วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 21:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงว่าไม่ได้อ่านหรืออ่านไม่ละเอียด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นจขทกสนใจเรื่อง สติปัฏฐาน
แนะนำคุณ sunflower ศึกษาในมหาสติปัฏฐานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 257&Z=6764

เรื่องสติปัฏฐานเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ ดังนี้

" ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน (ทางนี้) คือ สติปัฏฐาน 4 "

" ภิกษุ ท.! สติปัฏฐาน ๔ อย่าง อันบุคคลใดใครก็ตาม ปรารภผิดแล้ว, อริยอัฏฐังคิกมรรคอันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภผิดด้วย. ภิกษุ ท.! สติปัฏฐาน ๔ อย่าง อันบุคคลใดใครก็ตาม ปรารภถูกต้องแล้ว, อริยอัฏฐังคิกมรรคอันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภถูกต้องแล้วด้วย "

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด และชนเหล่าใดพึงสำคัญถ้อยคำที่ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม เธอทั้งหลายพึงชักชวน ชักนำ ให้ตั้งอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 14 ต.ค. 2011, 19:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านคะ แต่ งงช่วงแรกๆ s006 ช่วงหลังๆเลยอ่านผ่านๆอ่ะคะ s002


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="FLAME"]

" ภิกษุ ท.! สติปัฏฐาน ๔ อย่าง อันบุคคลใดใครก็ตาม ปรารภผิดแล้ว, อริยอัฏฐังคิกมรรคอันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภถูกต้องแล้วด้วย. ภิกษุ ท.! สติปัฏฐาน ๔ อย่าง อันบุคคลใดใครก็ตาม ปรารภถูกต้องแล้ว, อริยอัฏฐังคิกมรรคอันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภถูกต้องแล้วด้วย "


ู ^


งงอ่ะคะ s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วยอธิบายให้ละเอียดด้วยครับ งง ตรงไหน ส่วนไหน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


หากทำสติปัฏฐานถูก ก็ทำอริยมรรคมีองค์แปดถูกไปด้วย
หากทำสติปัฏฐานผิด ก็ทำอริยมรรคมีองค์แปดผิดไปด้วย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 14 ต.ค. 2011, 19:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:

" ภิกษุ ท.! สติปัฏฐาน ๔ อย่าง อันบุคคลใดใครก็ตาม ปรารภผิดแล้ว, อริยอัฏฐังคิกมรรคอันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภถูกต้องแล้วด้วย. ภิกษุ ท.! สติปัฏฐาน ๔ อย่าง อันบุคคลใดใครก็ตาม ปรารภถูกต้องแล้ว, อริยอัฏฐังคิกมรรคอันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภถูกต้องแล้วด้วย "



สงสัยอันนี้ผิด ผมไม่ได้ตรวจสอบดูให้ดีก่อนจึงเอามาลงขออภัยด้วยครับ

ที่ถูกต้องเป็น

" ภิกษุ ท.! สติปัฏฐาน ๔ อย่าง อันบุคคลใดใครก็ตาม ปรารภผิดแล้ว, อริยอัฏฐังคิกมรรคอันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภผิดด้วย. ภิกษุ ท.! สติปัฏฐาน ๔ อย่าง อันบุคคลใดใครก็ตาม ปรารภถูกต้องแล้ว, อริยอัฏฐังคิกมรรคอันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภถูกต้องแล้วด้วย "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่ะคะ แล้วสติปัฏฐาน4ผิดคืออะไรหรอคะ s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


หากปรารภ สติปัฏฐานถูก ก็เป็นสัมมาปฏิบัติ เป็นสัมมาสติ
หากปรารภ สติปัฏฐานผิด ก็เป็นมิจฉาปฏิบัติ เป็นมิจฉาสติ

สติปัฏฐานสี่ นั้นเป็นกองแห่งกุศล หากปรารภถูก กุศลย่อมเจริญขึ้น อกุศลย่อมเสื่อมไป

อกุศลธรรมต่างๆ มีนิวรณ์ ๕ เป็นต้นครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


งั้นจขกท.ก็ปราภรผิดสินะคะแงๆ cry ก็ไหนคุณกามโภคีกับคุณกรัชกายบอกว่าแทบจะทุกคนมีนิวรณ์ในเรื่องฟุ้งซ่าน กับหลับ งั้นแสดงว่าแทบจะทุกคนที่มีนิวรณ์ก็ปราภรผิดหรอคะ cry cry


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 23:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนหนึ่งจากมหาสติปัฏฐานสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่
อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ

..........

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
กามฉันทนิวรณ์ ๑
พยาปาทนิวรณ์ ๑
ถีนมิทธนิวรณ์ ๑
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑
วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละนิวรณ์ ๕
ประการนี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึง
เจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละนิวรณ์ ๕ ประการนี้แล ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 773&Z=9908


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 23:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนเรื่องที่คุณกามโภคีกับคุณกรัชกายกล่าวว่าอย่างไรผมทราบครับ
ถ้าอย่างไรคุณ sunflower ก็ถามท่านทั้งสองเอาเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2011, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sunflower เขียน:
งั้นจขกท.ก็ปรารภผิดสินะคะแงๆ
ก็ไหนคุณกามโภคีกับคุณกรัชกายบอกว่า แทบจะทุกคนมีนิวรณ์ในเรื่องฟุ้งซ่าน กับหลับ งั้นแสดงว่าแทบจะทุกคนที่มีนิวรณ์ก็ปรารภผิดหรอคะ



งั้นจขกท.ก็ปรารภผิดสินะคะแงๆ

จขกท. ร้องไห้อีกแล้วนิ :b2:

น้ำตาหรือจะแก้ปัญหาใจ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2011, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะกางแผนที่ ให้ดู 2 แผ่นๆ ที่คุณ FLAME นำมาจากพระสูตร ไม่ผิดหรอกตามแบบดังนี้


ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
กามฉันทนิวรณ์ ๑
พยาปาทนิวรณ์ ๑
ถีนมิทธนิวรณ์ ๑
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑
วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้แล ฯ


แต่ถ้ามีคำถามต่ออีกว่า แต่ละข้อๆ ได้แก่ อะไร จงอธิบาย ?

กรัชกายจะตอบว่าดังนี้


1. กามฉันท์ ความอยากได้อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม) หรืออภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ หมายถึงความอยากได้กามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ คิดอยากได้โน่น อยากได้นี่ติดใจโน่นติดใจนี่ คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป ไม่อาจเป็นสมาธิได้

2. พยาบาท ความขัดเคืองแค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจแค้นเคือง เกลียดชังความผูกใจเจ็บการมองในแง่ร้าย การคิดร้ายมองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิดฉุนเฉียวความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่างๆ จิตที่มัวกระทบนั่นกระทบนี่ สะดุดนั่นสะดุดนี่เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ

3. ถีนมิทธะ (ถีน+มิทธะ) ความหดหู่และเซื่องซึมหรือเซ็งและซึม แยกเป็นถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอยละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิตใจกับ มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงาหาวนอน โงกง่วง อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทางกาย จิตที่ถูกอาการทางกาย และ ทางใจอย่างนี้ครอบงำย่อมไม่เข็มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้

4. อุทธัจจกุกกุจจะ (อุทธัจจะ + กุกกุจจะ) ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจแยกเป็น อุทธัจจะ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่าย พร่าพล่านไปกับ กุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจจิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะ ครอบงำ ย่อมพล่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบลงได้จึงไม่เป็นสมาธิ

5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ สงสัยเกี่ยวกับพระศาสดาพระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขา เป็นต้น
พูดสั้นๆว่า คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย ตัดสินไม่ได้ เช่นว่า ธรรมนี้ สมาธิภาวนานี้ดีจริงหรือการปฏิบัติเช่นนี้ๆ ได้ผลจริงหรือ มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลหรือไม่ คิดแยกไปสองทาง กำหนดไม่ลง จิตที่ถูกวิจิกิจฉา ขัดไว้ให้ค้างให้พร่า ลังเลอยู่ย่อมไม่อาจแน่วแน่เป็นสมาธิ


พร้อมตัวอย่างนิวรณ์บางตัวเช่นนี้นี้


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2011, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ชัดขึ้นอีกก็วางแบบเทียบอีกขั้นหนึ่ง

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

-ปริยัติ ขั้นเรียนรู้ หรือขั้นเตรียมการ (ขั้นนี้ก็ดังตัวอย่างที่ลงไว้นั่น)

-ปฏิบัติ ขั้นลงมือทำลงมือปฏิบัติ หรือ ขั้นปฏิบัติการ

-ปฏิเวธ ขั้นสุดท้ายผลงานสำเร็จ เพราะการปฏิบัติการดังนั้น


จะยกตัวอย่างสิ่งที่เป็นรูปธรรมเทียบเคียงเพื่อให้เห็นชัดขึ้น

ง่ายๆ สมมุติว่า เราจะทำบันไดไม้ขึ้นบ้านซักอันหนึ่ง

-ขั้นแรก ขั้นเตรียมการ เราต้องหาอุปกรณ์มีไม้ มีตะปู มีฆ้อน เป็นต้นมา

-เมื่อได้อุปกรณ์สำหรับทำ มีไม้เป็นต้นแล้ว ก็ถึงขั้นลงมือทำลงมือปฏิบัติการ

-ขั้นสุดท้ายงานนั้นก็สำเร็จ ได้บันไดหนึ่งอัน

แต่ก็ไม่แน่เสมอไป ภาคปฏิบัติการนี่ไม่แน่ เพราะขึ้นกับปัจจัยอื่นอีก เช่นเรารู้วิธีทำไหมตอกตะปูเป็นมั้ย ตอกไม่เป็นตะปูกระเด็นกระดอนโดนหูโดนตาบอด งานก็ไม่สำเร็จ เข้าโรงพยาบาลรักษาตาอีก ฉันใด

การปฏิบัติธรรมขั้นที่สอง (ปฏิบัติ) ก็ฉันนั้น
เราได้แผ่นที่ขั้นที่หนึ่ง (ปริยัติ) มาแล้ว ก็มีคำถามต่อไปอีกว่า ภาคปฏิบัติคุณปฏิบัติหรือทำยังไง รู้เข้าใจสิ่งที่ทำหรือไม่ ถ้ารู้ก็ก้าวๆไปขั้นที่สาม (ปฏิเวธ) ได้
ถ้าไม่รู้ทำๆไปปฏิบัติๆไป ได้ยินเขาว่าดี อยากดีอยากได้ก็ทำตามเขา อย่างนี้ล่ะก็เป็นเรื่อง

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=80.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร