วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 15:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 88 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 10:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.พ. 2012, 22:35
โพสต์: 11


 ข้อมูลส่วนตัว


คือผมอยากทราบว่า การที่เราปฏิบัติธรรมมันจะเข้าถึงภูมิอรหันต์ได้จริงหรอ ตามที่ได้ศึกษามาการปฏิบัติธรรมมันเป็นคนละอย่างกับการปล่อยวาง ตามที่รู้มาคือพระอรหันต์ผู้บรรลุธรรมย่อมปล่อยวางไม่ยึดติดในสิ่งทั้งปวง ไม่มีตัวตน ว่างจากทุกสิ่ง แต่การปฏิบัติธรรมมันคือให้เราไปติดในวิธีแต่แรกเริ่ม แล้วเราจะไปถึงจุดสุดท้ายคือบรรลุธรรมได้หรอครับ เพราะมันก็ไม่วางวิธีปฏิบัติสักทีสิครับ ช่วยอธิบายผมทีครับแต่กรุณาอย่ายกหนังสือหรือพระไตรปิฎกมาอธิบายนะครับ ผมเชื่อในพระพุทธเจ้าว่าท่านสอนให้คนบรรลุได้จริง แต่คำสั่งสอนของท่านก็ทุกแก้ไขปรับปรุงมาหลายครั้งแล้ว ก็อาจจะมีผิดพลาดกันได้ วอนผู้รู้จริงมีสภาวะปฏิบัติได้จริงช่วยตอบหน่อยครับ ขอบคุณครับ_ Kiss Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 12:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.ย. 2011, 22:18
โพสต์: 903


 ข้อมูลส่วนตัว




DSCN8194 [iPhone].JPG
DSCN8194 [iPhone].JPG [ 25.89 KiB | เปิดดู 6156 ครั้ง ]
การปฏิบัติธรรม เป็นเพียงเเค่กระบวนการในการฝึกฝนจิตใจ
เพราะว่าเราได้ปรุงเเต่งสิ่งต่างๆมากมายตั้งเเต่วินาทีเเรกที่เราเกิดมา
เเม่ก็สอนให้เราเรียกว่าเเม่ นับตั้งเเต่วันนั้น เราก็เสพการปรุงเเต่งอายตนยะภาพในเเละภายนอก
ตลอดเวลา กิเลสก็เจริญเติบโตจนไม่มีวันลดเลย จิตใจก็เสพคุ้นเเต่สิ่งอันเป็นทุกข์ตลอดเวลา

เพราะฉะนั้นกะบวนการในการปฏิบัติธรรม เป็นกระบวนการในการถอดถอนการปรุงเเต่งในสิ่งต่างๆ
ที่จะมากระทบเรา เพระาการปฎิบัติธรรม เราได้นำเอาธรรมของพระพุทธเจ้า มาฝึกใช้
อาทิ การใช้สติเข้ามาควบคุมจิตให้จิตรู้เท่าทันต่อกิเลส มานี่คือความโกรธ, ความโลภ, ความหลง,
นี่คือความอยาก, นี่คือความสุข,นี่คือความทุกข์, นี่คือเสียง,นี่คือเย็น,นี่คือการเห็น,นี่คือกลิ่น,นี่คือสัมผัส
นี่คือความคิด,นี่คือความเจ็บ เป็นต้น นี่คือการฝึกใช้สติควบคุมจิต พอมีสติที่ถึงพร้อมเเล้ว ความสงบของจิตก็เข้ามาควบคุมอารมณ์ ควบคุมกิเลสให้สงบชั่วคราว นี่คืออาการของการเกิดสมาธิ(ความสงบของจิต)
เมื่อสมาธิเกิด ความรู้เเจ้งของปัญญาภายในก็เกิด ปัญญาภายในตัวนี่ (ถ้ายังดำรงเพศในทางโลก ก็จะนำปัญญาตัวนี้ไปเเก้ปัญหาชีวิตได้) ส่วนปัญญาอันจะนำไปสู่ความหลุดพ้นนั้น ต้องเจริญวิปัสสนา(ให้เกิดความปล่อยวางความลดละเลิก) เพื่อให้ถอนจากความเห็นผิดในการหลวงของตัวตน ว่านี่คือตัวกูของกูนี่ไม่ใช่ของกู การที่เราจะปล่อยวางได้นั้นไม่ใช้เพียงเเค่อ่านตัวหนังสือ(นี่เขาเรียกปริยัติหรือความรู้)อีกนั้น
นี่คือตัวสัญญา(ความจำได้หมายรู้) ปัญญาที่เเท้จริงเราจะเข้าใจด้วยตัวของเราเองเเก้ปัญหาว่าเราติดอยู่ในสิ่งใดสติจะควบคุมจิต, สมาธิจะระงับไม่ให้เติบโตกิเลสเติบโต, ปัญญาคือการทำจิตให้ถอดถอนการกิเลส
ถอนออกให้หมดกิเลสก็หมด ชาติหมด ทุกอย่างหมด ความเป็นอริยบุคคลก็เกิดขึ้น อรหันต์ก็เกิดขึ้น หมดชาติก็นิพพาน (เอวัง)

สรุป
การปฏิบัติ...คือกระบวนการหนึ่งในการฝึกฝนอบรมจิต การฝึกฝนตนเองเพื่อปลดปล่อยการปรุงเเต่งให้ออกจากจิต(กิเลส)
การปล่อยวาง....จะก่อเกิดเมื่อเราควบคุมจิตได้อย่างเด็กขาด




ธรรมบุตร(ที่สุดคือธรรมะ)
www.dhammadee.com
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นอาการของผู้ที่ยังสงสัยในพระรัตนตรัยครับ เนื่องจากยังขาดการปฏิบัติ แต่อาจจะอ่านมาเยอะ
ปฏิบัติเมื่อไหร่ความสงสัยก็จะน้อยลงครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 14:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


พูดว่า อยากได้ อยากถึง แต่ไม่ลงมือทำ ก็ย่อมไม่ถึงตามสิ่งที่อยากได้อยากถึง การทำนั้นแหละทำตามมรรคที่ถุกวิธี คือ มรรคมีองค์แปด มรรคมีองค์แปดมิได้เป็นมรรคที่สอนให้ติดอยู่กับวิธี แต่เป็นมรรคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ทำงานที่เป็นอาชีพสุจริตเป็นต้น ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย แต่ต้องพากเพียรอย่างมากทีเดียงจึงจักได้จักถึง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 15:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.พ. 2012, 22:35
โพสต์: 11


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเห็นด้วยกับคุณ ที่ว่ากะบวนการในการปฏิบัติธรรม เป็นกระบวนการในการถอดถอนการปรุงเเต่งในสิ่งต่างๆ ที่จะมากระทบเรา
แต่ผมกำลังสงสัยว่าในหลายๆสำนักนั้นสอนในวิธีการต่างๆกัน บางสำนักก็สอนเรื่องการเจริญสติในการควบคุมอารมณ์ บางสำนักก็สอนให้บริกรรมพุธโธ แต่สิ่งเหล่านั้นล้วนแต่เป็นการฝึกเข้าไปควบคุมสภาวะธรรมทั้งนั้นมิใช่หรือครับ แค่เริ่มต้นก็ฝึกเข้าไปควบคุมสภาวะธรรมซะแล้ว แล้วปลายทางจะไปปล่อยวางได้อย่างไร อุปมาเหมือน คนที่อยากเรียนเก่งต้องสร้างเหตุมาดีคือขยันเรียนมากๆ ผลคือเรียนหนังสือเก่ง แต่วิธีส่วนใหญ่ที่เห็นคือปลายทางปล่อยวางแต่เราเริ่มฝึกจากการเข้าไปควบคุมสิ่งต่างๆนี่ครับ ไม่ได้ฝึกฝนในการปล่อยวางแต่แรกแล้วสุดท้ายเราจะปล่อยวางตัวตนได้จริงๆหรือครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 15:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.พ. 2012, 22:35
โพสต์: 11


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีข้อสงสัยครับ คุณ world2/2554 ครับ
มรรคมีองค์แปดมิได้เป็นมรรคที่สอนให้ติดอยู่กับวิธี แต่เป็นมรรคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ทำงานที่เป็นอาชีพสุจริตเป็นต้น ถ้าเช่นนั้น
1. ท่านองคุลีมาลที่สมัยพุทธกาลท่านสังหารคนตายเป็นจำนวนมาก ณ ขณะนั้นท่านไม่ได้ทำตาม มรรค8 สัมมาอาชีวะ แต่สุดท้ายท่านก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้นี่ครับ

2. ถ้าตอนนี้ผมเป็นคนขาพิการไม่สามารถไปหางานเลี้ยงชีพอย่างสุจริตได้ แสดงว่าตอนนี้ผมคงต้องทิ้งความหวังในการบรรลุธรรม ใช่ไหมครับ ผมเคยอ่านหนังสือธรรมมะบางเล่มเขียนว่า การบรรลุธรรมนั้นสำคัญที่จิต นิพพานก็ที่จิต ไม่ได้สำคัญถึงสิ่งภายนอกอย่างกายสังขารนี่ครับ

3. พระมหาชนกชาติหนึ่งของเจ้าชายสิทธัตถะ ตอนที่ท่านว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรท่านก็ไม่ได้ทำอาชีพสุจริตนี่ครับ ชาติสุดท้ายท่านยังตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้เลยนี่ครับ :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


kreangsit_rru เขียน:
คือผมอยากทราบว่า การที่เราปฏิบัติธรรมมันจะเข้าถึงภูมิอรหันต์ได้จริงหรอ ตามที่ได้ศึกษามาการปฏิบัติธรรมมันเป็นคนละอย่างกับการปล่อยวาง ตามที่รู้มาคือพระอรหันต์ผู้บรรลุธรรมย่อมปล่อยวางไม่ยึดติดในสิ่งทั้งปวง ไม่มีตัวตน ว่างจากทุกสิ่ง

แต่การปฏิบัติธรรมมันคือให้เราไปติดในวิธีแต่แรกเริ่ม แล้วเราจะไปถึงจุดสุดท้ายคือบรรลุธรรมได้หรอครับ เพราะมันก็ไม่วางวิธีปฏิบัติสักทีสิครับ
ช่วยอธิบายผมทีครับ


การปล่อยวางเป็นผล การปฏิบัติเป็นเหตุ ผู้จะปล่อยวางได้แท้จริง จะต้องรู้เห็นก่อนว่า สิ่งที่ตนยึดถืออยู่นั่นเป็นของปลอมไม่ใช่ของจริง เมื่อรู้ว่าไม่ใช่ของจริงเป็นของปลอมมันก็วางทุกสิ่ง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
บางสำนักก็สอนเรื่องการเจริญสติในการควบคุมอารมณ์ บางสำนักก็สอนให้บริกรรมพุธโธ แต่สิ่งเหล่านั้นล้วนแต่เป็นการฝึกเข้าไปควบคุมสภาวะธรรมทั้งนั้นมิใช่หรือครับ แค่เริ่มต้นก็ฝึกเข้าไปควบคุมสภาวะธรรมซะแล้ว

ถ้ายังควบคุมอารมณ์อารมณ์ตัวเอง ควบคุมจิตไม่ได้แล้ว แล้วจะไปปล่อยวางจิตได้อย่างไร
หลายสำนักเขาหลักและแนวคิดปฏิบัติที่ละเอียดลึกซึ้งของเขา หากคนไม่เคยไปปฏิบัติจริง ฟังเพียงหลักการก็เปนมองแบบผิวเผิน ไม่เข้าใจถึงวิธีการและผลของการปฏิบัติไปได้หรอก

พระพุทธองค์ บำเพ็ญบารมีมา 4อสงไขย กับแสนกัปป์ จะเอาแต่เพียงชาติแรก กับชาติสุดท้ายที่สำเร็จโพธิญาณ มาผูกเข้าไว้ด้วยกันเท่านี้ คงจะไม่ได้ใจความหรอกนะ ยังต้องรวมเอา10 ชาติสุดท้ายตอนเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์เข้าไว้ด้วย

ผมเหนตัวอย่างและเข้าใจว่า คนที่ปฏิบัติธรรมดีๆไม่จำเป็นต้องทิ้งอาชีพปัจจุบัน อย่างเช่น ศรีบูรพา, ท.เลียงพิบูลย์, ดร. อาจอง นายแพทย์สม สุจีรา ดร สนอง วรอุไร น.พ. ชินโอสถ หัส. บําเรอ
ฯลฯ ท่านทั้งหลายก้ปฏิบัติได้ดีและเก่งทั้งทางโลกและธรรม ไม่เหนว่าจะทิ้งทางโลก แล้วสนใจแต่เฉพาะทางธรรม (จริงๆทางโลกต้องอาศัยทางธรรมด้วยซ้ำไป)

ส่วนท่านองคุลีมาล เปรียบเหมือนม้าอาชาไนยที่ดี(มีสติปัญญาดีอย่แล้ว) แต่ได้ครูฝึกเถื่อน(หูเบา)มาเปนคนสอน ทำให้หลงผิดคิดเตลิดไปไกล เพราะท่านไม่เคยฟังธรรมขอ้ไหนที่ลึกซึ้งมาก่อนนอกจากคำพูดของพระพุทธเจ้า ดังนั้นเมื่อท่านหยุดแล้วๆ ได้ฟังธรรมจากพุทธองค์ท่านถึงบรรลุเป็นโสดาบัน แล้วนำคำสอนไปปฏิบัติต่อ เร่งความเพียรในการปฏิบัติสุดท้ายท่านก้บรรลุโมกขธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 20:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


kreangsit_rru เขียน:
คือผมอยากทราบว่า การที่เราปฏิบัติธรรมมันจะเข้าถึงภูมิอรหันต์ได้จริงหรอ ตามที่ได้ศึกษามาการปฏิบัติธรรมมันเป็นคนละอย่างกับการปล่อยวาง ตามที่รู้มาคือพระอรหันต์ผู้บรรลุธรรมย่อมปล่อยวางไม่ยึดติดในสิ่งทั้งปวง ไม่มีตัวตน ว่างจากทุกสิ่ง แต่การปฏิบัติธรรมมันคือให้เราไปติดในวิธีแต่แรกเริ่ม แล้วเราจะไปถึงจุดสุดท้ายคือบรรลุธรรมได้หรอครับ เพราะมันก็ไม่วางวิธีปฏิบัติสักทีสิครับ ช่วยอธิบายผมทีครับแต่กรุณาอย่ายกหนังสือหรือพระไตรปิฎกมาอธิบายนะครับ ผมเชื่อในพระพุทธเจ้าว่าท่านสอนให้คนบรรลุได้จริง แต่คำสั่งสอนของท่านก็ทุกแก้ไขปรับปรุงมาหลายครั้งแล้ว ก็อาจจะมีผิดพลาดกันได้ วอนผู้รู้จริงมีสภาวะปฏิบัติได้จริงช่วยตอบหน่อยครับ ขอบคุณครับ_ Kiss Kiss


พระอรหันต์ปล่อยวาง หรือละจากโลภ โกรธ หลงได้หมดสิ้น เราต้องหาต้นเหตุว่าพระอรหันต์ท่านปล่อยวางสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร ไม่ใช่ไปปฏิบัติโดยการไม่ไปยึดติด หรือยึดมั่นกับสิ่งเหล่านั้น (อุปทาน)
อุปทาน เป็นปลายเหตุ ต้นเหตุ คือ โลภ โกรธ หลง สิ่งเหล่านี้เกิดจากความไม่รู้ความจริงของธรรมชาติตามกฎไตรลักษณ์ เมื่อเห็นความจริงปัญญาเกิด ดับเหตุแห่งทุกข์ได้ โลภ โกรธ หลง ก็ไม่เกิด ตัณหาไม่เกิด อุปทาน (การยึดมั่น) ก็ไม่เกิด


โลภ โกรธ หลง > ตัณหา(ความอยาก) > อุปทาน(การยึดมั่นเพื่อตอบสนองตัณหา) >การเจตนา> การเกิดแห่งทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 20:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
kreangsit_rru เขียน:
คือผมอยากทราบว่า การที่เราปฏิบัติธรรมมันจะเข้าถึงภูมิอรหันต์ได้จริงหรอ ตามที่ได้ศึกษามาการปฏิบัติธรรมมันเป็นคนละอย่างกับการปล่อยวาง ตามที่รู้มาคือพระอรหันต์ผู้บรรลุธรรมย่อมปล่อยวางไม่ยึดติดในสิ่งทั้งปวง ไม่มีตัวตน ว่างจากทุกสิ่ง

แต่การปฏิบัติธรรมมันคือให้เราไปติดในวิธีแต่แรกเริ่ม แล้วเราจะไปถึงจุดสุดท้ายคือบรรลุธรรมได้หรอครับ เพราะมันก็ไม่วางวิธีปฏิบัติสักทีสิครับ
ช่วยอธิบายผมทีครับ


การปล่อยวางเป็นผล การปฏิบัติเป็นเหตุ ผู้จะปล่อยวางได้แท้จริง จะต้องรู้เห็นก่อนว่า สิ่งที่ตนยึดถืออยู่นั่นเป็นของปลอมไม่ใช่ของจริง เมื่อรู้ว่าไม่ใช่ของจริงเป็นของปลอมมันก็วางทุกสิ่ง :b1:


เห็นสิ่งต่างๆ เกิดขึ้น สุดท้ายดับไป แตกสลายไป ไม่มีตัวตนของสิ่งนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


kreangsit_rru เขียน:
คือผมอยากทราบว่า การที่เราปฏิบัติธรรมมันจะเข้าถึงภูมิอรหันต์ได้จริงหรอ ตามที่ได้ศึกษามาการปฏิบัติธรรมมันเป็นคนละอย่างกับการปล่อยวาง ตามที่รู้มาคือพระอรหันต์ผู้บรรลุธรรมย่อมปล่อยวางไม่ยึดติดในสิ่งทั้งปวง ไม่มีตัวตน ว่างจากทุกสิ่ง แต่การปฏิบัติธรรมมันคือให้เราไปติดในวิธีแต่แรกเริ่ม แล้วเราจะไปถึงจุดสุดท้ายคือบรรลุธรรมได้หรอครับ เพราะมันก็ไม่วางวิธีปฏิบัติสักทีสิครับ ช่วยอธิบายผมทีครับแต่กรุณาอย่ายกหนังสือหรือพระไตรปิฎกมาอธิบายนะครับ ผมเชื่อในพระพุทธเจ้าว่าท่านสอนให้คนบรรลุได้จริง แต่คำสั่งสอนของท่านก็ทุกแก้ไขปรับปรุงมาหลายครั้งแล้ว ก็อาจจะมีผิดพลาดกันได้ วอนผู้รู้จริงมีสภาวะปฏิบัติได้จริงช่วยตอบหน่อยครับ ขอบคุณครับ_ Kiss Kiss



เป็นคำถามที่กระจ่างตรงจุดมากครับ ถามได้สภาวะทีเดียว และเห็นด้วยกับความเห็นของ"ชมรมพุทธบุตรบารมี"และหลายๆความเห็น ผมขอตอบตามแนวทางของตนดังนี้

ตามที่ได้ศึกษามาการปฏิบัติธรรมมันเป็นคนละอย่างกับการปล่อยวาง ตามที่รู้มาคือพระอรหันต์ผู้บรรลุธรรมย่อมปล่อยวางไม่ยึดติดในสิ่งทั้งปวง ไม่มีตัวตน ว่างจากทุกสิ่ง

ข้อนี้ใช่ครับ สภาวะว่าง คือสภาวะพ้นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตนอย่างสิ้นเชิง(แต่ไม่แน่ใจว่าความหมายเดียวกับไม่มีตัวตนที่คุณกล่าวหรือไม่) คือสภาวะพระอรหันต์ ถ้าเราสามารถบรรลุความว่าง อย่างเด็ดขาดนั้นได้เลย แสดงว่าเรามีปรีชาญาณ ของจิตเทียบเท่าพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่รู้ธรรมเอง หรือพระอรหันตสาวก ที่ฟังธรรมเพียงเล็กน้อยก็สามารถบรรลุธรรมได้ เช่นพระสารีบุตรที่ฟังธรรมเพียงเล็กน้อยจากพระอัสสชิ ก็บรรลุโสดาปัตติผล ซึ่งคนเหล่านี้อาจจะมีในโลกนี้ก็เป็นได้ (แต่ไม่ใช่ผม) แต่เราถูกสอนมาไห้ยึดมั่น และลังเลในแทบทุกสิ่ง ตามประสาโลก เมื่อเริ่มเห็นทุกข์และสงสัยในวิถีโลกจึงเข้ามาศึกษาธรรม(นี่เป็นข้อดีที่เกิดเมืองพุทธ ถ้าเกิดในถิ่นของศาสนาอื่นๆคงเข้าไปศึกษาหาวีธีตามหลักศาสนานั้นๆ)

แต่การปฏิบัติธรรมมันคือให้เราไปติดในวิธีแต่แรกเริ่ม แล้วเราจะไปถึงจุดสุดท้ายคือบรรลุธรรมได้หรอครับ

การปฏิบัติธรรมอาจดูเหมือนให้เราไปติดในวิธีแต่แรกเริ่ม แต่จริงแล้วการปฏิบัติธรรมคือ การยืนในจุดเริ่มในการเดินซะทีต่างหาก เมื่อเริ่มอย่างถูกต้องย่อมพากายและจิตนี้ เรียนรู้ ก้าวหน้า ปลดเปลื้องในสิ่งที่ควรละวาง เพิ่มพูนในสิ่งที่ควรเพิ่มพูน เกื้อหนุนธรรม จนถึงความว่าง เป็นอนัตตาสิ้นเชิง เด็ดขาด หรือเรียกตามภาษาโลกว่าพระอรหันต์อย่างคุณว่า


เพราะมันก็ไม่วางวิธีปฏิบัติสักทีสิครับ

เมื่อเริ่มแล้ว ก็วางความสงสัยไว้ก่อน ไม่ต้องบังคับให้เชื่อ ถ้าทำจริง เดี๋ยวเห็นความจริงเอง เชื่อเองจริง ก็ละวางความสงสัยเอง ความรู้ในความจริงนี้จะไปแทนความสงสัยจนหมดไป เหมือนเคยไปกรุงเทพแล้วก็ไม่ต้องเชื่อที่คนอื่นเล่าให้ฟัง เมื่อไปถึงแล้วก็นั่งพัก หยุดเดินทาง ละวางการปฏิบัติเอง อยู่กับสภาวะอันเป็นผล หมดทุกข์หมดปัญหากันที อย่าให้ความสงสัยพาวิ่งไปทางโน้นที ทางนี้ทีจนหมดเวลา เรื่องความจริงในธรรมนี้ พระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ แม้ผมเองก็ท้าให้ลองว่าจริงแท้

ส่วนวิธีปฏิบัติมีตั้งมากมายครับ ทั้งหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา ละชั่ว ทำดี ทำจิตขาวรอบ หรือผมแนะนำสติปัฎฐาน ๔


การที่คุณคิดคำถามอย่างนี้ได้แสดงว่ามีความคิดหาแนวทางที่ไม่ธรรมดาเลย ยิ่งถ้าคุณอายุยังน้อยแล้วคิดได้อย่างนี้ แล้วเริ่มปฏิบัติธรรมเร็ว ผมขออวยพรให้ประสบความสำเร็จในธรรมครับ

:b41: :b42: :b41:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


แก้ไขล่าสุดโดย ขณะจิต เมื่อ 08 ก.พ. 2012, 23:17, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 22:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ...กับสมาชิกทุก ๆ ท่านที่ได้ตอบไปบ้างแล้ว...
:b8:
กรัชกาย เขียน:
การปล่อยวางเป็นผล การปฏิบัติเป็นเหตุ ผู้จะปล่อยวางได้แท้จริง จะต้องรู้เห็นก่อนว่า สิ่งที่ตนยึดถืออยู่นั่นเป็นของปลอมไม่ใช่ของจริง เมื่อรู้ว่าไม่ใช่ของจริงเป็นของปลอมมันก็วางทุกสิ่ง

หากเป็นแต่ก่อน...อาจารย์ใหญ่ได้ไล่ไปตักบาตร...สวดมนต์..ปล่อยนกปล่อยปลา...ปิดทองฝังลูกนิมิต...แล้ว :b32: :b32: :b32:

kreangsit_rru เขียน:
.....
แต่วิธีส่วนใหญ่ที่เห็นคือปลายทางปล่อยวางแต่เราเริ่มฝึกจากการเข้าไปควบคุมสิ่งต่างๆนี่ครับ ไม่ได้ฝึกฝนในการปล่อยวางแต่แรกแล้วสุดท้ายเราจะปล่อยวางตัวตนได้จริงๆหรือครับ


แล้ว..คุณเกรียง...สิท...ราชภัฏราชนครินทร์ ...คิดว่า...ที่ควร...ควรทำอย่างไรดีละครับ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2012, 05:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วเคยคิดไหมครับ ว่าทำไมต่างสำนัก ถึงได้สอนต่างๆกันไป

ผมมองว่าการปฎิบัติธรรมก็เหมือนการเดินทางครับ คือในการเดินทาง จุดหมายมีเพียงจุดเดียว แต่สามารถเดินทางไปให้ถึงจุดหมายได้หลายวิธี และแต่ละคนก็เลือกวิธีเดินทางตามความถนัดของตัวเอง

จะเอาสตินำ จะเอาสมาธินำ จะเอาปัญญานำ จะเอากรรมฐานกองไหน เลือกเอาเถอะครับ เพราะไม่ว่าวิธีไหน หากใช้ให้ถูกต้อง ปฏิบัติไปอย่างแน่วแน่มั่นคงไม่เขวออกจากจุดหมายไปตามสิ่งยั่วยวนอื่นๆ ผมเชื่อว่าต้องถึงจุดหมายจุดใดจุดหนึ่งอย่างแน่นอน

เรื่องยึดมั่นในวิธีปฎิบัติ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ในคนที่ไม่ได้ฝึก ก็ยึดมั่นทุกอย่างอยู่ 100% ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาอยู่แล้ว มาเริ่มปฎิบัติ ก็ต้องยึดในข้อปฏิบัติที่ถูกใจตัวเองเป็นธรรมดา แต่หากเลือกทางปฏิบัติที่ถูกต้อง คือทางที่ส่งเสริมการเฝ้าสังเกตกายใจตัวเอง จะเห็นเองว่าใจตัวเองยึดอะไรอยู่บ้าง เมื่อนั้นแหละ จะเกิดความรู้ตัวว่า "อ้อ เรายึดอันนี้อยู่" เป็นครั้งแรก และการเฝ้าสังเกตุกายใจตัวเองต่อไปก็จะทำให้รู้ว่า สิ่งที่ยึดทุกสิ่ง สุดท้ายจะนำความทุกข์มาให้ เมื่อรู้ตรงนี้ลึกซึ้งถึงใจก็จะนำไปสู่การปล่อยวางสิ่งที่ยึดนั้นเองในที่สุด

ความสงสัยที่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีที่เราเลือกถูกต้องหรือไม่ รวมถึงจะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีของคนอื่นถูกหรือไม่ อันนี้เคยเกิดขึ้นกับผม ซึ่งเคยมีกัลยาณมิตรท่านหนึ่งชี้แนะไว้เป็นที่ถูกใจว่า

เรื่องจะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีที่เราเลือกถูกต้องหรือไม่ ให้เอาความทุกข์เป็นตัววัด เราปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร จุดหมายสูงสุดคือเพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์ใช่หรือไม่ ดังนั้นตัววัดที่ดีที่สุด คือความทุกข์เองนั้นแหละ

หากปฎิบัติธรรมอย่างถูกทาง ความคิดของผู้ปฏิบัติจะค่อยๆเปลี่ยนไป มุมมองที่เปลี่ยนไปนี้จะทำให้มีจิดใจสงบเย็นขึ้น ไม่ฟูขึ้น ไม่แฟบลงมากเท่าแต่ก่อนเมื่อมีเรื่องต่างๆมากระทบ โดยรวมก็คือทุกข์น้อยลงนั่นเอง

เรื่องจะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีของคนอื่นถูกหรือไม่ อันนี้ไม่ควรคิด เพราะไม่ว่าเค้าจะถูกหรือเค้าจะผิด ทุกข์ของเราก็ไม่ได้น้อยลง

สรุปว่า ทำไปเถอะครับ ทำตามวิธีที่ถนัด ปฏิบัติธรรมทำที่ใจ เอาใจวัด แล้วจะรู้เองว่าธรรมะเป็นอย่างไร

ความเห็นส่วนตัว โปรดพิจารณา

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2012, 07:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:

เรื่องจะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีที่เราเลือกถูกต้องหรือไม่ ให้เอาความทุกข์เป็นตัววัด เราปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร จุดหมายสูงสุดคือเพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์ใช่หรือไม่ ดังนั้นตัววัดที่ดีที่สุด คือความทุกข์เองนั้นแหละ
หากปฎิบัติธรรมอย่างถูกทาง ความคิดของผู้ปฏิบัติจะค่อยๆเปลี่ยนไป มุมมองที่เปลี่ยนไปนี้จะทำให้มีจิดใจสงบเย็นขึ้น ไม่ฟูขึ้น ไม่แฟบลงมากเท่าแต่ก่อนเมื่อมีเรื่องต่างๆมากระทบ โดยรวมก็คือทุกข์น้อยลงนั่นเอง

เรื่องจะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีของคนอื่นถูกหรือไม่ อันนี้ไม่ควรคิด เพราะไม่ว่าเค้าจะถูกหรือเค้าจะผิด ทุกข์ของเราก็ไม่ได้น้อยลง

สรุปว่า ทำไปเถอะครับ ทำตามวิธีที่ถนัด ปฏิบัติธรรมทำที่ใจ เอาใจวัด แล้วจะรู้เองว่าธรรมะเป็นอย่างไร

ความเห็นส่วนตัว โปรดพิจารณา

:b17: :b17: :b17:
rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2012, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


kreangsit_rru เขียน:
ตามที่รู้มาคือพระอรหันต์ผู้บรรลุธรรมย่อมปล่อยวางไม่ยึดติดในสิ่งทั้งปวง ไม่มีตัวตน ว่างจากทุกสิ่ง แต่การปฏิบัติธรรมมันคือให้เราไปติดในวิธีแต่แรกเริ่ม แล้วเราจะไปถึงจุดสุดท้ายคือบรรลุธรรมได้หรอครับ เพราะมันก็ไม่วางวิธีปฏิบัติสักทีสิครับ

การปฏิบัติธรรม เหมือนกับการทำสงครามแหละ

เราก็เปรียบเหมือนทหาร "ธรรม" ก็เปรียบเหมือนโลห์และอาวุธ ทหารที่ไม่มีโลห์ ไม่มีอาวุธ
ไปรบที่ไหนก็มีแต่แพ้ ตายหยังเขียด ตายแหง๋มๆ ทหารจึงต้องยึดโลห์และอาวุธไว้ป้องกันตน
เมื่อรบชนะหรือสงครามสงบแล้วนั่นแหละ จึงค่อยวางโลห์ วางอาวุธ

พระโยคาวจรเจ้าทั้งหลายก็เช่นกัน ท่านยึดเอาธรรมทั้งหลายต่างโลห์และอาวุธ ไว้ปกป้องคุ้มครองตน
เมื่อต้องเข้าสู่สงคราม "รื้อภพชาติ" เมื่อ "ภพชาติถูกทำลายสิ้นแล้ว" ท่านจึงวางธรรม เหมือนทหาร
วางโลห์และอาวุธเมื่อสงครามสงบฉันนั้น ..

"สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ" ธรรมทั้งหลายล้วนเป็นอนัตตา ต้องปล่อยวางทั้งสิ้น ดังนี้ ..

ขอโมทนากับทุกท่านนะครับ :b8: :b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 88 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 119 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร