วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 07:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้เปิดขึ้นเพื่อให้ พุทธบริษัท ที่มีปัญหาในเรื่องธรรมและวินัย ได้เข้ามาถาม และคำตอบทุกคำตอบ
จะใช้พุทธวจนตอบเท่านั้นครับ...
ปัญหาธรรมทุกปัญหา พระศาสดาได้ทรงตอบไว้แล้วทุกเรื่อง เพราะการที่พระองค์ทรงทราบถึง
ทิฐิ 62 ของคนทั้งโลกจึงได้ตอบไว้อย่างครอบคลุม และคำตอบนั้นเป็น อกาลิโก ไม่ถูกจำกัดด้วยกาล
เวลา....
ท่านที่มีความที่ไม่ทราบอย่าเก็บไว้ครับ....

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 10:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 11:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


กสิณเริ่มต้นฝึกอย่างไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธวจน บางบัวทอง เขียน:
กระทู้นี้เปิดขึ้นเพื่อให้ พุทธบริษัท ที่มีปัญหาในเรื่องธรรมและวินัย ได้เข้ามาถาม และคำตอบทุกคำตอบ
จะใช้พุทธวจนตอบเท่านั้นครับ...
ปัญหาธรรมทุกปัญหา พระศาสดาได้ทรงตอบไว้แล้วทุกเรื่อง เพราะการที่พระองค์ทรงทราบถึง
ทิฐิ 62 ของคนทั้งโลกจึงได้ตอบไว้อย่างครอบคลุม และคำตอบนั้นเป็น อกาลิโก ไม่ถูกจำกัดด้วยกาล
เวลา....
ท่านที่มีความที่ไม่ทราบอย่าเก็บไว้ครับ....

พระพุทธองค์ กล่าวเรื่องที่เกี่ยวกับต้นไม้ ไว้อย่างไรบ้าง
ขอบาลีพร้อมคำอธิบาย เน้นคำอธิบายไม่ต้องแปลก็ได้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
กสิณเริ่มต้นฝึกอย่างไรครับ

กสิณมีทั้งหมด ๑๐ กองด้วยกันคือ

๑.ปฐวีกสิณ เพ่งดิน ๖.โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
๒.อาโปกสิณ เพ่งน้ำ ๗.ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง
๓.เตโชกสิณ เพ่งไฟ ๘.โอทากสิณ เพ่งสีขาว
๔.วาโยกสิณ เพ่งลม ๙.โอโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
๕.นีลกสิณ เพ่งสีเขียว ๑๐.อากาสกสิณ เพ่งอากาศ


การได้กสิณถือเป็นการได้ถึง อิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งพระศาสดาทรงอึดอัดขยะแขยง..
ดังพระสูตรนี้..

...ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว
ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่
ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
ก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วย
ฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจด้วยกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะเหตุดังนี้นั้น บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งที่มี
ศรัทธาเลื่อมใส เห็นภิกษุนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... ครั้นแล้วเขาจะบอกแก่คนผู้ไม่มีศรัทธา
ไม่เลื่อมใส คนใดคนหนึ่งว่า อัศจรรย์จริงหนอ ท่านไม่เคยมีมาเลย ท่าน ความที่สมณะมีฤทธิ์
มาก ความที่สมณะมีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุรูปนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... เมื่อเป็น
เช่นนี้ คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสนั้น จะพึงกล่าวกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างนี้ว่า ท่าน มี
วิชาอยู่อย่างหนึ่งชื่อว่า คันธารี ภิกษุรูปนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... ได้ด้วยวิชาชื่อว่า คันธารี
นั้น ดูกรเกวัฏฏ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสนั้น จะพึง
กล่าวอย่างนั้นกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสนั้นบ้างไหม พึงกล่าวพระเจ้าข้า
ดูกรเกวัฏฏ์ เราเล็งเห็น
โทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้แล จึงอึดอัด ระอา เกลียดอิทธิปาฏิหาริย์.

ส่วนเรื่องกสิณพระศาสดาตรัสไว้อย่างนี้..

[๓๔๒] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญกสิณายตนะ ๑๐ คือ
๑. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๒. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอาโปกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๓. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งเตโชกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๔. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวาโยกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๕. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งนีลกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๖. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๗. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโลหิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๘. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโอทาตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๙. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอากาสกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๑๐. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อย
ทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
ข้อที่ ๓๔๓ หน้าที่ ๒๕๕-256

การฝึกจึงให้ทำตามพระสูตรนี้ แต่เมื่อพระศาสดาไม่ทรงสรรเสริญจึงไม่ขออธิบายให้มาก
อานาปานสติ นี่คือมรรควิธีที่พระศาสดาทรงสรรเสริญไว้มาก สามารถเข้าถึงวิมุติได้...

....ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้;
คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี....


ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า
หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า
มีสติหายใจออก :
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสํเวที) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
กายสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;
มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๖-๓๙๗/


***ขอตอบเท่านี้ครับ อาจจะถูกใจหรือไม่นั้น ขออภัยด้วยครับ

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
พุทธวจน บางบัวทอง เขียน:
กระทู้นี้เปิดขึ้นเพื่อให้ พุทธบริษัท ที่มีปัญหาในเรื่องธรรมและวินัย ได้เข้ามาถาม และคำตอบทุกคำตอบ
จะใช้พุทธวจนตอบเท่านั้นครับ...
ปัญหาธรรมทุกปัญหา พระศาสดาได้ทรงตอบไว้แล้วทุกเรื่อง เพราะการที่พระองค์ทรงทราบถึง
ทิฐิ 62 ของคนทั้งโลกจึงได้ตอบไว้อย่างครอบคลุม และคำตอบนั้นเป็น อกาลิโก ไม่ถูกจำกัดด้วยกาล
เวลา....
ท่านที่มีความที่ไม่ทราบอย่าเก็บไว้ครับ....

พระพุทธองค์ กล่าวเรื่องที่เกี่ยวกับต้นไม้ ไว้อย่างไรบ้าง
ขอบาลีพร้อมคำอธิบาย เน้นคำอธิบายไม่ต้องแปลก็ได้ครับ


...ถามกว้างมากครับ แต่ขอยกที่เกี่ยวกับต้นไม้มาซัก 2 เรื่องครับ..


[๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่อย่างนั้น ที่นั้นบุรุษเอาจอบและภาชนะมา
ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว คุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้เท่าก้านแฝกขึ้น
บุรุษนั้นพึงทอนต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้วเจียกให้เป็นชิ้นๆ ครั้นเจียก
ให้เป็นชิ้นๆ แล้ว พึงผึ่งลมตากแดด ครั้นผึ่งลม ตากแดดแล้ว พึงเอาไฟเผา ครั้นเอาไฟเผา
แล้ว พึงทำให้เป็นเขม่า ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำมีกระแส
อันเชี่ยว ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น ถูกตัดเอารากขึ้นแล้ว ถูกทำให้เป็นดังตาลยอด
ด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป
แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ใน
ธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ข้อที่ ๒๐๙ หน้าที่ ๘๗


บาลี..
[๒๐๙] เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว มหา รุกฺโข อถ ปุริโส
อาคจฺเฉยฺย กุทฺทาลปิฏก อาทาย โส ต รุกฺข มูเล ฉินฺเทยฺย
มูเล เฉตฺวา ปลิขเนยฺย ปลิขนิตฺวา มูลานิ อุทฺธเรยฺย อนฺตมโส
อุสีรนาฬิมตฺตานิปิ ฯ โส ต รุกฺข ขณฺฑาขณฺฑิก ฉินฺเทยฺย ขณฺฑาขณฺฑิก
ฉินฺทิตฺวา ผาเลยฺย ผาเลตฺวา สกลิก สกลิก กเรยฺย
สกลิก สกลิก กริตฺวา วาตาตเป วิโสเสยฺย วาตาตเป วิโสเสตฺวา
อคฺคินา ฑเหยฺย อคฺคินา ฑเหตฺวา มสึ กเรยฺย มสึ กริตฺวา
มหาวาเต วา โอผุเนยฺย ๑ นทิยา วา สีฆโสตาย ปวาเหยฺย เอวหิ
โส ภิกฺขเว มหา รุกฺโข อุจฺฉินฺนมูโล อสฺส ตาลาวตฺถุกโต
อนภาวงฺคโต ๒ อายตึ อนุปฺปาทธมฺโม เอวเมว โข ภิกฺขเว
อุปาทานิเยสุ ธมฺเมสุ อาทีนวานุปสฺสิโน วิหรโต ตณฺหา นิรุชฺฌติ
ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ ฯเปฯ
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหตีติ ฯ ปจม ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๖
สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๘ สํยุตฺตนิกายสฺส นิทานวคฺโค
หน้าที่ ๑๐๖ ข้อที่ ๒๐๙

คำอธิบายก็ตามพระสูตรครับ...

ว่าด้วยเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์
[๕๓๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์เป็นไฉน? พวกเทวดาซึ่ง
สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รากก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่นก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กะพี้ก็มี สิง
อยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือกก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กะเทาะก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบก็มี
สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอกก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผลก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รสก็มี สิงอยู่ที่
ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่นก็มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนี้เราเรียกว่า พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
ข้อที่ ๕๓๗ หน้าที่ ๒๘๑
[๕๓๗] สาวตฺถี ฯ อถ โข อญฺญตโร ภิกฺขุ เยน ภควา ฯเปฯ
เอกมนฺตํ นิสินฺโน โข โส ภิกฺขุ ภควนฺตํ เอตทโวจ โก นุ โข
ภนฺเต เหตุ โก ปจฺจโย เยน มิเธกจฺโจ กายสฺส เภทา ปรํ
มรณา คนฺธพฺพกายิกานํ เทวานํ สหพฺยตํ อุปปชฺชตีติ ฯ อิธ ภิกฺขุ
เอกจฺโจ กาเยน สุจริตํ จรติ วาจาย สุจริตํ จรติ มนสา สุจริตํ
จรติ ตสฺส สุตํ โหติ คนฺธพฺพกายิกา เทวา ทีฆายุกา
วณฺณวนฺโต สุขพหุลาติ ฯ ตสฺส เอวํ โหติ อโห วตาหํ กายสฺส
#๑ ยุ. โวติ ทิสฺสติ ฯ ม. โข ฯ
เภทา ปรํ มรณา คนฺธพฺพกายิกานํ เทวานํ สหพฺยตํ อุปปชฺเชยฺยนฺติ ฯ
โส กายสฺส เภทา ปรํ มรณา คนฺธพฺพกายิกานํ เทวานํ สหพฺยตํ
อุปปชฺชติ ฯ อยํ โข ภิกฺขุ เหตุ อยํ ปจฺจโย เยน มิเธกจฺโจ
กายสฺส เภทา ปร มรณา คนฺธพฺพกายิกานํ เทวานํ สหพฺยตํ
อุปปชฺชตีติ ฯ



พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๗
สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๙ สํยุตฺตนิกายสฺส ขนฺธวารวคฺโค
ข้อที่ ๕๓๖ หน้าที่ ๓๐๙-310

***ขอตอบแค่นี้ครับ..

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 15:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
พุทธวจน บางบัวทอง เขียน:
amazing เขียน:
กสิณเริ่มต้นฝึกอย่างไรครับ

กสิณมีทั้งหมด ๑๐ กองด้วยกันคือ

๑.ปฐวีกสิณ เพ่งดิน ๖.โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
๒.อาโปกสิณ เพ่งน้ำ ๗.ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง
๓.เตโชกสิณ เพ่งไฟ ๘.โอทากสิณ เพ่งสีขาว
๔.วาโยกสิณ เพ่งลม ๙.โอโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
๕.นีลกสิณ เพ่งสีเขียว ๑๐.อากาสกสิณ เพ่งอากาศ


การได้กสิณถือเป็นการได้ถึง อิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งพระศาสดาทรงอึดอัดขยะแขยง..
ดังพระสูตรนี้..

...ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว
ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่
ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
ก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วย
ฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจด้วยกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะเหตุดังนี้นั้น บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งที่มี
ศรัทธาเลื่อมใส เห็นภิกษุนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... ครั้นแล้วเขาจะบอกแก่คนผู้ไม่มีศรัทธา
ไม่เลื่อมใส คนใดคนหนึ่งว่า อัศจรรย์จริงหนอ ท่านไม่เคยมีมาเลย ท่าน ความที่สมณะมีฤทธิ์
มาก ความที่สมณะมีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุรูปนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... เมื่อเป็น
เช่นนี้ คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสนั้น จะพึงกล่าวกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างนี้ว่า ท่าน มี
วิชาอยู่อย่างหนึ่งชื่อว่า คันธารี ภิกษุรูปนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... ได้ด้วยวิชาชื่อว่า คันธารี
นั้น ดูกรเกวัฏฏ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสนั้น จะพึง
กล่าวอย่างนั้นกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสนั้นบ้างไหม พึงกล่าวพระเจ้าข้า
ดูกรเกวัฏฏ์ เราเล็งเห็น
โทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้แล จึงอึดอัด ระอา เกลียดอิทธิปาฏิหาริย์.

ส่วนเรื่องกสิณพระศาสดาตรัสไว้อย่างนี้..

[๓๔๒] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญกสิณายตนะ ๑๐ คือ
๑. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๒. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอาโปกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๓. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งเตโชกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๔. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวาโยกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๕. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งนีลกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๖. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๗. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโลหิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๘. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโอทาตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๙. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอากาสกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
หาประมาณมิได้.
๑๐. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อย
ทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
ข้อที่ ๓๔๓ หน้าที่ ๒๕๕-256

การฝึกจึงให้ทำตามพระสูตรนี้ แต่เมื่อพระศาสดาไม่ทรงสรรเสริญจึงไม่ขออธิบายให้มาก
อานาปานสติ นี่คือมรรควิธีที่พระศาสดาทรงสรรเสริญไว้มาก สามารถเข้าถึงวิมุติได้...

....ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้;
คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี....


ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า
หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า
มีสติหายใจออก :
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสํเวที) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
กายสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;
มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๖-๓๙๗/


***ขอตอบเท่านี้ครับ อาจจะถูกใจหรือไม่นั้น ขออภัยด้วยครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธวจน บางบัวทอง เขียน:
กระทู้นี้เปิดขึ้นเพื่อให้ พุทธบริษัท ที่มีปัญหาในเรื่องธรรมและวินัย ได้เข้ามาถาม และคำตอบทุกคำตอบ
จะใช้พุทธวจนตอบเท่านั้นครับ...
ปัญหาธรรมทุกปัญหา พระศาสดาได้ทรงตอบไว้แล้วทุกเรื่อง เพราะการที่พระองค์ทรงทราบถึง
ทิฐิ 62 ของคนทั้งโลกจึงได้ตอบไว้อย่างครอบคลุม และคำตอบนั้นเป็น อกาลิโก ไม่ถูกจำกัดด้วยกาล
เวลา....
ท่านที่มีความที่ไม่ทราบอย่าเก็บไว้ครับ....



เขาเป็นอะไรครับเนี่ย ที่นี่ :b10:

http://www.youtube.com/watch?v=ZYgcf-nl ... _embedded#!

พอมีพุทธวจนะข้อใดกล่าวถึงบ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


s002 grin onion

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พุทธวจน บางบัวทอง เขียน:
กระทู้นี้เปิดขึ้นเพื่อให้ พุทธบริษัท ที่มีปัญหาในเรื่องธรรมและวินัย ได้เข้ามาถาม และคำตอบทุกคำตอบ
จะใช้พุทธวจนตอบเท่านั้นครับ...
ปัญหาธรรมทุกปัญหา พระศาสดาได้ทรงตอบไว้แล้วทุกเรื่อง เพราะการที่พระองค์ทรงทราบถึง
ทิฐิ 62 ของคนทั้งโลกจึงได้ตอบไว้อย่างครอบคลุม และคำตอบนั้นเป็น อกาลิโก ไม่ถูกจำกัดด้วยกาล
เวลา....
ท่านที่มีความที่ไม่ทราบอย่าเก็บไว้ครับ....



เขาเป็นอะไรครับเนี่ย ที่นี่ :b10:

http://www.youtube.com/watch?v=ZYgcf-nl ... _embedded#!

พอมีพุทธวจนะข้อใดกล่าวถึงบ้าง


ตาม youtube ที่ปรากฎพระศาสดาตรัสว่าเป็น..วัตตโกตูหลมงคล
เป็นมงคลภายนอก ของสมณพราหมณ์เหล่าอื่นคือเป็นข้อปฎิบัติทางกายทางวาจา ตามความเห็นความเชื่อของชนเหล่าอื่น

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นสมณะร่วมอยู่ด้วย ดูๆแล้วน่าจะเป็นสมณะในพุทธศาสนาเรานี่แหละ

http://www.youtube.com/watch?v=aZ4TG5Pc ... _embedded#!

อันนี้พอจะเป็นอะไรได้ครับเนี่ย :b10: เขย่าๆๆ กันอย่างเอาจริงเอาจัง :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2013, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เห็นสมณะร่วมอยู่ด้วย ดูๆแล้วน่าจะเป็นสมณะในพุทธศาสนาเรานี่แหละ

http://www.youtube.com/watch?v=aZ4TG5Pc ... _embedded#!

อันนี้พอจะเป็นอะไรได้ครับเนี่ย :b10: เขย่าๆๆ กันอย่างเอาจริงเอาจัง :b14:


****ถึงจะมีสมณะในพุทธศาสนา แต่พระศาสดาตรัสว่า นี่คือวิธีของพวกปริพาชก และเป็นเดรัจฉานวิชา...ดังพระสูตรนี้...

มหาศีล
๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า
ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธี
เติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน
ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู
เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอ
ทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.
๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะศาตรา ทายลักษณะดาบ
ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะ
กุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า
ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ
ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า
ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็น
ปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายในจัก
ยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจัก
ถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชา
ภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.
๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่าจักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง ดาวนักษัตรจัก
เดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และ
ดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง จันทรคราสจักมีผลเป็น
อย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตร
เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีอุกกาบาตจักมีผลเป็น
อย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตร
ตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้ คือพยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษาหาได้ยาก
จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน คำนวณ
นับประมวลแต่งกาพย์โลกายตศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้ คือให้ฤกษ์อาวาหมงคล ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง ดูฤกษ์
จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง
ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว
เป็นหมอทรงเจ้าบวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกระเทย
ให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์
รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยา
แก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา
ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
ดูกรอัมพัฏฐะ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวร
นั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกกำจัดราชศัตรูได้แล้วย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะ
ราชศัตรูนั้น ดูกรอัมพัฏฐะ ภิกษุก็ฉันนั้นสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ
เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน
ดูกรอัมพัฏฐะ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
จบมหาศีล.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
ข้อที่ ๑๖๓ หน้าที่ ๙๘-100
***นี่คือศีลของพระที่เป็นการบัญญัติก่อน ปาฏิโมกข์ แต่พระกลับละทิ้งศีลกลุ่มนี้ไป....

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2013, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรณีนี้

http://www.youtube.com/watch?v=aZ4TG5Pc ... _embedded#

ไม่แตกต่างกับ พองหนอ ยุบหนอ หรือ พุทโธ หรือแม้กระทั่ง ในการใช้คำบริกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช้วิธีรู้สภาวะที่เกิดขึ้นกับกาย(ลมหายใจ/ท้องพองยุบ)

แต่ใช้วิธี กำหนดคำบริกรรมภาวนาเร็วๆ หายใจเร็วๆ หรือแบบในยูทูปที่นำมาให้ดู บางคนทำแบบนี้ถูกจริตก็มี(เป็นสมาธิ) บางคนไม่ถูกจริตก็มี จากภาพที่มองเห็น บางคนใช้วิธีนั่งปกติ

บางคนกำลังเขย่าตัว หันมามองกล้องนั่นคือ ยังไม่เป็นสมาธิ หากเป็นสมาธิ จะตัดขาดการรับรู้ภายนอก

บางที่ ผู้แนะนำคอยกระตุ้นว่า เร็วๆๆๆๆๆๆๆ หมายถึง เขย่าตัวเร็วๆ หรือให้หายใจเร็วๆ พอถึงจุดๆหนึ่ง จิตจะสงบลงเป็นสมาธิ แล้วจะนั่งนิ่งลงไปเอง

หากยังไม่เป็นสมาธิก็เขย่าตัว หรือหายใจแรงๆเร็วๆ จนเหนื่อย แล้วเลิกทำ เปลี่ยนเป็นนั่งนิ่งๆ จิตก็เป็นสมาธิไปเอง ก็มี

(จากประสพการณ์ส่วนตัว ไม่ได้คาดเดาเอาเอง)


หากใครทำได้ ตามสัปปายะ ตามเหตุปัจจัยของตน นั่นแหละ คือ ความเป็นมงคลภายใน และสามารถนำมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตได้ อันนี้ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคนอีกแหละ ใช่ว่า จะเหมือนกันหมด


พระที่มาสอน เขาไม่ได้มาทำนายทายทัก เพียงแต่ท่านมาแนะนำ ในการทำให้จิตเป็นสมาธิ โดยท่านทำได้ แบบวิธีไหน ท่านก็สอนแบบนั้น

จึงไม่ใช่วิธีของพวกปริพาชก และไม่เป็นเดรัจฉานวิชา แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของแต่ละคน

ใครที่เชื่อท่าน ก็เพราะ สร้างเหตุมาร่วมกัน

ใครที่ไม่เชื่อ เพราะ ไม่ได้สร้างเหตุมาร่วมกัน

เหมือนกับการนำวิพากย์วิจารณ์ เช่นเดียวกัน


สิ่งดีที่มองเห็นคือ อย่างน้อยๆ ท่านไม่ได้สอนให้คนทำผิดศิล แต่อย่างใด และ การทำให้จิตเป็นสมาธิ ที่บางคนทำแล้วถูกจริต ของตัวเอง

หากทำได้ ย่อมทำให้เกิดความศรัทธา เป็นเหตุให้เกิดความเพียร ส่วนที่เหลือ แล้วแต่เหตุปัจจัย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 08 ก.พ. 2013, 10:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2013, 10:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
เมื่อสังเกตพิจารณาให้ดี สติปัฏฐานทั้ง 4 ไม่ว่าจะเป็นที่ กาย...เวทนา....จิต...หรือ...ธรรม ล้วนมารวมลงสู่ปฏิบัติการหรืองานที่จะต้องทำที่ ....."วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง"ซึ่งแปลความได้ว่า ...."เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลกย์"
:b27:
ถามท่านพุทธวัจนะ บางบัวทองว่า

เราจะ ....."วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง"....หรือเอาความยินดียินร้ายในโลกย์....ออกได้โดยวิธีใดบ้างครับ?
:b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 154 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร