วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 11:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนาญาณ

1. นามรูปปริเฉทญาณ คือ ญาณเห็นแจ้งว่ารูปและนามเป็นคนละสิ่งที่ทำงานร่วมกัน
2. ปัจจยปริคคหญาณ คือ ญาณจำแนกนามรูปโดยองค์ประกอบและกลไก
3. สัมมาสนญาณ คือ ญาณเห็นธรรมชาติสัจจะแห่งนามรูป


จริง ๆ ยังมีอีกครับ... แต่เอาแค่ 3 ข้อก่อน (แล้วข้ออื่น ๆ จะตามมา)
เพราะอ่านมาแค่นี้ ผมก็ชักจะงง งง... :b14: :b14:
ขอเพื่อน ๆ ช่วยร่วมให้ความกระจ่าง...

:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย yahoo เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 09:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณที่ ๑ : นามรูปปริจเฉทญาณ

นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นปฐมเบื้องต้นของวิปัสสนาญาณ บางท่านว่ายังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ ท่านจัดวิปัสสนาเบื้องต้นตั้งแต่อุทยัพพยนุปัสสนาญาณ เป็นตรุณวิปัสสนาเลยทีเดียวเหตุเพราะญาณนี้จักเป็นฝ่ายสมถะประกอบด้วยก็ได้ ท่านจึงว่าอย่างนั้น แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก่อนที่จะถึงการกำหนดหมายรู้ในอุทยัพพยญาณนั้น ท่านว่าต้องเจริญตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณเป็นปฐมก่อนจนถึงสัมมสนญาณ อันเป็นบาทเบื้องฐานแห่งการเจริญวิปัสสนาที่จะก้าวขึ้นสู่ตรุณวิปัสสนา คือ อุทยัพพยนุปัสสนาญาณ ต่อไป.

วิธีการกำหนดแยกหมายรู้ในปริจเฉทญาณนั้น ให้ดำเนินควบคู่ไปกับสมถะวิธี คือ สมาธิ อันมี ขณิกสมาธิ แล อุปจารสมาธิ จนถึงอัปปนาสมาธิ อันเป็นเอกัคคตาเป็นที่สุด จากนั้นจึงยกสมถะไว้เสียส่วนหนึ่ง ( คือแยกกายกับจิตออกจากกัน ถ้าไม่แยกออกจากกันจักไม่เป็นวิปัสสนาเป็นแน่แท้ ) เพ่งพินิจพิจารณารูปกาย แล นามกาย ตามบัญญัติแลตามสมมติ คือ แยกว่านี้คือ กาย อันมี ธาตุ ๔ เข้าประชุมตกแต่งกันรวมกันเข้าเรียกว่ากาย หรือมหาภูตรูป ๔ ถ้าละเอียดดีดูลึกลงไปถึงกายอันละเอียดที่อาศัยอยู่กับมหาภูตรูป ๔ ( พึงเข้าใจว่ามิใช่กายทิพย์อย่างที่เข้าใจกัน ) คืออุปาทายรูป ๒๔ รวมเข้ากับมหาภูตรูป ๔ รวมได้เป็น รูป ๒๘ แยกได้ตามนัยนี้แล้ว.

จากนั้นแยกนามธรรมออกจากรูปธรรม แยกออกเป็นส่วน ๆ คือ รู้จัก เจตสิก ๓ คือ สัญญาเจตสิก, เวทนาเจตสิก, และสังขารเจตสิก ออกเป็นส่วน ๆ พึงทำความศึกษารู้ว่าอันเจตสิกธรรมทั้ง ๓ นี้ เป็นอาการของจิต, หรือวิญญาณ ที่มีหน้าที่แล่นไปตาม อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอกอีก ๖ จนเกิดกระทบกระทั่งกันเกิดภาวะที่เรียกว่า ผัสสะ , อันผัสสะนั้นพึงแยกให้ได้ว่าก็มี ๖ โดยมีผัสสะทางตา เป็นต้น

พึงกระทำให้ชำนาญแล้วเจริญสมถะวิธีให้ชำนาญก้าวหน้าก็จะมีความรู้ความ ช่ำชองในญาณนี้เป็นอันมากจนเข้าใจว่าอะไรทำหน้าที่อะไรตามสภาวะของมัน ได้ชื่อว่าเจริญ นามรูปปริจเฉทญาณ ได้ชำนาญแล้ว และจะได้เจริญใน นามรูปปัจจยปริคคหญาณ เป็นลำดับสืบต่อไป

---

ญาณที่ ๒ : นามรูปปัจจยปริคคหญาณ

เมื่อเจริญญาณที่ ๑ โดยชำนิชำนาญแล้วพึงกระทำไว้ในใจเสมออย่าให้คลาดเคลื่อนหรือเสื่อมถอย จากนั้นพึงกำหนดตามนัยที่ ๑ ซ้ำ, แล้วพึงรู้ว่า ทั้งรูปธรรม ทั้ง นามธรรม นั้น ย่อมอาศัยซึ่งกันและกัน ต่างก็เป็นปัจจัยส่งเสริมซึ่งกันและกัน จะมีแต่รูปไม่มีนามก็ไม่ได้ หรือจะมีแต่นามไม่มีรูปก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน ต่างเห็นว่าเมื่อมีรูปย่อมมีนาม และอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติเข้าปรุงแต่ง คือปัจจัยทางปฏิจจสมุปบาท คือ เมื่อมีอวิชชา ย่อมมีสังขาร เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยทำให้เกิดสังขาร อย่างนี้เป็นต้น แม้ผัสสะ, เวทนา, อายตนะ ๑๒, สมาธิ, ปัญญา, สัมปชัญญะ, ตัณหา, อุปาทาน, รวมลงเรียกว่า สังขารธรรมทั้งปวงพวกนี้ล้วนมีปัจจัยเข้ามาปรุงเข้ามาแต่ง ให้เกิดขึ้นทั้งนั้น,

ปัจจัยอย่างอื่นเราจะมองเห็นว่า กรรมก็ดี, วิบากก็ดี, วัฏฏะวนทั้ง ๓ ก็ดี ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมซึ่งกันและกัน ให้ชีวิตสัตว์เจริญและเสื่อมถอยลง
นี่แลชื่อว่าเจริญในญาณที่ ๒ คือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ ได้โดยสมบูรณ์ และจะ
ปวัติเข้าสู่ สัมมสนญาณ ต่อไป

---

ญาณที่ ๓ : สัมมสนญาณ

เมื่อเจริญญาณมาตามลำดับแล้ว ปัญญาญาณย่อมเล็งเห็นการเกิดของสรรพสิ่ง หรือสังขารธรรมทั้งปวงว่าเป็นไปเพราะธรรมชาติ เป็นไปด้วยตัวของมันเอง สังขารธรรมมันย่อมตกเข้าสู่แห่งกฎของธรรมชาติลักษณะ ๓ ประการ คือ

๑. อนิจจลักษณะ คือสภาพที่ไม่คงทนถาวร,แปรเปลี่ยนอยู่เสมอ,ไม่คงที่,ไม่แน่นอน
๒. ทุกขลักษณะ คือสภาพที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์ เพราะความแปรเปลี่ยนอยู่ตลอด
๓. อนัตตลักษณะ คือสภาวะที่มิใช่ตัว,มิใช่ตน,มิใช่สัตว์,บุคคล,เรา,เขา,บังคับไม่ได้

นี้รวมเรียกว่า ไตรลักษณะ ๓, การหยั่งรู้ หรือการมองเห็นธรรมชาติทั้งปวงนี้ย่อมตกอยู่ในสภาวะแห่งกฎอันนี้ เรียกว่า “ไตรลักษณะญาณ” เป็นสัมมสนญาณอันอุดม ในพระคัมภีร์พระวิสุทธิมรรคท่านกล่าวไว้โดยเอนกปริยายเป็นอันมาก พึงศึกษาดูเอาเองเถิดจักกล่าวย่อ ๆ พอเป็นแนวทางเท่านั้น

ก็แลสัมมสนญาณนี้ พระอรรถกถาจารย์เจ้าก็ดี,พระเกจิกถาจารย์เจ้าก็ดี ท่านจัดให้เป็นพื้นฐานของวิปัสสนาเลยทีเดียว เป็นเพราะว่าสัมมสนญาณนี้รวมความเห็นทุกสภาวะสิ่งลงไปในกฎแห่ง พระไตรลักษณะ ซึ่งพระไตรลักษณะนั้น คือ มรรค แลทางอันที่จะเดินให้เข้าสู่มรรควิถีอันแท้ คืออริยมรรค ฉะนั้นท่านจึงจัดเอาสัมมสนญาณนี้เป็นอันดับ ๑ ในบรรดาญาณทั้งหลายในญาณ ๙ รวมแล้วเป็น ๑๐ ถ้าท่านกล่าวถึงวิปัสสนาญาณ ๑๐ พึงรู้เถิดว่ารวมเอาสัมมสนญาณเข้าด้วย, ถ้าท่านกล่าวเอาเฉพาะวิปัสสนาญาณ ๙ แล้วพึงเข้าใจว่าท่านไม่รวมเอาไว้ด้วย. แต่ถ้าท่านกล่าวถึงโสฬสญาณ ๑๖ แล้ว ท่านรวมเอาไว้ด้วยแน่นอน

พึงเจริญในสัมมสนญาณนี้ให้มาก ๆ ทำความเพียรอันมีสมถะแลวิปัสสนาเข้าด้วยกัน จักบรรลุผลอันอุดมในญาณนี้แลก้าวเข้าสู่ญาณต่อไป คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เป็นลำดับต่อไป

cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จากที่ฟังเทศน์มานะ เรียบเรียงจากความจำ ด้วยสำนวนตัวเอง
ฟังเล่นๆนะ อย่าไปอะไรมาก

อันแรก นามรูปปริจเฉทญาณ คือความสามารถในการเห็นเลยว่า
จิตกับกายนี้แยกจากกัน พูดง่ายๆว่า สามารถเห็นตามเป็นจริงของธรรมชาติว่า
รูปแยกออกจากนาม จิตกับกายไม่ใช่อันเดียวกัน เราไม่ใช่กาย กายไม่ใช่เรา


อีกสองอันไม่ค่อยรู้


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 18:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


moddam เขียน:

ก็แลสัมมสนญาณนี้ พระอรรถกถาจารย์เจ้าก็ดี,พระเกจิกถาจารย์เจ้าก็ดี ท่านจัดให้เป็นพื้นฐานของวิปัสสนาเลยทีเดียว เป็นเพราะว่าสัมมสนญาณนี้รวมความเห็นทุกสภาวะสิ่งลงไปในกฎแห่ง พระไตรลักษณะ ซึ่งพระไตรลักษณะนั้น คือ มรรค แลทางอันที่จะเดินให้เข้าสู่มรรควิถีอันแท้ คืออริยมรรค ฉะนั้นท่านจึงจัดเอาสัมมสนญาณนี้เป็นอันดับ ๑ ใน
บรรดาญาณทั้งหลายในญาณ ๙ รวมแล้วเป็น ๑๐ ถ้าท่านกล่าวถึงวิปัสสนาญาณ ๑๐ พึงรู้เถิดว่ารวมเอาสัมมสนญาณเข้าด้วย, ถ้าท่านกล่าวเอาเฉพาะวิปัสสนาญาณ ๙ แล้วพึงเข้าใจว่าท่านไม่รวมเอาไว้ด้วย. แต่ถ้าท่านกล่าวถึงโสฬสญาณ ๑๖ แล้ว ท่านรวมเอาไว้ด้วยแน่นอน

พึงเจริญในสัมมสนญาณนี้ให้มาก ๆ ทำความเพียรอันมีสมถะแลวิปัสสนาเข้าด้วยกัน จักบรรลุผลอันอุดมในญาณนี้แลก้าวเข้าสู่ญาณต่อไป คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เป็นลำดับต่อไป

cool


:b8: :b8: :b8:

เห็นชอบกับการอธิบายของท่านครับ...
ซึ่งไหน ๆ ท่านก็คงจะรู้แล้วว่าผมต้องไล่ไปจนถึง ญาณ 16 แน่นอน...
ขอเชิญท่านว่าต่อเลยครับ...
ที่ผมตั้งกระทู้เช่นนี้...เพราะผมเห็นผู้ปฏิบัติชอบพูดถึงกัน...ซึ่งผมได้ยินทีไร...
คนปัญญาทึบอย่างผมตามไม่ทันจริง ๆ ...
ซึ่งผมไม่ได้ยานอะไรสักยานหรอกครับ...เพราะผมไม่เคยรู้จัก...
เพิ่งจะมารู้ 3 ยานแรกก็วันนี้ล่ะ...
ถ้าใครมีข้อมูลละเอียดกว่านี้ก็...เชิญร่วมวงมาได้เลยนะครับ...

จริง ๆ ผมอยากให้มีการอธิบายแบบยกตัวอย่าง ด้วยหง่ะ... :b9: :b9:

4. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ คือ ญาณเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของรูปนาม
5. ภังคานุปัสสนาญาณ คือ ญาณเห็นความดับล่วงแล้วของ....
6. ภยตูปัฎฐานญาณ คือ ญาณเห็นความเป็นภัยของรูปนาม
7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ คือ ญาณเห็นโทษของรูปนาม
8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ คือ ญาณเห็นความน่าเบื่อหน่าย
9. มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ ญาณถอยจิตกลับ ม้วนกลับ
10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ คือ ญาณที่มุ่งออกจากรูปนามทั้งสิ้น
11. สังขารุเปกขาญาณ คือ ญาณที่เฉยต่อรูปนามทั้งปวง
12. อนุโลมญาณ คือ ญาณทบทวน ทุกขญาณ สมุทัยญาณ นิโรธญาณ มรรคญาณ ให้ครบถ้วย เอ้ย ถ้วนเต็มรอบ

:b14: :b14: :b14: เอาล่ะสิ่ ผมตกญาณไหนไป...หว๋า...?? :b10: :b10: :b10:
ยังไง ขอเชิญคุณ moddam ต่อเติมให้ครบถ้วนด้วยนะครับ...จะเป็นพระคุณอย่างสูง

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
จากที่ฟังเทศน์มานะ เรียบเรียงจากความจำ ด้วยสำนวนตัวเอง
ฟังเล่นๆนะ อย่าไปอะไรมาก

อันแรก นามรูปปริจเฉทญาณ คือความสามารถในการเห็นเลยว่า
จิตกับกายนี้แยกจากกัน พูดง่ายๆว่า สามารถเห็นตามเป็นจริงของธรรมชาติว่า
รูปแยกออกจากนาม จิตกับกายไม่ใช่อันเดียวกัน เราไม่ใช่กาย กายไม่ใช่เรา


อีกสองอันไม่ค่อยรู้


ยังดีนะครับ... ผมไม่รู้เลยสักอัน... :b32: :b32:

เอ้า...ผมก็ชอบสำนวนแบบ ตัวเอง ๆ นะครับ...

จริง ๆ ผมก็เคยจำได้ว่าคุณ เคยเหมือนจะเจอสภาวะที่เห็นกายกับจิตแยกกัน ไม่ใช่หรือครับ
ตอนที่คุณนอนดูทีวีน่ะ :b4: :b4:
ซึ่งตอนที่ผมตั้งกระทู้นี้ คือผมอ่านบทความไปเจอข้อแรก แล้วนึกไปถึงกรณีของคุณขึ้นมานะนี่...
กระทู้อันนี้ ผมมีคุณเป็นแรงบันดาลใจเชียวนะนี่

:b14: :b14: :b14:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จุ๊ๆๆ พูดไปคนจะมาด่าเรา :b32:



ว่าไปแล้วก็แค่เห็นเองนะ
เห็นแล้วก็ได้แค่เห็น แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เหมือนเห็นดินน้ำลมไฟ เอาไปทำอะไรก็ไม่ได้สักอย่างหนึ่ง
กิเลสยังนั่งหน้าสลอนอยู่เต็มหัวใจ ถอนขนหน้าแข้งมันยังไม่ได้สักเส้นนึง

ได้แต่เอามาอวดชาวบ้าน
นึกถึงหลวงปู่มั่นพูดว่า "ช้างอวดงา หมาอวดเขี้ยว"
เราก็หงอเลย

เอ๊ะ แต่เอามาอวด
หนุกดีเหมือนกัน :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:02
โพสต์: 157

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ร่วมแจมด้วย

วิปัสสนาญาณ ๑๖ (โสฬสญาณ) (ความหยั่งรู้ตามลำดับแห่งวิปัสสนา)
๑ นามรูปปริเฉทญาณ ญาณจำแนกรู้รูป-รู้นาม และ อะไรเปลี่ยนจากนาม-กลายเป็นรูปอีกที (นามกาย)
๒ ปัจจยปริคคหญาณ . . ญาณรู้ปัจจัยของการก่อเหตุให้ เกิดเป็นปัจจัยของอะไรตามมาอีก
๓ สัมมสนญาณ . . ญาณอันเพ่งเห็นรูป-นามของกิเลส ตัณหา ซึ่งยังเป็นไตรลักษณ์อยู่
๔ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ . . ญาณอันตามเห็นความเกิด-ความดับของกิเลส
๕ ภังคานุปัสสนาญาณ . . ญาณอันตามเห็นความสลายไปของสังขารธรรมทั้งหลาย
๖ ภยตูปัฏฐานญาณ . . ญาณอันเพ่งเห็นสังขารธรรม เป็นของอันน่ากลัว..เพราะล้วนแต่ต้องสลายไป
๗ อาทีนวานุปัสสนาญาณ . . ญาณอันคำนึงเห็นโทษต่อเนื่องมาจากการเห็นภัย
๘ นิพพิทานุปัสสนาญาณ . . ญาณเห็นความน่าเบื่อหน่าย เพราะเห็นทั้งโทษและภัย
๙ มุญจิตุกัมยตาญาณ . . ญาณอันเกิดการเปลื้องปล่อยไปเสียจากโทษ-ภัยเหล่านั้น
๑๐ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ . . ญาณพิจารณาทบทวนถึงการปฏิบัติที่ปลดปล่อยได้สำเร็จ
๑๑ สังขารุเปกขาญาณ . . ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขารปรุงแต่งทั้งหลาย
๑๒ สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ . . ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมต่อสังขารโลก ต่อสมมุติสัจจะทั้งหลาย
๑๓ โคตรภูญาณ . . ญาณรู้หัวต่อขึ้นสู่อาริยภูมิที่สูงขึ้น
๑๔ มัคคญาณ . . ญาณรู้ภาวะของอาริยมรรคแต่ละขั้นๆ
๑๕ ผลญาณ . . ญาณรู้ผลสำเร็จแห่งการเป็นพระอาริยะ
๑๖ ปัจจเวกขณญาณ . . ญาณหยั่งรู้ทบทวนตรวจสอบมรรคผล และบริบทแห่งความสำเร็จทุกอย่าง

จาก ขุ.ปฏิ.31/มาติกา/1-2 และวิสุทธิ.3/206-328

แถม เจโตปริยญาณ ๑๖ +
คือ การกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น (จิตชั้นต่ำในตน-ปรสัตตานัง)
รู้ใจของบุคคลอื่น (จิตชั้นสูงในตน-ปรปุคคลานัง) ที่เป็นปรมัตถ์

๑ สราคจิต (จิตมีราคะ)
๒ วีตราคจิต (จิตไม่มีราคะ)
๓ สโทสจิต (จิตมีโทสะ)
๔ วีตโทสจิต (จิตไม่มีโทสะ)
๕ สโมหจิต (จิตมีโมหะ)
๖ วีตโมหจิต (จิตไม่มีโมหะ)
๗ สังขิตตจิต (จิตหดหู่-จมลง)
๘ วิกขิตตจิต (จิตฟุ้งซ่าน-ลอยไป)

๙ มหัคคตจิต (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น)
๑๐ อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น)
๑๑ สอุตตรจิต (จิตยังมีจิตอื่นที่ดียิ่งกว่านี้)
๑๒ อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า)
๑๓ สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นและเป็นประโยชน์ด้วย)
๑๔ อสมาหิตจิต (จิตไม่ตั้งมั่นและไม่เป็นประโยชน์)
๑๕ วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น)
๑๖ อวิมุตตจิต (จิตไม่หลุดพ้น)
(พระไตรปิฎกเล่ม ๙ ข้อ ๑๖๓)

ไม่ได้ค้นเอง แต่เอาจากที่เขาค้นไว้มาให้ดู

.....................................................
มาตามหา เพื่อนร่วมทาง

ประโยชน์สูง-ประหยัดสุด > > ต้องทำให้ได้ คือแก้ไขตนเอง > > ฝึกหยุด-ไม่หยุดฝึก >
ไม่มีเวลาสำหรับความชั่วบาปอีกแล้ว. ." ทุกวินาทีเป็นวินาทีแห่งบุญ "
เราจะฝึกฝนตนเพื่อไปถึงจุดนั้นให้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเอามาจากพระท่านอีกทีหนึ่งครับ ท่านเคยเขียนให้คุณพ่อผมไว้ แอบไปอ่านของคุณพ่อ มาก็เลยเอามาให้อ่านกันต่อนะครับ เห็นคุณพ่อบอกว่าท่านชื่ีอ พระอาจารย์ชัยรัตน์ สุธมฺโม อยู่ที่ชัยนาทน่ะครับ

ต่อเลยครับ

ญาณที่ ๔ : อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ

เมื่อเจริญสัมมสนญาณโดยช่ำชองแลชำนาญแล้วจิตของผู้นั้นย่อมปวัติเข้าสู่ความเห็นในสังขารธรรมทั้งปวงว่าเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณะ คือ
- อนิจจตานุปัสสนา เกิดขึ้นแล้วแปรเปลี่ยนไป,คงสภาพคงที่ไม่ได้
- ทุกขานุปัสสนา ความแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดของรูปแลนามบัญญัติ เรียกว่า ทุกข์.
- ด้วยทุกข์ก็ดี,ด้วยการแปรเปลี่ยนไปเองก็ดี ของสังขารธรรมชาตินั้นบังคับไม่ได้เห็นเป็นอนัตตานุปัสสนา.

จิตจะน้อมเห็นแล้วว่ามีเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่, แล้วแปรเปลี่ยน พึงดับไปในที่สุด คือเห็นทุกสิ่งของธรรมชาติว่า เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปเองโดยธรรมชาติ ( ตามหลักของปฏิจสมุปบาท ) เรียกว่า เห็นเกิด- เห็นดับ ( ความเกิดดับของรูป-นาม ) การเห็นเกิดเห็นดับนั้น เห็นได้ในขณะเดียวด้วยวิปัสสนาปัญญา จากนั้นจะเห็นด้วยสมถะวิธี คือเห็นด้วยสมาธินั่นเอง

ต่อแต่นี้พึงปฏิบัติตามที่ครูบา-อาจารย์แนะนำพร่ำสอน ถ้ามิพึงปฏิบัติตามแล้วย่อมทำให้แชออกนอกลู่นอกทาง มองเห็นธรรมนั้นเป็นของวิเศษ เหนือบุคคล เหนือธรรมชาติไป ท่านเรียกธรรมอันเป็นเหตุให้ขัดขวางวิปัสสนานี้ว่า “วิปัสสนูกิเลส ๑๐” หรือ “อุปกิเลส ๑๐” ซึ่งจะเป็นตัวขวางกั้นไม่ให้บรรลุผลในวิปัสสนาญาณชั้นสูงต่อไป.

ต่อไปจักกล่าวถึงอุปกิเลส ๑๐ ที่เป็นตัวขวางกั้นปัญญา อันจะแสดง มีดังนี้ คือ

๑. โอภาโส ความสว่างไม่มีประมาณ เกิดจากจิตที่สงบยิ่งแล้วไปเห็นของจริงตามธรรมชาติเข้าจึงติด เมื่อเข้าไปเห็นของจริงอันนั้น เช่น เห็นกายเป็นธาตุ ๔ ก็ว่าตัวเองเห็น อันนี้ท่านจึงว่าห้ามติดเพราะการเห็นและวิธีดำเนินนั้นเป็นเรื่องของญาณต่าง หาก
๒. ญาณะ ความรู้ไม่มีประมาณ ความรู้ที่จัดเป็นอุปกิเลสคือ รู้เห็นของจริงตามธรรมชาติ จึงให้เข้าใจว่าสิ่งที่รู้เห็นนั้นเป็นธรรมแท้ เป็นเหตุให้ถือตัวมีมานะกระด้างกระเดื่อง แต่ท่านให้เอาความรู้ที่เห็นนั้นเป็นเครื่องมือพิจารณาต่างหาก
๓. ปิติ ความอิ่มใจแรงกล้า คือความเยือกเย็นอันได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น พอเห็นแล้วเลยคิดว่าเป็นธรรมแท้ ๆ จึงทำให้ติด แล้วจะเป็นเหตุให้เหนื่อยหน่ายในธรรมปฏิบัตินั้น ๆ
๔. ปัสสัทธิ ความสงบยิ่ง จะทำให้เกิดเมื่อใดก็ได้ ให้เห็นธาตุเป็นจริงเมื่อใดก็ได้จึงทำให้ติด เป็นเหตุให้หลงในคติ พอใจในผลของการปฏิบัติอยู่แค่นั้น
๕. สุขะ ความสุขอันลึกซึ้งเพราะเห็นธรรมชาติ,ธาตุ ตามความเป็นจริง จึงทำให้ติด เป็นเหตุให้พอใจอยู่แค่นั้น ไม่ปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไป
๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ เพราะเข้าไปเห็นธรรมที่เป็นจริงเข้าจึงติดจึงน้อมใจเชื่อ หรือมีธรรมผุดขึ้นมาบอกว่าถึงขั้นนั้นขั้นนี้ ได้อริยสัจย์บ้าง, บรรลุธรรมบ้าง, อันนี้จึงเป็นอุปกิเลสเพราะจะไม่ยอมรับฟังคำตักเตือนของผู้อื่น
๗. ปัคคาหะ ความเพียรอาจหาญ คือเร่งเกินพอดี อยากให้ถึงเร็ว ๆ ด้วยเอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่ เป็นความปรารถนารุนแรงของใจล้วน ๆ โดยขาดมัตตัญญู คือปัญญาในการรู้จักประมาณ แต่ที่เป็นอุปกิเลสที่ร้ายแรงก็คือ ข้อนี้ทำให้เกิดหย่อนความเพียรไม่ปฏิบัติต่อไปว่าพอดีมาถึงแล้ว
๘. อุปฐานะ สติกล้า เพราะมีสติกล้ามากเกินจึงทำให้เลอะเลือนและความสงสัยก็จะตามมาเป็นลำดับต่อไป
๙. อุเบกขา ความวางเฉย ที่เป็นอุปกิเลสเพราะคิดว่าตัวเองถึงวิมุติธรรมไม่จำเป็นต้องทำต่อไปแล้ว เป็นความเข้าใจตัวเองผิด ท่านจึงห้ามติด
๑๐. นิกันติ ความพอใจ เพราะความพอใจในธรรมที่ละเอียดที่ตัวเองได้จึงเกิดเป็นอัตตวาทุปาทานไปเสีย โดยไม่ยอมรับฟังจากผู้อื่นเลย ท่านจึงว่าเป็นอุปกิเลส

อันวิปัสสนูอุปกิเลส ๑๐ เกิดขึ้นในขันธสันดารของผู้ใดแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดมานะ ทิฏฐิ สำคัญตนว่า ตัวเองถึงมรรค-ถึงผล จะเป็นที่เศร้าหมองแห่งวิปัสสนาเป็นเหตุให้ยับยั้งความเพียรอยู่แค่นั้น

ในขณะที่อุปกิเลส ๑๐ ประการนี้บังเกิด พระไตรลักษณะจะไม่ปรากฏเพราะด้วยเหตุ ๓ ประการคือ

๑. อนิจจลักษณะไม่ปรากฏ เป็นเพราะสันตติปกปิดกำบังอยู่
๒. ทุกขลักษณะไม่ปรากฏ เป็นเพราะอริยาบถปกปิดกำบังอยู่
๓. อนัตตลักษณะไม่ปรากฏ เป็นเพราะฆนสัญญา คือความมิได้พิจารณาธาตุทั้ง ๔ ปกปิด
กำบังอยู่



หากจะกำจัดเสียซึ่งอุปกิเลสอันมีสันตติปกปิดกำบังอยู่นั้นพึงกระทำแลปฏิบัติดังนี้ดังนี้
๑. ให้พิจารณา ความเกิด-ความฉิบหาย-ความตาย แห่งกองรูปธรรม-นามธรรม เป็นเนือง ๆ แล้วอนิจจลักษณะจะปรากฏ
๒. พิจารณาความตายเป็นมรณสัญญาอยู่เนือง ๆ หรือพิจารณาความเจ็บปวด-ป่วยไข้ ด้วยทุกขเวทนาต่าง ๆ อยู่เนือง ๆ ทุกขลักษณะจะปรากฏแก่ผู้เจริญ
๓. พึงพิจารณากาย แยกกายออกเป็นธาตุทั้ง ๔ ว่าไม่มีหญิง-ไม่มีชาย-สัตว์-บุคคล - ตัวตน-เราเขา แสดงอาการ ๓๒ อยู่ในมโนทวารให้แจ้งชัดโดยวิปัสสนาแล้วอนัตตลักษณะจะปรากฏ

หากผู้ใดเจริญได้ดังปรากฏแล้วทั้ง ๓ ลักษณะนี้ย่อมผ่านพ้นอุปกิเลส ๑๐ ประการ อันเป็นตัวขวางตัวกั้นวิปัสสนานี้ออกเสียได้และจะได้เจริญต่อไปใน ภังคญาณ ต่อไป

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณที่ ๕ : ภังคานุปัสสนาญาณ

ภังคญาณ คือ การเจริญความดับและความเสื่อมสูนย์แห่งกองรูปธรรม-นามธรรม ว่ามีความดับมีความฉิบหายเป็นไปธรรมดา ผู้ปฏิบัติพึงเจริญวิปัสสนาวิธี ๗ ประการดังต่อไปนี้คือ
๑. อนิจจานุปัสสนา เห็นความไม่เที่ยงอยู่เป็นนิตย์
๒. ทุกขานุปัสสนา เห็นความทุกข์ทนอยู่ไม่ได้เป็นนิตย์
๓. อนัตตานุปัสสนา เห็นความมิใช่ตัวมิใช่ตนอยู่เป็นนิตย์
๔. นิพพิทานุปัสสนา เห็นความเบื่อหน่ายเป็นนิตย์
๕. วิราคานุปัสสนา สำรอกกิเลสได้เป็นตทังคปหาน ( ละได้ชั่วคราว )
๖. นิโรธานุปัสสนา เจริญความดับ ( นิพพาน ) ดับกิเลสได้เป็นตทังคปหาน ( นิพพานชั่ว
คราว )
๗. ปฏินิสสัคคานุปัสสนา จิตน้อมไปสู่พระนิพพาน

เมื่อเจริญและฉลาดในปัญญาแลวิธีในอนุปัสสนาทั้ง ๗ ประการฉะนี้แล้ว ผู้เจริญย่อมได้รับอานิสงส์แห่งการเจริญในภังคานุปัสสนา ๘ ประการ ( กล่าวไว้ในพระคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค ) คือ
๑. สละความเห็นในภพออกเสียได้ ( ข่มสัสสตทิฏฐิ )
๒. สละความไคร่ในชีวิต ( ไม่อาลัยในชีวิต ) ไม่กลัวตาย
๓. หมั่นประกอบ ( ในภาวนา ) ทุกเมื่อ
๔. เลี้ยงชีพบริสุทธิ์ ไม่มีโทษ ( เว้นอิจฉาจาร )
๕. มีความมักน้อย-สันโดษประการหนึ่ง
๖. มิได้สะดุ้ง ตกใจกลัวแก่ภัยอันตราย ( หมดความกลัวเพราะไม่เยื่อใยในตน )
๗. มีความอดทน,อดกลั้นด้วยดี ว่าง่าย-สอนง่าย ไม่กระด้างกระเดื่อง
๘. อดทนต่อความยินร้าย-ยินดี – อดทนต่อกามคุณที่บังเกิดขึ้นได้ ( ข่มลงเสียได้ )

กาลเมื่อผู้ปฏิบัติเจริญแลกระทำกิจในภังคญาณโดยแก่กล้าแล้ว จิตของผู้นั้นจะก้าวขึ้นสู่
ภยตูปัฏฐานญาณ เป็นลำดับต่อไป



ญาณที่ ๖ : ภยตูปัฏฐานญาณ

ภยตูปัฏฐานญาณ เป็นภาวะที่จิตกระทำซึ่งภังคญาณโดยแก่กล้าในวิปัสสนาแล้ว ภย คือความเห็นเป็นภัยใหญ่ เห็นว่าภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ แลอรูปภพ ที่รูปธรรมแลนามธรรมเข้าไปเป็นภาวะของภพนั้น ๆ คือการเข้าไปเกิดแลจุติในภพนั้น ๆ เป็นของน่ากลัว ประดุจหลุมถ่านเพลิง ย่อมที่จะหลีกหนีไม่พ้น แลจะต้องเป็นไปโดยเที่ยงแท้และแน่นอน ด้วยอำนาจกรรม-วิบาก-แลปฏิสนธิวิญญาณจิต ด้วยการเห็น อนิจจตา แลทุกขตา แลอนัตตา ในภพทั้งสาม แลเห็นความตายเป็นของแน่นอน ภาวะจิตของผู้ปฏิบัติจะปวัติไปสู่ความเห็นว่าเป็นภัย เป็นของน่ากลัว ดุจหลุมถ่านเพลิง หลุมหอก แหลน หลาว ฉะนั้น

ถามว่าจิตของผู้ปฏิวัติไปสู่ภยตูปัฏฐานญาณนี้กลัวตายหรือไม่ ขอวิสัชนาว่า ความกลัวตายนั้นถูกขจัดเป็นตทังคปหานในภังคญาณแล้ว แลไฉนเล่าจะเกิดในภยตูปัฏฐานญาณอีกเล่า มีแต่จะสดุ้ง-กลัวในภพทั้งสามเป็นแน่แท้ทีเดียว แลไคร่จะให้ผ่านพ้นไปจาการเวียนตาย-เวียนเกิดในภพทั้งสามนี้เสีย

เป็นอันเร่งด่วนแลต้องกระทำ แลไม่ยึดติดในอดีต-แลปัจจุบัน-แลอนาคต เพราะอนิจจตาก็ดี,ทุกขตาก็ดี,แลอนัตตาก็ดี ได้ปรากฏแจ้งแล้วในอดีต-อนาคต-แลปัจจุบันว่าไม่เป็นสิ่งที่แน่นอน ภาวะจิตย่อมไม่ยึดติดในภาวะทั้งสามด้วยประการฉะนี้

ตราบเมื่อผู้ปฏิบัติพึงเจริญแลอุตสาหะกระทำจิตให้กล้าหาญในสมถะแลภยตูปัฏฐาน ญาณแล้ว จิตของผู้นั้นจะปวัติตนาการก้าวขึ้นสู่ อาทีนวญาณ สืบต่อไป

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณที่ ๗ : อาทีนวานุปัสสนาญาณ

เมื่อผู้ปฏิบัติประพฤติโดยมิย่อหย่อนแลมีความเพียรรีบเร่งอันมั่นคงแล้ว จิตแลสติ ปัญญา ญาณ จะไตร่ตรองทวนกลับเป็นอนุโลมแลปฏิโลมในภยตูปัฏฐานญาณ อย่างมั่นคงและกล้าหาญ จิตของผู้นั้นย่อมมองเห็นสังขารธรรมทั้งปวงอันมี มหาภูตรูป ๔, ขันธ์ ๕, อายตนะภายใน-ภายนอก ๑๒, แลภพ การเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศรก ความสะอื้น ความพิไรรำพันนั้นเปรียบเสมือนเงา หรืออสรพิษติดตามตัวอยู่ตลอด ย่อมมองเห็นแต่โทษในสังขตธรรม คือรูปแลนาม ฝ่ายเดียว มิเห็นประโยชน์แลสุขเลย แลเห็นแต่โทษที่เกิดขึ้นอันมีเพราะกรรม และวิปากธรรม อันเกิดจากการกระทำของตัวสัตว์เองทั้งสิ้น แลเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนที่ต้องทำให้เกิดทุกข์นี้ย่อมมีเหตุ-แลมีปัจจัยปรุงแต่งทั้ง สิ้น หามิได้เห็นสิ่งอื่นสิ่งใดเลยที่มิมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง จิตของผู้นี้ย่อมปวัตติการขึ้นสู่ความเห็นอันเป็นโทษฝ่ายเดียว เหตุเพราะเห็นสังขตธรรมทั้งปวงเป็นภัยอันใหญ่หลวง

เมื่อเห็นภัยแลย่อมเห็นโทษในตัวของมันเองโดยอัตโนมัติวิธีมิมีผู้ใดผู้หนึ่ง ชักจูงให้เห็น จิตนี้ย่อมปวัตติเข้าสู่ อาทีนวญาณ โดยสมบูรณ์ แลจิตของผู้นั้นย่อมแล่นแลมุ่งหมายสู่แดนเกษมคือพระนิพพานฝ่ายเดียวมิแช เชือนไปทางอื่นแล้วโดยลักษณะที่เห็นด้วยวิปัสสนา เป็นอาทีนวานุปัสสนาญาณ

ฉะนั้นในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรคท่านจึงกล่าวไว้ว่า ภยตูปัฏฐานญาณแลอาทีนวญาณเป็นญาณอันเดียวกัน เพียงต่างกันโดยพยัญชนะและอรรถนั้นเป็นอันเดียวกัน อันนี้ถูกเป็นแน่แท้มิแปรผันหรือคลาดเคลื่อนใดเลย

ผู้เห็นโทษในภพทั้ง ๓ แลทุกข์ในวัฏฏะวนทั้งปวงด้วยอาทีนวญาณนี้แล้วพึงเจริญแลพิจารณาให้มากให้ รอบคอบในญาณวิปัสสนา,และสมถวิธี พึงรักษาไว้ให้แม่นมั่น จากนั้นจิตจะปวัติขึ้นสู่ นิพพิทาญาณ เป็นอันดับต่อไป

ญาณที่ ๘ : นิพพิทานุปัสสนาญาณ

ด้วยอาศัยการเห็นภัยในสังขารธรรมทั้งปวงด้วยภยตูปัฏฐานญาณ แลอาศัยการเห็นโทษแห่งภพทั้งสาม มีสุคติภพและนิรยภพด้วยอาทีนวญาณแล้ว จิตของผู้เจริญด้วยญาณทั้ง ๒ จักจำต้องเร่งเจริญสมถและเร่งเจริญวิปัสสนาทั้ง ๗ คือ
- อนิจจานุปัสสนา
- ทุกขานุปัสสนา
- อนัตตานุปัสสนา
- นิพพิทานุปัสสนา
- วิราคานุปัสสนา
- นิโรธานุปัสสนา
- ปฏินิสสัคคานุปัสสนา

ทั้ง ๗ ประการให้ครบแลโดยชำนิชำนาญ จิตก็จะเบื่อหน่ายในสังขาร หรือสังขตธรรมทั้งปวง อยากหลุดและอยากพ้นจากภพทั้งสามโดยเต็มกำลัง

จิตของผู้ปฏิบัติถึงขั้นนี้พึงเพ่งพิจารณาด้วยญาณแลเจริญวิปัสสนาให้มาก และพึงเจริญในสมาธิหรือสมถะภาวนาให้ปรากฏแจ้งชัด เพราะจะทำให้มองเห็นสังขารธรรมคือความเบื่อหน่ายได้เต็มกำลังและประกอบ สมบูรณ์ด้วยขันติ วิริยะ อย่างพอเพียงเพื่อทำให้นิพพิทาญาณแก่กล้ายิ่งขึ้นโดยลำดับแห่งสมาธิและ วิปัสสนา เมื่อเจริญสมาธิและวิปัสสนาโดยแก่กล้าในนิพพิทานุปัสสนาญาณแล้วจิตจะก้าว ขึ้นสู่ มุญจิตุกามยตาญาณ เป็นคำรบต่อไป

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณที่ ๙ : มุญจิตุกัมยตาญาณ

เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญนิพพิทาญาณสืบต่อโดยเป็นสันตติมิให้คลาดเคลื่อนในอนุ ปัสสนาปัญญาญาณแล้ว ผู้นั้นย่อมที่ไคร่จะพ้นจากสังขารธรรมทั้งปวงอย่างเต็มกำลัง และเห็นภัยและโทษ และความเบื่อหน่ายในสังขารธรรมอย่างเต็มที่ จิตของโยคาวจรย่อมรู้ทางที่จะไปที่จะให้พ้นจากภพแลสัตตาวาส ๙ แลวิญญาณฐิติ ๗ แลวัฏฏะภพ แลเห็นทางมิใช่ทางโดยแท้ คือแดนเกษม คือพระนิพพานฝ่ายเดียว จิตของผู้นั้นจะมิได้ติดและมิได้เกี่ยวข้องกับสังขารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เลย แลพึงเจริญให้มาก ทำความเพียรในอิทธิบาททั้ง ๔ ประการนั้นให้ชำนิชำนาญจักผ่านพ้นจากญาณนี้และเข้าสู่ “ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ” สืบต่อไปเป็นลำดับ

สำหรับผู้เจริญถึงขั้นนี้แล้วพึงรู้ได้โดยสมมุติแลบัญญัติเท่านั้นหาไม่อย่า พึงยึดแลติดในสมมติและตัวบัญญัติในวิปัสสนานี้ ก็จะทำให้ญาณนี้แก่กล้าและไคร่จะพ้นจากสมมติและบัญญัตินี้เสียเต็มกำลัง

และจำเป็นต้องเจริญสมถะจิตให้มีความเข้มแข็งเต็มกำลังเพื่อเป็นตัวช่วยแล สนับสนุนจิตปัญญาให้เห็นแจ่มชัดกล้าแข็งยิ่งขึ้น แลจะกล่าวถึงปฏิสังขานุปัสสนาญาณ เป็นลำดับต่อไป


ญาณที่ ๑๐ : ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ


ก็แลเมื่อพระโยคาวจรเจริญมุญจิตุกัมยตาญาณโดยอนุปัสสนาทั้งหลายทั้งปวงแล้ว ลำดับนั้นพึงยกเอาสังขารธรรมทั้งปวง มี รูปแลนาม มีธาตุ ๔, ขันธ์ ๕, อายตนะภายในภายนอกทั้งปวง เป็นต้นนั้นขึ้นสู่พระไตรลักษณะญาณ โดยพิจารณารูป-นาม เป็นของไม่เที่ยง เป็นอนิจจตา, พิจารณารูป-นามเป็นสภาวะที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์ เป็นทุกขานุปัสสนา.แลยกยกรูปทั้งปวงเข้าสู่สภาวะเป็นอสุภะวิปัสสนา

โดยแยกกายออกเป็นชิ้นเป็นอันเป็นส่วน เป็นอาการสักแต่ว่ามันเข้ามาประชุมกันแลตกแต่งกันเข้าเป็นตัวตนแห่งเรา และเรานั้นจะบังคับมันมิให้แปรเปลี่ยนแลมิให้เจ็บ,มิให้ทุกข์แลมิให้มันดับ สลายได้ไม่ จักเข้าสู่อนัตตานุปัสสนาโดยประการทั้งปวง

ก็แลจิตที่เห็นกายและนามทั้งปวงนั้นสักแต่ว่ารูปและนามเท่านั้นมิใช่เป็น เรา,เขา, จิตย่อมลดและคลาย เป็นวิราคะธรรม คือไคร่ที่จะสลัดออกจากกายอันสกปรก,และนามอันเป็นเหตุให้ทุกข์นี้เสียโดย เร็วพลัน มีความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่แดนเกษม คือ พระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น

ก็จิตของผู้ปฏิบัติเจริญถึงปฏิสังขานุปัสสนาญาณนี้แล้วนั้น ควรรักษาและเจริญสมถะวิธี แลพิจารณาตัวสมมติ,ตัวบัญญัติ โดยความเป็นจริงของธรรมชาติให้มาก แลยกเอาอริยมรรคมีองค์ ๘ ขึ้นมาเป็นทางเดินอย่างแม่นมั่น ซึ่งทางเดินอันนี้เป็นมรรคล้วน ๆ โดยอนุโลมแลปฏิโลม ด้วยประการต่าง ๆ จิตของผู้นั้นก็จะกล้าแข็งยิ่งขึ้น และจะผ่านพ้น ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ เป็นลำดับ แล้วเข้าสู่ สังขารุเปกขาญาณ เป็นลำดับต่อไป


ญาณที่ ๑๑ : สังขารุเปกขาญาณ

เมื่อผู้ปฏิบัติจำเริญวิปัสสนาในปฏิสังขานุปัสสนาญาณสืบต่อมาโดยลำดับแล้ว จากนั้นพึงยกเอาสังขตธรรมทั้งปวงมีรูป-มีนาม มีธาตุ ๔ , ขันธ์ ๕ , และอายตนะภายในภายนอก ๑๒, นั้น ยกทวนเป็นอนุโลมแลปฏิโลมในความเป็นไปแห่งกฎของธรรมชาติคือ พระไตรลักษณะ เป็นอนิจจัง,เป็นทุกขัง,เป็นอนัตตา, แลเข้าหาเหตุและปัจจัยแห่งความเกิดขึ้น,ตั้งอยู่,แลดับไป ของสังขตธรรมทั้งปวง ด้วยความเป็นไปแห่งอำนาจของปฎิจจสมุปบาทธรรม ด้วยว่าถ้ามีสิ่งนี้,สิ่งนี้เป็นปัจจัยย่อมทำให้เกิดมีสิ่งนี้,สิ่งนี้ดับ สิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงดับ, ด้วยพิจารณาทวนรอบในปฎิจจสมุปบาท ไม่หยุดยั้งด้วยวิปัสสนาญาณทั้งปวงแล้ว, จิตของผู้ปฏิบัติเมื่อเห็นของจริงที่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติแล้วจิตของผู้ นั้นย่อมวางเฉยต่อสังขตธรรมทั้งปวงและมิได้รักและมิได้ชังในสังขารธรรมทั้ง ปวงนั้นไม่แลไคร่จะพ้นจากเงื้อมมือของมัจจุราชแลภพทั้งสามอย่างเดียวเท่า นั้น
ด้วยว่าสังขารุเปกขาญาณนี้ย่อมเป็นญาณที่จำทำให้บุคคลนั้นก้าวขึ้นสู่แห่ง ความเป็นพระอริยบุคคล ๗ จำพวก ( โปรดดูในตำรา,และคัมภีร์เถิดมีพวกสัทธานุสารี เป็นเบื้องต้น ) จิตของผู้ปฏิบัติย่อมปฏิวัติเห็นความสุญเปล่าของสังขารธรรมทั้งปวงโดยเอนก ปริยาย มิได้ยึดและมิได้ตกแต่งด้วยประการใดเลย ลำดับนั้นวิโมกข์ ๓ ย่อมเกิดแก่ผู้ปฏิบัติตามลักษณะแห่งอนุปัสสนาที่ตัวเองพิจารณาและเจริญเป็น พื้นฐาน คือ
๑. ถ้าพิจารณาอนิจจตา โดยชำนิชำนาญแล้วย่อมได้อนิมิตตวิโมกข์ เพราะพิจารณาสังขารธรรมทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยงด้วย “อนิจจานุปัสสนาญาณ”
๒. ถ้าพิจารณาทุกขตา โดยชำนิชำนาญแล้วย่อมได้อัปปณิหิตวิโมกข์ เหตุเพราะพิจารณาสังขารธรรมทั้งปวงเป็น “ทุกขานุปัสสนาญาณ”
๓. ถ้าพิจารณาอนัตตา โดยชำนิชำนาญแล้วย่อมได้สูญญตวิโมกข์ เหตุเพราะพิจารณาสังขารธรรมทั้งปวงเป็น “อนัตตานุปัสสนาญาณ”

ด้วยวิโมกข์ ๓ เป็นไวพจน์แห่งพระนิพพานล้วน ๆ นั่นแสดงว่าจิตของผู้ปฏิบัติย่อมยึดหน่วงเอาแต่พระนิพพานเป็นอารมณ์ฝ่าย เดียวแลไม่ยึดภพทั้ง ๓, สัตตาวาส ๙,แลวิญญาณฐิติ ๗ เป็นอารมณ์เลย จำเพาะเอาแต่พระนิพพานเป็นอารมณ์ฝ่ายเดียว

ด้วยชนิดและวิโมกข์ ๓ ที่ภาวะจิตเข้าไปเห็นแลสัมผัสได้นี้จัดให้แยกประเภทและพระอริยบุคคลออกเป็นจำพวก ๆ ถึง ๗ จำพวกนั่นเอง

เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้แล้วพึงอย่าละอุตสาหะเร่งอุตสาหะเป็นทวีคูณพึงฉลาดใน วิปัสสนาวิธีและสมถะวิธีที่ตัวเองจำเพาะเจริญเถิด จิตของผู้ปฏิบัติจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติและเป็นไปตามธรรมชาติของมันเอง คือเข้าสู่กระแสของพระนิพพานเป็นปัจจุบันอารมณ์ ด้วยวิปัสสนาญาณที่เจริญและแก่กล้าขึ้นตามลำลำดับ
ในลำดับนี้จิตของผู้ปฏิบัติจะไม่ยึดแลติดในสมมติแลบัญญัติและสมถะ,วิปัสสนา ด้วยประการทั้งปวง จิตมุ่งตรงสู่พระนิพพานฝ่ายเดียว เพราะสังขารุเปกขาญาณนี้เชื่อมต่อกับมรรคจิตคืออริยมรรคฝ่ายเดียวนั่นเอง.

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณที่ ๑๒ : สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ

พึงเข้าใจเถิดว่าผู้ปฏิบัติเมื่อจิตปฏิวัตติกาลเข้าสู่สังขารุเปกขาญาณแล้ว ลำดับนั้นพึงทบทวนญาณทั้งปวง ตั้งแต่อุทยัพพยญาณจนถึงสังขารุเปกขาญาณด้วยอนุปัสสนาวิธีตามหลัก
ปฏิจจสมุปบาท ให้ทวนไป ( อนุโลม )แลทวนกลับเป็น ( ปฏิโลม ) วิธีด้วยสติ,ปัญญา,สมาธิ,สัมปชัญญะวิธีโดยธรรมชาติ ด้วยความเป็นไปเองในตัวของมันเอง โดยธรรมวิธีของมัน จิตก็จะหน่วงพระนิพพานอย่างแนบแน่นและมิได้ปลดปล่อย แต่จะปลดปล่อยภพทั้ง ๓,ตัณหาทั้ง ๓,อุปาทานทั้ง ๔,ความรักความพอใจในขันธ์ ๕,แลอายตนะทั้งปวงจะดับเห็นเป็นวิปัสสนาวิธีเป็นเอกโดยอย่างเดียว

ลำดับนี้ญาณนี้ได้ชื่อว่า “อนุโลมญาณ” เพราะทวนกลับทวนเข้าในญาณทั้งปวง ได้ชื่อว่า“สัจจานุโลมมิกญาณ” เพราะเห็นสัจจะคืออริยสัจจะ ของจริงทั้งปวงแลมิได้ยึดในอริยสัจจะนั้นเป็นคำรบอีก ด้วยความเป็นไปแห่งญาณนี้ “โคตรภูญาณ” จะเกิดขึ้นมาขั้นชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น.

ญาณที่ ๑๓ : โคตรภูญาณ
๑๔ : มรรคญาณ
๑๕ : ผลญาณ
๑๖ : ปัจจเวกขณญาณ


เมื่ออนุโลมญาณดับแล้วเพียงขณะเดียวโคตรภูญาณจะบังเกิดขึ้นเพียงขณะชั่ว ก้าวขาหรือชั่วสายฟ้าแลบ เพียงอุปมาเท่านี้ยังช้ากว่าโคตรภูญาณ, อันโคตรภูญาณนี้เป็นญาณขั้นระหว่างปุถุชนกับอริยชน เมื่อโคตรภูญาณดับแล้วจิตย่อมเป็นอริยมรรคจิต-อริยมรรคญาณโดยสมบูรณ์ มีโสดาปัตติมรรคจิต-โสดาปัตติมรรคญาณ เป็นต้นมีอรหัตมรรคจิต-อรหัตมรรคญาณเป็นปริโนสาน

ด้วยอำนาจแห่งมรรคจิตและมรรคญาณนั้นย่อมละแลประหารเสียซึ่งกิเลสและบาปธรรม แลสังสารวัฏทั้งปวงเป็นสมุทเฉทปหานด้วยอำนาจแห่งอริยมรรคจิตอริยมรรคญาณนั้น ๆ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น เมื่อโสดาปัตติมรรคจิต-โสดาปัตติมรรคญาณดับแล้ว สภาวะจิตย่อมลุถึงโสดาปัตติผลทันที ด้วยมรรคแลผลมีนัยอันเดียวกัน ดุจหน้ามือกับหลังมือหรือดุจคมมีดแลสันมีด, ลำดับนั้นความฉลาดในวิธีมีปฏิสัมภิทา ๔ เป็นต้นย่อมบังเกิดในผลญาณอันนั้นตามแต่อำนาจแลวาสนาของตน ๆ ที่เคยสั่งสมและกระทำมาเป็นปุเรชาติรวมทั้งปัจจุบันชาติแลได้เป็นพระ อริยบุคคล ๗ จำพวกโดยสมบูรณ์แลแยกประเภทโดยธรรมชาติแห่งธรรมมิมีผู้ใดมาแยกให้และให้เป็น ไป และพึงรู้กิเลส,สังโยชน์,อนุสัย,และบาปธรรมที่ละได้และที่ยังคงเหลืออยู่ที่ จะต้องบำเพ็ญให้ยิ่งขึ้นไปที่ที่จะละบาปธรรมนั้น ๆ เสียเป็นปัตจัตตังในตัวของมันเองอย่างสมบูรณ์ เป็นไปด้วยปัจจเวกขณญาณวิธีอันสมบูรณ์แลเป็นผู้สิ้นสังสารวัฏ,หรือยังต้อง ติดค้างอยู่ในภพนานเท่าใดนั้น จำเพาะรู้ได้เป็นปัจจเวกขณญาณวิธีนี้เอง

ลำดับนั้นพึงเจริญสังขาร-อินทรีย์ต่อไปอยู่ยับยั้งสังขารอินทรีย์เป็น วิหารธรรมเพื่อเมตตาสั่งสอนแลแนะนำสัตว์โลกให้สิ้นสังสารวัฏตามอำนาจวาสนา ของแต่ละบุคคล ๆ หรืออยู่เป็นไปด้วยธรรมดาสามัญ ตามอุปนิสัยแลวาสนาของตน ๆ นั้นเถิด จักไม่แสดงโดยพิสดารจักยุติไว้เพียงเท่านี้

พึงศึกษาในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค,หรือพระวิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์เจ้านั้นเถิดท่านแสดงไว้ดีแลบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงแล้ว.

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครที่นำธรรมมะนี้ไปเจริญรอยตาม

ผมขออนุโมทนาด้วยนะครับ

เพราะผมยังทำไม่ถึง เลย

cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จำได้ว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอน และไม่ได้เป็นผู้เรียงลำดับญาณมาสอน
และไม่ได้สอนว่า การหยั่งรู้ในธรรม จะสามารถรู้ได้ทีละญาณ ตามลำดับขั้นที่นำมาเรียง

ปฏิกิริยาการก่อเกิดของความรู้และสภาวะธรรม ตั้งแต่ขณะแห่งวิปัสสนา จนถึงหลุดพ้น
จิตน่าจะก่อเกิดสภาวะเป็นหนึ่งเดียว หากจะแยกแจกแจงความแตกต่างของตัวสภาวะแห่งองค์ธรรม
ในขณะแห่งการหลุดพ้น หรือในลำดับของการรู้แจ้ง ก็จะมานั่งแยกได้ภายหลังจากหลุดพ้น
ไปแล้ว ว่าขณะจิตตรงนี้เรียกอะไร ตรงนั้นเรียกอะไร เพราะในสภาพธรรมที่เป็นจริง
ลำดับแห่งญาณทั้งหลายแหล่ ล้วนติดเนื่อง ต่อเนื่อง เป็นเหตุผลส่งต่อกันจนสิ้นสุดกระบวนการ
ไม่ใช่สิ่งที่จะมาสร้างทีละอย่างทีละสิ่ง


ผมเข้าใจส่วนตัวอย่างนี้

:b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
จำได้ว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอน และไม่ได้เป็นผู้เรียงลำดับญาณมาสอน
และไม่ได้สอนว่า การหยั่งรู้ในธรรม จะสามารถรู้ได้ทีละญาณ ตามลำดับขั้นที่นำมาเรียง

ปฏิกิริยาการก่อเกิดของความรู้และสภาวะธรรม ตั้งแต่ขณะแห่งวิปัสสนา จนถึงหลุดพ้น
จิตน่าจะก่อเกิดสภาวะเป็นหนึ่งเดียว หากจะแยกแจกแจงความแตกต่างของตัวสภาวะแห่งองค์ธรรม
ในขณะแห่งการหลุดพ้น หรือในลำดับของการรู้แจ้ง ก็จะมานั่งแยกได้ภายหลังจากหลุดพ้น
ไปแล้ว ว่าขณะจิตตรงนี้เรียกอะไร ตรงนั้นเรียกอะไร เพราะในสภาพธรรมที่เป็นจริง
ลำดับแห่งญาณทั้งหลายแหล่ ล้วนติดเนื่อง ต่อเนื่อง เป็นเหตุผลส่งต่อกันจนสิ้นสุดกระบวนการ
ไม่ใช่สิ่งที่จะมาสร้างทีละอย่างทีละสิ่ง


ผมเข้าใจส่วนตัวอย่างนี้

:b41: :b41: :b41:



อันนี้เป็นหลักปฏิบัติ เฉย และท่านเรียงเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย และปฏิบัติตามได้ง่ายเท่านั้น

การจะเกิดญาณได้นั้น ต้องมาจากญาณ ขั้นต้นเสียก่อน ทั้งหมด ถ้าไม่มีญาณขั้นต้น หรือไม่ได้เจริญ นามรูป -- สมสนญาณ ก็จะไม่เกิด อุทยัพ ตามมาแน่นอน ให้เจริญให้ตาย ก็ต้องอาศัย 3 อย่างนี้แหละเป็นพื้นฐาน

นามรูป ก็รู้กันอยู่ คือขันธ์ 5

สมสนญาณ ก็เห็นไตรลักษณ์ อย่างต่อเนื่องเป็นสันตติ จึงจะเห็นการเกิดดับ คืออุทยัพ

เหมือน สมสนญาณ เป็นตัวสตาร์ทเครื่องให้ เห็นอุทยัพ ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ถ้าไม่เห็น สมสนญาณ เสียแล้ว ก็อย่าหวังว่า จะเห็นการเกิดดับเลย เพราะจะเป็นเพียง คิดเอาว่าเราเห็น หรือเป็นเพียงอาการตู่ญาณ โดยใช้ความรู้สึกของเราเองเท่านั้น

แต่ถ้าดำเนินสมสนญาณ มาอย่างดีพอ มากพอ แก่รอบ ก็จะเห็นเกิดดับได้ง่าย แต่ก็ต้อง ทำควบคู่ไปพร้อมกับสมาธิ เพราะถ้าขาดสมาธิ หรือสมาธิไม่พอ ก็ไม่มีกำลังที่จะไปเห็นอีก

จึงพูดได้ว่า ต้อง สมาธิ + กับ ความเห็นไตรลักษณ์( สมสนญาณ ) อย่างเพียงพอ เป็นเสมอกัน จึงจะเห็นการเกิดดับ

ส่วนอันอื่นไม่ขออธิบาย อ่านได้จากที่นำมาครับ

อันนี้ผมใช้เจริญสติอยู่สามารถ ยืนยันได้ ด้วยตนเองครับ

cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 62 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร