วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 147 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เปลี่ยนข้างกันดีมั้ย ท่านลองศึกษาหาหลักฐานมาอ้างอิงค้านสิ่งที่ผมนำมาแสดง

ท่านครับ ท่านเป็นคนอ้างว่าโสดาบันเท่านั้นจึงเจริญสติปัฏฐานสี่ ผมก็หาหลักฐานมาอ้างแล้วว่าผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ ท่านก็ว่าผู้หนึ่งผู้ใดนั้นคือภิกษุ และภิกษุนั้นต้องบรรลุโสดาบันก่อนพระพุทธองค์จึงบวชให้ พอผมยกตัวอย่างแจ่มๆ เช่นพระเทวทัต ท่านก็บอกว่าเป็นกรณียกเว้น พอผมทวงคำตอบท่านก็ให้ผมเป็นผู้หาหลักฐานมาคัดค้าน ผมก็ค้านแล้วครับแต่สุดท้ายท่ายก็บอกว่ากรณียกเว้น

ถ้าไม่ชัดผมจะยกตัวอย่างตรรกระของท่านนะครับ สมมุติผมบอกว่าในสภัยพุทธกาลมีอุบาสิกาท่านหนึ่งบริจาค ฺBMW ไว้ให้พระเทวทัตขับเล่น ซึ่งคนในลานก็จะค้านว่าในสมัยนั้นยังไม่มี ผมก็บอกคนที่ค้านว่างั้นไปหาหลักฐานมาซิว่าไม่จริง พอหาหลักฐานมาได้แล้วแก้ไม่ตก ผมก็จะบอกว่าเป็นกรณียกเว้น

อ้างคำพูด:
ช่วงนี้คงหาเวลาว่างได้ยากหน่อย เพราะยังต้องไปเรียนบาลีไวยกรณ์เพิ่มอีก

ยังไงก่อนไป post เรื่องๆ อื่นๆ กรุณาตอบคำถามผมด้วยว่าท่านเอามาจากไหน

อ้างคำพูด:
1. พระที่พระพุทธเจ้าบวชให้จำเป็นต้องเป็นโสดาบันก่อนใช่หรือไม่ใช่
2. ยกเว้นเพราะเป็นพระญาติเอามาจากไหน อ้างอิงด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การบวช

หลังจากตรัสรู้ พระองค์จะแสดง อนุปุพพิกถา (รวมถึงพระอรหันต์อีก ๖๐ รูปที่กระจายกันไปประกาศศาสนา) คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม. เมื่อพระองค์ ทรงทราบว่า ผู้ฟังมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ทำให้ผู้ฟังมีดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็น ผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา. จึงจะให้บวช ถ้าไม่บวช ก็จะประกาศตัวเป็นอุบาสกอุบาสิกา


ญาตัตถจริยา หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติหน้าที่สงเคราะห์ญาติในฐานะที่เป็นญาติ กล่าวคือทรงสงเคราะห์พระบิดา พระมารดา ตลอดถึงพระประยูรญาติ พระบรมวงศานุวงศ์ให้ได้เข้าถึงพระรัตนตรัย เข้าถึงธรรม จึงถึงให้ได้บวชในพระศาสนาและบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นต้นว่าเสด็จไปโปรดพระบิดาและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์หลังจากตรัสรู้ได้ไม่นาน เสด็จไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสด็จไปห้ามพระญาติสองฝ่ายมิได้รบพุ่งกันเพราะเหตุแย่งน้ำทำนา ประทานอุปสมบทให้แก่พระนันนทะ พระนางรูปนันทา ซึ่งเป็นพระอนุชา และพระภคินีต่างพระมารดา ทรงแนะนำสั่งสอนจนได้เป็นพระอรหันต์ทั้งสององค์ ให้พระญาติที่เป็นเดียรถีย์เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือนก่อนเหมือนเดียรถีย์อื่น

ที่อธิบายเรื่องคุณสมบัติหรือองค์ธรรมที่มาประชุมกันในบุคคล ไม่รู้ท่านอ่านแล้วเข้าใจบ้างหรือเปล่า?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 09 ก.ย. 2009, 18:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไม่มีระบุในพระไตรปิฎกว่าต้องมีสมาธิก่อนแล้วจึงจะดับทุกข์ได้

พระ พุทธองค์ใช้สมาธิในการหาทางดับทุกข์ บอกให้พวกเราว่าต้องใช้ปัญญาดับทุกข์ แล้วเราจะไปทำสมาธิให้เสียเวลาทำไมละครับ ก็รู้ทางแล้ว พระพุทธองค์ประกาศแล้วให้ทราบทั่วกัน



จุฬาภินันท์ไม่ได้บอกว่าทำสมาธิแล้วจะดับทุกข์ได้ แต่...ทำสมาธิ แล้วจะรู้วิธีที่จะนำไปสู่การพ้นทุกข์ค่ะ


อ้างคำพูด:
ปัญญารู้แจ้ง (วิปัสสนาปัญญา) ไม่ได้มาจากสมาธิ ได้มาจากการวิปัสสนา ปัญญาจากสมาธิเรียกว่าปัญญายิ่ง อย่างระลึกชาติได้ รู้กำเนิดของสัตว์ เป็นต้น การได้ปัญญารู้แจ้ง ไม่ต้องอาศัยฌาน
ถือศีล แล้วไปทำสมาธิขั้นสูง แล้วจะได้ปัญญามาดับทุกข์ ไม่มีในพระไตรปิฎก


วิปัสสนาปัญญา ได้มาจากการทำสมาธิค่ะ แต่อย่ายึดแค่ว่าการทำสมาธิคือการนั่งสมาธิ สมาธิทำได้หลายแบบ พระพุทธองค์สอนไว้ตั้ง 40 แบบ เลือกเอาที่เหมาะกับเราค่ะ

สมาธิคือ มีใจจดจ่อกับสิ่งที่กระทำ ณ ขณะที่ทำ แค่นั้นเองค่ะ ไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่รู้ว่าทำอะไรอยู่ เช่น มองมือ ก็ดูว่ามีห้านิ้ว นิ้วโป้งใหญ่สุด นิ้วกลางยาวสุด ฯลฯ อะไรแบบนี้ เป็นต้น

การจะได้ปัญญารู้แจ้ง ยังไงก็ต้องถือศีลและทำสมาธิค่ะ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นไปตามลำดับค่ะ เมื่อเกิดปัญญา เมื่อนั้นก็เรียกได้ว่าได้ฌาน คือความเข้าใจอย่างถ่องแท้ค่ะ ไม่ใช่แค่รู้เฉยๆ

พระไตรปิฎกมีรายละเอียดเยอะมาก ลึกซึ้งมากด้วย ตีความไม่ถูกแน่ถ้าไม่มีปัญญาจากการทำสมาธิ เชื่อเถอะค่ะ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางนำไปสู่การหลุดพ้นจากทุกข์จริงๆ





อ้างคำพูด:
ในพระไตรปิฎกบอกว่า
ให้ ทำทาน รักษาศีล ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา จะได้ปัญญาดับทุกข์ มีศีลเกิดในใจ มีสมาธิเกิดเองตามธรรมชาติ มีปัญญายิ่ง เมื่อเจริญให้ยิ่งขึ้นไป ก็จะถึงนิพพาน

ปฐมเทศนา หรือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พูดถึง ๓ เรื่อง;
๑) ส่วนที่สุดสองอย่าง ที่พระพุทธศาสนาปฏิเสธ อันได้แก่ "กามสุขัลลิกานุโยค" (หวังสบายเกิน ไม่ทำอะไร มัวอ้อนวอนพระเจ้า พึ่งหวังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หวังเสวยสุขโดยส่วนเดียว) และ "อัตตกิลมถานุโยค" คือการปฏิบัติตนเพื่อพ้นทุกข์โดยลำบากเกินไปโดยปล่าวประโยชน์
๒) มัชฌิมาปฏิปา คือปฏิปทาทางสายกลางที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ ได้แก่ มรรคมีองค์แปด
๓) อริยสัจสี่


วิปัสสนาภาวนา ก็เป็นการทำสมาธิอย่างนึงค่ะ ทำทาน ถือศีล ก็ทำให้ใจเบิกบาน เปิดรับธรรมได้ง่ายขึ้น แล้วปัญญาจะได้มาได้เร็วไงคะ ปัญญาธรรมคือที่สุดของที่สุดค่ะ มีปัญญาธรรม ก็รู้วิธีไปนิพพาน มรรคมีองค์แปดนั่นแหละค่ะ ทางที่จะไปสู่นิพพาน แต่จะตีความแตก ต้องได้ปัญญาก่อน มีปัญญาก็จะเข้าใจทุกอย่างที่เป็นสัจธรรมค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทำสมาธิ แล้วจะรู้วิธีที่จะนำไปสู่การพ้นทุกข์ค่ะ

ถ้าจะนั่งสมาธิแล้วรู้ทางพ้นทุกข์ อ่านตรงนี้ก่อนครับ :b6:
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=32&A=0&Z=146

อ้างคำพูด:
วิปัสสนาปัญญา ได้มาจากการทำสมาธิค่ะ

อ่านเอาในสูตรนี้ ตรงช่วงท้ายๆ สูตร :b5:
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 083&Z=4299

อ้างคำพูด:
เมื่อนั้นก็เรียกได้ว่าได้ฌาน คือความเข้าใจอย่างถ่องแท้ค่ะ

ฌาน แปลว่าความตั้งมั่น ความสงบ ความที่จิตจดจ่ออยู่กับอารมณ์เดียว พอสงบแล้วมันดับทุกอย่าง ดับปัญญาที่จะนำมาดับทุกข์ด้วย :b7:

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎกมีรายละเอียดเยอะมาก ลึกซึ้งมากด้วย

เป็นข้ออ้างของพวกขี้เกียจเรียนกับพวกที่ไม่เคยอ่านเท่านั้น ลองไปอ่านดูก่อน แล้วค่อยมาว่ากัน

คุณ chulapinan มีศัทราอย่างเดียวนี่ ถ้าเริ่มผิดก็หลงไปเลยนะครับ พระพุทธองค์บอกให้ ปริยัติ (เรียน) ก่อนปฏิบัติ อย่างน้อยก็จับหลักธรรมให้ได้ก่อน ลองอ่านเรื่องที่พวกผมสรุปไว้แล้วใน link นี่นะครับ;
viewtopic.php?f=7&t=25301

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 13:08
โพสต์: 9

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การค้นหาคำตอบคงต้อง "ลงมือปฎิบัติด้วยตัวเอง" นั่นแหละคือคำตอบ
มี"ธรรมะทวนกระแสหลัก"ที่เกิดจากการปฎิบัติจริงของพระรูปหนึ่งจนท่านประกาศตัดภพตัดชาติ คำประกาศของท่าน คือ.. "ใช้ปัญญาตรัสรู้ไม่ได้.." "พลังฌานตัดภพตัดชาติ.." "การรู้ไม่ใช่การตรัสรู้.."
พบกับคำตอบที่ทวนกระแสอีกมากมายได้ที่....

http://www.sawoklokudorn.com


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


:b5: หนักเข้าำำไำปอีก :b23:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 01:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นธรรมดา..คนหลงมักไม่รู้ว่าตัวหลง

(ถ้ารู้..จะเรียกว่า..หลง..หรอ..)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 13:08
โพสต์: 9

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"...ฌาน แปลว่าความตั้งมั่น ความสงบ ความที่จิตจดจ่ออยู่กับอารมณ์เดียว พอสงบแล้วมันดับทุกอย่าง ดับปัญญาที่จะนำมาดับทุกข์ด้วย..." น่าคิดมาก

คำถามว่าอยู่"จุดดับ" ดับอย่างไร ใช้อะไรดับอะไร???

ตอนนี้มีสองสาย สายรู้ปัญญา(ญาณ)(วิปัสสนา)...หรือ...สายแรงสมาธิ(ฌาน)(พลังฌานมโนมยิทธิ)
+++หรือถามอีกอย่างว่าอะไรเป็น"บาทฐาน"ของอะไร...ฌานเป็นบาทฐานของวิปัสสนา?? หรือวิปัสสนาเป็นบาทฐานของฌาน??? อย่างพึงเชื่อจนกว่าจะปฎิบัติเอง...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พากันเดินออกห่างธรรมวินัยไปเรื่อยๆ มีไครบอกให้ทำอะไรก็ทำ นุ่งขาวห่มขาว ไปอยู่สำนักปฏิบัติธรรม เดินทางไปบางทีเป็นร้อยๆ กิโล ก็ไป ให้สร้างอะไรก็สร้าง ให้นั่งให้บริกรรม เป็นชั่วโมงๆ ก็ไม่ย่อท้อ ให้ไปจ้องศพยังเอา แต่พอบอกให้หันมาศึกษาพระธรรมวินัยตรงๆ จากพระไตรปิฎก ไงถอยกันกราวรูด เป็นงง :b6:

สติปัฏฐาน ๔ นอกจากปัญญา ศีล ของโสดาบันที่จะนำมาเป็นฐานในการปฏิบัติแล้ว ยังมีบุคคลอีกจำพวกหนึ่ง เรียกว่าสมมุตติสงฆ์ ว่ากันโดยคุณสมบัติ ก็คือ พวกขี้เบื่อ มีชีวิตอยู่ทางโลกอย่างสุขสบายอยู่ดีๆ ก็เกิดเบื่อขึ้นมาซะงั้น ทิ้งทุกอย่างมาอยู่ป่า (สถานที่ที่ไม่ใช่บ้าน) อยู่กับดินกินกับทราย บุคคลเหล่านี้ทิ้งกามระคะเบื้องต้นได้แล้ว ที่เรียกว่าเนกขัมมะ เมื่อกิเลสอย่างหยาบหมดไป ก็เหลือการกำจัดกิเลสอย่างละเอียด ถึงจะยังไม่ได้มรรคผล ก็เจริญสติปัฏฐานได้ เป็นวิปัสสนามีสมถะอยู่เบื้องต้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗
แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่าสติปัฏฐาน ๔
แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓
แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์
แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ
แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า ศรัทธา
แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม
แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบหาสัปบุรุษ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ


ภิกษุ หรือสมณะ ว่ากันด้วยคุณสมบัติ ไม่ใช่ว่าทึกทักเอา ไม่บวชก็ไม่ว่า แต่ต้องมีสมณะธรรม เช่น ละกามเบื้องต้น ละอกุศลธรรมเบื้องต้น ละนิวรณ์ มีศีล มีอินทรีย์สำรวม สำรวมในปาติโมกข์ ศึกษาพระธรรม(สิกขา ๓) ฯ ไม่งั้นก็เป็นภิกษุแค่ชื่อ

พระพุทธองค์ก็ตรัสแล้วว่า การปฏิบัติธรรมเพื่อให้หลุดพ้นนั้นไม่ง่าย จะเอาหลุดพ้นเพียงส่วนเดียว หากยังต้องอยู่ครองเรือนนั้นยากเป็นสังขัด คนธรรมดาไม่มีสมณะธรรมบริบูรณ์ จะปฏิบัติธรรมต้องให้สมควรแก่ธรรม สมควรแก่บุคล

“ธรรมอันใดเกิดแต่เหตุ พระพุทธองค์ปกติตรัสอย่างนี้” ก็เพียงพอให้ท่านสารีบุตรและท่านโมคัลลานะมีดวงตาเห็นธรรมได้ ผลตรงกับเหตุเสมอ สาธุชนถ้าอยากได้ผลที่ถูกก็ต้องสร้างเหตุที่ถูกเท่านั้น

“พระปฏิมาจะร่ำไห้ ชลเนตรรินไหลเป็นเลือดข้น
เกะกะโบสถ์วิหารจน หลวงชีจะขนลงทิ้งน้ำ”


สมาธิส่วนสมาธิ วิปัสสนาส่วนวิปัสสนา ไม่เกี่ยวกัน ต่อยอดกันไม่ได้ เหมือนต้นมะม่วงกับต้นมะละกอ

สมาธิและวิปัสสนา ถึงจะเกิดพร้อมกันแต่ก็ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน ไม่หักล้างกัน และก็ไม่ส่งเสริมกัน พระอริยะสาวกผู้ปราดเปรื่องที่สุดในด้านปัญญาและการจำแนกธรรม คือ พระสารีบุตร ท่านกล่าวไว้อย่างนี้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 10 ก.ย. 2009, 14:06, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 13:08
โพสต์: 9

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"..พากันเดินออกห่างธรรมวินัยไปเรื่อยๆ มีไครบอกให้ทำอะไรก็ทำ นุ่งขาวห่มขาว ไปอยู่สำนักปฏิบัติธรรม เดินทางไปบางทีเป็นร้อยๆ กิโล ก็ไป ให้สร้างอะไรก็สร้าง ให้นั่งให้บริกรรม เป็นชั่วโมงๆ ก็ไม่ย่อท้อ ให้ไปจ้องศพยังเอา แต่พอบอกให้หันมาศึกษาพระธรรมวินัยตรงๆ จากพระไตรปิฎก ไงถอยกันกราวรูด .."

++ไม่รู้เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า พระพุทธองค์ทรงตร้สว่า "ธรรมย่อมรักษา ผู้ปฎิบัติธรรม"
พระพุทธองค์ไม่เคยตรัสว่า "ธรรมย่อมรักษา ผู้รู้ธรรม"
++และถ้ามีใครซักลุกขึ้นมาบอกว่า "พระไตรปิฎก มีการบันทึกผิดเพี้ยน..."คุณจะว่าอย่างไร???


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2009, 22:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
พากันเดินออกห่างธรรมวินัยไปเรื่อยๆ มีไครบอกให้ทำอะไรก็ทำ นุ่งขาวห่มขาว ไปอยู่สำนักปฏิบัติธรรม เดินทางไปบางทีเป็นร้อยๆ กิโล ก็ไป ให้สร้างอะไรก็สร้าง ให้นั่งให้บริกรรม เป็นชั่วโมงๆ ก็ไม่ย่อท้อ ให้ไปจ้องศพยังเอา แต่พอบอกให้หันมาศึกษาพระธรรมวินัยตรงๆ จากพระไตรปิฎก ไงถอยกันกราวรูด เป็นงง :b6:



ปริยัติ..ปฏิบัติ..ปฏิเวช..

ถ้าเข้าใจ..คำ ๆ นี้

คุณ Supareak Mulpong จะไม่พูดอย่างนี้

:b32: :b32: :b32: :b6: :b6: :b6: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"พระไตรปิฎก มีการบันทึกผิดเพี้ยน..."

ความพยายามที่จะกลืนพุทธนั้นมีอยู่ ความลังเลสงสัยในพะรไตรปิฎกนั้นมีอยู่

พระไตรปิฎกถ่ายทอดมาจากอรหันต์ 500 รูป แต่ละครั้งที่มีการสังฆายนา ก็ทำกันเปิดเผย รู้กันทั่ว โดยพระเถระผู้ปราสจากการคิดผิดทำผิด และได้มีการแจกจ่ายกระจายกันไปทั่วสารทิศ ถ้าจะแก้ก็ต้องตามไปแก้ทุกฉบับทั่วโลก พวกที่แก้กันเอง จะไม่ได้รับการยอมรับ ต้องแยกตัวออกไป ตั้งเป็นนิกาย ตั้งเป็นสำนัก บางพวกไม่เหลือเค้าของพุธวิถีอยู่เลย บางนิกายกำหนดให้พระมีเมียได้ เป็นต้น

หากคิดว่าฉบับปัจจุบันมีอะไรผิด ก็เอาฉบับเก่าแก่ที่สุดมาเทียบได้ ฉบับพม่า ฉบับลาว ฉบับลังกา ฉบับล้านนา ฉบับที่เขียนด้วยอักษรเทวนาครี ฉบับที่เขียนด้วยตัวมคธ ฯ

ถ้ายังสงสัยในพระไตรปิฎก ก็คือยังสงสัยในความเป็นพระอรหันต์

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 13:08
โพสต์: 9

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


1. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
2. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
3. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
4. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
5. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
6. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
7. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
8. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
9. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
10. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนนี้พระองค์สอนพวก ลามะ ที่ปฏิบัติต่อๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น ประเภทหลับหูหลับตาเชื่อ ไม่ได้รู้จักคิดใตร่ตรอง ไม่รู้จักใช้ปัญญา ไม่ได้หมายความว่าจะยกมาใช้ได้กับทุกๆ สังคม ยิ่งสมัยนี้เป็นยุควัตถุนิยมรุ่งเรือง คนฉลาดทางโลกมีมาก ไม่ได้เชื่ออะไรง่ายๆ ขนาดบอกว่าตายแล้วไม่สูญยังไม่เชื่อกัน หากหลับหูหลับตามทำถ้าคนนำทางหาหลงจะว่ากระไร (บอกทำนองว่าพระไตรปิฎกน่าจะมีปัญญาแลัวก็ยกพระสูตรมาซะงั้น :b6:)

อย่างไรก็น่าสนใจ ท่านว่ากะไรเรื่องที่ว่าพระไตรปิฎกน่าจะบันทึกมาผิดพลาด พอจะแจงรายละอียดที่มาที่ไปได้ใหม ตรงใหนอย่างไร คิดอย่างไรว่าพระไตรปิฎกแก้ไขกันได้ง่ายๆ จะได้เอามาถกกัน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สมาธิส่วนสมาธิ วิปัสสนาส่วนวิปัสสนา ไม่เกี่ยวกัน ต่อยอดกันไม่ได้ เหมือนต้นมะม่วงกับต้นมะละกอ

สมาธิและวิปัสสนา ถึงจะเกิดพร้อมกันแต่ก็ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน ไม่หักล้างกัน และก็ไม่ส่งเสริมกัน พระอริยะสาวกผู้ปราดเปรื่องที่สุดในด้านปัญญาและการจำแนกธรรม คือ พระสารีบุตร ท่านกล่าวไว้อย่างนี้



ช่วยยกธรรมที่ พระสารีบุตร ท่านกล่าวไว้..มาอ้างอิงด้วย...
เพื่อสรุปให้ตรงกับประโยคที่คุณยกมา...

สมาธิส่วนสมาธิ วิปัสสนาส่วนวิปัสสนา ไม่เกี่ยวกัน ต่อยอดกันไม่ได้ เหมือนต้นมะม่วงกับต้นมะละกอ

สมาธิและวิปัสสนา ถึงจะเกิดพร้อมกันแต่ก็ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน ไม่หักล้างกัน และก็ไม่ส่งเสริมกัน


ผมเองฟังธรรมของหลวงตามหาบัว..กล่าวสนับสนุน..
ศีลส่งเสริม สมาธิสนับสนุนปัญญา...

แต่ที่ท่าน..กล่าวมา..เกรงจะเป็นการคิดโดยความคิดตามตรรกของตน...ทำให้ผู้สนใจใฝ่ธรรมเข้าใจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงของธรรมอันถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 147 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร