วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 15:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2013, 23:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ต.ค. 2013, 21:07
โพสต์: 7

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ
ผมเป็นคน ขี้กังวล เครียด แล้วก็คิดมากครับ อยากศึกษาธรรมะ ให้พอดำรงชีวิตปกติสุขพอ ไม่ต้องถึงขั้น นิพพาน
ผมเลยศึกษาธรรมะ มา 3 เรื่อง คือ เมตตา ปล่อยวาง และสุนัข 3 ตัว(นิทานที่สอนให้คิดถึงแต่ปัจจุบัน ไม่ต้องคิดถึง อดีตกับอนาคต)
มันเป็นเหมือนกล่อง 3 กล่อง เวลาผมคิดไรไม่ดีขึ้นมา ผมก็จะจับใส่กล่อง เช่น เรื่องนี้ใส่กล่อง เมตตานะ เรื่องนี้ใส่กล่อง ปล่อยวาง ให้มันเหมือนตัวเองจะต้องยึดคุณธรรม 3 อย่างนี้ พอคิดไรไม่ดีก็เอาคุณธรรมมาอ้างให้หยุดคิดครับ
แล้วปรากฏว่า ผมคิดไม่หยุดเลยครับ จนรู้สึกเหนื่อยมาก
ผมทำผิดวิธีใช่มั้ยครับ

จนตอนหลังเพิ่งมาคิดได้ว่า ที่ตัวเองทุกข์อยู่ทุกวันนี้ ต้นเหตุอยู่ที่ความคิดครับ
คือก่อนเป็นโรคซึมเศร้า ผมไม่ได้เป็นคนขี้อิจฉา แล้วก็ไม่คิดมากครับ
พอเป็นโรคซึมเศร้า(จากหลายสาเหตุ) ผมคิดทุกเรื่องเลยครับ แต่เวลาลืมคิดก็จะอยากช่วยเหลือคนอื่น
แล้วตอนผมจะเอนทรานซ์ ผมจะอิจฉาทุกคนที่เรียนเก่งกว่าผม แต่พอผมสอบเข้าได้ผมก็ไม่อิจฉาแล้ว เหมือนมันเป็นเพราะความเครียดอ่าครับ
มันเหมือนว่าจริงๆแล้วผมไม่ได้เป็นคนแบบนั้นแต่มันเป็นเพราะความคิด
ตอนนี้ผมก็เลยใช้ธรรมะ ในเรื่อง “ สติ ” ดูความคิดอ่าครับ

จนตอนนี้ใช้ชีวิตได้เกือบปกติแล้ว แต่สิ่งที่ผมสงสัยคือ ธรรมะนี้มีเป็น ขั้นๆ มั้ยอ่าครับว่าต้องศึกษาเรื่องนี้ก่อนแล้วค่อยไปศึกษาเรื่องนี้ ถ้าผมจะศึกษาเพิ่มเติม หรือว่าจะศึกษาเรื่อง เมตตา กับ ปล่อยวาง แต่นำมาใช้ให้ถูกวิธี

ขอบคุณมากครับ

แก้ไขเพิ่มเติมนะครับ
วิธีดูความคิดของผมก็เหมืิอนกับ ที่คุณ คนธรรมดาๆ บอกแหละครับ
แต่ที่ผมอยากจะถามคือ " ธรรมะนี้มีเป็น ขั้นๆ มั้ยอ่าครับว่าต้องศึกษาเรื่องนี้ก่อนแล้วค่อยไปศึกษาเรื่องนี้ ถ้าผมจะศึกษาเพิ่มเติม หรือว่าจะศึกษาเรื่อง เมตตา กับ ปล่อยวาง แต่นำมาใช้ให้ถูกวิธี "


แก้ไขล่าสุดโดย mox2537 เมื่อ 18 ต.ค. 2013, 13:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 03:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเห็นแล้วใช่ไหมว่าความคิดบางอันไม่อยู่ในความควบคุมของเรา มันเกิดขึ้นมาของมันเอง

ถ้าใช่ก็ดีใจด้วยครับ คุณเริ่มเห็นธรรมชาติของจิตใจตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นได้ยากแล้ว

คุณเห็นใช่ไหม ว่าความคิดบางอย่างมีอิทธิพลเหนือจิตใจคุณ ไม่มีใครอยากเศร้า อยากทุกข์ แต่ทำไมพอเจอเรื่องนี้ทีไร ต้องทุกข์ต้องเศร้าทุกที ไม่มีใครอยากให้ความสุขหายไป แต่ทำไมไม่นานมันก็จืด มันก็เบื่อ ต้องไปหาสิ่งอื่นที่ใหม่กว่า ตื่นเต้นกว่า

ดูความคิด เป็นเรื่องดีครับ คุณมีความถนัดดูความคิด ก็ควรปฏิบัติธรรมด้วยการดูความคิด

ดูอย่างไรได้บ้าง ผมชอบดูอย่างนี้

ดูว่าความคิดเกิดขึ้นมาอย่างไร
ดูว่าความคิดดับไปอย่างไร
ดูว่าความคิดคงทนอยู่ได้นานแค่ไหน อะไรทำให้ความคิดหนึ่งอยู่ได้นาน อะไรทำให้ความคิดหนึ่งดับไปเร็ว
ดูว่าความคิดอยู่ในความควบคุมของเราหรือไม่
ดูว่าความคิดเกิดขึ้นเพราะมีสาเหตุจากอะไร
ดูว่าความคิดดับลงเพราะมีสาเหตุจากอะไร
ดูว่าความคิดแบบต่างๆ มีผลต่อจิตใจอย่างไร คือทำให้ใจเป็นสุข ใจเป็นทุกข์ หรือเฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์ อย่างไร และสาวลึกเข้าไปว่าเพราะอะไรความคิดอันนี้จึงมีผลต่อจิตใจอย่างนั้น
ดูว่าทำอย่างไร ในสภาวะไหน ความคิดอย่างข้างต้นจึงไม่มีผลต่อจิตใจ

ดูอย่างไรก็ได้ ขอให้ดูอย่างเป็นกลาง คือไม่พยายามไปบังคับความคิด อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามที่เราอ่านมาหรือรู้มา

ถ้าดูอย่างเป็นกลางได้ ก็จะค่อยๆเห็นธรรมชาติของความคิด

เมื่อเข้าใจธรรมชาติของความคิด อิทธิพลของความคิดส่วนที่เราเข้าใจแล้วก็จะอ่อนลง ใจเราก็จะค่อยๆเป็นอิสระเหนือความคิดมากขึ้นๆ

ความคิดที่เคยทำให้คุณทุกข์ ก็จะทำอะไรคุณไม่ได้มากเท่าเดิม

คุณจะเอาวิธีนี้ ไปดูอะไรอย่างอื่นที่ไม่ใช่ความคิดคุณก็ทำได้ เช่นดูความเครียด ดูความกังวล ดูแขนขาคุณ ดูผิวหนังคุณ ดูความอิจฉา ดูความเศร้า ดูความอยากความไม่อยาก เรียกว่าถ้าดูเป็น รู้หลักการแล้ว คุณจะดูอะไรก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ได้หมด อยู่ที่ว่าคุณมีกำลังสติมากพอจะดูได้หรือเปล่าเท่านั้น

โดยส่วนตัวแล้ว อะไรทำให้ผมทุกข์ ผมชอบจะดูอันนั้น ดังนั้นเรื่องที่ผมดูเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามความทุกข์ใจที่เกิดขึ้น

การอ่านหาความรู้เพิ่มเติมเป็นเรื่องดี แต่ควรระวัง อย่าให้ข้อมูลที่ได้จากการอ่านกลายเป็นสิ่งที่เราคาดหวังว่าจะได้เห็นจากการปฏิบัติธรรม ในการปฏิบัติธรรม คนแต่ละคนจะ "เห็น" ต่างๆกันไป สิ่งที่เราอ่านมาอาจจะไม่มีโอกาสเกิดกับเราก็ได้ และยังอาจจะล่อเราให้หลงทางไป เพราะใจเราเกิดอยากเห็นตามที่อ่านมา บางคนมีอาการทึกทักเอาเองว่าเห็นแล้ว ก็จะเสียเวลาเสียโอกาสกันไป

การอ่านที่ดีควรเน้นศึกษาที่ "เหตุ" อย่าไปพยายามอ่าน "ผล"

เช่น อยากปล่อยวาง ควรศึกษา "เหตุ" ว่าทำอย่างไรถึงจะปล่อยวางได้ อย่าศึกษา "ผล" ว่าความปล่อยวางมีอาการเป็นอย่างไร

เพราะถ้าเหตุครบ ผลก็จะเกิดขึ้นเอง คุณก็จะได้รู้เองขณะนั้นอยู่แล้วว่าผลเป็นอย่างไร

แต่ถ้าไม่ทำเหตุ เอาแต่คาดหมายผล ซ้ำยังรู้แล้วด้วยว่าผลควรมีอาการอย่างนั้นอย่างนี้ อาจจะตกเป็นเหยื่อของความคิดส่วนที่คุณยังเอาชนะไม่ได้ หลอกเอาว่าเราได้ผลแล้ว

ขอแสดงความยินดีด้วย และจะเอาใจช่วยนะครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 04:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


จากการอ่าน ความเห็นผมนั้นคือ เราเพลิดเพลินกับธรรมจนสลัดหลุดยาก(คิดตลอดเวลา) สติจึงจำเป็นมากในการฝึกธรรมะ เพราะธรรมะนั้นต้องทำให้ปรากฏหรือกระจ่างในปัจจุบันขณะครับ ถ้าเราคิดตลอดเวลา จิตเราก็จมอยู่กับความคิดครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแสดงความเห็นนะครับ
วิธีที่จะแก้ได้บ้างนะครับ ต้องอนุโมทนาครับ
สมมุตินะครับ เมื่อไปวัดทำบุญก็อนุโมทนาครับ และต้องอนุโมทนาบุญกับผู้อื่นครับและก็ฝึกอย่างนี้ไป
เรื่อยๆครับ ประกอบกับเมื่อเราทำความดีอะไรมาก็นำบุญตัวที่เราทำไปฝากผู้อื่นและแผ่ส่วนบุญให้แก่ผู้อื่นครับ และทำอย่างนี้บ่อยๆครับ แล้วอาการเช่นนี้ก็จะทุเลาลงครับ และจิตของเราก็จะสบายลงครับ
เพราะการเอาบุญไปฝากผู้อื่นเปรียบเสมือนเมตตาต่อผู้อื่น และเราได้สร้างทานอีกแบบหนึ่งด้วยครับ
และจิตใจก็จะสบายลงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 20:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


รสมน เขียน:
ขอแสดงความเห็นนะครับ
วิธีที่จะแก้ได้บ้างนะครับ ต้องอนุโมทนาครับ
สมมุตินะครับ เมื่อไปวัดทำบุญก็อนุโมทนาครับ และต้องอนุโมทนาบุญกับผู้อื่นครับและก็ฝึกอย่างนี้ไป
เรื่อยๆครับ ประกอบกับเมื่อเราทำความดีอะไรมาก็นำบุญตัวที่เราทำไปฝากผู้อื่นและแผ่ส่วนบุญให้แก่ผู้อื่นครับ และทำอย่างนี้บ่อยๆครับ แล้วอาการเช่นนี้ก็จะทุเลาลงครับ และจิตของเราก็จะสบายลงครับ
เพราะการเอาบุญไปฝากผู้อื่นเปรียบเสมือนเมตตาต่อผู้อื่น และเราได้สร้างทานอีกแบบหนึ่งด้วยครับ
และจิตใจก็จะสบายลงครับ


คุณรสมนก็เคยเป็นคนที่เคยเครียด และขี้กังวลใช่มั๊ย...คะ

แต่ด้วยการปฏิบัติที่คุณดำเนินมา
ทุกวันนี้ คุณดูเป็นคนที่ใจดี ใจเย็น ดูเป็นคนที่ใจบุญมาก ๆ เรย...

:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 03:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
คุณเห็นใช่ไหม ว่าความคิดบางอย่างมีอิทธิพลเหนือจิตใจคุณ ไม่มีใครอยากเศร้า อยากทุกข์ แต่ทำไมพอเจอเรื่องนี้ทีไร ต้องทุกข์ต้องเศร้าทุกที ไม่มีใครอยากให้ความสุขหายไป แต่ทำไมไม่นานมันก็จืด มันก็เบื่อ ต้องไปหาสิ่งอื่นที่ใหม่กว่า ตื่นเต้นกว่า

ดูความคิด เป็นเรื่องดีครับ คุณมีความถนัดดูความคิด ก็ควรปฏิบัติธรรมด้วยการดูความคิด

ดูอย่างไรได้บ้าง ผมชอบดูอย่างนี้

ดูว่าความคิดเกิดขึ้นมาอย่างไร
ดูว่าความคิดดับไปอย่างไร
ดูว่าความคิดคงทนอยู่ได้นานแค่ไหน อะไรทำให้ความคิดหนึ่งอยู่ได้นาน อะไรทำให้ความคิดหนึ่งดับไปเร็ว
ดูว่าความคิดอยู่ในความควบคุมของเราหรือไม่
ดูว่าความคิดเกิดขึ้นเพราะมีสาเหตุจากอะไร
ดูว่าความคิดดับลงเพราะมีสาเหตุจากอะไร
ดูว่าความคิดแบบต่างๆ มีผลต่อจิตใจอย่างไร คือทำให้ใจเป็นสุข ใจเป็นทุกข์ หรือเฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์ อย่างไร และสาวลึกเข้าไปว่าเพราะอะไรความคิดอันนี้จึงมีผลต่อจิตใจอย่างนั้น
ดูว่าทำอย่างไร ในสภาวะไหน ความคิดอย่างข้างต้นจึงไม่มีผลต่อจิตใจ



ที่คุณพูดมาทั้งหมด มันล้วนเป็นความคิดทั้งนั้นครับ
คุณอาจจะยังไม่เข้าใจ เลยแสดงความเห็นที่เป็นความคิดกับความคิด
เอาความคิดของตนลงไปพอกพูนประเด็นที่เป็นปัญหาในเรื่องของความคิด

ปัญหามันอยู่ที่คิดอย่างไรไม่ให้ออกมาเป็นการปรุงแต่งพอกพูนความคิด
สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจ นั้นก็คือความคิดมันเป็นมันเป็นธรรมชาติเป็นอนัตตา
เราไม่สามารถไปบังคับบัญชามันได้ ดังนั้นความคิดย่อมเกิดได้

แต่จะทำอย่างไรไม่ให้ความคิดที่เกิดเป็นความคิดพอกพูนเป็นกองสังขารกองทุกข์
นั้นก็คือ คิดแบบธัมมวิจยะ หมายความว่า ความคิดที่ประกอบด้วยปัญญา รู้การเกิดดับของความคิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 03:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
ดูอย่างไรก็ได้ ขอให้ดูอย่างเป็นกลาง คือไม่พยายามไปบังคับความคิด อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามที่เราอ่านมาหรือรู้มา

ถ้าดูอย่างเป็นกลางได้ ก็จะค่อยๆเห็นธรรมชาติของความคิด

เมื่อเข้าใจธรรมชาติของความคิด อิทธิพลของความคิดส่วนที่เราเข้าใจแล้วก็จะอ่อนลง ใจเราก็จะค่อยๆเป็นอิสระเหนือความคิดมากขึ้นๆ

ความคิดที่เคยทำให้คุณทุกข์ ก็จะทำอะไรคุณไม่ได้มากเท่าเดิม

คุณจะเอาวิธีนี้ ไปดูอะไรอย่างอื่นที่ไม่ใช่ความคิดคุณก็ทำได้ เช่นดูความเครียด ดูความกังวล ดูแขนขาคุณ ดูผิวหนังคุณ ดูความอิจฉา ดูความเศร้า ดูความอยากความไม่อยาก เรียกว่าถ้าดูเป็น รู้หลักการแล้ว คุณจะดูอะไรก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ได้หมด อยู่ที่ว่าคุณมีกำลังสติมากพอจะดูได้หรือเปล่าเท่านั้น

โดยส่วนตัวแล้ว อะไรทำให้ผมทุกข์ ผมชอบจะดูอันนั้น ดังนั้นเรื่องที่ผมดูเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามความทุกข์ใจที่เกิดขึ้น

การอ่านหาความรู้เพิ่มเติมเป็นเรื่องดี แต่ควรระวัง อย่าให้ข้อมูลที่ได้จากการอ่านกลายเป็นสิ่งที่เราคาดหวังว่าจะได้เห็นจากการปฏิบัติธรรม ในการปฏิบัติธรรม คนแต่ละคนจะ "เห็น" ต่างๆกันไป สิ่งที่เราอ่านมาอาจจะไม่มีโอกาสเกิดกับเราก็ได้ และยังอาจจะล่อเราให้หลงทางไป เพราะใจเราเกิดอยากเห็นตามที่อ่านมา บางคนมีอาการทึกทักเอาเองว่าเห็นแล้ว ก็จะเสียเวลาเสียโอกาสกันไป


ผมจะบอกให้ครับ คุณบอกว่าดูอย่างเป็นกลาง แต่เท่าที่ผมพิจารณาจากความเห็นของคุณ
มันไม่ได้มีความหมายเป็นกลางอย่างที่คุณว่าเลยครับ มันเป็นการปรุงแต่งความคิดทั้งนั้นครับ

ผมอยากแนะนำให้ฟังสสั้นๆครับว่า ดูอย่างเป็นกลางทำอย่างไร
ความคิดมันเป็นสังขาร มันเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป การดูความคิดอย่างเป็นกลาง
ก็แค่รู้ว่า......กำลังคิด มันก็แค่นั้นแหล่ะ ความคิดที่เป็นสังขารมันก็จะดับไปเอง

ไอ้ที่บอกว่าดูแขนขา ดูความเครียด ดูความอิจฉา และอะไรต่อมิอะไร
มันเป็นการไปปรุงแต่งความคิด แบบนี้เขาเรียกว่า จิตกำลังหลงเป็นโมหะจิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 04:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
การอ่านที่ดีควรเน้นศึกษาที่ "เหตุ" อย่าไปพยายามอ่าน "ผล"

เช่น อยากปล่อยวาง ควรศึกษา "เหตุ" ว่าทำอย่างไรถึงจะปล่อยวางได้ อย่าศึกษา "ผล" ว่าความปล่อยวางมีอาการเป็นอย่างไร

เพราะถ้าเหตุครบ ผลก็จะเกิดขึ้นเอง คุณก็จะได้รู้เองขณะนั้นอยู่แล้วว่าผลเป็นอย่างไร

แต่ถ้าไม่ทำเหตุ เอาแต่คาดหมายผล ซ้ำยังรู้แล้วด้วยว่าผลควรมีอาการอย่างนั้นอย่างนี้ อาจจะตกเป็นเหยื่อของความคิดส่วนที่คุณยังเอาชนะไม่ได้ หลอกเอาว่าเราได้ผลแล้ว

ขอแสดงความยินดีด้วย และจะเอาใจช่วยนะครับ


พูดผิดเพี้ยนธรรมครับ ในอริยสัจจ์สี่ อย่างแรกที่เราต้องรู้ก็คือทุกข์ ทุกข์คือผล
เราจะดับทุกข์ได้ ก็ต้องไปดับที่สมุทัยหรือเหตุ

สรุปก็คือเราต้องรู้ก่อนว่าผลมันคืออะไร เราถึงจะไปหาเหตุเพื่อดับได้

ผมว่าคุณไม่ใช่คนธรรมดาๆแล้วล่ะครับ คุณเนี่ยเหนือคนธรรมดาจริงๆ
ความเห็นของคุณเอาไปแต่งเป็นหนังสือแข่งกับพระไตรปิฎกได้เลยนะครับ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น้องจขกท. ครับ เบื้องต้น เอาแบบธรรมดาๆก่อนดีกว่า เช่น ทำบุญตักบาตร ไหว้พระสวดมนต์ ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ เอาแบบยึดๆไปก่อน ไม่ควรโดดไปเล่นปล่อยวางเลย ฟุ้งซ่านเปล่าๆ อ่ะนี่พูดจริงๆนะครับทำเป็นเล่นไป :b1: ตัวอย่างเยอะแยะ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
รสมน เขียน:
ขอแสดงความเห็นนะครับ
วิธีที่จะแก้ได้บ้างนะครับ ต้องอนุโมทนาครับ
สมมุตินะครับ เมื่อไปวัดทำบุญก็อนุโมทนาครับ และต้องอนุโมทนาบุญกับผู้อื่นครับและก็ฝึกอย่างนี้ไป
เรื่อยๆครับ ประกอบกับเมื่อเราทำความดีอะไรมาก็นำบุญตัวที่เราทำไปฝากผู้อื่นและแผ่ส่วนบุญให้แก่ผู้อื่นครับ และทำอย่างนี้บ่อยๆครับ แล้วอาการเช่นนี้ก็จะทุเลาลงครับ และจิตของเราก็จะสบายลงครับ
เพราะการเอาบุญไปฝากผู้อื่นเปรียบเสมือนเมตตาต่อผู้อื่น และเราได้สร้างทานอีกแบบหนึ่งด้วยครับ
และจิตใจก็จะสบายลงครับ


คุณรสมนก็เคยเป็นคนที่เคยเครียด และขี้กังวลใช่มั๊ย...คะ

แต่ด้วยการปฏิบัติที่คุณดำเนินมา
ทุกวันนี้ คุณดูเป็นคนที่ใจดี ใจเย็น ดูเป็นคนที่ใจบุญมาก ๆ เรย...

:b1: :b1: :b1:



แต่ก่อนผมก็เป็นคนเครียดมากครับ และใจร้อนครับ
แต่อาศัยหลักของความเมตตาครับ สมมุติว่ามีผู้มาว่าเรา มาด่าเรา หรือเหน็บเราก็ตาม
เราก็ควรที่จะระงับตนเอง และคิดว่า ถ้าเราระงับอารมณ์ได้ก็จะเป็นบุญครับ ถ้าเราโต้ตอบเราก็บาปครับ
และหลังจากนั้นก็ให้อภัยทานในใจ เราก็ได้อภัยทาน และขันติบารมี ได้ 2 เด้งเลยครับ
ถ้าอยากได้ 3 เด้ง ก็แผ่เมตตาให้กับผู้นั้นด้วยครับ เมตตานั้นมีค่ามหาศาลเหมือนคำที่กล่าวว่าเมตตาธรรมคำจุนโลก ถ้าในสังคมเรามีความเมตตาต่อกันแล้วสังคมนั้นก็จะร่มเย็นและน่าอยู่ครับ
และจะสงบสุขครับ ขอนุโมทนาบุญกับทุกท่านนะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 139 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร