วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ย. 2024, 10:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


กฏกติกา
สำหรับผู้ประกาศแจก
1. รายละเอียดสิ่งของที่จะแจก ไม่ว่าจะเป็นหนังสือธรรมะ หรือซีดี
2. อีเมล์/เบอร์โทร (ถ้าสะดวก) เพื่อการติดต่อ
3. จำนวนของสิ่งของที่จะแจก
4. กำหนดวันเวลาสิ้นสุดการแจกชัดเจน
5. เมื่อสิ้นสุดการแจก กรุณาปิด-ลบกระทู้ หรือแจ้งให้ผู้ดูแลทราบ

สำหรับผู้ขอรับ
1. กรุณาอ่านรายละเอียดข้อตกลงก่อนว่า ต้องลงชื่อขอรับในเว็บบอร์ดนี้ หรืออีเมล์ และเว็บไซต์ของผู้แจก
2. ชื่อ-ที่อยู่ ชัดเจน และเมื่อได้รับแล้ว กรุณาเข้ามาลบ หรือแจ้งผู้ดูแลลบชื่อท่านออก เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง
....



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2015, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
“สมเด็จพระญาณสังวร” รูปแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์


รูปภาพ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
“สมเด็จพระญาณสังวร” รูปที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


:b44: :b47: :b44:

ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระญาณสังวร” นั้น
นับว่าเป็นตำแหน่งพิเศษในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเป็นตำแหน่งที่
พระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระโดยเฉพาะ


ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชกาลที่ ๑
ทรงตั้งพระอาจารย์สุก วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)
ซึ่งเป็นพระเถระผู้ทรงคุณพิเศษในทางวิปัสสนาธุระ เป็นที่พระราชาคณะนั้น
ก็ทรงตั้งในราชทินนามว่า พระญาณสังวรเถร
อันเป็นราชทินนามที่แสดงถึงความเป็นผู้ทรงคุณในทางวิปัสสนาธุระ

ครั้นมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระญาณสังวรเถร (สุก) ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ
ก็โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาในราชทินนามว่า สมเด็จพระญาณสังวร
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๙ ตามราชทินนามเดิม ที่ได้รับพระราชทานแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
นับเป็น “สมเด็จพระญาณสังวร” รูปแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์


ฉะนั้น พระองค์ท่านจึงเป็นที่รู้จักและจดจำกันได้ติดใจของคนทั่วไป

พระอาจารย์สุก วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เป็นพระเถระที่เลื่องลือด้านวิปัสนาธุระ
และเปี่ยมด้วยเมตตายิ่ง ถึงขนาดมีตำนานเล่าว่าสามารถแผ่เมตตาให้ไก่ป่า
ที่ได้ชื่อว่าปราดเปรียวและระแวงภัยยิ่ง ให้เชื่องเหมือนไก่บ้านได้
และเมื่อสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
ชาวประชาทั้งหลายจึงมักพากันขนานพระนามท่านว่า “สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน”

ครั้นสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ราชทินนามตำแหน่งที่ สมเด็จพระญาณสังวร ก็ไม่ได้โปรดเกล้าฯ
พระราชทานสถาปนาพระเถระรูปใดอีกเลยนับแต่รัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมา


กระทั่งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระสาสนโสภณ (สุวฑฺฒโน เจริญ คชวัตร)
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ในราชทินนามว่า สมเด็จพระญาณสังวร
ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
นับเป็น “สมเด็จพระญาณสังวร” รูปที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


ในคราวที่ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร ทรงปรารภว่า
“ถ้าไม่มีสมเด็จญาณสังวรฯ (สุก ไก่เถื่อน) รูปที่ ๑
ก็คงไม่มีสมเด็จญาณสังวรฯ รูปที่ ๒
พระองค์นับว่าเป็นผู้มีพระคุณท่านหนึ่ง”


ฉะนั้น เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
จึงเสด็จไปถวายสักการะพระรูปและพระอัฐิของสมเด็จพระสังฆราช (สุก)
ที่วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) และที่วัดมหาธาตุ ตลอดมาทุกปี


นับแต่ปีที่สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
มาจนถึงปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระสาสนโสภณ (สุวฑฺฒโน เจริญ คชวัตร)
ขึ้นเป็นสมเด็จพระญาณสังวร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ นั้น นับเป็นเวลา ๑๕๒ ปี
ซึ่งเป็นเวลายาวนานถึง ๖ รัชกาลที่ว่างเว้นไม่ได้โปรดเกล้าฯ
พระราชทานสถาปนาพระเถระรูปใดในราชทินนามตำแหน่งนี้


ราชทินนามตำแหน่งที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ตามพระนาม หมายถึง ผู้สำรวมในญาณคือความรู้
หรือผู้มีความสำรวมในความรู้อย่างยิ่ง
(“ญาณ” หมายถึง ความรู้ และ “สังวร” หมายถึง สำรวม)


หรือหากอ้างถึงพระอรรถกถา ความหมายของ “ญาณสังวร”
จะเป็นหัวข้อหนึ่งใน
สังวรวินัย ๕ คือ
สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร และวิริยสังวร
และดังได้มีอรรถาธิบายความหมายของ “ญาณสังวร” ว่า

สังวรที่ตรัสไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
“ดูก่อนอชิตะ กระแส (ตัณหา) เหล่าใดในโลกมีอยู่
สติย่อมเป็นเครื่องห้ามกระแสเหล่านั้น
เราตถาคตกล่าวสติว่าเป็นเครื่องระวังกระแสทั้งหลาย
กระแสเหล่านั้นอันบุคคลย่อมละด้วยปัญญานี้เรียกว่า ญาณสังวร”


ขุ.สุ. ๒๕/๔๒๕/๕๓๐


เพราะฉะนั้นราชทินนามตำแหน่งที่ “สมเด็จพระญาณสังวร” นี้
จึงกล่าวได้ว่า เป็นตำแหน่งที่มีความหมายสำคัญในประวัติการณ์
ของคณะสงฆ์ไทยแห่งยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตำแหน่งหนึ่ง


รูปภาพ

:b8: :b8: :b8: รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหามาจาก ::
• พระประวัติสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=44309
• พระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=19822


รูปภาพ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เสด็จไปทรงถวายสักการะพระรูป
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
[ทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
เมื่อครั้งยังครองวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)]

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ณ วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)
เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๐


:b44: :b44:

ธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์อย่างหนึ่งในเทศกาลเข้าพรรษา
คือพระสงฆ์จะไปกราบขอขมาคารวะต่อพระเถระ
ที่อาจจะพลั้งเผลอล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ ในรอบปีที่ผ่านมา
ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกเวลาหากมีความประมาท ก่อนอธิษฐานเข้าพรรษา
จึงมีธรรมเนียมปฏิบัติคือการกราบขอขมาคารวะต่อพระรัตนตรัย
จากนั้นก็จะมากราบขอขมาคารวะต่อพระเถระ
ในอารามที่พระสงฆ์จะอยู่จำพรรษา
หลังเข้าพรรษาก็จะนิยมเดินทางไปกราบขอขมาคารวะ
ต่อพระเถระทั้งหลายตามวัดต่างๆ ขอให้ท่านอดโทษ ยกโทษให้
ดังนั้น หลังวันเข้าพรรษาตามอารามต่างๆ
ที่มีพระเถระผู้มีตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์อยู่
จึงมีพระภิกษุสามเณรจากวัดต่างๆ
เดินทางมากราบขอขมาคารวะต่อพระเถระ ณ อารามทั้งหลาย

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา ก็มักเสด็จไปทรงถวายสักการะ
อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารทุกพระองค์ในวันเข้าพรรษา
หลังจากนั้นก็จะเสด็จไปทรงถวายสักการะพระอัฐิ
ของสมเด็จพระสังฆราชในอดีตทุกพระองค์
และอัฐิของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
แห่งวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร
ตลอดจนเสด็จไปทรงถวายสักการะ
“พระเทพมงคลรังษี (หลวงพ่อดี พุทฺธโชติ)”
พระอุปัชฌาย์ในคราวอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย
ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
อยู่เป็นประจำทุกปีมิได้ขาด ในขณะเมื่อพระอนามัยยังอำนวย
ทั้งยังโปรดให้มีการสร้างสาธารณูปโภคอุทิศถวาย
เป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราชในอดีตทุกพระองค์ด้วย
นับเป็นความกตัญญุตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2018, 07:26 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาวิกาน้อย เขียน:
เพราะฉะนั้นราชทินนามตำแหน่งที่ “สมเด็จพระญาณสังวร” นี้
จึงกล่าวได้ว่า เป็นตำแหน่งที่มีความหมายสำคัญในประวัติการณ์
ของคณะสงฆ์ไทยแห่งยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตำแหน่งหนึ่ง


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร