วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
คุณ mes เขียน
กระทู้นี้ผมเพียงต้องการชี้ให้เห็นว่า

สิ่งที่เหลิมชอบก็บอกว่าถูก

สิ่งที่เหลิมไม่ชอบก็บอกว่าผิด

ท่านพุทธทาสไม่ชอบ พระอภิธรรม จึงกล่าวหาว่าแต่งเติมมาภายหลัง เป็นยาเสพติดแบบกัญชา ฯลฯ

ท่านพุทธทาสไม่ชอบ เรื่อง นรก สวรรค์ อิทธิปาฏิหาริย์ จึงเลี่ยงพระบาลี กล่าวตู่พระสงฆ์

ไม่ชอบนิกายเถรวาท จึงแสวงหานิกายอื่นมาเสริม ( ฮวงโป, เซน, เว่ยหลาง ฯลฯ)

คุณ mes ครับ ในเรื่อง ปาฏิหาริย์ ผมเชื่อว่ามีจริง แต่ วิชามโนมยิทธิ+ธรรมกาย ของอาจารย์รุ่นหลัง ๆ ที่มีวิธีปฏิบัติแบบแปลก ๆ ไม่ตรงกับพระไตรปิฏก อรรถกถา ผมยังไม่เชื่อครับ แม้ผู้ไปฝึกมาจะอ้างว่า เห็นจริง ๆ เห็นแดนพระนิพพานด้วย


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
chalermsak เขียน:
คุณหลับอยู่ครับ วิชามโนยยิทธิ ที่พวกคุณกำลังฝึก วิทยายุทธกันอย่างเข้มข้นนี้

บางคนอาจจะตัวสั่นงึก ๆ งั่ก ๆ

บางคนอาจจะนอนดิ้นไปมา บางคนก็จะลุกขึ้นมารำ ( องค์ลง )

บางคนก็จะเห็น นิมิตเป็นเมือง นรก สวรรค์ ( เคยไปฝึกมาแล้ว เหมือนถูกดูดตอนถูก คฑากายสิทธิ์ พยายามข่มจิตให้เกิดนิมิต แต่ก็ดีแล้ว ที่ไม่เกิด ไม่งั้น คงเป็นแบบคุณหลับอยู่ )

บางคนที่ฝึกมาถึงขั้นสุดยอดของ วรยุทธ ก็เข้าไปถึงดินแดนพระนิพพาน ติดต่อพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าได้

-----------------------------------------

ถ้าเป็นสายวิชา ธรรมกาย ก็จะยึดเอานิมิต ดวงแก้วใส ๆ ๆ ๆ ๆ

จบที่ นิมิตภาพพระพุทธรูป ใสที่สุด

คุณหลับอยู่ครับ วรยุทธ ทั้งหลายที่สำนักคุณค้นพบใหม่ ถ่ายทอดกันมา ด้วยเคล็ดวิชาอันซับซ้อน

เป็นคนละอย่างกับที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก อรรถกถา เลยนะครับ

ว่าผมแต่เป็น ฟายยย ลองแปลงร่างเป็นฟายย มาไล่ขวิดผมได้ไหมเนี่ย



การจะเชื่อหรือไม่เชื่อเป็นสิทธิส่วนบุคคล

ฉนั้นเหลิมไม่มีสิทธิละเมิดสิทธิของคนที่เชื่ออย่างที่กระทำ

การวิจาญตามข้อเท็จจริง ทำได้แต่ไม่ใช่เสียดสีถากถางดูหมี่นสถาบันครูบาอาจารย์ตามตัวอย่าง

แต่การโจมต่ใส่ร้ายป้ายสีไม่ควรเกิดขึ้นโดยใช้เวปเป็นเครื่องมื่อ

ที่เหลิมกระทำซ้าๆโดยไม่ฟังเสียงตักเตือน

aminกรุณาพิจารณาตรงจุดนี้ด้วย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
[ปริยัติ ๓ อย่าง]
จริงอยู่ ปริยัติ ๓ คือ อลคัททูปมาปริยัติ ๑ นิสสรณัตถปริยัติ ๑
ภัณฑาคาริยปริยัติ* ๑ ในปริยัติ ๓ อย่างนั้น ปริยัติใด อันบุคคลเรียนไม่ดี
คือเรียนเพราะเหตุมีการโต้แย้งเป็นต้น, ปริยัตินี้ ชื่อว่า ปริยัติเปรียบด้วยงูพิษ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่
พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือหรือที่แขน หรือที่
อวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปางตาย
ซึ่งมีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ
งูพิษเขาจับไม่ดี แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัย
นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ พวกเขาครั้นเรียน
# * วินยฏฺ€กถา หน้า ๒๔ เป็น ภัณฑาคาริกปริยัติ.
ธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่พิจารณาอรรถแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรม
เหล่านั้นย่อมไม่ควรต่อการเพ่งพินิจแก่พวกเขา ผู้ไม่พิจารณาอรรถด้วยปัญญา
พวกเขาเรียนธรรมมีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์ และมีหลักการบ่นเพ้อว่าอย่างนี้
เป็นอานิสงส์ และย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมที่พวกกุลบุตรต้องประสงค์
เล่าเรียน ธรรมเหล่านั้นที่เขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์
สิ้นกาลนาน แก่โมฆบุรุษเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดี.(๑)
อนึ่ง ปริยัติอันบุคคลเรียนดีแล้ว คือจำนงอยู่ซึ่งความบริบูรณ์แห่งคุณ
มีสีลขันธ์เป็นต้นนั่นแล เรียนแล้ว ไม่เรียนเพราะเหตุมีความโต้แย้งเป็นต้น,
ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติมีประโยชน์ที่จะออกจากวัฏฏะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
หมายตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนานแก่กุลบุตรเหล่านั้น ข้อนั้น
เพราะอะไรเป็นเหตุ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอัน
กุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว(๒) ดังนี้.
ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว มีกิเลสอันละแล้ว มีมรรค
อันอบรมแล้ว มีธรรมอันไม่กำเริบแทงตลอดแล้ว มีนิโรธอันกระทำให้แจ้ง
แล้ว ย่อมเรียนซึ่งปริยัติใด เพื่อต้องการแก่อันดำรงซึ่งประเพณี เพื่อต้องการ
แก่อันตามรักษาซึ่งวงศ์ ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติของท่านผู้ประดุจขุนคลัง.
[ภิกษุผู้ปฏิบัติดีใน ๓ ปิฎกได้ผลดีต่างกัน]
อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติดีในพระวินัย อาศัยสีลสมบัติ ย่อมได้บรรลุวิชชา
๓ ก็เพราะตรัสจำแนกประเภทวิชชา ๓ เหล่านั้นนั่นแลไว้ในพระวินัยนั้น. ผู้
# ๑-๒. ม. มู. ๑๒/๒๖๘-๒๖๙.
ปฏิบัติดีในพระสูตร อาศัยสมาธิสมบัติ ย่อมได้บรรลุอภิญญา ๖ ก็เพราะตรัส
จำแนกประเภทอภิญญา ๖ เหล่านั้นไว้ในพระสูตรนั้น. ผู้ปฏิบัติดีในพระอภิธรรม
อาศัยปัญญาสมบัติ ย่อมได้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ก็เพราะตรัสจำแนกประเภท
ปฏิสัมภิทา ๔ นั้น ไว้ในพระอภิธรรมนั้นนั่นเอง. ผู้ปฏิบัติดีในปิฎกเหล่านี้
ย่อมบรรลุสมบัติต่างกัน คือ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ นี้ตามลำดับ
ด้วยประการฉะนี้.
[ผู้ปฏิบัติไม่ดีใน ๓ ปิฎกได้ผลเสียต่างกัน]
ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระวินัย ย่อมมีความสำคัญว่าหาโทษมิได้ ใน
ผัสสะทั้งหลายมีสัมผัสซึ่งรูปเป็นอุปาทินกะเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสห้ามแล้ว โดยความเป็นอาการเสมอกับด้วยสัมผัสซึ่งวัตถุมีเครื่องลาด
และผ้าห่มเป็นต้น ซึ่งมีสัมผัสเป็นสุข ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว.
แม้ข้อนี้ต้องด้วยคำที่พระอริฏฐะกล่าวว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธรรมอันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ว่า เป็นธรรมอันทำอันตรายได้อย่างไร
ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถ เพื่อกระทำอันตรายแก่บุคคลผู้เสพได้(๑) ดังนี้. ภิกษุ
นั้นย่อมถึงความเป็นผู้ทุศีล เพราะความปฏิบัติไม่ดีนั้น.
ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระสูตร ไม่รู้อยู่ซึ่งอธิบายในพระบาลีมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ดังนี้ ย่อมถือเอาผิด
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสว่า บุคคลมีธรรมอันตนถือผิดแล้ว ย่อม
กล่าวตู่เราทั้งหลายด้วย ย่อมขุดตนเองด้วย ย่อมได้ประสบบาปมิใช่บุญมาก
ด้วย(๒) ดังนี้ ภิกษุนั้นย่อมถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิผิด เพราะการถือนั้น.
# ๑. วิ. มหา. ๒/๔๓๔. ๒. ม. ม. ๑๒/๒๖๖.
ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระอภิธรรม แล่นเกินไปซึ่งการวิจารณ์ธรรม
ย่อมคิดแม้ซึ่งเรื่องที่ไม่ควรคิด ย่อมถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต เพราะคิดซึ่งเรื่อง
ที่ไม่ควรคิดนั้น. ข้อนี้ต้องด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
บุคคลคิดอยู่ซึ่งเรื่องที่ไม่คิดเหล่าใด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า
แห่งความลำบากใจ เรื่องที่ไม่ควรคิดเหล่านี้ ๔ ประการ อันบุคคลไม่ควรคิด*
ดังนี้. ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในปิฎก ๓ เหล่านี้ ย่อมถึงความวิบัติต่างด้วยความเป็น
ผู้ทุศีล ความเป็นผู้มีทิฏฐิผิดและความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ ตามลำดับ ด้วยประการ
ฉะนี้.
----------------------------------------

จากอรรถกถา พระวินัยปิฏก มหาวิภังค์ ปฐมภาค นี้

ผมเห็นการวิจารณ์ธรรมมากเกินไปของท่านพุทธทาส ที่ท่านปฏิบัติไม่ดีต่อพระอภิธรรม

เต็มไปด้วยความฟุ้งซ่าน

บั้นปลายชีวิตของท่าน ดูเหมือนท่านจะซึมลงไปนะครับ

คุณ mes ครับ ระวังจะฟุ้งซ่าน วิจารณ์ธรรม ต่าง ๆ เหมือนอาจารย์ของคุณนะครับ

.....................................................


เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เหลิมมักปฏิบัติ

คือยกเอาพระสูตรมาแปะ

แล้วด่าพระพุทธทาสตามใจชอบ

ทั้งที่ไม่มีเนื้อหาที่เหลิมยกขึ้นมาด่าเลย


ผมจึงต้องร้องเรียนเป็นทางการ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการที่เหลิมต้องการคือ

เวปลานธรรมจักร์ต้องโพสต์กระทู้ตามที่เหลิมต้องการคือ

1.ยึดหลักอภิธรรมของบุญมี

2.ยึดหลักปฏิบัติกรรมฐานของแนบ

3.ห้ามโพสต์คำสอนพุทธทาส


หากผิดไปจากความต้องการนี้เหลิมเป็นต้องเข้ามาแขวะผู้ตั้งหรือผู้ตอบกระทู้


ไม่เป็นธรรม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
viewtopic.php?f=2&t=21062


นี่เป็นอีกตัวอย่างที่เหลิมพยายามยัดเยียดให้เวปนี้เห็นด้วยกับตนด้วยการโพสต์ซ้ำอย่างไร้เหตุผลของธรรมสากัจฉา

แม้แต่การปั้นคำศัพท์ แต่งคำพูดเป็นต้าพยายามยัดเยียดคำว่าอัตตโนมัติขึ้นมาใช้ซ้ำให้ติดตาผู้อ่านเป็นต้น

อย่างนี้ผิดวัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนธรรมะ

อย่างนี้ไม่เจริญธรรม

อย่างนี้ไม่ก่อเกิดสัปปายะขึ้นที่ลานธรรมจักร์

อย่างนี้ไม่เป็นที่ประชุมสภาของปัญญาชน

ตัวอย่างคือคุณหลับอยู่ต้องรับบาปจากการสนทนาธรรมไปเต็มๆ

แล้วจะเข้ามาสร้างบาปทำไม

แทนที่เข้ามาที่ลานธรรมจักร์แล้วจะเกิดดวงปัญญา

เหลิมเว้นสักที่หนึ่งได้ไหม

สำหรับการประเทืองปัญญาจริง

จะเกลียดใครทำไมคนอื่นต้องเดือดร้อนด้วย

เวปนี้มิใช่เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง

ศาสนาพุทธก็เช่นกัน

หากการสนทนาธรรมยังเป็นเช่นนี้ต่อไป

อย่าหวังจะพบอริยะธรรมกันเลย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:


คุณ mes ครับ ในเรื่อง ปาฏิหาริย์ ผมเชื่อว่ามีจริง แต่ วิชามโนมยิทธิ+ธรรมกาย ของอาจารย์รุ่นหลัง ๆ ที่มีวิธีปฏิบัติแบบแปลก ๆ ไม่ตรงกับพระไตรปิฏก อรรถกถา ผมยังไม่เชื่อครับ แม้ผู้ไปฝึกมาจะอ้างว่า เห็นจริง ๆ เห็นแดนพระนิพพานด้วย



ไม่ตรงเพราะเอ๊งนึกคิดเอาเองนะสิเหลิม เหอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ตรงกับพระสูตรแต่ไม่ตรงกับทิฐิใจเอ็งนะสิเหลิม เหอๆๆๆๆๆๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
chalermsak เขียน:
คุณหลับอยู่ครับ วิชามโนยยิทธิ ที่พวกคุณกำลังฝึก วิทยายุทธกันอย่างเข้มข้นนี้

บางคนอาจจะตัวสั่นงึก ๆ งั่ก ๆ

บางคนอาจจะนอนดิ้นไปมา บางคนก็จะลุกขึ้นมารำ ( องค์ลง )

บางคนก็จะเห็น นิมิตเป็นเมือง นรก สวรรค์ ( เคยไปฝึกมาแล้ว เหมือนถูกดูดตอนถูก คฑากายสิทธิ์ พยายามข่มจิตให้เกิดนิมิต แต่ก็ดีแล้ว ที่ไม่เกิด ไม่งั้น คงเป็นแบบคุณหลับอยู่ )

บางคนที่ฝึกมาถึงขั้นสุดยอดของ วรยุทธ ก็เข้าไปถึงดินแดนพระนิพพาน ติดต่อพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าได้



คุณ mes ครับ นิมิตที่เห็นอาจจะเป็น ภาพทางใจที่ปรุงแต่งขึ้นมาเองก็ได้ครับ

เช่น เห็นเป็นพระพุทธณุปใส ๆ , เห็นเป็นภาพพระพุทธเจ้า, เห็นภาพ นรกภูมิ เป็นต้น

คนนั่งอาจจะเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่ของจริง

ไม่เกี่ยวกับว่า ภพภูมิต่าง ๆ มีจริงหรือไม่ หรือ อภิญญาจิตมีจริงหรือไม่

คุณ mes ต้องแยกประเด็นให้ออกนะครับ



Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก



มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทานที่ ๗
ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

:b42: :b42: :b42:



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๔๔๗๑ - ๔๘๘๗. หน้าที่ ๑๙๓ - ๒๑๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

ประวัติหลวงปู่มั่น ตอนที35พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุโมทนาหลวงปู่มั่น

--------------------------------------------------------------------------------

พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุโมทนา







หลังจากท่านเดินทางถึงแดนแห่งวิมุตติแล้ว คืนต่อ ๆ มามีพระพุทธเจ้าพร้อมพระสาวกจำนวนมากเสด็จมาอนุโมทนาวิมุตติธรรมกับท่านเสมอมิได้ขาด

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับพระสาวกบริวารเป็นจำนวนหมื่นเสด็จมาเยี่ยม

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับสาวกบริวารจำนวนแสนเสด็จมาเยี่ยม

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีสาวกเท่านั้นเสด็จมาเยี่ยมอนุโมทนา

จำนวนพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์นั้นมีจำนวนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ท่านว่าขึ้นอยู่กับวาสนาของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ไม่เหมือนกัน ที่พระสาวกตามเสด็จมาด้วยแต่ละพระองค์นั้น มิได้ตามเสด็จมาทั้งหมดในบรรดาพระสาวกของแต่ละพระองค์ที่มีอยู่ แต่ที่ตามเสด็จมามากน้อยต่างกันนั้น พอแสดงให้เห็นภูมิพระวาสนาบารมีของแต่ละพระองค์นั้นต่างกันเท่านั้น

บรรดาพระสาวกจำนวนมากของแต่ละพระองค์ที่ตามเสด็จมานั้น มีสามเณรติดตามมาด้วยครั้งละไม่น้อยเลย ท่านสงสัยจึงพิจารณาก็ทราบว่า คำว่าพระอรหันต์ในนามธรรมนั้นมิได้หมายเฉพาะพระ แต่สามเณรที่มีจิตบริสุทธิ์หมดจดก็นับเข้าในจำนวนสาวกอรหันต์ด้วย ฉะนั้นที่สามเณรติดตามมาด้วยจึงไม่ขัดกัน



ในพระโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ที่ประทานอนุโมทนาแก่พระอาจารย์มั่นนั้น ส่วนใหญ่มีว่า



อ้างอิงคำพูด:
เราตถาคตทราบว่าเธอพ้นโทษจากอนันตรทุกข์ในที่คุมขังแห่งเรือนจำของวัฏทุกข์ จึงได้มาเยี่ยมอนุโมทนา ที่คุมขังแหล่งนี้ใหญ่โตมโหฬารและแน่นหนามั่นคงมาก และมีเครื่องยั่วยวนชวนให้เผลอตัวและติดอยู่รอบตัวไม่มีช่องว่าง จึงยากที่จะมีผู้แหวกว่ายออกมาได้ เพราะสัตว์โลกจำนวนมากไม่ค่อยมีผู้สนใจกับทุกข์ที่เป็นอยู่กับตัวตลอดมา ว่าเป็นสิ่งที่ทรมานและเสียดแทงร่างกายจิตใจเพียงใด พอจะคิดเสาะแสวงหาทางออกด้วยวิธีต่าง ๆ เหมือนคนเป็นโรคแต่มิได้สนใจกับยา ยาแม้มีมากจึงไม่มีประโยชน์สำหรับคนประเภทนั้น ธรรมของเราตถาคตก็เช่นเดียวกับยา สัตว์โลกอาภัพเพราะโรคกิเลสตัณหาภายในใจเบียดเบียนเสียดแทง ทำให้เป็นทุกข์แบบไม่มีจุดหมายว่าจะหายได้เมื่อไร



สิ่งตายตัวก็คือโรคพรรค์นี้ ถ้าไม่รับยาคือธรรมจะไม่มีวันหายได้ ต้องฉุดลากสัตว์โลกให้ตายเกิดคละเคล้าไปกับความทุกข์กายทุกข์ใจ และเกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ตลอดอนันตกาล ธรรมแม้จะมีเต็มไปทั้งโลกธาตุ ก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเท่าที่ควรจะได้รับจากธรรม ธรรมก็อยู่แบบธรรม สัตว์โลกก็หมุนตัวเป็นกงจักรไปกับทุกข์ในภพน้อยภพใหญ่แบบสัตว์โลก โดยไม่มีจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดทุกข์กันลงได้เมื่อใด ไม่มีทางช่วยได้ ถ้าไม่สนใจช่วยตัวเองโดยยึดธรรมมาเป็นหลักใจและพยายามปฏิบัติตาม


พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้เพิ่มจำนวนองค์และสั่งสอนมากมายเพียงไร ผลที่ได้รับก็เท่าที่โรคประเภทคอยรับยามีอยู่เท่านั้น ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ว่าพระองค์ใด มีแบบตายตัวอยู่อย่างเดียวกัน คือสอนให้ละชั่วทำดีทั้งนั้น ไม่มีธรรมพิเศษและแบบสอนพิเศษไปกว่านี้ เพราะไม่มีกิเลสตัณหาพิเศษในใจสัตว์โลกที่พิเศษเหนือธรรมซึ่งประกาศสอนไว้ เท่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทานไว้แล้วเป็นธรรมที่ควรแก่การรื้อถอนกิเลสทุกประเภทของมวลสัตว์อยู่แล้ว นอกจากผู้รับฟังและปฏิบัติตามจะยอมแพ้ต่อเรื่องกิเลสตัณหาของตัวเสียเอง แล้วเห็นธรรมเป็นของไร้สาระไปเสียเท่านั้น


ตามธรรมดาแล้วกิเลสทุกประเภทต้องฝืนธรรมดาดั้งเดิม คนที่คล้อยตามมันจึงเป็นผู้ลืมธรรมไม่อยากเชื่อฟังและทำตาม โดยเห็นว่าลำบากและเสียเวลาทำในสิ่งที่ตนชอบ ทั้งที่สิ่งนั้นให้โทษ ประเพณีของนักปราชญ์ผู้ฉลาดมองเห็นการณ์ไกล ย่อมไม่หดตัวมั่วสุมอยู่เปล่า ๆ เหมือนเต่าถูกน้ำร้อนไม่มีทางออก ต้องยอมตายในหม้อที่กำลังเดือดพล่าน โลกเดือดพล่านอยู่ด้วยกิเลสตัณหาความแผดเผา ไม่มีกาลสถานที่ที่พอจะปลงวางลงได้ จำต้องยอมทนทุกข์ทรมานไปตาม ๆ กัน โดยไม่นิยมสัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์อยู่บนอากาศและใต้ดิน เพราะสิ่งแผดเผาเร่าร้อนอยู่กับใจ ความทุกข์จึงอยู่ที่นั่น


ที่นี่เธอเห็นพระตถาคตอย่างแท้จริงแล้วมิใช่หรือ?


พระตถาคตแท้คืออะไร คือความบริสุทธิ์แห่งใจที่เธอเห็นแล้วนั้นแล ที่พระตถาคตมาในร่างนี้ มาในร่างแห่งสมมุติต่างหาก เพราะพระตถาคตและพระอรหันต์อันแท้จริงมิใช่ร่างแบบที่มากันนี้ นี่เป็นเพียงเรือนร่างของตถาคตโดยทางสมมุติต่างหาก






อ้างอิงคำพูด:
ท่านพระอาจารย์กราบทูลว่า
ข้าพระองค์ทราบพระตถาคตและพระสาวกอรหันต์อันแท้จริงไม่สงสัย ที่สงสัยก็คือ พระองค์ทั้งหลายกับพระสาวกท่านที่เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไม่มีส่วนสมมุติยังเหลืออยู่เลย แล้วเสด็จมาในร่างนี้ได้อย่างไร?



อ้างอิงคำพูด:
พระพุทธเจ้าตรัสว่า



ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งแม้มีความบริสุทธิ์ทางใจด้วยดีแล้ว แต่ยังครองร่างอันเป็นส่วนสมมุติอยู่ ฝ่ายอนุปาทิเสสนิพพานก็ต้องแสดงสมมุติตอบรับกัน คือต้องมาในร่างสมมุติซึ่งเป็นเครื่องใช้ชั่วคราวได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างเป็นอนุปาทิเสสนิพพานด้วยกันแล้วไม่มีส่วนสมมุติยังเหลืออยู่ ตถาคตก็ไม่มีสมมุติอันใดมาแสดงเพื่ออะไรอีก ฉะนั้นการมาในร่างสมมุตินี้จึงเพื่อสมมุติเท่านั้น ถ้าไม่มีสมมุติเสียอย่างเดียวก็หมดปัญหา



พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่องอดีตอนาคตก็ทรงถือเอานิมิต คือสมมุติอันดั้งเดิมของเรื่องนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายให้ทราบ เช่น ทรงทราบอดีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่าทรงเป็นมาอย่างไรเป็นต้น ก็ต้องถือเอานิมิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอาการนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายพิจารณาให้รู้ ถ้าไม่มีสมมุติของสิ่งนั้น ๆ เป็นเครื่องหมาย ก็ไม่มีทางทราบได้ในทางสมมุติ เพราะวิมุตติล้วน ๆ ไม่มีทางแสดงได้ ฉะนั้นการพิจารณาและทราบได้ ต้องอาศัยสมมุติเป็นหลักพิจารณา


ดังที่เราตถาคตนำสาวกมาเยี่ยมเวลานี้ ก็จำต้องมาในรูปลักษณะอันเป็นสมมุติดั้งเดิม เพื่อผู้อื่นจะพอมีทางทราบได้ว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๆ และพระอรหันต์องค์นั้น ๆ มีรูปลักษณะอย่างนั้น ๆ ถ้าไม่มาในรูปลักษณะนี้แล้ว ผู้อื่นก็ไม่มีทางทราบได้


เมื่อยังต้องเกี่ยวกับสมมุติในเวลาต้องการอยู่ วิมุตติก็จำต้องแยกแสดงออกโดยทางสมมุติเพื่อความเหมาะสมกัน


ถ้าเป็นวิมุตติล้วน ๆ เช่นจิตที่บริสุทธิ์รู้เห็นจิตที่บริสุทธิ์ด้วยกัน ก็เพียงแต่รู้อยู่เห็นอยู่เท่านั้น ไม่มีทางแสดงให้รู้ยิ่งกว่านั้นไปได้ เมื่อต้องการทราบลักษณะอาการของความบริสุทธิ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็จำต้องนำสมมุติเข้ามาช่วยเสริมให้วิมุตติเด่นขึ้น พอมีทางทราบกันได้ว่าวิมุตติมีลักษณะว่างเปล่าจากนิมิตทั้งปวง มีความสว่างไสวประจำตัว มีความสงบสุขเหนือสิ่งใด ๆ เป็นต้น พอเป็นเครื่องหมายให้ทราบได้โดยทางสมมุติทั่ว ๆ ไป ผู้ทราบวิมุตติอย่างประจักษ์ใจแล้ว จึงไม่มีทางสงสัยทั้งเรื่องวิมุตติแสดงตัวออกต่อสมมุติในบางคราวที่ควรแก่กรณี และทรงตัวอยู่ตามสภาพเดิมของวิมุตติ ไม่แสดงอาการ


ที่เธอถามเราตถาคตนั้น ถามด้วยความสงสัย หรือถามพอเป็นกิริยาแห่งการสนทนากัน






อ้างอิงคำพูด:
ท่านกราบทูลว่า


ข้าพระองค์มิได้มีความสงสัยทั้งสมมุติและวิมุตติของพระองค์ทั้งหลาย แต่ที่กราบทูลนั้นก็เพื่อถวายความเคารพไปตามกิริยาแห่งสมมุติเท่านั้น แม้พระองค์กับพระสาวกจะเสด็จมาหรือไม่ก็มิได้สงสัยว่าพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อันแท้จริงมีอยู่ ณ ที่แห่งใด แต่เป็นความเชื่อประจักษ์ใจอยู่เสมอว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต อันแสดงว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มีใช่ธรรมชาติอื่นใดจากที่บริสุทธิ์หมดจดจากสมมุติในลักษณะเดียวกันกับพระรัตนตรัย





อ้างอิงคำพูด:
พระพุทธเจ้าตรัสว่า




การที่เราตถาคตถามเธอ ก็มิได้ถามด้วยความเข้าใจว่าเธอมีความสงสัย แต่ถามเพื่อเป็นสัมโมทนียธรรมต่อกันเท่านั้น




บรรดาพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์และแต่ละครั้งนั้น มิได้กล่าวปราศรัยอะไรกับท่านพระอาจารย์มั่นเลย มีพระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทพระองค์เดียว ส่วนพระสาวกทั้งหลายเป็นเพียงนั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม น่าเคารพเลื่อมใสมากเท่านั้น แม้สามเณรองค์เล็ก ๆ ที่น่ารักมากกว่าจะน่าเคารพเลื่อมใส ก็นั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม เช่นเดียวกับพระสาวกทั้งหลาย อันเป็นที่น่าเคารพเลื่อมใสมากและน่ารักมากด้วย ซึ่งยังอยู่ในวัยเล็กมากก็มี อายุราว ๙ ขวบ ๑๐ ขวบ ๑๑
__________________



เหอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ไอ้เหลิมเอ๋ยยยยยย 555555555555555555 เหลิมมันชอบขาดทุน

เหลิมร้องไห้ ครวญครางไม่มีหยุดตามยุมต่างๆมานาน...แล้ว จะกลับไป มหาร้องไห้อีกนานกว่าเดิม :b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรีคาถา ฉักกนิบาต
๖. มหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา

๖. อรรถกถามหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา




ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ตรัสบอกถึงเหตุตามที่ตนปริวิตกแล้วทุกประการ.
ลำดับนั้น พระภิกษุณีทุกๆ รูปก็ได้บอกถึงเหตุที่ตนปริวิตกแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าพระแม่เจ้าชอบใจการนิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักนิพพานกันหมด ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงพระอนุญาต พวกข้าพเจ้าได้ออกจากเรือนจากภพพร้อมด้วยพระแม่เจ้า ก็จักไปสู่นิพพานบุรีอันยอดเยี่ยมพร้อมๆ กันกับพระแม่เจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักไปพร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน.........


พระมหาปชาบดีโคตมีได้ตรัสว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพาน เราจักว่าอะไรเล่า แล้วได้ออกจากสำนักภิกษุณีไปพร้อมกับภิกษุณีทั้งหมด ในครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้กล่าวกะทวยเทพทั้งหลายที่สิงอยู่ ณ สำนักภิกษุณีว่า จงอดโทษแก่เราเถิด การเห็นสำนักภิกษุณีของเรานี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย ในที่ใดไม่มีความแก่หรือความตาย ไม่มีการประกอบด้วยสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักไม่มีการพลัด พรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ที่นั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็น
อสังขตสถาน




หลับอยุ่ เขียน:
chalermsak เขียน:


คุณ mes ครับ ในเรื่อง ปาฏิหาริย์ ผมเชื่อว่ามีจริง แต่ วิชามโนมยิทธิ+ธรรมกาย ของอาจารย์รุ่นหลัง ๆ ที่มีวิธีปฏิบัติแบบแปลก ๆ ไม่ตรงกับพระไตรปิฏก อรรถกถา ผมยังไม่เชื่อครับ แม้ผู้ไปฝึกมาจะอ้างว่า เห็นจริง ๆ เห็นแดนพระนิพพานด้วย






ไม่ตรงเพราะเอ๊งนึกคิดเอาเองนะสิเหลิม เหอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ตรงกับพระสูตรแต่ไม่ตรงกับทิฐิใจเอ็งนะสิเหลิม เหอๆๆๆๆๆๆ


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 19 มิ.ย. 2010, 09:30, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การสนทนาธรรม

ทุกต้องใจกว้างเห็นต่างกันได้

อลุ้มอล่วยกัน

เพราะประสพการณ์ของแต่ละคนมีมาไม่เหมือนกัน

ถือแม้ต่างกันคนละขั้วก็ควรคุยกันได้

ด้วยการ

สงวนจุดต่าง แสวงหาจุดร่วม

จึงจะเป็นการสนทนาธรรม

ทั้งนี้ต้องตั้งอยู่บนหลักการของพระไตรปิฏก

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 12:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การแสดงหลักฐานที่เป็นข้อเท็จจริงด้วยบริสุทธิ์ใจทุกคนต้องมีวุฒิภาวะยอมรับได้

แต่ต้องไม่จงใจโจมตี

อย่างนี้จึงจะเป็นประโยชน์

ไม่ต้องใช้เวปแค่เพียงการปลุกระดมให้รับนับถือที่ตนเองชอบหือโจมตีให้เกลียดชังผู้ที่ตนเองเกลียด

อย่างนี้จะถูกต้องกว่า

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เหลิมมักปฏิบัติ

คือยกเอาพระสูตรมาแปะ

แล้วด่าพระพุทธทาสตามใจชอบ

ทั้งที่ไม่มีเนื้อหาที่เหลิมยกขึ้นมาด่าเลย

ผมจึงต้องร้องเรียนเป็นทางการ



แล้วที่คุณ mes นำทิฏฐิของอาจารย์คุณ ท่านพุทธทาส ที่เคยกล่าวตู่พระพุทธเจ้า เอออวยสวมรอยกับศาสนาพราหมณ์ในเรื่อง นรกสวรรค์ อิทธิปาฏิหาริย์ เพราะพิสูจน์ให้คนโง่เห็นไม่ได้

กล่าวตู่ พระธรรม

ทิฏฐิของท่านพุทธทาส อาจารย์ใหญ่ของคุณ mes ที่ถูกนำมาเผยแพร่
( ซึ่งทิฏฐินี้ ผมก็เคยได้อ่านพบเป็นครั้งแรก แสดงว่า ทิฏฐิของท่านจะแทรก การกล่าวตู่พระรัตนไตร แบบนี้ตลอด มีการกล่าวตู่แบบนี้อีกคุณ mes นำมาให้อ่านด้วย ผมจะชี้แจงเอง)


http://www.buddhadasa.com/shortbook/patihan.html


บาลีพระไตรปิฎกของเรานี้ ปรากฏว่ามีอยู่คราวหนึ่ง
ซึ่งถูกถ่ายจากภาษาสิงหลกลับสู่ภาษาบาลีแล้วเผาต้นฉบับเดิมเสีย
และผู้ที่ทำดังนี้ก็คือ ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้เป็นเอกอัครแห่ง
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายนั่นเอง,

ท่านผู้นี้เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด จึงนำให้นักศึกษาหลายๆ คน
เชื่อว่า ถ้าเรื่องของพราหมณ์หลายเรื่อง (เช่น เรื่องนรก สวรรค์
เรื่องพระราหู จับพระอาทิตย์ พระจันทร์ ในสังยุตตนิกาย เป็นต้น)
ได้เข้ามาปนอยู่ในพระไตรปิฎก ถึงกับบรรจุเข้าในพระพุทธโอษฐ์
ก็มีนั้น ต้องเป็นฝีมือของท่านผู้นี้ หรือบุคคลประเภทเดียวกับ
ท่านผุ้นี้ แต่ที่ท่านบรรจุเข้า ก็ด้วยความหวังดี ให้คนละบาป
บำเพ็ญบุญ เพราะสมกับความเชื่อถือของคนในครั้งนั้น



กล่าวตู่ พระสงฆ์ เช่น อรรถกถาจารย์ , พระพุทธโฆษาจารย์ , พระอนุรทธาจารย์ (อภิธัมมัตถสังคหะ) ที่ร่วมกันกับ พระสงฆ์สมัยนั้นในการปลอมปนพระไตรปิฏกเถรวาท เช่นเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า

คุณ mes อย่าได้เพียงคิดว่ามีคนมาด่าอาจารย์เรา

คุณ mes เคยคิดออกมาปกป้อง พระไตรปิฏก อรรถกถา นิกายเถรวาท ไหมครับ ?

เคยชี้แจงในกรณี ที่มีกล่าวตู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไหมครับ ?

ที่ผมเห็นคุณเพียงออกมาปกป้องอาจารย์คุณอย่างเดียวเท่านั้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 06:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กล่าวตู่ พระสงฆ์ เช่น อรรถกถาจารย์ , พระพุทธโฆษาจารย์ , พระอนุรทธาจารย์ (อภิธัมมัตถสังคหะ) ที่ร่วมกันกับ พระสงฆ์สมัยนั้นในการปลอมปนพระไตรปิฏกเถรวาท เช่นเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า

คุณ mes อย่าได้เพียงคิดว่ามีคนมาด่าอาจารย์เรา

คุณ mes เคยคิดออกมาปกป้อง พระไตรปิฏก อรรถกถา นิกายเถรวาท ไหมครับ ?

เคยชี้แจงในกรณี ที่มีกล่าวตู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไหมครับ ?

ที่ผมเห็นคุณเพียงออกมาปกป้องอาจารย์คุณอย่างเดียวเท่านั้น


เหลิมเคยปกป้องหรือนอกจากโจมตีท่านพุทธทาสซ้ำซาก

ประเด็นใหม่ก็ไม่มี

ประเด็นเก่าก็ชี้แจงไปแล้ว

แต่ด้วยที่จิตมีแต่ความแค้นฝังลึกเหลิมจึงไม่ฟัง

ย้ำอยู่เช่นนั้น

เก่งแต่โจมตีคนอื่น

เดี๋ยวกรรมวิบากกำลังจะตามมา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ฤทธิ์-ปาฎิหาริย์ โดยอาจารย์ใหญ่ของคุณ mes

http://www.buddhadasa.com/shortbook/patihan.html

อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
ที่ผมยกมาให้เห็นเป็นการแสดงข้อเท็จจริงทางวิชาการของท่านพุทธทาส


ใช่ครับ เป็นข้อเท็จจริงของนักวิชาการสมัยใหม่ ที่ไม่มีอภิญญาจิต จึงยังไม่ปักใจเชื่อ ในเรื่อง อิทธิ ปาฏิหาริย์ ว่าจะเป็นได้จริง และ วิธีการฝึกจิตให้ได้อภิญญา

รวมไปถึงเรื่อง นรก สวรรค์ หลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด

วิชาการสมัยใหม่ จึงเชื่อแต่ในสิ่งที่ ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ พิสูจน์ได้เท่านั้น

ทิฏฐิของท่านพุทธทาสจึงได้เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการบางท่าน องค์กรบางแห่ง

ดูเผินแล้วดี เพราะเป็นการนำพระธรรมไปอธิบายให้เข้ากับวิชาการสมัยใหม่

แต่นั้นเป็นการปฏิรูปพระสัทธรรม ให้เข้าได้กับลัทธิวัตถุนิยม

พระเจ้ายาปาสิ
http://larndham.org/index.php?showtopic=12737&st=16

พระเจ้ายาปาสิ เป็นเจ้าเมืองเสตัพยนคร ในแคว้นโกศล พระองค์ทรงเป็นนักคิด นักปรัชญาคนสำคัญคนหนึ่งของยุคนั้น เหตุการณ์ที่พระองค์ได้ทรง “โต้วาที” กับพระกุมารกัสสปะสันนิษฐานกันว่าน่าจะเกิดขึ้นภายหลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๕ ปี จากการแปลปายาสิราชัญญสูตรโดยตลอดทำให้ทราบว่า พระเจ้ายาปาสิไม่เพียงเป็นผู้ถือลัทธิ “นัตถิกทิฏฐิ” (Nihilism) อย่างคนธรรมดาๆทั่วไปคนหนึ่งเท่านั้น หากแต่พระองค์ทรงเป็นบุคคลระดับแกนนำคนหนึ่งของลัทธินี้ทีเดียว เพราะข้อโต้แย้งของพระองค์บอกอยู่ในทีว่า ได้ทรงทดลองวิธีการต่างๆ ตามทฤษฏีแห่งลัทธินี้กล่าวไว้อย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุมแล้ว จึงได้ปลงใจเชื่อถือ ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระองค์ได้ทรงพบกับพระกุมารกัสสปะถ้อยปุจฉาของพระองค์จึงคมคายมิใช่น้อย
ลัทธินัตถิกทิฏฐิ กล่าวโดยเนื้อหาก็คือปรัชญาจากการมีรากฐานอยู่ก่อนแล้วในระบบความคิดความเชื่อเดิมของสังคมอินเดียหากเทียบกับลัทธิปรัชญาตะวันตกนัตถิกทิฏฐิก็คือปรัชญาวัตถุนิยม (Mate-rialistic philosophy) ซึ่งผู้ศึกษาปรัชญาสายตะวันออกและตะวันตกย่อมจะรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
หลักการทั่วไปของลัทธินัตถิกทิฏฐิ หรือปรัชญาวัตถุนิยมของตะวันตก(Materialistic philosophy) มีเนื้อหาสอดคล้องกันตรงที่ต่างยอมรับว่าโลกและชีวิตเป็นผลผลิตของการรวมกันอย่างลงตัวของวัตถุหรือสสาร ไม่มีจิตวิญญาณที่เป็นนามธรรม ความจริงมีอยู่เฉพาะในโลกแห่งวัตถุและความจริงนี้ต้องพิสูจน์ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัสเท่านั้น ไม่มีความจริงอื่นนอกเหนือไปกว่านี้
แต่พระพุทธศาสนากล่าวว่า ความจริงไม่ได้มีอยู่เฉพาะในโลกแห่งวัตถุหรือสสารเท่านั้น ยังมีความจริงอีกมากมายที่เรามองไม่เห็น พิสูจน์ไม่ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ แต่อาจพิสูจน์และสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสที่ ๖ (ESP = Extra Sensory Perception) คือจิตหรือใจ

เมื่อวัตถุนิยมปฏิเสธความจริงทางนามธรรม ก็เท่ากับปฏิเสธเรื่องบุญ บาป ความดี ความชั่ว กฏแห่งกรรม เทวดา พระนิพพาน และพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งพระนิพพานด้วย การปฏิเสธบุญบาป เป็นต้น ก็เท่ากับเป็นการปฏิเสธระบบคุณค่าหรือกฏเกณฑ์ทางศีลธรรมจริยธรรมที่ทำให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบร่มเย็นไปด้วยโดยปริยาย

ผู้ที่เชื่อในลัทธิวัตถุนิยมจึงใช้ชีวิตอย่างสุดโต่งไปในการแสวงหาความสุขจากการสนองตัณหา หรือการกิน ดื่ม สืบพันธุ์ หรือกิน กาม เกียรติ และการเสพบริโภคอย่างเต็มที่ ไม่คำนึงถึงคุณค่าทางจิตใจ ให้ความสำคัญต่อวัตถุและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเงิน รถ บ้าน กามารมณ์ เป็นต้น ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่อาจถือเอาเป็นสรณะที่สามารถให้คำตอบสุดท้ายกับชีวิตได้แทบทั้งหมด กล่าวโดยรวมคือสนใจโลกียสุขมากกว่าจะแสวงหาโลกุตรสุขที่อยู่เลยพ้นขึ้นไปจากสุขทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕

เมื่อกล่าวโดยเคร่งครัดลัทธิวัตถุนิยมของพระเจ้ายาปาสิจึงไม่ได้หายไปจากความคิดความเชื่อและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบัน หากแต่ได้คลี่คลายขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมิ่งนักในนามของลัทธิวัตถุนิยม บริโภคนิยม ที่กำลังแผ่อิทธิพลครอบงำไปทั่วโลกอยู่ในเวลานี้นั่นเอง


--------------------------------------------

เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.org/html/life-wor ... r6-04.html


ปลดออก ระงับเสีย สำหรับเมื่อจะแสดงแก่คนชนิดไหน ถ้าจะมีสำหรับคนทั่วไป คนพื้นฐานที่ไร้การศึกษาก็ไม่ต้องฉีกออก และไม่มีอะไรที่จะต้องฉีกออก แต่ถ้าจะแสดงแก่นักวิทยาศาสตร์แท้จริง นักโบราณคดีแท้จริง ต้องปลด ๆ ออกเสีย ๖๐% เหลือ ๔๐% จึงจะสะอาด สะอาดบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เหลือแต่แกนกับแก่น เหลือแต่เพชรเหลือแต่ทองคำ (หัวเราะ)

คุณ mes คงจะเห็นด้วยกับอาจารย์ใหญ่ของคุณ ที่จะตัดพระไตรปิฏกออกสัก 60 % ไม่ว่าจะเป็น พระอภิธรรมปิฏก อิทธิปาฏิหาริย์ นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ในพระวินัย พระสูตร ออกให้หมด

แต่ผมขอค้านครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านผู้อ่านครับ

นี่คือพระธรรมอันประเสริฐของท่านพุทธทาส

เป็นสุดยอดแห่งธรรมะที่มือาจมีใครปฏิเสธได้

แม้มีพวกนอกศาสนาคอยโจมตีท่านพุทธทาส

แต่ณ.เวลานี้

คำสอนของท่านพุทธทาสนั้นแพร่หลายไปทั่วโลก

แม้แต่ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆก็อ่านหนังสือที่ท่านเขียน

สหประชาชาติยังยกย่องท่าน

ท่านจึงบุรุษเอกของโลก

พระธรรมของท่านเปรียบดังอรุณรุ่งแห่งศาสนาพุทธในกึ่งพุทธกาล

ศึกษาคำสอนของท่านพุทธทาสเกิดจะเกิดดวงตาเห็นธรรม

บัดนี้ทั่วโลกกำลังใช้อาณาปานสติของท่านพุทธทาสในการปฏิบัติทำสมาธิ

ท่านปฏิเสธพวกเสือกระดาษ

และพวกวปปัสนานอกคอกที่คิดว่าสมถะ ฌานคือการนั่งหลับตาเฉยๆ

นั่นเป็นความคิดของพวกโง่งมงาย

บัดนี้พระธรรมที่ท่านพุทธทาสสอนกฎลังส่องแสงไปทุกซอกทุกมุม

แสงธรรมท่านพุทธทาสนำความสว่างแห่งชีวิตสัจจธรรมมาสู่ท่านแล้ว

มาเถอะท่านทั้งหลาย

ละมิจฉทิฐิแอกแห่งตำราอันบ้าคลั่งลง

เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ

อย่าเชื่อพวกบ้าตำรา

ทางสายธรรมแห่งพุทธทาสกำลังรอท่านอยู่





http://www.buddhadasa.com/self/self_01.html


อ้างคำพูด:
บทที่ ๑. ปรับความเข้าใจ

พุทธศาสนิกชนไทย ที่นับถือพุทธศาสนา ในลักษณะที่คนอื่นมองเห็นว่า เคร่งครัด แต่ความจริง คนนั้นยังเข้าไม่ถึง ตัวแท้แห่งพุทธศาสนาเลย ก็มีอยู่เป็นอันมาก ทีเดียว แล้วคนพวกนี้เอง ที่เป็นคนหัวดื้อ ถือรั้น หรือ อวดดี จนกระทั่ง ยกตนข่มผู้อื่น ที่เขารู้ดีกว่า

การเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา โดยวิธีปรำปรา หรือปฏิบัติตามๆ กันมา อย่างงมงาย นั้น แม้จะได้กระทำสืบๆ กันมา ตั้งหลายชั่วบรรพบุรุษ แต่ก็หาสามารถทำให้เข้าถึง ตัวแท้ของพุทธศาสนาได้ไม่ มีแต่จะกลายเป็น ของหมักหมม ทับถมกัน มากเข้า จนเกิดความเห็นผิด ใหม่ๆ ขึ้นมา กลายเป็น พุทธศาสนาเนื้องอก ไปหมด ทำให้ห่างจาก ตัวแท้ของพุทธศาสนา ออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง เกิดการกลัว ต่อการบรรลุ มรรคผลนิพพาน ซึ่งเราได้ยินกันอยู่ทั่วๆ ไป ในหมู่ พุทธบริษัท ชาวไทยสมัยนี้ ที่ห้ามไม่ให้พูดกันถึงเรื่อง มรรคผล นิพพาน ใครขืนพูด คนนั้นจะถูกหาว่า อวดดี หรือ ถูกหาว่า นำเอาเรื่องที่เหลือวิสัย มาพูด แล้วก็ขอร้อง ให้พูดกันแต่เรื่องต่ำๆ เตี้ยๆ เช่น ให้พูดแต่เรื่อง จริยธรรมสากล ที่ศาสนาไหนๆ เขาก็มีด้วยกันทั้งนั้น

นี่แหละคือ สถานะอันแท้จริง ของการศึกษา และปฏิบัติ พุทธศาสนาในประเทศไทย มีผลทำให้ พุทธบริษัทชาวไทย กลายเป็นชาวต่างศาสนาของตนไป ฉะนั้น เราควรตั้งต้นศึกษา และปฏิบัติ หลักพระศาสนา ของเราเสียใหม่ อย่ามัวหลง สำคัญผิดว่า เรารู้พุทธศาสนาดีกว่า ชาวต่างประเทศ เพราะนึกว่า เราได้อยู่กับ พุทธศาสนา มานานแล้ว มีผู้เขียน มีผู้แต่งตำรา เกี่ยวกับพุทธศาสนา มากพอแล้ว เราไปค้นคว้า เอาตัวพุทธศาสนา ผิดๆ หรือไปคว้าเอาแต่เพียงกระพี้ ของพุทธศาสนา ไปคว้าเอาพุทธศาสนาเนื้องอก ใหม่ๆ มาอวดอ้าง ยืนยันกันว่า นี่เป็นพุทธศาสนาแท้ ฉะนั้น หนังสือพุทธศาสนา ที่เขียนขึ้นมา จึงมีสิ่งที่ ยังมิใช่ตัวแท้ ของพุทธศาสนา รวมอยู่ด้วย ๔๐-๕๐% เพราะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ นำเอาพระพุทธศาสนา ไปปนกับ ลัทธิอื่นๆ ซึ่งมีอยู่ในประเทศอินเดีย ซึ่งบางอย่าง ก็คล้ายคลึงกันมาก จนถึงกับ ผู้ที่ไม่แตกฉาน เพียงพอ อาจจะนำไป สับเปลี่ยน หรือ ใช้แทนกันได้โดยไม่รู้ เช่น คำตู่ต่างๆ ของพวกบาทหลวง ที่มีใจเกลียดพุทธศาสนา เมื่อบาทหลวงผู้นั้น เป็นผู้มีชื่อเสียง และมีคนนับถือกว้างขวาง หนังสือเล่มนั้น ก็กลายเป็นที่เชื่อถือ ของผู้อ่านไปตามๆ กัน

เราได้พบหนังสือชนิดนี้ เป็นครั้งเป็นคราว อยู่ตลอดมา นับว่าเป็นความเสียหาย อย่างใหญ่หลวง แก่พุทธศาสนา แล้วเป็นอันตราย อย่างยิ่ง แก่ผู้อ่าน ซึ่งหลงเข้าใจผิด ในหลักพุทธศาสนา ที่ตนสนใจ หรือ ตั้งใจจะศึกษา ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เช่น เรื่องกรรม ที่ว่า ทำดี-ได้ดี ทำชั่ว-ได้ชั่ว และ บุคคลผู้ทำ เป็นผู้ได้รับ ผลแห่งกรรม นั้น นี่เป็นหลัก ที่มีมาก่อนพุทธกาล และมีกันทั่วไป ในทุกศาสนาใหญ่ๆ ฉะนั้น การที่จะถือเอาว่า หลักเรื่องกรรม เพียงเท่านี้ เป็นหลักของพุทธศาสนานั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าหัวเราะ ทั้งนี้เพราะ ความจริงมีอยู่ว่า พุทธศาสนา แสดงเรื่องกรรม มากไปกว่านั้น คือ แสดงอย่างสมบูรณ์ที่สุด ว่า ผลกรรม ตามหลักที่กล่าวนั้น เป็นมายา จึงถือไม่ได้ ยังมี กรรมที่ ๓ อีกประเภทหนึ่ง ที่สามารถลบล้าง อำนาจของกรรมดี กรรมชั่ว นั้นเสียได้โดยสิ้นเชิง แล้วยังเป็นผู้อยู่เหนือกรรม โดยประการทั้งปวง การปฏิบัติ เพื่อบรรลุ มรรคผลนิพพาน นั่นแหละ คือ การทำกรรมที่ ๓ ดังกล่าว ซึ่งศาสนาอื่น ไม่เคยกล่าวถึงเลย นี่แหละ คือ กรรม ตามหลักแห่งพุทธศาสนา ที่ถูกต้อง เพราะ พระพุทธศาสนา มีความมุ่งหมาย ที่จะช่วยมนุษย์ ให้อยู่เหนือ ความที่จะต้องเป็นไปตามกรรม ฉะนั้น มันจึงไม่ใช่ลัทธิ ทำดีได้ดี ทำชั่ว-ได้ชั่ว ทำบุญไปสวรรค์ ทำบาปไปนรก

สำหรับเรื่อง การเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย นั้น กล้ากล่าวได้ว่า ไม่ใช่หลักของพุทธศาสนา เพราะว่า มันเป็นเรื่องคู่กันมากับหลักกรรม อย่างตื้นๆ ง่ายๆ ก่อนพุทธศาสนา คนในยุคโน้น เชื่อและสอนกันอยู่แล้วว่า สัตว์หรือคน ก็ตาม ตายแล้วเกิดใหม่ เรื่อยไป แทบจะไม่มีที่สิ้นสุด คือมีตัวตน หรือวิญญาณที่ถาวร ซึ่งเวียนว่ายตายเกิด เรื่อยไปในวัฏฏสงสาร จะมีจุดจบต่างๆ กันตามแต่ลัทธินั้นๆ จะบัญญัติไว้อย่างไร ฉะนั้น การที่มากล่าวว่า พุทธศาสนา มีหลักในเรื่อง การเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย ทำนองนี้นั้น จึงเป็นสิ่งที่น่าหัวเราะเยาะ เช่นเดียวกันอีก ทั้งนี้ก็เพราะ การตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นการค้นพบความจริงว่า โดยที่แท้แล้ว คนหรือสัตว์ ไม่ได้มีอยู่จริง หากแต่ความไม่รู้ และมีความยึดมั่นเกิดอยู่ในใจ จึงทำให้ คนและสัตว์นั้น เกิดความสำคัญผิดว่า ตนมีอยู่จริง แล้วก็ไปรวมเอาอาการ ที่เรียกว่า "เกิด" หรือ "ตาย" เข้ามาเป็นของตนด้วย ข้อนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกอย่างมั่นใจว่า มีคน มีสัตว์ มีการเกิด การตาย การประกาศศาสนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นก็คือ การประกาศความจริง พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติ จนสามารถทำให้ คนรู้หรือเข้าใจถึงความจริงว่า ไม่มีตัวเรา หรือ ของเรา ดังนั้น ปัญหาเรื่องการเกิด การตาย และ การเวียนว่ายไปในวัฏฏสงสารนั้น ก็หมดไป

เมื่อข้อเท็จจริง มีอยู่ดังนี้แล้ว การที่มายืนยันว่า พุทธศาสนา มีหลักเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ ในทำนองความเชื่อ ของลัทธิขั้นทารกสอนเดิน แห่งยุคศาสนาพราหมณ์โบราณ ย่อมเป็นการตู่ เป็นความไม่ยุติธรรม ต่อพุทธศาสนา นี่แหละ คือ ปมที่เข้าใจได้ยากที่สุด ของพุทธศาสนา จนถึงกับ ทำให้ชาวไทย ชาวต่างชาติ เขียนข้อความ ซึ่งเป็นการตู่พุทธศาสนา ได้เป็นเล่มๆ โดยให้ชื่อว่า หลักพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่อย่างมากมายในระยะ ๒๐-๓๐ ปี มานี้ และนักเขียนเหล่านั้น ยกเอาบทที่ชื่อว่า กรรม และการเกิดใหม่นั่นเอง ขึ้นมาเป็นบทเอก หรือ เป็นใจความสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา ส่วนเรื่องความไม่มีตัวไม่มีตน หรือ ไม่มีอะไรเป็นของตน และวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความว่าง เช่นนั้น เป็นเรื่องที่ไม่กระจ่างแก่เขา เขามักจะเว้นเสีย หรือ ถ้าจะกล่าว ก็กล่าวอย่างอ้อมแอ้ม คลุมเครือ ไม่เป็นที่แจ่มแจ้ง ได้เลย จึงต้องจัดบุคคล ผู้เขียนตำราพุทธศาสนา เช่นนี้ ไว้ในฐานะ เป็นคนไม่รู้จักพุทธศาสนา และ ทำลายสัจจธรรม ของพุทธศาสนา

การเข้าใจหลักของพุทธศาสนา อย่างผิดๆ ย่อมทำให้ ไม่เข้าถึงจุดมุ่งหมายอันแท้จริง ของพุทธศาสนา อาการอันนี้เอง ที่นำผู้ปฏิบัติ ไปสู่ความงมงาย ทั้งโดยทางปฏิบัติ และหลักวิชา ทำให้เกิดการยึดมั่น ในแบบปฏิบัติ ตามความคิดเห็นผิดของตน เลยเกิดการปฏิบัติแบบ "เถรส่องบาตร" ขึ้นเป็นอันมาก กล่าวคือ เห็นเขาทำกันมาอย่างไร ก็ทำตามๆ กันไป อย่างน่าสมเพช เช่น ชาวต่างประเทศ ที่ไม่เคยรู้จักพุทธศาสนา พอเข้ามาเมืองไทย ก็ผลุนผลัน ทำวิปัสสนา อย่างเอาเป็นเอาตาย อยู่ในสำนักวิปัสสนาบางแห่ง จบแล้วก็ยังมืดมัว อยู่ตามเดิม หรือไม่ก็ งมงาย ยึดมั่นถือมั่น สำคัญผิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นมาอีก จากการที่ทำวิปัสสนาแบบนั้นๆ แม้ในหมู่ชาวไทยเรา ก็ยังมีอาการดังกล่าวนี้ จนเกิดมีการยึดมั่นว่า ถ้าจะให้สำเร็จ ขั้นหนึ่ง ขั้นใด ในทางพุทธศาสนา ก็ต้องนั่งวิปัสสนา เรื่องจึงกลายเป็นเพียงพิธีไปหมด การทำไปตามแบบ โดยไม่ทราบถึงความมุ่งหมาย เป็นเหตุให้เกิด แบบกรรมฐาน ขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งทั้งหมดนั้น ไม่เคยมีในครั้งพุทธกาลเลย ทั้งหมดนี้ รวมเรียกสั้นๆว่า "สีลัพพตปรามาส" กล่าวคือ การบำเพ็ญ ศีล และพรต ที่ทำไป โดยไม่ทราบความมุ่งหมาย หรือ มุ่งหมายผิด

ความงมงายนี้ มีได้ตั้งแต่ การทำบุญ ให้ทาน การรักษาศีล การถือธุดงค์ และ การเจริญกรรมฐานภาวนา คนก็ยึดมั่น ถือมั่น ในการทำบุญ ให้ทาน แบบต่างๆ ตามที่นักบวช โฆษณา อย่างนั้น อย่างนี้ ว่า เป็นตัวพุทธศาสนา ที่สูงขึ้นหน่อย ก็ยึดมั่น ถือศีลเคร่งครัด ว่า นี้เป็นตัวแท้ของพุทธศาสนา และ การยึดมั่นถือมั่น อาจมีมาก จนกระทั่ง ดูหมิ่นผู้อื่น ที่ไม่ยึดถืออย่างตน หรือ กระทำอย่างตน ส่วนนักปฏิบัติ ที่สูงขึ้นไปอีก ก็ยึดมั่นถือมั่น ในแบบของกรรมฐาน หรือวิธีแห่งโยคะ ที่แปลกๆ และทำได้ยาก ว่าเป็นตัวแท้ของพุทธศาสนา ความสำคัญผิด ของบุคคลประเภทนี้ มีมากจนถึงกับไปคว้าเอา วิธีต่างๆ ของโยคี นอกพุทธศาสนา ที่มีอยู่ก่อนพุทธศาสนาบ้าง ในยุคเดียวกันบ้าง และในยุคหลังพุทธกาลบ้าง เข้ามาใส่ไว้ในพุทธศาสนา จนเต็มไปหมด สมตามพระพุทธภาษิตที่ว่า "ไม่ใช่เพราะศีล หรือ เพราะการปฏิบัติอันแปลกประหลาด และการยึดมั่นถือมั่น เหล่านั้น ที่คนจะ บริสุทธิ์จากทุกข์ทั้งหลาย ได้ แต่ที่แท้ ต้องเป็นเพราะ มีความเข้าใจถูกต้อง ในเรื่องของความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ในเรื่องความดับสนิทแห่งทุกข์ และวิธีดับความทุกข์นั้น"

ข้อนี้หมายความว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องถือเอา เรื่องของความทุกข์ มาเป็นมูลฐาน อันสำคัญ ของปัญหาที่ตนจะต้องพิจารณา สะสาง หาใช่เริ่มต้นขึ้นมา ด้วยความพอใจ ในสิ่งแปลกประหลาด หรือ เป็นของต่างประเทศ หรือ เป็นสิ่งที่เขา เล่าลือ ระบือกัน ว่า เป็นของศักดิ์สิทธิ์ และ ประเสริฐ นี่เป็นความงมงาย อย่างเดียวกัน ที่ทำให้คนหนุ่มๆ เข้ามาบวชในพุทธศาสนา ซึ่งส่วนมาก มาเพราะ ความยึดมั่นถือมั่นผิดๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยตนเองบ้าง โดยบุคคลอื่น เช่น บิดามารดา บ้าง หรือ โดยประเพณีบ้าง มีน้อยเหลือเกิน หรือ แทบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีเลย ที่เข้ามาบวช เพราะความเห็นภัยในความทุกข์ อย่างถูกต้อง และแท้จริง เหมือนการบวช ของบุคคลครั้งในพุทธกาล เมื่อมูลเหตุอันแท้จริง แตกต่างกันแล้ว ก็ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่เขาจะจับฉวยเอา ตัวแท้ของพุทธศาสนา ไว้ไม่ได้เลย

อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างน่าขบขัน ได้แก่ ความยึดมั่นถือมั่น ที่ห่างไปไกลถึง นอกเปลือกของพุทธศาสนา ชาวยุโรปบางคน ที่ได้รับยกย่องว่า เป็นศาสตราจารย์ ทางฝ่ายพุทธศาสนาได้ยืนยันว่า เขาเป็นพุทธบริษัทที่แท้จริง เพราะเขาเป็น นักเสพผัก หรือ งดเว้นการกินเนื้อสัตว์ เขาเสียใจที่ภรรยาของเขา เป็นพุทธบริษัทไม่ได้ เพราะไม่สามารถเป็นนักเสพผักได้ นั่นเอง เรื่องนี้ นึกดูก็น่าสมเพช คงเป็นที่น่าหัวเราะเยาะ ของพวกอาซิ้ม ไหว้เจ้าตามโรงกินเจ เพราะอาซิ้มเหล่านั้น นอกจากไม่รับประทานเนื้อสัตว์แล้ว ยังเว้นผักที่มีรสจัด หรือกลิ่นแรง อีกหลายชนิด ส่วนพวกมังสะวิรัติ ไม่กินเนื้อสัตว์ก็จริง แต่ก็ยังกินไข่ กินนม และกินผักทุกชนิด นี่เป็นเพราะ ความยึดมั่นถือมั่น ในทางประเพณีแห่งพิธีรีตอง นั่นเอง แม้ในหมู่ชาวไทย ที่อ้างตนว่า เป็นพุทธบริษัท เป็นภิกษุ เป็นพระเถระ เป็นมหาบาเรียน เป็นคนสอนศาสนาพุทธ แก่ประชาชน ได้ดีขึ้นมา ก็เพราะอาศัยพุทธศาสนา แล้วยังกล้ายืนยัน อย่างไม่ละอายแก่ใจว่า บ้านของชาวพุทธ ต้องมีศาลพระภูมิ ไว้ทำพิธีกราบไหว้บูชา ถ้าไม่ทำอย่างนั้น ก็เป็นคนนอกพุทธศาสนา ข้อนี้ เป็นเครื่องแสดงอยู่แล้วในตัวว่า "โมษะบุรุษ" ประเภทนี้ ยังเข้าใจผิด หรือ บิดผันศาสนาของตน เพียงไร พุทธศาสนาของคนในยุคนี้ จึงมีแต่พิธี และวัตถุ ที่นึกว่า ศักดิ์สิทธิ์ เท่านั้นเอง หลงกราบไหว้ ผีสางเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในสากลโลก โดยคิดว่า นั่นก็เป็นพุทธศาสนา แล้วก็สั่งสอนกัน ต่อๆไป แม้โดยพวกที่ประชาชนเชื่อว่า รู้จักพุทธศาสนาดี เพราะมีอาชีพในทางสอนพุทธศาสนา

คนบางพวก มีความยึดมั่นถือมั่นว่า เขาจะเข้าถึงพุทธศาสนาได้ ก็โดยทำตนให้เป็นผู้แตกฉานในคัมภีร์ เท่านั้น เพราะเวลาล่วงมาแล้ว ตั้งแต่ ๒,๕๐๐ กว่าปี สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปมาก จะต้องศึกษาเอาจากคัมภีร์ทั้งหมด เพื่อให้ทราบว่า พุทธศาสนาเดิมแท้ แห่งครั้งกระโน้น เป็นอย่างไร ฉะนั้น การศึกษาพระไตรปิฎก พระอภิธรรม และคัมภีร์อื่นๆ ก็อาจกลายเป็นอุปสรรค ไปได้เหมือนกัน จริงอยู่การที่จะพูดว่า ไม่ต้องศึกษาเสียเลยนั้น ย่อมไม่ถูกต้องแน่ แต่การที่จะพูดว่า ต้องศึกษาพระคัมภีร์เสียให้หมด แล้วจึงจะรู้จักพุทธศาสนา ยิ่งไม่ถูก มากขึ้นไปอีก หรือไม่ถูกเอาเสียเลย ทีเดียว ถึงธรรมะที่แท้จริง จะถ่ายทอดกันไม่ได้ทางเสียง หรือ ทางตัวหนังสือ แต่ว่า วิธีปฏิบัติ เพื่อให้ธรรมะปรากฏแก่ใจนั้น เราบอกกล่าวกันได้ ทางเสียง หรือ ทางหนังสือ แต่ถ้าจิตใจของเขา เหล่านั้น ไม่รู้จักความทุกข์แล้ว แม้จะมีการถ่ายทอดกัน ทางเสียง หรือทางหนังสือ สักเท่าไร เขาก็หาอาจจะถือเอาได้ไม่ ยิ่งเมื่อไปยึดมั่นที่เสียง หรือตัวหนังสือ เข้าด้วยแล้ว ก็จะยิ่งกลายเป็นอุปสรรค ต่อการที่จะเข้าใจพุทธศาสนา มากขึ้นไปอีก คือ กลายเป็นผู้เมาตำรา มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ปริยัติได้กลายเป็นงูพิษ ดังที่พระพุทธองค์ ได้ตรัสไว้ ชาวต่างประเทศ ที่มีมันสมองดี ได้กลายเป็นนักปริยัติ ประเภทนี้ไป เสียมากต่อมาก ไม่จำเป็นจะต้องกล่าวถึง ชาวไทยที่เรียน ปริยัติธรรม อภิธรรม เพื่อประโยชน์ทางโลกๆ หรือทางวัตถุ กันจนเป็นของธรรมดา ไปเสียแล้ว ถึงขนาดเป็นกบฏ ไม่รู้คุณพระพุทธเจ้า ก็มีมาก เช่น การกล่าวว่า การไหว้พระภูมิ ยังไม่เสียการเป็นพุทธบริษัท เป็นต้น

เราไม่จำเป็น จะต้องศึกษาเรื่องราว ทางปริยัติ ทางอภิธรรม อย่างมากมาย เพราะเหตุว่า คัมภีร์เหล่านั้น เป็นที่รวม แห่งเรื่องต่างๆ ทั้งหมด หลายประเภท หลายแขนงด้วยกัน ในบรรดาเรื่อง ตั้งหลายพันเรื่องนั้น มีเรื่องที่เราควรขวนขวายให้รู้ เพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องความดับทุกข์โดยแท้จริง หรืออย่างมากที่สุด ก็ควรขยายออกเพียง ๒ เรื่อง คือ เรื่องความทุกข์อันแท้จริง พร้อมทั้งต้นเหตุของมัน (อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ความมีขึ้นไม่ได้แห่งความทุกข์นั้น พร้อมทั้ง วิธีทำเพื่อให้เป็นเช่นนั้นได้จริง) ถ้าผู้ใดสนใจเฉพาะ ๒ ประเด็นเท่านี้แล้ว ชั่วเวลาไม่นาน เขาก็จะเป็นผู้รู้ปริยัติ ได้ทั้งหมด คือ สามารถเข้าถึง หัวใจของปริยัติ ในลักษณะที่เพียงพอ สำหรับจะนำไปปฏิบัติ ให้ถึงความหมดทุกข์ได้

เราต้องไม่ลืมว่า ในครั้งพุทธกาลโน้น การศึกษาปริยัติ ในลักษณะที่กล่าวนี้ เขาใช้เวลากันไม่กี่นาที หรือไม่กี่วัน คือ ชั่วเวลาที่พระพุทธองค์ ทรงซักไซร้ สอบถาม แล้วทรงชี้แจง ข้อธรรมะ ซึ่งถูกตรงกับ ความต้องการแห่งจิตใจของเขา เขาก็สามารถบรรลุธรรมะ อันเป็นตัวแท้ของพุทธศาสนาได้ ในที่นั่งนั้นเอง หรือในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า นั่นเอง บางคนอาจแย้งว่า นั่นมันเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ท่านทรงสอนเอง และเป็นเรื่องในยุคโน้น จะนำมาใช้ในยุคนี้ อย่างไรได้ คำแย้งข้อนี้ นับว่ามีส่วนถูกอยู่ แต่ก็มีส่วนผิด หรือส่วนที่มองข้ามไปเสีย อยู่มากเหมือนกัน คือมองข้ามในส่วนที่ว่า ธรรมะไม่ได้เกี่ยวเนื่องอยู่กับเวลา และไม่ได้เนื่องอยู่ที่บุคคลผู้สอน ไปเสียทั้งหมด หมายความว่า ถ้าใครมีต้นทุนที่เพียงพอ เขาก็สามารถเข้าถึงธรรมะได้ เพราะได้ฟังคำพูด แม้เพียงบางประโยค

สำหรับข้อที่ว่า มีต้นทุนมาแล้วอย่างเพียงพอนั้น หมายความว่า เขามีความเจนจัด ในด้านจิตใจมาแล้วอย่างเพียงพอ คือ เขาได้เข้าใจชีวิตนี้มามากแล้ว ถึงขั้นที่มองเห็น ความน่าเบื่อหน่าย ของการตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ต้องทนทรมานอยู่ อย่างซ้ำๆ ซากๆ รู้สึกอึดอัด เพราะถูกบีบคั้น และไร้อิสรภาพ มองเห็นชัดอยู่ว่า ตนยังปฏิบัติผิด ต่อสิ่งทั้งปวง อยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเอาชนะกิเลสไม่ได้ เขารู้สิ่งต่างๆ มามากแล้ว ยังเหลืออยู่เพียงจุดเดียว ที่เขายังคว้าไม่พบ ซึ่งถ้าคว้าพบเมื่อใด ความพ้นทุกข์สิ้นเชิง ก็จะมีได้โดยง่าย และทันที เหมือนเราคว้าพบ สวิตซ์ไฟฟ้า ในที่มืด ฉันใดก็ฉันนั้น

ต้นทุนดังที่กล่าวนี้ ไม่ค่อยจะมีแก่บุคคลแห่งยุคที่มัวเมา สาละวนอยู่แต่ ความเจริญก้าวหน้าในทางวัตถุ คนเหล่านี้ถูกเสน่ห์ของวัตถุ ยึดใจเอาไว้ และลากพาตัวเขาไป ไม่มีที่สิ้นสุด จึงไม่ประสีประสา ต่อความจริง ของธรรมชาติ โดยเฉพาะ ในด้านจิตใจ ว่ามันมีอยู่อย่างไร เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่า เขาจะเป็นคนเฉลียวฉลาด และมีการศึกษาแห่งยุคปัจจุบัน มามากแล้ว สักเพียงใด ก็ยังไม่แน่ว่า เขาเป็นผู้มีต้นทุนพอ ในการที่จะเข้าถึงธรรมะตามแบบ หรือวิธี แห่งยุคพระพุทธเจ้าได้ พระพุทธเจ้าที่แท้จริง ย่อมปรากฏ หลังจากที่ธรรมะปรากฏ แก่ผู้นั้นแล้วเสมอไป ฉะนั้น ในกรณีเช่นนี้ เราไม่ต้องพูดถึงพระพุทธเจ้าก่อนก็ได้ ขอแต่ให้เรา พิจารณาอย่างแยบคายที่สุด ในการมองดูตัวเอง มองดูชีวิต มองดูสภาวะ อันแท้จริงของชีวิต ให้รู้อยู่ตามที่เป็นจริง เรื่อยๆไป ก็พอแล้ว วันหนึ่ง เราก็จะบรรลุถึงธรรมะ ด้วยเครื่องกระตุ้นเพียงสักว่า "ได้ยินคำพูดบางประโยค ของหญิงทาสที่คุยกันเล่นอยู่ตามบ่อน้ำสาธารณะ" ดังที่พระพุทธเจ้า ทรงยืนยันไว้ หรือ ยิ่งกว่านั้น ก็ด้วยการได้เห็นรูป หรือ ได้ยินเสียง ของมดหรือแมลง นกหรือต้นไม้ ลมพัด ฯลฯ แล้ว บรรลุธรรมะถึงที่สุดได้ ตามวิธีง่ายๆ เฉพาะตน

ยังมีความเข้าใจผิด อีกอย่างหนึ่ง ที่ทำคนให้เข้าใจพุทธศาสนาผิด จนถึงกับไม่สนใจพุทธศาสนา หรือ สนใจอย่างเสียไม่ได้ ข้อนี้คือ ความเข้าใจที่ว่า พุทธศาสนามีไว้สำหรับ คนที่เบื่อโลกแล้ว หรือ เหมาะแก่ บุคคลที่ละจากสังคม ไปอยู่ตามป่า ตามเขา ไม่เอาอะไรอย่างชาวโลกๆ อีก ข้อนี้ มีผลทำให้คนเกิดกลัวขึ้น ๒ อย่าง คือ กลัวว่า จะต้องสลัดสิ่งสวยงาม เอร็ดอร่อย สนุกสนาน ในโลกโดยสิ้นเชิง อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ กลัวความลำบาก เนื่องจาก การที่จะต้องไปอยู่ในป่า อย่างฤษีนั่นเอง ส่วนคนที่ไม่กลัวนั้น ก็กลับมีความยึดถือบางอย่าง มากขึ้นไปอีก คือ ยึดถือการอยู่ป่า ว่า เป็นสิ่งจำเป็น ที่สุด สำหรับผู้จะปฏิบัติธรรม จะมีความสำเร็จก็เพราะออกไปทำกันในป่าเท่านั้น การคิดเช่นนี้ เป็นอุปสรรคขัดขวาง ต่อการปฏิบัติธรรมะ เพราะโดยปกติ คนย่อมติดอยู่ใน รสของกามคุณ ในบ้านในเรือน หรือ การเป็นอยู่อย่างโลกๆ พอได้ยินว่า จะต้องสละสิ่งเหล่านี้ไป ก็รู้สึกมีอาการ เหมือนกับ จะพลัดตกลงไปในเหวลึก และมืดมิด มีทั้งความเสียดาย และ ความกลัวอยู่ในใจ จึงไม่สามารถได้รับประโยชน์ จากพุทธศาสนา เพราะมีความต่อต้าน อยู่ในจิตใจ หรือมีความรู้สึกหลีกเลี่ยงอยู่แล้ว

เมื่อคนคิดกันว่า จะเข้าถึงตัวแท้ของพุทธศาสนา ไม่ได้ถ้าไม่ไปอยู่ในป่า จึงมีแต่เพียงการสอน และการเรียน เพื่อประโยชน์ แก่อาชีพ หรือ เพื่อผลทางวัตถุไป จะสอน หรือ จะเรียนกันสักเท่าไรๆ ก็ไม่มีทางที่จะเข้าถึงตัวแท้ ของพุทธศาสนาได้ พุทธศาสนาจึงหมดโอกาส ที่จะทำประโยชน์แก่ บุคคลผู้ครองเรือน ได้เต็ม ตามที่พุทธศาสนาอันแท้จริง จะมีให้ บางคนถึงกับเหมา หรือเดาเอาเองว่า บุคคลใด หรือ สำนักไหน มีการสั่งสอนพุทธศาสนา อย่างถูกต้องแล้ว ที่นั่น ก็จะมีแต่การชักชวนคน ให้ทิ้งเหย้าเรือน บุตรภรรยา สามี ออกไปอยู่ป่า เขาเองไม่อยากจะ เกี่ยวข้องกับสำนักนั้นๆ แล้วยังกีดกันลูกหลาน ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เพราะเกรงว่า จะถูกชักจูง หรือ เกลี้ยกล่อม ให้ไปหลงใหลอยู่ในป่า นั่นเอง พุทธศาสนา ไม่ได้มีหลักเช่นนั้น การที่มีคำกล่าวถึง ภิกษุอยู่ในป่า การสรรเสริญ ประโยชน์ของป่า หรือแนะให้ไปทำกรรมฐานตามป่านั้น มิได้หมายความว่า จะต้องไปทนทรมานอยู่ในป่าอย่างเดียว แต่หมายเพียงว่า ป่าเป็นแหล่งว่างจากการรบกวน ป่าย่อมอำนวยความสะดวก และส่งเสริมการกระทำทางจิตใจ ถ้าใครสามารถหาสถานที่อื่น ซึ่งมิใช่ป่า แต่อำนวยประโยชน์ อย่างเดียวกัน ได้แล้ว ก็ใช้ได้

แม้ภิกษุในพุทธศาสนา ก็ยังเกี่ยวข้องอยู่กับชาวบ้าน มิใช่อยู่ป่าชนิดไม่พบใครเลย จนตลอดชีวิต เพราะจะต้องช่วยเหลือชาวบ้าน ให้อยู่ในโลกได้ โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ ถ้าจะพูดโดยสำนวนอุปมา ก็กล่าวได้ว่า "ให้รู้จักกินปลา โดยไม่ถูกก้าง" พุทธศาสนามีประโยชน์แก่โลกโดยตรง ก็คือ ช่วยให้ชาวโลก ไม่ต้องถูกก้างของโลกทิ่มตำ ภิกษุสงฆ์ทั้งหมด มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ก็เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่กับโลกตลอดเวลา เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน หรือ ศึกษาโลกพร้อมกันไปในตัว จนกระทั่ง รู้แจ้งโลก ซึ่งเรียกกันว่า "โลกวิทู" จนสามารถขจัดความทุกข์ ทางโลกๆ ออกไปได้ และต้องการให้ ทุกคนเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ให้หนีโลก หรือพ่ายแพ้แก่โลก แต่ให้มีชีวิตอยู่ในโลก อย่างมีชัยชนะ อยู่ตลอดเวลา

ฉะนั้น การที่ใครๆ จะมากล่าวว่า ถ้าจะปฏิบัติธรรมะแล้ว ต้องทิ้งบ้านเรือน เปิดหนีเข้าป่า ก็เป็นการกล่าวตู่พุทธศาสนา ด้วยคำเท็จ อย่างยิ่ง เพราะสถานที่ใด ที่มีการพิจารณาธรรมะได้ ที่นั้นก็มีการศึกษา และปฏิบัติธรรมะได้ พุทธศาสนาไม่ได้สอน ให้คนกลัว หรือ หลบหลีก สิ่งต่างๆในโลก และไม่ได้สอนให้ มัวเมาในสิ่งเหล่านั้น แต่สอนให้รู้จัก วิธีที่จะทำตัวให้มีอำนาจ อยู่เหนือสิ่งเหล่านั้น ฉะนั้น เป็นอันกล่าวได้ว่า จะเป็นใครก็ตาม ย่อมสามารถใช้ พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือ ให้ตนอยู่ในโลกได้ โดยไม่ถูกก้างของโลกทิ่มแทง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้สนใจพุทธศาสนาทั้งหลาย ไม่ได้มองเห็นกันในแง่นี้ แต่กลับไปเห็น เป็นศาสตร์ หรือ เป็นปรัชญา หรือเป็นวิชาความรู้ อย่างหนึ่ง ในบรรดาวิชาความรู้ ที่มีอยู่ในโลก แล้วก็ศึกษา เพื่อจะเอาพุทธศาสนา มาทำมาหากินกัน เมื่อผู้สอนเอง ก็ไม่รู้ว่า พุทธศาสนาประสงค์อะไร ผู้ถูกสอน ก็จะยิ่งมืดมัวขึ้นไปอีก ฉะนั้น จึงใคร่ขอปรับความเข้าใจผิด กันเสียก่อนที่จะศึกษาเรื่องอื่นๆ ต่อไป

หมู่นกจ้อง มองเท่าใด ไม่เห็นฟ้า
ถึงฝูงปลา ก็ไม่เห็น น้ำเย็นใส
ไส้เดือนมอง ไม่เห็นดิน ที่กินไป
หนอนก็ไม่ มองเห็นคูต ที่ดูดกิน

คนทั่วไป ก็ไม่ มองเห็นโลก
ต้องทุกข์โศก หงุดหงิด อยู่นิจสิน
ส่วนชาวพุทธ ประยุกต์ธรรม ตามระบิล
เห็นหมดสิ้น ทุกสิ่ง ตามจริงเอย


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหลิม เขียน:
กล่าวตู่ พระสงฆ์ เช่น อรรถกถาจารย์ , พระพุทธโฆษาจารย์ , พระอนุรทธาจารย์ (อภิธัมมัตถสังคหะ) ที่ร่วมกันกับ พระสงฆ์สมัยนั้นในการปลอมปนพระไตรปิฏกเถรวาท เช่นเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า

คุณ mes อย่าได้เพียงคิดว่ามีคนมาด่าอาจารย์เรา

คุณ mes เคยคิดออกมาปกป้อง พระไตรปิฏก อรรถกถา นิกายเถรวาท ไหมครับ ?

เคยชี้แจงในกรณี ที่มีกล่าวตู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไหมครับ ?

ที่ผมเห็นคุณเพียงออกมาปกป้องอาจารย์คุณอย่างเดียวเท่านั้น



เหลิมอาศัยอะไรไปปกป้องพระไตรปิฏก อรรถกถา นิกายเถรวาท ไม่ทราบ

ในเมื่เหลิมไม่รู้เรื่องพระไตรปิฎก

หลงงมงายเรื่องผีสางเทวดา ไม่เคยเห็นกับตาแค่อ่านเจอในตำรา พิสุจน์แล้วเห็นจริงดวยตนเองก็มายืนกระต่ายขาเดียวว่ามีอยู่จริงผิดหลักกาลามสูตรที่กล่าว่าอย่างเพิ่งเชื่อจนกว่าจะพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง

บ้าคลั่งตำราอภิธรรมผิดหลักศาสนาพุทธที่เป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ เอาปรัชญาเลือนลอยมาตรวจสอบการปฏิบัติ

ใช้อรรถกถาที่เป็นหลักธรรมย่อยมาครอบพระสูตรที่เป็นหลักธรรมใหญ่

ยกอาจารย์ที่ตนคลั่งไคล้เช่น

แนบ บุญมี หลวงพ่อเสือ เหนือพระพุทธเจ้า

ทำสัทธรรมปฏิรูปหลายอย่าง

ทำศาสนาแตกแยก

ดูหมิ่นมหายาน

เป็นบุคคลที่ชั่วช้าสามานย์ในกึ่งพุทธกาล

ที่อ้างว่า

อ่านพระสูตรที่เอาชนะความโกรธแล้วละความโกรธได้เลยเป็นการอวดอุตริว่าตนสำเร็จอรหันต์

เป็นพวกนักต้มตุ๋นสิบแปดมงกูก

ฯลฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 06:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน

ท่านผู้อ่านครับ

นี่คือพระธรรมอันประเสริฐของท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.com/self/self_01.html

เป็นสุดยอดแห่งธรรมะที่มือาจมีใครปฏิเสธได้

คำสอนของท่านพุทธทาสนั้นแพร่หลายไปทั่วโลก

แม้แต่ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆก็อ่านหนังสือที่ท่านเขียน

สหประชาชาติยังยกย่องท่าน

ท่านจึงบุรุษเอกของโลก

พระธรรมของท่านเปรียบดังอรุณรุ่งแห่งศาสนาพุทธในกึ่งพุทธกาล

ศึกษาคำสอนของท่านพุทธทาสเกิดจะเกิดดวงตาเห็นธรรม

บัดนี้ทั่วโลกกำลังใช้อาณาปานสติของท่านพุทธทาสในการปฏิบัติทำสมาธิ



เห็นโทษของการยึดติดที่ตัวบุคคล ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วครับ

จากหนังสือ พุทธธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ข้อเสีย ๕ อย่างในความเลื่อมใสบุคคลมีดังนี้ คือ
๑. บุคคลเลื่อมใสยิ่งในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้
สงฆ์ยกวัตร เขาจึงคิดว่า บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์ยก
วัตรเสียแล้ว...
๒. บุคคลเลื่อมใสยิ่งในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้
สงฆ์บังคับให้นั่ง ณ ท้ายสุดสงฆ์เสียแล้ว...
๓. ...บุคคลนั้น ออกเดินทางไปเสียที่อื่น...
๔. ...บุคคลนั้น ลาสิกขาเสีย...
๕. ...บุคคลนั้น ตายเสีย...
เขาย่อมไม่คบหาภิกษุอื่นๆ เมื่อไม่คบหาภิกษุอื่นๆ ก็ย่อมไม่ได้สดับ
สัทธรรม เมื่อไม่ได้สดับสัทธรรม ก็ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม
เมื่อความเลื่อมใสศรัทธากลายเป็นความรัก ข้อเสียในการที่ความ
ลำเอียงจะมาปิดบังการใช้ปัญญาก็เกิดขึ้นอีก เช่น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ ประการนี้ ย่อมเกิดขึ้นได้ คือ ความรักเกิด
จากความรัก โทสะเกิดจากความรัก ความรักเกิดจากโทสะ โทสะเกิด
จากโทสะ
ฯลฯ โทสะเกิดจากความรักอย่างไร? บุคคลที่ตนปรารถนา รักใคร่
พอใจ ถูกคนอื่นประพฤติต่อด้วยอาการที่ไม่ปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่า
พอใจ เขาย่อมมีความคิดว่า บุคคลที่เราปรารถนา รักใคร่พอใจนี้ ถูกคน
อื่นประพฤติต่อด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจ ดัง
นี้ เขาย่อมเกิดโทสะในคนเหล่านั้น ฯลฯ

แม้แต่ความเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระศาสดาเอง เมื่อกลายเป็นความ
รักในบุคคลไป ก็ย่อมเป็นอุปสรรคต่อความหลุดพ้น หรืออิสรภาพทางปัญญา
ในขั้นสูงสุดได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ละเสีย แม้บางครั้งจะต้องใช้วิธี
ค่อนข้างรุนแรง ก็ทรงทำ เช่น ในกรณีของพระวักกลิ ซึ่งมีความเลื่อมใส
ศรัทธาในพระองค์อย่างแรงกล้า อยากจะติดตามพระองค์ไปทุกหนทุกแห่ง
เพื่อได้อยู่ใกล้ชิด ได้เห็นพระองค์อยู่เสมอ ระยะสุดท้ายเมื่อพระวักกลิป่วย
หนักอยากเฝ้าพระพุทธเจ้า ส่งคนไปกราบทูล พระองค์ก็เสด็จมา และมีพระ
ดำรัสเพื่อให้เกิดอิสรภาพทางปัญญาแก่พระวักกลิ


เชื่อว่า คุณ mes คงไม่ศึกษา พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาทอีกแล้ว

คงยึดถือ บุรุษเอกของโลก คือท่านพุทธทาส เท่านั้น
( ผมว่า ควรจะเป็น พระพุทธเจ้า และ พระไตรปิฏก เถรวาท ที่เป็นตัวแทนของพระองค์)

ผู้ใดมาชี้แจงในสิ่งที่อาจารย์ใหญ่ กล่าวตู่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็จะโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ มองเป็นผู้ร้ายทั้งหมด

นี้หรือ คือทิฏฐิของผู้ที่เชื่อตามบุคคลที่อ้างว่า เป็นทาสของพระพุทธองค์

แต่กลับห่างไกล พระพุทธองค์มากยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร