วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


จริยาปิฎก

๑. การบำเพ็ญทานบารมี

อกิตติจริยาที่ ๑
ว่าด้วยจริยาวัตรของอกิตติดาบส



ในสี่อสงไขยแสนกัป ความประพฤติอันใดในระหว่างนี้ ความประพฤติทั้งหมดนั้น เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ เราจักเว้นความประพฤติในภพน้อยใหญ่ในกัปเสีย จักบอกความประพฤติในกัปนี้จงฟังเรา ในกาลใด เราเป็นดาบสชื่ออกิตติ เข้าไปอาศัยอยู่ในป่าใหญ่อันว่างเปล่า สงัดเงียบปราศจากเสียงอื้ออึง ในกาลนั้น ด้วยเดชแห่งการประพฤติตบะของเรา สมเด็จอัมรินทร์ผู้ครองไตรทิพย์ทรงร้อนพระทัย ทรงแปลงเพศเป็นพราหมณ์เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา เราได้เห็นอินทพราหมณ์มายืนอยู่ใกล้ประตูบรรณศาลาของเรา จึงเอาใบหมากเม่าที่เรานำมาแต่ป่า อันไม่มีน้ำมัน ทั้งไม่เค็ม ให้หมดพร้อมกับภาชนะ ครั้นได้ให้หมากเม่าแก่อินทพราหมณ์นั้นแล้ว เราจึงคว่ำภาชนะ ละการแสวงหาใบหมากเม่าใหม่ เข้าไปยังบรรณศาลา แม้ในวันที่ ๒ แม้ในวันที่ ๓ อินทพราหมณ์ก็เข้ามายังสำนักของเรา เราไม่หวั่นไหว ไม่อาลัยในชีวิต ได้ให้หมดสิ้นเช่นวันก่อนเหมือนกัน ในสรีระของเราไม่มีความหมองศรีเพราะการอดอาหารนั้นเป็นปัจจัย เรายับยั้งอยู่ตลอดวันนั้นๆ ด้วยปีติ สุข และความยินดี (อันเกิดแต่ความยินดี) ถ้าเราพึงได้ทักขิเณยยบุคคลผู้ประเสริฐ แม้เดือนหนึ่งสองเดือนเราก็ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้ใจพึงให้ทานอันอุดม เมื่อให้ทานแก่อินทพราหมณ์นั้น เราจะได้ปรารถนายศและลาภก็หามิได้ เราปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ(เท่านั้น) จึงได้ประพฤติกรรมเหล่านั้น ฉะนี้.

จบอกิตติจริยาที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หัวข้อที่ ๑


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 30 ม.ค. 2014, 00:03, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สังขพราหมณจริยาที่ ๒
ว่าด้วยจริยาวัตรของสังขพราหมณ์


อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อเราเป็นพราหมณ์มีนามว่าสังขะ ต้องการจะข้ามมหาสมุทรไปอาศัยปัฏฏนคามอยู่ ในกาลนั้น เราได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้รู้เอง ใครๆ ชนะไม่ได้ ซึ่งเดินสวนทางมาตามทางกันดารบนภาคพื้นอันแข็ง ร้อนจัด ครั้นเราเห็นท่านเดินสวนทางมา จึงคิดเนื้อความนี้ว่า บุญเขตนี้มาถึงแก่เราผู้เป็นสัตว์ที่ต้องการบุญเปรียบเหมือนบุรุษชาวนาเห็นนาอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ (เป็นที่น่ายินดีมาก) ไม่ปลูกพืชลงในนานั้น เขาชื่อว่าเป็นผู้ไม่ต้องการด้วยข้าวเปลือกฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ต้องการบุญ เห็นเขตบุญอันประเสริฐสุดแล้ว ถ้าไม่ทำบุญ (สักการะ) เราก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ต้องการบุญ เปรียบเหมือนอำมาตย์ต้องการจะให้ชนชาวเมืองของพระราชายินดีแต่ไม่ให้ทรัพย์และข้าวเปลือกแก่เขา ก็ย่อมเสื่อมจากความยินดีฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ต้องการบุญ เห็นทักขิเณยยบุคคลอันไพบูลย์แล้ว ถ้าไม่ให้ทานในทักขิเณยยบุคคลนั้นก็จักเสื่อมจากบุญ ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้วจึงถอดรองเท้า ไหว้เท้าของท่านแล้ว ได้ถวายร่มและรองเท้า เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้ละเอียดอ่อนเจริญสุขได้ร้อยเท่าพันทวี อนึ่ง เมื่อเราบำเพ็ญทานให้บริบูรณ์ได้ถวายแก่ท่านนั้น อย่างนี้แล.

จบสังขพราหมณจริยาที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หัวข้อที่ ๒


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กุรุธรรมจริยาที่ ๓
ว่าด้วยพระจริยาวัตรของพระเจ้าธนญชัย


อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อเราเป็นพระราชามีนามว่าธนญชัย อยู่ในอินทปัตถบุรีอันอุดม ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ในกาลนั้น พวกพราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ ได้มาหาเรา ขอพระยาคชสารทรง อันประกอบด้วยมงคลหัตถี กะเราว่าชนบทฝนไม่ตกเลยเกิดทุพภิกขภัย อดอยากอาหารมาก ขอพระองค์จงทรงพระราชทานพระยาคชสารตัวประเสริฐมีสีกายเขียวชื่ออัญชนะเถิด เราคิดว่าการห้ามยาจกทั้งหลายที่มาถึงแล้ว ไม่สมควรแก่เราเลย กุศลสมาทานของเราอย่าทำลายเสียเลย เราจักให้คชสารตัวประเสริฐ เราได้รับงวงพระยาคชสาร วางลงบนมือพราหมณ์ แล้วจึงหลั่งน้ำในเต้าทองลงบนมือได้ให้พระยาคชสารแก่พราหมณ์ เมื่อเราได้ให้พระยาคชสารแล้ว พวกอำมาตย์ได้กล่าวดังนี้ว่า เหตุไรหนอพระองค์จึงพระราชทานพระยาคชสารตัวประเสริฐ อันประกอบด้วยธัญญลักษณ์ สมบูรณ์ด้วยมงคล ชนะในสงครามอันสูงสุด แก่ยาจกเมื่อพระองค์ทรงพระราชทานคชสารแล้ว พระองค์จักเสวยราชสมบัติได้อย่างไร [เราได้ตอบว่า] แม้ราชสมบัติทั้งหมดเราก็พึงให้ ถึงสรีระของตน เราก็พึงให้ เพราะสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น เราจึงได้ให้พระยาคชสาร ดังนี้แล.

จบกุรุธรรมจริยาที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หัวข้อที่ ๓


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


มหาสุทัสนจริยาที่ ๔
ว่าด้วยพระจริยาวัตรของพระมหาสุทัสนจักรพรรดิ


ในเมื่อเราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพระนามว่ามหาสุทัสนะมีพลานุภาพมาก ได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน เสวยราชสมบัติในพระนครกุสาวดี ในกาลนั้น เราได้สั่งให้ประกาศทุกๆ วัน วันละ ๓ ครั้งว่าใครอยากปรารถนาอะไร เราจะให้ทรัพย์อะไรแก่ใคร ใครหิว ใครกระหาย ใครต้องการดอกไม้ ใครต้องการเครื่องลูบไล้ ใครขาดแคลนผ้าสีต่างๆ ก็จงมาถือเอาไปนุ่งห่ม ใครต้องการร่มไปในหนทางก็จงมารับเอาไป ใครต้องการรองเท้าอันอ่อนงาม ก็จงมารับเอาไปเราให้ประกาศดังนี้ทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทุกวัน ทานนั้นมิใช่เราตกแต่งไว้ในที่ ๑๐ แห่ง หรือมิใช่ ๑๐๐ แห่งเราตกแต่งทรัพย์ไว้สำหรับยาจกในที่หลายร้อยแห่ง วณิพกจะมาในเวลากลางวันก็ตามหรือในเวลากลางคืนก็ตามก็ได้โภคะตามความปรารถนา พอเต็มมือกลับไป เราได้ให้มหาทานเห็นปานนี้จนตราบเท่าสิ้นชีวิต เราได้ให้ทรัพย์ที่น่าเกลียดก็หามิได้ และเราไม่มีการสั่งสมก็หามิได้ เปรียบเหมือนคนไข้กระสับกระส่าย เพื่อจะพ้นจากโรค ต้องการให้หมอพอใจด้วยทรัพย์จึงหายจากโรคได้ ฉันใด เราก็ฉันนั้น รู้อยู่ (ว่า ทานบริจาคเป็นอุบายเครื่องเปลื้องตนและสัตว์โลกทั้งสิ้น ให้พ้นจากโลกคือสังขารทุกข์ทั้งสิ้นได้) จึงบำเพ็ญทานให้บริบูรณ์โดยไม่มีเศษเหลือเพื่อยังใจที่บกพร่องให้เต็มเราจึงให้ทานแก่วณิพกเรามิได้อาลัย มิได้หวังอะไร ได้ให้ทานเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ ฉะนี้แล.

จบมหาสุทัสนจริยาที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หัวข้อที่ ๓


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


มหาโควินทจริยาที่ ๕
ว่าด้วยจริยาวัตรของโควินทพราหมณ์


อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพราหมณ์นามว่ามหาโควินท์ เป็นปุโรหิตของพระราชา ๗ พระองค์ อันนรชนและเทวดาบูชา ในกาลนั้น เครื่องบรรณาการอันใดในราชอาณาจักรทั้ง ๗ ได้มีแล้วแก่เรา เราได้ให้มหาทานร้อยล้านแสนโกฏิเปรียบด้วยสาครด้วยบรรณาการนั้น เราจะเกลียดทรัพย์และข้าวเปลือกก็หามิได้ และเราจะไม่มีการสั่งสมก็หามิได้ แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น เราจึงให้ทานอย่างประเสริฐ ฉะนี้แล.

จบมหาโควินทจริยาที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หัวข้อที่ ๕


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 29 ม.ค. 2014, 23:45, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เนมิราชจริยา ที่ ๖
ว่าด้วยพระจริยาวัตรของพระเจ้าเนมิราช


อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นมหาราชาพระนามว่าเนมิเป็นบัณฑิต ต้องการกุศลอยู่ในพระนครมิถิลาอันอุดมในกาลนั้น เราได้สร้างศาลา ๔ แห่ง อันมีหน้ามุขหลังละสี่ๆ เรายังทานให้เป็นไปในศาลานั้นแก่ เนื้อ นก และนรชนเป็นต้น ยังมหาทาน คือ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน และโภชนะ คือ ข้าว และน้ำ ให้เป็นไปแล้วไม่
ขาดสาย เปรียบเหมือนเสวก เข้าไปหานายเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ย่อมแสวงหานายที่พึงให้ยินดีได้ ด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมฉันใด เราก็ฉันนั้น จักแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณในภพทั้งปวง จึงยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยทาน แล้วปรารถนาโพธิญาณอันอุดม ฉะนี้แล.

จบเนมิราชจริยาที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หัวข้อที่ ๖


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 29 ม.ค. 2014, 23:45, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


จันทกุมารจริยาที่ ๗
ว่าด้วยพระจริยาวัตรของพระจันทกุมาร


อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นโอรสของพระเจ้าเอกราชมีนามว่าจันทกุมาร อยู่ในพระนครปุบผวดี ในกาลนั้นเราพ้นจากการบูชายัญแล้ว ออกไปจากที่บวงสรวงนั้นยังความสังเวชให้เกิดขึ้น แล้วยังมหาทานให้เป็นไป เราไม่ให้ทานแก่ทักขิเณยยบุคคลแล้วย่อมไม่ดื่มน้ำ ไม่เคี้ยวของเคี้ยว และไม่บริโภคโภชนะ ๕-๖ ราตรีบ้างเปรียบเหมือนพ่อค้า รวบรวมสินค้าไว้แล้ว ในที่ใดจะมีลาภมาก(ได้กำไรมาก) ก็นำสินค้าไปในที่นั้น ฉันใดแม้อาหารของตนที่เราให้แล้วแก่คนอื่น มีกำลังมาก (มากมาย) ฉันนั้น (สิ่งของที่เราให้ผู้อื่น มีกำลังมากกว่าสิ่งของที่ตนใช้เอง ฉันนั้น) เพราะฉะนั้น ทานที่เราให้ผู้อื่นจักเป็นส่วนร้อย เรารู้อำนาจประโยชน์นี้ จึงให้ทานในภพน้อยภพใหญ่ เราไม่ถอยกลับ (ไม่ท้อถอย) จากการให้ทานเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ ฉะนี้แล.

จบจันทกุมารจริยาที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หัวข้อที่ ๗


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สีวีราชจริยาที่ ๘
ว่าด้วยพระจริยาวัตรของพระเจ้าสีวีราช


ในกาลเมื่อเราเป็นกษัตริย์พระนามว่าสีวี อยู่ในพระนครอันมีนามว่าอริฏฐะ เรานั่งอยู่ในปราสาทอันประเสริฐ ได้ดำริอย่างนี้ว่า ทานที่มนุษย์พึงให้อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เราไม่ได้ให้แล้วไม่มี แม้ผู้ใดพึงขอจักษุกะเรา เราก็พึงให้ไม่หวั่นใจเลย ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าทวยเทพทรงทราบความดำริของเราแล้ว ประทับนั่งในเทพบริษัทได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่าพระเจ้าสีวีผู้มีฤทธิ์มาก ประทับนั่งในปราสาทอันประเสริฐ พระองค์ทรงดำริถึงทานต่างๆ ไม่ทรงเห็นสิ่งที่ยังมิได้ให้ข้อนั้นจะเป็นจริงหรือไม่หนอ ผิฉะนั้น เราจักทดลองพระองค์ดูท่านทั้งหลายพึงคอยอยู่สักครู่หนึ่ง เพียงเรารู้น้ำใจของพระเจ้าสีรีเท่านั้น ท้าวสักกะจึงทรงแปลงเพศเป็นคนตาบอด มีกายสั่น ศีรษะหงอก หนังหย่อน กระสับกระส่าย เพราะชรา เข้าไปเฝ้าพระราชาในกาลนั้น อินทพราหมณ์นั้น ประคองพระพาหาเบื้องซ้ายขวาประนมกรอัญชลีเหนือเศียรได้กล่าวคำนี้ว่า ข้าแต่พระมหาราชาผู้ทรงธรรม ทรงปกครองรัฐให้เจริญ ข้าพระองค์จะขอกะพระองค์เกียรติคุณคือความยินดีในทานของพระองค์ ขจรไปในเทวดาและมนุษย์หน่วยตาแม้ทั้งสองของข้าพระองค์บอดเสียแล้ว ขอจงพระราชทานพระเนตรข้างหนึ่งแก่ข้าพระองค์เถิด แม้พระองค์จักทรงยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยพระเนตรข้างหนึ่ง เราได้ฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้ว ทั้งดีใจและสลดใจประคองอัญชลี มีปีติและปราโมทย์ ได้กล่าวคำนี้ว่า เราคิดแล้วลงจากปราสาทมาถึงที่นี้บัดนี้เอง ท่านรู้จิตของเราแล้ว มาขอนัยน์ตา โอ ความปรารถนาของเราสำเร็จแล้วความดำริของเราบริบูรณ์แล้ว วันนี้ เราจักให้ทานอันประเสริฐ ซึ่งเราไม่เคยให้ แก่ยาจก มานี่แน่ะหมอสิวิกะ จงขมีขมันอย่าชักช้าอย่าครั่นคร้าม จงควักนัยน์ตาแม้ทั้งสองข้างออกให้แก่วณิพกนี้เดี๋ยวนี้ หมอสิวิกะนั้นเราเตือนแล้ว เชื่อฟังคำของเรา ได้ควักนัยน์ตาทั้งสองออกให้แก่ยาจกทันที เมื่อเราจะให้ก็ดี กำลังให้ก็ดีให้แล้วก็ดี จิตของเราไม่เป็นอย่างอื่น เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณนั้นเอง จักษุทั้งสองเราจะเกลียดชังก็หามิได้ แม้ตนเราก็มิได้เกลียดชัง แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น เราจึงได้ให้จักษุ ฉะนี้แล.

จบสีวีราชจริยาที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หัวข้อที่ ๘


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 30 ม.ค. 2014, 00:03, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 10:28
โพสต์: 439


 ข้อมูลส่วนตัว




567.jpg
567.jpg [ 33.53 KiB | เปิดดู 7068 ครั้ง ]
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ
ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป

.....................................................
สรรพสิ่งทุกอย่าง ล้วนมี เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

.................................................................................................
ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีเหตุและผลอยู่ในตัว
การกระทำของตนย่อมเป็นกรรมที่ตนกำหนดเอง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 23:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 23:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เวสสันตรจริยาที่ ๙
ว่าด้วยพระจริยาวัตรของพระเวสสันดร

นางกษัตริย์พระนามว่าผุสสดีพระชนนีของเรา พระนางเป็นมเหสีของท้าวสักกะ ในชาติที่ล่วงมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพทรงเห็นว่าพระนางจะสิ้นอายุ จึงตรัสดังนี้ว่า เราจะให้พร ๑๐ ประการแก่เธอ นางผู้เจริญ จะปรารถนาพรอันใด พอท้าวสักกะตรัสอย่างนี้เท่านั้น พระเทวีนั้นได้ทูลท้าวสักกะ ดังนี้ว่า หม่อมฉันมีความผิดอะไรหรือ หรือพระองค์เกลียดหม่อมฉันเพราะเหตุใด จึงจะให้หม่อมฉันเคลื่อนจากสถานอันรื่นรมย์เหมือนลมพัดให้ต้นไม้หวั่นไหว ฉะนั้น เมื่อพระนางผุสสดีตรัสอย่างนี้ ท้าวสักกะนั้นได้ตรัสกะพระนางดังนี้อีกว่า เธอไม่ได้ทำความชั่วเลย และจะไม่เป็นที่รักของเราก็หามิได้ แต่อายุของเธอมีประมาณเท่านี้เอง เวลานี้เป็นเวลาที่เธอจักต้องจุติ เธอจงรับเอาพร ๑๐ ประการอันประเสริฐสุด ที่ฉันให้เถิด พระนางผุสสดีนั้น มีพระทัยยินดี ร่าเริงเบิกบานพระทัย ทรงรับเอาพร ๑๐ ประการซึ่งเป็นพรอันท้าวสักกะพระราชทานทรงทำเราไว้ในภายใน พระนางผุสสดีนั้น จุติจากดาวดึงส์นั้นแล้ว มาบังเกิดในตระกูลกษัตริย์ ได้สมาคมกับพระเจ้ากรุงสญชัย (เป็นมเหสีของพระเจ้ากรุงสญชัย) ในพระนครเชตุดร ในกาลเมื่อเราลงสู่พระครรภ์ของพระนางผุสสดี พระมารดาที่รัก ด้วยเดชของเรา พระมารดาของเราเป็นผู้ยินดีในทานทุกเมื่อ ทรงให้ทานแก่คนยากจน คนป่วยไข้(กระสับกระส่าย) คนแก่ ยาจก คนเดินทาง สมณพราหมณ์คนสิ้นเนื้อประดาตัว คนไม่มีอะไรเลย พระนางผุสสดีทรงพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือน เมื่อพระเจ้าสญชัยทรงทำประทักษิณพระนคร พระนางก็ประสูติเรา ณ ท่ามกลางถนนของพวกคนค้าขาย นามของเราจึงไม่เนื่องข้างฝ่ายพระมารดา และไม่เกิดเนื่องข้างฝ่ายพระบิดา เพราะเราเกิดที่ถนนของคนค้าขายนี้ ฉะนั้น เราจึงมีชื่อว่าเวสสันดร ในกาลเมื่อเราเป็นทารกอายุ ๘ ปีแต่กำเนิด ในกาลนั้น เรานั่งอยู่ในปราสาทคิดเพื่อจะให้ทานว่า เราพึงให้หทัย จักษุ แม้เนื้อและเลือด เราพึงให้ทานทั้งกาย ถ้าใครได้ยินแล้ว พึงขอกะเรา เมื่อเราคิดถึงความเป็นจริง จิตของเราไม่หวั่นไหว ไม่หดหู่ ในขณะนั้น แผ่นดิน เขาสิเนรุราชและป่าหิมพานต์ได้หวั่นไหว ในเดือนเต็มวันอุโบสถที่ ๑๕ ทุกกึ่งเดือน เราขึ้นคอมงคลหัตถีปัจจัยนาค เข้าไปยังศาลาเพื่อจะให้ทานพราหมณ์ทั้งหลายชาวกาลิงครัฐ ได้มาหาเราได้ขอพระยาคชสารทรง อันประกอบด้วยมงคลหัตถีกะเราว่า ชนบทฝนไม่ตกเกิดทุพภิกขภัย อดอยากมากมาย ขอพระองค์ทรงโปรดพระราชทานพระยาคชสารตัวประเสริฐ เผือกผ่อง อันเป็นช้างมงคลอุดม พราหมณ์ทั้งหลายขอสิ่งใดกะเรา เราย่อมให้สิ่งนั้นไม่หวั่นไหวเลย เราไม่ซ่อนเร้นของที่มีอยู่ ใจของเรายินดีในทาน เมื่อยาจกมาถึงแล้ว การห้าม (การไม่ให้) ไม่สมควรแก่เรา กุศลสมาทานของเราอย่าทำลายเสีย เราจักให้คชสารตัวประเสริฐ เราได้จับงวงพระยาคชสารวางลงบนมือพราหมณ์แล้วจึงหลั่งน้ำเต้าทองลงบนมือ ได้ให้พระยาคชสารแก่พราหมณ์ เมื่อเราให้พระยามงคลคชสารอันอุดม เผือกผ่อง อีก แม้ในกาลนั้น แผ่นดินเขาสิเนรุราช และป่าหิมพานต์ก็ได้หวั่นไหว เพราะเราให้พระยาคชสารนั้น ชาวพระนครสีพีพากันโกรธเคือง มาประชุมกันแล้ว ขับไล่เราจากแว่นแคว้นของตนว่าจงไปยังภูเขาวงกต เมื่อชาวพระนครเหล่านั้นขับไล่ จิตของเราไม่หวั่นไหว ไม่หดหู่ เราได้ขอพรอย่างหนึ่ง เพื่อจะยังมหาทานให้เป็นไป เมื่อเราขอแล้ว ชาวพระนครสีพีทั้งหมด ได้ให้พรอย่างหนึ่งแก่เรา เราจึงให้เอากลองคู่หนึ่งไปตีประกาศว่าเราจะให้มหาทาน ครั้นเมื่อเราให้ทานอยู่ในโรงทานนั้น เสียงดังกึกก้องอึงมี่ย่อมเป็นไปว่า ชาวพระนครสีพีขับไล่พระเวสสันดรนี้เพราะให้ทาน พระองค์จะยังให้ทานอีกเล่า เราได้ให้ช้าง ม้า รถ ทาสี ทาส แม่โค ทรัพย์ ครั้นให้มหาทานแล้ว ก็ออกจากพระนครไปในกาลนั้น ครั้นเราออกจากพระนครแล้ว กลับผินหน้ามาเหลียวดู แม้ในกาลนั้น แผ่นดินเขาสิเนรุราชและป่าหิมพานต์ ก็หวั่นไหว เราให้ม้าสินธพ ๔ ตัว และรถ แล้วยืนอยู่ที่ทางใหญ่ ๔ แยก ผู้เดียวไม่มีเพื่อนสอง ได้กล่าวกะพระนางมัทรีเทวีดังนี้ว่า ดูกรแม่มัทรี เธอจงอุ้มกัณหากุมารีเถิด เพราะเธอเป็นน้องคงเบากว่า พี่จะอุ้มพ่อชาลี เพราะเขาเป็นพี่คงจะหนักพระนางมัทรีทรงอุ้มแม่กัณหาผู้อ่อนนุ่ม ดังดอกปทุมและบัวขาว เราได้อุ้มพ่อชาลีหน่อกษัตริย์ เปรียบดังแท่งทองคำชนทั้ง ๔ เป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติเกิดในสกุลสูง ได้เสด็จดำเนินไปตามทางอันขรุขระและราบเรียบ ไปยังเขาวงกต มนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เดินตามมาในหนทางก็ดี สวนทางมาก็ดี เราทั้งหลายได้ไต่ถามเขาถึงหนทางว่า เขาวงกตอยู่ที่ไหน เขาเห็นเราทั้งหลาย ณ ที่นั้นแล้ว ได้เปล่งเสียงอันประกอบด้วยกรุณาว่า กษัตริย์เหล่านี้คงจะต้องได้เสวยทุกข์อย่างยิ่ง เพราะเขาวงกตยังไกล ถ้าพระกุมารทั้งหลายเห็นต้นไม้อันมีผลในป่าใหญ่ พระกุมารกุมารีก็จะทรงกรรแสง เพราะเหตุแห่งผลไม้เหล่านั้น ต้นไม้ทั้งหลายอันสูงใหญ่ไพศาล เห็นพระกุมารกุมารีทรงกรรแสงก็โน้มยอดลงมาหาพระกุมารและพระกุมารีเองพระนางมัทรีผู้ทรงความงามทั่วสรรพางค์ ทรงเห็นความอัศจรรย์นี้อันไม่เคยมีมา น่าขนลุกขนพอง จึงยังสาธุการให้เป็นไปว่า ความอัศจรรย์อันไม่เคยมีในโลก บังเกิดขนชูชันหนอ หมู่ไม้น้อมยอดลงมาเอง ด้วยเดชแห่งพระเวสสันดร เทวดาทั้งหลายได้ย่นทางให้ ด้วยความเอ็นดูพระกุมารกุมารี ในวันที่เราออกจากพระนครสีพีนั้นเองเราทั้ง ๔ ได้ไปถึงเจตรัฐ ในกาลนั้น พระราชา (เจ้า) หกหมื่นองค์อยู่ในพระนครมาตุละ ต่างก็ประนมกรอัญชลีพากันร้องไห้มาหา เราเจรจาปราศรัยกับโอรสของพระเจ้าเจตราชเหล่านี้อยู่ ณ ที่นั้น ให้โอรสของพระเจ้าเจตราชเหล่านั้นกลับที่ประตูนั้นแล้ว ได้ไปยังเขาวงกต ท้าวสักกะจอมเทวดา ตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรผู้มีฤทธิ์มาก แล้วรับสั่งให้ไปเนรมิตบรรณศาลาอย่างสวยงาม น่ารื่นรมย์สำหรับเป็นอาศรม เราทั้ง ๔ คน มาถึงป่าใหญ่อันเงียบเสียงอื้ออึง ไม่เกลื่อนกล่นด้วยฝูงชนอยู่ในบรรณศาลานั้น ณ เชิงเขา ในกาลนั้นเรา พระนางมัทรีเทวี พ่อชาลีและแม่กัณหาทั้งสอง บรรเทาความเศร้าโศกของกันและกันอยู่ในอาศรม เรารักษาเด็กทั้งสองอยู่ในอาศรม อันไม่ว่างเปล่า พระนางมัทรีนำผลไม้มาเลี้ยงคนทั้งสามเมื่อเราอยู่ในป่าใหญ่ ชูชกพราหมณ์เดินเข้ามาหาเรา ได้ขอบุตรทั้งสองของเรา คือ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินา เพราะได้เห็นยาจกเข้ามาหา ความร่าเริงเกิดขึ้นแก่เรา ในกาลนั้น เราได้พาบุตรทั้งสองมาให้แก่พราหมณ์ เมื่อเราสละบุตรทั้งสองของตนให้แก่ชูชกพราหมณ์ในกาลใด แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน เขาสิเนรุราช และป่าหิมพานต์ ก็หวั่นไหว ท้าวสักกะทรงแปลงเพศเป็นพราหมณ์เสด็จลงจากเทวโลก มาขอนางมัทรีผู้มีศีลมีจริยาวัตรอันงาม กะเราอีก เรามีความดำริแห่งใจอันเลื่อมใส จับพระหัตถ์พระนางมัทรี ยังฝ่ามือให้เต็มด้วยน้ำ ได้ให้พระนางมัทรีแก่พราหมณ์นั้น เมื่อเราให้พระนางมัทรี หมู่เทวดาในอากาศเบิกบาน (พลอยยินดี) แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน เขาสิเนรุราช และป่าหิมพานต์ ก็หวั่นไหว เราสละพ่อชาลีแม่กัณหาชินาผู้ธิดา และพระนางมัทรีเทวีผู้มีจริยาวัตรอันงาม ไม่คิดถึงเลย เพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่นเอง เราจะเกลียดบุตรทั้งสองหามิได้ จะเกลียดพระนางมัทรีก็หามิได้ แต่สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้นเราให้บุตรและภรรยาผู้เป็นที่รัก อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมารดาและพระบิดาเสด็จมาพร้อมกัน ณ ป่าใหญ่ ทรงกรรแสงสะอึกสะอื้นน่าสงสาร ตรัสถามถึงสุขทุกข์กันอยู่ เราได้เข้าเฝ้าพระมารดาและพระบิดาทั้งสองผู้เป็นที่เคารพด้วยหิริและโอตตัปปะ แม้ในกาลนั้น แผ่นดินเขาสิเนรุราช และป่าหิมพานต์ ก็หวั่นไหวอีกครั้งหนึ่งเรากับบรรดาพระญาติของเราออกจากป่าใหญ่ จักเข้าสู่พระนครเชตุดร อันเป็นนครน่ารื่นรมย์ แก้ว ๗ ประการตกลงแล้ว มหาเมฆยังฝนให้ตก (มหาเมฆยังฝนแก้ว ๗ ประการให้ตกลง) แม้ในกาลนั้นแผ่นดิน เขาสิเนรุราชและป่าหิมพานต์ ก็หวั่นไหว แม้แผ่นดินนี้ไม่มีจิตใจไม่รู้สุขและทุกข์ก็หวั่นไหวถึง ๗ ครั้ง เพราะกำลังแห่งทานของเรา ฉะนี้แล.

จบเวสสันตรจริยาที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หัวข้อที่ ๙


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 30 ม.ค. 2014, 00:03, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สสปัณฑิตจริยาที่ ๑๐
ว่าด้วยจริยาวัตรของสสบัณฑิต


อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นกระต่ายเที่ยวอยู่ในป่า มีหญ้าใบไม้ ผักและผลไม้เป็นภักษา เว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น ในกาลนั้น ลิง สุนัขจิ้งจอก ลูกนาค และเราเป็นสหายอยู่ร่วมกัน มาพบกันทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า เราสั่งสอนสหายเหล่านั้นในกุศลธรรมและอกุศลธรรมว่าท่านทั้งหลาย จงเว้นบาปกรรมเสีย จงตั้งอยู่ในกรรมอันงาม เราเห็นพระจันทร์เต็มดวงในวันอุโบสถ จึงบอกแก่สหายเหล่านั้นว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ ท่านทั้งหลายจงตระเตรียมทานทั้งหลายเพื่อให้แก่ทักขิไณยยบุคคล ครั้นให้ทานแก่ทักขิไณยยบุคคลแล้ว จงรักษาอุโบสถ สหายเหล่านั้นรับคำของเราว่าสาธุ แล้วได้ตระเตรียมทานต่างๆ ตามสติกำลัง แล้วแสวงหาทักขิไณยยบุคคล เรานอนคิดถึงทานอันสมควรแก่ทักขิไณยยบุคคลว่า ถ้าเราพึงได้ทักขิไณยยบุคคล เราจักให้อะไรเป็นทาน งา ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวสาร และเปรียง ของเราไม่มี เราเลี้ยงชีวิตด้วยหญ้า ถ้าทักขิไณยยบุคคลมาสักท่านหนึ่ง เพื่อขอในสำนักของเรา เราพึงให้ตนของตน ทักขิไณยยบุคคลจักไม่ไปเปล่า ท้าวสักกะทรงทราบความดำริของเราแล้ว แปลงเพศเป็นพราหมณ์เสด็จเข้ามายังสำนักของเรา เพื่อทรงทดลองทานของเรา เราเห็นพราหมณ์นั้นแล้วก็ยินดี ได้กล่าวคำนี้ว่าท่านมาถึงในสำนักของเรา เพราะเหตุแห่งอาหาร เป็นการดีแล วันนี้เราจักให้ทานอันประเสริฐที่ใครๆ ไม่เคยให้แก่ท่าน ท่านผู้ประกอบด้วยศีลคุณ การเบียดเบียนผู้อื่นไม่ควรแก่ท่าน ท่านจงไปนำเอาไม้ต่างๆ มาก่อไฟขึ้น เราจักปิ้งตัวของเราท่านจักได้กินเนื้อที่สุกพราหมณ์รับคำแล้ว มีใจร่าเริง นำเอาไม้ต่างๆ มาได้ทำเชิงตะกอนใหญ่ ทำเป็นห้องอันเต็มด้วยถ่านเพลิงก่อไฟโพลงขึ้น ณ ที่นั้นทันทีเหมือนไฟนั้นเป็นกองใหญ่ฉะนั้น เราสลัดตัวอันมีธุลีแล้ว เข้าไปนั่งอยู่ข้างหนึ่งในเมื่อกองไม้อันไฟติดทั่วแล้ว เป็นควันตระลบอยู่ ในกาลนั้น เราโดดลงในท่ามกลางระหว่างเปลวไฟ น้ำเย็นอันผู้ใดผู้หนึ่งดำลงแล้ว ย่อมระงับความกระวนกระวายและความร้อน ย่อมให้ความยินดีและปีติ ฉันใดในกาลเมื่อเราเข้าไปยังไฟที่ลุกโพลง ก็ฉันนั้นเหมือนกันความกระวนกระวายทั้งปวงย่อมระงับ ดังดำลงในน้ำเย็นฉะนั้น เราได้ให้แล้วซึ่งกายทั้งสิ้นโดยไม่เหลือ คือ ขน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก และชิ้นเนื้อหทัยแก่พราหมณ์ ฉะนี้แล.

จบสสปัณฑิตจริยาที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หัวข้อที่ ๑๐


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 30 ม.ค. 2014, 00:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


รวมจริยาที่มีในวรรณนี้ คือ
อกิตติดาบส สังขพราหมณ์ พระเจ้าธนญชัยกุรุราช พระเจ้ามหา
สุทัสนจักรพรรดิราช มหาโควินทพราหมณ์ พระเจ้าเนมิราช จันท
กุมารพระเจ้าสีวิราช เวสสันดร และสสบัณฑิตผู้ให้ทานอันประเสริฐ
ในกาลนั้น เป็นเรานี้เอง ทานเหล่านี้เป็นบริวารแห่งทาน เป็นทาน
บารมี เราได้ให้ชีวิตเป็นทานแก่ยาจกจึงยังบารมีนี้ให้เต็มได้ เราเห็น
ยาจกเข้ามาเพื่อขอแล้ว ได้สละตนของตนให้ ความเสมอด้วยทาน
ของเราไม่มี นี้เป็นทานบารมีของเรา ฉะนี้แล.
จบการบำเพ็ญทานบารมีที่ ๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สีลวนาคจริยาที่ ๑
ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาช้างสีลวนาค


ในกาลเมื่อเราเป็นกุญชรเลี้ยงมารดาอยู่ในป่าหิมพานต์ ในกาลนั้นในพื้นแผ่นดินนี้ ไม่มีอะไรที่จะเสมอด้วยศีลคุณของเรา พรานป่าพบเราในป่าใหญ่แล้ว ได้กราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ ช้างมงคลอันสมควรเป็นพระที่นั่งทรง มีอยู่ในป่าใหญ่ อันการจับช้างนั้นไม่ต้องขุดคู แม้การปักเสาตลุงและการขุดหลุมลวง ก็ไม่ต้องในขณะที่จับเข้าที่งวงเท่านั้น ช้างนั้นก็จะมา ณ ที่นี้เองพระเจ้าข้า ฝ่ายพระราชาได้ทรงฟังคำของพรานป่านั้นแล้วทรงดีพระทัย ทรงส่งไปซึ่งควาญช้างซึ่งเป็นอาจารย์ผู้ฉลาดศึกษาดีแล้ว ควาญช้างนั้นไปแล้ว ได้พบช้างกำลังถอนเง่าบัวอยู่ในสระบัวหลวงเพื่อต้องการเลี้ยงมารดาควาญช้างรู้ศีลคุณของเรา พิจารณาดูลักษณะแล้วกล่าวว่า มานี่แน่ะลูกแล้วได้จับเข้าที่งวงของเรา ในกาลนั้นกำลังของเราที่มีอยู่ในกายตามปรกติอันใด วันนี้กำลังของเรานั้นเสมอเหมือนกับกำลังของช้างหลายพัน ถ้าเราโกรธแก่ควาญช้างเหล่านั้นผู้เข้ามาใกล้เพื่อจับเราเราพึงสามารถจะเหยียบย่ำเขาเหล่านั้น ได้แม้ตลอดราชสมบัติของมนุษย์แต่ถึงแม้เราจะถูกเขาใส่ไว้ในเสาตลุงเราก็ไม่ทำจิตโกรธเคือง เพื่อรักษาศีล เพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์ถ้าเขาเหล่านั้นพึงทำลายเราที่เสาตลุงนี้ด้วยขวานและหอกซัด เราก็จะไม่โกรธเขาเหล่านั้นเลยเพราะเรากลัวศีลของเราจะขาด ฉะนี้แล.

จบสีลวนาคจริยาที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หัวข้อที่ ๑๑


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 30 ม.ค. 2014, 00:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ภูริทัตตจริยาที่ ๒
ว่าด้วยจริยาวัตรของภูริทัตตนาคราช


อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระยานาคชื่อภูริทัต มีฤทธิ์มากเราไปยังเทวโลกพร้อมกับท้าววิรูปักข์มหาราช ในเทวโลกนั้น เราได้เห็นทวยเทพผู้สมบูรณ์ด้วยความสุขโดยส่วนเดียว จึงสมาทานศีลวัตร เพื่อต้องการจะไปยังสวรรค์นั้น เราชำระร่างกาย บริโภคอาหารพอเป็นเครื่องเลี้ยงอาชีพแล้ว อธิษฐานอุโบสถมีองค์ ๔ ประการว่าผู้ใดพึงทำกิจด้วยผิวหนังก็ดี ด้วยเนื้อก็ดี ด้วยเอ็นก็ดี ด้วยกระดูกก็ดี ขอผู้นั้นจงนำเอาอวัยวะที่เราให้นี้ไปเถิด แล้วนอนอยู่บนยอดจอมปลวก พราหมณ์อาลัมพาน อันบุคคลผู้ไม่รู้อุปการะที่ บุคคลอื่นทำแล้ว บอกแล้ว ได้จับเราใส่ไว้ในตะกร้า ให้เราเล่นในที่นั้นๆ แม้เมื่อพราหมณ์อาลัมพานใส่เราไว้ในตะกร้า แม้เมื่อบีบเราด้วยฝ่ามือ เราก็ไม่โกรธเพราะเรากลัวศีลของเราจะขาด การที่เราบริจาคชีวิตของตนเป็นของเบาแม้กว่าหญ้า การล่วงศีลของเราเป็นเหมือนดังว่าแผ่นดิน เราพึงสละชีวิตของเราสิ้นร้อยชาติเนืองๆ เราไม่พึงทำลายศีลแม้เพราะเหตุแห่งทวีปทั้ง ๔ ถึงแม้เราจะถูกพราหมณ์อาลัมพานใส่ไว้ในตะกร้าเราก็มิได้ทำจิตให้โกรธเคือง เพื่อรักษาศีลเพื่อบำเพ็ญศีลบารมีให้เต็ม ฉะนี้แล.

จบภูริทัตตจริยาที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก หัวข้อที่ ๑๒


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 30 ม.ค. 2014, 00:05, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron