วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 169 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกวิธีของการเริ่มต้นวิปัสสนาภาวนา(พองหนอ-ยุบหนอ)

ผู้ปฏิบัติที่ต้องการมรรคผลในปัจจุบันชาติ หรือต้องการอานิสงส์เพื่อเป็นปัจจัย
ในอนาคตชาติ เมื่อจะเริ่มดำเนินตามแนวทางการปฏิบัตินี้ ควรที่จะเริ่มดังนี้

๑.ควรละข้อกังวลต่างๆที่มีอยู่ให้หมดไป ถ้าไม่สามารถ ในขณะปฏิบัติให้ละให้หมด
เฉพาะในเวลานั้นก็ได้

๒.พึงชำระศีลให้บริสุทธิ์(สมาทานศีล) ตามสมควรแก่เพศของตน (หมายถึงศีลพระหรือคฤหัสถ์)

๓.ผู้ที่จะปฏิบัติ หากสงสัยว่าได้เคยพูดตำหนิติเตียนล่วงเกินพระอริยะเจ้า ให้ไปขอขมา
ท่านก่อน หากไม่สามารถพบท่านได้ ให้ขอขมาต่อวิปัสสนาจารย์หรือพระวิปัสสนาจารย์แทน

อนึ่ง การพูดติเตียนพระอริยเจ้า จัดเป็นอริยูปวาท ส่งผลให้ไม่สามารถบรรลุธรรมในชาตินี้หรือ
การเจริญวิปัสสนาไม่ก้าวหน้าการขอขมาเป็นการแก้ให้วจีกรรมไม่เป็นอริยูปวาท แต่ยังต้องรับผล
กรรมที่ทำนั้นอยู่ เนื่องจากวจีกรรมนั้นได้สำเร็จลงแล้ว เพียงแต่ผลกรรมอาจเบาบางลงเพราะ
ปราศจากอปรเจตนา(เจตนาภายหลังทำ)

๔.ควรมอบร่างกายนี้แด่พระพุทธเจ้า เพื่อให้เกิดกำลังใจ ช่วยลดความสดุ้งกลัวต่อสภาวะบางอย่าง
ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติ มีปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า

อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ ขอมอบร่างกายนี้แด่พระองค์.


๕.ควรมอบร่างกายแด่วิปัสสนาจารย์ ตามความหมาย หมายถึงการมอบความศรัทธา ความไว้วาง
ใจ ในการที่ท่านจะแนะแนวทาง การสอน การส่งสอบอารมณ์ ในการปฏิบัติ เพื่อท่านจะได้สอน
แนะนำแก้ไขให้โดยไม่ต้องเกรงใจ ในข้อนี้ แม้จะไม่มอบก็ไม่ใช่จะปฏิบัติไม่เห็นผล การปฏิบัติ
ตามคำแนะนำอย่างแน่วแน่ ตรงตามคำแนะนำ ก็สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นกัน
มีปรากฏในคัมภีร์วิสุทธมรรคว่า

อิมาหัง ภันเต อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ.
ข้าแต่ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้า ขอมอบร่างกายนี้แด่ท่าน.


๖.เพื่อสร้างฉันทะในใจ ควรสมาทานกรรมฐาน (คำกล่าว ตามนัยวัดภัททันตะอาสภาราม จ.ชลบุรี)

ข้าพเจ้า ขอสมาทาน วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อทำให้แจ้งซึ่งมรรคผลนิพพาน ณ ปัจจุบันกาลนี้ด้วย เทอญ.
ข้าพเจ้า ขอบูชาพระรัตนตรัย ด้วยการปฏิบัติธรรม ตามสมควรแก่ธรรมนี้ และด้วยสัจจะวาจาที่ได้กล่าว
อ้างมานี้ ขอให้ข้าพเจ้า มีความเพียรกำหนดอย่างต่อเนื่อง จนสามารถบรรลุผลสมปรารถนาในเวลา
อันไม่ช้าด้วย เทอญ.

ความหมายของคำว่ากำหนด

การกำหนด คือการตั้งจิตจดจ่อรับรู้สภาวะธรรมปัจจุบันที่เกิดขึ้นโดยละเอียด โดยใช้คำบริกรรมบัญญัติ
(คำแสดงลักษณะสภาวะ)เป็นเครื่องช่วยให้เข้าใจสภาวะนั้น โดยบริกรรมหรือกำหนดเป็นขณะ ใช้เวลา
และบริกรรมสั้นๆ ชั่วการแลบของฟ้า หรือ ๑ วินาที โดยไม่ต้องลากคำบริกรรมยาว เพราะการบริกรรม
ยาวอาจทำให้สติอยู่ที่บริกรรมมากไป ทำให้อยู่กับบัญญัตินานไป จึงเห็นสภาวะธรรมที่พึงรู้ไม่ละเอียด
หรือไม่ชัดเจน เพราะลักษณะของจิต จะรับทีละอารมณ์ การที่บริกรรมยาวไป จิตจะอยู่ที่บริกรรม ในขณะ
เดียวกัน จิตก็จะอยู่การรับรู้สภาวะด้วย สลับไปสลับมา ทำให้เป็น ๒ อารมณ์ไป เป็นสิ่งไม่พึงประสงค์
ของการปฏิบัติวิปัสสนาด้วยวิธีนี้

ในเวลาปฏิบัติและกำหนด ไม่ควรใส่ใจในลักษณะของสัณฐานของร่างกาย แต่ควรใส่ใจในสภาวะอาการ
ของร่างกาย เช่น สภาวะตึงหย่อน สภาวะเคลื่อนไปของมือและเท้า เป็นต้น ในระยะเริ่มแรก อาจยังติด
รูปร่างลักษณะของบัญญัติอยู่ ต่อเมื่อได้ปฏิบัติไประยะหนึ่ง สติและสมาธิกล้าขึ้น ก็จะรู้สภาวะปรมัตถ์
ของรูปร่างได้เอง ตัวอย่างเช่น เมื่อกำหนด พองหนอ สติกำหนดรู้ที่อาการพองขึ้นของท้อง ต้องรู้ที่อาการ
ตึงขึ้นของท้อง โดยไม่จำเป็นต้องรู้ลักษณะสัณฐานรูปร่างของท้อง ในระยะแรกอาจไม่คุ้นนัก
ก็อาจจะยังรู้สึกหรือเผลอจินตนาการลักษณะรูปร่างสัณฐานของท้องอยู่ก่อนบ้าง ในการเดินก็เช่นเดียวกัน
ก็จะเป็นไปตามนัยนี้ กล่าวคือ ให้รู้สึกอาการที่เคลื่อนไปของเท้า อาการที่เท้ากระทบพื้นเท่านั้น ไม่ต้องรู้
ลักษณะสัณฐานของเท้าเลย

ในการกำหนดลักษณะนี้ หาไช่เป็นการติดอยู่ที่บัญญัติแต่ประการใดไม่ เพียงแต่นำคำกำหนดมาช่วยให้
มีสติสมาธิที่ดีขึ้นเท่านั้น เพราะเมื่อปฏิบัติแรกๆ หรือเมื่อสภาวะปรมัตถ์ยังไม่ปรากฏชัดเจน จิตก็จะง่ายต่อการ
ฟุ้งซ่านและไม่มีสติสมาธิที่ดีพอ ต่อเมื่อวิปัสสนาญาณกล้าแล้ว บัญญัติจะหายไปเอง เหลือแต่สภาวะ
ปรมัตถ์คืออาการตึงหย่อนร้อนอ่อนแข็งหรือสัมผัสเท่านั้น อีกทั้งการกำหนดนี้ ไม่ใช่เป็นการแทรกแซง
การปรากฏของสภาวะแต่อย่างใด เพราะการกำหนด จะกำหนดเป็นขณะไป ประมาณไม่เกิน ๑ วินาทีต่อ
การกำหนด๑ ครั้ง เมื่อสิ้นสุดการกำหนดแต่ละครั้ง ก็ตัดการรู้สภาวะนั้นไปเป็นครั้งๆ โดยเมื่อกำหนด
จะกำหนดเพียงเพื่อรู้สภาวะ และคำกำหนดก็จะเหมือนสัญญาณสิ้นสุดของการรับรู้ เช่น เมื่อท้องพอง
ก็กำหนดพร้อมกับรู้อาการที่ตึงขึ้นของท้องว่า พอง และเมื่อสุดพอง ก็กำหนดว่า หนอ เห็นได้ว่า จิตรู้
อาการพองของท้องเท่านั้น ไม่มีปรุงแต่งเพิ่มไป และไม่ได้บังคับหรือให้เป็นไปในลักษณะต่างๆเลย และเมื่อ
หนอ ก็รู้การสิ้นสุดของสภาวะนั้นทันที

การจะกล่าวว่า การที่ใช้คำว่า พองหนอ ยุบหนอ เป็นต้นนั้นเป็นการปรุงแต่งหรือแทรกแซง
สภาวะ ข้อนี้ต้องทำความเข้าใจใหม่ว่า เป็นการใช้บัญญัติควบคู่กับปรมัตถ์เพื่อช่วยสติสมาธิเท่านั้น การรับรู้
สภาวะปรมัตถ์ แม้เกิดพร้อมกับบัญญัติ ก็ไม่ทำให้ปรมัตถ์นั้นหายไป และจิตของผู้ปฏิบัติก็ยังรับรู้สภาวะปรมัตถ์
อุปมาคำบัญญัติเหมือนกับเงาของต้นไม้ แม้จะเกิดพร้อมกับต้นไม้ ก็ไม่ใช่ต้นไม้ แม้จะต้องอาศัยต้นไม้
จึงมีเงา แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรต้นไม้ได้

องค์ประกอบ

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามวิธีการแบบยุบหนอ พองหนอ นี้ มีองค์ประกอบดังนี้

๑.สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ ฐานหรือที่ที่สติจะเข้าไปตั้ง หรือเข้าไปช่วยให้จิตรู้สภาวะของรูปนามได้แก่

กาย หมายถึง ร่างกายทั้งหมดของผู้ปฏิบัติ หมายถึงการกำหนดรู้ตามอิริยาบทต่างๆของกาย เช่น ยืน เดิน
นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด เป็นต้น การกำหนด เช่น เดินหนอ นั่งหนอ

เวทนา หมายถึงอาการที่จิตรับรู้สภาวะที่สุขสบาย หรือเจ็บปวดไม่สบาย หรือเฉยๆ ต่ออาการที่ปรากฏ เช่นเมื่อ
กำลังปฏิบัติ เกิดการปวดหัว ก็กำหนดตามจริงว่า ปวดหนอๆ หรือมดกัด ก็กำหนดว่า เจ็บหนอ เป็นต้น ทั้งนี้ การ
รับรู้เวทนานี้ มักมีสาเหตุมาจากกายทั้งสิ้น เช่น อาการปวดหัวตัวร้อน ก็จะมาจากกาย อาการที่มดกัดเจ็บ ก็เกิด
จากการสัมผัสถูกต้อง(ผัสสะ)ของกาย หรือของรูปกับรูป ทำให้มีความรู้สึกขึ้นมาเป็นเจ็บ ปวด ร้อน เป็นต้น

จิต หมายถึง การกำหนดรู้สภาวะที่ปรากฏทางใจของผู้ปฏิบัติ เช่น อยาก โลภ ไม่ชอบ เกลียด อิจฉา ริษยา เป็นต้น
การกำหนด เช่น โลภหนอ ไม่ชอบหนอ ความไม่สบายใจก็จัดอยู่ในข้อนี้

ธรรม หมายถึงการรับรู้สภาวะที่ปรากฏทางทวารต่างๆ คือ เมื่อมีรูปกระทบที่ตา มีเสียงกระทบที่หู มีกลิ่นกระทบ
ที่จมูก มีรสกระทบที่ลิ้น มีการสัมผัสบางแห่งของกาย การรับรู้อาการที่สัมผัสจัดเป็นข้อนี้ การกำหนด เช่น เห็นหนอ

มีข้อที่น่าสังเกต ในข้อธรรมนั้น คล้ายกับข้อของกาย แต่ข้อกายมุ่งเน้นไปทางอิริยาบท ข้อของธรรมเน้นถึงสภาวะ
ที่มีการสัมผัสกันแล้วทางทวารต่างๆ แล้วใจน้อมไปรู้สภาวะนั้น ในข้อของกาย แม้ไม่ต้องสัมผัส เมื่อมีการเคลื่อน
ไหวกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ก็จัดเป็นกายที่ต้องกำหนดแล้ว และในมหาสติปัฏฐานสูตร มีตัวอย่างในการกำหนดธรรม
ในลักษณะของข้อธรรมต่างๆมี โพชฌงค์ ปีติ เป็นต้น ทำให้เข้าใจได้ว่า ข้อนี้น่าจะหมายถึงการกำหนดสภาวะ
ธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ บางครั้ง การอธิบายเรื่องธรรม จึงมีไปรวมในส่วนของกายบ้าง ข้อนี้ไม่ใช่ปัญหา
เพราะในทางปฏิบัติ ไม่ได้แบ่งแยกว่าอะไรเป็นข้อกายหรือข้อธรรม เพียงแต่กำหนดสภาวะ(อะไรก็ได้)ที่ปรากฏ
มาเท่านั้น

ทั้ง ๔ อย่างนี้ ย่อลงคงเหลือ รูป และ นาม ในข้อกายนั้น จัดเป็นรูป เวทนา จิต ธรรม จัดเป็น นาม
รูป หมายถึงสิ่งที่ปรากฏได้ สัมผัสได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ส่วนนาม เป็นสภาวะที่รู้ได้ทางใจ
สัมผัสไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย

ทั้งนี้ ถ้าพูดในแง่การปฏิบัติแล้ว เรียกว่า สติที่เข้าไปรู้สภาวะ กาย ใจ จะง่ายกว่า คือกำหนดรู้สภาวะทางกายและใจ
กำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นในกายในใจ ดูจะง่ายกว่า

๒.สติ หมายถึง การระลึกรู้ กล่าวคือรู้ในขณะนั้นๆ การระลึกได้เป็นปัจจุบัน เช่นขณะเดินอยู่ ก็รู้ว่าเดินอยู่ เป็นต้น
หมายถึงขณะนั้นกำลังเดิน รู้ตัวว่าเดินอยู่ การรู้ในที่นี้คือสติ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ขณะนั่งกรรมฐาน เมื่อจิตเผลอคิด
ออกไปนอกอารมณ์กรรมฐาน ก็รู้ตัวว่าออกไปนอกแล้ว กำหนดรู้สภาวะนั้น กลับมาที่อารมณ์กรรมฐานต่อ ในขณะที่
รู้ว่าจิตออกไปนอกอารมณ์กรรมฐานนั่นเองคือสติ ในทางปฏิบัติ ความหมายของสติจะเข้าใจง่ายกว่าอธิบายด้วย
ตัวหนังสือมาก

๓.สัมปชัญญะ ในที่นี้หมายถึง การหยั่งเห็นสภาวะด้วยปัญญา ตามความจริง ว่าโดยย่อ สภาวะที่หยั่งเห็นนั้น
มี ๒ อย่างคือ
๑.สภาวะลักษณะ หมายถึง ลักษณะจำเพาะของแต่ละรูปนาม ซึ่งรูปนามแต่ละอย่างก็มีสภาวะต่างกันออกไปไม่
เหมือนกัน การหยังเห็นในที่นี้ คือเห็นลักษณะพิเศษของแต่ละสภาวะ เช่น ร้อน อ่อน แข็ง ตามความเป็นจริง
๒.สามัญญลักษณะ หมายถึง หยั่งเห็นลักษณะที่ทั่วไปแก่รูปนามทั้งปวง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุก อนัตตา ตามความจริง
เช่น เห็นการเกิดดับของสภาวะรูปที่พองยุบ เกิดดับกันไปเป็นสาย เป็นต้น

๔.อาตาปี หมายถึง ความเพียรเผากิเลส ความเพียรในคำนี้ แตกต่างจากความเพียรอื่นๆ ในที่อื่นๆ เพราะความเพียร
ชนิดอื่นไม่เป็นเหตุให้เผากิเลสได้ ตัวอย่างในที่นี้คือการพยายามกำหนดรู้ให้ได้ปัจจุบัน การพยายามในที่นี้คือความ
เพียรเผากิเลส ในที่อื่นท่านหมายถึงสัมมาวายามะ ความเพียรตามมรรค ๘ ก็ใช่ ไม่ผิดเลย แต่อธิบายอย่างนั้นดูจะยัง
มากไปสำหรับการเริ่มปฏิบัติ

๕.ปัจจุบันธรรม หมายถึง สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นของรูปนามและปรากฏทางทวารต่างๆเช่น ตา เป็นต้น เกิดขึ้นในขณะ
ใด ขณะนั้นเรียกว่า ปัจจุบัน
ความสำคัญของปัจจุบัน คือ ในขณะที่สติ จิต กำหนดรู้สภาวะ ต้องรู้ในขณะที่เกิดขึ้นทันที เพราะในขณะที่เกิดขึ้น
ถ้าสติสมาธิกล้าดีแล้ว จะเห็นสภาวะทั้ง ๒ คือ สภาวะลักษณะและสามัญญลักษณะ ตามที่อธิบายไปแล้ว แต่ถ้าสภาวะ
ที่ผ่านไปแล้ว หรือ ยังไม่มาถึง จะไม่สามารถรู้เห็นได้ แค่เพียงอนุมานรู้เท่านั้น ซึ่งเป็นการรู้เห็นไม่ประจักษ์เอง ทำ
ให้จิตใจผู้ปฏิบัติไม่รู้เห็นความจริงด้วยตนเอง การฝึกจิตเพื่อให้เกิดความเบื่อหน่ายในรูปนามก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
เมื่อความเบื่อหน่ายเพราะเห็นตามจริงไม่มี ความวางเฉยด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณก็ไม่มี จิตก็ยังไม่สามารถหลุดจาก
กิเลสเครื่องร้อยรัดได้อย่างแท้จริง
อนึ่ง ปัจจุบันธรรมนี้ เป็นเหตุให้สัมปชัญญะสมบูรณ์ เพราะถ้าไม่มีปัจจุบันเสียแล้ว ก็จะเห็นลักษณะทั้ง ๒ ของรูปนามไม่ได้เลย


(ยังมีต่อ ว่างจะมาพิมพ์)
๖.อินทรีย์ ๕

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย กามโภคี เมื่อ 26 ก.ค. 2009, 19:19, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


-เป็นการสอนพอง ยุบ ได้ละเอียดดีจริงๆเลยนะครับเท่าที่ผมเคยได้อ่านมา อนุโมทนาด้วยครับ :b16: สำหรับคุณกามโภคี

-อยากบอกเพิ่มว่า ควรหายใจยาวๆจนถึงท้องด้วย เป็นอีกเทคนิคนึงที่อย่ามองข้าม จะทำให้จิตมี
กำลัง(สมาธิ)และเกิดสติต่อเนื่องได้ง่ายด้วย ถ้าให้ดีถ้าจะทำสมาธิครึ่งชม. ก้ควรนั่ง15 เดินขวาย่าง
ซ้ายย่าง 15 นาที แต่จริงๆน้อยไป คุณกามโภคีบอกเดิน20แล้วค่อยมานั่งอีก10รวม=30 ก็ถือว่าดีครับ แต่ถ้าให้ดีจริงๆก้ควรนั่งให้ได้ตามที่เดินคือนั่ง20 เดินก้ต้อง 20 นาทีด้วยเหมือนกัน นี่แหละ ความสมดุลของวิปัสสนากรรมฐาน(บุญอานิสงส์)จะเกิดขึ้นก็ตรงนี้แหละ(ถ้าทำได้จะเห็นว่ากำลังของสมาธิและสติที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันและเท่ากันนั้นเป็นอย่างไร) :b39: :b40:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณมากครับสำหรับความเห็นที่แสดงมาด้วยใจที่บริสุทธิ์
ในการอธิบายนี้ ผมมีเหตุผลบางประการครับเลยตอบออกมาในลักษณะต่างๆ

อินทรีย์5 เขียน:
-เป็นการสอนพอง ยุบ ได้ละเอียดดีจริงๆเลยนะครับเท่าที่ผมเคยได้อ่านมา อนุโมทนาด้วยครับ :b16: สำหรับคุณกามโภคี


ยังไม่ละเอียดครับ ความละเอียดเป็นเรื่องที่ต้องแนะนำกันตามสภาวะไป
ผมเข้าใจว่าผู้ที่ผมแนะนำนั้นพอมีพื้นอยู่แล้วตามข้อมูลที่เขาบอก ก็เลยย่อๆ
ความจริงผมอยากอธิบายมากกว่านี้
อนุโมทนาเช่นกันนะครับคุณอินทรีย์

อินทรีย์5 เขียน:
-อยากบอกเพิ่มว่า ควรหายใจยาวๆจนถึงท้องด้วย เป็นอีกเทคนิคนึงที่อย่ามองข้าม จะทำให้จิตมี
กำลัง(สมาธิ)และเกิดสติต่อเนื่องได้ง่ายด้วย


การหายใจยาวๆก็ดีครับ ผมก็เคยใช้ ในกรณีนี้ที่ผมไม่บอกเพราะ ต้องดูสภาวะผู้ปฏิบัติก่อน
เมื่อยังไม่จำเป็นก็ไม่เพิ่ม ถ้าจำเป็นจึงเพิ่มครับ และการหายใจยาวๆ ผมอยากให้เป็นตามธรรมชาติ
หรือปกติ ถ้าในคนที่ปกติหายใจสั้น เราแนะไป เขาพยายามหายใจให้ยาว จะเป็นโทษครับ มึนหัวง่าย
ปวดหัวง่ายมาก บางคนคลื่นไส้เลย ข้อนี้ผมไม่รู้การหายใจเขา เลยไม่บ่งลงไป

อินทรีย์5 เขียน:
ถ้าให้ดีถ้าจะทำสมาธิครึ่งชม. ก้ควรนั่ง15 เดินขวาย่าง
ซ้ายย่าง 15 นาที แต่จริงๆน้อยไป คุณกามโภคีบอกเดิน20แล้วค่อยมานั่งอีก10รวม=30 ก็ถือว่าดีครับ แต่ถ้าให้ดีจริงๆก้ควรนั่งให้ได้ตามที่เดินคือนั่ง20 เดินก้ต้อง 20 นาทีด้วยเหมือนกัน นี่แหละ ความสมดุลของวิปัสสนากรรมฐาน(บุญอานิสงส์)จะเกิดขึ้นก็ตรงนี้แหละ(ถ้าทำได้จะเห็นว่ากำลังของสมาธิและสติที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันและเท่ากันนั้นเป็นอย่างไร) :b39: :b40:


ตามข้อมูลที่ได้มา ผู้ปฏิบัติมีเวลา ๓๐ นาที ผมเลยจัดไปในเวลาประมาณนั้น ถ้าอารมณืกรรมฐาน
มีศรัทธาและฉันทะปรากฏแล้ว วิริยะเบื้องต้นจะตามมา ตอนนั้นผมจะแนะให้เพิ่มเวลา และผู้ปฏิบัติ
จะสละเวลาอื่นเพื่อทำเองโดยไม่เดือดร้อนเลย และจะไม่มีอะไรกังวล ตอนนี้จัดไปตามเวลาที่เขา
พอทำได้

ในผู้ปฏิบัติที่มีอินทรีย์เสมอมาปกติ หรือเรียกว่าเกือบเสมอ ผมจะกำหนดเวลานั่งและเดินให้เท่าๆกัน
แต่ผู้ปฏิบัติท่านนี้ จากการสอบถาม ท่านนั่งอย่างเดียว และมักฟุ้งซ่าน กำหนดไม่หาย กำหนดแล้ว
อันใหม่ก็ตามมา ผมวินิฉัยดังนี้

สติ สมาธิ ยังไม่แข็งแรงพอ

เหตุผลที่ให้เดิน ๒๐ นาที นั่ง ๑๐ นาที
๑.เวลาที่ทราบมาทำได้แค่นี้
๒.ผมต้องการสติให้แข็งแรงก่อน การกำหนดอิริยาบทเดินจะได้สติที่แข็งแรงเร็วกว่านั่ง การนั่งมักจะไหล
ลงสู่สมาธิที่แน่นไปมากได้ง่าย วิปัสสนูปกิเลสส่วนมากมาจากสมาธิ เช่น โภาส ปีติ สุข เป็นต้น
๓.สมาธิทำให้แข็งแรงง่ายกว่าสติมาก เมื่อจะปรับให้แข็งแรงต่อไปก็จะปรับง่ายกว่าสติ
๔.สติเป็นอุปการะแก่ธรรมทั้งปวง กล่าวได้ว่า สติจะอุปการะอินทรีย์อีก ๔ อย่างให้เสมอได้ดีที่สุด
ฉนั้นผมต้องการให้สตินำก่อน จึงได้แนะไปอย่างนี้
๕.โทษของสมาธิที่มากกว่าสติ แก้ยากกว่าโทษที่สติมากกว่าสมาธิ
๖.ผมวินิฉัยเป็นกรณีๆไป ไม่จำกัดว่าต้องเท่ากันเสมอไป อย่างไหนควรทำก่อนก็ให้ทำเลย อย่างไหน
เร่งทีหลังได้ก็เร่งทีหลัง ตามแต่สภาวะของแต่ละคน ไม่จำกัดว่าต้องเท่ากันทุกคน
๗.เดินในระยะที่ ๑ สติได้น้อยกว่าระยะที่ละเอียดขึ้นไป เช่น สติระยะที่ ๑ ได้ ๑-๓
ระยะที่ ๓ จะได้ ๔-๖ ถ้านั่ง ๑๐ นาที เดิน ๒๐ นาที ถึงแม้ว่าเดินมากกว่านั่ง ก็ไม่เป็นการเกินสมาธิ
มากเลย เกินแค่พอตื่นตัวตามสภาวะเท่านั้น ไม่มีโทษ น่าจะสมดุลย์ แต่ถ้าเท่าๆกัน ดูว่าสมาธิจะท่วม
สติไป

ถ้าเดินได้ระยะที่ ๔ ขึ้นไป สติมากพอดูแล้ว การเดินนั่งเท่ากัน ดูจะไม่ค่อยมีโทษเท่าไร
จะแนะนำให้เดินระยะ ๔ ตอนนี้ไม่ได้ เพราะสมาธิก็ยังอ่อนอยู่ยังไม่แข็งแรง ต้องรอสมาธิก่อน

ขออนุโมทนาอีกครั้งครับคุณอินทรีย์ (๕)
อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ปฏิบัติจะทดลองเพิ่มเวลาตามที่มีผู้เสนอความเห็นมาก็ได้นะครับ ผมไม่จำกัดว่า
ต้องตามนี้ เพราะผู้แนะนำ ก็จะแนะนำตามประสบการณ์ที่ฝึกอบรมกันมา เช่นผมเห็นว่าสติต้องเน้นก่อน
ในช่วงนี้ ก็แนะนำไปแบบนี้เป็นต้น เห็นต่างไม่ไช่แตกต่างจนแตกแยกครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาค่ะ คุณกามโภคี :b8:

มาแอบอ่านค่ะ

คำอธิบายเข้าใจง่ายดีค่ะ :b1:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 24 ก.ค. 2009, 23:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ถ้าภาวนาไม่เป็นก็เป็นสมถะไปได้นะครับ หรือต้องการฝึกสมถะอยู่แล้ว :b14:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



อ่ะจึ๊ย!!!!!!!! ...

จานกาม ... :b13:

สงสัยต้องไปเปลี่ยนชื่อแล้วมั๊งจาน :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

อ่ะจึ๊ย!!!!!!!! ...

จานกาม ... :b13:

สงสัยต้องไปเปลี่ยนชื่อแล้วมั๊งจาน :b32:


แหม๋ก็นะ จานวลัย...เอ้ย แม่ครัวดีกว่า ผู้หญิ๊งงง...ผู้หยิงดี :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 06:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


กามโภคี เขียน:
:b8: สวัสดียามสายครับคุณ taktay

สวัสดีค่ะอาจารย์ ขออนุญาตเรียกคำนี้และขอสมัครเป็นศิษย์นะค่ะ
อ่านคำแนะนำของอาจารย์แล้วเข้าใจมากขึ้น และเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ เมื่อคืนนี้หลังจากอ่านคำ
แนะนำของอาจารย์แล้ว ก็เลยเดินจงกรม โดยเริ่มระยะสาม ถอยหลังลงมาจากเดิมหนึ่งระยะ
กำหนด "ขวาหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ" ขณะที่ขวาหนอก็จับอยู่ที่เท้าขวา ย่างหนอก็จับ
ไปที่เท้าขณะก้าวออกไป เหยียบหนอก็จับที่เท้าขณะแต๊ะพื้น" ก็จับได้บ้างไม่ได้บ้าง ฟุ้งก็หยุด
กำหนด "คิดหนอ" บ้าง "ฟุ้งหนอ"บ้าง ทำได้สิบห้านาทีค่ะ มีความรู้สึกว่าแป๊ปเดียวเอง
ขณะที่ทำไม่มีอาการอย่างอื่นนอกจากคิดเรื่องนั้นบ้าง เรื่องนี้บ้าง ไม่ทุรนทุราย ไม่ร้อน ไม่หนาว
มีแต่คิดแว่บออกไปอย่างเดียวค่ะ
แล้วก็ลงนั้งได้ยี่สิบห้านาที มีความรุ้สึกว่าอาการ พอง ยุบ ชัดเจนขึ้น และนานขึ้น สักประมาณ
ห้าหกครั้ง ถึงฟุ้งอีก ก็กำหนด "คิดหนอ" จนหายแล้วก็กลับมา พอง ยุบต่อไป มีความรู้สึกว่าดีขึ้น
แต่ก็ยังฟุ้งอยุ่ หลังๆจะมีความรู้สึกว่าถึงแม้จะคิดเรื่องอื่น แต่อาการพอง ยุบ ก็ยังรู้ เพียงแต่
เบาลง ไม่ค่อยชัดเจน และไม่หายไปเหมือนเมื่อก่อนค่ะ


สรุปการตอบของคุณ ทำให้ผมเข้าใจแน่นอนแล้วว่า คุณได้ปฏิบัติสติปัฏฐานตามวิธีพองยุบ
เป้นวิธีเดียวกับที่ผมปฏิบัติอยู่ การพูดคุยเรื่องนี้สำคัญและจำเป้นอย่างมากที่เราต้องรู้
๑.วิธีการปฏิบัติ ๒.สภาวะปัจจุบันของการปฏิบัติที่ปรากฏอยู่

การที่ต้องรู้วิธีการปฏิบัตินั้น เพราะเราจะทราบได้ว่าปฏิบัติได้ถูกต้องตามวิธีการหรือไม่
หากส่วนใดไม่ถูกต้อง จะได้แนะนำกันไปได้ เมื่อไม่รู้วิธีการปฏิบัติ แนะนำไปอย่างไรก็ไม่
ถูกจุดนัก เหมือนเกาไม่ถูกที่คัน บางครั้งผู้รับคำแนะนำไปจะสำคัญผิดไปอีก

การที่ต้องรู้สภาวะปัจจุบันของการปฏิบัติที่ปรากฏอยู่ เพื่อสอบวัดว่าอารมณืสภาวะกรรมฐานอยู่
ในระดับไหน ประโยชน์ที่ได้คือจะแนะนำได้ถูกที่สุด สามารถแยกของเสียของดีของสภาวะที่
ปรากฏได้ดี เพราะสภาวะที่ปรากฏแต่ละอย่าง ไม่ใช่ประสงค์ของวิปัสสนาทุกอย่าง บางอย่างต้อง
มีแต่ยังไม่มี บางอย่างไม่ต้องมีแต่จะมีมา

การที่ต้องรู้วิธีการปฏิบัติและสภาวะปัจจุบันของการปฏิบัติที่ปรากฏอยู่ เพราะประโยชน์คือ
แก้ข้อที่ควรแก้ และ เพิ่มข้อที่ควรเพิ่ม ถ้ารู้ทั้ง ๒ อย่างแบบครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว การปฏิบัติ
จะก้าวหน้าดีมาก มีผู้ปฏิบัติที่ก้าวหน้าช้าเพราะเหตุต่างๆหลายข้อ หนึ่งในข้อนั้นคือ ตั้งใจ
ปฏิบัติดี มีศรัทธาดี แต่การแจ้งอารมณ์ไม่ชัดเจน การแนะนำเลยทำยาก วิเคราะห์ยาก ก็มีส่วนทำ
ให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร

ข้อที่ผมถามไป สังเกตดูดีๆ ผมถามถึงการกำหนด กาย เวทนา จิต และ ธรรม
และวิธีกำหนด ตลอดจนสภาวะปฏิบัติที่คุณเป็นอยู่ทั้งนั้น ผมจะลองมีความเห็นเป็นข้อๆไป

ตอนนี้ลองทวนวิธีการก่อนครับ

การกำหนดที่กาย วิธีการพองยุบนั้น ให้กำหนดสติรู้ที่อาการ พอง-ยุบ ที่ท้อง หรือบริเวณใกล้เคียง
ก็อนุโลมได้ แม้ที่หน้าอกที่กระเพื่อมก็อนุโลม ในขณะเดิน การกำหนดสติรู้นั้น ให้กำหนดที่เท้า
อาการเคลื่อน อาการสัมผัส ทั้งการเดินการนั่ง ไม่ใช้จินตนาการ รับรู้ความรู้สึกหรืออาการเท่านั้น
การกำหนดที่อายตนะต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้
หู เมื่อยินเสียง กำหนด ยินหนอ พร้อมสติรู้ที่เสียงนั้น
จมูก เมื่อได้กลิ่น กำหนด กลิ่นหนอ หรือ รู้หนอ พร้อมสติที่รู้กลิ่นนั้น
ลิ้น เมื่อรู้รส กำหนด รสหนอ หรือ รู้หนอ พร้อมสติรู้ที่รสนั้น
กาย เมื่อถูกต้องสิ่งอื่น หรือสิ่งอื่นมากระทบ เช่นลม กำหนด รู้หนอ หรือ ถูกหนอ พร้อมกับสติรู้ที่สัม
ผัสนั้น
ทั้งหมดนี้พยายามให้ทัน ไม่ก่อนไม่หลัง (แท้จริง ไม่พร้อมในบางขณะ บางขณะพร้อม)

การกำหนดเวทนา คล้ายการกำหนดกาย เพราะเวทนาเกิดมาจากการสัมผัส ถูกต้องกัน
หรือกระทบกัน เรียกว่า ผัสสะ แต่เป็นผลมาจากการผัสสะหรือกระทบกันของรูปนาม
เวทนา ได้แก่ความรู้สึก สุข ทุกข์ เฉยๆ ข้อนี้คุณคงทราบดีว่าต้องกำหนดอย่างไร(จากที่คุณตอบมา)

การกำหนดที่จิต ข้อนี้ท่านหมายถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีเวทนาแล้ว เช่น เมื่อมียุงกัด
เวทนาคือเจ็บหรือรู้สึกเจ็บ ลักษณะที่ตามมาคือ ไม่ชอบ เวทนาคือเจ็บ ไม่ชอบเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา
จากเจ็บคือไม่ชอบ สภาวะที่ไม่พอใจคือสภาวะของจิต การกำหนด คุณน่าจะรู้แล้ว(จากที่คุณตอบ)

การกำหนดธรรม หรือ ธรรมารมณ์ ข้อนี้คล้ายกับการกำหนดที่จิดมาก แต่ในข้อนี้หมายเอา
สภาวะของนิวรณ์ทั้ง ๕ มากำหนด คือ ความอยาก การผูกอารมณ์ ง่วงเหงาหาวนอน ฟุ้งซ่าน สงสัย
ข้อนี้เป็นสภาวะที่คล้ายกับเรื่องจิตมาก ยากตอนเรียนรู้ แต่ง่ายตอนปฏิบัติ และธรรมารมณ์นี้ จะเกิดหลัง
การที่จิตรู้ตามเรื่องการกำหนดที่จิตแล้ว เช่น ยุงกัด เจ็บ ไม่ชอบ ไม่อยากถูกกัด

เวลาปฏิบัติ เราไม่แยกว่าต้องข้อไหนก่อน เราจะกำหนดตามจริง ไม่กำหนดเป็นข้อๆ กำหนดตามสภาวะ
ที่ปรากฎ ไม่ต้องลำดับ อันไหนชัด กำหนดอันนั้น ก็จะเห็นชัดเห็นง่าย
ถ้าสังเกตที่ผมอธิบายย่อๆมา จะสังเกตได้นะครับ พระพุทธเจ้าท่านฉลาดจริงๆ ท่านสอนวิธีดักอกุศล
จิตตั้งแต่แรกๆจนสุดท้ายเลย คือเมื่อกระทบ ก็สักแต่รู้ ถ้าสักแต่รู้ไม่ได้ ก็ดักที่ความรู้สึก ถ้าดักที่ความรู้
สึกไม่ได้ ก็ดักที่จิตที่ปรุงแต่ง ถ้าดักไม่อยู่ ก็ดักที่อารมณ์ ๔ ขั้นตอนเลย แต่ละขั้นตอนจะมีเจตสิกที่
ปรุงแต่งจิตเป็นลำดับไป ตัวอย่างง่ายๆ ยุงกัด (กระทบ,ผัสสะ) เจ็บ (เวทนา) ไม่ชอบ (จิต) ไม่อยากถูกกัดอีก หรือ โกรธยุง (อารมณ์)

แต่ทั้งหมดนี้สรุปเป็น ๒ อย่างคือ สภาวะรูปและนาม กาย จัดเป็นรูป เวทนา จิต ธรรม จัดเป็นนาม
การปฏิบัติสายนี้ ก็คือการมองดูหรือเห็นรูปนามตามความเป็นจริง เรียกว่าโยนิโสมนสิการ

ปริยัติมากไปแล้ว ข้อนี้วิธีปฏิบัติ การเดิน หลักการคือ สติกำหนดที่เท้า ตามระยะของการเดิน เดินระยะ
ใด ก็ถือระยะนั้นเป็นหลัก เรียกว่า มูลกรรมฐาน นอกจากนี้ สิ่งอื่นที่มากระทบแล้วรู้ แล้วไปกำหนด สิ่ง
นั้นเมื่อหายไปจางไปหรือไม่ชัด ก็กลับมาที่มูลกรรมฐานต่อ

การนั่ง ก็เช่นกัน มีการดูอาการหรือความรู้สึกของท้องที่พองยุบ ตรงนี้เป็นมูลกรรมฐาน สติตั้งอยู่
ที่ตรงนี้ นอกจากนี้สิ่งอื่นที่กระทบ แล้วไปรู้ไปกำหนด เมื่อจางไปหายไป ก็กลับมาที่มูลกรรมฐานต่อ

โดยย่อมีเท่านี้เอง นอกนั้นต้องพูดคุยกันเป็นกรณีๆไป เพราะรายละเอียดมาก แต่ละคนปัญหาที่พบต่าง
กัน พูดไปจะไม่ถูกต้องนัก


taktay เขียน:
ตอนนี้นั่งอย่างเดียวครั้งละครึ่งชั่วโมงค่ะ แค่วันละครั้ง ไม่ได้กำหนดเดินเลย


แนะนำว่า ให้แบ่งเวลาใหม่ เดินระยะที่ ๑ ก่อน (ขวาย่างหนอ , ซ้ายย่างหนอ) ประมาณ ๒๐ นาที
แล้วนั่ง ๑๐ นาที เวลาเปลี่ยนจากเดินมานั่ง ควรกำหนดตามช้าๆ สมาธิสติจะเสียไปมากเวลาทำไว
สมาธิเสียตรงอิริยาบทที่เปลี่ยน สติตามไม่ทันก็จะเสียตรงนี้ เดี๋ยวเวลาที่น้อยอยู่แล้วจะขาดทุนไป

taktay เขียน:
เมื่อก่อนนี้จะปวดเข่า ปวดขามากๆ ก็จะกำหนดไปที่ปวดว่า"ปวดหนอ ปวดหนอ"
จนกว่าจะหายแล้วแต่ แต่ละครั้งกว่าจะหายไม่เท่ากันค่ะ บางครั้งก็กำหนดประมาณสี่ห้าครั้งหาย แล้วก็จะ
กลับมาปวดอีก บางครั้งก็เกือบสิบครั้ง แล้วก็กลับมาอีก จนครั้งสุดท้ายนานมากแต่จำไม่ได้ค่ะว่ากีครั่ง
ดิฉันกำหนดจนมันหายไป แล้วหลังจากนั้นเวทนาไม่เกิดอีกเลย จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ เวลานั่งไม่มีเวทนา
แล้ว ถ้ามีบางทีก็แว่บเดียว ยังไม่ได้กำหนดเลย ก็หายไปเองค่ะ


เวทนาหายมีหลายอย่าง สติสมาธิดีกำหนดไม่ถึง ๓ ครั้งก็หาย ๔-๖ ครั้งก็หาย(ปานกลาง) อย่างแย่เลย
ก็จะมากกว่านี้ ตรงนี้ยังไม่ทราบเรื่องสติสมาธิคุณว่าอยู่ในระดับไหนแน่นอน เพราะยังไม่ได้สอบกันมาก
อย่างไรก็ตาม ผมจะรบกวนถามอีก บางครั้งสมาธิก็ข่มเวทนาได้ อยากรู้สติด้วยครับ
เวทนาที่ไม่ปรากฏเลย อาจเป็นได้ว่า ระยะนั่งน้อยไป เวทนาก็อาจยังไม่มี ที่จะปรากฏออกมาแล้วไม่เป็น
การทรมานร่างกาย น่าจะประมาณ ๑ ชั่วโมงนั่ง เรื่องเวทนานี้ ต้องปรากฏทุกคน พูดได้ว่า ใครไม่มี
เวทนาเลยในเวลาปฏิบัติ แสดงว่าปฏิบัติไม่ถูกแน่นอน เพราะเวทนาจะทำให้เห็นไตรลักษณ์ จะทำให้
เห็นอริยสัจ ผมเคยเจอที่แปลกๆมาบ้าง คือเวลาไม่ปฏิบัติ ปกติทุกอย่าง พอเริ่มเดินนั่ง จะเจ็บจะป่วย
จะเป็นโน่นเป็นนี้ ผู้ปฏิบัติก็ใจสู้ดี สู้ไม่ถอย ต่อมาผมเจอคำสอนของอาจารย์ ท่านบอกว่าเป็นลักษณะ
สภาวะธรรม คือ ออกมา แสดงออกมา เป็นลักษณะทุกข์จะให้เห็นจริง เรียกว่าสภาวะทุกข์ บางคนแค่
อึดอัด(จะมีบางช่วงในวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ) บางคนมากเลย แล้วแต่บุรพกรรม

เรียนอาจารย์ค่ะ คือครั้งสุดท้ายที่เกิดเวทนานั้น ปวดเข่า ปวดสะโพก
ปวดหลัง มากๆ ทุกครั้งจะทนไม่ไหว กำหนดแล้วเมื่อไม่หายก็จะขยับตัว แต่ครั้งนี้ไม่ยอมขยับ
นั่งภาวนาว่า "ปวดหนอ" ไปตรงที่เข่า เมื่อเข่าหายปวด ก็กำหนดที่สะโพก เมื่อหายก็ไปที่หลัง
จนสุดท้ายเหลือแต่ที่ขาและเข่าอย่างเดียวก็กำหนดไปเรื่อย จนมีความรู้สึกว่า "มือที่วางซ้อนทับกัน
และเท้าที่วางทันกันหนักจนเป็นเนื้อเดียวกัน เหมือนหิน มีความรู้สึกว่าเป็นสีขาวน้ำนม ก็กำหนดไป
เรื่อยๆ ก็หายปวดแต่ความรู้สึกที่หนักเหมือนหิน และเป็นสี่น้ำนมนั้นยังอยู่จนกระทั้งออกจากสมาธิ
ขยับตัวไม่ได้เลยค่ะ ชาไปหมด สักพักพอขยับตัวได้ ก็เป็นเหน็บ นี่แหละค่ะตั้งแต่วันนั้นมาก็ไม่มี
อาการของปวดเข่า ขา หลัง อีกเลย เดี๋ยวนี้พอนั่งไม่มีเวทนาเหล่านี้ แต่พอออกจากสมาธิจะ
ปวดค่ะ ต้องเปลี่ยนอริยาบทสักพักถึงจะหายค่ะ



taktay เขียน:
ฟุ้งที่ละเรื่องค่ะ เรื่องเก่าไปใหม่มา วนเวียนไปเรื่องนั้นบ้างนี่บ้าง กำหนด "ฟุ้งหนอ ฟุ้งหนอ" พอหายก็กลับมายุบหนอพองหนอ แป๊ปเดียวก็กลับไปเรื่องนั้นเรื่องนี้ใหม่ค่ะ


ไม่เป็นไร กำหนดตามที่รู้ ไม่ต้องบังคับหรืออยากให้หายไป กำหนดเพื่อรู้ เมื่อหายไป ก็กลับมาที่
มูลกรรมฐาน เมื่อมีอีก ก็ไปกำหนดอีก เมื่อสติสมาธิดีขึ้น จะไม่ค่อยมารบกวนเลย
ตามธรรมดาต้องเข้าใจครับ การปฏิบัติต้องพบทุกข์มากมาย ความไม่ชอบความชอบก็ต้องประสบมาก
ต้องอดทนทำตามแนววิธีการไป เพราะเราปฏิบัติเพื่อให้รู้ทุกข์ ถ้าเราหนี เราหนีไม่ได้ เราต้องหาทาง
รุ้และอยู่กับทุกข์ให้ได้ ต้องอดทน คุณมาถูกทางแล้ว บุญกุศลส่งดีแล้วให้รู้จักวิปัสสนาให้รู้จักสติปัฏฐาน
ตอนนี้ก็เหลือแค่ผู้ชีทางแนะนำเท่านั้นเอง ภพชาติสั้นลงเรื่อยๆแล้วครับ

สาธุค่ะอาจารย์


taktay เขียน:
เคยเดินถึงระยะสี่แล้วค่ะ แต่ไม่ได้เดินเลย ไม่สะดวกเรื่องสถานที่ค่ะ


ตอนนี้ลองเริ่มระยะที่ ๑ ก่อน ตามเวลาที่แนะนำไป ถ้าสถานที่แคบ เดินประมาณ ๒ เมตรพอได้
เท้าที่ก้าวไปวางไม่ต้องไกลมาก ให้ช่วงฝ่าเท้าก็ได้ หรือ เหลื่อมประมาณ ๑ ส่วน ๓ ของเท้าหลัง
ก็ได้ แต่ไม่ใช่เอาเท้าต่อกัน เดี๋ยวจะล้มทรงตัวไม่ดี เดินตามธรรมดา แต่เท้าก้าวแคบหน่อย การกำหนด
ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ให้ติดกัน ไม่ต้องเว้น ขวา...ย่าง....หนอ ระยะนี้จะช้ากว่าเดินปกติไม่มาก

เริ่มระยะสามเลยได้ไหมค่ะ? ตามที่เรียนข้างต้น

taktay เขียน:
นั่งก็กำหนดขั้นเบสิคอยู่ค่ะ คือยังตามลมหายใจไม่ทัน ได้แต่รู้พองหนอ ยุบหนอที่
ท้อง จะรู้แบบสม่ำเสมอคือสักประมาณไม่เกินห้าครั้ง จะชัดค่ะ แล้วจะค่อยๆหายไป เนื่องจากฟุ้ง ที่ว่าชัด
คือหมายความว่าลมหายใจเข้าที่จมูกแล้วไปรู้สึกที่ท้องเลย หายใจออกก็มารู้สึกที่ปลายจมูกเลย ระหว่าง
ทางจากปลายจมูกผ่านเข้ามาที่อกแล้วลงไปที่ท้อง ตามไม่ทันค่ะ


ข้อนี้ขอให้เปลี่ยนได้ไหมครับ
ไม่ต้องตามลมหายใจ ใส่ใจอยู่ที่อาการพองยุบเท่านั้น(ลองทำก่อน ถ้าไม่ได้ มีวิธีแก้) ท้องพอง
กำหนดพองหนอ ท้องยุบกำหนดยุบหนอ สติจับที่อาการ ถ้าใส่หนอไม่ได้ พองกับยุบก่อนก็ได้
เมื่อสติสมาธิได้ส่วน จะใส่ได้เอง ถ้าฟุ้งหรือเผลอคิด กำหนดตามไป คิดหนอ หรือฟุ้งหนอ ตามลักษณะ
อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่าปนกัน อย่าสลับไปสลับมา กำหนดตามอายตนะ( ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส)
ต่างๆด้วยครับ อันไหนชัดเจน กำหนดอันนั้น เมื่อหายไปหรือหมดไป กลับมาที่มูลกรรมฐาน
กรณีพองยุบหายไป หรือหาไม่เจอ กำหนด นั่งหนอ สติรู้สภาวะกายที่ตั้งอยู่ ๒ ครั้ง แล้วกำหนด ถูกหนอ
ที่เท้าหรือตาตุ่มที่สัมผัสพื้นอยู่ ๒ ครั้ง จากนั้นกำหนด นั่งหนอเช่นเดิม แล้วกำหนดถูกหนอ สติรู้ที่ก้น
ที่นั่งสัมผัสพื้นอีก ๒ ครั้ง สลับแบบนี้วนกันไป หรือกำหนดถูกหนอ สติจับตรงที่มีการสัมผัสกัน เช่น
มือที่วางซ้อนกันก็ได้ หรือลิ้นที่สัมผัสอยู่ในปากก็ได้ ไม่นานครับ เดี๋ยวพองยุบก็มาให้เห็นเอง


จะทำตามคำแนะนำที่อาจารย์กรุณาชี้แจงนะค่ะ

taktay เขียน:
เวลานั่งก็จะเห็นตัวเองในอริยบถที่นั่งอยุ่ ถ้าสามารถกำหนดยุบหนอ พองหนอได้
ถึงห้าครั้ง จะมีความรู้สึกว่า "สุข" "สงบ"ค่ะ พอมีรู้ว่า "สุข" "สงบ" ปุ๊ปความรู้สึกจะออกจากสมาธิทันที
ค่ะ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร?


เป็นสุขอำนาจของสมาธิ แสดงออกมา ๒ นัย ๑.สมาธิีดี ความกระวนกระวายก็หายไป ๒.สมาธิดีขึ้น
อีกความอิ่มใจพอใจก็เกิด เพราะผลมาจากข้อแรก ตามที่คุณถามมาน่าจะเข้าข้อที่ ๑ เพราะแค่แว่บ
คิด หายเลย แสดงว่าสมาธิยังไม่ทรงตัวอยู่นาน

ต้องอดทนครับ คนจะพ้นทุกข์ด้วยความเพียรนิดหน่อยไม่มีมี ต้องพยายาม
คนที่ประสบความสำเร็จทางนี้ ท่านผ่านมามาก ทุกข์ยากมามาก แล้วผลที่ได้
คือความสุข มากกว่าที่เราต้องทนอยู่ในเวลานี้อีก

ค่ะ จะพยายามทำตามคำแนะนำให้มากที่สุด

ถ้ายังมีข้อสงสัย ให้ถามได้ ถ้าไม่แน่ใจคำตอบ หาคำตอบที่อื่นลองก่อนได้ครับ
ที่สำคัญ สงสัยให้ถามทันที ผมจะแวะมาดูบ่อยๆ สงสัยอันตรายมาก ช้าตรงนี้กัน
ก็เยอะไป
ถ้าไม่ได้ลองทำแบบอื่น ทำตามที่แนะนำไปก่อนซัก 2-3 วัน แล้วลองมาตอบปัญหาผม
ก็จะรู้ได้ว่า ถูกทางแน่หรือยัง

อนุโมทนาครับ อย่าได้เกรงใจเลย


กราบขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ จะปฏิบัติแบบจริงๆสักที
คำแนะนำของอาจารย์เข้าใจง่ายค่ะ เป็นคนปัญญาค่อนข้างทึบเข้าใจอะไรได้ยากและที่สำคัญหัวดื้อ
ด้วย แต่จะพยายามทำตามคำชี้แจงของอาจารย์ให้มากที่สุด ได้ผลเป็นเช่นไร?จะเรียนให้อาจารย์
ทราบเป็นขั้นๆไปนะค่ะ ถ้ามีปัญหาอีกก็จะขอรบกวนอาจารย์อีกนะค่ะ ขอให้กุศลผลบุญนี้จงเป็น
ผลวะปัจจัยให้อาจารย์ มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในอนาคตกาลเบื้อง
หน้าโน้นเทอญ

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


-อยากบอกเพิ่มว่า ควรหายใจยาวๆจนถึงท้องด้วย เป็นอีกเทคนิคนึงที่อย่ามองข้าม จะทำให้จิตมี
กำลัง(สมาธิ)และเกิดสติต่อเนื่องได้ง่ายด้วย ถ้าให้ดีถ้าจะทำสมาธิครึ่งชม. ก้ควรนั่ง15 เดินขวาย่าง
ซ้ายย่าง 15 นาที แต่จริงๆน้อยไป คุณกามโภคีบอกเดิน20แล้วค่อยมานั่งอีก10รวม=30 ก็ถือว่าดีครับ แต่ถ้าให้ดีจริงๆก้ควรนั่งให้ได้ตามที่เดินคือนั่ง20 เดินก้ต้อง 20 นาทีด้วยเหมือนกัน นี่แหละ ความสมดุลของวิปัสสนากรรมฐาน(บุญอานิสงส์)จะเกิดขึ้นก็ตรงนี้แหละ(ถ้าทำได้จะเห็นว่ากำลังของสมาธิและสติที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันและเท่ากันนั้นเป็นอย่างไร) :b39: :b40:[/quote]

เรียนคุณอินทรีย์5ค่ะ เคยทำแล้วค่ะลองหายใจยาวๆ เพราะคิดว่าน่าจะ
จับอารมณ์ได้ง่ายกว่า แต่ปรากฎว่าทำได้สักสองสามครั้ง ก็อึดอัด หายใจไม่ค่อยออก และตามด้วย
ปวดหัวค่ะ
จะพยายามเดินและนั่งให้สมดุลย์กันนะค่ะ พอจะจัดสรรเวลาตามที่ต้องการได้ แต่จะได้เวลาที่
ไม่ค่อยสม่ำเสมอค่ะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ อนุโมทนา ขอให้เจริญในธรรมนะค่ะ

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมไม่รุ้ว่าคุณ taktay จะเข้ามาอ่านอีกวันไหน แต่ต้องโพสตอบทิ้งไว้ก่อน เพื่อ
ให้คุณได้ปรับปรุงบางอย่างเพื่อให้ถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติ ผมเชื่อว่า ถ้าใครก็ตาม
ได้ปฏิบัติตามวิธีการอันถูกต้องแล้ว ไม่ติดด้วยสภาวะที่ห้ามมรรคผล ไม่ช้าต้องเห็น
ความจริงอะไรบ้างละ

taktay เขียน:
สวัสดีค่ะอาจารย์ ขออนุญาตเรียกคำนี้และขอสมัครเป็นศิษย์นะค่ะ


แหม๋ ก็นะ อย่าเรียกอาจารย์เลย เอาเป็นว่า เป็นเพื่อร่วมชะตาเดียวกัน กำลังแสวงหาทางหลุด
พ้นเช่นกัน เป็นกัลยาณมิตรตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีกว่า เอาเป็นว่า เป็นเพื่อนกัน แนะนำกัน
คุณติดตรงไหน ผมแนะได้ก็จะแนะไป ในกรณีที่ผมแนะไม่ได้ ผมจะต่อสายตรงถึงวิปัสสนาจารย์
ที่ท่านแนะนำผมอยู่ให้

taktay เขียน:
อ่านคำแนะนำของอาจารย์แล้วเข้าใจมากขึ้น และเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ เมื่อคืนนี้หลังจากอ่านคำ
แนะนำของอาจารย์แล้ว ก็เลยเดินจงกรม โดยเริ่มระยะสาม ถอยหลังลงมาจากเดิมหนึ่งระยะ
กำหนด ขวาหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ขณะที่ขวาหนอก็จับอยู่ที่เท้าขวา ย่างหนอก็จับ
ไปที่เท้าขณะก้าวออกไป เหยียบหนอก็จับที่เท้าขณะแต๊ะพื้น" ก็จับได้บ้างไม่ได้บ้าง ฟุ้งก็หยุด
กำหนด "คิดหนอ" บ้าง "ฟุ้งหนอ"บ้าง


การกำหนดในระยะที่ ๓ ตามที่คุณบอกมา ดูเหมือนว่าไม่ตรงตามวิธีปฏิบัติ
และไม่ตรงกับสภาวะนัก ไม่เป็นไร แก้ไขใหม่ตามหลัก "คนดีชอบแก้ไข"ผมจะอธิบายย่อๆไว้
ลองไปเปลี่ยนใหม่นะครับ

การกำหนดเดินจงกรมระยะที่ ๓ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ

ขณะยกเท้าขวาขึ้น(ช้าๆ) กำหนดพร้อมกับอาการยกของเท้าว่า ยก เมื่อสุดการยกแล้วกำหนดว่า หนอ
การรู้นั้น รู้อาการเคลื่อนไหวของเท้าจากเบื่องล่างสู่เบื้องบน
ขณะที่เท้าเคลื่อนไปข้างหน้า กำหนดพร้อมกับอาการที่เท้าเคลื่อนไปว่า ย่าง เมื่อสุดการย่าง ให้กำหนด
ว่า หนอ
การรู้นั้น รู้อาการของเท้าที่เคลื่อนจากเบื้องหลังไปเบื้องหน้า
ขณะที่เท้าเคลื่อนลงสู่พื้น กำหรดพร้อมกับอาการเคลื่อนของเท้าว่า เหยียบ เมื่อสุดอาการเหยียบ ให้
กำหนดว่า หนอ
การรู้นั้น ให้รู้อาการเคลื่อนของเท้าจากเบื้องบนสู่เบื่องล่าง
การเหยียบนั้น ให้เยียบให้เต็มทั้งฝ่าเท้าพร้อมกัน
ทั้ง ๒ เท้า ให้ใช้วิธีนี้เหมือนกัน


ลองเปลี่ยนตามนี้ดูครับ เวลาปฏิบัติจริง อย่าเพ่งเพื่อให้ใจอยู่กับเท้ามากนัก สบายๆก่อน
การเพ่งหรือบังคับเพื่อให้จิตอยู่กับเท้าไม่เกิดประโยชน์ มีแต่โทษ อาจปวดหัว มึนหัว คลื่นไส้ได้
ให้รู้อาการตามที่บอกให้รู้แบบธรรมดาสบายๆ เพราะถ้าสมาธิแข็งแรงขึ้น สติแข็งแรงขึ้น จะชัดเอง
และจะรู้สึกง่าย สมาธิจะช่วยให้จิตไม่สัดส่ายออกนอกกรรมฐานเอง อย่าบังคับ จะฝืนหลักอนัตตาไป


taktay เขียน:
ทำได้สิบห้านาทีค่ะ มีความรู้สึกว่าแป๊ปเดียวเอง
ขณะที่ทำไม่มีอาการอย่างอื่นนอกจากคิดเรื่องนั้นบ้าง เรื่องนี้บ้าง ไม่ทุรนทุราย ไม่ร้อน ไม่หนาว
มีแต่คิดแว่บออกไปอย่างเดียวค่ะ
แล้วก็ลงนั้งได้ยี่สิบห้านาที มีความรุ้สึกว่าอาการ พอง ยุบ ชัดเจนขึ้น และนานขึ้น สักประมาณ
ห้าหกครั้ง ถึงฟุ้งอีก ก็กำหนด "คิดหนอ" จนหายแล้วก็กลับมา พอง ยุบต่อไป มีความรู้สึกว่าดีขึ้น
แต่ก็ยังฟุ้งอยุ่ หลังๆจะมีความรู้สึกว่าถึงแม้จะคิดเรื่องอื่น แต่อาการพอง ยุบ ก็ยังรู้ เพียงแต่
เบาลง ไม่ค่อยชัดเจน และไม่หายไปเหมือนเมื่อก่อนค่ะ


ดีครับ อนุโมทนาที่ไม่มีสภาวะทุกข์อย่างอื่นแทรก การที่มีอาการแทก เช่น ทุรนทุรายนั้น ส่วนมากมา
จากสาเหตุ ๒ อย่างคือ สภาวะวิปัสสนาปรากฏ และ สภาวะการวางจิตที่ไม่ถูกต้องตามวิธีปฏิบัติ
ผมขอเพิ่มข้อการกำหนดให้อีกอย่างนะครับ
ในระหว่างการปฏิบัติ ไม่ว่าสภาวะใดเกิดขึ้น ในกรณีคุณรู้สึกว่าพองยุบปรากฏดี ถ้าชอบ หรือ พอใจ
กำหนดรู้ที่ความรู้สึกชอบหรือพอใจนั้นว่า ชอบหนอ หรือ พอใจหนอ จนกว่าจะหาย แล้วกลับไปที่
รู้อาการท้องที่พองยุบตามเดิม แท้จริงเราต้องรู้และไม่ปรุงแต่งในทุกอารมณ์ครับ เมื่อชอบหรือพอใจ
ก็รู้ว่าชอบหรือพอใจเท่านั้นครับ

อาการพองยุบที่ปรากฏชัดนั้น มีตัวช่วยคือ สมาธิ
การที่คุณจะเห็นหรือรู้อาการพองยุบง่าย มีตัวช่วยคือสติ
ฉนั้น สติ สมาธิ ต้องแข็งแรงก่อน เมื่อตรงนี้แข็งแรงแล้ว จะได้เพิ่ม อาตาปี หรือ วิริยะในการส่องสภาวะ
ต่อไป และถ้าถึงตอนนั้น ไตรลักษณ์จะปรากฏให้เห็น แม้ไม่ต้องอ่านหนังสือ คุณจะเห็นเหมือนเห็นด้วย
ตาเลย

taktay เขียน:
เริ่มระยะสามเลยได้ไหมค่ะ? ตามที่เรียนข้างต้น


แท้จริงต้องไปตามลำดับ แต่ ถ้าประสงค์จะเดินระยะ ๓ ก็อนุโลมได้ ถ้ามีข้อผิดพลาดไปค่อยตาม
แก้ก็ได้ ระยะนี้ยังไม่เน้นเท่าไร ยังอยู่ในเขตสมถะบางส่วน ถ้าเข้าเขตวิปัสสนาญาณทั้งหมด คงต้อง
ไปตามที่กำหนด ทำระยะ ๓ ไปก่อนก็ได้ โดยลองเพิ่มไปดังนี้

ให้ใส่ใจอาการท้องที่กำลังค่อยๆพองขึ้น และระหว่างพอง และกำลังสุดพอง
ข้อนี้ไม่ต้องพยายาม ให้ลองใส่ใจดู เหมือนเราดูพองยุบนั่นละ แต่ว่า เราสนใจอาการที่กำลังค่อยๆ
พองด้วย อย่าฝืนมากไป ถ้าไม่ได้ ให้หยุด ทำเหมือนเดิมก่อน

ในเวลาปกติที่ไม่ได้ปฏิบัติ จะหยิบจะจับอะไร ลองเอาสติกำหนดตามครับ เช่นดื่มน้ำ ก็กำหนด
ยกหนอ รินหนอ ดื่มหนอเป็นต้น ช้าๆ เวลายกมาดื่มก็ มาหนอๆๆ สติตามมือที่กำลังเคลื่อนมาหาปาก
ลองเพิ่มแบบนี้ไป ช่วยให้สติสมาธิแข็งแรงเร็วขึ้น กล่าวกันว่า ช่วยให้การปฏิบัติอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง
ของเราดีขึ้นมาก เรียกว่าทำอิริยาบทย่อยให้มีสตินั่นเอง

แท้จริงแล้ว ถึงตอนนี้ควรที่จะต้องส่งอารมณ์เพื่อดู วิริยเจตสิกและปัญญา ด้วย แต่ เอาไว้ลองระยะ ๓
ที่คุณเดินอยู่ซัก ๒-๓ วันก่อนก็ได้

taktay เขียน:
กราบขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ จะปฏิบัติแบบจริงๆสักที
คำแนะนำของอาจารย์เข้าใจง่ายค่ะ เป็นคนปัญญาค่อนข้างทึบเข้าใจอะไรได้ยากและที่สำคัญหัวดื้อ
ด้วย แต่จะพยายามทำตามคำชี้แจงของอาจารย์ให้มากที่สุด ได้ผลเป็นเช่นไร?จะเรียนให้อาจารย์
ทราบเป็นขั้นๆไปนะค่ะ ถ้ามีปัญหาอีกก็จะขอรบกวนอาจารย์อีกนะค่ะ ขอให้กุศลผลบุญนี้จงเป็น
ผลวะปัจจัยให้อาจารย์ มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในอนาคตกาลเบื้อง
หน้าโน้นเทอญ


คนมีปัญญาน้อย แก้ไม่ยากเท่าคนดื้อ คนดื้อถ้ายอมเหตุผลก็ไม่ถือว่าดื้อ เพียงแต่เขาอาจมีปัญญามาก
รู้มาก ต้องมีเหตุผลกับคนแบบนี้ ไม่งั้นเขาจะดื้อ


สาธุกับพรที่ให้ ชอบท่อนสุดท้ายอันเดียว แต่ก็ขอบคุณในทุกข้อที่เป็นพร
อนุโมทนาครับ ตั้งใจให้จริง มีเวลาให้วิปัสสนา ไม่นาน ความจริงของรูปนามปรากฏ
ให้รู้เห็น เมื่อนั้น เรามีค่ามากกว่าคนที่อยู่ตั้ง ๑๐๐ ปีโดยที่ไม่ประจักษ์เรื่องความจริง
ของไตรลักษณ์เลย
อย่าเพิ่งท้อ พยายามให้ถึงสภาวะของไตรลักษณ์ปรากฏก่อน เมื่อนั้น คุณจะขยันทำเองแบบ
ไม่ต้องทนต้องท้อเลย ถ้าสภาวะใดเกินที่ผมจะแนะได้ ผมมีครูอาจารย์ที่จะส่งต่อไป
อนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมพระบาทด้วยเศียรเกล้า ถวายปฏิบัติธรรมและเผยแพร่ธรรมเป็นพุทธบูชา

many-buddhas.jpg
many-buddhas.jpg [ 23.31 KiB | เปิดดู 7679 ครั้ง ]
เรียนท่านกามโภคี ก่อนอื่นต้องยินดีมากที่ได้มีโอกาศอนุโมทนากุศลที่พี่ได้เผยแพร่ธรรมเพื่อสาธุชนทั้งหลายครับ สาธุ:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:


ครับการปฏิบัติธรรมแบบ ยุบหนอพองนั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ดีมาก
การกำหนดพองยุบ ผมมีโอกาศไปปฏิบัติที่วัด อัมพวันมาและทุกวันนี้ยังปฏิบัติต่อเนื่องอยู่เสมอ

การกำหนด ยุบหนอ พองหนอ นั้นต้องนั่งและเดินจงกรมด้วย เพื่อที่เวลานั่งนานๆจะได้มีเวทนาน้อยและจะทำให้ผู้ปฏิบัติเองมีสติตามรู้ อิริยาบทได้ดีทุกครั้งที่กำหนดครับ การกำหนด ยุบหนอ พองหนอ คือ
เอาสติมาจับที่สะดือที่ทอ้ง แล้วกำหนดที่ท้อง ว่า พอง ยุบ เวลาหายใจเข้าท้อง ก็ กำหนด ว่า พอง หนอ ยาวจนกว่าจะสุด ลมหายใจของผู้ปฏิบัติเองครับ เอาจิตของผู้ปฏิบัติมองไปที่ท้องที่พองต้องให้ทันกันอย่าให้ก่อนหรือหลัง หายใจ ออกท้องต้อง ยุบ กำหนดว่า ยุบหนอ แล้วเอาจิตไปอยู่ที่ท้องที่ยุบต้องทันกัน ข้อสำคัญให้ สติ จับอยู่ที่ พองยุบ เท่านั้น อย่าดูลมที่ จมูก อย่าเกร็งท้อง ให้ความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า ท้องพองไปข้างหน้า ท้องยุบมาข้างหลัง อย่าให้เห็นว่า ท้องพองขึ้นข้างบน ท้องยุบลงข้างล่าง ให้กำหนดเช่นนี้ตลอดไป จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนดไว้ครับ
เมื่อมีเวทนา เวทนาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด จะต้องบังเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติแน่นอน จะต้องมีความอดทน เพื่อเป็นการสร้างขันติบารมีด้วย ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความอดทนเสียแล้ว การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นก็ล้มเหลว ในขณะที่นั่งหรือเดินจงกรมอยู่นั้น ถ้ามีเวทนา ความเจ็บ ปวด เมื่อย คัน เกิดขึ้น ให้หยุดเดิน
หรือ กำหนด พองยุบ ให้เอาสติไปตั้งไว้ ที่เวทนาเกิด และกำหนดไปตามความเป็นจริงว่า ปวดหนอๆๆ
เจ็บหนอๆๆ เมื่อยหนอๆ คันหนอๆๆ เป็นต้นให้กำหนดไปเรื่อยๆ จนกว่าเวทนาจะหายไป เมื่อเวทนาหายไปแล้ว ก็ให้ กำหนดนั่งหรือเดินต่อไป จิต เวลานั่งหรือเดินอยู่ ถ้าจิตคิดถึงบ้าน คิดถึงทรัพย์สิน หรือคิดฟุ้งซ่าน ต่างๆนานาๆ ก็ให้เอาสติปักลงที่ ลิ้นปี่ พร้อมกับกำหนดว่า คิดหนอๆๆๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตจะหยุดคิด แม้ดีใจ เสียใจ หรือโกรธ ก็กำหนด เช่นเดียวกันว่า ดีใจหนอๆๆ เสียใจหนอๆๆๆ โกรธ หนอๆๆๆเป็นต้น เวลานอน เวลานอน ค่อยๆเอนตัวนอนพร้อมกับ กำหนดตามไปว่า นอนหนอๆๆๆจนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้นให้เอาสติจับอยู่กับอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อนอนเรียบร้อยแล้วให้เอาสติมาจับ ที่ท้องแล้วกำหนดว่า พองหนอ ยุบหนอ ต่อไปเรื่อยๆ ให้คอยสังเกตให้ดีว่า จะหลับตอน พอง หรือ ยุบ
อริยาบถต่างๆ การเดินไปที่ต่างๆการเข้า ห้องน้ำ การเข้าห้องส้วม การรับประทานอาหาร และการ กระทำกิจการงานทั้งปวง ผู้ปฏิบัติต้องมีสติกำหนดอยู่ทุก ขณะ มนอาการเหล่านี้ตามความเป็นจริง คือ
สัมปชัญญะ เป็นปัจจุบันอยูตลอดเวลาครับ

:b8: นั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ สามสิบนาที หรือ สิบนาที มีประโยชน์มหามงคล :b8:
1. อานิสงส์ เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า
2. เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจากกิเลส ปล่อยวางได้ง่าย
3. จิตจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ
4. ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน
5. ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรง
6. เจ้ากรรมนายเวรและญาติมิตรที่ล่วงลับจะได้กุศล

ครับขอแสดงความคิดเห็นด้วยความเคารพครับ พระธรรมนี้เป็นสิ่งที่ครูอาจารย์ของข้าพเจ้าได้แนะนำให้ปฏิบัติเพื่อเป็นมงคลชีวิตในขณะที่ได้เกิดมาในโลกนี้ การปฎิบัติกรรมฐานก็เพื่อชีวิตที่ดีในการครองเรือนของ ท่านกัลญาณมิตรทุกๆท่านครับ เพราะการเกิดของเรามีเวลาน้อยมากที่จะอยู่ในโลกใบนี้การบำเพ็ญเพียรก็เพื่อ หนี จาก การเกิด แก่ เจ็บตาย เพื่อให้ บรรลุถึง นิพพาน คือ บรมสุขอย่างยิ่ง หนอ

ขอทุกท่านพึงเจริญสุขเจริญธรรมและเป็น มหาเศรษฐีทั้งทางโลกและทางธรรมเถิด

:b42: เทพบุตร :b44:

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียนอาจารย์กามโภคีค่ะ
เมื่อกี้มีเวลาก็เลยลองปฏิบัติตามที่อาจารย์แนะนะ คือเดินยี่สิบนาที
แต่เดินระยะสาม "ขวาหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ" นะค่ะ ก็เดินช้าๆ
เอาจิตจับอยู่ที่เท้าตามที่อาจารย์บอก พอกลางๆทาง ขวาหนอทันตามอาการ
ขยับเท้าขวา พอเท้าแต๊ะพื้นก็จะเหยียบหนอ แต่ย่างหนอจะหายไปเป็นส่วนมาก
หมายความว่าจะรับรู้ตอนต้นกับปลาย ตอนกลางจะแว่บหายไปหลายครั้งเหมือนกัน
เวลาได้ยินเสียงก็จะหยุด และกำหนด"หยุดหนอ" แล้วต่อด้วย "เสียงหนอ" ถึงจะเดินต่อ
ค่ะ ก่อนจะเดินต่อก็จะกำหนด"ยืนหนอ" แล้วรู้ที่เท้าสัมผัสกับพื้น
ทำไปจนจะครบยี่สิบนาที กำลังกำหนด"หยุดหนอ" ก็เห็นพื้นนู้นขึ้นมาเป็นภูเขา
เล็กๆ (ไม่ทราบว่าเป็นเพราะแสงสว่างไม่พอหรือเปล่า?ก็ไม่ทราบ) ก็กำหนด "เห็นหนอ"
หลายครั้งก็ไม่หาย จนต้องหลับตากำหนดต่อสักสองสามครั้ง พอลืมตา ภาพก็หายไปค่ะ
แล้วก็ไปนั่งต่ออีกสิบนาทีตามที่อาจารย์ให้การบ้านมา ครั้งนี้หายใจยาวเองค่ะไม่ได้
บังคับ แต่รุ้ว่าลมหายใจเข้ายาว และออกก็ยาว รู้พอง ยุบอยู่ที่หน้าอก ชัดเจนมาก แต่
กลางทางก็แว่บฟุ้งอีกแล้วค่ะ แต่ขณะที่คิดเรื่องอื่นจิตก็รู้นะค่ะว่าออกไปข้างนอกอีกแล้วและ
ก็ออกตอนพองหนอ เห็นชัดมากค่ะว่าออกตอนพองหนอ ก็กำหนดตามที่อาจารย์บอกคือ
"คิดหนอ" สักสองสามครั้ง แล้วก็กลับมา "ถูกหนอ" รู้ว่าตาตุ่มสัมผัสพื้น สองครั้งแล้วก็น
"นั่งหนอ" ก้นสัมผัสพื้น สองครั้ง แล้วก็กลับไปพองหนออีก พอครบสิบนาทีก็ออกจากสมาธิ
เองโดยไม่ได้ตั้งเวลาไว้ กะเอง และก็ได้เวลาตามนั้นค่ะ
เรียนมาให้อาจารย์ทราบค่ะ จะต้องทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆใช่ไหมค่ะ?
หรือมีอะไรจะให้ทำเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า? รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ ขอให้เจริญในธรรมค่ะ

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="ภัทร์ไพบูลย์".]ครับการปฏิบัติธรรมแบบ ยุบหนอพองนั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ดีมาก
การกำหนดพองยุบ ผมมีโอกาศไปปฏิบัติที่วัด อัมพวันมาและทุกวันนี้ยังปฏิบัติต่อเนื่องอยู่เสมอ

การกำหนด ยุบหนอ พองหนอ นั้นต้องนั่งและเดินจงกรมด้วย เพื่อที่เวลานั่งนานๆจะได้มีเวทนาน้อยและจะทำให้ผู้ปฏิบัติเองมีสติตามรู้ อิริยาบทได้ดีทุกครั้งที่กำหนดครับ การกำหนด ยุบหนอ พองหนอ คือ
เอาสติมาจับที่สะดือที่ทอ้ง แล้วกำหนดที่ท้อง ว่า พอง ยุบ เวลาหายใจเข้าท้อง ก็ กำหนด ว่า พอง หนอ ยาวจนกว่าจะสุด ลมหายใจของผู้ปฏิบัติเองครับ เอาจิตของผู้ปฏิบัติมองไปที่ท้องที่พองต้องให้ทันกันอย่าให้ก่อนหรือหลัง หายใจ ออกท้องต้อง ยุบ กำหนดว่า ยุบหนอ แล้วเอาจิตไปอยู่ที่ท้องที่ยุบต้องทันกัน
[/quote] :b16:

หวัดดีครับคุณศิษย์หลวงพ่อ พูดมาได้สมกับไปปฏิบัติมาเลยนะครับ :b40:
ผมอยากจะบอกเพิ่ม(2)ก็คือ นั่งและเดินอย่างละเท่าๆกันมี 3 step นะ คือ step1เดิน1 นั่ง 1
step2 เดิน2 นั่ง2 step3 เดิน 3 นั่ง3 (หน่วยเวลาเป็นชม.) จะนั่งในท่าสมาธิ2 ชั้นหรือขัดสมาธิ
เพชรก็ได้ เน้นการปักจิตเบาๆลงไปที่กายเป็นส่วนใหญ่ เช่นที่ท้อง(ดูพองยุบ:พองไปข้างหน้า-ยุบมาข้างหลังในทิศแนวราบ) ที่ลิ้นปี่(มีอารมณ์อื่นๆมาแทรกหรือมีปลิโพธิทั้งหลายเกิดขึ้น) ที่จุดปวดหนักๆ(ก็ปวดขา ปวดเข่ามากๆเป็นต้น กำหนดปวดจนหมดเวลาที่กำหนดไว้) :b16:

ปล.. และอย่าลืมยืนหนอ 5 ครั้ง ยืนหนอนี้เป็นท่าที่สติกับจิตบวกเข้าด้วยกันได้ดีที่สุด
k taktay สามารถฝึกการหายใจยาวๆ(คำบริกรรมก็ต้องลากเสียงยาวด้วย ยืนยาวๆ แล้วหนอยาวๆ ด้วย)ได้จากการยืนหนอนี้(หายใจและดูภาพการยืนในลักษณะบนลงล่าง แล้วล่างขึ้นบน เป็นลำดับ ดูในทิศแนวตั้ง (แต่ถ้าหายใจยาวๆติดขัดอยู่ก็ทำแบบที่ถนัดไปก่อนแระกัน :b32: )
:b39: :b39:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัทร์ไพบูลย์ เขียน:
เรียนท่านกามโภคี ก่อนอื่นต้องยินดีมากที่ได้มีโอกาศอนุโมทนากุศลที่พี่ได้เผยแพร่ธรรมเพื่อสาธุชนทั้งหลายครับ สาธุ:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:
เพราะการเกิดของเรามีเวลาน้อยมากที่จะอยู่ในโลกใบนี้การบำเพ็ญเพียรก็เพื่อ หนี จาก การเกิด แก่ เจ็บตาย เพื่อให้ บรรลุถึง นิพพาน คือ บรมสุขอย่างยิ่ง หนอ
ขอทุกท่านพึงเจริญสุขเจริญธรรมและเป็น มหาเศรษฐีทั้งทางโลกและทางธรรมเถิด

:b42: เทพบุตร :b44:


อนุโมทนาครับ ศิษย์สำนักเดียวกัน ผมเคยปฏิบัติกับหลวงพ่อจรัญตั้งแต่สมัยท่านยังไม่แก่มาก
ตอนนั้นท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอ ท่านเก่งมาก จริงจัง พูดเสียงดังฟังชัดมากครับ นึกถึงท่านทีไร
ผมขนลุกทุกที

ที่ผมทำตัวแดงๆไว้ ตรงนั้น ผมประทับใจครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


taktay เขียน:
เรียนอาจารย์กามโภคีค่ะ
เมื่อกี้มีเวลาก็เลยลองปฏิบัติตามที่อาจารย์แนะนะ คือเดินยี่สิบนาที
แต่เดินระยะสาม "ขวาหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ" นะค่ะ


ตรงที่ขีดเส้นไว้ หวังว่าคุณคงอ่านเจอที่ผมแนะนำแล้วว่าต้องแก้ไขคำกำหนดอย่างไร
taktay เขียน:
เวลาได้ยินเสียงก็จะหยุด และกำหนด"หยุดหนอ" แล้วต่อด้วย "เสียงหนอ"
ถึงจะเดินต่อค่ะ ก่อนจะเดินต่อก็จะกำหนด"ยืนหนอ" แล้วรู้ที่เท้าสัมผัสกับพื้น


เวลาได้ยินเสียง กำหนด ยินหนอ ๆ สติอยู่ที่เสียงที่ได้ยิน กำหนดจนเสียงหายไป ถ้านานกว่า ๖ ครั้ง
ให้ทิ้งเลย กลับมาที่กรรมฐาน ไม่ต้องกำหนด เสียงหนอๆ จะเป็นการเพิ่มบัญญัติให้เรามากไป
ดีแล้วครับที่กำหนดยืนหนอ ผมก็ใช้อยู่ เป็นอิริยาบทที่เราไม่ค่อยกำหนดมากเลย ตรงนี้เอาสติรู้
สภาวะที่กายตั้งอยู่นะครับ อย่าเผลอจินตนาการเป้นรูปร่างล่ะ จะเป็นสัณฐานบัญยัติอีก ไม่ดี

taktay เขียน:
ทำไปจนจะครบยี่สิบนาที กำลังกำหนด"หยุดหนอ" ก็เห็นพื้นนู้นขึ้นมาเป็นภูเขา
เล็กๆ (ไม่ทราบว่าเป็นเพราะแสงสว่างไม่พอหรือเปล่า?ก็ไม่ทราบ) ก็กำหนด "เห็นหนอ"
หลายครั้งก็ไม่หาย จนต้องหลับตากำหนดต่อสักสองสามครั้ง พอลืมตา ภาพก็หายไปค่ะ


ตัดความสงสัยว่าเพราะอะไรจึงเห็นเช่นนั้น ตอนนั้นถ้าเราสงสัย คือเราเผลอคิดแล้ว กำหนดตามที่เรา
เห็น ไม่ต้องหลับตาหนี ถ้าเกิน ๖ ครั้งไม่หาย กลับมาที่กรรมฐานเดิมต่อไปได้เลย

taktay เขียน:
แล้วก็ไปนั่งต่ออีกสิบนาทีตามที่อาจารย์ให้การบ้านมา ครั้งนี้หายใจยาวเองค่ะไม่ได้บังคับ แต่รุ้ว่าลมหายใจเข้ายาว และออกก็ยาว รู้พอง ยุบอยู่ที่หน้าอก ชัดเจนมาก


ดูที่อาการพองยุบของท้องเท่านั้นครับ อย่าใส่ใจลมหายใจ สมาธิเริ่มดีขึ้นมาแล้วครับ

taktay เขียน:
แต่กลางทางก็แว่บฟุ้งอีกแล้วค่ะ แต่ขณะที่คิดเรื่องอื่นจิตก็รู้นะค่ะว่าออกไปข้างนอกอีกแล้วและก็ออกตอนพองหนอ เห็นชัดมากค่ะว่าออกตอนพองหนอ ก็กำหนดตามที่อาจารย์บอกคือ"คิดหนอ" สักสองสามครั้ง แล้วก็กลับมา "ถูกหนอ" รู้ว่าตาตุ่มสัมผัสพื้น สองครั้งแล้วก็น
"นั่งหนอ" ก้นสัมผัสพื้น สองครั้ง แล้วก็กลับไปพองหนออีก
พอครบสิบนาทีก็ออกจากสมาธิ
เองโดยไม่ได้ตั้งเวลาไว้ กะเอง และก็ได้เวลาตามนั้นค่ะ


สติดีขึ้นอย่างชัดเจน
ตรงที่ผมขีดไว้ ใช้ในกรณีที่พองยุบหายไปหรือเบาไปจนไม่ชัดเจน ถ้ากรณีชัดเจนอยู่ ให้กำหนดที่พอง
ยุบ โดยใส่ใจหรือสังเกตอาการตั้งแต่เริ่มพอง ขณะพอง และสุดพอง เวลายุบก็เช่นเดียวกัน ใส่ใจสังเกต
ตั้งแต่เริ่มยุบ ขณะยุบ และสุดยุบ พร้อมกับบริกรรมพองยุบตามความเป็นจริงทั้งนี้ไม่ต้องจดจ้องเฝ้า
อาการมากเกินไป ค่อยๆฝึกครับ จดจ้องมากจะมีโทษเปล่าๆ


ผมแนะนำตรงนี้หน่อยครับ ความจริงแล้ว การที่เราต้องถือเอาอาการพองยุบเป็นกรรมฐานหลัก
เพราะว่าเมื่อสภาวะทางอายตนะต่างๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย(การสัมผัส) และทางใจ ไม่มีปรากฏ
หรือปรากฏไม่ชัดเจน จะทำให้เราเกิดอาการฟุ้งซ่านได้ การที่เราต้องถือเอาอาการพองยุบ และการ
บริกรรมไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์หน่วงจิต เป็นอุปการะแก่สติและสมาธิก่อน ในกรณีนี้ ถ้ามีสภาวะเกิดขึ้น
ทางอายตนะใด เช่น ตาเห็นรูป แสง สี เป็นต้น หูได้ยินเสียงชัดเจน เสียงดัง จมูกได้กลิ่นชัด ลิ้นได้รส
เช่นอาการเปลี้ยวของน้ำลาย หรือใจคิด ฟุ้งซ่าน ให้ไปกำหนดที่สภาวะนั้นทันที เมื่อสภาวะนั้นจางไป
หายไป ก็กลับมาที่กรรมฐานเดิม ทำแบบนี้เรื่อยไปครับ
อนึ่ง การกำหนดนั้น สำคัญที่ต้องให้ทันปัจจุบัน เช่น ตากำลังเห็น หูกำลังได้ยิน ฯลฯ สภาวะใดผ่านไป
แล้ว ไม่ใช่ปัจจุบัน เป็นอดีต และสภาวะใดยังไม่มาถึง ไม่ต้องเอาสติไปรอ สภาวะที่หายไปแล้วหรือที่
เป็นอดีตนั้น ถ้าจะกำหนด ให้กำหนดว่า รู้หนอๆ คือสติสัมปชัญญะรู้ว่า หายไปแล้ว แบบนี้ก็ได้

ตอนนี้ผมอยากให้ลองเรียนรู้สภาวะที่เข้ามาทางอายตนะต่างๆแล้วลองกำหนดเพิ่มดู ที่สำคัญที่สุด
ขอให้ทันปัจจุบันเท่านั้น ปัจจุบันสำคัญมาก


taktay เขียน:
เรียนมาให้อาจารย์ทราบค่ะ จะต้องทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆใช่ไหมค่ะ?
หรือมีอะไรจะให้ทำเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า? รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ ขอให้เจริญในธรรมค่ะ


รบกวนตอบปัญหานี้หน่อยครับ ตอบตามความเข้าใจจากที่ลองปฏิบัติมา ห้ามลอกคำตอบ
ตอบสั้นๆ พอได้ใจความก็พอ


๑.ขณะที่เดินกำหนดที่ไหน
๒.เมื่อเท้าก้าวไป อะไรเป็นผู้รู้
๓.ขณะเดิน ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เป็นอันเดียวกันหรือคนละอัน
๔.เวลานั่งกำหนดที่ไหน
๕.เมื่อท้องพองท้องยุบ อะไรเป็นผู้รู้
๖.พองครั้งแรกกับพองครั้งต่อไป ยุบครั้งแรกกับยุบครั้งต่อไป เป็นอันเดียวกันหรือคนละอัน

คำถามนี้ผมต้องการประเมิณ ๒ อย่างคือสภาวะของคุณ เพราะตอบมาผมจะรู้สภาวะได้ดีก็ตรงคำตอบ
อีกอย่างคือ ประเมิณระดับปัญญินทรีย์ของคุณ เพื่อจะเพิ่มข้อกำหนดในการกำหนดสภาวะลงไปอีก
เพราะจากข้อมูล คุณเคยปฏิบัติมาบ้างแล้ว สภาวะอาจไปช้าเร็วกำหนดยากกว่าคนที่ไม่เคยปฏิบัติมา
ข้อนี้เป็นเชาว์ของผู้แนะนำเองต้องสังเกตให้ดี เมื่อตอบคำถามแล้ว จะมีอีกประมาณ ๔-๕ ข้อ
ให้ลองตอบอีก อันนี้เป็นการสอบอารมณ์จากผลที่คุณส่งอารมณ์มา ถ้าไม่สะดวกที่จะตอบที่นี่
หรือว่าต้องการถามตอบแบบไว และถามอย่างอื่นที่สงสัย แอด msn ที่ zero_pl@msn.com

จะพูดคุยได้ง่ายกว่า ส่วนการแนะนำ สามารถแนะนำได้ที่นี่เมื่อออน msn ไม่เจอกัน

อนุโมทนาครับ ดีขึ้นมาพอสมควรแล้ว แก้ไขตรงวิธีการนิดเดียว อย่างอื่นต้องรอสภาวะ
ที่ปรากฏ แล้วค่อยๆแก้ไป :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 169 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร