วันเวลาปัจจุบัน 24 ก.ค. 2025, 09:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2011, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sunflower เขียน:
แล้วมิจฉาสติคืออะไรคะ- - ตกลงมันคือนิวรณ์อ่ะเปล่า งง



แล้วมิจฉาสติคืออะไรคะ

มิจฉาสติ การระลึกผิด, การนึกไม่ถูกต้อง ฯลฯ เอาง่ายๆ จะว่า นึกคิดในแง่ลบก็ได้ ตัวอย่าง เช่น นั่งคิดนึกว่า เมื่อวันนั้น เดือนนั้น ปีโน้น ฯลฯ เราขับรถเหยียบหมาตาย นึกแล้วก็ไม่สบายใจ คิดซ้ำๆอยู่นั่น นึกได้ว่า ได้เคยทะเลาะกับพ่อแม่ไว้ นึกแล้วก็ไม่สบายใจคิดวนๆซ้ำอยู่ ฯลฯ

มิจฉาสติตรงข้ามกับสัมมาสติ

สัมมาสติ ระลึกชอบ คิดนึกในแง่บวก คิดถึงสิ่งที่ทำให้จิตใจโล่งเบาสบาย เช่นว่า เมื่อวันนั้น เดือนนั้น ปีก่อนโน้น เราได้ไปช่วยแจกอาหารเครืองนุ่งห่มยารักษาโรคแก่ผู้ประสบอุทกภัย เคยไปปิดทองพระมา อย่างนี้เป็นต้น นึกถึงนึกได้แล้วสบายโล่งโปร่ง

แต่ถ้าเป็นด้านปฏิบัติทางจิตแล้ว ไม่ว่าคิดดีไม่ดี ถูกใจ ไม่ถูกใจ ดีใจ เสียใจ ฯลฯ พึงกำหนดรู้ตามเป็นจริง หรือตามที่มันเป็น

อนึ่ง ความคิดแต่ละเรื่องๆ (ละดวงๆ) หรือนามธรรมทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ตัวอย่างสติก็มิใช่ทำงานคนเดียวตัวเดียว ยังสัมพันธ์กับนามขันธ์อื่นอีก เช่น สัญญา เป็นต้น

แล้วสัญญาก็มีทั้งกุศลสัญญา และอกุศลสัญญา

สัญญาบันทึกเก็บไว้ สติดึงออกมาใช้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2011, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตอนนี้เวลานั่งสมาธิไม่หลับแล้ว
แต่ก็มีปัญหาอีกอย่าง คือ จิตมันฟุ้งซ่านคะ
บางครั้งนั่งสมาธิ พยายามทำให้หายง่วงได้แล้ว
แต่พอหายง่วงไม่ทันไร จิตมันก็คิดนู้นนี่
บางครั้งพอดับความคิดฟุ้งซ่านได้ มันก็เริ่มง่วงนอน
พอพยายามทำให้ไม่ง่วง จิตมันก็ฟุ้งซ่าน

สุดท้ายกำหนดพองหนอ ยุบหนอได้แค่นิดเดียว
แต่ที่แย่ที่สุด คือ จิตมันไปคิดถึงเพลงต่างๆ
พอพยายามกำหนดคิดหนอๆไปเรื่อยๆ มันก็หาย
แต่หายไป 2 วิ เพลงมันก็ขึ้นเข้ามาในจิตอีก
เลยกำหนดคิดหนอใหม่แล้วมันก็หยุด
พอหยุด ก็จะไปกำหนดพองหนอ ยุบหนอต่อ
เพลงมันก็แวบเข้ามาในสมองเลย
เลยเริ่มรู้สึกรำคาญ และเริ่มรู้สึกหงุดหงิด ทำยังไงถึงจะดับนิวรณ์ต่างๆได้



ฝากภาคปฏิบัติอีกหน่อย

เราได้ยิน ได้ฟัง หรือพูดเองบ่อยๆว่า มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือเกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ

ธรรมะหรือธรรมชาติแสดงตัวมันเองอยู่ตลอดเวลา(ที่อ้างอิงมา) นั่นก็คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือที่

พูดกันว่า จิตเกิดดับๆๆๆ ดวงนี้ดับไป ดวงใหม่เกิดขึ้น เกิดแล้วก็ดับไปๆๆๆ

สมดังพุทธวจนะว่า “ภิกษุทั้งหลาย การที่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้จะเข้าไปยึดถือร่างกายว่าเป็นตัวตน ยังดีกว่าจะยึดถือจิตว่าเป็นตัวตน เพราะว่า ร่างกายยังปรากฏให้เห็นว่าดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง 2 ปีบ้าง 3-4-5 ปีบ้าง 10-20-30-40-50 ปีบ้าง 100 ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง
แต่สิ่งที่เรียกว่าจิต มโน หรือวิญญาณ (นามขันธ์ทั้งหมด) นี้ เกิดดับอยู่เรื่อย ทั้งคืนทั้งวัน”

ที่จขกท. เห็นนั่นแหละธรรมชาติของมัน ดังนั้นคุณปฏิบัติถูกต้องแล้ว พึงกำหนดรู้ต่อไป อะไรเกิดกำหนดรู้ตามที่เห็นตามที่เป็น

อนุโมทนาในความหมั่นเพียรครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2011, 11:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสติเป็นไฉน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

สัมมาสติ ก็คือ สติปัฏฐาน ๔

สัมมาสติกำจัดเสียได้ซึ่งมิจฉาสติ
ในบรรดาองค์มรรคทั้ง ๗ นั้นสัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน

............

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น ประธาน สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร

คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ จึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึง พอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

..............

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็น อเนกบรรดามี
เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ

ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้...
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้...
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้...
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้...
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้...
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้...
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้...
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้...

ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ทั้งอกุศลธรรมลามก เป็นอเนกบรรดามี
เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติ สลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย

...........

บุคคลผู้มีความเห็นผิด ย่อมมีความดำริผิด
ผู้มีความดำริผิดย่อมมีวาจาผิด
ผู้มีวาจาผิด ย่อมมีการงานผิด
ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด
ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด ย่อมมีความพยายามผิด
ผู้มีความพยายามผิด ย่อมมีความระลึกผิด
ผู้มีความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งใจผิด
ผู้มีความตั้งใจผิด ย่อมมีความรู้ผิด
ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด
..........


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2011, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ปัญหาเก่ากลับมากวนอีกแล้วคะ cry คือตอนนั่งสมาธิพองหนอ - ยุบหนอไม่กี่ทีแทบจะหลับอีกแล้วอ่ะคะ cry พอมันเริ่มง่วงจิตมันก็คิดแหลก(ไม่รู้ว่าเริ่มฝันอ่ะเปล่าเพราะมีภาพประกอบด้วย cry ) ตอนแรกก็สับสนว่าจะกำหนดง่วงหนอก่อนหรือจะกำหนดคิดหนอ (บางครั้งกำหนดรู้หนอกับเห็นหนอ)ก่อนดี แต่พอกำหนดว่าง่วงหนอ คิดหนอ หรือรู้หนอแล้วรู้สึกสติเริ่มจะไปแล้วมันจะหลับแล้ว cry (เหมือนเริ่มมึนๆหนักๆหัว และจะหลับ) คือกำหนดรู้หนอไปไม่กี่ทีมันก็หาไปกับความคิด cry แล้วพอรู้ตัวก็ดึงสติกลับมากำหนดรู้หนอๆใหม่มันก็เหมือนเดิม

จขกท.เลยลองหยุดกำหนดทุกอย่างอ่ะคะถึงจะหายง่วงและก็หายหยุดคิด- - พองหนอ กับยุบหนอก็ไม่กำหนด (ไม่กำหนดอะไรเลย) และความง่วงกับความคิดฟุ้งซ่านก็หยุดหมด มีอย่างเดียวที่ไม่หยุดคือเพลงในหัวอ่ะคะ!!!cry ตอนแรกเดินจงกรมอยู่ดีๆเพลงมันขึ้นเลยและก็ไม่หายตั้งแต่ต้นจนจบ cry พอกำหนดคิดหนอๆไปตอนแรกมันหยุดนะคะ แต่พอรู้ว่าเพลงหยุดแล้วเพลงมันก็ขึ้นใหม่(แต่จิตสามาถเปลี่ยนเพลงได้ซะงั้น ทีหยุดๆไม่ได้แต่กลับเปลี่ยนเพลงได้- - แถมลองคิดเปลี่ยนเนื้อร้องในทำนองเพลงยังได้ด้วย) พอหยุดคิดทุกอย่างได้แล้วก็หายง่วงเลยอ่ะคะ(ยกเว้นเพลงในหัว- -) เลยเอาจิตไปพิจารณาเพลงก็ได้รู้ว่าจขกท.จำเนื้อร้องได้แค่5พยางค์สักงั้น สรุปจำได้แต่ทำนอง เนื้อร้องในหัวก็ ตือๆๆๆๆ(เนื้อร้องนิดหน่อย)และก็ตือๆๆต่อจนจบ1ท่อน(และก็เริ่มทำนองซ้ำๆไม่หยุดอีกTT^TT) cry เป็นแบบนี้แล้วก็ไม่สนใจมันแล้วลองกำหนดพองยุบใหม่ แล้วก็เริ่มง่วงและคิดฟุ้งซ่านอีก(ทั้งๆที่เพลงยังติดในหัว) cry แต่พอเวทนาเกิดไปกำหนดแต่เวทนาอ่ะคะเพลงในหัวก็หายไปแต่พอรู้ตัวว่าเพลงหายไปแล้ว มันก็กลับมา เลยไม่สนใจเพลงในหัวและก็กำหนดแต่ปวดหนอๆๆๆ ไปเรื่อยๆ เพลงมันก็หยุดอ่ะคะแต่เมื่อไรที่รู้สึกตัวว่าเพลงมันหยุดแล้วเพลงมันก็จะขึ้นมาใหม่ cry


ใครมีวิธีแก้ช่วยแนะนำหน่อยคะ cry ตอนนี้แก้แบบมั่วแหลกเลย ไม่รู้ว่าถูกอ่ะเปล่า cry cry


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2011, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ให้เห็นเป็นเพียงปรากฎการณ์อย่างหนึ่ง ๆ
มาแล้วก็ไป ทุกข์เกิดเพราะเราอยากให้มันเป็น หรืออยากให้ไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
แต่เพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาครับ มันมีเหตุอย่างไร ผลมันก็เป็นเช่นนั้น
รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง วางเฉยอยู่ได้จากความพอใจ ไม่พอใจ

ถ้าง่วงมากก็ไปนอน ถ้าปวดมากจนทนไม่ไหวก็ลุกขึ้นมาเดินจงกลม
ถ้าฟุ้งซ่านมากก็ปล่อยมัน ถ้าเพลงเกิดขึ้นมาในหัวก็เป็นสัญญาที่จำเสียงได้
เป็นเพียงเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน

ธรรมชาติจะเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้นตามที่ธรรมชาติเป็น
เรามาเรียนรู้ธรรมชาติเพื่อยอมรับธรรมชาติให้ได้
ตระหนักรู้ถึงความเป็นจริงว่ามันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2011, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาคือ ตอนแรกตั้งใจไว้แล้วอ่ะคะว่าจะเดินจงกรมกับนั่งสมาธิประมาณ1ชั่วโมงอ่ะคะ จึงไม่สามารถไปนอน ได้ s002 หรือถ้านั่งหลับกลัวจะหงายหลังล้มไป หรือหน้าทิ่มพื้นอ่ะคะ s002


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2011, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


sunflower เขียน:
ปัญหาคือ ตอนแรกตั้งใจไว้แล้วอ่ะคะว่าจะเดินจงกรมกับนั่งสมาธิประมาณ1ชั่วโมงอ่ะคะ จึงไม่สามารถไปนอน ได้ s002 หรือถ้านั่งหลับกลัวจะหงายหลังล้มไป หรือหน้าทิ่มพื้นอ่ะคะ s002


แหม ขนาดนั้นเชียว อดทนไว้ครับ
วางใจเป็นกลาง ไม่ชอบ ไม่ชัง เป็นอย่างไรรู้อย่างงั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2011, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มันก็มีปัญหาอีกว่ากำหนดรู้ไม่ค่อยจะได้เพราะพอกำหนดแล้วมันจะหลับ cry


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2011, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าร่างกายมันไม่ไหวมันก็ต้องหลับครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2011, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เล่นกะใครไม่เล่นมาเล่นกะกิเลส นี่ขนาดลูกน้องมันนะ ลูกพี่จะขนาดไหน :b1:

จขกท. จำได้ไหมก่อนหน้าว่า นอนแล้วลุกขึ้นมาฝึกจิตอีก เหมือนไม่ง่วงแล้ว แล้วทำไมถึงง่วงจะหลับอีกล่ะ?

ภาคปฏิบัติเอาไว้ก่อน มันไม่ง่ายหรอก กิเลสก็มีกำลังของมันเหมือนกันแต่เป็นพลังฝ่ายร้าย กุศลก็มีพลัง พลังฝ่ายดี พลังทั้งสองนี้สู้กันอยู่ตลอดเวลา
ขณะใดพลังฝ่ายร้ายแรงกว่า พลังฝ่ายดีก็พ่าย ดังนั้นเราจะต้องฝึกสร้างพลังฝ่ายดีให้มีกำลังมากกว่าพลังฝ่ายร้าย บลาๆ :b32:


เอาแผนที่หรือตำราให้อ่านอีกที :b1:

สิ่งที่ไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูของสมาธิ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียจึงจะเกิดสมาธิ
หรือจะพูดว่า เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียด้วยสมาธิก็ได้ สิ่งเหล่านี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่า นิวรณ์

นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง

แปลเอาความตามหลักวิชาว่า สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิต สิ่งที่ขัดขวางความดีงามของจิต สิ่งที่ทอนกำลังปัญญา

หรือแสดงความหมายให้เป็นวิชาการยิ่งขึ้นว่า สิ่งที่กั้นจิต ไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรือ อกุศลธรรม ที่ทำจิตให้เศร้าหมอง และ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2011, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


sunflower เขียน:
มันก็มีปัญหาอีกว่ากำหนดรู้ไม่ค่อยจะได้เพราะพอกำหนดแล้วมันจะหลับ cry


ไม่กำหนดรู้ประกอบกับบริกรรมก็หลับได้ครับ
ถ้าแก้ด้วยการไม่กำหนดรู้ประกอบบริกรรม เราจะมั่นใจได้ขนาดไหนว่าจะไม่เผลอไปตามอารมณ์อื่นที่เข้า
มาแทรก

สมาธิเปรียบด้วยเสา สติเปรียบด้วยเชือกมัก สองหลักนี้ผูกจิตที่ดิ้นรนอยู่

ทางแก้ เพิ่มวิริยะ

หมายถึงเพิ่มความจดจ่อกับสภาวะที่จะหลับให้มาก จดจ่อกำหนดรู้ลงไปแบบปักจิต เริ่มตั้งแต่มีอาการเลย
ไม่นานคงได้เห็นกระบวนการของการหลับ ค่อยๆสู้ไปด้วยวิริยะ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2011, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดียามเช้าครับ คุณ sunflower

วันนี้นำ โมคคัลลานสูตร มาให้อ่าน ขอให้อ่านอย่างตั้งใจนะครับ

โมคคัลลานสูตร

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลา มิคทายวันใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ ก็สมัยนั้นแล ท่านมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ครั้นแล้วทรงหายจากเภสกลามิคทายวันใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ เสด็จไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกรโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ ดูกรโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้วด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้วได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงทำในใจถึงอาโลกสัญญา ตั้งความสำคัญในกลางวันว่า กลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายในอันจะลุกขึ้น พอตื่นแล้วพึงรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ

ดูกรโมคคัลลานะเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ


ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้อีกว่า เราจักไม่ชูงวง [ถือตัว] เข้าไปสู่ตระกูล ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แลถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปสู่ตระกูล และในตระกูลมีกรณียกิจหลายอย่าง ซึ่งจะเป็นเหตุให้มนุษย์ไม่ใส่ใจถึงภิกษุผู้มาแล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ใครหนอยุยงให้เราแตกในสกุลนี้ เดี๋ยวนี้ดูมนุษย์พวกนี้ มีอาการอิดหนาระอาใจในเรา เพราะไม่ได้อะไร เธอจึงเป็นผู้เก้อเขิน เมื่อเก้อเขิน ย่อมคิดฟุ้งซ่าน เมื่อคิดฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตย่อมห่างจากสมาธิ ฯ เพราะฉะนั้นแหละ โมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่พูดถ้อยคำซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล เมื่อมีถ้อยคำซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน ก็จำต้องหวังการพูดมาก เมื่อมีการพูดมาก ย่อมคิดฟุ้งซ่าน เมื่อคิดฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตย่อมห่างจากสมาธิ ฯ

ดูกรโมคคัลลานะ อนึ่ง เราหาสรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงไม่ แต่มิใช่ว่าจะไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงก็หามิได้ คือ เราไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยหมู่ชนทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ก็แต่ว่า เสนาสนะอันใดเงียบเสียง ไม่อื้ออึง ปราศจากการสัญจรของหมู่ชน ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการความสงัด ควรเป็นที่หลีกออกเร้น เราสรรเสริญความคลุกคลีด้วยเสนาสนะเห็นปานนั้น ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงไรหนอภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

พ. ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น
ครั้นได้สดับดังนั้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง
ครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้น
พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืน
เมื่อเธอพิจารณาเห็นอย่างนั้นๆ อยู่ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก
เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตัวทีเดียว
ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี


ดูกรโมคคัลลานะ โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน เป็นผู้เกษมจากโยคะล่วงส่วนเป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

จบสูตรที่ ๘

บางคนชอบกล่าวว่า ปริยัติเหมือนแผ่นที่ ซึ่งอาจจะถูกของเค้านะครับ
แต่ผมคิดว่าพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง
ไม่ใช่ง่ายเลยที่จะมีโอกาสได้ฟังพระธรรม มีบุญเหลือเกินที่เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วมีโอกาสได้ฟังพระธรรม
ดังนั้น ขอให้อ่านแล้วทำความเข้าใจ อ่านอย่างตั้งใจ ไม่ใช่อ่านผ่านๆ คำทุกคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงล้วนเป็นคำจริง และมีประโยชน์ทั้งสิ้น ดังนั้นถ้ายังอ่านคร่าวๆ อยู่ก็ขอให้กลับไปอ่านใหม่ แล้วไตร่ตรองพิจารณาใครครวญ ทำความเข้าใจให้ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2011, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านตำราหรือแผนที่ทั้งหมดแล้ว ยังนำมาสรุปรวมเข้ากับมนุษย์หรือกับคนไม่ได้ ก็อยู่แค่ในกระดาษ เพราะตำรานั้นเขาบันทึกคำพูดที่พระพุทธเจ้าสอนคนไว้ ดังนั้นผู้ศึกษาจะต้องนำคำสอนทั้งหมดเข้ามารวมที่คน หรือกายใจนี้ให้ได้

ศึกษาสองลิงค์นี้

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=1031.0


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 03#msg9003

แล้วจะรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนคนให้ปฏิบัติ ตามแผนที่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2011, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นเป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้วครับคุณกรัชกาย ไม่มีใครปฏิเสธหรอกครับ

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็สอนให้เป็นผู้สั่งสมสุตะมากเช่นกัน

บางคนในสมัยนี้ขาดการเคารพพระธรรม
บางคนถึงขนาดบอกว่าไม่มีวิธีปฏิบัติในพระไตรปิฎกหรอก อ่านเพื่อประเทืองปัญญาเท่านั้น
หรือบางคนก็บอกว่าไม่อยากฟังจากตำรา ไม่เอาตำรา ฟังมามากแล้ว รู้หมดแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีสี่อสงไขยแสนมหากัป กว่าจะได้ตรัสรู้ ทรงบำเพ็ญบารมีด้วยความยากลำบาก แล้วจึงประกาศธรรมเพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก การเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก ได้พบพระพุทธเจ้าก็แสนยาก การได้ฟังพระธรรมนั้นยิ่งยาก มีโอกาสแล้วก็ควรที่จะตั้งใจฟัง


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 18 ต.ค. 2011, 16:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2011, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะในครัวเรือน ระหว่างภรรยากับสามี

สามี บำรุงภรรยา ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหลัง โดย

1) ยกย่องให้เกียรติสมฐานะภรรยา
2) ไม่ดูหมิ่น
3) ไม่นอกใจ
4) มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน
5) หาเครื่องแต่งตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส

ข. ภรรยา ย่อมอนุเคราะห์สามี ดังนี้

1) จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
2) สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
3) ไม่นอกใจ
4) รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
5) ขยันช่างจัดช่างทำเอางานทุกอย่าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร