วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 19:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 133 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


ขอบพระคุณเช่นนั้นที่อโหสิ ไม่ถือสาผม

อย่างนี้ถือว่าเป็นผู้ใหญ่ทางวุฒิภาวะ


มาในวันนี้เป็นโอกาสที่ผมได้มั่นใจตนเองจากพระสูตรที่ท่านเช่นนั้นให้มาในเรื่องนิมิต และวิตก

เรียนตรงๆพระสูตรนี้ผมเพิ่งเห็นเป็นครั้งแรก

ส่วนที่เป็นเสียงฟังจากธรรมะไทยผมรับฟังไม่ได้เพราะเครืองผมที่ใช้ผมไม่มีลำโพง

ขอบคุณครับ :b8:

ท่านเช่นนั้นไม่ใด้แสดงเหตุผลจึงไม่ทราาบว่าท่านเช่นนั้นเห็นด้วยหรือคัดค้าน

ในกระทู้ผลของสมาธิก่อให้เกิดปัญญาที่ถูกย้าย

ท่านเช่นนั้นกรุณาแสดงความเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนประสพการณืได้ไหมครับผมและหลายท่านก็คงอยากฟัง

และขอความกรุณาท่านที่ทำให้กระทู้ถูกย้ายอย่าป่วนเลยครับ ขอสักกระทู้


ผมเรียนอย่างนี้ครับ

เรียนตรงๆว่ากระทู้นั้นเป็นประสพการณ์ล้วนๆ จนกระทั่งวันนี้ท่านเช่นนั้นหยิบยกเอาหลักฐานมาให้ทำให้ผมปิติเป็นอย่างยิ่งที่ตนเองไม่แสดงความผิดพลาดออกไป

ท่านที่ต้องการแลกเปลี่ยนประสพการณืทุกท่านด้วยครับ

ท่านคัจฉมิด้วยครับ

ท่านอนัตตาธรรม ฯลฯ



Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยอาการแห่งวิตก
[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
[๒๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่นประกอบ
อธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจาก
นิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง
โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่า
นั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล
เหมือนช่าง
ไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก โยก ถอน ลิ่มอันใหญ่ออก แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่ออาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
เป็นบาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิด
ขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อ
เธอมนสิการนิมิตนั้นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล อันประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอัน
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
นั้นแล.

[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อัน
ประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตก
เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วน
แต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาป
อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้ง
อยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว
รู้สึกอึดอัด ระอา เกลียดชังต่อซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอ [ของตน]
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่
วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้
อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้
ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
นั้นแล
[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตก
เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ อันเธอย่อมละเสีย
ได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการ
จะเห็นรูปที่ผ่านมา เขาพึงหลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสีย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หาก
เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น
อยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
ขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้น เมื่อ
เธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตก
อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
นั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษพึงเดินเร็ว เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะเดินเร็วทำ
ไมหนอ ถ้ากระไร เราพึงค่อยๆ เดิน เขาก็พึงค่อยๆ เดิน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราค่อยๆ
เดินไปทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรยืน เขาพึงยืน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า เราจะยืน
ทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรนั่ง เขาพึงนั่ง เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะนั่งทำไมหนอ
ถ้ากระไร เราควรนอน เขาพึงลงนอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษคนนั้น มาผ่อนทิ้งอิริยาบถ
หยาบๆ เสีย พึงสำเร็จอิริยาบถละเอียดๆ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น หากว่า
เมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
ด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
วิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
ขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต เมื่อเธอ
กัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าไว้ได้แล้ว
บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอ หรือก้านคอไว้ให้แน่น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอ
มนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วย
ลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตไว้ด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น
บังคับจิตอยู่ได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ
ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้ง
อยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
ผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกอัน
เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการ
นิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
นั้นแล เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
ด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรม
เอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อม
ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
วิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อัน
เธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม
ตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นกัดฟันด้วยฟัน
ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนง วิตกใด
ก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลาย
สังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ [ได้มารู้ยิ่งซึ่งธรรมของ
ท่านที่เป็นพระอรหันต์โดยชอบ]
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ
ผู้มีพระภาค แล้วแล.


ท่านใดที่ปฏิบัติธรรมทำสมาธิ วิปัสสนาจริงๆ จะเกิดประสพการณ์เช่นที่ปรากฎในพระไตรปิฎกครับ

แต่ไม่ใช่จะเกิดง่ายๆ

เวลาจะเกิดก็ไม่รู้ต้ว

ในสภาวะเช่นนั้นผู้ที่ประสพจะต้องการความเงียบที่สูงมาก

เกลียดเสียงเพลงเพราะหนวกหู

อยากคิดพิจารณาแต่วิตกที่เป็นนิมิต


การหลงผิดในนิมิตเป็นเรืองที่ทุกคนต้องเจอ จนกว่าบรรลุอรหันต์กระมั้งครับ



.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 16:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกบนอกะลา ท่านอายะ ท่านเอกอน ท่านวลัยพร ท่านกรัชกาย ท่านตะเกียงแก้ว ท่านปล่อยรู้ ฯลฯ

มาร่วมสากัจฉา

เหมือนเรียนเชิญทอดผ้วป่าอย่างไหงไม่รู้



ประเด็นที่น่าสนใจคือ

ธรรมเอกที่ผุดขึ้นมา

มีการตีความไปต่างๆมากมาย

สำหรับผม

ธรรมเอกที่ผุดขึ้นมา คือ ดวงปัญญา

ไม่ใช่ดวงแก้วใสใส แต่อย่า่งไร

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 02 มิ.ย. 2011, 16:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านaminก็อย่าย้ายกระทู้อีกเลยครับ

จะได้สนทนาเป็นเรื่องเป็นราวได้

จะดีกว่า

ถ้ามีใครจงใจเข้ามาป่วน ช่วยจับถ่วงน้ำให้ด้วย

เชิญทุกท่านครับ

ท่านเห็นอย่างไร หรือไม่เห็นด้วย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 17:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
.... ท่านเอกอน ....


:b3: :b3: มีชื่อเอกอนด้วย

อิอิ ขอเกาะขอบห่าง ๆ
เพราะไม่ไหวจะอธิบาย ไม่ไหวจะหาหลักฐานประกอบ อิอิ :b23: :b23:

และเอกอนก็ไม่ค่อยได้ทำสมาธิสักเท่าไร
ซึ่งที่เคยทำ ๆ มา
ก็คือ เห็นแต่ เจตสิก เท่านั้นหง่ะ :b1:

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
mes เขียน:
.... ท่านเอกอน ....


:b3: :b3: มีชื่อเอกอนด้วย

อิอิ ขอเกาะขอบห่าง ๆ
เพราะไม่ไหวจะอธิบาย ไม่ไหวจะหาหลักฐานประกอบ อิอิ :b23: :b23:

และเอกอนก็ไม่ค่อยได้ทำสมาธิสักเท่าไร
ซึ่งที่เคยทำ ๆ มา
ก็คือ เห็นแต่ เจตสิก เท่านั้นหง่ะ :b1:

:b8: :b8: :b8:


ครับ

สาธุสาธุ

เอกอนเห็นแล้ว

แต่เอกอนไม่กล้าบอก :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดี คุณ mes...
เช่นนั้น อ่านสิ่งที่เขียนในกระทู้ที่คุณ mes อ้างถึงครับ .. โดยส่วนตัวเห็นว่า การยุติความเห็นต่างๆ ควรอาศัยพุทธวจนะ จึงไม่แสดงความเห็นใดๆ เพิ่มเพื่อก่อความสับสนให้มากขึ้น

เมื่อคุณ mes อ่านพระสูตรจนมีปิติ ตั้งมั่นลงในพระสัทธรรม
ทิฏฐาสวะย่อมถูกชำระ บรรเทาไปแล้วครับ ด้วยองค์ธรรม 7 ประการที่เกิดขึ้น
คือ
สติ ระลึกไปตามพุทธวจนะที่ปรากฏ

ธัมมวิจย คือโยนิโสมนสิการน้อมเอาพุทธวจนะที่ปรากฏ เข้าสู่กระบวนการตรึกคิดพิจารณา ด้วยเหตุด้วยผล เร้าให้เกิดกุศลขึ้น ปัญญาขี้นในจิต

วิริยะ เมื่อรู้เหตุรู้ผล ก็จะรักษาความถูกต้องที่ปรากฏตามพุทธวจนะ ทำความรู้ความถูกต้องให้ปรากฏ และทิ้งความรู้อันง่อนแง่นไป ไม่ใส่ใจความรู้อื่นใดอันง่อนแง่นครับ

ปิติ ที่เกิดขึ้นเพระได้ทราบด้วยความรู้ความเข้าใจอันถูกต้องว่าเรามาตามทางที่ถูกต้องแล้วเป็นความเอิบอิ่มใจครับ

ปัสสัทธิย่อมตามมา คือความสงบจากความวุ่นวายใจอันง่อนแง่นย่อมหายไปครับ

สมาธิ ความตั้งมั่นต่อพุทธวจนะไม่คลอนแคลน เกิดขึ้นแล้วครับ

อุเบกขา เกิดขึ้นในความไม่เข้าไปชอบใจไม่ชอบใจต่อความรู้อื่นใดนอกจากพุทธวจนะครับ เป็นความรู้สึกที่ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ประกอบด้วยความสงบครับ

ทั้งหมดนี้ปรากฏกับจิต และทำให้จิตมีความรุดหน้าในการปฏิบัติธรรมครับ

สิ่งที่อ่านนั้น คือ สมาธินิมิต ประการหนึ่งครับ จิตประกอบแล้ว ด้วยสมถะและวิปัสสนาแล้วครับ

เจริญธรรมครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes คิดเห็นยังไงกับข้อความนี้ครับ

"เมื่อบุคคลตริตรึกสิ่งใดแล้วบาปอกุศลเกิดขึ้น ก็ไม่พึงตรึกถึงสิ่งนั้น ไปตรึกนึกถึงสิ่งที่ทำให้กุศลเกิดขึ้น"


เทียบกับความข้อนี้ได้ไหม

"ภิกษุ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่น จากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณ mes คิดเห็นยังไงกับข้อความนี้ครับ

"เมื่อบุคคลตริตรึกสิ่งใดแล้วบาปอกุศลเกิดขึ้น ก็ไม่พึงตรึกถึงสิ่งนั้น ไปตรึกนึกถึงสิ่งที่ทำให้กุศลเกิดขึ้น"


เทียบกับความข้อนี้ได้ไหม

"ภิกษุ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่น จากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล"



:b8: :b8: :b8:

ปัญหาคือ

เราไม่รู้ว่าวิตกหรือนิมิตไหนเป็น กุศล อกุศล

กว่าจะรู้บางทีก็หลายวัน หลายเดือน หลายปี

แต่ก็ยังดีกว่าไม่รู้ว่าอันไหนเป็นกุศล อันไหนเป็นอกุศล

ต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ

ถ้าไม่โยนิโสมนสิการเลยคือไม่มีความเพียร

อาจหลงทางไปเลยครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามเกาะขอบดูอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ รักทุกท่านครับ...^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:


ปัญหาคือ เราไม่รู้ว่าวิตกหรือนิมิตไหนเป็น กุศล อกุศล

กว่าจะรู้บางทีก็หลายวัน หลายเดือน หลายปี

แต่ก็ยังดีกว่าไม่รู้ว่าอันไหนเป็นกุศล อันไหนเป็นอกุศล ต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ

ถ้าไม่โยนิโสมนสิการเลยคือไม่มีความเพียรอาจหลงทางไปเลยครับ



ยกตัวอย่าง สมมุติว่า คุณ mes ตรึก (วิตก) ถึงครั้งที่ตนบวชอยู่วัดป่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เช่น การทำวัตรสวดมนต์เป็นต้น การย้อนนึกถึงสิ่ง...(นิมิต) แล้วเกิดปิติภาคภูมิใจ มีสุขสดชื่น...นี่เป็นกุศล

ตรงข้าม ถ้ากลับตริตรึกนึกถึงสิ่ง...(ภาพ หรือ นิมิต) ที่ตนเกิดทะเลาะกับพระด้วยกันแล้วก็เกิดความเศร้าหมองขุ่นมัว เสียใจ ไม่สบายใจ...อย่างนี้เป็นอกุศล

แต่ว่า ตนเองฉุกคิดได้ว่า เรื่องนั้นเหตุการณ์นั้นๆผ่านมาแล้วกลับไปแก้ไขไม่ได้แล้ว คิดไปก็เปล่าประโยชน์ เกิดผลเสียแก่ชีวิตจิตใจ จึงกลับได้สติ นี่เป็นลักษณะของโยนิโสมนสิการ คือ รู้จักคิด คิดเป็น คิดถูกวิธี คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ปัญหาคือ

เราไม่รู้ว่าวิตกหรือนิมิตไหนเป็น กุศล อกุศล



เมื่อตรึกอยู่ ถึง กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก นิมิตนั้นเป็นอกุศล
เมือตรึกอยู่ ถึง เนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก นิมิตนั้นเป็นกุศล

อะไรเป็นกุศล
กุศลกรรมบถ 10 เป็นกุศล

อะไรเป็นอกุศล
อกุศลกรรมบถ 10 เป็นอกุศล

ความวิตกที่ อันเกี่ยวกับกาม เกี่ยวกับพยาบาท เกี่ยวกับวิหิงสา ย่อมมี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นมูล
เป็นกิเลสนิมิต

ความวิตก อันเป็นเนกขัมมะ อัพยาบาท อวิหิงสาวิตก นิมิตนั้นเป็นสมาธินิมิต มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นมูล

เจริญธรรมครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 20:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ผมเรียนอย่างนี้ครับ

เรียนตรงๆว่ากระทู้นั้นเป็นประสพการณ์ล้วนๆ จนกระทั่งวันนี้ท่านเช่นนั้นหยิบยกเอาหลักฐานมาให้ทำให้ผมปิติเป็นอย่างยิ่งที่ตนเองไม่แสดงความผิดพลาดออกไป

:b8: :b8: :b8: :b8:

ผู้ชายสบายๆ เขียน:
ตามเกาะขอบดูอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ รักทุกท่านครับ...^^


เกาะขอบสนามด้วยคน... s002

รักทุกคน..แต่ไม่เป็นห่วง.. :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 23:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 19:46
โพสต์: 12


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูเหมือนว่า มีการทิ้งใจความสำคัญ คือ วิธีการปฏิบัตลงไปกันหมด

ตรงนี้ต้องพิจารณาให้ครบถ้วน หากพิจารณาแค่ นิมิตใดกุศล หรือ อกุศลแล้วจบเอา
ง่ายๆ ไม่พิจารณาต่อ ก็จะพลาดใจความสำคัญไปเลย



หากอ่านให้ดีๆ จะพบว่า แม้จะเลือกนิมิตที่ดีมาพิจารณาแล้ว แต่ทว่าก็ยังไม่หาย ยังเกิด
อกุศลจิตอีก พระพุทธองค์ให้ยกนิมิตที่เป็นกุศลนั้นเป็นนิมิตอันเลวเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น เราอาศัยการทำทาน เช่นเหมาผักจากแม่ค้าพ่อค้า แล้วเราก็ชุ่มชื่น
แต่ทว่า ก็ยังเที่ยวไล่ด่าพระสงฆ์องคเจ้า เช่นนี้ ก็ให้ยก การใช้นิมิตคือการระลึกถึง
ทานในการเหมาผักจากผู้เฒ่าผู้แก่ แต่ยังไล่ด่าพระได้หนักหน่วงกว่าเก่า อันนี้ให้ถือ
ว่าการทำกุศลนิมิตนั้นเป็น นิมิตอันเลวไปด้วย

เมื่อยกแล้ว ก็ให้เลิก คือ ลองไม่ทำทานดู ไม่อาศัยนิมิตกุศลนั้นดู หากละแล้วก็ยัง
ไล่ด่าพระไปทั่วประเทศ พระพุทธองค์ก็ให้พิจารณา สันฐานของนิมิตเหล่านั้นทั้ง
หมด

หากพิจารณาสัณฐาน พื้นเพที่มาแล้ว ก็ยังเที่ยวแจกหนังสือด่าพระไปทั่ว แบบยัดให้
กับมือได้อยู่อีก พระพุทธองค์ก็ชี้ใกล้หมดหนทางแล้ว

เหลือเพียงทางเดียว คือเอาลิ้นดุนเพดานปาก พูดซื่อๆ คือกลั้นใจให้เฉียดตายดู

หากทำแล้วยังแก้ไม่ได้อีก จะตายเปล่าอยู่แล้ว กิเลสยังไม่สะเทือนเลย ก็ยากที่
จะภาวนา

แต่โดยความเป็นจริงแล้ว หากใครสมาทานการปฏิบัติมาถึงขั้นสละชีวิตเพื่อเลิก
ก่ออกุศลกรรมมาถึง กลั้นใจตาย อย่างน้อยจะต้องพบแล้วหละว่า ที่ตั้งของ
อกุศลธรรมอันเลวมันอยู่ที่ใด หยั่งลงที่ใด

ซึ่งถ้าพบ และจะต้องพบแน่ๆ เพราะว่านี้ คือ มรรควิธีที่พระพุทธองค์ปะทานไว้
ให้ หากสมาทานแล้วย่อมได้ผลแน่นอน

จะเห็นว่า อย่าอ่านเพียงแค่วรรคแรก จะต้องอ่านให้ครบ โดยเฉพาะวรรคสุด
ท้ายซึ่งจะเป็นการสรุป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 00:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยอาการแห่งวิตก
[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
[๒๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่นประกอบ
อธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจาก
นิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง
โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่า
นั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล
เหมือนช่าง
ไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก โยก ถอน ลิ่มอันใหญ่ออก แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่ออาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
เป็นบาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิด
ขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อ
เธอมนสิการนิมิตนั้นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล อันประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอัน
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
นั้นแล.

[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อัน
ประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตก
เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วน
แต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาป
อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้ง
อยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว
รู้สึกอึดอัด ระอา เกลียดชังต่อซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอ [ของตน]
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่
วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้
อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้
ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
นั้นแล
[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตก
เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ อันเธอย่อมละเสีย
ได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการ
จะเห็นรูปที่ผ่านมา เขาพึงหลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสีย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หาก
เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น
อยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
ขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้น เมื่อ
เธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตก
อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
นั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษพึงเดินเร็ว เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะเดินเร็วทำ
ไมหนอ ถ้ากระไร เราพึงค่อยๆ เดิน เขาก็พึงค่อยๆ เดิน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราค่อยๆ
เดินไปทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรยืน เขาพึงยืน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า เราจะยืน
ทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรนั่ง เขาพึงนั่ง เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะนั่งทำไมหนอ
ถ้ากระไร เราควรนอน เขาพึงลงนอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษคนนั้น มาผ่อนทิ้งอิริยาบถ
หยาบๆ เสีย พึงสำเร็จอิริยาบถละเอียดๆ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น หากว่า
เมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
ด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
วิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
ขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต เมื่อเธอ
กัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าไว้ได้แล้ว
บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอ หรือก้านคอไว้ให้แน่น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอ
มนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วย
ลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตไว้ด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น
บังคับจิตอยู่ได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ
ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้ง
อยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
ผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกอัน
เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการ
นิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
นั้นแล เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
ด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรม
เอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อม
ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
วิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อัน
เธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม
ตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นกัดฟันด้วยฟัน
ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนง วิตกใด
ก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลาย
สังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ [ได้มารู้ยิ่งซึ่งธรรมของ
ท่านที่เป็นพระอรหันต์โดยชอบ]
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ
ผู้มีพระภาค แล้วแล.


ท่านใดที่ปฏิบัติธรรมทำสมาธิ วิปัสสนาจริงๆ จะเกิดประสพการณ์เช่นที่ปรากฎในพระไตรปิฎกครับ

แต่ไม่ใช่จะเกิดง่ายๆ

เวลาจะเกิดก็ไม่รู้ต้ว

ในสภาวะเช่นนั้นผู้ที่ประสพจะต้องการความเงียบที่สูงมาก

เกลียดเสียงเพลงเพราะหนวกหู

อยากคิดพิจารณาแต่วิตกที่เป็นนิมิต


การหลงผิดในนิมิตเป็นเรืองที่ทุกคนต้องเจอ จนกว่าบรรลุอรหันต์กระมั้งครับ




วิตกในที่นี้หมายถึง ความคิด

นิมิต แปลว่า เครื่องหมาย ไม่จำเป็นต้องหมายถึงนิมิตภาพ เสียง แสง ที่เจอในขณะที่ทำสมาธิเสมอไป


สภาวะที่คุณ mes นำมาโพสถามนั้น เป็นสภาวะของทุติยฌาน

สภาวะธรรมเอกผุด เป็นสภาวะของผรณาปีติ

ลักษณะเด่นของสภาวะทุติยฌาน คือ ตัวปีติ ได้แก่ ผรณาปีติ


ให้ดูตรงประโยคนี้

" เพราะละวิตก จิตย่อม ตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล "



ส่วนปฐมฌาน ปิติที่เกิดขึ้น เหมือนกับปีติที่เกิดขึ้นในสมาธิทั่วๆไป




บางคนเกิดง่าย เจอแค่สัปปายะที่เหมาะกับสภาวะ สภาวะก็จะเกิดขึ้นเอง โดยไม่ต้องตั้งใจที่จะทำให้เกิดขึ้น

บางคนพยายามทำแล้วทำอีก พยายามทำอยู่อย่างนั้น ยังไม่เกิดเลย

บางคนอยู่ที่เสียงดังกระหึ่ม ก็ยังสามารถเกิดสภาวะเช่นนี้ได้


เหตุของแต่ละคนสร้างมาไม่เหมือนกัน สภาวะจึงแตกต่างกันไป หมั่นรู้ชัดในกายและจิตได้เนืองๆ จะมีคำตอบทุกคำถามเอง จะรู้แบบหยาบๆก่อน แล้วจึงจะรู้แบบละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ



ทำตรงนี้ให้ได้ก่อนนะคุณ mes " หมั่นรู้ชัดในกายและจิตได้เนืองๆ "

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 00:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2011, 23:50
โพสต์: 143


 ข้อมูลส่วนตัว


ฟังธรรมะแล้วชื่นใจจัง
ละสัณฐานในตรึกเสียได้
อย่างนี้ ละสังโยชน์เป็นพระอรหันต์ ได้เลย
แจ่มๆ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 133 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 114 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร