วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2009, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


กฎแห่งกรรมแตกต่างจากพรหมลิขิตอย่างไร


บางท่านโจมตีศาสนาพุทธว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของทาส คือสอนให้ชนชั้นล่างยอมรับในการถูกกดขี่ โดยใช้ทฤษฏีกรรมเก่า เหมือนกับศาสนาฮินดู ที่เชื่อในเรื่อง พรหมลิขิต คือ กรรมในอดีตชาติได้ผลในชาติปัจุบัน-อนาคตของเรา พระเจ้ากำหนดแผนที่ชีวิตของเราไว้แล้ว เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้

แต่โดยแท้จริงแล้ว ศาสนาพุทธของเราลึกซึ้งกว่านั้นมาก พระพุทธองค์ทรงสอนว่า เราสามารถทำกรรมใหม่ ไปเปลี่ยนแปลงกรรมเก่าได้ ผลของกรรมใหม่ มันจะไปเปลี่ยนแปลงแผนที่เดิมของกรรมเก่าหรือพรหมลิขิตได้ เพียงแต่ผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น มันจะเร็วหรือช้าเท่านั้น ไม่ใช่เราทำอะไร แก้กรรม(พรหมลิขิต)อะไรไม่ได้เลย ต้องยอมรับพรหมลิขิตหรือวิบากกรรมเก่าสถานเดียว

เพื่อให้เห็นภาพชัดๆ กรรมเก่าหรือพรหมลิขิตก็คือ ไอ้ที่เรากำลังเป็นอยู่และเคยเป็นมาแล้ว ส่วนกรรมใหม่ก็คือ ไอ้ที่กำลังจะทำและกำลังทำอยู่ หรือทำไปแล้วในชาตินี้แต่ยังไม่ส่งผลให้ตอนนี้

ขบวนการของกรรมเก่าที่ได้ให้ผลหรือกำลังให้ผล ที่เรียกว่า พรหมลิขิต + กรรมใหม่ที่กำลังจะทำ ที่กำลังทำอยู่ และที่ทำไปแล้วในชาตินี้ แต่ยังไม่ส่งผลให้ตอนนี้ รวมทั้งหมดพระพุทธองค์เรียกว่า กฎแห่งกรรม

พูดอีกแง่หนึ่ง พรหมลิขิต คือ กฎแห่งกรรมในอดีตที่มีผลต่อปัจจุบันและอนาคต มันเป็น แผนที่ชีวิตที่วางไว้แล้ว แต่ปัจจุบันและอนาคตของเราก็หาได้เป็นไปตามพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตเช่นนั้นเสมอไปไม่ เพราะเราเป็นผู้ตัดสินใจในการทำกรรมใหม่ที่เปลี่ยนแปลงพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตของเราด้วย

เราคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า การเด็ดดอกไม้เพียงดอกเดียว สะเทือนไปถึงดวงดาว มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ เราตัดสินใจทำกรรมดีกรรมชั่วในตอนนี้ มันสะเทือนไปถึงปัจจุบันและอนาคตของเราด้วย ด้วยเหตุนี้ หมอดูดังๆจำนวนมากมักทำนายเหตุการณ์ต่างๆผิดพลาด เพราะเขารู้แต่พรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดเดิม พรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดใหม่เขาไม่รู้ แม้แต่พระอริยะเจ้า ท่านยังทำนายพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดใหม่ไม่ได้เลย ท่านรู้เฉพาะพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดเดิมเท่านั้น

ผมจะขอยกตัวอย่างพระอริยะเจ้าที่ทำนายผิดพลาด 2 ท่าน มาเป็นตัวอย่างนะครับ


1. หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม


หลวงพ่อจรัญทำนายว่า.....อาตมาจะมรณภาพวันที่ 14 ตุลาคม 2521 เวลาเที่ยง 12.45 น.ด้วยอุบัติเหตุรถคว่ำคอหักตาย

นั่นคือพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดเดิมของท่าน

เมื่อถึงเวลานั้น หลวงพ่อจรัญท่านก็เกิดอุบัติเหตุรถคว่ำ คอหักจริงๆ แต่ท่านไม่ตาย ด้วยเหตุที่ หลวงพ่อจรัญได้สำนึกบาปที่ฆ่าหักคอไก่จำนวนมาก และแผ่เมตตาให้ไก่เหล่านั้น ไก่เหล่านั้นเลยให้อภัย ท่านจึงแค่คอหัก แต่ไม่ตาย

นี่คือพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดใหม่ของท่าน

วิเคราะห์

- หลวงพ่อจรัญมองเห็นกรรมเก่าที่จะให้ผล(ตามพรหมลิขิต/กฎแห่งกรรม)

- หลวงพ่อจรัญมองไม่เห็นกรรมใหม่ที่จะให้ผล ท่านทำกรรมใหม่ คือ สำนึกบาปที่ฆ่าหักคอไก่จำนวนมาก และแผ่เมตตาให้ไก่เหล่านั้น

- กรรมใหม่ส่งผลเปลี่ยนพรหมลิขิต กฎแห่งกรรมในอดีต จึงให้ผลไม่ได้เต็มกำลัง เพราะโดนวิบากกรรมดีในชาตินี้ช่วยไว้


2. พระสารีบุตร


ในครั้งพุทธกาล พระสารีบุตร และภิกษุอื่นๆ ต่างไม่ได้ให้พรเณรบวชใหม่คนหนึ่ง ให้มีอายุยืน เพราะวิบากกรรมของเขาต้องตาย ถึงฆาตแน่ พระสารีบุตรได้เล็งเห็นว่า เณรผู้นี้จะมรณะในอีก 7 วัน

ท่านจึงอนุญาตให้เณรกลับไปเยี่ยมบ้าน เพื่อโปรดบิดามารดา และญาติโยมทางบ้านเป็นครั้งสุดท้าย

นั่นคือพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดเดิมของเณรบวชใหม่

เมื่อเพลาผ่านไปเจ็ดวัน เณรได้กลับมายังอารามเหมือนเดิม พระสารีบุตรเองแปลกใจว่า เพราะเหตุใดเณรคนนั้นไม่ตาย ท่านจึงได้สอบถามเณรว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างทางไปและกลับ เณรได้แถลงไขว่า ระหว่างทางที่ไปนั้น ได้พบปลาจำนวนหนึ่งตกคลักในหนองน้ำที่ใกล้แห้ง จึงได้เอาจีวรช้อนขึ้นมาไปปล่อยในแหล่งน้ำที่ใกล้ๆ

ด้วยญาณแห่งพระสารีบุตร ท่านก็ทราบได้ว่า ปลาเหล่านั้น คืออดีตเจ้ากรรมนายเวรของเณรผู้นั้นเอง และเมื่อเณรได้นำปลาไปปล่อยในแหล่งน้ำ เท่ากับว่าได้ทำบุญต่ออายุให้กับตัวเอง และเจ้ากรรมนายเวรนั้น จึงได้อโหสิกรรมให้เณร

นั่นคือพรหมลิขิตหรือแผนที่ชีวิตชุดใหม่ของเณรบวชใหม่

วิเคราะห์

- พระสารีบุตรมองเห็นกรรมเก่า(พรหมลิขิต/แผนที่ชีวิต)ที่จะให้ผลให้เณรคนหนึ่งตาย

- พระสารีบุตรมองไม่เห็นกรรมใหม่ ที่จะให้ผลให้เณรคนนั้นไม่ตาย ซึ่งเป็นตอนที่เณรคนนั้นเดินทางกลับบ้าน เณรไปปล่อยปลา ซึ่งเป็นการทำกรรมใหม่ ทำให้กรรมเก่าของเณรไม่ส่งผล

มีแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่สามารถเห็นอนาคตที่ไม่เปลี่ยนแปลง


สรุป


กฎแห่งกรรมก็คือพรหมลิขิตนั่นเอง แต่กฎแห่งกรรมบอกวิธีการแก้พรหมลิขิต หรือ แก้แผนที่กฎแห่งกรรมในอดีตที่ส่งผลถึงปัจจุบันและอนาคตเอาไว้ด้วย ถ้าเราทำตามพรหมลิขิต โดยไม่แก้ไขอะไรให้ดีขึ้น ก็เท่ากับเราไม่เข้าใจกฏแห่งกรรมอย่างแท้จริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2009, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:27
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมการฆ่าตัวตายจึงเป็นบาปหนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2009, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


มาลิณีย์ เขียน:
ทำไมการฆ่าตัวตายจึงเป็นบาปหนา



พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา”

.....แปลว่า ..เมื่อจิตผ่องใสสุคติเป็นอันหวังได้ เมื่อจิตเศร้าหมองทุคติเป็น อันหวังได้..

หมายความว่า ขณะที่เราตายถ้าจิตผ่องใสพอตายปุ๊ปจะไปเกิดในสุคติทันที เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา หรือพรหมตามกำลังความผ่องใสของจิตขณะสุดท้าย ...แต่ถ้าขณะที่จะตาย มีจิตเศร้าหมองพอตาย ปุ๊ปก็จะไปเกิดในทุคติทันที จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต/อสุรกาย หรือสัตว์นรกตามกำลังความ เศร้าหมองของจิตขณะสุดท้าย

ทีนี้ลองมาพิจารณาสภาวะจิตใจของผู้จะฆ่าตัวตายว่าจะเป็นเช่นไร? .. ผู้ที่คิดฆ่าตัวตายนั้น ส่วนใหญ่จิตของเขาต้องอยู่ในสภาพที่เศร้าหมองอย่างยิ่ง เขาจึงจะฆ่าตัวตายได้ ดังนั้นทันทีที่เขาตาย จิตเศร้าหมองทุคติ จะนำไปเกิดในที่อื่นไม่ได้เลย นอกจาก....“อบายภูมิ”...อย่างเดียว

แต่พระฉันนะ พระวักกลิ พระโคธิกะ พวกท่านล้วนเป็นพระอรหันต์ จิตของท่านมีได้เศร้าหมอง และมิได้ผ่องใส คือ ท่านไม่คิดปรุงแต่ง ดังนั้นเมื่อท่านฆ่าตัวตายไป ท่านจึงเข้านิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2009, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


มีบางท่านโต้กับผมว่า การฆ่าตัวตายบาปมากนะ วิญญาณอาจจะไปไหนไม่ได้ ต้องอยู่ที่เดิมตลอด จนกว่าจะหมดกรรมถึงจะได้ไปรับกรรมอย่างอื่นต่อ ในกรณีที่จิตเป็นอกุศล ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น แต่ในกรณีที่จิตไม่ได้เป็นอกุศล มันหาได้เป็นเช่นนั้นไม่


พระฉันนะและพระวักกลิฆ่าตัวตาย แต่มิได้เป็นบาปแต่อย่างใด ในฉันโนวาทสูตรชี้ชัดว่า ไม่มีพุทธพจน์ใดๆ แสดงว่า การฆ่าตัวตาย เป็นบาป แต่ในฉันโนวาทสูตร พระพุทธองค์ให้หลักการไว้ในเรื่อง ควรถูกตำหนิหรือไม่ควรถูกตำหนิ โดยทรงให้หลักการว่า

" บุคคลใดแล ทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุหาศาตรามาฆ่าตัวอย่างไม่ควรถูกตำหนิ ฯ ..."


จะเห็นว่า "ฆ่าตัวตาย” ผิดศีลข้อ 1 ชัดๆ แต่ไม่ถือว่าเป็นบาป (ปาณาติบาต) เพราะจิตของพระอรหันต์ทำอะไรทุกอย่างเป็นแค่กิริยาเท่านั้น และในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เรื่องวักกลิ ที่ฆ่าตัวตาย ก็ชี้ชัดในเรื่องการฆ่าตัวตายไม่ได้เป็นบาป

ผมขอยกมาชี้ให้เห็น

.......ท่านขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และ(พระวักกลิ)ยังได้สั่งมากราบทูลอย่างนี้ว่า

พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่เคลือบแคลงว่า รูปไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดี ในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์. ข้าพระองค์ไม่เคลือบแคลงว่า เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ความพอใจก็ดี กำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดี ในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์ ดังนี้.

ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระวักกลิแล้วหลีกไป ครั้งนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้น หลีกไปไม่นาน
ท่านพระวักกลิก็นำเอาศาตรามา....(เชือดคอตาย)

จะเห็นได้ชัดว่า พระวักกลิบรรลุอรหันต์ก่อนแล้ว ท่านก็ได้เชือดคอตาย แต่ไม่ถือว่าเป็นบาป เพราะจิตเจตนาของท่านไม่ได้เป็นอกุศลแต่อย่างใด ดังที่พระพุทธองค์ตรัสสอนพระภิกษุว่า ฉันนะฆ่าตัวตายไม่ควรถูกตำหนิ

" บุคคลใดแล ทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุหาศาตรามาฆ่าตัวอย่างไม่ควรถูกตำหนิ ฯ ..."


หวังว่า ในกรณีพระฉันนะและกรณีพระวักกลิฆ่าตัวตาย จะทำให้ท่านเข้าใจในเรื่อง ศีล 5 มากขึ้นนะครับว่า ผิดศีล 5 ไม่ได้เป็นบาปแต่อย่างใดเลย ถ้าจิตเจตนาเป็นกุศลก็เป็นบุญใหญ่ หรือมหากุศล ดังเช่น พระเวสสันดรยกเมียและลูกให้เป็นทาส หรือเจ้าชายสิทธิทัตถะทิ้งลูกทิ้งเมียออกบวช และในกรณีพระฉันนะและกรณีพระวักกลิฆ่าตัวตาย จิตเจตนาของพระฉันนะและพระวักกะลิเป็นกิริยาเฉยๆ จึงไม่ได้เป็นบาปและไม่ได้เป็นบุญ

กรณีที่เป็นบาป คือ จิตเจตนาเห็นแก่ตัว เบียดเบียนของคนอื่นเพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้น
การผิดศีล 5 ที่เป็นบาปต้องประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ ผมสรุปจาก คำสอนของพระพุทธเจ้า คือ

1. ต้องมีเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งในจิตในการทำสั่งนั้น เพราะ เจตนาคือกรรม
2. บาปมีทั้งทางกาย วาจา ใจ
3. แต่“ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ” ถ้ากายทำ วาจาทำ แต่ใจไม่ได้ทำ ก็ไม่บาป
4. จิตเจตนากระทำ ถ้าจิตเจตนาเป็นกุศล ก็เป็นบุญ ถ้าจิตเจตนาเป็นอกุศลก็เป็น บาป ถ้าไม่มีจิตเจตนาทั้ง 2 อย่างก็เป็นกิริยาเฉยๆ ไม่เป็นบาปและบุญ
5. ธรรมหรือความเป็นไปทั้งปวง จะดี (เป็นกุศล เป็นบุญ) ก็ตาม จะไม่ดี (เป็นอกุศล เป็นบาป) ก็ตาม เกิดขึ้นได้ก็เพราะใจคิด ใจอยาก ใจต้องการ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2009, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


บางทีคำศัพท์ มันก็มีปัญหาในการที่จะทำความเข้าใจให้ถูกต้องได้เหมือนกัน อย่างเช่นว่า

คำว่า พรหมลิขิต มีสองคำคือ
พรหม+ลิขิต แปลตามตัวคือ

พรหม คือ พระพรหม เทวดาผู้เป็นใหญ่
ลิขิต แปลว่า การเขียน

ทั้งสองมีความหมายตามตัวอักษร ได้ว่า การเขียนโดยพระพรหม

ถ้าเอามาเปรียบเทียบกับชีวิต ตามศาสนาอื่น ก็น่าจะหมายถึงว่า มนุษย์ที่เกิดมามีชีวิต ดำเ นินชีวิต ก็มีพระพรหมเป็นผู้กำหนด อย่างนี้เป็นต้น

ฉะนั้น กรรมเก่า ผมว่าไม่น่าจะใช้ กับคำว่า พรหมลิขิต เพราะการตีความหมายมันจะไม่ถูกต้อง
ตามหลักพุทธศาสนา

คือ กรรม แปลว่า การกระทำ

เก่า เป็นเรื่องของกาลเวลาที่ผ่านจากปัจจุบันไปแล้ว หรือที่เรียกว่า อดีต

เมื่อนำสองคำมา รวมกัน ก็ได้ความหมาย คือ การกระทำที่ได้กระทำเสร็จสิ้นไปแล้ว ก่อนปัจจุบัน

กรรมเก่า ตามหลักศาสนา นั้น เป็นเรื่องของ เหตุและผล ที่บุคคลผู้นั้นกระทำ

จึงมิใช่เป็นการที่ผู้อื่นมากำหนด


ผมจึงมีความเห็นว่า คำสองคำนี้คือ กรรมเก่า กับ พรหมลิขิต ไม่น่าที่จะมีความหมายใช้แทนกันได้


ส่วนเรื่องกฎแห่งกรรม ผมมีความคิดเห็นว่า เป็นเรื่องของเหตุและผล ที่สืบเนื่องกัน

ส่วนเรื่อง พรหมลิขิต ผมคิดว่า ต้องตีความหมายของคำนี้ก่อน ว่าหมายถึงอะไรกันแน่?

ซึ่งผมไม่มั่นใจว่า คำนี้ แท้จริงแล้วมีความหมายอย่างไร?

จึงอยากที่จะทำความเข้าใจระหว่าง กฎแห่งกรรม กับ พรหมลิขิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2009, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณว่างเปล่าครับ



พรหมลิขิต = พระเจ้าลิขิต ซึ่งก็คือกรรมลิขิต = ธรรมลิขิต = กฎแห่งกรรม

ทุกอย่างมันเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะพรหมสูงสุดนั้นคือ พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระธรรม

พระพุทธองค์ตรัสว่า พรหมกาย พรหมภูต ธรรมภูต ธรรมกาย แท้จริงก็คือพระพุทธองค์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2009, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองอ่านเรื่องนี้ดูซิครับ


พวกพราหมณ์เขาบรรลุธรรมสูงสุดแค่ อรูปพรหม เขาจึงไม่สามารถตีความเรื่องพระพรหม(พระเจ้า)ได้ถูกต้อง พระพุทธองค์บรรลธรรมขั้นอนุตรสัมมาสัมโพธิ ท่านจึงรู้ลึกกว่า จริงๆ ปรมาตมัน พรหมมัน อาตมัน นั้นเป็นสิ่งเดียวกัน ปรมาตมัน พรหมมัน ก็คือ พระพุทธเจ้า(พระธรรม) ผมแนะนำให้ไปอ่านเพิ่มกระทู้นี้ใหม่ครับ http://www.dhammakaya.org/forum/index.php?topic=83.0 พราหมณ์: พวกเราเกิดจากพรหม พระพุทธเจ้า: พวกเราเกิดจากธรรม


พระพุทธองค์ตรัสเองในในอัคคัญญสูตร เรื่อง วาเสฎฐะภารทวาชะว่า


"เราเป็นบุตรเกิดแต่พระอุระเกิดจากพระโอษฐ์ ของพระผู้มีพระภาค เกิดจาก พระธรรม พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็น ทายาทของพระธรรมดังนี้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดีเป็นชื่อของพระตถาคต "



พวกพราหมณ์บอกว่า:


"เราเป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพระพรหม เกิดจากพระพรหม พระพรหมเนรมิตขึ้นมา เป็นทายาทของพระพรหม "


ลองเทียบกันดูซิครับ เรื่อง เด็กอนุบาลยังเข้าใจว่า พรหมสูงสุด คือ ธรรม = ตถาคต(พระพุทธเจ้า)
"เราเป็นบุตรเกิดแต่พระอุระเ กิดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค เกิดจาก พระธรรม พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็น ทายาทของพระธรรม"

"เราเป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพระพรหม เกิดจาก พระพรหม พระพรหมเนรมิตขึ้นมา เป็นทายาทของพระพรหม "

แสดงว่า พระธรรมก็คือพระพรหม (สูงสุด) ใช่ไหมครับ

แล้วพระพุทธองค์ยังบอกชัดๆอีกว่า พรหมสูงสุดหรือธรรม ก็คือ พระพุทธเจ้า

"คำว่า ธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดีเป็นชื่อของพระตถาคต "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


ในสมัยก่อน ศาสนาพราหมณ์ มีคนนับถือศรัทธามาก
พระพุทธเจ้าต้องการเผยแผ่พุทธศาสนา โดยพยายามทำให้ผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ ได้มีความเข้าใจ
ในศาสนาพุทธ

ฉะนั้นคำสอนของพุทธเจ้า นั้น พระองค์ก็ทรงต้องเปรียบเทียบ กับคำสอนของศาสนาพราหมณ์ เพื่อที่ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์นั้น จะมีความเข้าใจได้เร็วและตรงประเด็น

พราหมณ์ นับถือ พระพรหม พระพุทธเจ้าก็เปรียบเทียบให้เข้าใจว่า ชาวพุทธ นับถือ พระองค์ เหมือนเช่นกับพวกพราหมณ์ นับถือ พระพรหม

แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า พระพรหม กับ พระพุทธเจ้า จะเป็นสิ่งเดียวกัน
พระพรหม คือ เทวดาผู้เป็นใหญ่
พระพุทธเจ้า เป็นมนุษย์ ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนทำให้เป็นพระพุทธเจ้า

การที่พระองค์พูดเปรียบเทียบ ก็เพื่อให้พราหมณ์ได้รู้ถึงความสำคัญของพระองค์ ว่าพระองค์นั้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้ที่คนนับถือสูงสุด เหมือนกับพระพรหมที่พวกพราหมณ์นับถือ และประสงค์จะให้พราหมณ์นั้น
ลดความทะนงตน ความไม่เคารพในพระพุทธเจ้า ลดทิฏฐิในการที่จะฟังธรรม จากพระพุทธองค์
มันเป็นวิธิการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธองค์ ซึ่งพระองค์ก็ต้องข่ม เพื่อให้ผู้อื่นนั้นหันมารับฟังศาสนาพุทธ
อย่างเช่นตอนที่พระองค์ไปโปรด พวกดาบส 3 พี่น้อง พระองค์ก็ทรงสอนคนพี่ก่อน เมื่อคนพี่เข้าใจธรรม แล้ว แต่แทนที่พระองค์จะสอนผู้ที่นับถือดาบสนั้นเลย แต่พระองค์ยังไม่สอน พระองค์ให้ดาบสนั้น
ป่าวประกาศให้คนอื่นได้รู้ว่า สิ่งที่เขาสอนนั้นยังไม่ใช่ แต่พระพุทธเจ้า นี้เป็นพระอรหันต์ ลูกน้องของดาบสนั้นจึง ยอมรับ อย่างนี้เป็นต้น


แต่ประเด็นที่ผมกล่าวนั่นก็คือ การตีความหมายของคำศัพท์ ต่่างๆ

บางคนก็ยังไม่ได้ศึกษาธรรมะอย่างเข้าใจ หากว่า เรานั้นนำศัพท์มาใช้ในสิ่งที่คนอื่นยังไม่รู้

ผู้ที่มาอ่านนั้น ก็จะยึดถือแบบ ๆ นั้น ฝังใจตลอดไป

ผมจึงขอตีความหมายของคำว่า พรหมลิขิต เป็นแบบหนึ่ง และกรรมเก่า เป็นอีกแบบหนึ่ง
และ กฎแห่งกรรม เป็นอีกแบบหนึ่ง

เพื่อมุ่งหมายให้ผู้อ่าน เข้าใจอย่างตรงประเด็น และจำความหมายของคำศัพท์ไปอย่างถูกต้อง

ผมให้ความสำคัญกับคำศัพท์ของศาสนา เพราะถ้าเราตีความหมายผิด ไม่ตรงกับสิ่งที่เป็น มันจะทำให้
เรา หรือผู้ที่เราบอกนั้น เขายึดถือไปแบบผิดๆ

มันจะกลายเป็นว่า เราเป็นผู้บัญญัติศัพท์นั้นให้ต้องมีความหมายอย่างนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณว่างเปล่าครับ



คุณหรือผมพูดจาไร้สาระอย่างไรก็ได้ พูดเป็นเชิงเปรียบเทียบก็ได้ แต่พระพุทธเจ้านั่นท่านพูดแต่ความจริงเท่านั้น แต่มารที่อยู่ในใจคนต่างหาก ที่มันหลอกให้คุณหรือใครๆคิดตีความว่า พระพุทธองค์พูดเปรียบเทียบ ถ้าเรื่องที่พระพุทธองค์จะเปรียบเทียบ พระองค์จะพูดให้เห็นเลยว่า นี่เป็นการเปรียบเทียบนะ


อย่างประโยคที่ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต" อรรถกถาจารย์ซึ่งเป็นสมมุติสงฆ์ก็ไปตีความกันมั่วๆว่า นี่เป็นคำอุปมาอุปมัย แต่พระอรหันต์ และผู้เข้าถึงความเป็นอริยะบุคคล จะรู้เห็นในจิตเลยว่า นี่เป็นความจริง พระพุทธเจ้ากลับกลายเป็นพระธรรมสอนอยู่ในจิตของเรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณหรือผมพูดจาไร้สาระอย่างไรก็ได้ พูดเป็นเชิงเปรียบเทียบก็ได้ แต่พระพุทธเจ้านั่นท่านพูดแต่ความจริงเท่านั้น แต่มารที่อยู่ในใจคนต่างหาก ที่มันหลอกให้คุณหรือใครๆคิดตีความว่า พระพุทธองค์พูดเปรียบเทียบ ถ้าเรื่องที่พระพุทธองค์จะเปรียบเทียบ พระองค์จะพูดให้เห็นเลยว่า นี่เป็นการเปรียบเทียบนะ


คุณตีความ ของคำว่า มาร นั้นหมายถึงอะไร?ครับ จึงบอกว่ามีในใจของคน และหลอกคน

ถ้ามารที่คุณตีความหมายนั้นเป็นตัวตน หรือป่าว ?



อ้างคำพูด:
อย่างประโยคที่ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต" อรรถกถาจารย์ซึ่งเป็นสมมุติสงฆ์ก็ไปตีความกันมั่วๆว่า นี่เป็นคำอุปมาอุปมัย แต่พระอรหันต์ และผู้เข้าถึงความเป็นอริยะบุคคล จะรู้เห็นในจิตเลยว่า นี่เป็นความจริง พระพุทธเจ้ากลับกลายเป็นพระธรรมสอนอยู่ในจิตของเรา


คุณรู้ได้อย่างไรว่า พระอรรถกถาจารย์ ท่านเป็นสมมุติสงฆ์ แสดงว่าท่านก็ต้องรู้จักพระองค์นั้น รู้จักชื่อท่าน และรู้วาระจิตของท่านว่าท่านยังไม่บรรลุเป็นพระอริยะ

และที่ท่านกล่าวว่าพระอรรถกถาจารย์ ตีความกันมั่วๆ เขาตีความกันว่าอย่างไรจึงมั่ว และที่ว่ามั่วนี้เป็นไปในแนวไหน

คำว่าพระพุทธเจ้า กลับกลาย เป็นพระธรรมสอนอยู่ในจิตของเรา
หมายความว่า พระพุทธเจ้าแปรสภาพมาเป็นพระธรรมหรือ?

แล้วพระธรรมที่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ล่ะ อะไร?กลับกลายมาเป็นพระธรรม ที่ทำให้พระพุทธเจ้าตรัสรู้

ถ้า พระพุทธเจ้า กลับกลายเป็นพระธรรม แล้วพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ไปทำไม ก็เมื่อพระพุทธเจ้าก็เป็นพระธรรม อย่างนั้นมิใช่หรือ

แล้วความหมายที่แท้ ของพระธรรม นั้น คืออะไร?


ที่ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต"
บาลี เป็นประโยค ยะ ตะ ประโยคชนิดนี้เป็นประโยคเปรียบเทียบ ตามหลักบาลีไวยากรณ์



http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2006/02/Y4122026/Y4122026.html

http://www.dhammakaya.org/forum/index.p ... topic=95.0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="ว่างเปล่า"]

1. คุณตีความ ของคำว่า มาร นั้นหมายถึงอะไร?ครับ จึงบอกว่ามีในใจของคน และหลอกคน

ถ้ามารที่คุณตีความหมายนั้นเป็นตัวตน หรือป่าว ?

....มารมีหลายประเภท มารที่เป็นตัวตนก็มี เรียกว่า เทวบุตตมาร - มารคือเทพบุตร กิเลสมารคืออวิชชาก็มี มาคือผู้ที่ขัดขวางความรู้จริงขั้นโลกุตตระ


2. คุณรู้ได้อย่างไรว่า พระอรรถกถาจารย์ ท่านเป็นสมมุติสงฆ์ แสดงว่าท่านก็ต้องรู้จักพระองค์นั้น รู้จักชื่อท่าน และรู้วาระจิตของท่านว่าท่านยังไม่บรรลุเป็นพระอริยะ

และที่ท่านกล่าวว่าพระอรรถกถาจารย์ ตีความกันมั่วๆ เขาตีความกันว่าอย่างไรจึงมั่ว และที่ว่ามั่วนี้เป็นไปในแนวไหน

....อย่าทำให้ผมต้องเอ่ยชื่ออรรถกถาจารย์เหล่านั้นเลยครับ พวกท่านก็โดนมารสิงใจเหมือนกัน แต่ท่านไม่รู้ตัว


3. คำว่าพระพุทธเจ้า กลับกลาย เป็นพระธรรมสอนอยู่ในจิตของเรา
หมายความว่า พระพุทธเจ้าแปรสภาพมาเป็นพระธรรมหรือ?

แล้วพระธรรมที่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ล่ะ อะไร?กลับกลายมาเป็นพระธรรม ที่ทำให้พระพุทธเจ้าตรัสรู้

ถ้า พระพุทธเจ้า กลับกลายเป็นพระธรรม แล้วพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ไปทำไม ก็เมื่อพระพุทธเจ้าก็เป็นพระธรรม อย่างนั้นมิใช่หรือ

แล้วความหมายที่แท้ ของพระธรรม นั้น คืออะไร?

..... เรื่องนี้คงต้องอธิบายกันยาวมาก แล้วคุณก็คงไม่เชื่อ ผมก็ขี้เกียจอธิบาย เมื่อคุณปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐานไปเรื่อยๆ ถึงจุดหนึ่งคุณจะรู้เอง พวกเราทุกคนแค่ลงมาเล่นเกมหาตัวเองให้พบเท่านั้น ธรรมมันมีอยู่แล้ว แต่คนที่นำพระธรรมมาเปิดเผยคือผู้ที่เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น ในช่วง 5000 ปีนี้เป็นหน้าที่ของโคตมพุทธเจ้า ถ้าคุณไม่เชื่อคำพูดของพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า

“ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม “

หลวงพ่อคง หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงปู่ปาน หลวงปู่มั่น หลวงพ่อสด หลวงปู่ขาว และพระอริยะบุคคลต่างๆ โดยเฉพาะขั้นอรหันต์ ล้วนแล้วแต่สัมผัสพระพุทธเจ้าในจิตมาแล้วทั้งสิ้น

ลองฟังคำพูดระดับครูบาอาจารย์สายปฏิบัติดูบ้าง

1.หลวงพ่อสด
" ธรรมนั้นคือ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมได้เสกสรรค์ปั้นให้พระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบุคคลเรา ระลึกถึงพระองค์ ท่านก็ควรระลึกถึงพระธรรม……..ได้เข้าถึงธรรมกาย คือ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ”

2. หลวงพ่อคง จัตตมโล ปรมาจารย์วิชาธรรมะเปิดโลกเล่าให้
สานุศิษย์ของท่านฟัง


“ ..... ท่านจึงน้อมจิตอธิษฐาน ว่าหากคุณพระพุทธเจ้ามีจริง ขอทรงมาโปรดให้ท่านมีดวงตาเห็นธรรม
ด้วยเถิด ในครั้งนี้เอง ก็มีปรากฏบังเกิดขึ้นกับหลวงพ่อ ท่านได้พบพระวิสุทธิสัมมาสัมพุทธเทพ และได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติกรรมฐาน อาศัยบุญบารมีเก่าที่หลวงพ่อ คง เคยเป็นหลวงพ่อร่วง ผู้รจนาคัมภีร์ไตรภูมิกถาไว้สั่งสอนปวงชนมาก่อน พระพุทธองค์จึงทรงประทานธรรมะเปิดโลกให้”

หลวงพ่อคง ยืนยันว่า

“องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมโลกเขษฐ์ ได้ทรงประทานพุทธานุญาต ให้หลวงพ่อคงโปรด
แสดงธรรมะเปิดโลก แก่พสกนิกรพุทธบริษัทได้”

และหลวงพ่อคงยืนยันอีกด้วยว่า พระพุทธเจ้ายังทรงอยู่ จากข้อความที่ว่า

“ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต”


พระพุทธเจ้าตรัสอย่างชัดเจนยิ่งกว่านี้อีกในพระสูตรของมหายาน

พระพุทธองค์ตรัสว่า :


“ เราตถาคตได้ประกาศธรรมะ ให้ปวงสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงสภาวะนิพพานตลอดมา เรามิได้สูญหาย และมิได้สลาย หากแต่ดำรงอยู่ในโลกนี้ เพื่อประกาศสัจธรรมอยู่นิรันดร”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
....อย่าทำให้ผมต้องเอ่ยชื่ออรรถกถาจารย์เหล่านั้นเลยครับ พวกท่านก็โดนมารสิงใจเหมือนกัน แต่ท่านไม่รู้ตัว



บอกมาเลยครับผมอยากรู้ ว่าชื่อพระอรรถกถาจารย์อะไร?
ที่ว่ามารสิงใจ มารชื่อว่าอะไร อยู่ที่ไหน เราจะเห็นมารอยู่ในใจอย่างไร? พิสูจน์ได้อย่างไร?



อ้างคำพูด:
..... เรื่องนี้คงต้องอธิบายกันยาวมาก แล้วคุณก็คงไม่เชื่อ ผมก็ขี้เกียจอธิบาย เมื่อคุณปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐานไปเรื่อยๆ ถึงจุดหนึ่งคุณจะรู้เอง พวกเราทุกคนแค่ลงมาเล่นเกมหาตัวเองให้พบเท่านั้น ธรรมมันมีอยู่แล้ว แต่คนที่นำพระธรรมมาเปิดเผยคือผู้ที่เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น ในช่วง 5000 ปีนี้เป็นหน้าที่ของโคตมพุทธเจ้า ถ้าคุณไม่เชื่อคำพูดของพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า



ที่ว่าถึงจุดหนึ่ง จะรู้นี่ คือถึงตรงจุดไหน บอกหน่อย ผมก็ปฏิบัติสมถและวิปัสสนาเหมือนกันอยากรู้
และจะรู้ยังไง มีขั้นตอนแบบไหน อธิบายมาหน่อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ในโลกนี้มีผู้ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนามากมายก็จริง แต่ผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงเจโตวิมุติ และปัญญาวิมิติมีน้อยมาก เมื่อเข้าถึงอริยะบุคคลขั้นต้นขึ้นไป คุณจะพบองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และจะเข้าใจปฏิจจสมุปบาท และศาสนาพุทธแท้จริง

ถึงจุดนั้นคุณจะรู้ว่าอรรถกถาจารย์ ตีความกันมั่วๆแค่ไหน และจะรู้ว่าพระพุทธเจ้ากลับเป็นพระธรรมสอนอยู่ในจิตของเราได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2009, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วคุณรู้หรือป่าวว่า ผมนั้นถึงความเป็นอริยะหรือยัง? :b14:

คนที่ประสบพบเจอด้วยตัวเองแล้ว จึงจะสามารถอธิบายและบอกผู้อื่นได้ถึงขั้นตอน
และวิธีการ

คุณต้องอธิบาย เพื่อจะได้ยืนยันคำพูดของคุณว่า คุณรู้ตามความเป็นจริง
ไม่ใช่ตามตำรา หรือเชื่อเอาเอง



"รู้มากมาย แต่ก็ยังแตกต่าง กับ รู้ตามความเป็นจริง"



" หลักธรรมะ เมื่อรู้แล้ว ก็วาง อย่ายึด
เหมือนเรือ ที่พาเราข้ามฝั่ง ถึงฝั่งแล้ว ก็อย่าเอาเรือนั้นไป ทิ้งไปเสีย"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร