วันเวลาปัจจุบัน 13 ต.ค. 2024, 17:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2013, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b20: แนวโน้มการดูแลสุขภาพปี 2556 :b20:

ในปัจจุบัน ผู้คนดำรงชีวิตในสภาวะที่เต็มไปด้วยมลภาวะความเครียดและการทำงานที่ต้องแข่ง
กับเวลาและการรับประทานอาหารที่เร่งรีบ การดูแลเอาใจใส่สภาพร่างกายเป็นอย่างดีตามสภาพและเวลาที่เหมาะสม ย่อมดีกว่าการปล่อยให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บแล้วทำการรักษาในภายหลัง การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะจะช่วยให้ค้นพบปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ช่วยให้มีการดูแลรักษาสุขภาพ ช่วยให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค การให้วัคซีน ยา หรือสารเคมีบางชนิดเพื่อป้องกันโรค การตรวจสุขภาพที่ให้ประโยชน์คุ้มค่า จะต้องเป็นการตรวจที่มีจุดประสงค์มุ่งป้องกันมากกว่ามุ่งการรักษา ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับผู้ที่มารับการตรวจอย่างแท้จริง ทั้งยังสามารถบอกความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายได้เป็นอย่างดี


พ.ท.นพ.ณัฏฐ์พีรยช มรกตพรรณ หัวหน้าแพทย์ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.พญาไท 3 กล่าวว่า ถ้าจะดูเรื่องของแนวโน้มของการดูแลสุขภาพในปี 2556 ก็ต้องดูว่าทางองค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) ได้กำหนดรูปแบบวันสุขภาพโลก (World Health Day) ซึ่งจะตรงกับวันที่ 7 เมษายน 2556 นั้น เป็นไปในทิศทางใด

ปี 2556 นี้ WHO ได้เน้นไปที่เรื่องของ “โรคความดันโลหิตสูง” โดยพยายามชักนำให้คนทั่วโลกหันมาใส่ใจเรื่องของการป้องกันความความดันโลหิตสูง เพื่อผดุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ยุคปัจจุบัน ซึ่งเราจะพบว่าคนรุ่นใหม่กินอาหารมากขึ้น (หาซื้อง่าย ซื้อได้ทุกๆ เวลา) เพิ่มความเสี่ยงน้ำหนักเกิน-อ้วน, นอนไม่พอ, กินเกลือมากขึ้น ชอบกินอาหารสำเร็จรูป อาหารแห้ง อาหารจานด่วน และอาหารซื้อ เช่น แกงใส่ถุง ฯลฯ (มักจะมีเกลือมากกว่าอาหารทำเองที่บ้าน) ซึ่งหากเราให้ความสำคัญกับการป้องกัน ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายจากการที่จะเจ็บป่วยจากโรคที่จะเกิดตามมาภายหลังได้มากทีเดียว ดังนั้นองค์การอนามัยโลกจึงกระตุ้นให้แต่ละประเทศ ผลักดันนโยบายและกิจกรรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันก่อนเป็นโรคนั่นเอง

คุณหมอระบุว่า ความดันเลือดสูงเป็นโรคที่ไม่ค่อยมีอาการอะไร คนส่วนน้อยอาจปวดหัวบริเวณท้ายทอยได้บ้าง คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า ความดันเลือด 140/90 มม.ปรอท เป็นค่าปกติ, จริงๆ คือ เป็นค่าที่ "ต้องรักษา" แล้ว ดังนั้นการตรวจหาความดันเลือดสูงเป็นประจำ มีส่วนช่วยให้พบโรคได้ตั้งแต่แรกๆ ซึ่งถ้าเราได้มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนในการใช้ชีวิต เช่น นอนให้พอ ลดเกลือ-ลดเค็ม ออกแรง-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ฯลฯ จะช่วยป้องกันโรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดช้าลง หรือบรรเทาเบาบางลง โอกาสหรือความเสี่ยงที่จะเป็นสโตรก (stroke = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบ-ตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต), หัวใจเสื่อม-หัวใจวายลดลง, ไตเสื่อม-ไตวายก็จะลดลงได้

"ระยะไม่นานมานี้มีการศึกษาวิจัยพบว่า เด็กๆ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (เช่น อ้วนมาก ฯลฯ) มีโอกาสเป็นความดันเลือดสูงเพิ่มเป็น 2-4 เท่าของเด็กทั่วไป และเด็กที่มีความดันเลือดสูงขึ้น แต่ยังไม่ครบเกณฑ์วินิจฉัยเป็นความดันเลือดสูง หรือมีความดันเลือดสูงขึ้นเล็กน้อย (ความดันเลือดในช่วงค่าบน (Systolic Blood Pressure) = 120-139 มม.ปรอท/ค่าล่าง (Diastolic Blood Pressure ) = 80-89 มม.ปรอท นั่นคือ เรียกว่า "ภาวะก่อนความดันเลือดสูง" หรือ "ว่าที่ความดันเลือดสูง (Prehypertension)" ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้จะเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ และเพิ่มความเสี่ยงที่จะมีความดันเลือดเพิ่มขึ้นจนถึงระดับเป็นโรคความดันเลือดสูงเต็มตัว" คุณหมอณัฏฐ์พีรยช กล่าวว่า

คนที่มีสุขภาพดีมาก เช่น นักกีฬา คนที่ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ คนที่ฝึกไทชิ-ชี่กง (เคลื่อนไหวพร้อมการหายใจช้าๆ), ฯลฯ มักจะมีชีพจรช้าลง และความดันเลือดต่ำกว่า 120/80 มม.ปรอท ทุกวันนี้เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติที่ใช้ได้ดีมีราคาไม่แพง (ประมาณ 2,000-3,000 กว่าบาท) ก็น่าจะมีไว้ที่บ้านก็จะช่วยให้เราสะดวกสบายขึ้น ไม่ต้องไปหาหมอบ่อย ๆ

นอกจากนี้ เรื่องสุขภาพหลักๆ ที่ยังอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปในปีที่ผ่านมา และก็น่าจะยังอยู่ต่อเนื่องไปในปี 2556 นี้ ก็คือเรื่องความงามอย่างมีสุขภาพดี เป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งของคนยุคนี้เลยทีเดียว ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าโปรแกรมลดน้ำหนักและคลินิกความงามตามศูนย์การค้าใหญ่ๆ จึงมีมากมายให้เราได้เห็นอยู่ทุกๆ วัน ส่วนเรื่องของการรับประทานอาหาร ผู้คนก็จะเน้นไปที่อาหารเพื่อสุขภาพกัน เช่น Functional food (อาหารที่มีสารอาหารซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกเหนือจากคุณค่าทางโภชนาการแล้วก็ยังช่วยป้องกันโรคและรักษาโรคได้ ซึ่งประโยชน์ต่อสุขภาพของสารอาหารเหล่านี้ได้แก่ ลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคเบาหวาน ซึ่งก็ครอบคลุมอาหารหลายกลุ่ม เช่น ผัก ผลไม้ สมุนไพร ชา สารทดแทนน้ำตาล เช่น ฟรุกโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ เส้นใยอาหาร) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกึ่งยาที่เรียกว่า nutraceutical supplements เป็นต้น

สำหรับเรื่อง “สุขภาพดูแลได้ด้วยตัวเอง” ที่เรียกว่า DIY (DIY = Do It Yourself) HEALTH ซึ่งเป็นเทรนด์ในปีที่ผ่านมา ก็น่าจะยังคงแรงต่อไปในปี 2556 เทคโนโลยีและนวัตกรรม DIY ใหม่ๆ จะเรียงแถวออกสู่ตลาดเพื่อตอบรับโจทย์ความต้องการด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะในเชิงการป้องกัน ตรวจสอบ ปรับปรุง เฝ้าระวัง และบริหารจัดการสุขภาพของตัวเอง ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้จะออกมาในรูปแบบของ “แอพลิเคชั่น” ในมือถือเป็นส่วนใหญ่อย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน.


ขอบคุณที่มา :: อิสรภาพแห่งความคิดไทยโพสต์

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2013, 16:26 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2885


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b27: ขอบคุณมากๆคะสำหรับบทความนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร