วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
หากเป็นดังว่านั้น ขอท่านได้โปรดบอกวิธีปฏิบัติให้เห็นปฏิจจสมุปบาทเพื่อเป็นวิทยาทานแก่สมาชิกลานธรรม และผู้ใคร่ในธรรมทั่วๆไปด้วยครับ :b8: :b8: :b8:
ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ :b1: :b42:


โยนตำราของสมมุติสงฆ์ทิ้งไปให้หมด นั่นเป็นสัทธรรมปฏิรูปทั้งนั้น ของจริงอยู่ที่การบริกรรมพุทโธ หรือบริกรรมอื่นใดก็ได้ พอจิตสงบถึงจุดหนึ่ง ก็เปลี่ยนเป็นวิปัสสนา ทำได้โดยพอจิตเริ่มเสียสมาธิ ก็พิจารณาว่า เมื่อกี้ยังมีสมาธิดีอยู่ ตอนนี้จิตไปฟุ้งซ่านเสียแล้ว เพราะจิตไปเอาเรื่องราวภายนอก เช่น เรื่องแฟน เรื่องลูก เรื่องเงิน เรื่องงาน เข้ามาในใจ หรือไม่ก็เกิดความเบื่อขึ้นมาเอง

การพิจารณาดังนี้ จิตจะเห็นภาวะการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วคราว และดับไป ของอารมณ์ต่างๆ แม้แต่อารมณ์สมาธิ การเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของทุกอารมณ์นี้แหละ ทำให้เห็นความทุกข์ว่า เกิดขึ้นจากการคิดปรุงแต่งทุกเรื่องราว ตอนหลังจิตมันก็จะเรียนรู้เพิ่มขึ้น จากที่เข้าฌานนานได้แค่ 30 นาที เวลาเข้าฌานมันก็นานขึ้นเป็น 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง

ศาสนาพราหมณ์ในอดีต เขาไม่รู้วิธีวิปัสสนาควบคู่กับการทำสมาธิ(สมถะกรรมฐาน) เขาจึงไม่พบทางเข้านิพพาน พบแต่ทางเข้ารูปพรหม และอรูปพรหม เพราะสมาธิ(สมถะกรรมฐาน)เป็นเพียงการสงบจิตชั่วครู่ชั่วยาม แต่เมื่อไม่รู้วิปัสสนา(สติปัฏฐาน) จิตของเขาจึงไม่สงบถาวร


พระธรรมเทศนา..หลวงพ่อชา สุภัทโท


เราควรอ่านตำรับตำรามากๆ หรือศึกษาพระไตรปิฎกด้วยหรือไม่ในการฝึกปฏิบัติ

หลวงพ่อชา ตอบ: พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้นไม่อาจค้นพบได้ด้วยตำราต่างๆ ถ้าท่านต้องการจะรู้เห็นจริง ด้วยตัวของท่านเองว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไรท่านไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับตำรับตำราเลย จงเฝ้าดูจิตของท่านเองพิจารณาให้รู้เห็นว่าความรู้สึกต่างๆ (เวทนา) เกิดขึ้นและดับไปอย่างไร ความนึกคิดเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร อย่าได้ผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย จงมีสติอยู่เสมอเมื่อมีอะไรๆ เกิดขึ้นให้ได้รู้ได้เห็นนี่คือทางที่จะบรรลุถึงสัจธรรมของพระพุทธองค์

จงเป็นปกติธรรมดา ตามธรรมชาติทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่าน ทำขณะอยู่ที่นี่เป็นโอกาสแห่งการฝึกปฏิบัติเป็นธรรมะทั้งหมดเมื่อท่านทำวัตรสวดมนตร์อยู่ พยายามให้มีสติถ้าท่านกำลังเทกระโถนหรือล้างส้วมอยู่อย่าคิดว่าท่านกำลังทำบุญทำคุณให้กับผู้หนึ่งผู้ใด มีธรรมะ อยู่ในการเทกระโถนนั้นอย่ารู้สึกว่า ท่านกำลังฝึกปฏิบัติอยู่เฉพาะเวลานั่งขัดสมาธิเท่านั้น พวกท่านบางคนบ่นว่า ไม่มีเวลาพอที่จะทำสมาธิภาวนา แล้วเวลาหายใจเล่ามีเพียงพอไหมการทำสมาธิภาวนา ของท่านคือ การมีสติระลึกรู้และการรักษาจิตให้เป็นปกติตามธรรมชาติในการกระทำทุกอิริยาบถ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


การทำวิปัสสนาในฌาน 1 อย่างเดียว แม้ท่านผู้นั้นจะบรรลุอรหันต์ ก็เป็นอรหันต์แห้งแล้ง คงจะไม่มีปัญญาไปตรวจสอบกลไกของปฏิจจสมุปบาทที่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ เพราะผู้จะรู้และตรวจสอบกลไกของปฏิจจสมุปบาทที่ถูกต้อง จำเป็นต้องได้อภิญญาอื่นด้วย นอกจากอาสวักขยญาณ (ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย จนเห็นว่า ขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวเรา และหมดความยึดถือมั่นในขันธ์ 5)

เช่น เรื่องวิญญาณในปฏิจจสมุปบาท สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ วิญญาณตัวนี้คือ วิญญานธาตุที่มีอวิชชา วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นาม-รูป นามรูปนั้นขันธ์ 5 ซึ่งมีวิญญาณขันธ์รวมอยู่ด้วย

พระอรหันต์สุขกวิปัสสโกจะไปตรวจสอบความถูกต้องเรื่องที่ผมพูดได้อย่างไร เพราะท่านไม่เคยสัมผัสปรโลก หรือโลกวิญญาณ และก็ไม่เคยถอดวิญญาณธาตุออกจากขันธ์ 5 จนเห็นว่าวิญญาณธาตุของท่านเป็นคนละตัวกับวิญญาณขันธ์ของท่าน ไปๆมาๆท่านก็จะหลงไปเชื่อคำสอนของสมมุติสงฆ์ที่ไม่เข้าใจหลักปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจ้าอีก

เช่น ที่ท่านพุทธทาสภิกขุสมัยแรกๆ ท่านก็ไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาทของจริง แล้วไปเผยแพร่ปฏิจจสมุปบาทที่เป็นสัทธรรมปฏิรูป(ของปลอม)ของสมมุติสงฆ์ นอกจากนี้ ท่านพุทธทาสก็ตีความเรื่องกฎแห่งกรรมไม่ถูกต้อง ไปคิดว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ เท่านั้น ผี วิญญาณ ที่อยู่ในปรโลกไม่มีจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โยนตำราของสมมุติสงฆ์ทิ้งไปให้หมด นั่นเป็นสัทธรรมปฏิรูปทั้งนั้น ของจริงอยู่ที่การบริกรรมพุทโธ หรือบริกรรมอื่นใดก็ได้


ขอโทษนะครับ ความหมายนี้มันกว้างมาก ที่กล่าวว่าเป็นสัทธรรมปฏิรูป

คุณให้ความหมายคำว่า สัทธรรมปฏิรูป ว่าอย่างไร หมายถึงของปลอม หรือของไม่แท้ หรือของไม่จริง หรือเปล่า

แล้วที่ว่าโยนทิ้งนี่ ถ้าพูดมันก็พูดได้ แต่ตัวคุณเอง ศึกษามาจาก ตำราของใคร อย่าบอกนะว่า
บรรลุหรือรู้ด้วยตัวเอง แบบพระพุทธเจ้า

คนแรกเริ่มก็ต้องอาศัยตำราศึกษาก่อน จะมานั่งหลับตาเลยอย่างนั้นหรือ แล้วจะรู้หรือว่า
สมาธิ คืออะไร
อารมณ์ คืออะไร
กรรมฐาน คืออะไร
จิต คืออะไร


ตำราก็คือ ครูบาอาจารย์ อย่างหนึ่ง แต่ถูกถ่ายทอดลงเป็นอักษร แต่จะเท็จจริงประการใด ก็ขึ้นกับผู้ที่อ่าน ทำความเข้าใจและปฏิบัติตาม พิจารณาเองว่าถูกต้องหรือไม่

การให้โยนทิ้ง ก็คือการปฏิเสธ ตำรา ไม่เอาตำรา ก็เหมือนกับว่าไม่เอาครูบาอาจารย์ที่เป็นหนังสือ
แต่ไปแสวงหาครูบาอาจารย์ที่เป็นตัวตน เป็นคน พอเขาบอกอะไรก็เชื่อ
หรือไม่ก็มาหาความรู้เอาเองจากอินเตอร์เน็ท เพราะสะดวกสบาย


ผมว่า ความคิดที่ไม่เอาตำรา หรือโยนทิ้งไปนี่ ถ้าคนเคยศึกษามาและปฏิบัติ ก็จะเข้าใจความหมาย
แต่ถ้าคนเริ่มใหม่ล่ะ เขาจะคิดยังไงกับความหมายนี้

ผมว่าสำนวนการ ใช้คำพูด น่าจะต้องปรับปรุง


ผมขอบอกว่า
การปฏิบัติธรรมนั้น ละทิ้งไม่ได้เลย ตำรา คำสั่งสอนครูอาจารย์ จะเป็นคำพูดก็ดี ตัวอักษร หนังสือ ก็ดี
ยังต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นพื้นฐาน สำหรับนักปฏิบัติธรรม ที่จะเรียนรู้ขั้นสูง

แต่พอเมื่อท่านจะปฏิบัติ ก็ขอให้ท่านนั้น ละวางความรู้จากตำราเสียก่อน แล้วมาหาความรู้จากตัวของนักปฏิบัติธรรมเองก่อน

เมื่อรู้ตัวเองแล้ว ก็นำมาเปรียบเทียบ และพิจารณาตามตำรา หรือคำสอนครูอาจารย์ ดูว่า สอดคล้องหรือเท็จจริงประการใด จะได้เป็นตัวองค์ความรู้ที่ชัดเจน และมั่นใจในการปฏิบัติตรง ถูกต้อง และไม่ได้
เข้าข้างใจของตัวเอง

อย่างเช่นว่า เราศึกษาเรื่อง การทำสมาธิ หากเป็นผู้ใหม่ แทบจะไม่รู้เลยว่าการทำสมาธิทำอย่างไร
มีกี่แบบ กี่วิธี อะไรเรียกว่าสมาธิ ทำไมต้องทำสมาธิ

หากว่าถ้าทำอย่างคุณพลศักดิ์ บอก ให้ทิ้งตำราไป เพราะเป็นสัทธรรมปฏิรูป

แล้วคนใหม่แบบนี้จะเริ่มต้นอย่างไร?

คนที่อยากจะทำสมาธิ ก็ต้องขวนขวายหาความรู้ จะเป็นตำราก็ดี หรือ ครูบาอาจารย์ ก็ดี
ก็ต้องหาความรู้เป็นพื้นฐานเริ่มแรก
แล้วตำราหนังสือ ก็เป็นพื้นฐานที่สะดวกที่สุดในการที่จะค้นคว้าหาความรู้

เมื่อผู้ใหม่จะปฏิบัติ โดยได้หนังสือตำรา หรือครูบาอาจารย์แล้ว ก็พยายามเรียนรู้ และจดจำ ทำความ
เข้าใจ ว่า สมาธิคืออะไร มีวิธิทำอย่างไร อะไรคือจิต อะไรคือกรรมฐาน อะไรคืออารมณ์
อะไรคือฌาณ อะไรคือองค์แห่งฌาณ อะไรคือนิมิต อะไรคือกิเลส อะไรคือพระไตรลักษณ์
อะไรคือรูป นาม อย่างนี้เป็นต้น

ต้องทำความเข้าใจด้านทฤษฏี ก่อน

จากนั้น ผู้นั้น ก็ต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำหลังจากได้ศึกษามาแล้ว
แต่ตอนนี้ล่ะ ที่นักปฏิบัตินั้น จะต้องวางความรู้จากตำราเสียก่อน เพราะถ้าไม่วางแล้ว
จะเกิดความอยากรู้ อยากเห็น อยากได้ อยากเป็น ต่างๆมากมาย
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทิ้ง

แต่ช่วงขณะปฏิบัตินั้น ต้องเรียนรู้ของจริง แล้วนำมาผสานให้ตรงความรู้ที่ได้ศึกษามาว่า อะไรคือจิต
เราก็ต้องรู้สภาวะของตัวเราผู้ปฏิบัติว่า ที่ตัวเรานี้ อะไรคือจิต

อารมณ์ ที่เราศึกษามา เราก็พยามเรียนรู้ว่า สภาวะตามความเป็นจริงที่ตัวเรานี้ อะไรคืออารมณ์
พยายามทำความเข้าใจ เป็นลำดับขั้นตอน

อย่าทำแบบ รวบหัวรวบหาง ทำแบบนี้จะเป็นแบบว่า เข้าข้างตัวเอง

นักปฏิบัตินั้น ก็ไม่ต่างจากนักทดลองวิทยาศาสตร์

นักวิทยาศาสตร์ ที่เก่งๆ สุดยอดนั้น ก็อาศัยตำราเป็นพื้นฐาน จะโยนทิ้งแล้วคิดเองก็คงจะทำไม่ได้



อ้างคำพูด:
พอจิตสงบถึงจุดหนึ่ง ก็เปลี่ยนเป็นวิปัสสนา ทำได้โดยพอจิตเริ่มเสียสมาธิ ก็พิจารณาว่า เมื่อกี้ยังมีสมาธิดีอยู่ ตอนนี้จิตไปฟุ้งซ่านเสียแล้ว เพราะจิตไปเอาเรื่องราวภายนอก เช่น เรื่องแฟน เรื่องลูก เรื่องเงิน เรื่องงาน เข้ามาในใจ หรือไม่ก็เกิดความเบื่อขึ้นมาเอง

การพิจารณาดังนี้ จิตจะเห็นภาวะการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วคราว และดับไป ของอารมณ์ต่างๆ แม้แต่อารมณ์สมาธิ การเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของทุกอารมณ์นี้แหละ ทำให้เห็นความทุกข์ว่า เกิดขึ้นจากการคิดปรุงแต่งทุกเรื่องราว ตอนหลังจิตมันก็จะเรียนรู้เพิ่มขึ้น จากที่เข้าฌานนานได้แค่ 30 นาที เวลาเข้าฌานมันก็นานขึ้นเป็น 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง


ตรงนี้คุณอธิบายว่า จิตสงบถึงจุดหนึ่ง แล้วมันจุดไหน?

มันจำเป็นด้วยหรือที่ต้องถึงจุดหนึ่งแล้วต้องเปลี่ยนเป็นวิปัสสนา

คุณเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า?

วิปัสสนา กับ ปฏิจจสมุปบาท นี่มันมีความหมายต่างกันนะ

คุณอธิบายอย่างนี้ใครจะไปเข้าใจ ยิ่งคนใหม่ๆ ยิ่งทำความเข้าใจยากเลย

ผมอ่าน ผมยังตีความนึกไปเหมือนกับรถยนต์ วิ่งไปได้ความเร็วสักระยะก็เปลี่ยนเกียร์


วิปัสสนา เป็นการตามรู้ตามเห็นสภาวะธรรม ตามความเป็นจริงในชีวิต ตั้งแต่ตื่นลืมตาขึ้นมา
เรียนรู้สภาวะธรรม ทุกขณะจิต ตามรู้ตามดูทำความเข้าใจจนเกิด วิปัสสนาญาณ

มันจำเป็นไหม? ที่ต้องนั่งสมาธิให้สงบก่อนแล้วเปลี่ยนมาวิปัสสนา

การทำแบบนี้มันเป็น ปฏิจจสมุปบาท ยังไง ผมยังไม่เข้าใจ

มันเป็นแต่เพียง วิธีการ ของนักปฏิบัติเอง เป็นหลักการของตัวเอง ว่าจะเริ่มพิจารณาตอนไหน

แต่การปฏิบัติวิปัสสนาจริงๆ ไม่ได้กำหนดเวลา เมื่อใดที่มีสติระลึกรู้ ก็พิจารณาตามเวลาตอนนั้นเลย

การทำแบบคุณนั้น มันยัง ถือเป็นตัวเป็นตนอยู่ เพราะ ยังมีคนที่ต้องทำ และต้องทำตามแบบ


ปฏิจจสมุปบาท นั้น เป็น ระบบของธรรมชาติ เป็นกระบวนการของธรรมชาติ ที่อาศัยเหตุผลซึ่งกันและกัน ในการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์ โดยมีความไม่รู้ คืออวิชชาเป็นเหตุเริ่ม

ก็ อวิชชา ความไม่รู้นี่แหละ ที่ทำให้เราต้องศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรม เพื่อความรู้ในทางธรรมะที่ถูกต้องเพื่อจะได้ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์
การจะละได้ ต้องอาศัยปัญญา ถ้าคนไม่มีปัญญา ไม่ศึกษาทำความเข้าใจ ไม่มีโอกาสที่จะทำลาย อวิชชาได้เลย

และปัญญาที่ว่านี้ ต้องเป็นปัญญาที่มาจากวิปัสสนาญาณ ที่อาศัยการปฏิบัติ
ซึ่งการปฏิบัตินั้น ก็ต้องยึดถือ มรรค มีองค์แปด เป็นเกณณ์การปฏิบัติด้วย ฉะนั้นผู้ปฏิบัติก็ต้องมีความรู้
เกี่ยวกับมรรคมีองค์แปดด้วย และวิธีการปฏิบัตินั้น ก็อาศัยสติปัฏฐาน4 นี้ จะเป็นทางที่จะทำให้
เกิดความรู้ ทำลายอวิชชาได้

เมื่อทำลายอวิชชาได้ทั้งหมด ขอย้ำว่า ทั้งหมด ทุกข์ก็จะไม่มีที่ให้เกิด


การจะพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท นั้น
เริ่มต้นที่ทุกข์ ก่อน เป็นดี เพราะง่ายที่จะทำความเข้าใจ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อมความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี



เราก็สาวหาเหตุว่าอะไร ทำให้เกิดทุกข์ เช่น ร้องไห้เสียใจ คนที่รัก จากไป
ต้องกำหนดรู้ ก่อนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรานั้น เรียกว่า ทุกข์ ในที่นี้ ก็ยกตัวอย่างคือ ความเสียใจ นี่แหละที่เรียกว่า ทุกข์ เป็นการกำหนดรู้ ซึ่งเป็นหน้าที่ใน ทุกขอริยสัจ

ต่อมา ก็ต้องหาเหตุ ซึ่งการหาเหตุนี้จะเป็นขั้นตอนที่จะเป็นในส่วนที่จะก่อให้เกิด การละทิ้งทุกข์ คือส่วนของ ทุกขสมุทัย พูดง่ายๆ คือ รู้แล้ว จะได้วางได้
การหาเหตุ ก็อาศัย ปฏิจจสมุปบาท นี้มาเป็นหลักพิจารณาก็ได้
แต่ผู้จะพิจารณาได้ ต้องศึกษาทำความเข้าใจความหมาย ของคำศัพท์ ให้เข้าใจเสียก่อน
เพราะไม่เช่นนั้น การนำคำศัพท์มาเท่ียบเคียงกับสภาวะธรรมตามความเป็นจริงจะผิด
เช่น ต้องรู้ว่า อะไรคือเวทนา เขาให้ความหมายอย่างไร แล้วก็ลองดูสภาวะธรรมตามความเป็นจริงเป็น
อย่างไร
เมื่อศึกษาจนเข้าใจความหมายของศัพท์แล้ว
มันก็จะทำให้เรานั้นรู้ว่าหลักท่านบอกไว้อย่างไร ทีนี้เราก็พิจารณาตามหลัก
เช่น ความเสียใจ ที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นทุกข์ ทุกข์นี้จะเกิดขึ้นได้ก็มีสาเหตุ จริงไหม? ก็ต้องพิสูจน์
ท่านว่า อวิชชา ความไม่รู้ เป็นเหตุต้น การที่เราเสียใจ ก็เพราะมีอวิชชา คือความไม่รู้ ที่ไม่รู้อันแรกเลย ก็คือ ไม่รู้ธรรมชาติของตัวเองว่าเป็นอย่างไร ไม่รู้ว่ากระบวนการชีวิตของตัวเองเป็นยังไง
ถ้าไม่ศึกษาย่อมไม่รู้เลย
และที่ไม่รู้ต่อไป คือ ไม่รู้จักความเสียใจ อย่างแท้จริง รู้แต่ว่าเรานั้นเสียใจ แต่เราไม่รู้ว่าเสียใจนั้นมา
จากไหน เราจึงเสียใจ
ที่ไม่รู้ต่อไปก็คือ รู้ถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ในสิ่งที่เราทำ เราไม่เคยรู้เลยว่า เราร้องไห้เสียใจ เป็นประโยชน์อะไร หรือมีโทษอย่างไร และจะร้องไห้เสียใจไปเพื่ออะไร แล้วเสียใจไปจะได้อะไรกลับมา หรือมีอะไรเปลี่ยนแปลง
ที่ไม่รู้อีก ก็มี คือ ไม่รู้ว่าเสียใจตอนไหน เวลาไหน และจะหยุดเมื่อไร แล้วมันหยุดเสียใจตอนไหน

เห็นไหมครับว่า ความไม่รู้ นี่ เป็นเหตุก่อ ให้เกิดความทุกข์ได้

ถ้าเราพิจารณาให้ดี จะเห็นว่า กระบวนการปฏิจจสมุปปบาท นั้นก็คือ ความเกี่ยวเนื่องกัน ของ นาม รูป
นั่นเอง เราต้องศึกษากระบวนการของนาม รูป ด้วย ว่ามันมีกระบวนการอย่างไร
เช่น นาม มีอะไรบ้าง รูป มีอะไรบ้าง
ทั้งสองมีความเกี่ยวเนื่องกันยังไง
เมื่อเราศึกษาเข้าใจ ก็จะมาสัมพันธ์ กับ ความเสียใจของเราได้

ดังที่กล่าวแล้ว ความเสียใจที่เกิดจากคนรักจากไป

คนที่เรารักนั้น เกิดจากการยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


การยึดมั่นคนที่เรารักนั่น เกิดจากอวิชชาอีกนั่นแหล่ะ แต่เป็นคนละอย่าง กับความเสียใจ
เช่น ตา เห็น คนที่รัก ยึดว่า เป็นตัวตน ก็เป็น อวิชชา ความไม่รู้ อีกเรื่องหนึ่ง
เสียใจ เพราะพลัดพลากจากคนรัก ก็เป็น อวิชชา ความไม่รู้ อีกเรื่องหนึ่ง

แต่กระบวนการของอวิชชา ที่จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ก็จะเป็นไปตามกระบวนของปฏิจจสมุปปบาท

หรือเรา จะบอกว่า เป็น อวิชชา เรื่องเดียวกันก็ได้ คือ ความไม่รอบรู้ในกองสังขาร

รวมแล้ว ก็คือ อวิชชา ความไม่รู้ เป็นเหตุ



( อธิบายมาก ชักเบลอ ขอพักก่อน :b23: )


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ไม่ควรพูดอภิธรรม

ภิกษุ ท.! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ซึ่งมิได้อบรมกาย
มิได้รับอบรมศีล มิได้รับอบรมจิต และมิได้รับอบรมปัญญา ;
เธอทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้น พูดกันถึงเรื่องอภิธรรม หรือเรื่องเวทัลละอยู่
จักพลัดออกไปสู่แนวของมิจฉาทิฏฐิโดยไม่รู้สึกตัว.
ภิกษุ ท.! ด้วยอาการอย่างนี้เอง,วินัยมีมลทิน เพราะธรรมที่มีมลทิน ; ธรรมมีมลทิน เพราะวินัยมีมลทิน.
นี้เป็นอนาคตภัย ที่ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในเวลาต่อไป. พวกเธอทั้งหลาย
พึงสำนึกไว้ ครั้นได้สำนึกแล้ว ก็พึงพยายามเพื่อกำจัดภัยนั้นเสีย.

- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๒๒/๗๙


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


เถระวิปริต

ภิกษุ ท.! ภิกษุเถระที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างเหล่านี้
แล้ว ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดความสุข
ทำไปเพื่อความฉิบหายแก่คนเป็นอันมาก ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เป็นไปเพื่อความทุกข์ ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ห้าอย่างอะไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ :-
(๑) ภิกษุเป็นเถระ บวชมานาน มีพรรษายุกาลมาก.
(๒) เป็นที่รู้จักกันมาก มีเกียรติยศ มีบริวาร ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต.
(๓) เป็นผู้ร่ำรวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-เภสัชบริกขาร
(๔) เป็นพหูสูตร ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้ว--ฯลฯ--
(๕) (แต่) เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีทัศนะวิปริต.
ภิกษุ ท.! ภิกษุนี้ ทำคนเป็นอันมากให้ห่างจากพระสัทธรรม,ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม
.
ประชาชนทั้งหลาย ย่อมถือเอาแบบอย่างของภิกษุนั้นไป
เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ บวชมานาน มีพรรษายุกาลมากบ้าง,
เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ ที่มหาชนเชื่อถือรู้จักกันมาก มีเกียรติยศ มีบริวารมาก
ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบ้าง, เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ ที่ร่ำรวยลาภด้วยจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขารบ้าง,
เพราะคิดว่า เธอเป็นภิกษุเถระ ที่เป็นพหูสูต ทรงจำธรรที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้วได้บ้าง, ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ภิกษุเถระ ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าอย่างเหล่านี้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำมหาชนให้เสื่อมเสีย ทำมหาชนให้หมดความสุข ทำไป
เพื่อความฉิบหายแก่คนเป็นอันมาก ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นไปเพื่อความทุกข์
ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล

- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๒๙/๘๘, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โยนตำราของสมมุติสงฆ์ทิ้งไปให้หมด นั่นเป็นสัทธรรมปฏิรูปทั้งนั้น ของจริงอยู่ที่การบริกรรมพุทโธ หรือบริกรรมอื่นใดก็ได้ พอจิตสงบถึงจุดหนึ่ง ก็เปลี่ยนเป็นวิปัสสนา ทำได้โดยพอจิตเริ่มเสียสมาธิ
ก็พิจารณาว่า เมื่อกี้ยังมีสมาธิดีอยู่ ตอนนี้จิตไปฟุ้งซ่านเสียแล้ว เพราะจิตไปเอาเรื่องราวภายนอก เช่น เรื่องแฟน เรื่องลูก เรื่องเงิน เรื่องงาน เข้ามาในใจ หรือไม่ก็เกิดความเบื่อขึ้นมาเอง



กรัชกายอ่าน คห. ที่คุณพลศักดิ์ (คนดีโลกลืม)โพสเกือบทุกที่ครับ อ่านๆ แล้วอดนึกถึงผักกระป๋องจับฉ่ายไม่ได้ คือว่า ในกระป๋องนั้นมีผักหลายๆอย่างอัดรวมกันอยู่ แต่ก็อร่อยดีนะครับ กินกับข้าวต้มร้อนๆ :b16: :b38:


http://board.palungjit.com/showthread.php?t=171003

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 08:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่งพบเว็บไซต์หนึ่งมีแม่ชีเป็นผู้นำ น่าจะเหมาะกับภูมิธรรมคุณพลศักดิ์ ไม่ทราบคุณพลศักดิ์เคยเห็นหรือยัง

http://www.maeshemanora.com/index.php?l ... c=webboard

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2009, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกายอ่าน คห. ที่คุณพลศักดิ์ (คนดีโลกลืม)โพสเกือบทุกที่ครับ อ่านๆ แล้วอดนึกถึงผักกระป๋องจับฉ่ายไม่ได้ คือว่า ในกระป๋องนั้นมีผักหลายๆอย่างอัดรวมกันอยู่ แต่ก็อร่อยดีนะครับ กินกับข้าวต้มร้อนๆ


อ้าวเดี๋ยวนี้ชาวดอยออกจับฉ่ายกระป๋องแล้วหรือครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


คุณพลศักดิ์ ช่วยตอบคำถามคุณว่างเปล่าด้วยครับ :b8:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร