วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 16:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




post-15721-1233208114.jpg
post-15721-1233208114.jpg [ 19.19 KiB | เปิดดู 7487 ครั้ง ]
ความรู้เบื้องต้นเรื่องกฎแห่งกรรม





1. กฎแห่งกรรม คือ กฎแห่งการกระทำและการให้ผลของกรรม กรรมคือการกระทำที่ประกอบด้วยความจงใจ หรือเจตนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กรรมดี กรรมที่ทำแล้วนำสุขมาให้ และกรรมชั่ว กรรมที่ทำแล้วนำทุกข์มาให้ ด้วยความเป็นเหตุเป็นผลรองรับกันอย่างนี้จึงเรียกว่า กฎแห่งกรรม

2. ทุกยุคสมัยนักคิดนักวิจารณ์เจ้าลัทธิหลายๆ ท่าน กล่าวสอนและตีความเรื่องโลก จักรวาลและชีวิตกันไปอย่างหลากหลายไม่ลงรอยกัน เพราะใช้การคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ แต่ว่าพระพุทธศาสนามุ่งเน้นให้ปฏิบัติขัดเกลาอบรมฝึกฝนกาย วาจา ควบคู่ไปกับจิตใจจนบริสุทธิ์หลุดพ้น เมื่อนั้นความแตกต่างทางความคิดก็จะหมดสิ้นไป

3. สรรพสัตว์ทั้งปวงที่ต่างยังต้องเวียนว่ายตายเกิดไปในภพภูมิต่างๆ เพราะประกอบเหตุเป็นเครื่องพันธนาการคือกรรมที่ตนเองได้ตั้งใจกระทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม

4. การดำเนินชีวิตมีพื้นฐานอยู่ในเรื่องของกรรม ความรู้เรื่องกรรมมีความสัมพันธ์กับทุกอย่างรอบตัว เมื่อเราศึกษาเรื่องกรรมจะทำให้เกิดความเข้าใจจับแง่คิดกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ทำให้เราไม่ประมาทและดำเนินชีวิตได้ถูกต้องตามความเป็นจริง

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y7784839-2.jpg
Y7784839-2.jpg [ 112.81 KiB | เปิดดู 7482 ครั้ง ]
วังวนแห่งชีวิต

อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ

คหการกํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ

คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหสิ

สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ

วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.

เราแสวงหาช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบได้ท่องเที่ยวไปสู่สังสาระ (การเกิด)

ไม่ใช่เพียงชาติเดียว ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน

เราพบท่านแล้ว ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้ ซี่โครงทุกซี่ของท่านเราหักเสียแล้ว

ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว

เพราะเราบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว

พุทธวจนะบทนี้ เป็นคำตรัสรับรองจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ธรรมชาติของสรรพสัตว์เมื่อเกิดแล้วก็ต้องตาย หนีไม่พ้น ซึ่งก็วนเวียนสู่การเกิดการตายกันมาแล้วอย่างมากมาย ไม่ใช่เกิดตายเพียงครั้งเดียวแต่นับไม่ถ้วน เพราะแม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ผู้ทรงฤทธิ์เดช เหาะเหิน เดินอากาศ สามารถขจัดกิเลสอาสวะได้ ก็ยังต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่นาน กว่าจะพ้นจากชีวิตในสังสารวัฏ แม้ภพชาติสุดท้ายของท่านเหล่านี้ก็ยังจะต้องเผชิญกับกฎแห่งกรรม อีกทั้งยังทำให้ทราบถึงความมีอยู่ของสังสารคือการเวียนเกิดเวียนตายและผู้ที่สามารถคอยควบคุมบังคับบัญชาให้สรรพสัตว์เวียน-ว่ายอยู่ในวังวนแห่งชีวิตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่ต่างอะไรกับคุกที่ใช้สำหรับคุมขังนักโทษผู้กระทำผิดกฎที่กำหนดไว้ เมื่อทำแล้วก็มีผลคือต้องไปรับผลของการกระทำในภพภูมิต่างๆ โดยกรรมของตนที่กระทำไว้จะนำเจ้าของกรรมนั้นไปเกิด ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงและไม่อาจเลือกได้ วงจรนี้เรียกว่า สังสารวัฏ บางทีก็เรียกว่า วัฏสงสาร หรือวังวนแห่งชีวิต คือ วงจรชีวิตหลังความตายของสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดไปสู่ปรโลก ซึ่งวงจรนี้เองที่เราจะต้องทราบความเป็นมาของมันอย่างถ่องแท้ตามแบบอย่างที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติ สังสารวัฏเป็นวงจรเฉพาะของผู้ที่ยังมีกิเลส มีความพอใจยินดีอยากได้อยากมี มีความยึดติดกับรูปลักษณ์สัมผัสกับสิ่งของที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระของชีวิต ไม่สามารถแยกแยะว่าอะไรคือถูกผิด(ผิดคือไม่รู้ว่าผิดแต่ทำเพราะพลาดพลั้ง) ดีชั่ว(ชั่วคือรู้ว่าไม่ดีแต่ก็จะทำ) ควรไม่ควร มีวินิจฉัยเสียเพราะถูกกิเลส 3 ตระกูลครอบงำ ก่อให้เกิดความตรึกครุ่นคิดอยู่ในเรื่องกามราคะ ความพยาบาทปองร้าย เบียดเบียน เป็นเหตุให้จิตฝ่ายอกุศล บังคับบัญชาให้สรรพสัตว์สร้างกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ1 โดยมีตัณหาคือความทะยานอยากควบคุมให้สร้างกรรมเพิ่มก่อให้เกิดภพชาตินี้ชาติหน้าเวียนเกิดเวียนตายต่อไปไม่รู้จบ2 ทำให้เสพคุ้นยึดถือยึดติดเป็นอาสวะหรือตะกอนที่นอนเนื่องอยู่ในกมลสันดาน เปรียบเหมือนการสร้างเรือนต่อเติมตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อยจนเรือนนั้นเต็มไปด้วยโครงสร้างที่ซับซ้อนมากมาย ฉันใด ผู้ที่ประกอบกรรมดีชั่วไว้มากเท่าไร ผลกรรมก็มากตามไปด้วย ฉันนั้น

กรรมของแต่ละบุคคลที่สั่งสมกันมาถ้าจะนับเป็นจำนวนก็มากมายมหาศาล เพราะเวียนเกิดเวียนตายกันมานับภพนับชาติไม่ถ้วน หากนับตั้งแต่เกิดจนตาย สมมติว่าเราทำกรรมทั้งดีและชั่วไว้พันครั้ง วิบากกรรมก็มีพันครั้ง เมื่อกรรมให้ผลครั้งหนึ่งสามารถเผล็ดผลเพิ่มขึ้นได้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น เราปลูกลำไยหนึ่งต้น เมื่อถึงเวลาออกดอกออกผล ลำไยต้นหนึ่งสมมติว่าให้ผลได้ปีละหนึ่งพันเมล็ด ถ้าอายุของ ต้นลำไยนี้สิบปี ฉะนั้นลำไยต้นนี้จะให้ผลถึงหมื่นเมล็ด นั่นแสดงให้ทราบว่า เราจะต้องรับผลกรรมที่เข้าแถว รออีกจำนวนมาก ยังต้องเวียนเกิดเวียนตายไปในภพ 3 อีกยาวนานมากเช่นกัน ซึ่งหมายความว่า การจะหลบหนีออกจากวังวนแห่งชีวิตขณะเสวยวิบากกรรมนั้นไม่อาจเป็นไปได้ เพราะยังมีอำนาจกรรมของตนเป็นตัวควบคุม อีกทั้งไม่สามารถให้ใครรับผลกรรมแทนได้ กรรมและผลกรรมเป็นของเฉพาะตน เป็นสิ่งเที่ยงแท้แน่นอนที่ผู้ใดกระทำผู้นั้นคือผู้รับ

หากจะหนีออกจากวังวนแห่งชีวิตนี้ จะต้องทำในภพชาติที่เกิดเป็นมนุษย์ และจะต้องได้ฟังพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วนำมาปฏิบัติอย่างตั้งใจ จนบรรลุมรรคผลนิพพาน เหมือนดังพระ- องคุลิมาลที่สามารถบรรลุธรรมสิ้นอาสวกิเลสเป็นพระอรหันตสาวกแล้ว จึงไม่ต้องกลับมาเกิดอีกต่อไป เพราะถ้าท่านไม่หมดกิเลส ท่านจะต้องรับผลกรรมปาณาติบาตจากการที่เคยฆ่าคนมามาก ซึ่งจะทำให้ท่านต้องเวียนเกิดเวียนตายอีกยาวนาน และในระหว่างที่เกิดนั้นก็ยังสามารถสร้างกรรมเพิ่มขึ้นได้อีกมากมาย จึงเหมือนปฏิกิริยาลูกโซ่การแตกแยกย่อยอะตอมของระเบิดปรมาณู (ATOMIC BOMB)

ความเชื่อเรื่องภพชาตินี้ภพชาติหน้า ชีวิตหลังความตาย ตายแล้วไม่ขาดสูญ ตายแล้วยังต้องเวียนตายเวียนเกิดใหม่ เหล่านี้เป็นหลักความเชื่อที่มีความสำคัญและสัมพันธ์ต่อการดำรงชีวิตในภพชาตินี้ ภพชาติหน้าและภพชาติถัดไป ทั้งยังเป็นเหตุปัจจัยกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของผู้นั้นว่าจะมีความสุขสบายหรือทุกข์ยาก เพราะเป็นความเชื่อที่ส่งผลต่อการกระทำ สิ่งที่กระทำส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของชีวิตให้พลิกผันไปในทิศทางที่ผู้นั้นได้กำหนดเอง เพราะว่าสัตวโลกมีความเป็นอยู่และเป็นไปตามกรรม1 ทำอย่างไรได้คืนอย่างนั้น ทำดีก็ได้รับผลดีมีสุขสบาย ทำชั่วก็ได้รับผลชั่วเป็นทุกข์ยากแค้นแสนลำบาก2 เหมือนปลูกต้นถั่วได้ผลเป็นถั่ว ปลูกงาก็ได้ผลเป็นงา ไม่ใช่ปลูกต้นถั่วแต่ได้ผลเป็นงา

ความเป็นมาของคำว่า สังสารวัฏ หรือวัฏสงสาร เป็นการประกอบคำเพื่อให้เกิดความหมายที่เด่นชัดเข้าใจง่ายสำหรับคนรุ่นหลัง แต่เดิมจะใช้ คำว่า สังสาร หรือวัฏฏะ เฉพาะคำใดคำหนึ่ง ภายหลังจึงใช้คำทั้งสองควบกัน แต่ยังคงความหมายเดิม แปลว่า การท่องเที่ยวไป การเดินทาง การหมุนเวียนหมายถึง การท่องเที่ยวไป การเดินทางไกล การเวียนเกิดเวียนตายจากภพนี้ไปสู่ภพหน้าและภพต่อๆ ไป เวียนว่ายตายเกิดไปจนกว่าจะดับกิเลสหมดสิ้น ตัวอย่างเช่น ชาตินี้เกิดเป็นมนุษย์ เมื่อละโลกไปเกิดในสุคติภูมิ แต่เมื่อหมดอายุของชาวสวรรค์ ก็ต้องจุติบังเกิดใหม่ทันที อาจจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก หรือไม่ก็อาจจะพลัดไปเกิดในทุคติภูมิ อย่างนี้เรียกว่า เวียนว่ายตายเกิด เวียนเกิดเวียนตายไปเรื่อยๆ ซ้ำไปซ้ำมาไม่ขาดสาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าปรารถนา เพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า ''สัตว์เวียนว่ายไปยังสังสาร ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์ และทุกข์เป็นภัยใหญ่คุกคามเขา''3 ปัจจุบันภาษาไทยเอาคำว่า สังสาร มาใช้เป็นคำว่า สงสาร ซึ่งให้ความหมายที่ผิดแผกแตกต่างไปจากความหมายเดิมมาก เป็นคำที่ใช้แสดงความเห็นอก เห็นใจต่อผู้อื่นที่ประสบทุกข์ เช่น ''ได้โปรดเถอะ สงสารกันหน่อยได้ไหมŽ จึงควรทำความเข้าใจคำว่าสังสารให้ดีจะได้ไม่เห็นผิดพลาดคลาดเคลื่อนซึ่งอาจจะมีผลต่อการกระทำผิดได้ เหมือนองศาที่จุดเริ่มต้นเบี่ยงเบนผิดไปเพียงเสี้ยวแต่เมื่อห่างไกลมากเข้าค่าองศาจะเบี่ยงเบนมากขึ้นไปเรื่อยๆ

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




post-4320-1235661155.jpg
post-4320-1235661155.jpg [ 8.45 KiB | เปิดดู 7480 ครั้ง ]
เมื่ออ่านตำราทางพระพุทธศาสนามักจะพบคำว่า สัตว์4 เสมอๆ คำนี้ แปลว่า ผู้ติดข้องพอใจยินดีอยู่ในขันธ์ 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีกายและวิญญาณ ได้แก่ มนุษย์ เทวดา พรหม มาร เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ทั้งหมดนี้เรียกรวมว่า หมู่สัตวโลก ฉะนั้นเมื่อนักศึกษาพบคำนี้ก็ให้ทราบว่าเป็นคำกลางๆ ไม่เจาะจงแต่เพียงสัตว์เดรัจฉาน


การสืบค้นหาจุดกำเนิดเริ่มต้นของสังสารจนถึงวันสิ้นสุดนั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะกำหนดหากันได้ง่ายๆ เพราะตราบใดที่สรรพสัตว์ยังมีอวิชชาคือไม่รู้บดบังปิดกั้นความรู้จริงเอาไว้ ตราบนั้นกิเลสตัณหาคือความเศร้าหมองเพราะความทะยานอยากก็จะไม่สิ้นสุด การเวียนเกิดเวียนตายของแต่ละชีวิตก็ยังคงดำเนินต่อไป ปัจจุบันศาสตร์สมัยใหม่ต้องการค้นพบสิ่งอื่นนอกเหนือจากโลกของเราด้วยการเดินทาง แนวความคิดนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยพุทธกาล กล่าวคือ โรหิตัสสเทพบุตร อดีตเคยเป็นฤาษีมีฤทธิ์ พยายามค้นหาที่สุดของโลกตลอดชีวิตถึงร้อยปี ไม่หยุดพักดื่มกินขับถ่าย ฤาษีท่านนี้สามารถย่างเท้าก้าวหนึ่งจากขอบมหาสมุทรทิศตะวันออกไปจรดขอบมหาสมุทรทิศตะวันตกแต่ที่สุดแล้วก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จเพราะจบสิ้นชีวิตเสียก่อน เทพบุตรท่านนี้จึงทูลถามเรื่องจะทำอย่างไรจึงไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย การจุติ การอุบัติ และสามารถบรรลุที่สุดโลกด้วยการเดินทางได้หรือไม่ พระพุทธองค์ตรัสตอบเทพบุตรนั้นว่า1


ดูก่อนผู้มีอายุ ณ โอกาสใดบุคคลไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย

ไม่จุติ ไม่อุบัติ เราไม่เรียกโอกาสนั้นว่าที่สุดของโลก ที่ควรรู้

ควรเห็น ควรบรรลุ ด้วยการเดินทาง หากเรายังไม่บรรลุถึง

ที่สุดของโลกแล้ว จะไม่กล่าวถึงการกระทำที่สุดทุกข์

แต่เราบัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก การดับของโลก และทางให้ถึง

ความดับโลก ในเรือนร่าง มีประมาณวาหนึ่งนี้ และพร้อมทั้ง

สัญญา พร้อมทั้งใจครอง

แต่ไหนแต่ไรมา ยังไม่มีใครบรรลุถึงที่สุดโลกด้วย

การเดินทางและเพราะที่ยังบรรลุถึงที่สุดโลกไม่ได้ จึงไม่พ้นไป

จากทุกข์ เหตุนั้นแลคนมีปัญญาดี รู้แจ้งโลกถึงที่สุดโลกได้

อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว รู้ที่สุดโลกแล้วเป็นผู้สงบแล้ว จึงไม่

หวังโลกนี้และโลกอื่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอุปมาเปรียบเทียบความยาวนานของการเวียนเกิดเวียนตายกับเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่เราประสบไว้ใน อนมตัคคสังยุต2 ดังนี้


1. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนบุรุษตัดหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีป3นี้ มารวมกันแล้วทำให้เป็นมัดๆ ละ 4 นิ้ว โดยสมมติว่า มัดนี้เป็นมารดาของเรา มัดนี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับนับจนหมด แต่ก็ไม่สามารถนับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้นได้หมดสิ้น

2. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนบุรุษคนหนึ่งปั้นดินทั้งแผ่นดินเป็นก้อนเล็กๆ เท่าเม็ดกระเบาจนหมด แล้วนับดินก้อนที่หนึ่งแทนบิดา นับดินก้อนต่อๆ มาแทนบิดาของบิดา ไปเรื่อยๆ จนดินหมดก็ยังไม่สามารถนับบิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้นได้หมดสิ้น

3. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนน้ำตาที่หลั่งออกเพราะร้องไห้เสียใจกับการสูญเสียมารดา บิดา พี่น้อง ญาติมิตร บุตรธิดา ความเสื่อมโภคสมบัติ เจ็บปวดเพราะโรคภัย นั้นมีจำนวนมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4

4. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนน้ำนมของมารดาที่ดื่มมาแล้ว ยังมีมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4

5. ทรงอุปมาว่า ภูเขาหินแท่งทึบที่มีความกว้าง ยาว สูง อย่างละ 1 โยชน์ ทุกๆ 100 ปี มีบุรุษนำผ้าบางเบามาลูบจนภูเขาสึกราบเรียบ ความพยายามนี้ยังเร็วกว่าซึ่งความยาวของกัปหนึ่ง

6. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนเมืองที่ล้อมด้วยกำแพงเหล็กมีขนาด กว้าง ยาว สูง อย่างละ 1 โยชน์ บรรจุเต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด ทุกๆ 100 ปี บุรุษพึงหยิบเมล็ดพันธุ์ผักกาดออกจากเมือง 1 เมล็ดจนหมด เพราะความพยายามนี้ยังเร็วกว่าความยาวนานของกัปหนึ่ง

7. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนพระสาวก 4 รูป แต่ละรูปมีอายุยืนครบ 100 ปี สามารถระลึกชาติได้วันละแสนกัป แม้ระลึกชาติทุกวันจนครบอายุ 100 ปี ก็ยังระลึกชาติได้ไม่หมดสิ้น

8. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนเม็ดทรายที่มีในแม่น้ำคงคาตั้งแต่ต้นสายจนสุดที่ปากอ่าวลงมหาสมุทร แต่กัปที่ผ่านมาแล้วนั้นมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายที่มีอยู่ในแม่น้ำคงคา

9. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนบุคคลโยนท่อนไม้ขึ้นบนอากาศ บางครั้งโคนตกลงถึงพื้นก่อน บางครั้งปลายตกลงถึงพื้นก่อน และบางครั้งตกลงทางขวาง ฉันใด ชีวิตของสัตว์ที่เวียนตายเวียนเกิดก็ไม่แน่นอน ฉันนั้น บางชาติเกิดเป็นมนุษย์ บางชาติเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

10. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนบุคคลเวียนตายเวียนเกิดตลอด 1 กัป1 เมื่อนำโครงกระดูกมากองรวมกัน กองกระดูกนั้นใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้ ก็ไม่พึงหมดไป

11. ทรงอุปมาว่า เปรียบเหมือนโลหิตของบุคคลที่ไหลออกจากการถูกตัดศีรษะขณะที่เกิดเป็นมนุษย์บ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง ยังมีจำนวนมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4

12. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนการหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดมาเป็นมารดา มิใช่หาได้ง่าย เคยเกิดเป็นกันมาแล้วทุกอย่าง ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นมารดา

13. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนการหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดมาเป็นบิดา กล่าวคือ เคยเกิดเป็นกันมาแล้วทุกอย่าง ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นบิดา

14. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนการหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดมาเป็นพี่ชายน้องชาย มิใช่หาได้ง่าย เคยเกิดเป็นกันมาแล้วทุกอย่าง ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นพี่ชายน้องชาย

15. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนการหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดมาเป็นพี่สาวน้องสาว มิใช่หาได้ง่าย เคยเกิดเป็นกันมาแล้วทุกอย่าง ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นพี่สาวน้องสาว

16. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนการหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดมาเป็นลูกชาย มิใช่หาได้ง่าย เคยเกิดเป็นกันมาแล้วทุกอย่าง ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นลูกชาย

17. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนการหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดมาเป็นลูกสาว มิใช่หาได้ง่าย เคยเกิดเป็นกันมาแล้วทุกอย่าง ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาสัตว์ที่ไม่เคยเกิดเป็นลูกสาว

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




_1_220.jpg
_1_220.jpg [ 50.21 KiB | เปิดดู 7477 ครั้ง ]
ดังที่พระพุทธองค์ตรัสอุปมายกตัวอย่างมากมาย จากการศึกษาพบว่า กระบวนการหรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดสังสารวัฏนั้น คือ

กิเลส แปลว่า ความเศร้าหมอง หมายถึง ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ เมื่อถูกกิเลสครอบงำทำให้สัตว์นั้นไม่เป็นตัวของตัวเองตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกิเลสควบคุมบังคับสัตว์ให้ไปสร้างไปทำสิ่งต่างๆ ได้แก่ กิเลสกาม หมายถึง ความชั่วที่แฝงอยู่ในใจผลักดันให้ทำ สิ่งที่ผิดเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ปรารถนา และวัตถุกาม หมายถึง วัตถุอันน่าใคร่น่าปรารถนามี 5 อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

กรรม แปลว่า การกระทำ หมายถึง การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ ทั้งดีและชั่ว
วิบาก แปลว่า ผลที่เกิดขึ้น หมายถึง ผลแห่งกรรม

บางทีก็ใช้ว่า ไตรวัฏฏ์ หมายถึง การเวียนเกิดเวียนตายเพราะเหตุปัจจัย 3 ประการ ซึ่งพระองคุลิมาลได้ยืนยันเรื่องไตรวัฏฏ์นี้อย่างชัดเจนว่า ''เมื่อครั้งที่เราเป็นโจร ถูกกิเลสครอบงำ จึงทำกรรมชั่วไว้มาก ซึ่งจะต้องไปรับผลกรรมนั้นในทุคติภูมิยาวนาน แต่เพราะได้รับการแนะนำสั่งสอนจากพระพุทธองค์ จึงทำให้สิ้นกิเลสหลุดพ้นจากสังสารวัฏนี้ ไม่หวนกลับมาสู่การเกิดและการตายอีกต่อไป''1 จากตรงจุดนี้แสดงให้ทราบว่า กิเลสคือต้นเหตุที่ควบคุมให้เกิดการกระทำทางกาย วาจา และใจ เมื่อประกอบกรรมแล้วมีผลกรรมทันทีไม่ว่าจะมากหรือเล็กน้อย เหมือนไม้ขีดเพียงก้านเดียวแต่สามารถเผาผลาญทั้งเมืองได้

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




d14.jpg
d14.jpg [ 52.87 KiB | เปิดดู 7474 ครั้ง ]
รูปแบบการถือกำเนิดกายหยาบของสรรพสัตว์ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้มีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ โดยกรรมจำแนกให้ถือกำเนิดแบบต่ำต้อยด้อยคุณภาพ หรือให้ถือกำเนิดแบบละเอียดอ่อนมีคุณภาพ1 ได้แก่

1. แบบชลาพุชะ คือ ถือกำเนิดในครรภ์

2. แบบอัณฑชะ คือ ถือกำเนิดในฟองไข่

3. แบบสังเสทชะ คือ ถือกำเนิดในเหงื่อไคล ของเน่าเสีย ของโสโครก

4. แบบโอปปาติกะ คือ ถือกำเนิดแล้วเติบโตทันที

เมื่อเหล่าสัตว์ถือกำเนิดตามรูปแบบโดยจำแนกไปตามกรรมของตนแล้ว ระหว่างการดำรงชีวิตยังประกอบกรรมมากมายทั้งดีและชั่วสลับกัน เมื่อละโลกแล้วจะแยกขอบเขตภพภูมิที่รองรับการเวียนเกิดเวียนตายของสรรพสัตว์ในสังสารวัฏออกเป็น 2 คติ คือ

1. สุคติภูมิ คือ สถานที่รองรับผู้ที่กระทำความดี มีความเป็นอยู่สุขสบายทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ผู้ที่จะมาบังเกิดในภพภูมินี้จะต้องเป็นสัมมาทิฏฐิบุคคล2 คือ มีความเห็นถูกในเรื่องกฎแห่งกรรม มีจิตใจสูงส่งเป็นกุศลธรรม จึงชักนำให้ประกอบกุศลกรรม 3 ทาง ได้แก่ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อละโลก ด้วยอานิสงส์ผลบุญที่ประกอบไว้ขณะมีชีวิต จะไปบังเกิดอยู่ในสุคติภูมิ ได้แก่ มนุษยภูมิ เทวภูมิ แต่ก็ยังเป็นภพภูมิของสัตว์ที่ยังไม่สิ้นกิเลสยังต้องเวียนเกิดเวียนตาย ซึ่งอาจจะพลาดพลั้งเผลอสติทำอกุศลกรรมได้ แต่ถ้าว่าสามารถทำลายกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นได้ก็จะเข้าสู่พระนิพพาน ไม่ต้องหวนกลับมาเกิดในภพ 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ อีกต่อไป กิเลสไม่สามารถครอบงำ กรรมที่รอส่งผลจำนวนมากก็จะไม่สามารถให้ผลได้อีกต่อไป เพราะกิเลสจะครอบงำได้เฉพาะสัตว์ที่บังเกิดในภพ 3

พระพุทธองค์ตรัสว่า แม้จะได้บังเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา แล้วก็ตาม แต่การจะได้กลับมาเกิดในสุคติภูมิเช่นนี้อีกยากมาก และก็มีน้อยมาก ทรงอุปมาดังต่อไปนี้ คือ

- ทรงอุปมา สัตว์ที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ เปรียบเหมือนฝุ่นในเล็บมือมีปริมาณน้อยกว่าฝุ่นทั้งแผ่นดิน ฉันใด สัตว์ที่จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ย่อมมีน้อยเหมือนฝุ่นในเล็บมือ ส่วนสัตว์ที่จะไปเกิดในอบายมีมากเหมือนฝุ่นทั้งแผ่นดิน ฉันนั้น3

- ทรงอุปมา มนุษย์และเทวดาจะจุติกลับมาเกิดเป็นมนุษย์และเทวดาอีกนั้นมีน้อย เหมือนฝุ่นในเล็บมือ แต่มนุษย์และเทวดาที่จุติแล้วไปบังเกิดในอบายภูมิมีมากกว่า เหมือนฝุ่นทั้งแผ่นดิน4

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




index.png
index.png [ 354.15 KiB | เปิดดู 7472 ครั้ง ]
2. ทุคติภูมิ คือ สถานที่อยู่ของผู้ที่กระทำความชั่ว มีความเป็นอยู่ทุกข์ยากทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กล่าวคือ ผู้ที่จะมาบังเกิดในภพภูมินี้จะต้องเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคล1 คือ มีความเห็นผิดในเรื่องกฎแห่งกรรม มีจิตใจตกต่ำเป็นอกุศลธรรม จึงชักนำให้ประกอบอกุศลกรรม 3 ทาง ได้แก่ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อละโลก ด้วยอานิสงส์ผลบาปที่ประกอบไว้ขณะมีชีวิต จึงได้มาบังเกิดอยู่ในทุคติภูมิ คือ อบายภูมิ 4 ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นภพภูมิที่เสวยวิบากกรรมชั่วล้วนๆ นับว่าเป็นสัตว์อาภัพประเภทหนึ่ง ไม่สามารถบรรลุคุณธรรมความดีทั้งเบื้องต้นและเบื้องสูงได้ ไม่สามารถเห็นแจ้งในอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์

พระพุทธองค์ตรัสว่า สัตว์เหล่านี้เมื่อไปบังเกิดในอบายภูมิแล้วยากที่จะกลับมาเป็นมนุษย์ ทรงอุปมาว่า ทุกร้อยปีๆ เต่าตาบอดตัวหนึ่งจะโผล่หัวสวมเข้าพอดีกับบ่วงขนาดเท่าหัวของตนที่ลอยอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งในมหาสมุทร2

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8081046-2.jpg
Y8081046-2.jpg [ 21.4 KiB | เปิดดู 7467 ครั้ง ]
นับจากวันที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนถึงวันดับขันธปรินิพพาน ตลอดระยะเวลา 45 ปี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อสัตวโลก ทรงทำหน้าที่ยอดกัลยาณมิตรแนะนำ สั่งสอนให้สัตวโลกทั้งหลายรู้จักเป้าหมายสูงสุดของชีวิต หมู่สัตว์จำนวนมากที่ได้เข้าเฝ้าต่อเบื้องพระพักตร์ ได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ด้วยความไตร่ตรองพินิจพิจารณา แล้วนำมาปฏิบัติอย่างใส่ใจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีพยานในการตรัสรู้ธรรมคือพระอริยบุคคลเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากที่สามารถตัดวังวนแห่งชีวิตในสังสารวัฏของตนเองให้ลดน้อยลง ย่นย่อระยะทางเข้าใกล้สู่พระนิพพานมากยิ่งขึ้น อันได้แก่ 1

พระโสดาบัน 2 ระดับ ท่านจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงชาติเดียว หรืออีกไม่เกิน 7 ชาติ ก็สามารถทำลายอาสวกิเลสหมดสิ้น เพราะท่านละกิเลสสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน) วิจิกิจฉา (ความเคลือบแคลงสงสัยในกุศลธรรม) สีลัพพตปรามาส (ความยึดถือเพียงศีลพรตก็หลุดพ้นได้)

พระสกทาคามี ท่านจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงชาติเดียวก็จะทำลายอาสวกิเลสได้หมดสิ้น เพราะท่านละกิเลสสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการ และกำจัดราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง

พระอนาคามี 5 ระดับ ท่านจะไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก เพราะท่านละกิเลสสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ และละสังโยชน์เบื้องสูง 2 ประการ คือ กามราคะ(กำหนัดในกิเลสกาม) และปฏิฆะ(ความขุ่นเคือง) เมื่อละโลกแล้วจะไปบังเกิดเป็นพรหมชั้นสุทธาวาสและปรินิพพานในพรหมโลกนั้นเลย

พระอรหันต์ คือ พระอริยบุคคลขั้นสูงสุด การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารของท่านจบสิ้นลงแล้ว กรรมและวิบากทั้งปวงที่รอส่งผลในอนาคตกาลยุติแล้ว กิเลสอาสวะยุติการครอบงำบังคับบัญชา เพราะว่าท่านดำรงอยู่ในสภาวะที่ดับสิ้นแห่งกิเลสอาสวะ นั่นคือ พระนิพพาน

ดังนั้น สังสารวัฏเป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพงศ์วงตระกูล ต้องศึกษาทำความเข้าใจ ไม่รู้ไม่ได้ เพราะถ้าไม่รู้ การดำเนินชีวิตจะไม่ปลอดภัยจากกิเลสอกุศล เมื่อเข้าใจเรื่องสังสารวัฏจะทำให้เห็นช่องทางปฏิบัติเพื่อนำพาตนเองไปสู่ทางหลุดพ้นยกตนออกจากกองทุกข์ ถือว่าเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นได้ยากสำหรับการได้เกิดเป็นมนุษย์อย่างเราท่านทั้งหลาย เพราะเป็นสภาวะเดียวที่เหมาะสมต่อการสร้างกรรมได้เต็มที่ ไม่ว่ากรรมดี หรือกรรมชั่ว มนุษยโลกจึงเปรียบเสมือนศูนย์กลางแห่งการทำกรรมดี กรรมชั่วทั้งปวง เนื่องจากมนุษย์มีรูปกายแข็งแรงทรหดอดทนเหมาะแก่การสร้างกรรมอันเป็นเสบียงสำหรับการเดินทางในสังสารวัฏ ถ้าสร้างกรรมดีก็เสวยสุขในสุคติภูมิยาวนาน แต่บุญกุศลที่สั่งสมไว้ก็หมดได้หากไม่หมั่นสร้างบุญเพิ่มเติม ถ้าสร้างกรรมชั่วก็เสวยทุกข์ในทุคติภูมิยาวนานเช่นกัน และบาปอกุศลที่สั่งสมไว้ก็มีสิทธิ์จะหมดได้เช่นกัน ถ้าไม่สร้างบาปเพิ่มเติม

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




105.jpg
105.jpg [ 15.22 KiB | เปิดดู 7461 ครั้ง ]
กฎแห่งกรรมตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา

ผู้เปิดเผยกรรม
ได้ยกพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ตรัสอุทานว่า ได้ทรงค้นพบทรงทอดพระเนตรเห็นศัตรูที่แท้จริงของหมู่สัตว์ ผู้บงการอยู่ฉากหลังบังคับบัญชาหมู่สัตว์ด้วยเครื่องมือคือกิเลส เป็นเหตุให้สร้างกรรมอันเป็นผลทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่นาน พระองค์ทอดพระเนตรเห็นวงจรสังสารวัฏในวันตรัสรู้ธรรม เพราะทรงบรรลุวิชชา 3 ดังนี้

ปฐมยาม ยามต้นแห่งราตรี บรรลุวิชชาที่ 1 ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ระลึกชาติหนหลังของพระพุทธองค์เอง(อตีตังสญาณ) ตรวจดูอดีตชาติด้วยธรรมจักษุ จึงได้รู้ว่าเคยเวียนเกิดเวียนตายมาแล้วนับไม่ถ้วน เคยเกิดมาแล้วทุกอย่างตั้งแต่ยาจกจนถึงพระราชา ถ้าจะเอากระดูกมากองรวมกันมีมากกว่าภูเขาเสียอีก หรือเอาเลือดที่หลั่งไหล น้ำตาที่นองหน้ามารวมกัน ก็ยังมีมากกว่าน้ำในมหาสมุทร

มัชฌิมยาม ท่ามกลางแห่งราตรี บรรลุวิชชาที่ 2 จุตูปปาตญาณ คือ กำหนดรู้การจุติและการอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ทรงเห็นการไปเกิดมาเกิดการเวียนตายเวียนเกิดของสรรพสัตว์ด้วยธรรมจักษุว่า เป็นไปตามกรรม ทำให้ถือกำเนิดต่างกัน บ้างถือกำเนิดต่ำทรามเป็นสัตว์เดรัจฉานก็มี เปรตอสุรกายก็มี มีผิวพรรณหยาบ ทุกข์ยากลำบากในการดำรงชีวิต บ้างตัวถือกำเนิดประณีต เป็นมนุษย์ก็มี เทวดาก็มี มีผิวพรรณดีอ่อนละมุน มีความเป็นอยู่ดี ณ ตรงจุดนี้เองที่พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งเรื่องราวกฎแห่งกรรมของหมู่ ทรงทอดพระเนตรเห็นว่ากรรมคือเบื้องหลังที่จำแนกหมู่สัตว์ให้มีความแตกต่างกัน ยิ่งแตกต่างกันมากเท่าไรยิ่งทำให้เกิดความขัดแย้งกันทางความคิด คำพูด การกระทำ

ปัจฉิมยาม ที่สุดแห่งราตรี บรรลุวิชชาที่ 3 อาสวักขยญาณ คือ ทำลายอาสวกิเลสของพระองค์ให้หมดสิ้นไป บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ที่ 4 แห่งภัทรกัปนี้ ทรงเป็น สัพพัญญู เป็นที่พึ่งพิงแห่งสัตวโลก ทรงอาศัยพระมหากรุณาธิคุณต่อหมู่สัตว์ นำมาบอกเล่าให้ฟังว่า ชีวิตหลังความตายยังมีภพชาติเกิดขึ้น เพราะกรรมและการให้ผลแบ่งแยกหมู่สัตว์ไปนรกบ้างไปสวรรค์บ้าง ทำอย่างไรจึงไปนรก ทำอย่างไรจึงไปสวรรค์ ทรงบอกหมดไม่ปิดบังไม่หวงความรู้ เพราะว่าตลอด 20 อสงไขยกัป กับเศษอีกแสนกัป ทรงบำเพ็ญเพียรมุ่งตรงต่อหนทางการตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการ เพื่อยกตนและหมู่สัตว์ให้หลุดพ้นจากวงจรสังสารวัฏนี้

เวลากลางคืนสมัยโบราณแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 4 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดความเข้าใจจึงต้องเทียบกับเวลาปัจจุบัน ดังนี้

ปฐมยาม เวลาโดยประมาณ 18.00-22.00 น.

มัชฌิมยาม เวลาโดยประมาณ 22.00-02.00 น.

ปัจฉิมยาม เวลาโดยประมาณ 02.00-06.00 น.

กรรมวิบากเป็นอจินไตย กรรมและการให้ผลของกรรมเป็นอจินไตย เป็นเรื่องที่เสขบุคคล คือ บุคคลที่ยังต้องศึกษาเพื่อการหลุดพ้น และปุถุชนธรรมดาไม่ควรคิดด้วยสติปัญญาของตน เพราะเรื่องกฎแห่งกรรมมีกลไกที่ซับซ้อนอย่างมาก ไม่อาจแยกแยะด้วยตาเปล่าหรือการคิดเชิงเหตุผลโดยมีสมมติฐานจากการคาดการณ์เอาทฤษฎีโน้นมาผสมทฤษฎีนี้ คิดกันไม่รู้จบ ท่านนี้คิดอย่างนี้แต่ท่านอื่นคิดอีกอย่าง ความเห็นไม่ตรงกัน บางท่านคิดจนตายก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ การเห็นกรรมวิบากจะต้องอาศัยเครื่องมือเฉพาะคือธรรมจักษุ ที่ทำให้เกิดญาณหยั่งรู้เห็นอย่างแจ่มแจ้งเรื่องในอดีตชาติ(อตีตังสญาณ) ปัจจุบันชาติ(ปัจจุปปันนังสญาณ) อนาคต(อนาคตังสญาณ) และญาณกำหนดรู้ว่าสัตว์ทั้งหลายต้องเป็นไปตามกรรม(ยถากัมมูปคญาณ) ซึ่งมีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ตรัสรู้เรื่องนี้ได้จึงเป็นพุทธวิสัย พระองค์ตรัสบอกผู้ที่กำลังคิดหรือกำลังจะคิดเรื่องกฎแห่งกรรมนี้ว่า ''วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า''1

คำนิยาม ถูก ผิด, ดี ชั่ว, บุญ บาป, คุณ โทษ, ควร ไม่ควร การศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรม ก็เพื่อให้เข้าใจและสามารถดำเนินชีวิตโดยไม่ผิดพลาดทั้งทางโลกและทางธรรม เพราะในแต่ละวันมนุษย์มีเรื่องให้ต้องตัดสินใจ เมื่อต้องประสบกับปัญหาเราจะต้องตัดสินใจได้เด็ดขาด ถ้าตัดสินใจไม่ได้ ก็จะทำงานต่อไปไม่ได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง เรามักถูกบังคับให้ต้องตัดสินใจทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ การคิดแยกแยะเหตุผล มีความจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจศัพท์ทางพระพุทธศาสนาอยู่หลายคำที่เกี่ยวข้องอย่างขาดเสียมิได้ เพราะเมื่อพูดถึงเรื่องกฎแห่งกรรมแล้วจะต้องโยงไปถึงคำเหล่านี้ทุกครั้ง ได้แก่

1) ถูก หรือชอบ คือ ทำถูก หมายถึง การกระทำใดๆ ก็ตามทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจมาก่อน แต่ว่าเมื่อทำลงไปแล้วเกิดแต่ประโยชน์ ไม่เกิดความเสียหาย ไม่เกิดโทษ ไม่ก่อให้เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจใดๆ ติดตามมาในภายหลังทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

2) ผิด คือ ทำผิด หมายถึง การกระทำด้วยความประมาทพลาดพลั้ง ทำให้เกิดความเสียหาย เป็นโทษ เป็นความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หย่อนปัญญา

3) ดี คือ ทำดี หมายถึง นอกจากจะทำถูกแล้วจะต้องทำดีด้วย หมายความว่า การกระทำที่รู้อยู่เต็มอกก่อนจะทำแล้วว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วตั้งใจทำด้วยความระมัดระวัง เอาใจจดจ่อ ทำด้วยความมั่นใจ ผลที่ได้รับก็คือ ยิ่งทำยิ่งสุขกายสุขใจ เป็นทางมาแห่งบุญ

4) ชั่ว คือ ทำชั่ว หมายถึง รู้ทั้งรู้ว่าผิดแล้วยังฝืนทำ รู้ด้วยว่าทำไปแล้วจะเกิดความเสียหาย ความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น ผลที่ได้รับก็คือ ยิ่งทำยิ่งทุกข์ ยิ่งทำยิ่งเดือดร้อน เป็นทางมาแห่งบาปอกุศล

5) บุญ ว่าโดยเหตุ หมายถึง ความผ่องแผ้ว ความบริสุทธิ์ ความดีงาม สิ่งที่เป็นเครื่องชำระล้าง กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากมลทิน ว่าโดยผล บุญ หมายถึง ความสุขกายสุขใจ ดังพุทธภาษิตที่ว่า ''ภิกษุทั้งหลาย เธออย่ากลัวบุญเลย คำว่าบุญนี้เป็นชื่อของความสุข''2 บุญเกิดเมื่อประพฤติกุศลกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ หรือที่เรียกว่า บุญกุศล บุญกรรมเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีใจสูงส่ง

6) บาป ว่าโดยเหตุ หมายถึง ความเศร้าหมองขุ่นมัว ความเลวทราม ความสกปรก ทำให้กาย วาจา ใจมีมลทิน ว่าโดยผล หมายถึง ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความเศร้าโศกเสียใจ ความเดือดร้อนใจ บาปเกิดเมื่อประพฤติอกุศลกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ หรือที่เรียกว่า บาปอกุศล บาปกรรม เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีใจตกต่ำ

7) คุณ หมายถึง ประโยชน์หรือผลที่ได้รับ จากการทำถูก ทำดี ทำไปแล้วได้รับการสรรเสริญยกย่อง

8) โทษ หมายถึง ผลที่ได้รับจากการทำผิด ทำชั่ว ทำไปแล้วถูกตำหนิติเตียน

9) ควร คือ รู้สิ่งใดควรทำ หมายถึง สิ่งที่ทำลงไปนั้น ถ้าไม่ทำก็ไม่ผิด ไม่เสียหาย แต่รู้ว่าถ้าทำแล้วจะเกิดคุณงามความดี ความถูกต้อง แล้วเราก็ตั้งใจทำสิ่งนั้นไปด้วยความเต็มใจ

10) ไม่ควร คือ รู้สิ่งใดไม่ควรทำ หมายถึง สิ่งที่ทำลงไปนั้น ถ้าทำไปแล้วก็ไม่ถึงกับผิด ไม่เสียหาย แต่เรารู้ว่าถ้าทำไปแล้วอาจจะขัดอกขัดใจ ถูกตำหนิได้ เราก็จะไม่ทำสิ่งนั้น

เมื่อนักศึกษาได้ทำความเข้าใจกับนิยามของคำเหล่านี้ดีแล้ว จะทำให้เกิดความชัดเจน เมื่อจะต้องตัดสินใจคิดพูดทำอะไรสักอย่าง เพื่อจะได้ตอบตนเองได้ว่าสิ่งที่กระทำไปนั้นทำไปแล้วจะเกิดอะไร มีผลกระทบอย่างไรในการดำเนินชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนตั้งอยู่บน พื้นฐานของการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจทั้งสิ้น

กฎแห่งกรรมคืออะไร กฎแห่งกรรม คือ กฎแห่งการกระทำ เป็นกฎแห่งเหตุและผล เป็นกฎของธรรมชาติ คือ ธรรมฝ่ายใดเกิดขึ้นในใจก็ทำกรรมฝ่ายนั้น เกิดกุศลธรรมก็ประกอบกุศลกรรม เกิดอกุศลธรรมก็ประกอบอกุศลกรรม อย่างนี้เรียกว่า ธรรมชาติ กฎแห่งกรรมเป็นเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต คือ ประกอบเหตุอย่างนี้ต้องไปมีผลอย่างนั้น ประสบผลอย่างนี้เพราะประกอบเหตุมาอย่างนั้น กรรม คือ การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ จะดีหรือชั่ว เจตนาหรือไม่ จะน้อยหรือมาก ทุกเพศทุกวัย ล้วนมีผลทั้งสิ้นที่ไม่มีผลไม่มีเลย ผลบางอย่างปรากฏในปัจจุบันทันตาเห็น บางอย่างเห็นผลตอนตายไปแล้ว กฎแห่งกรรมนี้ไร้ความปรานี ไม่มีข้อยกเว้นให้กับใครๆ ไม่จำกัดเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใดก็ตามในโลก จะอยู่บนดิน บนน้ำ บนอากาศ ดวงจันทร์ ดวงดาว ก็หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้น แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราในสมัยที่ยังเป็นพระบรม-โพธิสัตว์นักสร้างบารมีก็ยังต้องเสวยวิบากกรรม เพราะกรรมติดตามตัวเราไปทุกที่ทุกสถานเหมือนเงาติดตามตัว เมื่อเรายังหนีตัวเราไม่พ้น เราก็หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้นเหมือนกัน กฎหมายหรือกฎเกณฑ์อะไรบางอย่างในโลกที่มนุษย์สมมติกันขึ้นมา ยังหลีกเลี่ยงเปลี่ยนแปลงได้ ปีนี้ใช้อย่างนี้ปีหน้าเปลี่ยนไปอีกอย่าง แต่กฎแห่งกรรมไม่เคยเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว ทำดีได้ชั่วไม่มี ทำชั่ว ได้ดีก็ไม่มี

กฎแห่งกรรมจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องศึกษาเรียนรู้ ไม่รู้อันตราย ถ้ารู้แล้วเอาตัวรอดปลอดภัยได้ แม้ยังไม่หมดกิเลส แต่ก็จะมีชีวิตอยู่ในสังสารวัฏได้อย่างปลอดภัยไม่พลัดไปสู่อบายภูมิที่มีความทุกข์ทรมาน มาก จะท่องเที่ยวสร้างบารมีอยู่เพียงสองภพภูมิ คือ มนุษยโลกกับเทวโลก ซึ่งการศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรมอย่างถ่องแท้จะทำให้เราดำเนินชีวิตด้วยการสั่งสมบุญบารมีมากกว่า ส่วนที่จะผิดพลาดน้อย ผิดจะไม่ค่อยมี แต่จะมีอยู่เพียงแค่พลาดพลั้ง เผอเรอ ประมาทเลินเล่อ แม้เวลาตายก็จะตายเป็น พร้อมที่จะตายอย่างถูกหลักวิชชาหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ดังพุทธพจน์ที่ว่า

''จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา

จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา

เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันหวังได้

เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้ ''1

กล่าวโดยสรุป คือ ตัดสินกันช่วงเวลาก่อนตายว่าจิตขณะนั้นผ่องใสหรือหมอง ถ้าจิตผ่องใสเพราะสิ้นระแวงก็ไปสบายไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ใจใสขึ้นอยู่กับบุญกุศลที่สั่งสมไว้ แต่ถ้าจิตหมองมัวก็ต้องไปอบาย ใจหมองขึ้นอยู่กับบาปอกุศลที่เคยกระทำไว้ ซึ่งจะต้องศึกษาต่อไปว่า อะไรเป็นบุญกุศล อะไรเป็นบาป-อกุศล หากไม่ศึกษาก็จะไม่ทราบว่าควรยึดถือใครเป็นเกณฑ์เป็นต้นแบบในการประกอบบุญกุศล เกณฑ์ของบุญกุศลจะต้องเอาท่านผู้ที่หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ รู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งปวง เอาความรู้ความเห็นคำสั่งสอนคำแนะนำของท่านเป็นหลัก เพราะท่านที่หมดกิเลสแล้วทำอะไรไม่หวังผลตอบแทน ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ มีแต่คุณประโยชน์ และคุณงามความดีล้วนๆ พอจับหลักได้ก็ทำตามนั้น คือ ทำแต่กุศลกรรม บุญก็เกิด เมื่อบุญเกิดก็ละอกุศลกรรมได้ บุญจะทำหน้าที่กลั่นจิตใจให้ผ่องใส ดังนั้นเราต้องการผลอย่างไรก็ทำเหตุอย่างนั้น เพราะชีวิตหลังความตายไม่มีการทำมาหาเลี้ยงชีพ ชีวิตในปรโลกของสัตว-โลกเป็นอยู่ด้วยบุญและบาป ดีและชั่วเท่านั้น ไม่ใช่ตัดสินที่ความรวย หล่อ สวย เก่ง เฮง ไม่ใช่อย่างนั้น

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8080272-1.gif
Y8080272-1.gif [ 23.58 KiB | เปิดดู 7460 ครั้ง ]
คำว่า กรรม รากศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลีว่า กมฺม (กัมมะ) ภาษาสันสกฤตใช้ว่า กรฺม ด้วยเหตุที่ภาษาสันสกฤตค่อนข้างมีอิทธิพลในประเทศไทยช่วงยุคขอมและด้วยการออกเสียง กรฺม ไม่ชัด จึงควบกล้ำ ร เป็นกรรมทำให้ออกเสียงชัดกว่า ซึ่งถือว่าเป็นภาษาถิ่นแต่ก็ยังคงความหมายเดิม กรรมเป็นคำกลางๆ แปลว่า การกระทำ แต่เมื่อจะตัดสินการกระทำนั้นว่าเป็นกรรมหรือไม่ และเป็นกรรมฝ่ายใดประเภทใด จะต้องดูที่เจตนาคือความจงใจ ฉะนั้นความหมายของคำว่า กรรม โดยสมบูรณ์ แปลว่า การกระทำโดยเจตนาคือจงใจกระทำ1 การกระทำแบ่งออกเป็น 3 ทาง ได้แก่ การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ ทุกอย่างที่เกิดจากความจงใจของผู้กระทำถือว่าเป็นกรรมทั้งสิ้น ซึ่งแบ่งกรรมออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

1. กุศลกรรม หมายถึง กรรมฝ่ายดี เป็นการกระทำที่ดีงาม เกิดบุญกุศล ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ทำให้จิตโศกเศร้า หรืออาจเรียกว่า กุศลเจตนา เพราะตั้งใจทำดี ทางที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่จัดเป็นกรรมดี หรือที่เรียกว่า กุศลกรรมบถ 10 ประการ สามารถแบ่งออกตามทวารที่เกิดขึ้นทางกาย ทางวาจา และทางใจ ได้ดังนี้

กายกรรม หรือกายทวาร หมายถึง กรรมดีทางกาย เมื่อการกระทำทางกายดีจึงเรียกว่า กายสุจริต มี 3 ประการ คือ

1. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ที่ยังมีชีวิต

2. อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการลักขโมยของที่ผู้อื่นไม่ให้

3. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

วจีกรรม หรือวจีทวาร หมายถึง กรรมดีทางวาจาที่ได้รับการไตร่ตรองด้วยปัญญา เมื่อการกระทำทางวาจาดีจึงเรียกว่า วจีสุจริต มี 4 ประการ คือ2

1. มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการพูดเท็จ คือ พูดโกหก หลอกลวง ต้มตุ๋น เป็นต้น

2. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี งดเว้นจากการพูดส่อเสียด คือ คำพูดทำให้สูญเสียความเป็นที่รักใคร่ปรองดองกัน เช่น ยุยงให้แตกแยก เหน็บแนม กระทบกระเทียบเสียดแทง คำสบประมาท พูดลับหลัง เป็นต้น เหล่านี้เป็นคำพูดทำให้เกิดทิฏฐิมานะชิงดีชิงเด่น มุ่งเอาชนะกันและกัน

3. ผรุสาย วาจาย เวรมณี งดเว้นจากการพูดคำหยาบคาย คือ พูดคำชนิดที่ค่อนขอด คำหยาบ-คาย คำเผ็ดร้อน คำเหน็บแนมให้เจ็บใจ เหล่านี้ทำให้ผู้อื่นโกรธเคืองไม่ทำให้จิตตั้งมั่น

4. สัมผัปปลาปา เวรมณี งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ ชอบพูดไม่ถูกเวลา ชอบพูดหยอกล้อ ชอบพูดไร้ประโยชน์ ชอบพูดไม่เป็นธรรม ชอบพูดไม่เป็นวินัย เป็นผู้พูดไม่มีหลักฐาน ไม่เป็นเวลา ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

มโนกรรม หรือมโนทวาร หมายถึง การกระทำทางใจ เมื่อการกระทำทางใจดีจึงเรียกว่า มโนสุจริต มี 3 ประการ คือ

1. อนภิชฌา ไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น

2. อัพยาบาท ไม่คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น

3. สัมมาทิฏฐิ คิดถูกเห็นถูก

คำว่า เว้น ต่างกับคำว่า ละ อย่างไร ? เว้น หมายถึง เคยทำผิดแล้วไม่คิดจะทำอีกเด็ดขาด เช่น เคยดื่มสุราของมึนเมา แต่เมื่อได้รู้โทษของมันแล้ว ตัดใจไม่เสพ ไม่ซื้อ และไม่ชักชวนคนอื่นให้ดื่มอีกอย่างเด็ดขาด ละ หมายถึง ไม่เคยทำผิดแล้วก็จะไม่ทำความผิดนั้น เช่น ไม่เคยดื่มสุรา แม้เพื่อนชวนให้ดื่มก็ไม่ดื่ม เพราะรู้จักโทษของสุราเป็นอย่างดีจึงไม่จำเป็นต้องทดลอง

2. อกุศลกรรม หรือกรรมฝ่ายชั่ว หมายถึง การกระทำที่ผิดศีล ผิดธรรม เกิดบาปอกุศลทำให้จิตเศร้าหมอง หรืออาจเรียกว่า อกุศลเจตนา เพราะตั้งใจทำชั่ว ทางที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่จัดเป็นกรรมชั่ว หรือที่เรียกว่า อกุศลกรรมบถ 10 ประการ สามารถแบ่งออกตามทวารที่เกิดขึ้นทางกาย ทางวาจา และทางใจ ได้ดังนี้

กายกรรม หรือกายทวาร หมายถึง การกระทำทางกาย เมื่อการกระทำทางกายชั่ว จึงเรียกว่า กายทุจริต มี 3 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1 ปาณาติบาต. การจงใจฆ่าสัตว์ที่ยังมีชีวิต

2. อทินนาทาน การจงใจลักขโมยของที่ผู้อื่นไม่ให้

3. กาเมสุมิจฉาจารา การจงใจประพฤติผิดในกาม

วจีกรรม หรือวจีทวาร หมายถึง การกระทำทางคำพูดที่ขาดการไตร่ตรองด้วยปัญญา เมื่อการกระทำทางวาจาชั่ว จึงเรียกว่า วจีทุจริต มี 4 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1. มุสาวาท การจงใจพูดเท็จ คือ พูดโกหก หลอกลวง ต้มตุ๋น เป็นต้น

2. ปิสุณาวาจา การจงใจพูดส่อเสียด คือ คำพูดทำให้สูญเสียความเป็นที่รักใคร่ปรองดองกัน เช่น ยุยงให้แตกแยก เหน็บแนม กระทบกระเทียบเสียดแทง คำสบประมาท พูดลับหลัง เป็นต้น เหล่านี้เป็น คำพูดทำให้เกิดทิฏฐิมานะชิงดีชิงเด่น มุ่งเอาชนะกันและกัน

3. ผรุสาวาจา การจงใจพูดคำหยาบคาย คือ พูดคำชนิดที่ค่อนขอด คำหยาบคาย คำเผ็ดร้อน คำเหน็บแนมให้เจ็บใจ เหล่านี้ทำให้ผู้อื่นโกรธเคืองไม่ทำให้จิตตั้งมั่น

4. สัมผัปปลาปา การจงใจพูดเพ้อเจ้อ คือ ชอบพูดไม่ถูกเวลา ชอบพูดหยอกล้อ ชอบพูดไร้ประโยชน์ ชอบพูดไม่เป็นธรรม ชอบพูดไม่เป็นวินัย เป็นผู้พูดไม่มีหลักฐาน ไม่เป็นเวลา ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

มโนกรรม หรือมโนทวาร หมายถึง การกระทำทางใจ เมื่อการกระทำทางใจชั่วจึงเรียกว่า มโนทุจริต มี 3 ประการ คือ

1. อภิชฌา คิดเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น

2. พยาบาท คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น

3. มิจฉาทิฏฐิ คิดผิดเห็นผิด

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1232945317.jpg
1232945317.jpg [ 101.14 KiB | เปิดดู 7457 ครั้ง ]
ตารางแสดงกุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถจัดตามฐานที่เกิด

ฐานที่เกิดกรรม กุศลกรรมบถ อกุศลกรรมบถ

กายกรรม 1. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ที่ยังมีชีวิต 1. การจงใจทำลายชีวิต
2. งดเว้นจากการลักขโมยของผู้อื่น 2. การจงใจลักขโมยของผู้อื่น
3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม 3. การจงใจประพฤติผิดในกาม
วจีกรรม 1. งดเว้นจากการพูดเท็จ 1. การจงใจพูดเท็จ
2. งดเว้นจากการพูดส่อเสียด 2. การจงใจพูดส่อเสียด
3. งดเว้นจากการพูดคำหยาบคาย 3. การจงใจพูดคำหยาบคาย
4. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ 4. การจงใจพูดเพ้อเจ้อ
มโนกรรม 1. ไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น 1. คิดเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
2. ไม่คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น 2. คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น
3. คิดถูกเห็นถูก 3. คิดผิดเห็นผิด

พระพุทธศาสนาใช้คำเรียก กฎแห่งกรรม ว่า กรรมนิยาม คือ ความแน่นอนของกรรม หมายความว่า กรรมที่เกิดจากการตัดสินใจทำลงไปแล้วย่อมให้ผล การเกิดผลของกรรมทั้งดีและชั่ว เรียกว่าวิบาก ซึ่งมีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว ท่านจึงเรียกกฎเกณฑ์แห่งวิบากกรรมว่า กฎแห่งกรรม ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ''สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้''1 กรรมดีที่ทำก่อให้เกิดบุญกุศล บุญที่เกิดจากกุศลกรรมที่ทำ เมื่อสั่งสมบุญกุศลไว้มากก็เพิ่มพูนเป็นบารมี ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้นั้นมีกาย วาจา ใจบริสุทธิ์ผุดผ่องมากยิ่งขึ้น ส่วนกรรมชั่วก่อเกิดเป็นบาปอกุศล บาปอกุศลที่เกิดจากอกุศลกรรมที่ทำ เมื่อสั่งสมบาปอกุศลไว้มาก ก็เพิ่มพูนจนเป็นอาสวะเครื่องหมักดองกิเลส


ดังนั้น สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาวิกฤตทางพฤติกรรมของมนุษย์ ปัญหาวิกฤตทางสังคม และปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ หากย้อนกลับมาพิจารณาดูว่าปัญหาอยู่ที่ตรงไหน เมื่อศึกษาจึงทราบว่า ต้นเหตุปัญหาทั้งปวงเกิดจากมนุษย์ที่ขาดความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องโลกและความเป็นไปของชีวิตตามความเป็นจริง ซึ่งส่งผลร้ายแรงทำให้ผู้คนมีพฤติกรรมไร้ศีลธรรม ทั้งที่สัตวโลกทั้งปวงเปรียบเหมือนเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกัน คือ ร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย สัตวโลกจึงไม่ใช่ศัตรูของกันและกัน กิเลสเท่านั้นคือศัตรูแท้จริงที่จะต้องรีบกำจัดให้หมดสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจเรื่องกรรมให้ชัดเจน ปัจจุบันคำว่า กรรม วิบาก เจ้ากรรมนายเวร เป็นคำที่ใช้กันจนคุ้นปาก แต่มักจะใช้แสดงออกมาในแง่ลบเกือบทั้งสิ้น โดยเฉพาะคำว่า เจ้ากรรมนายเวร ในพระพุทธศาสนาไม่มี คำนี้ มีแต่คำว่า เวร การผูกเวรจองล้างจองผลาญกันและกันเท่านั้น ไม่มีใครเป็นเจ้าของกรรมของเรา นอกเสียจากตัวเราเองที่เป็นเจ้าของกรรมของตน

เกณฑ์ตัดสินกรรมดีและกรรมชั่ว
ดังที่ทราบ เจตนาคือกรรม กรรมที่เกิดทางกาย ทางวาจา และทางใจ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ กุศลกรรม และอกุศลกรรม เมื่อจะตัดสินหากฎเกณฑ์ตรวจสอบว่ากรรมที่ทำนั้นเป็นกรรมฝ่ายใด ให้ดูที่ผลหลังจากที่ทำ ซึ่งมีเกณฑ์ตัดสินดังนี้

1) พิจารณาที่ผลสุดท้ายของการกระทำ ดังพระพุทธดำรัสที่ว่า ''บุคคลทำกรรมใดแล้วไม่เดือด-ร้อนในภายหลัง มีจิตแช่มชื่นเบิกบาน ได้รับผลแห่งกรรมใด กรรมที่ทำแล้วนั้นเป็นกรรมดี ส่วนบุคคลทำกรรมใดแล้ว เดือดร้อนในภายหลัง มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้อยู่ ได้รับผลแห่งกรรมใด กรรมที่ทำแล้วนั้นเป็นกรรมไม่ดี''2

2) พิจารณาที่ต้นเหตุของการกระทำ ดังพระพุทธดำรัสที่ว่า ''กรรมใดที่บุคคลทำด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข ส่วนกรรมใดที่บุคคลทำด้วย โลภะ โทสะ โมหะ กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์''3

กรรมอยู่ที่ไหน
จากพุทธภาษิตที่ว่า ''บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว'' ทำให้เราเกิดความสงสัยว่ากรรมดีกรรมชั่วที่ทำไปแล้วอยู่ที่ไหน จะลองเปรียบเทียบจากอุปมาของพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ สมมติว่า ชาวนาปลูกข้าวสาลีต้นหนึ่ง ต้นข้าวสาลีก็ค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้น โดยดูดซึมสารอาหารแร่ธาตุจากปุ๋ย น้ำ ดิน อากาศ ลำต้นทำหน้าที่ดูดซึมส่งอาหารไปหล่อเลี้ยงลำต้นทั้งหมด และทำให้เกิดเมล็ดผลข้าวซึ่งอุดมไปด้วยโอชะต่างๆ พร้อมที่จะนำมาบริโภคและใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ต่อไป จวบถึงวันเก็บเกี่ยวข้าว ชาวนาคัดเลือกเอาเมล็ดข้าวไปขาย ส่วนหนึ่งก็เอามาทำเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อเกิดเป็นต้นข้าวสาลีต่อๆ ไป เปรียบเทียบกับหมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยรูปกายกับจิตวิญญาณ รูปกายเปรียบเหมือน ลำต้นที่นำเอาสารอาหารทุกอย่างรอบข้างมาหล่อเลี้ยง จิตเปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่คอยเก็บสารอาหารที่ลำต้นส่งมา ฉะนั้นรูปกายจึงเป็นอุปกรณ์ของจิตที่ใช้สร้างกรรมที่ผ่านมาจากการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ แล้วทุกการกระทำจะถูกบันทึกไว้ที่จิต เพราะธรรมชาติจิตนั้นบริสุทธิ์ผุดผ่อง1 เหมือนผ้าขาว เอาสีอะไรมาแต้มก็จะติดสีนั้นไปโดยปริยาย ดังนั้นกรรมทั้งหลายจึงถูกเก็บสั่งสมรวมที่จิตวิญญาณ ถามว่าจิตนั้นใหญ่มากถึงขนาดเก็บได้หมดเลยหรือ อันนี้เปรียบเหมือนกระจกส่องเงาที่สามารถฉายภาพที่มากระทบได้ทั้งหมดทุกรายละเอียดปลีกย่อย จิตจึงเหมือนยุ้งฉางที่เก็บเมล็ดพันธุ์คือเชื้อกรรมทั้งหมด ทำหน้าที่เผล็ดผลแห่งกรรมทั้งในชาตินี้ ชาติหน้า และชาติต่อๆ ไป กรรมประดุจเงาติดตามเจ้าของไปทุกที่ ทุกสถานทุกกาลเวลา

สาเหตุการเกิดกรรม

ดังที่ทราบว่าวัฏสงสารเกิดเพราะหมู่สัตว์มีเชื้อแห่งกิเลสปรุงแต่ง ทำให้เกิดกุศลธรรมอกุศลธรรมครอบงำการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ พระพุทธองค์ตรัสถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดกรรม โดยแบ่งเป็น 2 ฝ่าย2 ได้แก่

1) สาเหตุการเกิดกรรมฝ่ายชั่ว

*โลภะ ความอยากได้ของผู้อื่น

* โทสะ ความประทุษร้ายใจ โดยแสดงออกในลักษณะรุนแรง เช่น ความพยาบาท ความโกรธ ความขุ่นเคือง ไม่ถูกใจ ไม่พอใจ คับแค้นใจ เจ็บใจ

* โมหะ ความหลงผิด เช่น ความเห็นผิดเป็นชอบ การผูกโกรธผู้อื่น

2) สาเหตุการเกิดกรรมฝ่ายดี

* อโลภะ คือ ความไม่อยากได้ของผู้อื่น

* อโทสะ คือ ความไม่ประทุษร้ายใจ โดยไม่แสดงออกในลักษณะรุนแรง เช่น ความพยาบาท ความโกรธ ความขุ่นเคือง ไม่ถูกใจ ไม่พอใจ คับแค้นใจ เจ็บใจ

*อโมหะ คือ ไม่หลงผิด เช่น ปรับความเห็นให้ตรงตามความเป็นจริง การไม่ผูกโกรธผู้อื่น

พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้หมู่สัตว์รู้จักสาเหตุการเกิดกรรม เพื่อจะได้ดับที่ต้นเหตุ จากการศึกษา พบว่า ทรงแนะนำให้แก้ไขความโลภด้วยความไม่โลภ คือ ให้ทำทาน แก้ไขความโกรธด้วยความไม่โกรธ คือ ให้เจริญเมตตา และรักษาศีล แก้ไขความหลงผิดด้วยโยนิโสมนสิการ คือ รู้จักคิด รู้จักจับแง่มุมในการคิด วิเคราะห์แยกแยะเหตุผลจนเข้าใจถึงที่มาที่ไปได้กระจ่างชัด มีความคิดสร้างสรรค์ คิดเป็น คิดแล้วความโลภ ความโกรธ ความหลงลดลง คิดแล้วมีกำลังใจในการทำความดี ด้วยวิธีการเจริญสมาธิ ประการทั้งปวงนี้ จะทำให้รากคืออกุศลถูกทำลายไม่สามารถหยั่งรากลึกเจริญเติบโตได้อีก เหมือนบุรุษเอาไฟเผาพืชไหม้เป็นผุยผงตั้งแต่ต้นจนถึงราก

ลักษณะกรรมและการให้ผลของกรรม ตามหลักกฎแห่งกรรมที่ว่า ใครทำกรรมใดย่อมได้รับผลของกรรมนั้น ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว ซึ่งกรรมดีกรรมชั่วและการให้ผล พระพุทธองค์ทรงแยกลักษณะกรรมและการให้ผลของกรรมแบ่งออกเป็น 4 ประเภท1

1) กรรมดำมีวิบากดำ หมายถึง บุคคลมีอกุศลเจตนาจึงปรุงแต่งให้เกิดอกุศลกรรม ได้แก่การกระทำชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ ผลแห่งการกระทำจึงทำให้ไปบังเกิดในทุคติ วินิบาต เสวยทุกขเวทนาล้วนๆ เพราะประกอบกรรมชั่วจึงทำให้ไปทุคติภูมิ ส่วนมากผู้ที่ประกอบแต่กรรมดำ คือ สัตว์นรก

2) กรรมขาวมีวิบากขาว หมายถึง บุคคลมีกุศลเจตนาจึงปรุงแต่งให้เกิดกุศลกรรม ได้แก่ การกระทำดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ ผลแห่งการกระทำจึงให้ไปบังเกิดในสุคติ เสวยสุขเวทนาล้วนๆ เพราะประกอบกรรมขาวจึงทำให้ไปสุคติภูมิ ส่วนมากผู้ที่ประกอบแต่กรรมขาวคือ พรหม

3) กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว หมายถึง บุคคลมีทั้งกุศลเจตนา และอกุศลเจตนา เมื่อกุศลเจตนาเกิดจึงปรุงแต่งให้ทำกุศลกรรม เมื่ออกุศลเจตนาเกิดจึงปรุงแต่งทำอกุศลกรรม ทำทั้งกรรมดีและกรรมชั่วปะปนกันไป ผลแห่งการกระทำจึงทำให้มีสุขบ้างทุกข์บ้างสลับกันไป กรรมดีให้ผลก็ไปเกิดในสุคติภูมิเสวยสุขเวทนา กรรมชั่วให้ผลก็ไปเกิดในทุคติภูมิเสวยทุกขเวทนา ส่วนมากผู้ที่ประกอบทั้งกรรมดำกรรมขาวปะปนกัน ได้แก่ มนุษย์ เทวดาบางพวก วินิบาตบางพวก เช่นสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น

4) กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม หมายถึง พระอรหันต์คือผู้ที่ละเจตนาเครื่องปรุงแต่งให้เกิดกุศลกรรมและอกุศลกรรม ละบุญบาปเสียได้จึงทำให้ท่านหลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพาน

ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบลักษณะของกรรมกับลักษณะของจิต ทำกรรมดีจิตก็ผ่องใส กรรมนั้นจึงเปรียบเป็นกรรมขาวคือทำให้จิตขาวสะอาด ส่วนทำกรรมชั่วจิตก็เศร้าหมอง กรรมนั้นจึงเปรียบเป็นกรรม-ดำคือทำให้จิตมืดดำ ทำกรรมดำเกิดบาปอกุศลละโลกไปนรก ทำกรรมขาวเกิดบุญกุศลละโลกไปสวรรค์ ทำทั้งกรรมขาวและกรรมดำเกิดทั้งบุญทั้งบาป ละโลกแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง สัตว์ดิรัจฉานบ้าง ส่วนผู้ที่ละบุญละบาปคือผู้ถึงฝั่งพระนิพพาน1 ไม่ต้องกลับมาเวียนตายเวียนเกิดในภพ 3 อีก

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y7608732-52.jpg
Y7608732-52.jpg [ 144.66 KiB | เปิดดู 7452 ครั้ง ]
ประเภทของกรรมโดยสังเขป


โครงสร้างภาพรวมเรื่องกรรม มีความเป็นมาหลายยุคหลายสมัย เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งจุดกำเนิดอย่างจริงจังและระยะเวลาการสืบทอดดำรงคำสอนสืบต่อกันมาทางฝ่ายพระพุทธศาสนานั้น แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ

ยุคสมัยพุทธกาล นับจากวันตรัสรู้ธรรม ทรงค้นพบเรื่องราวความเป็นจริงของทุกชีวิตว่า เว้นจากพระพุทธองค์แล้วทุกหมู่สัตว์ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม และเพราะอาศัยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงสั่งสอนหมู่สัตว์ให้รู้แจ้ง จึงเป็นจุดกำเนิดความรู้เรื่องกรรมอย่างจริงจัง ซึ่งจากการศึกษาเรื่องราวที่ปรากฏในพระไตรปิฎก พบว่าทรงจำแนกกรรมออกมาในลักษณะการให้ผลของกรรมตามกาล เพราะประสงค์ให้เห็นว่าการให้ผลของกรรมนั้นยาวนาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 วาระ คือ

วาระที่ 1 ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม วาระการให้ผลกรรมในอัตภาพปัจจุบัน คือ อัตภาพในชาตินี้ เช่น มนุษย์ เทวดา สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย เป็นต้น กรรมจะให้ผลในอัตภาพปัจจุบันทันทีหลังจาก ที่ทำ เช่น อาชญากรทั้งหลายที่ถูกจับตาย หรือผึ้งหลังจากต่อยแล้วตัวเองก็ตายทันทีเหมือนกัน ฉะนั้น เมื่อทำกรรมแล้ว ผลของกรรมจะเริ่มนับหนึ่งที่ปัจจุบันชาติแล้วก็ส่งผลต่อๆ ไป

วาระที่ 2 อุปปัชชเวทนียกรรม วาระการให้ผลกรรมในอัตภาพหน้า คือ อัตภาพใหม่หลังจาก ละโลก เช่น อัตภาพปัจจุบันเป็นมนุษย์ เมื่อละโลกไปบังเกิดเป็นเทวดา อัตภาพเทวดาคืออัตภาพใหม่

วาระที่ 3 อปรปริยายเวทนียกรรม วาระการให้ผลกรรมในอัตภาพต่อๆ ไป คือ อัตภาพใหม่ที่เวียนเกิดเวียนตายต่อๆ ไป จนกว่าจะหมดสิ้นกิเลสจึงถือว่ายุติการให้ผลของกรรม เช่น เมื่อจุติจากเป็นเทวดามาเกิดเป็นมนุษย์ อัตภาพมนุษย์คืออัตภาพใหม่ต่อจากอัตภาพเทวดา และเมื่อละจากอัตภาพมนุษย์นี้แล้วอาจจะไปบังเกิดในกำเนิดอะไรได้อีกต่างๆ นานา ขึ้นอยู่กับลำดับผลกรรมจะเป็นกระแสนำไปเกิด

ยุคหลังพุทธกาล นับจากวันปรินิพพานจนถึงปัจจุบัน ในช่วงที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนมชีพทรงสั่งสอนมนุษย์และเทวดาให้หลุดพ้นเป็นจำนวนมาก เมื่อปรินิพพานแล้วยังหลงเหลือผู้สืบทอดพระธรรม คำสั่งสอนสืบต่อมา บางท่านมีความรู้แตกฉานในปริยัติธรรม และเกิดร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ แต่บางท่าน เกิดภายหลัง กระนั้นก็ตามก็ได้อธิบายพุทธพจน์ให้กับคนรุ่นหลังได้รับฟังศึกษาอย่างเข้าใจ พระภิกษุสงฆ์ ผู้เป็นศาสนทายาทและเหล่าคณาจารย์หลายกลุ่มหลายท่านได้ช่วยกันเผยแผ่คำสอนอรรถาธิบาย พุทธพจน์อย่างระมัดระวัง ในเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมนี้ สืบทอดมาจนปัจจุบันโดยท่านได้จำแนกกรรมออกเป็น 12 อย่าง1 ดังนี้

1) ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือ กรรมให้ผลในปัจจุบันชาติ หมายถึง กรรมดี กรรมชั่วให้ผลในปัจจุบันชาติ

2) อุปปัชชเวทนียกรรม คือ กรรมให้ผลในชาติหน้า หมายถึง กรรมดี กรรมชั่วให้ผลในชาติหน้า

3) อปรปริยายเวทนียกรรม คือ กรรมให้ผลในชาติต่อๆ ไป หมายถึง กรรมดี กรรมชั่วให้ผลในชาติต่อๆ ไป

4) อโหสิกรรม คือ กรรมเลิกให้ผล หมายถึง กรรมดี กรรมชั่วไม่มีโอกาสให้ผล กรรมชนิดนี้จะกล่าวคู่กับการให้ผลของกรรมข้อที่ 1, 2, 3 จึงจัดเป็นกรรมอีกอย่างหนึ่ง

5) ครุกกรรม คือ กรรมหนัก หมายถึง กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำหนักมาก

6) พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม หมายถึง กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำบ่อยจนเสพคุ้น

7) ยทาสันนกรรม คือ กรรมใกล้ตาย หมายถึง กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำให้ระลึกถึงตอนใกล้ตาย

8) กฏัตตาวาปนกรรม คือ กรรมสักแต่ว่าทำ หมายถึง กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำไปโดยไม่รู้ไม่เจตนา

9) ชนกกรรม คือ กรรมนำไปเกิด กล่าวคือ กรรมดีหรือกรรมชั่วนำไปเกิด

10) อุปัตถัมภกกรรม คือ กรรมสนับสนุน หมายถึง กรรมดีหรือกรรมชั่วสนับสนุน

11) อุปปีฬกกรรม คือ กรรมบีบคั้น กล่าวคือ กรรมดีหรือกรรมชั่วบีบคั้น

12) อุปฆาตกกรรม คือ กรรมตัดรอน กล่าวคือ กรรมดีหรือกรรมชั่วตัดรอน

ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 10 อรรถกถาจารย์คนสำคัญของยุค คือ พระพุทธโฆษาจารย์ ภิกษุชาวแคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ด้วยความที่ท่านเป็นบัณฑิตนักปราชญ์มีความรู้แตกฉานในปริยัติธรรม หลังจากบวชในบวรพระพุทธศาสนาได้ไม่นาน ก็ได้รับคำแนะนำจากพระเรวตเถระให้ไปประเทศศรีลังกา เพื่อแปลอรรถกถาพระไตรปิฎกฉบับภาษาสิงหลเป็นภาษามคธ ท่านถูกพระสังฆปาลมหาเถระชาวศรีลังกาทดสอบความรู้ทางพระพุทธศาสนาโดยให้แต่งอธิบายคาถา 2 บท1

(สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏเย ชฏํ
นรชนผู้มีปัญญา เป็นภิกษุมีความเพียรมีสติปัญญาเครื่องบริหาร ตั้งตนในศีลแล้ว
ทำสมาธิจิต และปัญญาให้เจริญอยู่ เธอพึงถางรกชัฏนี้เสียได้)

และด้วยคาถา 2 บทนี้ จึงเกิดคัมภีร์วิสุทธิมรรค อันเป็นตำราสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่อธิบายเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา อย่างละเอียด ซึ่งในตำราเล่มนี้ท่านได้จัดโครงสร้างภาพรวมของกรรม โดยจำแนกกรรมทั้ง 12 ประการ จัดเป็นหมวดหมู่ 3 ประเภท2 ดังนี้

ประเภทที่ 1 กรรมให้ผลตามกาล มี 4 อย่าง คือ

1) ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบันชาติ
2) อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติหน้า
3) อปรปริยายเวทนียกรรม หรืออปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อๆ ไป
4) อโหสิกรรม คือ กรรมเลิกให้ผล หรือไม่ได้โอกาสให้ผล

ประเภทที่ 2 กรรมให้ผลตามลำดับกำลัง มี 4 อย่าง คือ

1) ครุกรรม หรือครุกกรรม กรรมหนัก

2) อาจิณณกรรม หรือพหุลกรรม กรรมทำบ่อยจนเสพคุ้น

3) อาสันนกรรม หรือยทาสันนกรรม กรรมใกล้ตาย

4) กตัตตากรรม หรือกฏัตตาวาปนกรรม กรรมสักแต่ว่าทำ หมายถึง กรรมทำไปโดยไม่รู้

ประเภทที่ 3 กรรมให้ผลตามหน้าที่ มี 4 อย่าง คือ

1) ชนกกรรม กรรมทำหน้าที่นำไปเกิด

2) อุปัตถัมภกกรรม กรรมทำหน้าที่สนับสนุน

3) อุปปีฬกกรรม กรรมทำหน้าที่บีบคั้น

4) อุปฆาตกกรรม กรรมทำหน้าที่ตัดรอน

ดังจะเห็นได้ว่าโครงสร้างภาพรวมของกรรมและการให้ผลของกรรมมีความเป็นมา 3 ช่วงสำคัญๆ ซึ่งได้ยึดถือเป็นเนติแบบแผนสำหรับวางแนวทางการศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรมตราบจนกระทั่งปัจจุบันนี้

ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม
อวิชชาคือความไม่รู้ เมื่อไม่รู้จึงถูกกิเลสครอบงำได้ง่าย ทำให้หมู่สัตว์เห็นผิดเพี้ยนในการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ จึงส่งผลทำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด มีสังขารมีวิญญาณรองรับ ถือกำเนิดในรูปแบบต่างๆ ตามแต่กรรมนำไป เมื่อมีกายและจิตแล้วทำให้พร้อมต่อการรับรู้สิ่งต่างๆ ทั้งดีและไม่ดี เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกสูดดมกลิ่น กายรับรู้การสัมผัส ทั้งหมดนี้จะส่งความรู้สึกไปที่ใจ ใจก็จะ รับรู้และเก็บสิ่งที่ดีหรือไม่ดีนั้นไว้ จากตรงจุดนี้จึงเป็นมูลเหตุที่ก่อให้เกิดกรรม ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสถึงการดับกรรมไว้ว่า ''ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ'' 1 หมายความว่าถ้าดับผัสสะการกระทบนี้ได้แล้วสิ่งที่จะไม่เกิดก็คือ การรับรู้ว่าสุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ อันเป็นปัจจัยให้เกิดความตัณหาความทะยานอยาก ส่งทอดทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น ข้องติดอยู่ในภพ ชาติ การเวียนว่ายตายเกิดใน วัฏสงสารแห่งทุกข์นี้ไม่รู้จบสิ้น ดังนั้นจึงตรัสว่า จะดับกรรมต้องป้องกันการกระทบรับรู้นั้นด้วยปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ประการ

1) สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง

2) สัมมาสังกัปปะ ความคิดถูกต้อง

3) สัมมาวาจา วาจาถูกต้อง

4) สัมมากัมมันตะ การงานถูกต้อง

5) สัมมาอาชีวะ อาชีพถูกต้อง

6) สัมมาวายามะ พยายามถูกต้อง

7) สัมมาสติ ระลึกถูกต้อง

8) สัมมาสมาธิ ความตั้งใจไว้ถูกต้อง

พระพุทธองค์ตรัสกับสุภัททะว่า ''อริยมรรคมีองค์ 8 มีแต่ในพระธรรมวินัยนี้ สมณะ 4 คู่ 8 ประเภท ก็มีแต่ในพระธรรมวินัยนี้เท่านั้น ไม่สามารถหาได้ในลัทธิอื่น'' 2 สมณะ 4 คู่ 8 ประเภท มีดัง ต่อไปนี้

สมณะคู่ที่ 1 คือ พระอริยบุคคลประเภทโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

สมณะคู่ที่ 2 คือ พระอริยบุคคลประเภทสกทาคามิมรรค สกทาคามิผล

สมณะคู่ที่ 3 คือ พระอริยบุคคลประเภทอนาคามิมรรค อนาคามิผล

สมณะคู่ที่ 4 คือ พระอริยบุคคลประเภทอรหัตตมรรค อรหัตตผล

การปฏิบัติตามอริยมรรค ทำให้บุคคลสามารถบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลประเภทต่างๆ พระ-อริยบุคคลคือผู้ที่สามารกำจัดกิเลสตั้งแต่ระดับเบาบางจนกระทั่งหมดสิ้น เมื่อบรรลุโสดาบัน กรรมกิเลสจะถูกขัดเกลาจนเบาบางทำให้กลับมาเกิดอีกเพียงชาติเดียวหรือเจ็ดชาติ เมื่อบรรลุสกทาคามี กรรมกิเลสจะถูกขัดเกลาจนเบาบางทำให้กลับมาเกิดอีกเพียงชาติเดียว เมื่อบรรลุอนาคามี กรรมกิเลสถูกขัดเกลาจนเหลือน้อยมากสามารถนิพพานได้ที่พรหมโลก เมื่อบรรลุอรหัตตผล กรรมกิเลสทั้งปวงถูกดับจนสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษเพราะต้นเหตุที่ทำให้เกิดกรรมถูกดับไปเสียแล้วจึงไม่มีเหตุอันใดจะครอบงำให้สร้างกรรมได้อีกต่อไป และจะไม่กลับหวนมาสู่การเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป จากการสังเกตทำให้ทราบว่า ความเบาบางของกรรมจะเป็นไปตามภูมิธรรมของพระอริยบุคคลประเภทต่างๆ จนสุดท้ายหมดสิ้น และผู้ที่จะดับกรรมจนบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลได้นั้นคือ ผู้ที่ได้อัตภาพมนุษย์และพบพระพุทธศาสนา แม้เทวดาที่สามารถบรรลุธรรมได้นั้นก็มีน้อยเพราะยังข้องอยู่ในสุขอันเป็นทิพย์ยังไม่เห็นทุกข์ จะกล่าวไปใยกับเหล่าสัตว์ในอบายภูมิที่มีเสวยทุกข์ทรมานจนไม่มีเวลาว่างเว้นจะคิดทำความดี

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




PIC_1993.jpg
PIC_1993.jpg [ 64.25 KiB | เปิดดู 7451 ครั้ง ]
แนวคิดเรื่องกฎแห่งกรรมของลัทธิความเชื่อต่างๆ
เป็นความจริงอย่างหนึ่งที่ว่า ต่างคนต่างความคิด ต่างคนต่างมีทิฏฐิความเชื่อเป็นของตน ที่คิดคล้ายๆ กันก็คบหาสมาคมกัน ที่คิดต่างกันก็แยกย้ายต่างคนต่างไป เพราะหมู่สัตว์คบหากันโดยธาตุ ขาดความทัดเทียมสมดุลทางด้านความคิดเห็น และความประพฤติในศีลธรรม ซึ่งก็เป็นอยู่เช่นนี้เสมอมาทุกยุคทุกสมัย แม้ในสมัยพุทธกาลก็เป็นเช่นนี้ มีทัศนะความเชื่อแตกต่างกันมากมาย ทิฏฐิของบางลัทธิก็ดี บางลัทธิก็ดูไร้เหตุผล ซึ่งพระองค์ตรัสรับรองทิฏฐิบางอย่างว่าดีก็มี ตรัสคัดค้านก็มี และความเห็นผิดที่แสดงออกมาอย่างชัดเจน ขัดแย้งกับเรื่องของกฎแห่งกรรมมีอยู่ 10 ประการ คือ


1) ทานที่ให้แล้วไม่มีผล

2) การสงเคราะห์เกื้อกูลไม่มีผล

3) การบูชาบุคคลที่ควรบูชาไม่มีผล

4) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี

5) โลกนี้ไม่มี

6) โลกหน้าไม่มี

7) มารดาไม่มี

8) บิดาไม่มี

9) อุปปาติกสัตว์ไม่มี

10) ในโลกนี้ไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ชนิดที่ทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเอง แล้วประกาศโลกนี้และโลกหน้า

ทั้งหมดนี้เรียกว่า ความเห็นผิด หรือเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ ถ้าคนใดคิดเห็นเช่นนี้ก็จะเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิบุคคล เพราะคนที่เห็นผิดไม่ได้คิดอย่างเดียวแต่เขาปฏิบัติตามความคิดของตนด้วย ซึ่งสามารถจัดกลุ่มแนวความคิดเห็นผิดๆ พวกนี้ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่

1.3.1 นัตถิกทิฏฐิ มีความคิดเห็นว่า ผลของกรรมไม่มี ใจไม่มี กลุ่มนี้หลงถือว่าตนเป็นพวกหัวก้าวหน้า ช่างคิดหาเหตุผล แต่ทว่าดื้อรั้น ทำตัวเป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ มีความเห็นผิด

1.3.2 อกิริยทิฏฐิ มีความคิดเห็นว่า บุญและบาปไม่มี คือ ใครก็ตามที่ทำกรรมดีด้วยตนเอง หรือสั่งให้ผู้อื่นทำ เขาก็ไม่ได้บุญ และใครก็ตามที่ทำกรรมชั่ว หรือสั่งให้ผู้อื่นทำ เขาก็ไม่ได้บาป ปฏิเสธ กฎแห่งกรรมและศีลธรรมอย่างสิ้นเชิง

1.3.3 อเหตุกทิฏฐิ มีความคิดเห็นว่า ไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้คนเราเศร้าหมองหรือบริสุทธิ์ ทุกข์ หรือสุข จึงเห็นว่าชีวิตของคนเราแปรผันไปตามเคราะห์กรรม ความเกิดและภาวะ คือเชื่อดวง จึงไม่คิดพัฒนาตนด้วยกรรมดี หรือจะกล่าวว่ากรรมที่บุคคลทำไว้แล้วในอดีตไม่มีผลไปถึงในอนาคต ทุกอย่างมันเป็นไปของมันเอง เรามีหน้าที่อยู่นิ่งๆ เฉยๆ ก็พอ

ดังนั้น มิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุให้ใจคนเรามืดมิดด้วยอำนาจกิเลส แล้วผลักดันบีบคั้นให้ก่อกรรมชั่วต่างๆ ซึ่งนอกจะก่อให้เกิดทุกข์ เกิดปัญหาสังคมในชาตินี้แล้ว ยังจะพาตนและเพื่อนร่วมชาติไปนรกในชาติหน้าอีกด้วย เพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงตรัสว่ามิจฉาทิฏฐินั้นมีโทษยิ่งกว่าอกุศลธรรมใดๆ1 เป็นการแสดงความไม่รับผิดชอบต่อสิ่งใดๆ ทั้งปวง ปฏิเสธคัดค้านสิ่งดีๆ ทุกอย่าง

ทำไมเราจึงต้องเรียนรู้เรื่องมิจฉาทิฏฐิ มีหลักให้คิดอยู่ว่า คนที่คุ้นเคยกับความสกปรก เมื่อมีใครพูดสรรเสริญความสะอาด เขาก็จะจินตนาการไม่ออกว่า สิ่งที่เรียกว่าความสะอาดเป็นอย่างไร มีคุณ-ประโยชน์จริงหรือไม่ประการใด ต่อเมื่อเขาได้เห็นทั้งสองสิ่ง คือความสกปรก และความสะอาดเปรียบเทียบ กันแล้ว เขาจะเข้าใจทันทีว่า ความสะอาดนี้ช่างมีคุณค่าเหลือหลาย โดยทำนองเดียวกันการที่บุคคลเกิดสัมมาทิฏฐิเห็นถูกอย่างถ่องแท้ ก็จำเป็นจะต้องเข้าใจเรื่องที่ทำให้เกิดความเห็นผิดอย่างถ่องแท้ด้วย มิฉะนั้นก็จะยังสงสัยลังเลทั้งคุณของสัมมาทิฏฐิ ทั้งโทษของมิจฉาทิฏฐิ

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8080272-0.gif
Y8080272-0.gif [ 48.2 KiB | เปิดดู 7447 ครั้ง ]
ประโยชน์ของการศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรม
การที่เรารู้จักคุณประโยชน์ คุณค่า คุณงามความดีของสิ่งหนึ่งสิ่งใด จะทำให้เราเป็นผู้มีความประพฤติปฏิบัติไปในทางที่ถูกต้อง รู้ทั้งคุณและโทษแล้วเลือกทำแต่คุณความดีอย่างเดียว ในกรณีที่เราศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรมย่อมก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาล สามารถยกระดับจิตของเราจากปุถุชนสู่ความเป็นพระอริยบุคคลประเภทต่างๆ ซึ่งจะขอยกประโยชน์สำคัญๆ ที่ทำให้ชีวิตอยู่ดีมีสุขในปัจจุบันชาตินี้ ชาติหน้า และชาติต่อๆ ไป ดังนี้

1. ทุกคนต้องกระตือรือร้นทำแต่กรรมดีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพราะการที่เกิดมามีโชคดีใน ชาตินี้ เนื่องจากกรรมดีในอดีตส่งผล แต่การให้ผลของกรรมดีนั้นมีวันหมดสิ้นไป จึงต้องสร้างกรรมดีเพิ่ม เพื่อมิให้ผลแห่งกรรมดี คือบุญที่สั่งสมอยู่ในใจมาตั้งแต่อดีตต้องขาดช่วง หรือหมดลง ส่วนผู้เกิดมาโชคร้าย ก็อย่าได้ท้อแท้สิ้นหวัง เพราะเมื่อรู้ว่าอะไรคือกรรมดี กรรมชั่วแล้ว ก็ควรขวนขวายทำแต่กรรมดีกระทำอย่างต่อเนื่อง เพราะการทำวันนี้ให้ดีที่สุดก็คือการทำอนาคตให้ดี

2. ไม่สร้างกรรมชั่วเพิ่มอีก เพราะตระหนักถึงผลร้ายที่จะติดตามมาส่งผลให้แก่ตนเอง เพื่อนร่วมโลก และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

3. ไม่อยู่นิ่งเฉยโดยไม่สร้างกรรมดีอะไรเลย คือ ไม่พึงคิดว่าเราเองก็ไม่ได้ทำความชั่วอะไรเลย ฉะนั้นถ้าจะไม่ทำความดีก็ไม่เห็นจะเดือดร้อนอะไร แต่ต้องทำความเข้าใจว่า ลมหายใจเข้าออกของเราทุกวินาทีต้องอาศัยบุญกรรมที่เคยสั่งสมมาในอดีต ถ้าไม่ทำความดีเพิ่ม ความดีเก่าก่อนที่เพียรสั่งสมมาก็จะหมดสิ้นไป และที่สำคัญสังขารร่างกายของเรานับวันจะเสื่อมถอยลงไปทุกวันๆ ฉะนั้นโอกาสที่จะทำกรรมดีก็เหลือน้อยเต็มที

4. ใช้สรีระร่างกายให้เหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง หรือร่างกายพิการ เมื่อศึกษาเรื่องกรรมดี กรรมชั่วอย่างถ่องแท้ แล้วเลือกทำแต่กรรมดี ถึงแม้ร่างกายจะพิการแต่ก็ยังสามารถทำความดีได้อีกมาก ต่างกับคนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแต่เอาไปใช้ทำความชั่ว หรือต่างกับร่างกายของสัตว์ดิรัจฉานแม้จะสมบูรณ์แต่ก็ยากที่จะใช้สร้างกรรมดี ทั้งนี้ ทั้งนั้นแล้ว จะต้องควบคุมกาย วาจา และใจของเราให้สูงส่งไม่ตกต่ำไปตามอำนาจกิเลส

5. มีศรัทธามั่นคงในเรื่องกฎแห่งกรรม ธรรมชาติของคนมีศรัทธาคลอนแคลนจึงสามารถทำได้ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว จึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรมให้ถ่องแท้เข้าไปอยู่ในความคิดจิตใจเป็นนิสัยที่ดีติดตัวไป สามารถตอบตนเองได้ว่าสิ่งที่ทำลงไปแล้วจะมีผลกลับมาอย่างไร เมื่อทำกรรมดีจะส่งผลให้มีธรรมคู่โลกฝ่ายดี คือ ความสุขทั้งสุขภาพร่างกายสุขภาพใจ มีความสำเร็จสมปรารถนาทางเศรษฐกิจดี มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยด้วยอาชีพสุจริต มีเกียรติยศชื่อเสียงขจรขจายเป็นที่เคารพยกย่อง ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นกับเราทำให้มีความเป็นอยู่ที่เพรียบพร้อมสนับสนุนการทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

6. เราสามารถออกแบบลิขิตชีวิตของเราเองได้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า สามารถเลือกได้ว่าเราอยากมีความเป็นอยู่ที่สุขสบายมั่งคั่ง หรือความเป็นอยู่ที่ยากแค้นแสนสาหัส เรามักได้ยินคำกล่าวที่ว่า ชีวิตเลือกเกิดไม่ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถเลือกที่จะทำได้ ถ้าศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรมอย่างเข้าใจถ่องแท้ และสามารถจับแง่คิดมุมประเด็นสำคัญของกฎแห่งกรรมได้ นั่นจะทำให้เราสามารถเลือกเกิดได้ด้วยกรรมของตน

7. สามารถตั้งเป้าหมายชีวิตให้ถูกต้อง เมื่อได้ศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรมก็จะพบรากแท้แห่งปัญหาว่าเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ ธุรกิจการงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม เมื่อทราบแล้วก็จะพบเห็นทางออกพร้อมวิธีการแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดคือต้องแก้ไขที่ความคิด ต้องตอกย้ำความคิดที่ถูกต้องให้เข้าไปอยู่ในใจให้ได้ว่า เราเกิดมาเพื่อสร้างความดี สร้างบุญสร้างบารมี ซึ่งนักศึกษาสามารถตั้งเป้าหมายชีวิตการทำความดีของเราได้ 3 ระดับ คือ

เป้าหมายชีวิตระดับต้น อยู่เย็นเป็นสุข สุขกายสบายใจในภพชาติปัจจุบัน
เป้าหมายชีวิตระดับกลาง อยู่เย็นเป็นสุขในภพชาติหน้า คือสุคติโลกสวรรค์
เป้าหมายชีวิตระดับสูง ยกระดับกาย วาจา และใจของตนเองให้สูงส่งหลุดพ้นจากอำนาจ กิเลสอาสวะทั้งปวง ไม่ต้องหวนกลับมาเวียนเกิดเวียนตายอีกต่อไป

8. สามารถตักเตือนสั่งสอนตนเองและแนะนำผู้อื่นให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ จิตเดิมแท้ของมนุษย์ทุกคนนั้นประภัสสรคือสว่างใสงดงาม ดังนั้นเมื่อได้รับรู้รับฟังสิ่งที่ดีจิตก็ผ่องใส เมื่อมีกำลังใจในการทำ ความดี ก็อยากจะทำตนเองให้ดีและอยากชักชวนแนะนำบอกกล่าวให้คนอื่นทำตาม นั่นคือการทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรแนะนำประโยชน์ เป็นมิตรแท้

9. ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต เห็นโทษภัยแม้เพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นบทสรุปของพระพุทธศาสนาที่ว่าจะทำทาน รักษาศีล หมั่นเจริญสมาธิภาวนา ก็เพื่อให้เกิดปัญญา เพราะปัญญาเปรียบประดุจแสง-สว่างส่องชี้นำทางสัตวโลกให้ดำเนินชีวิตไปในทิศทางที่ถูกต้อง

10. สร้างภูมิคุ้มกันป้องกันความบกพร่องทางความคิดแบบผิดๆ มนุษย์มักคิดจินตนาการ เรื่องราวไปต่างๆ นานา จริงบ้างไม่จริงบ้างสมมติเอาเองเสียบ้างก็มี ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเข้าใจผิดต่อเรื่องราวความเป็นจริงของโลกและชีวิตที่เป็นกฎธรรมชาติ เช่น ร่างกายของเราต้องแตกสลายไปเป็นธรรมดา ไม่ยั่งยืนยาวนาน แต่บางท่านกลับคิดหายาอายุวัฒนะทำให้มีอายุยืนๆ ทำนองนี้เป็นต้น บ้างก็คิดว่า โลกนี้เที่ยงยั่งยืนไม่มีวันเสื่อมสลายหรือถูกทำลาย และจะเป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป โลกนี้โลกหน้าไม่มี เกิดกันชาติเดียว ทุกสิ่งที่ทำไปก็ไม่มีผลอะไร เพราะชีวิตหลังความตายไม่มี ไม่ต้องเกิดต่อไปแล้ว เหล่านี้เป็นเรื่องอันตรายทำให้เกิดความยึดติดอยู่ในภพไม่คิดออกนอกกรอบคือหลุดพ้นจากวัฏสงสาร

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 01:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y7784839-0.jpg
Y7784839-0.jpg [ 175.69 KiB | เปิดดู 7446 ครั้ง ]
กฎแห่งกรรมกับหลักการเวียนว่ายตายเกิด

ดังที่ทราบกัน เมื่อกิเลสยังปรากฏอยู่แก่ผู้ใด ผู้นั้นย่อมเสี่ยงต่อการสร้างกรรมทั้งดีหรือชั่ว เมื่อสร้างกรรมย่อมมีผลรองรับติดตามไปทุกที่ทุกสถานเหมือนเงาตามตัว บางทีให้ผลทันที หรือไม่ก็ไปให้ผลหลังจากละโลก และก็ให้ผลต่อไปเรื่อยๆ ตราบจนวันสิ้นกิเลสจึงหลุดจากกฎแห่งกรรมนี้ได้ ด้วยความเป็นเหตุเป็นผลเช่นนี้จึงทำให้เราได้เรียนรู้ชีวิตการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารกันมาคนละไม่น้อยเลย และทุกท่านเคยเป็นมาทุกอย่าง ตั้งแต่พระราชามหากษัตริย์ไปจนถึงกุ้ง หอย ปู ปลา ดังที่ยกอุปมาเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไว้ในบทที่ 1 แล้ว ฉะนั้นตราบใดที่ยังไม่สิ้นกิเลส ตราบนั้นก็ยังจะต้องสร้างกรรมต่อๆ ไป ผลของการกระทำก็จะเกิดขึ้นต่อๆ ไป ทำให้เกิดในชีวิตและสังคมที่หลากหลาย เช่น เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในตระกูลดีบ้าง ตระกูลยากจนบ้าง บังเกิดในสวรรค์บ้าง บังเกิดในนรกบ้าง เป็นต้น ลักษณะ รูปแบบของการเกิดนี้ไม่แน่นอนแปรผันไปตามอำนาจกรรม ซึ่งทำหน้าที่สั่งให้ไปเกิดผลแบบนั้นแบบนี้ กรรมดีสั่งก็ไปเกิดในที่ดี กรรมชั่วสั่งก็ไปเกิดในที่ไม่ดี กรรมของแต่ละคนจะจำแนกให้มีผลเป็นไปแตกต่างกันเพราะทุกคนสร้างกรรมไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีผู้มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ตนใดกำหนดทิศทางชีวิตของผู้อื่นได้ กรรมของผู้นั้นต่างหากที่เป็นเจ้าของ จึงไม่มีเจ้ากรรมนายเวรแต่อย่างใด ดังที่เป็นปัญหาถกเถียงกันอย่างมากในปัจจุบัน ว่าปัญหาสุขภาพร่างกาย ปัญหาฐานะความเป็นอยู่ทางสังคมคนนั้นรวยคนนี้จนไม่ทัดเทียมกัน เพราะเป็นการทดสอบจิตใจของมนุษย์โดยผู้มีอำนาจหรืออย่างไร ถ้าไม่จริง แล้วความจริงคืออะไรเกิดจากอะไร? คนนั้นว่าอย่างนี้ แต่อีกคนก็ว่าอีกอย่าง แก้ไขกันไปต่างๆ นานา สุดท้ายก็แก้กันไม่จบสิ้น เพราะแก้ไขที่ปลายเหตุกันทั้งนั้น และที่สำคัญชีวิตความเป็นอยู่จะหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามกรรม ไม่ใช่ว่าชาตินี้รวยแล้วชาติหน้าจะรวยอีก ไม่แน่นอนเสมอไปถ้าประมาทในการดำรงชีวิต ดังที่ชอบคิดกันว่าเกิดมาชดใช้กรรมอย่างนั้น ก็ไม่ก่อให้เกิดความดีขึ้นมีแต่จะจมลง แต่ในทางกลับกัน คนจนในชาตินี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะจนไปทุกชาติ ถึงแม้จะจนแต่ไม่ประมาทในการดำรงชีวิตเดินตามรอยบัณฑิตนักปราชญ์ก็สามารถพลิกผันชีวิตให้กลับมาดีได้ ดังที่กล่าวไว้เราทุกคนหมุนเวียนเปลี่ยนตายเกิดมาแล้วทุกสถานภาพ
จึงตั้งคำถามว่า ความไม่ประมาทในการดำรงชีวิตคืออะไร เป็นอย่างไร? ดังที่ทราบสิ่งที่ครอบงำทำให้เกิดความประมาท คือ กิเลส ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือจะเรียกว่าอวิชชาก็ได้ ทั้งหมดนี้มีไว้ทำลายความสามารถ ศักยภาพและคุณภาพของความเป็นมนุษย์ให้หมดสิ้น ความโลภทำให้ตระหนี่หวงแหนทรัพย์จึงทำให้เสื่อมจากทรัพย์สมบัติ ความโกรธทำให้เกิดความขุ่นเคืองพยาบาทปองร้ายจึงทำให้เสื่อมจากรูปสมบัติ คือ ความหล่อ ความสวย ผิวพรรณ ดูเวลาที่คนหล่อคนสวยเมื่อโกรธหน้าตาก็ดูไม่ได้เหมือนกัน ความหลงทำให้เกิดความคิดเห็นผิด หลงเชื่อ ความงมงายจึงทำให้เสื่อมจากคุณสมบัติ คือขาดสติปัญญา เมื่อหลักการแห่งเหตุและผลเป็นเช่นนี้ คราวที่พระพุทธองค์ตรัสรู้เห็นกิเลสตัณหาคือฉากหลังที่ครอบงำหมู่สัตว์ทั้งหมดไว้ในวัฏสงสารให้ดำรงชีวิตอย่างประมาทคือขาดสติยับยั้ง ทรงรู้แจ้งแทงตลอดเห็นอุปกรณ์ที่ใช้ครอบงำคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง จึงทรงใช้พุทธวิธี แก้ไขความโลภด้วยทานทำให้มีทรัพย์สมบัติ แก้ไขความโกรธด้วยความเมตตาและรักษาศีลทำให้มีรูปสมบัติ แก้ไขความหลงด้วยสมาธิทำให้เกิดคุณสมบัติ จนเกิดเป็นพุทธิปัญญารู้แจ้งตามพระองค์ หมายความว่าพระธรรมคำสอน 84,000 พระธรรมขันธ์ สรุปเป็นหมวดทาน หมวดศีล หมวดสมาธิ หมวดปัญญา และทุกหมวดจัดเป็นมรรคมีองค์ 8 ทางปฏิบัติสายกลาง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และทั้งหมดสรุปรวมเป็นหนึ่งเดียวคือความไม่ประมาท ทรงเปรียบเหมือนรอยเท้าช้างเป็นที่ประชุมลงรวมของรอยเท้าสัตว์ทั้งปวง ซึ่งผู้ที่บังเกิดมาพรั่งพร้อมอยู่ในความพอเหมาะพอดีด้วยทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ และคุณสมบัติ จะทำให้สะดวกต่อการสร้างบารมีสร้างความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะถ้าไม่มีทรัพย์สมบัติแล้วเวลาทั้งชีวิตก็ไม่พอที่ จะหาทรัพย์ให้มีมากๆ หรือถ้าพิการ ปัญญาอ่อน ยิ่งสร้างความดีลำบากเข้าไปอีก เพราะลำพังดูรักษาตัวเอง ก็หมดเวลาเสียแล้ว ชีวิตบางคนเห็นทุกข์ก็จมอยู่กับทุกข์ แต่บางคนชีวิตอยู่สุขสบายกลับเห็นทุกข์ ดังเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ที่ทรงเสวยราชสมบัติเพียบพร้อมทุกสิ่งแต่ทรงเห็นโทษภัยของสิ่งเหล่านั้น หรือว่าบางทีดีชั่วรู้หมดแต่อดไม่ได้ บางท่านรู้ว่าทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิ เป็นความดีแต่ก็อ้างว่าไม่มีเวลาบ้าง ทำงานมาเหนื่อยแล้วอยากพักผ่อนบ้าง เห็นทางอยู่ข้างหน้าแต่ไม่เดินก็มี กลับไปเดินอีกทางตามที่ตนเองคิดว่าดี ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะดีจริงอย่างที่คิดหรือไม่ ฉะนั้นจะต้องมีโยนิโสมนสิการ รู้จักจับแง่คิดมุมมอง การดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาทเพียงวันเดียวถือว่าได้ดำเนินชีวิตอย่างประเสริฐมากกว่าการดำรงชีวิตอยู่ร้อยปีแต่อยู่อย่างประมาท

(ตาราง)
ในระหว่างการเวียนว่ายตายเกิดนั้นกฎแห่งกรรมของแต่ละชีวิตทำงานกันอย่างเต็มที่ ไม่หยุดพัก ได้โอกาสเมื่อไรจะส่งผลให้ทันที ดังจะเห็นได้ว่า ชีวิตของเราเองเดี๋ยวก็ดีเดี๋ยวก็ร้าย กรรมดีให้ผลก็เป็นสุข เมื่อไรกรรมชั่วเบ่งบานเมื่อนั้นก็ทุกข์ระทมกันแสนสาหัส ซึ่งบุคคลที่เวียนเกิดมาเป็นมนุษย์มีลักษณะ 4 แบบ1 ดังนี้
1) บุคคลมืดมามืดไป คือ เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในตระกูลตกต่ำประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ เมื่อละโลกจึงไปสู่ทุคติภูมิ
2) บุคคลมืดมาสว่างไป คือ เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในตระกูลตกต่ำแต่ใจไม่ตกต่ำ ประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ เมื่อละโลกจึงไปสู่สุคติภูมิ
3) บุคคลสว่างมามืดไป คือ เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในตระกูลสูงแต่ใจตกต่ำ ประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ เมื่อละโลกจึงไปสู่ทุคติภูมิ
4) บุคคลสว่างมาสว่างไป คือ เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในตระกูลสูงจิตใจสูง ประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ เมื่อละโลกจึงไปสู่สุคติภูมิ
มวลหมู่สรรพสัตว์มีมนุษย์เท่านั้นที่สามารถกำจัดกิเลสอาสวะ ยุติการเวียนว่ายตายเกิดได้มากที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะยุติวังวนแห่งชีวิตนี้ได้จะต้องผ่านกระบวนการฝึกหัดขัดเกลากาย วาจา และจิตใจ ตามหลักไตรสิกขาและดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8 ยิ่งขัดเกลาจิตให้บริสุทธิ์ได้มากเท่าไรการเวียนว่ายตายเกิดก็น้อยลงไปตามนั้น
ผู้ที่สามารถหลุดพ้นจากกิเลส เพราะการรู้แจ้งอริยสัจ 4 ตามอริยมรรคนั้นจิตของท่านมุ่งตรงต่อหนทางหลุดพ้นคือพระนิพพานได้แก่พระอริยบุคคล คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ท่านเหล่านี้ขจัดกิเลสจนเหลือน้อยเต็มที หากสามารถขัดเกลาจิตจนบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสได้อย่างสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษให้งอกเงยได้ต่อไปในปัจจุบันชาติ ทันทีที่ละสังขารจะเข้าสู่พระนิพพานทันทีไม่ต้องไปเวียนตายเวียนเกิดอีก ได้แก่พระอริยบุคคลชั้นสูง คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระอรหันตสาวก ฉะนั้นการได้เกิดเป็นมนุษย์แต่ยังไม่สามารถละกิเลสได้ก็ยังจะต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีกเช่นเดียวกับมวลหมู่สัตว์อื่นๆ ชีวิตก็วนเวียนตายเกิดซ้ำๆ แต่ไม่ซ้ำประเภท สัตวโลกต้องประสบทุกข์เพราะการเกิดมาต่อสู้กับกิเลส เสี่ยงต่อการสร้างกรรมและการรับผลกรรมเก่าๆ อยู่ร่ำไป ฉะนั้นมวลหมู่สัตว์ทั้ง มนุษย์ เทวดา สัตว์นรก ก็คือเพื่อนร่วมทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น จึงไม่ควรมองว่าเป็นศัตรูต่อกันและกัน เพราะศัตรูตัวจริงคือผู้ที่บังคับให้หมู่สัตว์ทั้งหมดเวียนว่ายตายเกิดไม่หลุดพ้น
ด้วยเหตุที่ว่า "ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้ายพูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขา" จากการศึกษาพบว่าทุกอย่างล้วนมุ่งไปที่จิตใจ เช่นเดียวกับเรื่องกฎแห่งกรรมเคยมีผู้ถามพระพุทธองค์ว่า การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ อย่างไหนที่ทำไปแล้วมีโทษมากที่สุด ทรงตอบว่า มโนกรรมมีโทษมากกว่ากายกรรมและวจีกรรม ทรงอุปมาว่า หมู่บ้านที่มีผู้คนอยู่อาศัยเป็นร้อยเป็นพัน บุรษุคิดจะฆ่าคนในหมู่บ้านนี้ให้หมด แต่เมื่อลงมือเขาอาจจะฆ่าได้ไม่เกิน 10-50 คนเท่านั้น ถ้าไม่เหนื่อยเสียก่อน ก็ถูกเขาฆ่าตาย" ซึ่งทำให้เห็นชัดว่า จิตของคนเราคิดทำอะไรได้มากมายยิ่งใหญ่มหาศาล มากยิ่งกว่าการกระทำทางกายและทางวาจา เมื่อมนุษย์สามารถควบคุมตนอยู่ในศีลธรรมจึงไม่มีความจำเป็นด้วยประการทั้งปวงที่จะต้องตรากฎหมายออกกฎเกณฑ์มามากมายเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ และทุกปัญหาจะยุติลงได้เมื่อมนุษย์มีศีลธรรมประจำใจอันเป็นต้นเหตุทางมาแห่งความดีทั้งปวง ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงจำเป็นจะต้องควบคุมจิตใจให้ดี สงบอยู่ในฐานที่ตั้งดั้งเดิมของจิต จิตใจจะดีได้กายกับวาจาจะต้องดีด้วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์ต้องรักษาศีลและรักษาให้อยู่ในระดับที่ว่า แม้แตˆคิดจะทำชั่วก็อย่าให้เกิดขึ้น ลักษณะแบบนี้เมื่อกายสงบจิตก็สงบ เมื่อเกิดกายและจิตสงบสมาธิจึงบังเกิด เมื่อสมาธิคือความตั้งมั่นแห่งจิตแน่วแน่มากเท่าไร แสงสว่าง คือปัญญาก็เกิดขึ้นมากเท่านั้น ทำปัญญาให้เกิดขึ้นมากเท่าไรก็จะรู้แจ้งเรื่องโลกและชีวิต กฎแห่งกรรมตรงไปตามความเป็นจริงมากเท่านั้น

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณไหว้พระปล่อยปลา ค่ะอ่านแล้วอยากความดีให้ได้ทุกวันค่ะ :b8:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร