วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 10:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 18:29
โพสต์: 5

โฮมเพจ: nammun00.hi5.com
งานอดิเรก: ฟังเสียงอ่านหนังสือธรรมะ
สิ่งที่ชื่นชอบ: เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน
อายุ: 18

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากอ่านหนังสือให้จำ :b10: เพราะเวลาอ่านแล้วรู้สึกว่ามันไม่ค่อยเข้าหัว :b26:

ช่วยแนะนำวิธีหน่อยค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ smiley

.....................................................
นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=2955
เนื้อหาบางส่วน :b41:

"ในการตั้งใจดังกล่าวนี้นั้น ก็ต้องมีอาการของกายและใจประกอบกัน เช่น ในการอ่าน ร่างกายก็ต้องพร้อมที่จะอ่าน เช่น เวลาเปิดหนังสือตาก็ต้องดูหนังสือ ใจก็ต้องอ่านด้วย ไม่ใช่ตาอ่านแล้วใจไม่อ่าน

ถ้าใจไปคิดเรื่องอื่นเสียแล้ว ตาจับอยู่ที่หนังสือก็จะค้างอยู่อย่างนั้น เรียกว่า ตาค้าง จะมองไม่เห็นหนังสือ จะไม่รู้เรื่อง ใจจะต้องอ่านด้วย และเมื่อใจอ่านไปพร้อมกับตาที่อ่าน จึงจะรู้เรื่องที่อ่าน ความรู้เรื่องเรียกว่าเป็นปัญญาอย่างหนึ่ง คำว่าเป็นปัญญา

ในตัวอย่างหนึ่งคือ ได้ปัญญาจากการอ่านหนังสือ ถ้าหากว่าตากับใจอ่านหนังสือไปพร้อมกัน ก็จะอ่านได้เร็ว รู้เรื่องเร็ว และจำได้ดี ใจที่อ่านนี่แหละ คือ ใจที่มีสมาธิดี หมายความว่า ใจต้องอยู่ที่การอ่าน"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 18:29
โพสต์: 5

โฮมเพจ: nammun00.hi5.com
งานอดิเรก: ฟังเสียงอ่านหนังสือธรรมะ
สิ่งที่ชื่นชอบ: เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน
อายุ: 18

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากค่ะคุณอินทรีย์ tongue

.....................................................
นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


nammun_oil เขียน:
อยากอ่านหนังสือให้จำ :b10: เพราะเวลาอ่านแล้วรู้สึกว่ามันไม่ค่อยเข้าหัว :b26:

ช่วยแนะนำวิธีหน่อยค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ smiley


ในเรื่องของความจำในบุคคล เป็นเรื่องละเอียดอ่อนทางด้านสรีระร่างกาย นับตั้งแต่กรรมพันธุ์ เป็นต้นมา
บางคน เห็นอะไร จำได้มาก บางคนเห็นอะไร จำได้บ้างจำไม่ได้บ้าง ไม่มีใครจดจำได้ครบถ้วนทุกอย่าง บางคนอาจมีจุดเด่นในการจำ เช่นจำใบหน้า หรือ กิริยาท่าทาง ของคนที่ได้พบเห็นได้ดี บางคนจำลักษณะงานต่างๆที่ได้พบเห็นได้ดี บางคนจำในเรื่องคณิตศาสตร์ได้ดี บางคนจำในเรื่องวิทยาศาสตร์ได้ดี ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
ความจำของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับอวัยวะหลายส่วน และขึ้นอยู่กับระบบการทำงานของสรีะร่างกายด้วย
ความมีสมาธิ เป็นสิ่งสำคัญในการจำ แต่การจำบางครั้ง บางเรื่อง บางอย่าง ก็ไม่ได้มีความสำคัญมากนัก
ความเข้าใจต่างหากที่มีความสำคัญ เพราะถ้าเข้าใจแล้ว ย่อมเกิดความจำติดตามมา ถ้าไม่เข้าใจ ความจำอาจลดประสิทธิภาพลง ยกตัวอย่างเช่น การทำงานใดใดก็ตาม หากมีความเข้าใจในลักษณะงาน และหลักการในการทำงานนั้นๆ ก็ย่อมจะเกิดความจำในการทำงาน ตามขั้นตอนต่างๆ สามารถปฏิบัติงานนั้น ให้ลุล่วงหรือสำเร็จ ไปได้ อย่างต่อเนื่อง และตลอด อย่างนี้เป็นต้น
สภาพอากาศ สภาพสิ่งแวดล้อม สถานที่ ก็มีส่วนหรือเป็นปัจจัย ปัจจัยหนึ่ง ที่จะทำให้เกิดความจำได้ดี หรือเกิดความจำได้ไม่ได้ไม่ดี นอกเหนือจากสภาพสรีระร่างกายของบุคคลนั้นๆ
การอ่านหนังสือ เท่าที่ข้าพเจ้าปฏิบัติและทำมา ข้าพเจ้าจะอ่าน สารบัญก่อน เพื่อให้ได้รู้ว่า ในแต่ละบทเขาสื่อถึงอะไร แล้วก็อ่านในรายละเอียดเป็นบทๆไป ขณะอ่านก็จะทำความเข้าใจไปด้วยพิจารณาไปด้วย เมื่อหยุดอ่าน และกลับมาอ่านใหม่ ก็จะเปิดดูสารบัญก่อน พออ่านสารบัญ เช่นบทที่ ๑............... ก็จะระลึกนึกถึงในรายละเอียดว่า บทที่ ๑ ในสารบัญนั้น เขาสอนเรื่องอะไรบ้าง และก็ทำอย่างนี้ทุกครั้งที่เปิดอ่านใหม่ เวลาทบทวน ก็จะเปิดอ่านสารบัญ แล้วระลึกนึกถึงว่าแต่ละบทสอนเรื่องอะไร อย่างนี้เป็นต้น
ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่มีความจำดีผู้หนึ่ง แต่เวลาอ่านหนังสือก็ไม่ค่อยจะจำ เวลาครูอาจารย์สอนอะไร ก็ไม่ค่อยจะเข้าใจ คือไม่ค่อยรู้ความหมายของภาษาไทยมากนัก ไม่ว่าจะเป็น พีชคณิต เรขาคณิต เลขคณิต ฯ แต่ก็มีจุดเด่น คือจำคำสอนของครูอาจารย์ได้ พอสอบก็ได้ หกสิบ เจ็ดสิบ เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ตั้งแต่เท่าที่จำความได้ ก็เริ่มที่ ประถมศึกษาปีที่ ๔ เป็นต้นมา ข้าพเจ้าจึงใช้วิธีที่ได้กล่าวไปข้างต้นในการอ่านหนังสือหรือทบทวนหนังสือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้จำเป็นภาพจ๊ะ จะช่วยได้มากๆๆๆๆ

เช่นถ้าอ่านเรื่องอะไรก้ตาม พยามสร้างจินตนาการในเรื่องนั้นๆ
ให้ัมนเป้นภาพ เชื่อมโยงกันไป
เช่นอ่านประวัติศาสตร์ก็ให้นึกภาพบ้านเมืองผู้คน อ่านเหมือนอ่านนิยายน่ะครับ
คือใจเราก้คิดภาพไปด้วย ภาพพวกนี้แหละ เราจะจำได้

อย่าไปพยามจำแบบเดิมๆ เหมือนสำเนาสิ่งที่อ่านเข้าไปในความทรงจำ
ยังไงก้จำไม่ได้ แป๊บๆก็ลืม


ถ้าอ่านอะไรที่มันไม่เป็นเรื่องราว
เช่นวิชาเรียน ก้ให้สร้างเรื่องขึ้นมาประกอบของตัวเองไปเลย

ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่คงพอนึกออก
ไก่ จิก เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง
แต่ถ้ามาจำ ก/จ/ด/ต/บ/ป/อ
ท่องยังไงก็พลาดจนได้ แน่นๆ
ต้องไปประดิษฐ์เอานะ

สรุปคือ พยามแปลงสิ่งที่จะจำให้เป็นภาพ
และ.. ต้องทำยังไงให้มัะนต่อเนื่องกัน เกี่ยวข้องกัน
ให้มันเหมือนสายโซ่คล้องๆกันไป
เคล็ดลับมันอยู่ตรงการเชื่อมโยงนี่แหละครับ สำคัญมาก

อีกวิธีนึง เคยเห็นทางใต้ น.ส. พยาบาล
เขาช่วยกันเอาทำนองเพลงที่ดังๆ มาเขียนเนื้อเป็นเนื้อหาวิชาพยาบาล
จำกันได้ทุกคน แล้วไม่ลืมด้วย จำแม่นจนวันตายเลยล่ะ
เพราะมันมี"ทำนอง"
ทำนองคือสิ่งที่"เชื่อมโยง"ทุกอย่างเข้าด้วยกัน

คุณอาจจะเอาเพลงที่ชอบๆ มาใส่เนื้อหาใหม่ที่คุณคิดขึ้นเองก็ได้
หรือเรียกเพื่อนมาสุมหัวกันช่วยกันเขียนเนื้อเพลง
เอาเพลงที่ชอบ จะได้มีความสุข

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าความจำมันด้อย ก็เติมความขยันเข้าไป

อ่านมันสักหลายๆรอบ ถ้ายังไม่จำ ก็อ่านอีก อ่านอีก และก็อ่านอีก

อาจจะไม่จำได้หมด แต่ต้องจำได้แน่


ยามที่สะดวก ก็ลองฝึกการผ่อนคลาย ให้กายและจิต มีความสดชื่นแจ่มใส
มีความสงบ ปลอดโปร่ง ถ้ารู้จักจัดทำจิตให้มีสภาพที่เหมาะสม
แล้วนำจิตอย่างนี้ไปใช้ในการงานทั้งปวง อะไรที่ยากก็จะง่ายขึ้น


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 23:29
โพสต์: 1065


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองอ่านจากกระทู้นี้ดูนะคะ :b8:

:b43: :b43: :b43:

เ ท ค นิ ค ก า ร เ รี ย น ดี
viewtopic.php?f=19&t=25665&p=140860#p140860


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องการจำให้ลืมครับ
ต้องการลืมให้จำครับ




ต้องการจำให้ลืม เหมือนเราอ่านนวนิยาย หรือการ์ตูน หรือดูหนัง หรือฟังเพลง เราไม่ได้ตั้งท่าที่จะจำปล่อยให้ทุกอย่างผ่านไปตามเหตุการณ์ เรากลับจำสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยได้ดี เพราะการจำเป็นหน้าที่ของสัญญาขันธ์ ไม่ใช่หน้าที่ของเราไปบังคับจำ การจะจำได้ดีให้อ่านหนังสือด้วยความเข้าใจ ไม่เข้าใจก็อ่านซ้ำทำความเข้าใจให้กระจ่าง ก็จะจำได้ไม่ลืมเลือน

อย่าอ่านหนังสือเพื่อจำ แต่จงอ่านหนังสือเพื่อความเข้าใจ แล้วคุณจะจำได้ไม่มีวันลืม



ต้องการลืมให้จำ เวลามีเรื่องทุกข์ใจ โกรธแค้น ผิดหวัง เรามักจำเรื่องนั้น ๆ ฝังใจ จะลืมได้ยาก ก็ให้จำเรื่องใหม่ ๆ แทน เช่นจำอนิจจสัญญา จำทุกขสัญญา จำอนัตตาสัญญา จำพระธรรมเทศนา ฯลฯ แทนที่ เราก็จะลืมสิ่งต่าง ๆ ไปได้ หรือถ้ายังจำได้อยู่แต่เราจะไม่ทุกข์ใจดังเดิมอีกแล้ว


เช่นจำว่า...
ปัญญาเพียงดังแผ่นดินย่อมเกิด เพราะความประกอบโดยแท้

ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพียงดังแผ่นดิน เพราะความไม่ประกอบ

บัณฑิตรู้ทางสองแพร่งแห่งความเจริญและความเสื่อมนี้แล้ว

พึงตั้งตนไว้โดยอาการที่ปัญญาเพียงดังแผ่นดิน จะเจริญขึ้นได้


จำพระธรรมเทศนาบทนี้แทนก็จะพ้นทุกข์ไปได้ครับ

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งดับไปเพราะมีสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น


เจริญในธรรมครับ
...................................................................................................
สมาธินั้น มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ
มีความกำจัดความฟุ้งซ่านเป็นรส
มีความไม่หวั่นไหวเป็นเครื่องปรากฏ
มีความสุขความเจริญเป็นปทัฏฐาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 35 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร