วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 01:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธวจน
แก้กรรม ?
โดย ตถาคต


“ราหุล ! กระจกเงามีไว้สำหรับทำอะไร ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
กระจกเงามีไว้สำหรับส่องดู พระเจ้าข้า !”
“ราหุล ! กรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่บุคคลควรสอดส่อง
พิจารณาดูแล้ว ๆ เล่า ๆ เสียก่อน จึงทำลงไป
ทางกาย, ทางวาจา หรือ ทางใจ
ฉันเดียวกับกระจกเงานั้นเหมือนกัน.

จูฬราหุโลวาทสูตร ม.ม. ๑๓/๑๒๓/๑๒๖.

รายละเอียดที่บุคคลควรทราบ
เกี่ยวกับเรื่องกรรม

ภิกษุ ท. ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่
บุคคลควรทราบ,
เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรม เป็นสิ่ง
ที่บุคคลควรทราบ,
วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่
บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่
บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
ไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ...... คำที่
เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็น กรรม
เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรม ด้วยกาย

ด้วยวาจา ด้วยใจ.

ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม)
แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม)
แห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ.

ภิกษุ ท. ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ)
แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในนรก
มีอยู่, กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉาน
มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่,
กรรมที่ทำสัตว์เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่, กรรมที่
ทำสัตว์เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรา
กล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรม
ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามี
อยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า
วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบากใน

อปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า
วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม)
เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมี
เพราะความดับแห่งผัสสะ.
ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมี
องค์แปด) นี้นั่นเองคือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา ; ได้แก่
สิ่งเหล่านี้คือ คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมา-
สังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยง
ชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ
(ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).

ภิกษุ ท. ! เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม
อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้,

รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้ ;
อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่าเป็น
เครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.
ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “กรรม เป็นสิ่ง
ที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่
บุคคลควรทราบ, เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคล
ควรทราบ, วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินี
ปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ” ดังนี้นั้น เราอาศัย
ความข้อนี้กล่าวแล้ว.

ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓ - ๔๖๔/๓๓๔.

เหตุเกิดของ “กรรม”
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม ๓ อย่าง

ภิกษุ ท. ! เหตุ ๓ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความ
เกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ?

คือ ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ (ความรักใคร่ พอใจ) ที่เป็นอดีต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจ
ก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น

ผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์ (เครื่อง
ผูก) ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจ
ก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น
ผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐาน
แห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลตรึกตรองถึงธรรม อันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า เมื่อตรึกตรองตามไป
ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูก
ธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็น
สังโยชน์ ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นฐาน

แห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุ ท. ! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไป
เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
ภิกษุ ท. ! (อีกอย่างหนึ่ง) เหตุ ๓ ประการนี้
เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกรรม เหตุ ๓ ประการ
คืออะไรบ้างเล่า ?
คือความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต ๑,
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีตอย่างไร ?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรม อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอัน
ยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว
คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ความพอใจ

ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคตเป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรม อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอัน
ยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว
คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ความพอใจ
ไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อัน
เป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบันเป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรม อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า ครั้นรู้ชัดซึ่ง
วิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจ
ได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุ ท. ! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไป
เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.

ติก. อํ. ๒๐/๓๓๙/๕๕๒.
...ติดตามตอนต่อไปครับ...
 

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2012, 13:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2012, 20:22
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


แก้กรรมได้ด้วยหรอค่ะ ทางที่ดีทำดีเข้าไว้ในขณะที่ยังทำได้ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


แก้ได้ครับ..แต่ต้องตามพระศาสดาบัญญัตินะครับ

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่
ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย ทั้ง
ใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธ-
คามินีปฏิปทา. .....
ภิกษุ ท. ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! จักษุ (ตา) .... โสตะ (หู) .... ฆานะ
(จมูก) .... ชิวหา (ลิ้น) .... กายะ (กาย) ..... มนะ (ใจ) อันเธอ
ทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า) อภิสังขตะ
(อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัยทำให้เกิด
ความรู้สึกขึ้น) เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.
ภิกษุ ท. ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด, อันนี้เรียกว่า
กรรมใหม่
ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม) เป็น
อย่างไรเล่า ?
๑๘ พุทธวจน
ภิกษุ ท. ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะ
ความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด, อันนี้
เรียกว่า กัมมนิโรธ.
ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค
(อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ความ
เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา
(การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความ
พากเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ
(ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.
ภิกษุ ท. ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า) กรรมเก่า
เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย กรรมใหม่ เราก็แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา
เราก็ได้แสดงแล้ว.
ภิกษุ ท. ! กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหา
แก้กรรม ? ๑๙
ประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวก
ทั้งหลาย, กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.
ภิกษุ ท. ! นั่นโคนไม้, นั่นเรือนว่าง. พวกเธอ
จงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ
ในภายหลังเลย.
นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอ
ทั้งหลาย.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗ - ๒๓๑.

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


กายนี้ เป็น “กรรมเก่า”
ภิกษุ ท. ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้ง
ไม่ใช่ของบุคคล เหล่าอื่น.
ภิกษุ ท. ! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย
พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต), เป็นสิ่งที่
ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต), เป็นสิ่งที่มี
ความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).
ภิกษุ ท. ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้
สดับแล้ว ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่ง
ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้ :
เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี ; เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้,
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ; เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี ; เพราะ
ความดับไปแห่งสิ่งนี้ , สิ่งนี้จึงดับไป : ข้อนี้ได้แกสิ่ง
เหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ; เพราะมี
วิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ; เพราะมีนามรูปเป็น
แก้กรรม ? ๒๑
ปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย
จึงมีผัสสะ ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ; เพราะมีตัณหา
เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ; เพราะมีชาติ
เป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้น
พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
อวิชชานั้น นั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร, เพราะมี
ความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ; .....
ฯลฯ ..... ฯลฯ ..... ฯลฯ ..... เพราะมีความดับแห่งชาติ
นั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ แล.
นิทาน.สํ. ๑๖/๗๗/๑๔๓.

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2013, 22:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 เม.ย. 2013, 19:16
โพสต์: 35

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุคะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron