วันเวลาปัจจุบัน 09 ต.ค. 2024, 05:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2008, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

:b44: น้ำเต้า ไม้เถาในพระสุบิน “พระเจ้าปเสนทิโกศล”

น้ำเต้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Lagenaria siceraria Standl.” อยู่ในวงศ์ Cucurbitaceae เป็นไม้เถาล้มลุกขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นเหลี่ยม เมื่อเถาอ่อนจะมีสีเขียวอมเหลือง และเมื่อเถาแก่จะมีสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจกว้าง 10-25 เซนติเมตร ออกเรียงสลับ ขอบใบหยัก ดอกเป็นดอกเดี่ยว ขนาดใหญ่ สีขาว มี 5 กลีบ ออกตามซอกใบ มีก้านช่อดอกยาว

ส่วนผลของน้ำเต้านั้นมีหลายรูปทรงแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ อาทิเช่น ชนิดผลกลม ไม่มีคอ, ชนิดผลกลม มีคอเหมือนคอขวด, ชนิดผลกลมยาวเหมือนงาช้าง เนื้อในผลมีสีขาวและมีเมล็ดจำนวนมาก เมื่อผลแก่เนื้อภายในผลจะค่อยๆ หายไป เหลือแต่เมล็ดแก่ติดเปลือกอยู่ โดยทั่วไปผลจะมีเนื้อในนุ่มรสหวาน ยกเว้นชนิดผลกลมไม่มีคอจะมีรสขม มักนำมาใช้ทำยา


สรรพคุณทางพืชสมุนไพรของน้ำเต้ามีมากมาย อาทิ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เริม เบาหวาน แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ปอดอักเสบ ลดกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย แผลในกระเพาะอาหาร และความดันโลหิต เป็นต้น

ผลน้ำเต้านั้นเมื่อแก่และขูดเนื้อในออกหมดแล้ว สามารถนำมาใช้บรรจุอาหารและน้ำดื่มได้


ดังมีเรื่องแต่ครั้งพุทธกาลว่า ภิกษุทั้งหลายใช้กระโหลกน้ำเต้าเที่ยวบิณฑบาต ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่าเหมือนพวกเดียรถีย์ เมื่อความทราบถึงพระพุทธองค์ จึงทรงตรัสเพื่อบัญญัติเป็นพระวินัยเรื่องบาตรสำหรับภิกษุไว้ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กระโหลกน้ำเต้าเที่ยวบิณฑบาต รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏฯ”

และในพระไตรปิฎก มหาสุบินชาดก ว่าด้วยมหาสุบินของพระเจ้าปเสนทิโกศล 16 ข้อ ที่ได้ทรงให้สมเด็จพระบรมศาสดาทำนายเหตุที่จะเกิดกับพระองค์อันเนื่องมาจากพระสุบินนั้น โดยหนึ่งในนั้นมีพระสุบินเกี่ยวกับน้ำเต้า

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกราบทูลถามพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นกระโหลกน้ำเต้าจมน้ำได้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า”


รูปภาพ

รูปภาพ

พระบรมศาสดาตรัสว่า “มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ก็จักมีในอนาคตกาล เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อมในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ด้วยว่าในครั้งนั้น พระราชาทั้งหลายจักไม่พระราชทานยศแก่กุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ จักพระราชทานแก่ผู้ไม่มีสกุลเท่านั้น พวกนั้นจักเป็นใหญ่ อีกฝ่ายหนึ่งจักยากจน ถ้อยคำของพวกไม่มีสกุลดุจกระโหลกน้ำเต้า ดูประหนึ่งหยั่งรากลงแน่นในที่เฉพาะพระพักตร์พระราชาก็ดี ที่ประตูวังก็ดี ที่ประชุมอำมาตย์ก็ดี ที่โรงศาลก็ดี จักเป็นคำไม่โยกโคลง มีหลักฐานแน่นหนาดี

แม้ในสังฆสันนิบาต (ที่ประชุมสงฆ์) เล่า ในกิจกรรมที่สงฆ์พึงทำและคณะพึงทำก็ดี ทั้งในสถานที่ดำเนินอธิกรณ์เกี่ยวกับบาตร จีวร และบริเวณเป็นต้นก็ดี ถ้อยคำของคนชั่วทุศีลเท่านั้น จักเป็นคำนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ มิใช่ถ้อยคำของภิกษุผู้ลัชชี (ผู้มีความละอายที่จะทำชั่ว คือผู้ไม่กล้าทำชั่วเพราะมีความละอายใจที่จะทำเช่นนั้น คือภิกษุที่ดีนั่นเอง) เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นเหมือนกาลเป็นที่จมลงแห่งกระโหลกน้ำเต้า แม้ด้วยประการทั้งปวง ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร”


ในโพธิราชกุมารสูตร พระพุทธองค์ได้ตรัสกับโพธิราชกุมาร ถึงเมื่อครั้งทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยเปรียบพระเศียรของพระองค์ว่า

“...ผิวศีรษะของอาตมภาพที่รับสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้ง ดุจดังผลน้ำเต้าที่ตัดมาสดๆ อันลมและแดดกระทบอยู่ก็เหี่ยวแห้ง ฉะนั้น...”


รูปภาพ

รูปภาพ

และในพระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน หัวข้อ ‘โสวัณณโกนตริกเถราปทาน’ ว่าด้วยผลแห่งการถวาย ‘กระโหลกน้ำเต้า’ ซึ่งพระโสวัณณโกนตริกเถระได้กล่าวไว้ว่า

“เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้อบรมใจ ฝึกพระองค์แล้ว มีพระทัยตั้งมั่น เสด็จดำเนินอยู่ในทางใหญ่ ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ทรงยินดีในการสงบระงับจิต ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง มีปกติเพ่งพินิจ ยินดีในฌาน เป็นมุนี เข้าสมาบัติ สำรวมอินทรีย์ จึงเอากระโหลกน้ำเต้าตักน้ำเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ล้างพระบาทของพระพุทธเจ้าแล้วถวายน้ำเต้า และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้ทรงบังคับว่า ท่านจงเอากระโหลกน้ำเต้านี้ ตักน้ำมาวางไว้ที่ใกล้ๆ เท้าของเรา เรารับสนองพระพุทธดำรัสว่า สาธุ แล้วเอากระโหลกน้ำเต้ามาวางไว้ใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เพราะความเคารพต่อพระศาสดา

พระศาสดาผู้ทรงความเพียรใหญ่ เมื่อจะทรงยังจิตของเราให้ดับสนิท ได้ทรงอนุโมทนาว่า ด้วยการถวายน้ำเต้านี้ ขอความดำริของท่าน จงสำเร็จ ในกัปที่ 15 แต่กัปนี้ เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช 33 ครั้ง จะเป็นกลางวันหรือกลางคืนก็ตาม เมื่อเราเดินหรือยืนอยู่ คนทั้งหลายถือถ้วยทองยืนอยู่ข้างหน้าเรา เราได้ถ้วยทองเพราะการถวายน้ำเต้าแด่พระพุทธเจ้า สักการะที่ทำไว้ในท่านผู้คงที่ทั้งหลาย ถึงจะน้อยก็ย่อมเป็นของไพบูลย์ ในกัปที่แสนแต่กัปนี้เราได้ถวายน้ำเต้าในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งน้ำเต้า เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้”


รูปภาพ

......................................................

จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 91 มิ.ย. 51 โดย เรณุกา
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 30 พฤษภาคม 2551 15:51 น.


:b47: พุทธทำนาย 16 ข้อ (ท่านธัมมโชติ)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8866

:b47: เหตุแห่งความฝัน (พุทธทำนาย)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=11307

:b47: พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ผู้อุปถัมภ์พระศาสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=71&t=50277

:b47: “เมืองสาวัตถี” แห่งแคว้นโกศล เมืองคนดีและคนบาป
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=55476

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
http://www.elib-online.com/doctors50/food_dm0010.html
.....
ชื่อภาษาอังกฤษคือ Bottle Gourd อาจแปลได้ว่า แตงขวด
ชางกะเหรี่ยงเรียก คิลูส่า ส่วนทางเหนือเรียก มะน้ำเต้า
ชาวอินเดียเรียก Lauki หรือ Dudhi
……
แพทย์แผนไทยใช้รากน้ำเต้าขมเป็นยาแก้ดีแห้งขับน้ำดีให้ตกลำไส้
ใบน้ำเต้าเป็นยาดับพิษแก้ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ำ พบว่ายาเขียวทุกชนิดมักเข้าใบน้ำเต้าหมด
น้ำเต้าเป็นยาภายนอก นำใบสดโขลกผสมกับเหล้าขาว ทาถอนพิษร้อน แก้ฟกช้ำ บวม แก้อาการพองตามตัว แก้เริม งูสวัสได้ดีมาก
ชาวอินเดียใช้ประกอบอาหารให้ผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันเลือด
บทความต่างประเทศกล่าวถึงฤทธิ์ขับปัสสาวะของเปลือกลำต้นและเปลือกผลน้ำเต้า
น้ำคั้นผลมีฤทธิ์ลดกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยและแผลกระเพาะอาหาร
ที่ประเทศจีนและอินเดียมีการกินน้ำเต้าเพื่อควบคุมเบาหวาน มีเว็บไซต์เสนอเมนูคุมเบาหวานใช้น้ำเต้าหลายแห่ง
งานวิจัยที่ประเทศอินเดีย ปี พ.ศ.2549 พบว่าสายสกัดน้ำเต้าด้วยคลอโรฟอร์มและแอลกอฮอล์ ที่ 200 และ 400 มก./กก. น้ำหนักหนูยับยั้งการเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันชนิดไม่ดี แต่เพิ่มปริมาณไขมันชนิดดีในหนูที่ถูกกระตุ้นให้มีปริมาณไขมันสูงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณการกินสารสกัด และลดปริมาณคอเลสเทอรอล ไตรกลีเซอไรด์และไขมันชนิดไม่ดีในหนูที่มีปริมาณไขมันในเลือด
:b8: เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 02:06
โพสต์: 811

อายุ: 0
ที่อยู่: มหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันถูกต้องอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2015, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4A ขออนุโมทนาสาธุค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร