วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 20:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อิ..อิ..อิ.. :b32: :b32: :b32:

ใครอยากไปนรก..เชิญต่อแถวได้ครับ..

คนต่อไป..จะได้เป็นคนที่ 3 นะครับ..อย่าแย่งกัน

:b17: :b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 04:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับทุก ๆ ท่าน

(๓๓๑)หน้าที่ของจิต กิจ หรือ วิญญาณกิจ ๑๔ ในโลกียะบุคคล

(กิจของวิญญาณ, หน้าที่ของจิต — functions of consciousness; psychic functions)



๑. ทำหน้าที่ในการเกิด เรียกว่า ปฏิสนธิ คือเกิดร่วมเกิดพร้อมกับขันธ์ ๕ ในภพภูมิใหม่ (หน้าที่สืบต่อภพใหม่ ได้แก่จิต ๑๙ คือ อุเบกขาสันติรณะ ๒ มหาวิบาก ๘ รูปวิบาก ๕ อรูปวิบาก ๔ — re-linking; rebirth-linking)


๒.ทำหน้าที่ในการสืบต่ออุปนิสัย เรียกว่า ภวังค ทำอะไรตามที่ชอบตามที่คุ้นเคย และการนอนหลับ(หน้าที่เป็นองค์ของภพ ได้แก่จิต ๑๙ อย่างเดียวกับปฏิสนธิ — life-continuum; factor for being)

๓.ทำหน้าที่ในการรับการสัมผัสนามรูปในปัจจุบันขณะ เรียกว่า อาวัชชนะ (หน้าที่คำนึงอารมณ์ใหม่ ได้แก่ จิต ๒ คือ ปัญจทวาราวัชชนะ และมโนทวาราวัชชนะ — apprehending; adverting)

๔.ทำหน้าที่ในการเห็นพร้อมกับดวงตา เรียกว่า ทัสสนะ (หน้าที่เห็นรูป ได้แก่ จักขุวิญญาณ ๒ — seeing)

๕.ทำหน้าที่ในการได้ยินพร้อมกับหู เรียกว่า สวนะ (หน้าที่ได้ยินเสียง ได้แก่ โสตวิญญาณ ๒ — hearing)

๖.ทำหน้าที่ในการดมกลิ่นพร้อมกับจมูก เรียกว่า ฆายนะ (หน้าที่รู้กลิ่น ได้แก่ ฆานวิญญาณ ๒ — smelling)

๗.ทำหน้าที่ในการลิ้มรสพร้อมกับลิ้น เรียกว่า สายนะ (หน้าที่ลิ้มรส ได้แก่ ชิวหาวิญญาณ ๒ — tasting)

๘.ทำหน้าที่ในการสัมผัสพร้อมกับร่างกาย เรียกว่า ผุสนะ (หน้าที่ถูกต้องโผฏฐัพพะ ได้แก่ กายวิญญาณ ๒ — contacting; touching)

๙.ทำหน้าที่ในการคิดนึกพร้อมกับจิตใจ เรียกว่า สัมปฏิจฉนะ (หน้าที่รับอารมณ์ ได้แก่ สัมปฏิจฉนะ ๒ — receiving)

๑๐.ทำหน้าที่ในการพินิจพิจารณานามรูป ที่ได้สัมผัสจากอายตนะทั้ง 6 เรียกว่า สันตีรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เข่นเมื่อวานทำอะไรมาบ้าง พรุ่งนี้จะทำอะไรบ้าง ปัจจุบันกำลังประสบกับเรื่องราวใด (หน้าที่พิจารณาอารมณ์ ได้แก่ สันตีรณะ ๓ — investigating)

๑๑. ทำหน้าที่ในการตัดสินใจเชื่อถือหรือไม่เชื่อถือนามรูปนั้นว่าจริงหรือเท็จ พร้อมกับการทำความเข้าใจเพื่อรู้แจ้งนามรูปนั้นตามภูมปัญญาของจิต เรียกว่า โวฏฐัพพนะ หรือ โวฏฐปนะ (หน้าที่ตัดสินอารมณ์ ได้แก่ มโนทวาราวัชชนะ ๑ — determining)

๑๒..ทำหน้าที่ในการพินิจพิจารณาการกระทำที่ได้สัมผัสจากอายตนะทั้ง 6 ว่าจะตอบสนองต่อนามรูปนั้นอย่างไร เรียกว่า ชวนะ คือจะตัดสินใจจะทำดี หรือทำชั่ว หรือเสพความสุขความทุกข์ดี (หน้าที่แล่นเสพอารมณ์ อันเป็นช่วงที่ทำกรรม ได้แก่ จิต ๕๕ คือ กุศลจิต ๒๑ อกุศลจิต ๑๒ กิริยาจิต๑๘ คือเว้นอาวัชชนะทั้งสอง โลกุตตรผลจิต ๔ — apperception; impulsion)

๑๓...ทำหน้าที่ในการรับรู้อารมณ์ก่อนจิตที่ทำหน้าที่เป็นภวังค์ เรียกว่า ตทาลัมพนะ (หน้าที่อารมณ์ต่อจากชวนะก่อนตกภวังค์ ได้แก่ จิต ๑๑ คือ มหาวิบาก ๘ สันตีรณะ ๓ — retention; registration)

๑๔. ..ทำหน้าที่ในการตาย เรียกว่า จุติ (หน้าที่เคลื่อนจากภพปัจจุบัน ได้แก่ จิต ๑๙ อย่างเดียวกับในปฏิสนธิ — decease; death; shifting)

จัดโดยฐานที่จิตทำกิจ ๑๔ นี้ มี ๑๐ คือ รวมข้อ ๔-๕-๖-๗-๘ เป็นข้อเดียว คือ ปัญจวิญญาณฐาน (fivefold sense-impressions) นอกนั้นคงชื่อเดิม

กิจ ๑๔ นี้ ในวิสุทธิมรรคเรียกว่า วิญญาณปวัตติ หรือ วิญญาณปวัตติอาการ (อาการที่วิญญาณเป็นไป — modes of occurrence of consciousness)

ดู (๓๔๒) จิต ๘๙.

Vism.457; Comp 114. วิสุทฺธิ.๓/๒๙; สงฺคห. ๑๕



ในพระอริยะบุคคลนั้น อริยะผลจิต 4 ทำหน้าที่เป็นภวังค์ คือปิดประตูอบายตราบจนดับขันธ์ปรินิพพานครับ


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 08:29, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อิ..อิ..อิ.. :b32: :b32: :b32:

ใครอยากไปนรก..เชิญต่อแถวได้ครับ..

คนต่อไป..จะได้เป็นคนที่ 3 นะครับ..อย่าแย่งกัน

:b17: :b17: :b17: :b17:


:b4: :b4:

พึ่งรู้นะครับว่า กบ เป็นตัวที่ 2 เชิญท่านตามสบายน๊ะครับ

:b28: :b19:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


งานเข้าครับท่านทั้งหลาย เกิดมาก็ไม่เคยไปเข้าคอร์สเรียนอภิธรรมครับ เลยต้องขออธิบายจาำำกสภาวะที่เกิดจากการปฏิบัติ

เช่นนั้น เขียน:
ช่วงว่างระหว่างที่จิตกำลังบริกรรมภาวนาอยู่
แล้วปล่อยวางคำภาวนามีอาการตกวูบลงไป
วูบเป็นความว่างของจิต

ช่วงที่วูบนี้ไปถึงระยะจิตนิ่ง
ช่วงนี้เรียกว่า “จิตตกภวังค์”

จากประสบการณ์ตรงของคุณอายะ

เรามีกายเบาจิตเบา กายสงบ จิตสงบ -> อันนี้ก็เกิด ---- เกิดช่วงว่างระหว่างจิตหรือครับ
ช่วงว่างระหว่างที่จิตกำลังบริกรรมภาวนาอยู่แล้วปล่อยวางคำภาวนามีอาการตกวูบลงไปวูบเป็นความว่างของจิต -> อันนี้ก็เกิดช่วงว่างระหว่างจิตหรือครับ

เมื่อจิตตกภวังค์นิ่งวูบลงไปนิ่งพั้บถ้าไม่หลับสมาธิเกิด -> อันนี้ก็เกิดช่วงว่างระหว่างจิตหรือครับ

พอนิ่งพั้บจิตเกิดสว่างแสดงว่าจิตเข้าสู่สมาธิ -> อันนี้ก็เกิดช่วงว่างระหว่างจิตหรือครับ

ถ้านิ่งพั้บมืดมิดไม่รู้เรื่องจิตนอนหลับ -> อันนี้ก็เกิดช่วงว่างระหว่างจิตหรือครับ

ช่วงว่างระหว่างจิตของท่าน คืออะไรครับ เป็นขันธ์ไหนครับ ถึงไปอยู่ในระหว่างจิตท่านได้ครับ

ภว้งค์ของท่านคือช่วงว่างระหว่างที่จิตปราศจากสติ หรือครับ อย่างนั้นท่านจะบริกรรมภาวนาปฏิบัติธรรมไปเพื่ออะไรครับ ทำแล้วเกิดอกุศลจิตล่ะครับ


----> อาการต่างๆ ที่เกิดนั้นเกิดกับผมนั้นอ้างจากความรู้สึกขณะปฏิบัติ กำหนดไปเรื่อยๆ แล้วเกิดอาการดังกล่าว แต่สติผมยังไม่ถึงขนาดจะรู้ได้ว่าเกิดจากจิตดวงไหน กุศล อกุศล หรือจากช่องว่างของจิต เพราะขณะที่กำหนด ก็กำหนดตามฐานทั้งสี่ไปเรื่อยไม่ได้คิดจะไปอยากรู้อะไร



อ้างคำพูด:
ไม่เคยหรอกครับอาการที่ท่านกล่าวมาทั้งหมด จิตเช่นนั้นไม่เคยตกภวังค์หรอกครับ ภวังคจิตเช่นนั้นทำหน้าที่ปรกติทุกอย่างครับ
ถ้าจริงอย่างที่ท่านว่าผมก็ No comment ครับ


อ้างคำพูด:
ไม่จำเป็นต้องไปไหนหรอกครับ ที่นี่แหละครับ ดีที่สุด ท่านแน่จริงก็ต้องอธิบายได้ และอิงอรรถอิงธรรมตามพระไตรปิฏกด้วยนะครับท่าน ไม่เอาวิปัสสนึกน๊ะครับ

ผมไม่แน่จริงคับทุกวันยังต้องปฏิบัติอยู่ เวลาทุกข์ สุข หรือไม่สุข ไม่ทุกข์ เกิดขึ้นช่วงขาดสติ ก็ค่อยๆ กำหนดตามไป

อ้างคำพูด:

อีกประการหนึ่ง สิ่งที่ท่านอุตส่าหะไปคลิกแล้วมาแปะให้ดูเกี่ยวกับภวังคจิต ด้วยภูมิรู้ของท่านอย่างมากก็อธิบายสิครับว่า เกี่ยวข้องอะไรกับช่วงว่างระหว่างจิต และจิตตกภวังค์ และเกี่ยวด้วยเนื้อหาอะไรที่ท่านพุธ อธิบายเกี่ยวกับสมาธิ ครับ ยกมาต้องอธิบายไ้ด้นะครับ
ไม่อย่างนั้นยกมาลอยๆ ทำไมครับ


ที่ยกมาเพราะท่านบอกว่าไม่มีในพระอภิธรรม จะไม่อธิบายครับแค่จะอ้างอิงลอยๆ เท่านั้น
แต่ถ้าท่านอ่านแล้วไม่เข้าใจท่าน พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ก็ขยายความไว้อย่างแจ่มแล้ว
ผมนั้นมีภูมิธรรมน้อย แต่มีเจตนาไม่อยากให้ใครที่คะนองปัญญา ไปว่ากล่าวพระอริยะเจ้า เพราะมันเป็นกรรมหนัก ผมไม่ได้ตั้งกระทู้เพื่อเจตนาเอามันแบบท่าน เวรกรรมของใครของมันครับ


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 19:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
แต่มีเจตนาไม่อยากให้ใครที่คะนองปัญญา ไปว่ากล่าวพระอริยะเจ้า เพราะมันเป็นกรรมหนัก ผมไม่ได้ตั้งกระทู้เพื่อเจตนาเอามันแบบท่าน เวรกรรมของใครของมันครับ


โพสต์ กะทู้ถามใด ๆ ควรอ่านให้ดีก่อนน๊ะครับ ว่า ผู้โพสต์เขียนอะไร ถามว่าอะไร
หากไม่มีปัญญาอ่านให้เข้าใจคำถาม ก็ไม่ควร ยื่น อะไรออกมา

ถามเกี่ยวกับ ช่วงว่างระหว่างจิตเป็นขันธ์ไหน ช่วงว่างนั่นแหละไม่มีหรอก ท่านไปงัดภวังคจิตออกมา
มีปัญญาอ่านเข้าใจ คำถามหรือเปล่า คุณอายะ

ถ้าท่านกล่าวว่า เช่นนั้น คะนองปัญญา ท่านก็คะนองมือนั่นล่ะสิ ถึงเอามันแบบไม่รู้หัวรู้หาง แส่ออกมา


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 22:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 23:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
อิ..อิ..อิ.. :b32: :b32: :b32:

ใครอยากไปนรก..เชิญต่อแถวได้ครับ..

คนต่อไป..จะได้เป็นคนที่ 3 นะครับ..อย่าแย่งกัน

:b17: :b17: :b17: :b17:


:b4: :b4:

พึ่งรู้นะครับว่า กบ เป็นตัวที่ 2 เชิญท่านตามสบายน๊ะครับ

:b28: :b19:


ผมมันประเภท..รู้น้อย..ตกนรกยาก..

บางคนนี้ซี..รู้มาก..ตกนรกง่าย..

:b19: :b19: :b19: :b19: :b41: :b45: :b42: :b43: :b47: :b46: :b54: :b53: :b55: :b49: :b53: :b51:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 20:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 02:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4147

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมสวัสดีค่ะ คุณเช่นนั้น และทุกท่าน :b8:

กุหลาบสีชาขออธิบายและเรียบเรียงในฐานะที่
ตนเองก็ยังเป็นผู้ต้องศึกษาและปฏิบัติอีกมาก
ตามสติปัญญาที่มีอยู่ดังนี้ค่ะ

การทำงานของจิตมี ลักษณะ คือ

๑. ภวังค์หรือภวังคจิต

เป็นภาวะจิตหยุดจากการรับรู้อารมณ์
กล่าวคือภาวะที่จิตหยุดการเสวยอารมณ์(เวทนา)จากภายนอก
อันเนื่องมาจากทวารทั้ง ๖

(แต่จิตก็ยังพอมีสติที่แค่เพียงรับรู้แค่จิตภายในตน
ดังเช่น รับรู้ในสัญญาความจำที่อาจผุดขึ้นมาได้เองโดยขาดเจตนาโดยตรง
หรืออาจแทรกจรเข้ามาด้วยตั้งใจมั่นไว้)


ดังนั้น จิตเป็นภวังค์
จึงได้แก่จิตที่มิได้ขึ้นวิถีรับอารมณ์ต่าง ๆ
จากทางทวารหรือประตูทั้ง ๖ จากทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจเลย

แต่จิตก็ทำงานอยู่ตลอดเวลา คือ เกิด-ดับ
และมีอารมณ์ติดมาตั้งแต่ปฏิสนธิ

ภวังคจิตจึงเป็นจิตที่ทำหน้าที่รักษารูปนาม
ในภพปัจจุบันไว้มิให้แตกทำลายไป จนกว่าจะสิ้นอายุจากภพนี้
แม้ในขณะหลับสนิท (ไม่มีการฝัน) หรือสลบไป
ก็จะมีภวังคจิต เกิดดับสืบเนื่องกันตลอดเวลา
และอารมณ์ของภวังคจิต นั้น
เป็นอารมณ์ที่สืบเนื่องมาจากเหตุปัจจัยในอดีตภพ

๒. วิถีจิต

คือภาวะจิต ที่จิตมีการรับรู้อารมณ์ภายนอกอันเกิดแต่ทวารทั้ง ๖
หรือในการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปนั่นเอง เรียกกันว่า " วิถีจิต "
อันเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของปุถุชนในชีวิต

สภาวะทั้ง ๒ นี้ จึงเกิดขึ้นในลักษณะที่เกิดดับสลับกันนั่นเอง
กล่าวคือเมื่อไม่อยู่ในวิถีจิตเมื่อใด ก็เกิดภวังคจิตขึ้น
เมื่อวิถีจิตเกิด ภวังคจิตก็ดับไป

การแยกการงานของจิตออกเป็น ๒ ชนิด เช่นนี้
เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า

ในขณะที่รับอารมณ์ตามทวารทั้ง ๖ นั้น จิตก็ทำงาน
และจิตที่เป็นภวังค์มิได้ขึ้นวิธีรับอารมณ์ จิตก็ทำงานเหมือนกัน


การขึ้นวิถีรับอารมณ์ของจิตนั้น
จิตจะรับอารมณ์หรือเกิดอารมณ์ขึ้นได้
ก็จะต้องอาศัย มีผัสสะ คือการตกกระทบ
แล้วถ้าไม่มีผัสสะจิตก็ไม่สามารถรับอารมณ์ได้

เช่น เสียงมิได้กระทบหู แล้วก็จะไม่ได้ยิน
รูปมิได้กระทบตาแล้วก็จะไม่เห็น
และอารมณ์หรือเรื่องที่จะเป็นตัวยืนให้คิด
ไม่กระทบกับจิตแล้วก็จะคิดนึกไม่ได้เลย

อย่างไรก็ตาม ภวังคจิต คำว่าภวังค์หรือจิตตกภวังค์นี้
มักมีพูดกันอยู่เสมอโดยทั่วไป
แต่ความเข้าใจของคนเป็นส่วนมากนั้นมักเข้าใจว่า
ภวังค์หมายถึงจิตมีความสงบ คือนั่งอยู่เฉย ๆ หรือนั่งใจลอย
แต่ตามหลักของปรมัตถธรรมนั้นตรงกันข้าม

เพราะคำว่า “ภวังค์” หมายถึง องค์แห่งภพ
หมายถึงจิตตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงจุติคือตาย
ขณะใดที่จิตมิได้ยกขึ้นสู่อารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
แล้วขณะนั้นจิตก็เป็นภวังค์
ภวังคจิตที่เห็นได้ง่าย ๆ ก็คือ
คนกำลังหลับสนิท ขณะหลับสนิท จะไม่รู้สึกตัวเลย

และขณะใดจิตมีความรู้สึกขึ้นในอารมณ์จากทวารทั้ง ๖ แล้ว
ขณะนั้นจิตก็พ้นไปจากเป็นภวังค์


ความจริงขณะที่เราเห็นหรือได้ยินหรือคิดนั้น
จิตขึ้นวิถีรับอารมณ์แล้ว ก็มีภวังคจิตคั่น สลับอยู่ตลอดไป
ทั้งนี้เป็นไปโดยรวดเร็วมาก ดังนั้นเราจึงไม่รู้สึก

การทำงานของจิตนั้นจะเกิดดับสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย

ในพระสูตรตอนหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้มีใจความว่า
ยากที่จะนำสิ่งอื่น ๆ ทั้งหลายในโลก
มาเปรียบเทียบกับความเกิดดับอันรวดเร็วของจิต
เพราะจิตเกิดดับ ๆ รวดเร็วกว่าสิ่งใด ๆ ในโลก
เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตจะเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ
หรือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ดวง (หนึ่งล้านล้านดวง)

ภาวะที่จิตเกิดดับสืบต่อกันเป็นกระแสนี้ท่านเรียกว่า “สันตติ”
ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับกระแสน้ำ
ที่ประกอบไปด้วยอณูของน้ำเล็กๆ เรียงติดต่อกันเป็นสาย


ดังนั้น จากการหลวงพ่อพุธ ท่านกล่าวว่า

"ภวังค์คือช่วงว่างของจิตที่ปราศจากสติ"

นั้นน่าจะหมายถึง

“ช่วงเวลาระหว่างการเกิดดับของวิถีจิตที่ถูกคั่นหรือแทรกแซงด้วยภวังคจิต
ซึ่งเกิดดับสลับกันไปอย่างต่อเนื่องนั่นเอง”


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 02:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4147

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


อีกประเด็นนึง ที่กุหลาบสีชาขอกล่าวไว้ ณ ที่นี้
ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการสนทนาแลกเปลี่ยนธรรม
และศึกษาปฏิบัติธรรมของทุกท่าน คือ

เราท่านทุกคน โปรดพึงตระหนักกันให้ดีว่า
แม้ทุกวันนี้ก็ยังมีผู้ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติจริง
ปฏิบัติตามมรรค ๘ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนอยู่มาก

และเมื่อปฏิบัติ โอกาสบรรลุมรรคผลเป็นอริยบุคคลย่อมมี
จิตทุกดวงมีโอกาสที่จะเข้าถึงพระสัทธรรม
และบรรลุถึงวิวัฒนาการอันสูงสุดอันสูงสุดเท่าเทียมกันตามเหตุปัจจัย


ดังนั้นการไม่ประมาทใครเลย ไม่เพ่งโทษใครเลย
จึงถือเป็นความอุ่นใจ ปลอดภัยได้ประการหนึ่ง
ที่ลดโอกาสความเสี่ยงในความไม่รู้ ไม่ให้ตนเองต้องตกสู่อบาย
และการหมั่นขออโหสิกรรมต่อสหายธรรมบ่อยๆ นั้น
ก็นับเป็นอุบายแก้มานะมมังการที่ดี


อย่างไรก็ตาม การไม่เพ่งโทษ
ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรสะกิดเตือนผู้สมควรถูกสะกิด
หากทำด้วยใจจริง ทำด้วยความมีใจเป็นสัมมาทิฏฐิ
ก็พึงกระทำกันฉันสหายธรรมที่มีจิตที่คิดเกื้อกูลกัน
มีความปรารถนาดีเป็นที่ตั้ง และสนทนากันด้วยวจีสุจริต

อย่างไรก็ตาม ขออนุโมทนากับกุศลจิตของทุกท่านที่สนทนา
และแลกเปลี่ยนความรู้ในธรรมด้วยวจีสุจริตเพื่อความก้าวหน้าในธรรม


ขณะเดียวกันต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่ง
และขออโหสิกรรมทุกท่านที่เข้ามาแสดงความเห็น
และ/หรือเข้ามาอ่านกระทู้นี้
ที่เป็นเหตุปัจจัยให้หลายท่านต้องขุ่นเคืองใจกันและกัน
และกระทำการใดใดอันเป็นการก้าวล่วงและปรามาสต่อพระรัตนตรัย
ทั้งที่เจตนาหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วยค่ะ
:b8:

:b8: :b8: :b8:

เจริญในธรรมค่ะ :b8: :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 13:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ อนุโมทนาครับท่านกุหลาบสีชา :b8: :b8: :b8:

:b53: :b51: :b53: :b51: :b43: :b53: :b51: :b53: :b53: :

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อย่างไรก็ตาม ขออนุโมทนากับกุศลจิตของทุกท่านที่สนทนา
และแลกเปลี่ยนความรู้ในธรรมด้วยวจีทุจริตเพื่อความก้าวหน้าในธรรม


:b17: :b17: :b17:
กะลังจะกด อนุโมทนา
อ่านเสร็จ รอคุณกุหลาบ สีชามาแก้ก่อน ค่อยกด

:b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4147

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
อย่างไรก็ตาม ขออนุโมทนากับกุศลจิตของทุกท่านที่สนทนา
และแลกเปลี่ยนความรู้ในธรรมด้วยวจีทุจริตเพื่อความก้าวหน้าในธรรม


เช่นนั้น เขียน:
กะลังจะกด อนุโมทนา
อ่านเสร็จ รอคุณกุหลาบ สีชามาแก้ก่อน ค่อยกด


:b43: :b43: :b43:

ต้องขออภัยอย่างยิ่ง
และขอบพระคุณมากๆค่ะที่ทักท้วงมา
ได้แก้ไขคำที่เขียนผิดที่ทำให้ความหมายแปรเปลี่ยนไปเรียบร้อยแล้ว

จึงขออนุโมทนา คุณเช่นนั้น ก่อน
ที่ คุณเช่นนั้น กำลังจะอนุโมทนาด้วยเช่นกันค่ะ

:b8: :b4: :b1: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 13:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุหลาบสีชา เขียน:
การทำงานของจิตมี ๒ ลักษณะ คือ

ภวังค์หรือภวังคจิต

เป็นภาวะจิตหยุดจากการรับรู้อารมณ์
กล่าวคือภาวะที่จิตหยุดการเสวยอารมณ์(เวทนา)จากภายนอก
อันเนื่องมาจากทวารทั้ง ๖

(แต่จิตก็ยังพอมีสติที่แค่เพียงรับรู้แค่จิตภายในตน
ดังเช่น รับรู้ในสัญญาความจำที่อาจผุดขึ้นมาได้เองโดยขาดเจตนาโดยตรง
หรืออาจแทรกจรเข้ามาด้วยตั้งใจมั่นไว้)


ดังนั้น จิตเป็นภวังค์
จึงได้แก่จิตที่มิได้ขึ้นวิถีรับอารมณ์ต่าง ๆ
จากทางทวารหรือประตูทั้ง ๖ จากทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจเลย

แต่จิตก็ทำงานอยู่ตลอดเวลา คือ เกิด-ดับ
และมีอารมณ์ติดมาตั้งแต่ปฏิสนธิ

ภวังคจิตจึงเป็นจิตที่ทำหน้าที่รักษารูปนาม
ในภพปัจจุบันไว้มิให้แตกทำลายไป จนกว่าจะสิ้นอายุจากภพนี้
แม้ในขณะหลับสนิท (ไม่มีการฝัน) หรือสลบไป
ก็จะมีภวังคจิต เกิดดับสืบเนื่องกันตลอดเวลา
และอารมณ์ของภวังคจิต นั้น
เป็นอารมณ์ที่สืบเนื่องมาจากเหตุปัจจัยในอดีตภพ


เช่นนั้น ก็ไม่เข้าใจครับ ว่า มีจิตประเภทไหนที่ทำหน้าที่ ภวังค หรือภวังคจิตได้
คุณกุหลาบสีชา แสดงต่อครับ ว่า ภวังคจิตเป็นจิตประเภทไหน ที่ทำกิจเป็นภวังค์


:b45: :b46: :b47:
เจริญธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โพสต์ กะทู้ถามใด ๆ ควรอ่านให้ดีก่อนน๊ะครับ ว่า ผู้โพสต์เขียนอะไร ถามว่าอะไร
หากไม่มีปัญญาอ่านให้เข้าใจคำถาม ก็ไม่ควร ยื่น อะไรออกมา
ถามเกี่ยวกับ ช่วงว่างระหว่างจิตเป็นขันธ์ไหน ช่วงว่างนั่นแหละไม่มีหรอก ท่านไปงัดภวังคจิตออกมา
มีปัญญาอ่านเข้าใจ คำถามหรือเปล่า คุณอายะ


สิ่งที่ท่านเช่นนั้น คิดว่าผมเข้าใจคงเป็นกระบวนการเกิดดับของจิตคือ จิตดวงเก่าดับ แล้วเกิดช่องว่าง แล้วเกิดจิตดวงใหม่ ซึ่งผมไม่ได้เข้าใจอย่างนั้นนั้น แต่โดยแท้จริงแล้วผมเข้าใจว่า จิตดวงเก่าดับไปก็เป็นปัจจัยให้จิตดวงใหม่เกิดขึ้นทันทีไม่มี "ช่องว่าง"

คราวนี้มาเรื่องช่วงว่างระหว่างจิต ตามที่หลวงพ่อพุธ กล่าว ที่ท่านเช่นนั้นกับผมตีความไม่เหมือนกัน ผมจะตีความตามประสบการณ์โดยสังเกตุจากสติที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติคื่อเมื่อกำหนดไปจะมีช่วงหนึ่งที่รู้สึกว่าเคลิ้ม(สติน้อย)แล้วก็วูบไป(ตอนนี้ไม่รู้สึกตัว)ซึ่งตอนนี้น่าจะเรียกว่าภวังค์ แล้วก็เกิดอาการต่างๆ ตามที่หลวงพ่อพุธกล่าว ซึ่งมันก็เป็นสภาวะที่เคยเกิดกับผม ดังที่หลวงพ่อพุธท่านกล่าวว่า "เมื่อจิตตกภวังค์นิ่งวูบลงไปนิ่งพั้บ เกิดสว่างแสดงว่าจิตเข้าสู่สมาธิ หรือ ถ้านิ่งพั้บมืดมิดไม่รู้เรื่องจิตนอนหลับ " ซึ่งอันนี้เป็นสภาวะปกติที่ผู้ปฏิบัติจะต้องเจอ
ตามที่ผมคาดหลวงพ่อพุธท่านคงกล่าวเพื่อให้ผู้ปฏิบัติโดยรวมฟังแล้วเข้าใจ ก็เลยต้องใช้คำง่ายๆ คงมิได้มุ่งหมายกล่าวให้ผู้เชี่ยวชาญอภิธรรม เชี่ยวตีความจำผิดหรอกครับ

ผมตีความว่าช่วงที่จิตวูบลงไปตามสภาวะคือภวังค์ ดังนั้น"ช่องว่าง" ที่ผมตีความก็คือช่วงที่ "วูบ" ไปนั่นเอง ไม่ใช่ช่วงที่ จิตดวงเก่าดับไป แล้วเกิดช่องว่าง แล้วก็มีผลทำให้จิตดวงใหม่เกิด


เช่นนั้น เขียน:

ถึงเอามันแบบไม่รู้หัวรู้หาง แส่ออกมา



ผมต้องขออโหสิกรรมด้วยที่ทำให้อกุศลจิตเกิดในดวงจิตของ ท่านเช่นนั้น เนื่องมาจากตัวผม ผมนั้นขอรับรองไ้ด้ว่าไม่ได้คะนองมืออย่างที่ท่านกล่าว แต่เนื่องด้วยความปราถนาดีเพราะว่า การติติงพระอริยะเจ้ามีผลถึงห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ซึ่งแน่นอนย่อมส่งผลให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า โดยส่วนตัวผมแล้ว ถ้าเป็นคำกล่าวของพระอริยะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว มิควรรีบไปเพ่งโทษจับผิด ควรที่จะตีความหลายๆ แนวทางในทางกุศลไว้ก่อนเพื่อเป็นการป้องกันตัวเองมิให้ไปติติงอริยะสงฆ์ หรือถ้าเป็นกรณีที่พระท่านพูดผิดแต่ด้วยความเป็นอริยะสงฆ์แล้วท่านก็มิได้มีเจตนา หากไปกล่าวโทษท่านนั้นมันก็เข้าตัวอยู่ดีละครับ หรือจะเรียกว่ามีแต่เสียกับเท่าทุนเท่านั้น ขออโหสิกรรมนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เพราะคำว่า “ภวังค์” หมายถึง องค์แห่งภพ
หมายถึงจิตตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงจุติคือตาย
ขณะใดที่จิตมิได้ยกขึ้นสู่อารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
แล้วขณะนั้นจิตก็เป็นภวังค์
ภวังคจิตที่เห็นได้ง่าย ๆ ก็คือ
คนกำลังหลับสนิท ขณะหลับสนิท จะไม่รู้สึกตัวเลย

และขณะใดจิตมีความรู้สึกขึ้นในอารมณ์จากทวารทั้ง ๖ แล้ว
ขณะนั้นจิตก็พ้นไปจากเป็นภวังค์



สวัสดีครับท่านกุหลาบสีชา

ผมต้องการถามสักเล็กน้อยนะครับ ว่า
1.ท่านกุหลาบสีชาเชื่อเรื่องกรรมและวิบากกรรมไหมครับ ถ้าเชื่อกรรมและวิบากกรรมให้ผลอย่างไรครับ??
2.วิถีจิตของท่านกุหลาบสีชาเกี่ยวข้องกับภวังคจิตอย่างไร และช่วยแสดงวิถีจิตของภวังคจิตให้ผมดูหน่อยครับว่าเป็นอย่างไรครับ ??


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 20:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4147

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียน คุณเช่นนั้น คุณมหาราชันย์ คุณอายะ และทุกท่าน

ขออนุญาตนำคำถาม และคำตอบไปแสดง
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน
ในกระทู้นี้ต่อไปนะคะ :b8:

:b43: :b43: :b43:

อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม ฯ
viewtopic.php?f=2&t=25359


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร