วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 12:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 23:27
โพสต์: 23

ที่อยู่: อุดรธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b23: เพราะว่าแนวทางมันก็คล้ายๆกันไม่ใช่เหรอ คือการที่ทำให้ตัวเองมีสมาธิ เอาที่เราเข้าใจนะ...การฝึกจิตก็คือการที่เราคอยตามดูจิตของเรา รู้ตัวเสมอ ตามดูมันไปเรื่อยๆ แล้วมันก็ต้องอาศัยสมาธิเพื่อให้เกิดสติ ส่วนการฝึกพลังจิตมันก็ต้องอาศัยสมาธิเหมือนกัน เริ่มต้นเหมือนกันแต่ทำไมได้ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน หรือว่าเพราะมีจุดมุ่งหมายที่ไม่เหมือนกัน แล้วถ้าอย่างนั้นอันไหนมันฝึกง่ายกว่ากัน แล้วก็อันไหนมันดีกว่ากันนะ....แล้วก็ทั้งสองอย่างเนี่ยมันเป็นเรื่องเดียวกันแบบว่าสามารถพลิกแพลงมาใช้ด้วยกันได้หรือว่ามันเป็นคนละโลกกันเลยล่ะเนี่ย :b23: โอ๊ย......ไปๆมาชักงงเองแล้วล่ะ :b34: เอาเป็นว่าใครรู้ หรือว่ามีความคิดเห็นช่วยตอบทีละกันนะ.... :b23:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 00:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b40: :b39: :b40: ว่าแต่เราชอบแบบไหนละ การฝึกจิตทั้งสองแบบก้ต้องอาศัยสมาธิด้วยกันทั้งคู่นั่นแหละ แต่ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นมันต่างกันมาก แบบแรกเป็นสัมมาสมาธิฝึกแล้วได้ประโยชน์หลายด้าน
ต้องอาศัยการสำรวมกาย ใจเป็นหลัก แต่อย่างหลังฝึกเพื่อให้เกิดอำนาจจิตเพื่อผลลัพท์อะไรสักอย่างหรือเป็นการทดลอง (จะว่าไปมันก็คล้ายๆกันนั่นแหละ) แต่องค์ประกอบเพื่อให้เกิดสมาธิและผลลัพท์มันคนละอย่างกัน วิธีการปฏิบัติสมาธิก็จะแตกต่างกันไปด้วย ว่าแต่ไปอ่านเจอหนังสือเล่มไหนเข้าละ ถึงอยากฝึกจิตขึ้นมา :b12: :b44: :b40: :b39: :b43:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 01:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำใจให้สงบนั้น เมื่อทำไปถึงจุดหนึ่งมันจะทำให้เกิดความสามารถพิเศษเหนือมนุษย์ธรรมดาได้
เช่นตาทิพย์ หุทิพย์ อ่านใจคนได้ เรียกว่ามีความรู้ในการทำสิ่งเหล่าัน้นได้

ฟังดูนึกว่าดีนะครับ ความจริงไม่
คนเหล่าัน้นกลับมีโอกาสที่จะยิ่งยึดเหนี่ยวในกิเลสมากกว่าเดิมอีก
เช่นพอใจในลาภสักการะ พอใจในอภินิหาร บางครั้งก็เป็นพวกพ่อมดหมอผีไป
ที่เขายิ่งยึดยิ่งถือเหนียวแน่นเข้าไปเพราะมีความเห็นว่า กายบังคับได้ และจิตบังคับได้
บังคับหายตัวได้ บังคับจิตให้รู้เห็นและแสดงความสามารถพิเศษต่างๆได้
เลยมีทิฐิว่ากายกับใจนี้บังคับบัญชาได้

ความสามารถพิเศษเหล่านั้นเรียกว่าอภิญญา 6 ได้แก่
1. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
2. ทิพพโสต มีหูทิพย์
3. เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
5. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
6. อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

5 ข้อแรก จัดว่าเป้นของสาธารณะ เป็นโลกียญาน
มีอยู่ก่อนแล้วในอดีตก่อนจะมีพระพุทธเจ้าอีก เช่นพวกฤาษี พวกเจ้าสำนักต่างๆในสมัยนั้น

ส่วนข้อ 6 เป็นญานของพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าเป้นผู้ค้นพบ
เป็นญานที่ทำให้ท่านรู้แจ้งเห็นจริงว่า
กายเป็นอนัตตา จิตเป็นอนัตตา ไม่เที่ยง บังคับบัญชาไม่ได้

การเจริญจิตภาวนา หรือภาษาปากว่าฝึกพลังจิตแบบพระพุทธเจ้านั้น
เป้าหมายสุดสุดเราอยู่ที่ญานที่ 6
คือญานที่ทำให้อาสวะกิเลสสิ้นไป

ญานอื่นนั้นเป้นเครื่องประกอบ เป้นบททดสอบ เป้นของแถม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามมีคำตอบอยู่ในตัวส่วนหนึ่ง (...มีจุดมุ่งหมายที่ไม่เหมือนกัน)

อย่างกรณีแรกสืบเนื่องสัมพันธ์กันเป็นเหตุเป็นผลกัน ตัวอย่างเช่น เริ่มต้นรักษาศีล ก็เพื่อสมาธิ สมาธิก็เพื่อ
ปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ

ส่วนฝึกใช้พลังจิตอย่างกรณีหลัง จะไม่สืบต่อถึงตัวปัญญา


จิตที่ได้รับการฝึกแล้วจะมีพละมีกำลัง มีผลดีแก่ตนเองด้วยกันทั้งนั้นไม่ว่าจะฝึกด้วยวิธีใด
แม้จะยังไม่ถึงระดับสูงสุดก็ตาม


อ้างคำพูด:
แล้วถ้าอย่างนั้นอันไหนมันฝึกง่ายกว่ากัน แล้วก็อันไหนมันดีกว่ากันนะ....


ดีมีหลายระดับ สมาธิก็มีหลายระดับ ดีระดับใดสมาธิระดับไหน

หากมองในแง่ดีที่ทำให้พ้นจากทุกข์โทมนัสได้เด็ดขาดก็ต้องกรณีแรก แต่ก็ต้องอาศัยสมาธิพอควรแก่การ กรณียากง่าย ก็ไม่ใช่ของง่ายนัก

ส่วนการฝึกพลังจิตให้ถึงขั้นดำดิน -เดินบนน้ำได้เป็นต้น หรือ ฝึกใช้พลังจิตขยับเขยื้อนวัตถุหนักๆ เช่น
ตู้เสื้อผ้า เป็นต้นได้ ก็ยากมิใช่น้อย :b1: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 23:27
โพสต์: 23

ที่อยู่: อุดรธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงก็อ่านมาจากหนังสือหลายๆเล่มค่ะ แล้วมันก็มีแนวทางและวิธีการปฏิบัติที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน แต่มันอยู่เล่มนึงที่ไม่เหมือนเล่มอื่นค่ะ เพราะว่าอ่านๆไปแทนที่จะเป็นการฝึกจิตดันกลายเป็นฝึกพลังจิตไปซะงั้น แต่มันก็น่าสนใจดีนะ น่าลองอยู่เหมือนกัน แต่ก็คงไม่ต้องถึงขั้นดำดิน เดินบนน้ำ หรือขยับตู้ได้หรอก เอาแค่ขยับกระดาษให้ได้ก่อนก็หรูแล้ว...อิอิ.... :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 23:27
โพสต์: 23

ที่อยู่: อุดรธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ไหนๆก็ไหนๆแล้วขอถามคุณกรัชกายหน่อยนะคะ
ที่บอกว่า"จิตที่ได้รับการฝึกแล้วจะมีพละมีกำลัง มีผลดีแก่ตนเองด้วยกันทั้งนั้นไม่ว่าจะฝึกด้วยวิธีใด แม้จะยังไม่ถึงระดับสูงสุดก็ตาม" งั้นก็แแสดงว่าแค่เริ่มต้นฝึกก็สามารถเพิ่มพลังให้กับจิตได้แล้วเหรอคะ แล้วถ้าจิตยังมีสมาธิบ้างหรือไม่มีสมาธิบ้างล่ะคะ แบบว่าแวบไปแวบมาน่ะค่ะ(จิตยังไม่นิ่ง)แบบนี้จิตจะมีพลังเพิ่มขึ้นซักนิดซักหน่อยมั้ยคะ :b26:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 03:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


sweetberry เขียน:
ความจริงก็อ่านมาจากหนังสือหลายๆเล่มค่ะ แล้วมันก็มีแนวทางและวิธีการปฏิบัติที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน แต่มันอยู่เล่มนึงที่ไม่เหมือนเล่มอื่นค่ะ เพราะว่าอ่านๆไปแทนที่จะเป็นการฝึกจิตดันกลายเป็นฝึกพลังจิตไปซะงั้น แต่มันก็น่าสนใจดีนะ น่าลองอยู่เหมือนกัน แต่ก็คงไม่ต้องถึงขั้นดำดิน เดินบนน้ำ หรือขยับตู้ได้หรอก เอาแค่ขยับกระดาษให้ได้ก่อนก็หรูแล้ว...อิอิ.... :b13:


หมายถึงเขาเน้นอภิญญาเลยใช่ไหมครับ
ปกติถ้าครูอาจารย์ที่เป็นสายพระพุทธเจ้า จะต้องสอนให้เอาพุทธศาสตร์ไปคุมมันอีกที เช่น สติปัฏฐาน ศีล
เปรียบเหมือนการศึกษาอภิญญาเป้นม้า แต่เอาพุทธศาสตร์เป็นคนบังคับม้าอีกที

ไม่งั้นคนเรียนจะบ้าครับ เพราะไปรู้เห็นอะไำรมากแล้วเข้าไปยึดถืออุปาทาน
จริงหรือไม่จริงก็ไม่สามารถจะแยกแยะได้ นานเข้าก็หลอน สติแตก บ้าไปเลย
เพราะขาดศีล ขาดกำลังสมาธิ ขาดปัญญา ขาดกำลังสติ
การฝึกวิชาพวกนี้ต้องระมัดระวังอย่างมาก ต้องมีครูที่ดี ไม่งั้นบ้าเอาง่ายๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
งั้นก็แแสดงว่าแค่เริ่มต้นฝึกก็สามารถเพิ่มพลังให้กับจิตได้แล้วเหรอคะ


:b1: เอาง่ายๆ ยามปกตินี่ล่ะ คุณ sweetberry หากจิตไม่มีพลัง ไม่มีกำลัง มนุษย์จะเดินเหิน
ยกแขนยกขา ยกแก้วน้ำ เป็นต้นไม่ไหว (เว้นกรณีคนเป็นอัมพาตนะครับ)

ดูชัดๆอีกมุมหนึ่ง คนที่ร่างกายแข็งแรงนี่ล่ะ เมื่อได้ทราบว่า คนที่ตนรักประสบอุบัติเสียชีวิตกะทันหัน
พอได้ทราบข่าวเท่านั้นแหละ กำลังยืนอยู่แท้ๆ :b5: เข่าอ่อนทรุดลงกองกับพื้น ยืน-เดินไม่ไหว
อ่อนเปลี้ยทั้งกาย-ใจ ต้องช่วยกันพยุงให้เดิน ถึงกระนั้นก็ยังต้องลากไป :b9:
นั่นเพราะจิตหมดแรงหมดกำลัง จึงทำให้ทั้งองคาพยพเป็นไปเช่นนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้วถ้าจิตยังมีสมาธิบ้างหรือไม่มีสมาธิบ้างล่ะคะ แบบว่าแวบไปแวบมาน่ะค่ะ(จิตยังไม่นิ่ง)แบบนี้จิตจะมีพลังเพิ่มขึ้นซักนิดซักหน่อยมั้ยคะ


ตอบสืบเนื่องจาก คห. บน มันก็มีเท่าที่มีตามที่คุณพูดนั่นแหละ
แต่ไม่เพียงพอที่จะทำการงานที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปได้ จึงต้องฝึกอีกเพื่อทำงานทางปัญญา เพราะปัญญาจะได้โอกาสทำงาน ก็ต้องอาศัยจิตที่มีสมาธิพอสมควร

แม้ไม่ถึงขนาดนำไปใช้ด้านปัญญาก็มีประโยชน์ ตัวอย่าง เช่น นักกายกรรมเดินไต่ลวดสลิงซึ่งขึงอยู่ในที่สูง กว่าเขาจะเดินไต่ได้เช่นนั้น จะต้องผ่านการฝึกจิตให้นิ่งมิใช่น้อยๆชั่วโมง จึงเดินบนลวดได้เช่นนั้น

ส่วนผู้มิได้ฝึกเพื่อเล่นกายกรรม แต่จะมีประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน คือ ทำงานได้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น เหมือนมีกำลังกายใจดีขึ้น สังเกตความอ่อนเพลียซึ่งก่อนทำงานเท่านี้ชั่วโมงหรือนอนไม่ถึงเท่านั้นชั่วโมง จะเมี่อยขบไปทั้งกาย นอนซมทั้งวันถึงไข้ขึ้น แต่หลังจากฝึกสมาธิได้สมควรแล้ว อาการเช่นนั้นหายไป

หรือ เช่นความจำก็ดีขึ้น เมื่อก่อนวางสิ่งของมักลืมบ่อยๆ นึกไม่ออกว่าวางไว้ตรงไหน แต่พอมาฝึกจิตฝึกสมาธิ อาการขี้หลงขี้ลืมลดลง แม้วางสิ่งของต้องใช้แม้ผ่านไปนานแล้ว ต้องการใช้ก็นึกได้ว่าอ้อ
เราวางไว้ตรงนั้น ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 09:54
โพสต์: 1

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 23:27
โพสต์: 23

ที่อยู่: อุดรธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
sweetberry เขียน:
ความจริงก็อ่านมาจากหนังสือหลายๆเล่มค่ะ แล้วมันก็มีแนวทางและวิธีการปฏิบัติที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน แต่มันอยู่เล่มนึงที่ไม่เหมือนเล่มอื่นค่ะ เพราะว่าอ่านๆไปแทนที่จะเป็นการฝึกจิตดันกลายเป็นฝึกพลังจิตไปซะงั้น แต่มันก็น่าสนใจดีนะ น่าลองอยู่เหมือนกัน แต่ก็คงไม่ต้องถึงขั้นดำดิน เดินบนน้ำ หรือขยับตู้ได้หรอก เอาแค่ขยับกระดาษให้ได้ก่อนก็หรูแล้ว...อิอิ.... :b13:


หมายถึงเขาเน้นอภิญญาเลยใช่ไหมครับ
ปกติถ้าครูอาจารย์ที่เป็นสายพระพุทธเจ้า จะต้องสอนให้เอาพุทธศาสตร์ไปคุมมันอีกที เช่น สติปัฏฐาน ศีล
เปรียบเหมือนการศึกษาอภิญญาเป้นม้า แต่เอาพุทธศาสตร์เป็นคนบังคับม้าอีกที

ไม่งั้นคนเรียนจะบ้าครับ เพราะไปรู้เห็นอะไำรมากแล้วเข้าไปยึดถืออุปาทาน
จริงหรือไม่จริงก็ไม่สามารถจะแยกแยะได้ นานเข้าก็หลอน สติแตก บ้าไปเลย
เพราะขาดศีล ขาดกำลังสมาธิ ขาดปัญญา ขาดกำลังสติ
การฝึกวิชาพวกนี้ต้องระมัดระวังอย่างมาก ต้องมีครูที่ดี ไม่งั้นบ้าเอาง่ายๆครับ


หนังสือเล่มอื่นๆเป็นของครูบาอาจารย์ที่ชาวพุทธทั่วไปเลื่อมใสศรัทธานี่ล่ะค่ะ แต่เล่มที่ไม่เหมือนชาวบ้านเขาเนี่ย เป็นคนที่ได้ลองฝึกแล้วเขียนเล่าประสบการณ์ แล้วก็เป็นชาวต่างชาติค่ะ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 23:27
โพสต์: 23

ที่อยู่: อุดรธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือ เช่นความจำก็ดีขึ้น เมื่อก่อนวางสิ่งของมักลืมบ่อยๆ นึกไม่ออกว่าวางไว้ตรงไหน แต่พอมาฝึกจิตฝึกสมาธิ อาการขี้หลงขี้ลืมลดลง แม้วางสิ่งของต้องใช้แม้ผ่านไปนานแล้ว ต้องการใช้ก็นึกได้ว่าอ้อ
เราวางไว้ตรงนั้น ฯลฯ


ถ้าอย่างนั้นคนที่สมาธิสั้น ถ้ามาฝึกนั่งสมาธิก็สามารถช่วยให้หายจากอาการสมาธิสั้นได้ใช่มั้ยคะ :b25:

ส่วนผู้มิได้ฝึกเพื่อเล่นกายกรรม แต่จะมีประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน คือ ทำงานได้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น เหมือนมีกำลังกายใจดีขึ้น สังเกตความอ่อนเพลียซึ่งก่อนทำงานเท่านี้ชั่วโมงหรือนอนไม่ถึงเท่านั้นชั่วโมง จะเมี่อยขบไปทั้งกาย นอนซมทั้งวันถึงไข้ขึ้น แต่หลังจากฝึกสมาธิได้สมควรแล้ว อาการเช่นนั้นหายไป

มิน่าล่ะคนที่เค้าปฏิบัติกันเคร่งๆ แบบว่าไปปฏิบัติที่วัดประมาณนี้นอนก็ดึกแถมตื่นเร็วอีก แต่เขาไม่มีอาการของคนที่พักผ่อนน้อยเลย :b25:
แต่อย่างเราปฏิบัติเองที่บ้าน จะได้เรื่องบ้างมั้ยน๊า...... :b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกพลังจิตคือ ฝึกสมาธิ สมถะกรรมฐาน พอเข้าถึงระดับฌาน 4 และอรูปฌาน จึงมันจะมีอภิญญาต่างๆ

ส่วนที่คุณบอก "เราคอยตามดูจิตของเรา รู้ตัวเสมอ ตามดูมันไปเรื่อยๆ แล้วมันก็ต้องอาศัยสมาธิเพื่อให้เกิดสติ" นั่นเป็นการวิปัสสนา การวิปัสสนาใช้เพียงสมาธิขึ้นฌาน 1-2 ก็พอ ที่เหลือก็ตามดูจิต

คนที่ฝึกวิปัสสนา เขาจะได้ปัญญา ตัดกิเลสได้ ไปสูงสุดเป็นพระอรหันต์สุขวิปัสสโก ไม่มีพลังจิตเหมือนพวกฝึกสมาธิ สมถะกรรมฐาน เพราะฤทธิอภิญญาจะเกิด และใช้งานได้จริงจัง ก็ต้องระดับฌาน 4 และอรูปฌาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าอย่างนั้นคนที่สมาธิสั้น ถ้ามาฝึกนั่งสมาธิก็สามารถช่วยให้หายจากอาการสมาธิสั้นได้ใช่มั้ยคะ


ได้ครับ

ก่อนพูดประเด็นนี้ต่ออีกหน่อย ขอบอกกันเช้าใจผิดสักเล็กน้อยว่า ในขณะที่ฝึกมิใช่มีแต่สมาธิเท่านั้น
ที่ทำหน้าที่อยู่ ยังมีองค์ธรรมอื่นอีกตามสมควร ที่ร่วมด้วยช่วยกันทำหน้าที่ขวักไขว่อยู่แต่ละขณะๆ
(พูดเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายก็ว่า ทำงานกันเป็นทีม ในทีมนั้นเก่งกันทุกคน ไม่ใช่เก่งคนเดียว)
เช่น สติ สัมปชัญญะ สมาธิ สัญญา เจตนา มนสิการ เอกัคคตา เป็นต้น ซึ่งทำหน้าที่ของตนๆ
หนุนเสริมกันและกัน เป็นเหตุปัจจัยกัน หรือพูดตามหลักปฏิจจสมุปบาทว่า สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี มันมีมันเป็น
อย่างมีเหตุมีผล ไม่ใช่มีเป็นหรือเกิดขึ้นลอยๆ อย่างไร้เหตุผลว่างั้นเถอะ :b1:

เมื่อเข้าใจเหตุผลแล้วพาวกเข้าประเด็น
สำหรับคนสมาธิสั้น พึงฝึกต่อสมาธิให้ยึดยาวขึ้น พึงทราบตัวอย่างดังนี้ เด็กชาย ก. มีความอดทนทำ
การบ้านประมาณ 4 นาที พ้นนั้นเริ่มหลุกหลิก ๆ รุกรี้รุกรน ทิ้งสมุดปากกาไปเล่นอย่างอื่น
ผู้เป็นพ่อ-แม่ หรือ อาจารย์ พึงฝึกเด็กชาย ก. ด้วยการให้ทำการบ้าน โดยกำหนดเวลาให้ที่ 5 นาที
โดยมีเราคุมอยู่ ค่อยปลุกฉันทะให้เค้าทำงานนั้นให้ครบกำหนด 5 นาที อาจใช้อุบายตามความเหมาะสม
เพื่อให้เค้าไปให้ถึงจุดเวลาที่ต้องการ แล้วพึงสังเกตเอา เมื่อเห็น เด็กชาย ก. เริ่มนิ่งอยู่ตัวที่ 5 นาที
แล้ว วันต่อไปก็ขยับขึ้นไปอีกสัก 1 นาที. เป็น 6 นาที ตามอุบายเดิม ฯลฯ แล้วขยับไปเรื่อยๆ ตามนั้น
จนเขามีสมาธิสนใจในการทำงานนั้น มีสมาธิในการเขียน ในการทำกิจกรรมอื่น ได้นานขึ้นเป็นชั่วโมง ฉันใด
ก็ฉันนั้น

ผู้ปฏิบัติกรรมฐานก็ฉันนั้น โดยเริ่มต้นที่เท่าไหร่แล้วแต่ ทำไปสังเกตไป แล้วขยับเวลาไล่ๆขึ้นไปเรื่อยๆ
สมาธิจะดีขึ้นยาวขึ้นตามลำดับ มีความมั่นคงต่ออารมณ์กรรมฐานได้นานขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มิน่าล่ะคนที่เค้าปฏิบัติกันเคร่งๆ แบบว่าไปปฏิบัติที่วัดประมาณนี้นอนก็ดึกแถมตื่นเร็วอีก แต่เขาไม่มีอาการของคนที่พักผ่อนน้อยเลย
แต่อย่างเราปฏิบัติเองที่บ้าน จะได้เรื่องบ้างมั้ยน๊า



ต้องใช้เวลาครับ ไม่พึงหักโหมเอาให้มีให้เป็นเพียง 5 วัน หรือ 7 วัน 15 วัน
จะต้องฝึกทำนองดังกล่าวให้อยู่ตัว จนมันเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ แบบไม่ต้องฝืนหรือกักกดอีกต่อไป
คือ ไหลไปเองเลยว่างั้นเถอะ

เปรียบ่ให้พอมองเห็นภาพ เหมือนเราเทน้ำในตุ่มซึ่งมีพิษออกจากตุ่มให้หมด แล้วเติมน้ำใหม่ลงไปแทน
ที่นี้ก็จะมีแต่น้ำใหม่ซึงไร้พิษ ฉันใดก็ฉันนั้น

สภาพจิตที่เคยชินผิดๆอยู่เดิมเปรียบเหมือนสิ่งมีพิษ จะต้องขจัดกวาดล้างด้วยกุศลภาวนาขับออกไป
แล้วกุศลธรรมทั้งหลายมีสัมมาสติ เป็นต้น จะเข้าแทนที่ ฉันนั้น

อ้างคำพูด:
แต่อย่างเราปฏิบัติเองที่บ้าน จะได้เรื่องบ้างมั้ยน๊า


จะปฏิบัติที่บ้านหรือที่ใดก็ตามที ท่านว่ากุศลเกิดทุกที่ แม้เพียงช้างกระดิกหูงูแลบลิ้นก็ได้เรื่องเป็นกุศล
ตามเหตุปัจจัยของมันเหมือนกัน แต่พึงทำบ่อยๆ แม้ในการทำงานประจำวันก็ใช้ได้

เสริมความเข้าใจลิงค์นี้นะขอรับ :b1: :b12: :b38:

viewtopic.php?f=2&t=20241

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 61 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร