วันเวลาปัจจุบัน 09 ก.ย. 2024, 21:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2015, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ

ใบตองตึง : เสนาสนะป่าในอดีต

ชื่อทั่วไป : พลวง, ตองตึง

ชื่อท้องถิ่น : ๑.) ตะทอเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง) ๒.) ไฮ่ไม้ดึง (ปะหล่อง)
๓.) กุง, ใบตองกุง (อุบลราชธานี, อุดรธานี, ปราจีนบุรี)
๔.) เกาะสะแต้ว ๕.) สะเติ่ง (ละว้า-เชียงใหม่) ๖.) คลง (เขมร-บุรีรัมย์)
๗.) คลอง (เขมร) ๘.) ควง (พิษณุโลก, สุโขทัย) ๙.) ยางพลวง, พลวง (กลาง)

ชื่อวงศ์ : Dipterocarpaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus tuberculatus Roxb.


ลักษณะสำคัญ : ตองตึงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๒๐-๓๐ เมตร
เป็นไม้ผลัดใบ ลำต้นตรง กิ่งอ่อนมีรอยแผล ใบขนาดใหญ่
เปลือกหนาสีน้ำตาลปนเทาอ่อน แตกเป็นร่องลึกไปตามยาวลำต้น
เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งแขนงมักคดงอ เนื้อไม้สีน้ำตาลแกมแดง

ใบ เป็นรูปไข่ กว้าง ๑๕-๒๘ เซนติเมตร ยาว ๑๕-๔๐ เซนติเมตร
เนื้อใบหนา เกลี้ยงหรือมีขนกระจายห่างๆ โคนใบหยักเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นคลื่น
ปลายใบสอบ ใบอ่อนสีน้ำตาบแกมแดง กาบหุ้มยอดอ่อนมีขนสั้นๆ สีเทา

ดอก สีม่วงแดง ทั้งออกเป็นช่อเดี่ยวและออกตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง

โดยพบต้นพลวงแพร่กระจายทั่วไปในประเทศพม่า
ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง และภาคตะวันออก ชอบขึ้นตามที่ลาดต่ำใกล้ชายห้วย หรือใกล้ที่ชุ่มชื้น
ที่ระดับความสูง ๑๐๐-๑๐๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล

การใช้ประโยชน์ : ใบสดสามารถใช้ห่ออาหาร สิ่งของได้เพราะมีขนาดใหญ่และหนา
และเกษตรกรไร่สตรอเบอรี่ใช้รองใต้เถาต้นสตรอเบอรี่
เพื่อไม่ให้ผลสัมผัสดินซึ่งทำให้ผลเน่าหรือผิวไม่สวย

เมื่อต้นอายุ ๖-๘ ปี สามารถเก็บใบมาใช้ทำหลังคา ฝากั้นห้องหรือมุงบังที่อยู่อาศัยได้
โดยจะเก็บช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
และเมื่ออายุ ๑๒ ปีขึ้นไปจะมีชันเอามาใช้ยาเรือ ทาเครื่องจักสานต่างๆ

สรรพคุณทางยา : ใบใช้เผาไฟแทรกน้ำปูนใสแก้บิดเป็นมูกเลือด

การขยายพันธุ์ : ต้นพลวง, ตองตึง หรือต้นกุงนี้ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
เมล็ดมีลักษณะเหมือนเมล็ดต้นยาง คือ เมล็ดกลมและมีปีก
ซึ่งปีกจะทำให้เมื่อแก่จัด เมล็ดร่วงจากต้นแล้วปลิวลมไปได้ไกล


รูปภาพ
ลูกต้นพลวงหรือต้นกุง ภาพจาก http://www.kasetporpeang.com/

:b47: :b47:

:b42: ท่านที่เคยอ่านหรือฟังประวัติของ "พ่อแม่ครูอาจารย์ฝ่ายกรรมฐาน"
หรือได้เคยฟังท่านเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการออกธุดงค์ พักแรมอาศัยตามป่าในอดีต
คงเคยได้ยินหรือได้อ่านมาบ้างเกี่ยวกับ "กระท่อมมุงหรือกั้นฝาด้วยใบตอง" ที่ท่านเล่า
เป็นเสนาสนะป่า กุฏิน้อยๆ อาศัยชั่วคราวที่ชาวบ้านตามป่าตามเขา สร้างถวายท่าน
ใบตอง ที่ว่าก็คือ ต้นพลวงหรือต้นกุงนี้ ซึ่งเป็นพืชที่กระจายตัว
อยู่ในป่าแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและป่าเขตประเทศเมียนมาร์
เป็นภูมิปัญญาของคนท้องถิ่นโดยเฉพาะและเริ่มห่างหายไปในปัจจุบัน
คนรุ่นหลังที่อาจไม่เคยรู้จัก และไม่เคยเห็นว่า "ใบตอง" ที่ท่านเล่าถึงนั้นเป็นอย่างไร

ต้นไม้ที่มีคุณค่าอยู่ในป่า ถ้าเราไม่รู้จักก็ไม่อาจนำมาใช้ประโยชน์ได้
แต่ชาวบ้านตามป่าเขาก็ได้อาศัยวัสดุธรรมชาติเหล่านี้มาสร้างเป็นเสนาสนะ
กุฏิพักอาศัยถวายให้พ่อแม่ครูอาจารย์ที่ออกปฏิบัติอยู่ในป่าดงมามากต่อมาก
เป็นข้อคิดได้อีกด้วยว่า การสร้างบุญกุศลนั้นไม่ได้ต้องใช้เงินทองมากๆ เสมอไป
เพราะชาวบ้านป่าก็ได้สร้างวิหารทาน ที่พักอาศัยถวายพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ด้วยเพียงวัสุดที่มี เช่น ใบไม้ ไม้ไผ่และแรงกายแรงใจที่มี ไม่ได้มีอะไรหรูหราเลย


ดังนั้น เราจึงควรทำความรู้จักและช่วยกันอนุรักษ์ทั้งต้นไม้และภูมิปัญญาเหล่านี้ไว้
แม้ไม่ได้ใช้งานจริงอย่างแพร่หลายอย่างสมัยก่อนก็ตาม
แต่เป็นของมีค่าในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นค่ะ :b8: :b1:


:b45: :b45:

การทำหลังคาด้วยใบตองตึง



อุปกรณ์

๑. ไม้ไผ่เป็นแกนและเป็นตอก ๒. ใบตองตึงที่ร่วงจากต้น สับก้านใบออก
ใบตองตึงที่เลือกมามุงหลังคาจะเลือกที่มีใยละเอียด หนา
ส่วนใยหยาบและห่าง เรียกว่า ตองตึงดิน จะไม่นำมาใช้มุง
(จากบทความของ "คุณวันใหม่ นิยม" จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์")

วิธีทำโดยสังเขป

๑. ไม้ไผ่เป็นแกนตามความยาว และมีไม้ไผ่ทำเป็นตอก เตรียมไว้
๒. ใบแรกของไพหรือตับ ใช้ใบตองนำมาพับครึ่งตามแนวตั้งวางลงไปกับแกนไม้ไผ่
๓. ใบถัดมา ใช้ใบตองทั้งใบไม่พับครึ่ง เอาส่วนปลายใบหุ้มแกนไม้ไผ่
วางใบตองให้เหลื่อมทับกันกับใบแรกแล้วใช้ตอกร้อยให้ติดกัน
๔. ความหนา-บาง ขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะใช้สอย


รูปภาพ
การนำใบตองตึงมาเย็บ ทำหลังคาซึ่งจะใช้ได้ประมาณ ๒-๒.๕ ปี

รูปภาพ

รูปภาพ
ฝาบ้านใบตองตึง

รูปภาพ
ชาวบ้านเก็บใบตองตึงแห้งที่ร่วงในป่า

รูปภาพ
บ้านเรือนที่สร้างด้วยใบตองตึง


ข้อดีของการมุงหลังคาด้วยใบตองตึง คือ ในตัวบ้านจะเย็น
ถ้ามุงด้วยกระเบื้องหรือสังกะสี ต้องมีเพดานเพื่อลดความร้อน
แต่ใบตองตึงนี้ไม่ต้องมีเพดานก็ได้


:b44: :b44:

เรื่องเล่าเกี่ยวกับ "ต้นตองตึง"

"ต้นตองตึง ในภาษาภาคกลางก็คือ ต้นพลวง เป็นไม้ยืนต้นที่สูงได้ในระดับ ๒๐-๓๐ เมตร
พื้นที่ที่พบจะเป็นบริเวณที่เป็นดินปนหิน แห้งแล้ง ที่เรามักจะเรียกพื้นที่นี้ว่าป่าเต็งรัง
แต่จริงๆ แล้วส่วนมากจะเป็นต้นพลวงและต้นเหียง
ป่าเหียงและพลวงนี้จะพบในบริเวณที่เป็นตะพักลำน้ำเก่า (river terrace)
เป็นพื้นที่ๆ มีการสะสมของตะกอนลำน้ำ (ทราย กรวด ดินโคลน)
สภาพของดินจึงเป็นกรด ทำให้มีต้นไม้ไม่มากชนิดที่จะขึ้นได้
พันธุ์ไม้ที่ขึ้นจะเป็นพวกที่มีเปลือกหนา

คนทางเหนือนำใบตองตึงมาพับแล้วเย็บเข้ากับก้านไม้ไผ่ เป็นตับๆ
แล้วก็เอาไปมุงหลังคา เรียกว่าหลังคาตองตึง
อันหลังคาตองตึงนี้จะใช้กับที่พักอาศัยชั่วคราว หรือเมื่อแรกย้ายที่อยู่เท่านั้น
เราจึงพบการใช้หลังคาตองตึงก้บที่พักกลางทุ่งนาที่เรียกว่า ห้างนา หรือเขียงนา
และก็จะพบการใช้กับบ้านพักพิงชั่วคราวตามชายทุ่ง (ทุ่งที่อยู่ในป่าดง)
เมื่อเขาออกไปเลี้ยงวัวหรือเก็บของกินในป่า"


ข้อความจากกระทู้ "เสี้ยวหนึ่งกับป่าดงและชาวถิ่น"
โดยคุณ "naitang"

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5776.0


"ต้นกุง (พลวง) ต้นชาด (เหียง) ต้นสะแบง ต้นยาง เป็นไม้ตระกูลเดียวกัน
เนื้อไม้คล้ายกัน แยกไม่ออกโดยการอธิบาย แต่ดูออกว่าเป็นไม้ชนิดใด
ป่าที่มีต้นกุง เรียกว่า โคก เป็นป่าโปร่ง ไม้ใหญ่มีแต่ต้นกุงทั้งนั้นเนื้อที่หลายพันไร่
หน้าแล้ง ต้นไม้ผลัดใบ พอเริ่มเข้าสู่หน้าแล้ง ใบตองกุงจะเหลือง
และหลุดจากกิ่งค่อยๆร่อนลงมากระทบกับลำต้น ต้นนั้นต้นนี้เป็นจังหวะ (นึกว่าผีหลอก)
รากต้นกุง ทำให้เกิดเห็ดระโงกและเห็ดอื่นๆ อีกหลายชนิด ลำต้นทำให้เกิดเห็ดลม (เห็ดบด)

ใบตองกุง ใช้ในการห่อข้าวเหนียว ใช้ทำฝาผนังกระท่อม
ใช้รองเข่ง (กระทอ) เกลือ ข้าวปลูก กระดานมุงหลังคา ทำด้วยไม้กุง
โดยตัดเป็นท่อนยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ตั้งไว้แล้วใช้มีดขนาดใหญ่
วางที่ขอบ (ถัดเปลือกเข้ามา) ให้อีกคนหนึ่งใช้ค้อน (เหมือนไม้เบสบอล)
ตีลงบนสันมีดจนจมลงในเนื้อไม้จากนั้นวางลิ่มตรงรอยผ่าใช้ค้อนตีลงไปหนึ่งครั้ง
ลิ่มจะทำให้รอยแยกห่างออก คนถือมีดจะดึงมีดออก
แล้วใช้สันมีดตีลิ่มจนไม้ฉีกออกเป็นแผ่นกระดาน"


ข้อความจากกระทู้
"ต้นกุง ใครพอรู้จักมั่ง ภาษาไทยเรียกต้นอะไร" โดยคุณ "phalikhit"

http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=47581.0



:b46: :b46: :b46:


ขอบคุณที่มาของข้อมูลและภาพประกอบ

เว็บไซต์ "กลุ่มงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้"
http://fbd.forest.go.th/th/?p=1615

เว็บไซต์ "โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพ
และภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง"

http://eherb.hrdi.or.th/

เว็บไซต์ "มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์"
http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=666

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2015, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 05:25
โพสต์: 621


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร