วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 19:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


วอนผู้รู้ช่วนตอบด้วยครับ ขอบพระคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตที่ทำหน้าที่เป็น วิญญาณขันธ์ หรือตัวรู้ต่ออารมณ์ มีเพราะมี นามรูป

จิตที่ทำหน้าที่เป็น สัญญาขันธ์ เกิดจากผัสสะ

จิตที่ทำหน้าที่เป็น เวทนาขันธ์ เกิดจากผัสสะ

จิตที่ทำหน้าที่เป็น สังขารขันธ์ เกิดจากผัสสะ


อันนี้ พระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้ มิใช่ผมเป็นผู้รู้แล้วน้ำมากล่าว

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 21:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


จางบาง เขียน:
จิตที่ทำหน้าที่เป็น วิญญาณขันธ์ หรือตัวรู้ต่ออารมณ์ มีเพราะมี นามรูป

จิตที่ทำหน้าที่เป็น สัญญาขันธ์ เกิดจากผัสสะ

จิตที่ทำหน้าที่เป็น เวทนาขันธ์ เกิดจากผัสสะ

จิตที่ทำหน้าที่เป็น สังขารขันธ์ เกิดจากผัสสะ


อันนี้ พระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้ มิใช่ผมเป็นผู้รู้แล้วน้ำมากล่าว

onion


แสดงว่าจิตขี้เกียจใช่หรือไม่ จิตจะทำงานเมื่อมีสิ่งมากระทบ หรือผัสสะใช่หรือไม่
จิต คือส่วนของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่หรือไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จิตเกิดขึ้นได้เพราะปัจจัย24

ทำงาน คือ ทำหน้าที่ รู้อารมณ์

ทำงาน คือ เกิดขึ้นตั้งอยู่ และดับไป ตามวัตถุ6

แต่ส่วนใหญ่ เกิดดับที่หทยวัตถุ

ส่วนน้อย เกิดดับที่วัตถุอื่นๆ เป็นต้นว่า ที่ตา ที่หู เป็นต้น

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น

[๔๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้ จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้างหรือไม่?

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.
เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง กระดาก คอตก ก้มหน้า
ซบเซา หมดปฏิภาณ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร มีความเป็นดังนั้นแล้ว
จึงตรัสกะเธอว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายในที่นี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาป
มิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดังนี้หรือ?
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกัน
เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์ โดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ
เว้นจากปัจจัย มิได้มี.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้
ถูกแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้นเรากล่าวแล้ว โดยปริยายเป็น
เอนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี
ก็แต่สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เรา
ด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้น
ของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.


ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ


[๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น
ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุ
วิญญาณ
วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณ
อาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น
ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรส
ทั้งหลายเกิดขึ้น
ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น
ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า
มโนวิญญาณ เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ ไฟอาศัยไม้
ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้ ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น
ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟโคมัย ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น
ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและ
เสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น
ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า
ชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ
วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ.

[๔๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเห็นขันธปัญจกที่เกิดแล้วหรือไม่?
ภ. เห็นพระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้นเกิดเพราะอาหารหรือ?
ภ. เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่ง
อาหารนั้นหรือ?
ภ. เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกนี้ มีหรือหนอ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้น
หรือหนอ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็น
ธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น หรือหนอ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดแล้ว ย่อมละ
ความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้น
ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับ
เป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกนี้เกิดแล้ว แม้ดังนี้หรือ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้น แม้ดังนี้หรือ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะ
ความดับแห่งอาหารนั้น แม้ดังนี้หรือ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดแล้ว
ดังนี้หรือ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกเกิด
เพราะอาหารนั้น ดังนี้หรือ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความ
ดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ดังนี้หรือ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. หากว่า เธอทั้งหลาย พึงติดอยู่ เพลินอยู่ ปรารถนาอยู่ ยึดถือเป็นของเราอยู่
ซึ่งทิฏฐินี้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ (ด้วยตัณหาและทิฏฐิ) เธอทั้งหลายพึงรู้ทั่วถึงธรรมที่เปรียบด้วย
ทุ่น อันเราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันสลัดออกมิใช่แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันถือไว้
บ้างหรือหนอ?
ภ. ข้อนี้ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. หากว่า เธอทั้งหลาย ไม่ติดอยู่ ไม่เพลินอยู่ ไม่ปรารถนาอยู่ ไม่ยึดถือเป็นของเรา
อยู่ ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงรู้ธรรมที่เปรียบด้วยทุ่นอันเราแสดงแล้ว
เพื่อประโยชน์ในอันสลัดออก ไม่ใช่แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.


ปัจจัยแห่งความเกิด


[๔๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความ
ตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่เกิดบ้าง อาหาร
๔ อย่าง เป็นไฉน? อาหาร ๔ อย่าง คือ
กวฬิงการาหาร อันหยาบ หรือละเอียด (เป็นที่ ๑)
ผัสสาหารเป็นที่ ๒ มโนสัญเจตนาหารเป็นที่ ๓ วิญญาณาหารเป็นที่ ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร
๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? อาหาร
๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นชาติ มีตัณหาเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นชาติ มีเวทนาเป็นแดนเกิด.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
เป็นแดนเกิด? เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็น
แดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิด? ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นสมุทัย มีสฬายตนะเป็นชาติ
มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย
มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นสมุทัย มีนาม
รูปเป็นชาติ มีนามรูปเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? นามรูป มีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณ
เป็นสมุทัย มีวิญญาณเป็นชาติ มีวิญญาณเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้ มีอะไร
เป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? วิญญาณ มีสังขารเป็น
เหตุ มีสังขารเป็นสมุทัย มีสังขารเป็นชาติ มีสังขารเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขาร
ทั้งหลายนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? สังขาร
ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นชาติ มีอวิชชาเป็นแดนเกิด.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะมี เพราะ
สฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ด้วยประการ
ฉะนี้แล ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้.




[๔๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ข้อว่า ชราและมรณะมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ดังนี้
นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัยนั่นแล ชราและมรณะจึงมี ใน ข้อนี้
เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา และมรณะจึงมี
ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะภพเป็นปัจจัยนั่นแล ชาติจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่าง
นี้แล.
พ. ก็ข้อว่า ภพมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั้นแล ภพจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
อย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
นี้แล.
พ. ก็ข้อว่า อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะตัณหาเป็นปัจจัยนั่นแล อุปาทานจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
อย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ในข้อนี้มีความเป็น
อย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะเวทนาเป็นปัจจัยนั้นแล ตัณหาจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
อย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็น
อย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะผัสสะเป็นปัจจัยนั่นแล เวทนาจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระผู้เจริญ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
นี้แล.
พ. ก็ข้อว่า ผัสสะมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยนั่นแล ผัสสะจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
อย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ในข้อนี้ มีความ
เป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั่นแล สฬายตนะจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
อย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ในข้อนี้ มีความ
เป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนั่นแล นามรูปจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
อย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ในข้อนี้ มีความ
เป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะสังขารเป็นปัจจัยนั่นแล วิญญาณจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
อย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ในข้อนี้มีความเป็น
อย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า สังขารมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอวิชชา
เป็นปัจจัยนั่นแล สังขารจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็น
อย่างนี้แล.
[๔๔๘] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้
เราก็กล่าวอย่างนั้น เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ เพราะอวิชชา
เป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นาม
รูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดแห่งกอง
ทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้.



ปัจจัยแห่งความดับ


เพราะอวิชชาดับหมดมิได้เหลือ สังขารก็ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะ
วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้
อย่างนี้.


[๔๔๙] ก็ข้อว่า เพราะชาติดับ ชรา มรณะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะชาติดับนั่นแล ชรา มรณะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ ก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็น
อย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะภพดับนั่นแล ชาติจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะอุปาทานดับนั่นแล ภพจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะตัณหาดับนั่นแล อุปาทานจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็น
อย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะผัสสะดับนั่นแล เวทนาจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะสฬายตนะดับนั่นแล ผัสสะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
นี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะนามรูปดับนั่นแล สฬายตนะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็น
อย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะวิญญาณดับนั่นแล นามรูปจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
นี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะสังขารดับนั่นแล วิญญาณจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะอวิชชาดับนั่นแล สังขารจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
นี้แล.


[๔๕๐] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนี้ แม้เราก็กล่าว
อย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติ
ดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้.


ว่าด้วยธรรมคุณ


[๔๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องต้นว่า
ในอดีตกาล เราได้มีแล้ว หรือว่า ไม่ได้มีแล้ว เราได้เป็นอะไรแล้ว หรือว่าเราได้เป็นแล้ว
อย่างไร หรือเราได้เป็นอะไรแล้ว จึงเป็นอะไร ดังนี้บ้างหรือไม่?
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องปลายว่า ใน
อนาคตกาล เราจักมี หรือว่าจักไม่มี เราจักเป็นอะไร หรือว่าเราจักเป็นอย่างไร หรือเราจัก
เป็นอะไรแล้ว จึงจักเป็นอะไร ดังนี้บ้างหรือไม่?
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ปรารภถึงปัจจุบันกาล ในบัดนี้ ยัง
สงสัยขันธ์เป็นภายในว่า เราย่อมมี หรือว่าเราย่อมไม่มี เราย่อมเป็นอะไร หรือว่าเราย่อม
เป็นอย่างไร สัตว์นี้มาแล้วจากไหน สัตว์นั้นจักไป ณ ที่ไหน ดังนี้บ้างหรือไม่?
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระศาสดาเป็นครู
ของพวกเรา พวกเราต้องกล่าวอย่างนี้ ด้วยความเคารพต่อพระศาสดาเท่านั้น ดังนี้บ้างหรือไม่?
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวว่า พระสมณะตรัสอย่างนี้
พระสมณะทั้งหลายและพวกเรา ย่อมไม่กล่าวอย่างนี้ ดังนี้บ้างหรือไม่?
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงยกย่องศาสดาอื่น ดังนี้บ้าง
หรือไม่?
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงเชื่อถือสมาทานวัตรความตื่นเพราะ
ทิฏฐิ และทิฏฐาทิมงคล ของพวกสมณะและพราหมณ์เป็นอันมาก ดังนี้บ้างหรือไม่?
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่พวกเธอรู้เห็นทราบเองแล้ว พวกเธอพึงกล่าวถึงสิ่งนั้น
มิใช่หรือ?
ภ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้นถูกละ พวกเธออันเรานำเข้าไปแล้ว ด้วยธรรมนี้
อันเห็นได้ด้วยตนเอง ซึ่งให้ผลไม่มีกาลคั่น ควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึง
รู้ได้เฉพาะตน คำที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ให้ผลไม่มี
กาลคั่น ควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ เราอาศัยความ
ข้อนี้กล่าวแล้ว.


เหตุแห่งการเกิดในครรภ์


[๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ ความเกิด
แห่งทารกก็มี ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และทารกที่จะมาเกิด
ยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามี
ระดู แต่ทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก ก็ยังไม่มีก่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความ
ประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งทารกจึงมี ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารดา
ย่อมรักษาทารกนั้นด้วยท้องเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือน หรือสิบเดือน
มารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนัก
นั้นซึ่งเกิดแล้ว ด้วยโลหิตของตนด้วยความเสี่ยงชีวิตมาก.


[๔๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำนมของมารดานับเป็นโลหิตในอริยวินัย ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย กุมารนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมเล่นด้วยเครื่องเล่น
สำหรับกุมาร คือ ไถเล็ก ตีไม้หึ่ง หกขะเมน จังหัน ตวงทราย รถเล็ก ธนูเล็ก ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อม
บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก
ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่รู้แจ้งด้วย
ฆานะ ... รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ
น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก กุมารนั้น เห็นรูปด้วยจักษุ

แล้ว ย่อมกำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น
และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่า
อกุศลธรรมอันลามก ตามความเป็นจริง
เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้ เสวยเวทนา
อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ
เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น
ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ
เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้
กุมารนั้น ได้ยินเสียงด้วย
โสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วย
ใจแล้ว ย่อมกำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติใน
กายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมด
แห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้
เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดีมิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน
บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิด
เพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้.
----------------------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 22:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


จิต มีเกิด มีดับ จิต คือ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ทั้งหมดทำงานร่วมกัน

ยกตัวอย่าง เมื่อตาเห็นรูปปั๊บ (จิต) เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทำงานอัตโนมัติทันทีนี่แหละเรียกว่าจิตทำงาน มีเกิด มีดับ มีเกิด มีดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับท่านพุทธฎีกา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 23:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
อนุโมทนาครับท่านพุทธฎีกา


:b12:

smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


งั้นพระพุทธเจ้าคงไม่มีจิตตอนบรรลุใหม่ๆแล้วจิตไม่เหลือแล้วถูกไหม? จิตใจคงไม่มีเหลือสงสัยคงดับไปตามอวิชชาพร้อมหลักปฏิจสมุปบาทธรรมแล้วกระมัง อายตนนั้นมีอยู่(นิพพานสูตรที่1)คงใช้ไม่ได้?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องการสื่ออะไร
ช่วยอธิบายให้ละเอียด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมไม่แย้งว่าจิตไม่มีการเกิดดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 23:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้.
พระสูตรช่วงท้ายที่ท่านพุทธฏีกายกมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 01:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนากับท่านพุทธฏีกาด้วยครับ

แต่ว่าจิต กับวิญญาณในขันธ์ 5 จะเป็นอย่างเดียวกันหรือครับ?

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนากับท่านพุทธฏีกาด้วย ครับ
ที่นำเสนอพุทธวจน ให้เทียบเคียงศึกษา...


[๔๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องต้นว่า
ในอดีตกาล เราได้มีแล้ว หรือว่า ไม่ได้มีแล้ว
เราได้เป็นอะไรแล้ว หรือว่าเราได้เป็นแล้ว อย่างไร
หรือเราได้เป็นอะไรแล้ว จึงเป็นอะไร ดังนี้บ้างหรือไม่?

ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องปลายว่า
ในอนาคตกาล เราจักมี หรือว่าจักไม่มี
เราจักเป็นอะไร หรือว่าเราจักเป็นอย่างไร
หรือเราจักเป็นอะไรแล้ว จึงจักเป็นอะไร ดังนี้บ้างหรือไม่?

ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้
ปรารภถึงปัจจุบันกาล ในบัดนี้ ยังสงสัยขันธ์เป็นภายในว่า เราย่อมมี หรือว่าเราย่อมไม่มี
เราย่อมเป็นอะไร หรือว่าเราย่อมเป็นอย่างไร
สัตว์นี้มาแล้วจากไหน สัตว์นั้นจักไป ณ ที่ไหน ดังนี้บ้างหรือไม่?

ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้
พึงเชื่อถือสมาทานวัตรความตื่นเพราะทิฏฐิ และทิฏฐาทิมงคล
ของพวกสมณะและพราหมณ์เป็นอันมาก ดังนี้บ้างหรือไม่?

ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่พวกเธอรู้เห็นทราบเองแล้ว
พวกเธอพึงกล่าวถึงสิ่งนั้นมิใช่หรือ?

ภ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron