธา องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก มี ๒ ฐาน คือ สัทธินทรีย์ ๑ สัทธาพละ ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2021, 13:18 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร