วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 04:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังต้องเวียนวนว่ายอยู่กับสัญโญชน์อีก ๗ ข้อ

ยังต้องเวียนว่ายอยู่กับสัญโญชน์ไม่เกินอีก ๗ ข้อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:51
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สักกายทิฐิ ของพระโสดาบัน พระสกิทาคามี กับพระอนาคามียังไม่หมดสิ้นไปเลยนะครับ
ไปหมดจริงๆที่พระอรหันต์ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


tongue
คุณ ํYodyood พูดว่า
สักกายทิฐิ ของพระโสดาบัน พระสกิทาคามี กับพระอนาคามียังไม่หมดสิ้นไปเลยนะครับ
ไปหมดจริงๆที่พระอรหันต์ครับ

อนัตตาธรรมพูด

คุณ Yodyood ครับ สักกายะทิฐิ ความเห็นผิด ว่ากาย ใจ นี้เป็น กู เป็นเรานั้น ตายขาดไปจากใจ ไม่หวนกลับคืนมาอีก ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคทำงานเสร็จนะครับ ลองกลับไปศึกษา ทบทวนดูให้ละอียด

สิ่งที่เหลือค้างยังชำระไม่หมด คือ มานะทิฐิ ความยึดถือ ในกายและจิต ซึ่งต้องใช้อรหัตมรรคตัดทำลายจึงจะหมดสิ้น

รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เป็นสังโยชน์ 5 ตัวสุดท้ายที่ต้องทำลายด้วยอรหัตมรรค

:b27: :b27: :b27: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:51
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณที่ชี้แนะครับ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2010, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ขอให้เข้าใจว่าเป็นการแสดงความเห็นแลกเปลี่ยนกันนะครับ :b45:

1/ความคิดนึก ความเห็นว่า ขันธ์ทั้ง๕ เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน
ดับสิ้นหมดไปไม่มีเหลือ ในภูมิธรรมของพระโสดาบัน
ความคิดนึก ความเห็นว่า ขันธ์ทั้ง๕ เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน
ไม่หวลย้อนกลับมาสู่ ภูมิธรรมของพระโสดาบัน

2/ภูมิธรรมของพระโสดาบัน ไม่มีความสงสัยใดๆในอริยสัจ๔อย่างใดทั้งสิ้น
ภูมิธรรมของพระโสดาบัน ไม่มีความสังสัยในเรื่องเวียนว่ายตายเกิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น
ภูมิธรรมของพระโสดาบัน หนักแน่นมั่นคงต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่สุด

3/ภูมิธรรมของพระโสดาบัน จะไม่สันไหวโยกคลอนไปกับวัตรปฏิบัติใดๆทั้งสิ้น
ภูมิธรรมของพระโสดาบัน จะไม่สั่นไหวโอนเอนไปกับมงคลตื่นข่าวใดๆทั้งสิ้น
ภูมิธรรมของพระโสดาบัน จะไม่หวั่นไหวไปกับศีลจารีตประเพณีใดๆทั้งสิ้น


ภูมิธรรมทั้ง๓ประการ นี้ จะไม่มีการเวียนว่ายเกิดดับ กลับไปกลับมา อีกต่อไป
ในบุคคลที่ได้สมมุติชื่อว่าพระโสดาบัน :b45:


ความเห็นว่าขันธ์ทั้ง๕ เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน
คือสัญโญชน์ ข้อแรกที่พระโสดาบันจะต้องทำให้ดับหมดสิ้นไปไม่มีเหลือ
หาก สัญโญชน์ข้อแรกนี้ ยังทำให้ดับหมดสิ้นไปไม่ได้
สัญโญชน์ข้อถัดไป ก็เป็นเรื่องที่ยากต่อการที่จะทำให้ดับหมดสิ้นไปได้ :b45:


พระโสดาบัน...ยังต้องเวียนเกิด เวียนดับ อยู่กับสัญโญชน์อีก๗ข้อที่เหลือ
กามราคะ1
ปฏิฆะ1
รูปราคะ1
อรูปราคะ1
มานะ1
อุจธัทจะกุกุจจะ1
อวิชชา1

ส่วนสัญโญชน์ ๓ ข้อแรกนั้น ไม่มีเกิดกับพระโสดาบันอีกต่อไปแล้ว

ทุกข์อันเกิดสัญโญชน์อีกทั้ง๗ข้อที่เหลือ พระโสดาบันยังคงต้องเพียรดับให้หมดสิ้นไป
เพื่อความดับสนิทแห่งทุกข์โดยไม่มีเหลือ :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:51
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.larnbuddhism.com/grammathan/sati12.html

พระทั้งหลายเหล่านั้นจึงได้ถามพระสารีบุตรว่า พวกกระผมเป็นปุถุชน ถ้าจะปฏิบัติตนให้เป็นพระโสดาบันจะทำยังไงขอรับ พระสารีบุตรก็บอกว่า ถ้าพวกเขาทั้งหลายปรารถนาเป็นพระโสดาบัน ก็จงพิจารณาขันธ์ 5 ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา ปลงให้ตกจนกว่าจะเลิกสังโยชน์ 3 ได้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส เมื่อปลงขันธ์ 5 อย่างเดียวสังโยชน์ 3 มันจะขาดไปเอง เมื่อสังโยชน์ 3 ขาดลงไปแล้ว พวกเธอก็จะได้เป็นพระโสดาบัน พระพวกนั้นก็เลยถามต่อไปว่า เมื่อผมเป็นพระโสดาบันแล้วจะเป็นพระสกิทาคามีจะทำยังไง ท่านก็บอกว่าพิจารณาขันธ์ 5 ตามแบบนั้นแหละพิจารณาละเอียดลงไปก็จะเป็นพระสกิทาคามีเอง พระพวกนั้นก็ถามต่อไปว่า เมื่อพวกกระผมเป็นพระสกิทาคามีแล้ว จะเป็นพระอนาคามีจะทำยังไง ท่านก็บอกว่าปลงขันธ์ 5 นั่นเองทำอย่างว่านั้นแหละ แล้วกามฉันทะกับปฏิฆะ คือการกระทบกระทั่งจิต การโกรธ ความพยาบาท มันก็จะสิ้นไปเอง ก็จะเป็นพระอนาคามี ท่านพวกนั้นก็ถามต่อไปว่า ถ้าผมเป็นพระอนาคามีแล้ว ผมจะเป็นอรหันต์จะต้องทำอย่างไร ท่านบอกว่าพิจารณาขันธ์ 5 ตามที่บอกมานั่นแหละก็เป็นพระอรหันต์ไปเอง สังโยชน์ 10 ก็จะขาดไป พระพวกนั้นก็จะถามว่า เมื่อเป้นพระอรหันต์ละสังโยชน์ 10 ได้แล้วการพิจารณาขันธ์ 5 ไม่ต้องทำต่อไปใช่ไหมขอรับ พระสารีบุตรตอบว่าไม่ใช่ พระอรหันต์นี่แหละทำหนัก ยิ่งพิจารณาหนักเพื่อความอยู่เป็นสุข ขันธ์ 5 ตัวเดียวเท่านั้นแหละเป็นเหตุละกิเลสได้ทุกตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: ขอบคุณสำหรับความรู้เกี่ยวกับ "โสดาบัน"

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาถ่ายทอดบอกกันนะครับ :b45:

ดูก่อนพราหมณ์ ! ในธรรมวินัยนี้ เราสามารถบัญญัติกฎเกณฑ์แห่งการศึกษาตามลำดับ
การกระทำตามลำดับ และการปฏิบัติตามลำดับ
ได้เหมือนกัน (กับที่ท่านวิธีฝึกสอนศิษย์ของท่านให้นับตามลำดับ)

ดูก่อนพราหมณ์ ! เปรียบเหมือนผู้ชำนาญการฝึกม้า ได้ม้าชนิดที่อาจฝึกได้มาแล้ว
ในขั้นแรกย่อมฝึกให้รู้จักการรับสวมบังเหียนก่อน
แล้วจึงฝึกอย่างอื่น ๆ ให้ยิ่งขึ้นไป ฉันใด;
พราหมณ์เอย! ตถาคตครั้นได้บุรุษที่พอฝึกได้มาแล้วในขั้นแรกย่อมแนะนำอย่างนี้ก่อนว่า
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้มีศีล : สำรวมด้วยดีในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นเป็นภัยแม้ในโทษที่เล็กน้อย
จงสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด” ดังนี้.

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้มีศีล (เช่นที่กล่าวแล้ว) ดีแล้ว
ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า “มาเถิดภิกษุ !
ท่านจงเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย :
ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอาโดยนิมิต(คือรวบถือทั้งหมดว่างามหรือไม่งามแล้วแต่กรณี),
จักไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ(คือแยกถือเอาแต่บางส่วนว่าส่วนใดงามหรือไม่งามแล้วแต่กรณี),

บาปอกุศลกล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส
มักไหลไปตามอารมณ์เพราะการไม่สำรวมจักขุอินทรีย์ใดเป็นเหตุ
เราจักสำรวมอินทรีย์นั้นไว้เป็นผู้รักษาสำรวมจักขุอินทรีย์. (ในโสตินทรีย์คือหู
ฆานินทรีย์คือจมูก ชิวหาอินทรีย์คือลิ้น กายินทรีย์คือกาย และมนินทรีย์คือใจ ก็มีข้อความนัยเดียวกัน).


พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ (เช่นที่กล่าวนั้น)ดีแล้ว
ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ!
ท่านจงเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอยู่เสมอ
จงพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉัน ไม่ฉันเพื่อเล่นเพื่อมัวเมา เพื่อประดับตกแต่ง,
แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้
เพื่อให้ชีวิตเป็นไปเพื่อป้องกันความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์,
เราจักกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสียแล้วไม่ทำเวทนาใหม่ (อิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น.
ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหารและความอยู่ผาสุกสำราญ
จักมีแก่เรา” ดังนี้.


พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ (เช่นที่กล่าวนั้น)ดีแล้ว
ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ!
ท่านจงประกอบความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น (ไม่หลับ ไม่ง่วง ไม่มึนชา). จงชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณิยธรรมทั้งหลาย
ด้วยการเดิน การนั่งตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี.
ครั้นยามกลางแห่งราตรี สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า
มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น.

ครั้นถึงยามท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว
ชำระจิตให้หมดจดจากอาวรณิยธรรมด้วยการเดิน การนั่ง อีกต่อไป” ดังนี้


พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ !
ท่านจงเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ
รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู,การคู้
การเหยียด, การทรงสังฆาฏิบาตรจีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่าย
อุจจาระปัสสาวะ, การไป การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด
การนิ่ง” ดังนี้.


พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ(เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว
ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ !
ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ลำธาร
ท้องถ้ำ ป่าช้าป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง).


ในกาลเป็นปัจฉาภัตต์ กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า,
ละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌาคอยชำระจิต จากอภิชฌา ;
ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอย
ชำระจิตจากพยาบาท;
ละถีนะมิทธะมุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ
มีจิตปราศจากถีนะมิทธะมีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว คอยชำระจิตจากถีนะมิทธะ;
ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตสงบอยู่ในภายในคอยชำระจิตจากอุทธัจจะกุกกุจจะ ;
ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า ‘นี่อะไร นี่อย่างไร’
ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย) คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา” ดังนี้.


ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต
ทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ ได้แล้ว,
เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุฌานที่ ๑
มีวิตกวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.
เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌานที่ ๒
เป็นเครื่องผ่องใสในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่.

เพราะความจางแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายบรรลุฌานที่ ๓
อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นอยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข.

และเพราะละสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป
แห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงได้บรรลุฌานที่ ๔
อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่มีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.


พราหมณ์เอย! ภิกษุเหล่าใดที่ยังเป็นเสขะ (คือยังต้องทำต่อไป)ยังไม่บรรลุอรหัตตมรรค
ยังปรารถนานิพพานอันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งไปกว่าอยู่,
คำสอน ที่กล่าวมานี้แหละ เป็นคำสอนสำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.

ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว
มีภาระอันปลงได้แล้ว
มีประโยชน์ตนอันได้บรรลุถึงแล้ว
มีสัญโญชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบแล้ว,
ธรรมทั้งหลาย (ในคำสอน) เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
และเพื่อสติสัมปชัญญะ แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ด้วย.


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
บาลี คณกโมคคัลลานสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๘๒/๙๔. ตรัสแก่พราหมณ์ ชื่อคณกโมคคัลลานะ
ที่บุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี.


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตญาณ เมื่อ 24 ก.ย. 2010, 10:36, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตแสดงความเห็นแลกเปลี่ยนมุมมองกับพระสูตรที่นำมาแสดงนั้น ดังนี้ครับ

เราจะเห็นความละเอียดอ่อน รอบครอบ ครบด้าน ในคำสอนของพระพุทธเจ้า
รวมทั้งเห็นความไม่ประมาทในสังขาร ในคำบอกสอนท่อนท้าย สำหรับผู้ที่จบกิจแล้ว

ในคำสอนล้วนแล้วแต่ให้เล็งถึงธรรมในปัจจุบันนี้ทั้งสิ้น
ยิงเล็งเป้าไปที่ตัวกิเลสล้วนๆ(ฉันทะราคะ)
ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ต้องฝืนทั้งสิ้น
ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เป็นไปเพื่อความเจริญสติ ทั้งสิ้น ครับ
แล้วสรุปลงที่ความไม่ประมาท :b45:

......................................................


ผมมีมุมสังเกตุต่อสัญโญชน์ทั้งสิบข้อดังนี้ครับ

เมื่อผ่านสัญโญชน์๓ข้อแรกได้แล้ว หรือเบาบางลง
สัญโญชน์ลำดับถัดไป จะปรากกแสดงเด่นชัดขึ้น
จะปรากฏเร็วยิ่งขึ้น จนรู้สึกว่ามันมีมากกว่าปกติ มันมีเพิ่มมากกว่าปกติ
เพราะด้วยเหตุที่มันไม่ถูกสัญโญชน์๓ข้อแรกบดบัง เหมือนดังแต่ก่อน

จนทำให้ถึงกลับมีเสียงบ่นจากคนรอบข้างว่า
เมื่อก่อนไม่ได้ปฏิบัติ ไม่เห็นหงุดหงิดง่ายเหมือนกับตอนที่ปฏิบัตินี้เลย

และผู้ปฏิบัติจะแอบสังเกตุเห็นได้ด้วยตัวเองว่า
ราคะ ปฏิฆะ จะเกิดง่าย เกิดเร็ว เกิดแรง และจะเห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น...


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตญาณ เมื่อ 24 ก.ย. 2010, 10:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ทราบจากผู้รู้ท่านหนึ่งว่า เดี๋ยวนี้มีวิธีตรวจสอบได้ว่า บุคคลใดที่บอกว่าสามารถละสังโยชน์ได้
ซึ่ง ถ้าต้องการรู้ว่าจริงหรือไม่จริง ให้คนที่กล่าวอ้างเช่นนั้น ให้ตัดผมออกมาจำนวนหนึ่ง
แล้วนำใส่ไว้ในแก้วใส ประมาณสองวัน เส้นผมที่ตัดไว้นั้นจะมีพระธาตุมาเกาะ
ลักษณะเป็นเม็ดใสๆเหมือนแก้ว แล้วจะโตขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งโตยิ่งใส จนเห็นเส้นผมด้านใน
ที่ถูกห่อหุ้มอยู่ บางครั้งก็มีเป็นเม็ดใสๆกระจายอยู่ในเส้นผมที่ตัดไว้

ถ้าอยากรู้ว่าลักษณะพระธาตุนี้เป็นแบบไหน ให้ไปดูเส้นเกศาของหลวงพ่อจรัญ ที่วัดตาลเอน อยุธยา
ผู้รู้ท่านบอกว่า ผู้ที่มีสภาวะ อาตาปี สัมปชาโน สติมา จะมีพระธาตุมาเกาะที่เส้นผมทุกคน
ไม่จำเป็นต้องเป็นพระอรหันต์ สิ่งต่างๆที่เรียกเป็นเพียงบัญญัติ แต่ถ้าไปยึดติดจะกลายเป็นกับดักกิเลส

เพียงนำข้อมูลมาแบ่งปันกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 23:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตญาณ เขียน:
......................................................


ผมมีมุมสังเกตุต่อสัญโญชน์ทั้งสิบข้อดังนี้ครับ

เมื่อผ่านสัญโญชน์๓ข้อแรกได้แล้ว หรือเบาบางลง
สัญโญชน์ลำดับถัดไป จะปรากกแสดงเด่นชัดขึ้น
จะปรากฏเร็วยิ่งขึ้น จนรู้สึกว่ามันมีมากกว่าปกติ มันมีเพิ่มมากกว่าปกติ
เพราะด้วยเหตุที่มันไม่ถูกสัญโญชน์๓ข้อแรกบดบัง เหมือนดังแต่ก่อน

จนทำให้ถึงกลับมีเสียงบ่นจากคนรอบข้างว่า
เมื่อก่อนไม่ได้ปฏิบัติ ไม่เห็นหงุดหงิดง่ายเหมือนกับตอนที่ปฏิบัตินี้เลย

และผู้ปฏิบัติจะแอบสังเกตุเห็นได้ด้วยตัวเองว่า
ราคะ ปฏิฆะ จะเกิดง่าย เกิดเร็ว เกิดแรง และจะเห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น...


กระผมก็..แอบ..มีมุม..มองอย่างนี้..เหมือนกัน
:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 00:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Yodyood เขียน:
สักกายทิฐิ ของพระโสดาบัน พระสกิทาคามี กับพระอนาคามียังไม่หมดสิ้นไปเลยนะครับ
ไปหมดจริงๆที่พระอรหันต์ครับ


หลวงพ่อฤาษี..ท่านสอนอย่างนี้ว่า..

สักกายทิฎฐิ..โสดาบันจะมีอารมณ์เบา ๆ ..ไม่หลงในกายเพราะเห็นความตายเป็นอารมณ์
สักกายทิฎฐิ..พระอนาคามี..มีอารมณ์ปานกลาง..ไม่หลงในกายเพราะเห็นกายเป็นของปฏิกูลเป็นอารมณ์
สักกายทิฎฐิ..พระอรหันต์..มีอารมณ์หนัก..ไม่หลงในกายเพราะเห็นกายนี้ไม่ใช่เรา..เราไม่มีในกายนี้..เป็นอารมณ์

สักกายทิฎฐิ..ของพระโสดาบันที่มีอารมณ์เบา ๆ เพราะเห็น..ความตายเป็นอารมณ์.มีตัวอย่างที่ชัดเจนคือลูกสาวนายช่างถอหูก..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุค่ะ พี่อนัตตญาณ ที่ยังเมตตากันเหมือนเดิม


ขอถามต่ออีกนิด
คำถามข้อ ๑
ข้อ ๒ กับข้อ ๕ ต่างกันอย่างไร (จะสำรวมอินทรีย์ได้อย่างไร ถ้าไม่ฝึกฝนการเจริญสติ)
๒) ท่านจงเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย
๕) ท่านจงเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติ สัมปชัญญะ

มุมมองของผม ผมเข้าใจว่า
การสำรวมอินทรีย์ มีผลทำให้สติ สัมปชัญญะ เกิดความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ครับ
เพราะการเฝ้าสำรวมระวังผัสสะ เป็นการปลุกสติให้ตื่นรู้อยู่เสมอ ครับ



คำถามข้อ ๒
๔) ท่านจงประกอบความเพียรในธรรมเป็น เครื่องตื่น (ไม่หลับ ไม่ง่วง ไม่มึนชา)
อ้างคำพูด:
ด้วยการเดิน การนั่งตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี.
ครั้นยาม กลางแห่งราตรี สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า
มี สติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น.

ครั้นถึงยามท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว
ชำระ จิตให้หมดจดจากอาวรณิยธรรมด้วยการเดิน การนั่ง อีกต่อไป”


ยามแรกแห่งราตรี , ยามกลางราตรี , ยามท้ายแห่งราตรี
ยาม (เวลา) ในพระสูตร ถ้าเทียบกับยุคปัจจุับัน ตรงกันเวลาใด

ผมเข้าใจเอาเองว่า
ช่วงแรก คือยามท้ายแห่งราตรี-ยามแรกแห่งราตรี(06.00-12.00 น.)
ช่วงสอง คือยามแรกแห่งราตรี-ยามกลางแห่งราตรี(12.00-24.00)
ช่วงสาม คือยามกลางแห่งราตรี-ยามท้ายแห่งราตรี(24.00-06.00)
ผิด-ถูกอย่างใด ใคร่ครวญกันเองนะครับ :b1:




ถ้าเป็นฆราวาส จะประยุกต์ใช้ได้อย่างไร ไม่ให้นอนกลางวัน ( :

อินทรีย์ของแต่ละท่านไม่เหมือนกันครับ
ต้องพยายามหาอุบายทดลองกันเอาเองนะ ครับ :b16:



คำถามข้อ ๓
ฌานที่จะทำพระนิพพานให้แจ้ง ต้องได้ถึงฌาน ๔ หรือเปล่า
แค่ฌาน ๑ สงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรม พอไหม

พอครับ ว่าตามคำของพระพุทธเจ้านะครับ



ถ้าสายที่เจริญปัญญา ฝึกฌานบ้าง( เพื่อให้จิตได้พัก )
เน้นปัญญานำหน้า พี่มีีความคิดเห็นเรื่องนี้อย่างไร

ความเห็นผม... สติปัญญา และสมาธิ ต้องเดินเคียงคู่กันไปครับ
มรรคทั้งแปดต้องปฏิบัติให้ครบ ทั้งสัมมาสติและสัมมาสมาธิตัดทิ้งตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้
ผมว่าเป็นความเข้าใจเอาเองของผู้ปฏิบัติ ที่ไปจับแยกคัดกรองสติและสมาธิ(ฌาน)ออกจากกัน

สมถะ-วิปัสสนา ต้องอาศัยเกี่ยวก้อยจูงมือกันไปครับ
อานาปานสติ เป็นตัวอย่างที่บ่องบอกให้รู้ว่า สติและสมาธิ ต้องเดินไปพร้อมกัน ครับ

เจริญสติปัญญามาก ไม่มีสมาธิ(ณาน)สนับสนุน เดี๋ยวก็ฝุ่นตลบ คิดว่าพ้นแล้ว ปล่อยได้หมดแล้ว
เจริญสมาธิ(ฌาน)อย่างเดียว ไม่มีสติปัญญาสนับสนุน เดี่ยวก็โงกง่วงซึม นิ่งจมแช่ หลงว่าทะลุถึงแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
Yodyood เขียน:
สักกายทิฐิ ของพระโสดาบัน พระสกิทาคามี กับพระอนาคามียังไม่หมดสิ้นไปเลยนะครับ
ไปหมดจริงๆที่พระอรหันต์ครับ


หลวงพ่อฤาษี..ท่านสอนอย่างนี้ว่า..

สักกายทิฎฐิ..โสดาบันจะมีอารมณ์เบา ๆ ..ไม่หลงในกายเพราะเห็นความตายเป็นอารมณ์
สักกายทิฎฐิ..พระอนาคามี..มีอารมณ์ปานกลาง..ไม่หลงในกายเพราะเห็นกายเป็นของปฏิกูลเป็นอารมณ์
สักกายทิฎฐิ..พระอรหันต์..มีอารมณ์หนัก..ไม่หลงในกายเพราะเห็นกายนี้ไม่ใช่เรา..เราไม่มีในกายนี้..
เป็นอารมณ์

สักกายทิฎฐิ..ของพระโสดาบันที่มีอารมณ์เบา ๆ เพราะเห็น..ความตายเป็นอารมณ์.มีตัวอย่างที่ชัดเจนคือลูกสาวนายช่างถอหูก..




ภิกษุ ท .! สักกายะเป็นอย่างไรเล่า?

ภิก ท .! คําตอบคือ
อุปาทานขันธ์ทั้งห้า.

ห้าเหล่าไหนเล่า?
ห้าคือ รูปขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑
เวทนาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑
สัญญาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑
สังขารขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑
และ วิญญาณขัันธ ์ที่ยัังมีอุปาทาน ๑
ภิกษุ ท .! นี้เรียกว่า สักกายะ.
(ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๓, ๑๙๒/๒๘๕, ๒๗๕.)


ภิกษุ ท.!
เมื่อใดแล สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้
มารู้จักความก่อขึ้นแห่งอุปาทานขันธ์ห้า.
รู้จักความตั้งอยู่ไม่ได้ของอุปาทานขันธ์ห้านี้.
รู้จักอุปาทานขันธ์ห้าในแง่ที่มันให้รสอร่อย,
รู้จักอุปาทานขันธ์ห้าในแง่ที่มันให้แต่โทษร้ายกาจ,
ทั้งรู้จักอุบายที่ไปให้พ้นอุปาทานขันธ์ห้านี้เสีย
ตามที่ถูกที่จริง ;

ภิกษุ ท.! เมื่อนั้นแหละ สาวกของพระอริยเจ้าผู้นั้น
เราเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน
จักตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.
(ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๖/๒๙๖.)



สารีบุตร ! ที่มัักกล่าวกันว่า 'โสดาบัน -โสดาบัน ดัังนี ้ เป็็นอย่างไรเล่า สารีบุตร ?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ท่านผู้ใด เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่
ผู้เช่นนั้นแล ข้าพระองค์เรียกว่าเป็นพระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ มี
โคตรอย่างนี้ ๆ พระเจ้าข้า !"

สารีบุตร ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่
ถึงเราเองก็เรียกผู้เช่นนั้น ว่าเป็น พระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ๆ มีโคตรอย่างนี้ ๆ.
(มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๔๓๒-๑๔๓๓.)


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตญาณ เมื่อ 25 ก.ย. 2010, 10:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพศฆารวาส กับ เพศสมณะ
โอกาสบำเพ็ญเพียรเพื่อให้ลุถึงซึ่งสัจจธรรม
นั้นค่อนข้างจะแตกต่างกันมาก
สมณะ ย่อมมีโอกาสมากกว่าฆารวาส ค่อนข้างเยอะมาก

หากจะประยุกต์เวลาบำเพ็ญเพียรตามรูปแบบสมณะที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำบอกสอน
มาใช้กับฆารวาสนั้น ต้องใช้ขันติค่อนข้างจะเข้นข้นเป็นอย่างยิ่งครับ
เนื่องด้วยผัสสะของสมณะเพศ กับของฆารวาส แตกต่างกันมากครับ.

แต่ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ฆารวาสบางคนอาจบำเพ็ญเพียรได้เข้มข้นกว่าสมณะเพศ ก็คงมีครับ

นั่ง เดิน ยืน นอน
ผมมีความเห็นว่า สามารถเจริญฌานได้หมด ครับ

สำหรับเรื่องนอนนั้น ผมดูเป็นเรื่องของกายที่ต้องการพักผ่อน
ส่วนเรื่องนอนแล้วหลับไปนั้น หากเข้าใจถึงธรรมชาติของจิตเป็นอย่างดีแล้ว
4ชม.ใน24ชม.พอเพียงสำหรับการหลับแล้วครับ
จิตจะรู้ด้วยตัวของมันเองว่า เท่าใดถึงพอ
ผมใช้วิธีทดลองเรียนรู้ทุกๆรูปแบบ แอบสังเกตุเรียนรู้ดูไปเรื่อยๆ
กายและจิตจะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ต่างอาศัยซึ่งกันและกัน ครับ :b45:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร