วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2009, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ทำศาสนาเสื่อม

ภิกษุ ท.! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้ ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป. สี่อย่างอะไรกันเล่า ? สี่อย่างคือ:-

ภิกษุ ท.! พวกภิกษุเล่าเรียนสูตร อันถือกันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันผิด ; เมื่อบทและพยัญชนะใช้กันผิดแล้ว แม้ความหมายก็มีนัยอันคลาดเคลื่อน. ภิกษุ ท.! นี้ มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป

ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเป็นคนว่ายาก ประกอบด้วยเหตุที่ทำให้เป็นคนว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือนโดยความเคารพหนักแน่น.ภิกษุ ท.! นี้มูลกรณีที่สอง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป.

ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท). ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เอาใจใส่บอกสอนใจความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่น ๆ ; เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับดับไป สูตรทั้งหลาย ก็เลยขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) ไม่มีที่อาศัยสืบไป. ภิกษุ ท.! นี้ มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป.

ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุชั้นเถระ ทำการสะสมบริกขารประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา มีจิตต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแลในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง. ผู้บวชในภายหลังได้เห็นพวกเถระเหล่านั้นทำแบบแผนเช่นนั้นไว้ ก็ถือเอาไปเป็นแบบอย่าง จึงทำให้เป็นผู้ทำการสะสมบริกขารบ้าง ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา มีจิตต่ำด้วย อำนาจแห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแลในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง,ตามกันสืบไป. ภิกษุ ท.! นี้ มูลกรณีที่สี่ ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป

ภิกษุ ท.! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้แล ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป

- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.
:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย BlackHospital เมื่อ 13 ก.พ. 2009, 21:35, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2009, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


เนื้อแท้อันตรธาน ๑
ภิกษุ ท.! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ๒ เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป) ภิกษุ ท.! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น ;
ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น :
ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,สุตตันตะ (ตัวสูตรส่วนที่ลึกซึ้ง) เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่. เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด มีนักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสรวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่,เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.

ภิกษุ ท.! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตาจักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
๑ - นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
๒ กษัตริย์ ทสารหะ วงษ์ยาทพ แห่งมหาภารตะ.

เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน ๑

ภิกษุ ท.! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตรเป็นเรื่องแนวนอก เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ภิกษุ ท.! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟังย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนจึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้.

ภิกษุ ท.! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า บริษัทที่มีการลุล่วงไปได้ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอาเอง, หาใช่ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่างของบุคคล ภายนอกเหล่าอื่นไม่; จัดเป็นบริษัที่เลิศแล.
-ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒,


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ไม่ทำศาสนาเสื่อม

ภิกษุ ท.! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้ ย่อมทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้
ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป. สี่ประการอะไรบ้างเล่า ? สี่ประการ คือ:-

(๑) ภิกษุ ท.! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก
ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น.
ภิกษุ ท.! นี่เป็นมูลกรณีที่หนึ่งซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

(๒) ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุ เป็นคนว่าง่าย ประกอบด้วยเหตุที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย
อดทน ยอมรับคำสั่งสอนโดยความเคารพหนักแน่น.
ภิกษุ ท.! นี่เป็นกรณีที่สอง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

(๓) ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจนะ
ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอน เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่น ๆ,
เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาดเป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป.
ภิกษุ ท.! นี่เป็นมูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

(๔) ภิกษุ ท.! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุผู้เถระ ไม่ทำการสะสมบริกขาร ไม่ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา ไม่มีจิตตกต่ำ ด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ มุ่งหน้าไปในกิจแห่งวิเวกธรรม ย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง.
พวกภิกษุที่บวชในภายหลัง ได้เห็นพระเถระเหล่านั้น ทำแบบฉบับเช่นนั้นไว้ก็ถือ
เอาเป็นตัวอย่าง, พวกภิกษุรุ่นหลัง จึงเป็นพระที่ไม่ทำการสะสมบริกขาร ไม่
ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา ไมมีจิตตกต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ มุ่งหน้าไป
ในกิจแห่งวิเวกธรรม ย่อมปรารถความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง.
ภิกษุ ท.! นี่เป็นมูลกรณีที่สี่ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

ภิกษุ ท.! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้แล ย่อมทำให้รพะสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไปเลย.
- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๘/๑๖๐, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 03:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระไตรปิฎกมี คำอรรถคถา (คำของอาจารย์ รุ่นหลัง) มากถึง ๒ใน๓

วิธีสังเกตุ หรือ แยกคำของพระพุทธเจ้า กับ คำอรรถคถา อย่างง่าย ทำอย่างไร

คำของพระพุทธเจ้ามักจะขึ้นประโยคด้วย
ภิกษุ ท
ภิกษุ ทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อานนท์... วัจฉะ...มหาราชะ....ชื่อของสาวก.....
ดูกร อานนท์... วัจฉะ...มหาราชะ....ชื่อของสาวก....


คำอรรถคถา มักจะขึ้นประโยคด้วย
บทว่า ที่ว่า ความว่า หรือ ยกขึ้นกล่าวลอยๆ
ซึ่งอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


หลักที่ทรงใช้ในการตรัส
(๖ อย่าง)


ราชกุมาร !
(๑) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริงแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อม ไม่กล่าว วาจานั้น.

(๒) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริงแท้ แต่ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อมไม่กล่าว วาจานั้น.

(๓) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์แต่ ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อมเลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าววาจานั้น.

(๔) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริงแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์แต่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อมไม่กล่าว วาจานั้น.

(๕) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริงอันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์แต่ก็เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อมไม่กล่าว วาจานั้น.

(๖) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริงแท้ และประกอบด้วยประโยชน์และ เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อมเป็นผู้ รู้จักกาละที่เหมาะ เพื่อกล่าววาจานั้น.

ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า ? ราชกุมาร ! เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย.

--บาลี ม.ม. ๑๓/๙๑/๙๔, ตรัสแก่อภยราชกุมาร ที่เวฬุวัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2009, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


BlackHospital เขียน:
เนื้อแท้อันตรธาน ๑
ภิกษุ ท.! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ๒ เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป) ภิกษุ ท.! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น ;
ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น :
ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,สุตตันตะ (ตัวสูตรส่วนที่ลึกซึ้ง) เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่. เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด มีนักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสรวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่,เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.

ภิกษุ ท.! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตาจักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
๑ - นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
๒ กษัตริย์ ทสารหะ วงษ์ยาทพ แห่งมหาภารตะ.

เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน ๑

ภิกษุ ท.! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตรเป็นเรื่องแนวนอก เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ภิกษุ ท.! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟังย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนจึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้.

ภิกษุ ท.! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า บริษัทที่มีการลุล่วงไปได้ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอาเอง, หาใช่ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่างของบุคคล ภายนอกเหล่าอื่นไม่; จัดเป็นบริษัที่เลิศแล.
-ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒,




เอากลอนมาฝาก
นำเนื้อความมาจากพระสูตรนี้ครับ


ตอกลิ่ม


อันกลองเก่า ถูกเสริมไม้ ให้ดูใหม่
มีเพียงโครง ที่ใช้ ของกลองเก่า
เนื้อไม้ใหม่ ใช่ลิ่ม ทิ่มเพิ่มเอา
เห็นแล้วเศร้า กลองเพี้ยน เพราะเปลี่ยนแปลง

เข้าใจว่า กลองเดิมใช้ ไม่เหมาะสม
จึงทับถม กลองเดิม เพิ่มขัดแย้ง
แต่งเสริม เพิ่มสับสน ปนแสดง
ใช้ลิ่มแทง ธรรมจริง ยิ่งวุ่นวาย

ประเคนลิ่ม ทิ่มใส่ ให้แตกแยก
คมลิ่มแทรก แยกเคลื่อน ธรรมเลือนหาย
สัทธรรม ยุ่งนุงนัง พังทลาย
คมลิ่มร้าย กลองแตก แทรกเนื้อไม้

ตึงๆ ปึงปัง ฟังเสียงกลอง
ท่วงทำนอง โหยหวน ชวนสงสัย
เสียงแปลกขัด โสตประสาท ประหลาดใจ
เหตุไฉน เสียงกลองดัง ฟังวังเวง


ตรงประเด็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2009, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ BlackHospital ครับ



พระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ฐิติสูตรว่าด้วยการตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม


*** อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว

*** พระพุทธเจ้าตรัสว่า


“ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญไม่ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และเพราะบุคคลเจริญ กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2009, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ BlackHospital ครับ




*** ในอีกพระสูตรหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสว่า

“ ด้วยว่าเมื่อปริยัติเสื่อมหายไป การปฏิบัติก็เสื่อมหายไป
เมื่อการปฏิบัติเสื่อมหายไป อธิคมก็เสื่อมหายไป. ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า ปริยัตินี้เป็นปัจจัยแก่การปฏิบัติ การปฏิบัติเป็นปัจจัยแก่อธิคม.
แต่เมื่อว่าโดยการปฏิบัติกำหนดปริยัติเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ”


ดังนั้น การเรียนปริยัติ จึงเป็นการเรียนภาคทฤษฎี เพื่อจะนำเอาไปปฏิบัติเท่านั้น นี่แหละครับ สาเหตุที่ศาสนาพุทธเสื่อม " ธรรมใดๆก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2009, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

----------------------
ภิกษุ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด)
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะเวทัลละ,
แต่เธอย่อมรู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่าธรรมวิหารี - ผู้อยู่ด้วยธรรม.
ภิกษุ! ภิกษุผู้มากด้วยปริยัติเราก็แสดงแล้ว, ผู้มากด้วยการบัญญัติเราก็
แสดงแล้ว, ผู้มากด้วยการสาธยายเราก็แสดงแล้ว, ผู้มากด้วยการคิดเราก็แสดงแล้ว,
และธรรมวิหารี - ผู้อยู่ด้วยธรรมเราก็แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุ ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกุล อาศัยความเอ็นดูแล้ว
จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย ภิกษุ !
นั่น โคนไม้ทั้งหลาย, นั่น เรือนว่างทั้งหลาย.
ภิกษุ !เธอทั้งหลาย จงเพียรเผากิเลส, อย่าได้เป็นผู้ประมาท;
เธอทั้งหลายอย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.
นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนเธอทั้งหลายของเรา.

พระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๐๐/๗๔.

-----------------------------------------------------
ภิกษุ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด)
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะเวทัลละ,
แต่เธอไม่ใช่วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการเรียนธรรมนั้น ๆ ไม่
เริดร้างจากการหลีกเร้น ประกอบตามซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจในภายในเนือง ๆ .

ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี-ผู้อยู่ด้วยธรรม.
ภิกษุ ! ผู้มากด้วยปริยัติเราก็แสดงแล้ว, ผู้มากด้วยบัญญัติเราก็แสดงแล้ว,
ผู้มากด้วยการสาธยายเราก็แสดงแล้ว, ผู้มากด้วยการคิดเราก็แสดงแล้ว,
และธรรมวิหารี – ผู้อยู่ด้วยธรรมเราก็แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุ ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว
จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย.
ภิกษุ! นั่น โคนไม้ทั้งหลาย. นั่น เรือนว่างทั้งหลาย.
ภิกษุ! เธอทั้งหลาย จงเพียรเผากิเลส, อย่าได้เป็นผู้ประมาท, เธอทั้งหลาย อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนเธอทั้งหลายของเรา.


พระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ ๒๒/๙๙/๗๓.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2009, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ทิ่มกลอง


หมู่ช่างลิ่ม เฝ้าวนเวียน เพียรตอกลิ่ม
บรรจงทิ่ม เนื้อไม้ใหม่ ใส่กลองเก่า
ขยันทิ่ม ขยันแทรก ขยันเกลา
ไม่ระย่อ เวลาเช้า เวลาค่ำ

ใช้คมลิ่ม ทิ่มแทง ทแยงเซาะ
บรรจงเจาะ หมายตรงจุด สุดลึกล้ำ
เป็นคมลิ่ม คมคน ปนคมคำ
เจตน์แห่งธรรม ดั้งเดิม ถูกเติมทา

ตรงประเด็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2009, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


คำของพระองค์ ตรงเป็นอันเดียวกันหมด

ภิกษุ ท.! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
จนกระทั่งถึงราตรี ที่ตถาคตปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ,
ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด
ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.
ภิกษุ ท. ! (อนึ่ง) ตถาคตกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น, ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น.

-อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


อานนท์! มาเถิด, เราจักไปสู่บ้านหัตถิคาม, บ้านอัมพคาม,
บ้านชัมพุคามและโภคนคร.

ที่โภคนครประทับที่อานันทเจดีย์, ได้ตรัสหลักมหาปเทสสำหรับ
เทียบเคียงในการวินิจฉัยว่า ถ้ามีคำกล่าวอย่างนี้ ๆ และอ้างว่าเป็นพุทธวจนะ, จะจริงหรือไม่.

ภิกษุ ท.! ถ้าภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าฟังมาแล้ว
ได้รับมาแล้ว เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ว่านี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา, ดังนี้, พวกเธออย่าเพิ่งรับรอง, อย่าเพิ่งคัดค้าน.
เธอกำหนดเนื้อความนั้นให้ดีแล้วนำไปสอบสวนในสูตร นำไปเทียบเคียงใน
วินัย, ถ้าลงกันไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ พึงแน่ใจว่า นั้นไม่ใช่คำของพระ
ผู้มีพระภาคแน่นอน ภิกษุรูปนั้นจำมาผิด, พวกเธอพึงทิ้งคำเหล่านั้นเสีย;
ถ้าลงกันได้ เทียบเคียงกันได้ พึงแน่ใจว่า นั่นเป็นคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่แล้ว
ภิกษุรูปนั้นจำมาอย่างดีแล้ว, พวกเธอพึงรับเอาไว้. นี่เป็นมหาปเทส ข้อที่หนึ่ง,


(ข้อต่อไปความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่คำอ้าง, ข้อที่สองอ้างว่า รับฟังมาจากสงฆ์ พร้อมทั้งเถระ
หัวหน้า เป็นพหุสูตอยู่ในอาวาสโน้น ๆ, ข้อที่สามรับฟังมาจากพวกเถระ พหุสูต ในอารามโน้น ๆ,
ข้อที่สี่รับฟังมาจากพวกเถระพหุสูต พักอยู่อาศัยอยู่ในอาวาสโน้น ๆ. แล้วทรงแสดงศีล-สมาธิ-ปัญญา
โดยนัยเดียวกับที่สวนอัมพลัฏฐิกาอีกเป็นอันมาก).

- มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๒
:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย BlackHospital เมื่อ 13 ก.พ. 2009, 21:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: อนุโมทนาแด่ทุกท่านที่ให้ความรู้ อันมีที่มาและที่ไปเป็นประโยชน์แก่ท่านที่ได้อ่านเป็นอย่างยิ่ง ขอน้อมรับ

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2009, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


การเป็นอยู่ที่ไม่เสื่อม
(แบบหนึ่ง)

ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุม
กันให้มากพอ อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มี
ความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักพร้อมเพียงกันเข้าประชุม จัก
พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม จักพร้อมเพียงกันทำ กิจที่สงฆ์จะต้องทำ
อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย
อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่
เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว
, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติ
ไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้
ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.


ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ภิกษุ
พวกที่เป็นเถระ มีพรรษายุกาล บวชนาน เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ และตน
จักต้องเข้าใจว่าต้องเชื่อฟังถ้อยคำของท่านเหล่านั้น อยู่เพียงใด, ความเจริญ
ก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่ลุอำนาจแก่ตัณหา ซึ่งเป็นตัวเหตุ
ก่อให้เกิดภพใหม่ ที่เกิดขึ้นแล้ว อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลาย
หวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักมีใจจดจ่อในเสนาสนะป่า อยู่เพียงใด,
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักเข้าไปตั้งสติไว้อย่างมั่นเหมาะว่า
“ทำไฉนหนอ ขอเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ซึ่งมีศีลเป็นที่รัก
ยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุขเถิด” ดังนี้ อยู่เพียงใด,
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น

ภิกษุ ท.! ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมเจ็ดประการเหล่านี้ ยังคง
ดำรงอยู่ได้ในภิกษุทั้งหลาย และพวกเธอก็ยังเห็นพ้องต้องกันในธรรมเจ็ดประการ
เหล่านี้ อยู่เพียงใด. ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย
อยู่เพียงนั้น.
- บาลี พระพุทธภาษิต สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๑/๒๑.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2009, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร