วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 21:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 169 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
ไม่ใช่สมถะนำหน้าโดยสิ้นเชิง และไม่ใช่วิปัสสนานำหน้าโดยสิ้งเชิงครับ
เป็นการเจริญทั้งสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานสลับกันไปในขณะเดียวกัน
อย่างรวดเร็ว

เช่น เมื่อกำหนด ขวาย่างหนอ
การกำหนดคำบริกรรมว่า ขวาย่างหนอ จัดเป็นสมถะ
ส่วนจิตที่รู้ลักษณะหรืออาการของเท้าที่ยกขึ้น กำลังเคลื่อนไปข้างหน้าและเหยียบที่พื้น
การรู้ลักษณะหรืออาการของเท้าจัดเป็นวิปัสสนา


อ๋อ เจริญสติไปด้วยพร้อมๆกันนี่เองใช่ไหมครับ


กามโภคี เขียน:
โดยสังเขปคือ สมถะมีการรู้หรือจดจ่ออยู่ที่องค์บริกรรม เรียกว่า อารมณ์
วิปัสสนามีการรู้หรือจดจ่อที่ลักษณะหรืออาการ เรียกว่า ลักษณะ
ตามนัยของฌาน ๒ (แปลว่าจดจ่อนะครับ แปลว่าเพ่งแล้วมากความ)
อารัมมณูปนิสัชฌาน (สมถะ) และ ลักขณูปนิสัชฌาน (วิปัสสนา) หรือ
มีบัญญัติเป็นอารมณ์(บริกรรม) และ มีปรมัตถ์ (ลักษณะหรืออาการ) เป็นอารมณ์


จิตมีเครื่องรู้ แล้วสติมีเครื่องระึลึกสำทับไปอีกชั้นหนึ่ง
จิตมีเครื่องรู้เฉยๆ ก็ว่า อารัมมณูปนิสัชฌาน (สมถะ)
สติไปสำทับอีกชั้นหนึ่ง จึงว่า ลักขณูปนิสัชฌาน (วิปัสสนา)
เข้าใจอย่างนี้ ถูกหรือเปล่าครับ


กามโภคี เขียน:
โดยสังเขปคือ สมถะมีการรู้หรือจดจ่ออยู่ที่องค์บริกรรม เรียกว่า อารมณ์
วิปัสสนามีการรู้หรือจดจ่................
...........
รมัตถ์ของรูปนามได้อย่างดี


ที่จริงแนวพองยุบก็เป็นสมาธิที่เหมือนๆกับสมาธิแบบอื่นๆนี่เองใช่ไหมครับ
คือจิตมีเครื่องรู้อยู่ แล้วมีสติกำกับจิตอีกชั้นหนึ่ง อย่างนั้นหรือเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
อ๋อ เจริญสติไปด้วยพร้อมๆกันนี่เองใช่ไหมครับ


สติมีอยู่แล้วในทั้งสมถะและวิปัสสนาครับ

ชาติสยาม เขียน:
จิตมีเครื่องรู้ แล้วสติมีเครื่องระึลึกสำทับไปอีกชั้นหนึ่ง
จิตมีเครื่องรู้เฉยๆ ก็ว่า อารัมมณูปนิสัชฌาน (สมถะ)
สติไปสำทับอีกชั้นหนึ่ง จึงว่า ลักขณูปนิสัชฌาน (วิปัสสนา)
เข้าใจอย่างนี้ ถูกหรือเปล่าครับ


ไม่ต้องเอาสติไปสำทับจิตครับ เมื่อจิตรู้สภาวะใด สติก็อยู่พร้อมกับจิตเลย เกิดดับพร้อมกัน
อาศัยที่เกิดเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน

อารมณ์หมายถึงองค์บริกรรม ในอารัมณูปนิสัชฌาน หมายถึง คำบริกรรม
ลักษณะ หมายถึงอาการปรมัตถ์ของรูปนาม
เวลากำหนดเดินหนอ ถ้าจดจ่ออยู่ที่อาการลักษณะไม่ขาดสาย เป็นวิปัสสนา
สติ สมาธิไม่ดี ตัวบริกรรมจะดักไม่ให้ส่ายไปนอกทาง
ถ้าสติสมาธิดีแล้ว บริกรรมจะหายไปเลย หายไปเองโดยธรรมชาติ

ชาติสยาม เขียน:
ที่จริงแนวพองยุบก็เป็นสมาธิที่เหมือนๆกับสมาธิแบบอื่นๆนี่เองใช่ไหมครับ
คือจิตมีเครื่องรู้อยู่ แล้วมีสติกำกับจิตอีกชั้นหนึ่ง อย่างนั้นหรือเปล่าครับ


แบบอื่นๆ แบบไหน ขอตัวอย่างครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมทำตามแบบหลวงพ่อพุธน่ะครับ
ท่านเน้นคำว่า "สมาธิสากล"

viewtopic.php?f=2&t=19826

หมายความว่า สมาธิแบบไหนก้เหมือนกันหมด
ต้นทางต่างกันเล็กน้อย ปลายทางได้ผลอันเดียวกันหมด

ก็เลยสงสัยว่าแนวพองยุบนี้เป้นอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
เมื่อจิตรู้สภาวะใด สติก็อยู่พร้อมกับจิตเลย เกิดดับพร้อมกัน
อาศัยที่เกิดเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน


ส่วนตัวผมเห็นว่ามันไม่พร้อมนะครับ
จิตที่"รู้อะไร" มันเกิดอยู่ก่อน
เมื่อระลึกได้ สติมาแล้ว อันที่รู้อยู่ก่อนจะดับไป "ทันที"

แล้วสติที่มาชั่วสายฟ้าแล่บนั้นก็ดับไป"ตาม"กันไป
ชั่วขณะฟ้าแล่บนั้น ปราศจากอะไรใดๆเลย ทั้งสิ้นทั้งปวง

เวลาผมเห็นสติ ผมเห็นอย่างนี้จริงๆ แว๊บๆ

เวลาผมตกใจเสียงอะไรนี่ ชัดที่สุดเลย

(ยกเว้นตกใจอย่างแรงนะ อันนั้นช่วยไม่ได้ ตกใจไปเลย
เช่นฟ้าผ่า ประตุโดนลมแรงๆพัด)

แต่อันที่ไม่แรงมากนี่เห็นสติชัดเลย ว่าเวลาสติมา
มันแว๊บขึ้นมา"ตัด"ความตกใจ"เกือบจะทันที"
เรียกว่าแทบจะไม่ตกใจ

แต่ไม่ใช่ว่ามีสติรอจ้องอยู่แล้วพอเสียงดังมันทำงาน
ไม่ใช่อย่างนั้นนะ

ประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่ ชา สุภัทโท

ท่านเคยกล่าวเกี่ยวกับ ยุบหนอ-พองหนอ ไว้

นำมาลงเพื่อการศึกษาร่วมกัน


http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... cha_69.htm



ลองวางดูบ้างซิพวกเรา!

บางคนนั่งสมาธิกัดฟันจนเหงื่อไหล...ความสงบไม่ได้อยู่ตรงนั้น ความสงบอยู่ที่ความพอดี ดีเกินไปก็ไม่สงบ เพราะดีเกินครู มันไม่พอดี ต้องดีให้พอดี ถ้าดีเกินดี มันไม่ดีหรอก จิตจะวิ่งวุ่นตลอดเวลา การฝึกสมาธิหรือการทำกรรมฐานนี้ เรื่องสำคัญอยู่ที่อารมณ์ จิตเรามีอารมณ์หลายๆอย่าง แต่เราต้องฝึกให้จิตมีอารมณ์เดียวเช่นเราจะดูลมหายใยเข้า-ออก ก็ใช้การเฝ้าดูลมนี้เป็นอารมณ์ให้จิตระลึกอยู่อย่างเดียว

เราอยู่ในโลกนี้ ในแต่ละวันอารมณ์เกินขึ้นกับเรา มากเกินไป เดี๋ยวดีใจ เสียใจ วุ่นวายไม่จบ จิตเราจึงไม่ค่อยสงบ ความรู้สึกของคนจึงเกิดขึ้นด้วยอารมณ์เราอยู่ด้วยอารมณ์ ท่านจึงให้เอาอารมณ์ให้จิตเล่นใช้อารมณ์มาเป็นอุปกรณ์ในการฝึกสมาธิ

เช่นการกำหนดอารมณ์อยู่กับลมหายใจเข้า-ออก เราจะนึกคำว่า...พุท ขณะหายใจเข้า นึกคำว่า...โธ ขณะหายใจออกก็ได้ หรือจะไม่กำหนดพุท-โธก็ได้ เพราะที่จริงแล้ว พุทโธแปลว่าผู้รู้ เมื่อเราเฝ้าดูลมเข้า-ออกให้รู้ชัดเจน ความรู้นี่แหละเรียกว่าพุทโธ ดังนั้นเราจะไม่ว่าพุทโธในใจก็ได้ เดี๋ยวว่าไปว่ามาบางคนก็ขี้เกียจว่าอีกนั่นแหละ เมื่อเราตั้งใจทำไปจะเป็นพุทโธคือผู้รู้ขึ้นเอง คือรู้อยู่ในอารมณ์เดียว อารมณ์อื่นไม่แปลกปลอมเข้ามา จิตจะสงบขึ้นเรื่อยๆ

หรือบางคนอาจจะนึกในใจว่า ยุบหนอ...พองหนอ อันนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่ถึงเราไม่ว่ายุบหนอพองหนอ เมื่อเราหายใจเข้า-ออก ท้องมันก็ยุบเองพองเองของมัน ไม่ต้องไปว่ายุบว่าพองก็ได้ แต่ที่ท่านให้นึกคำเหล่านี้ในใจนั้น เพื่อให้เราตั้งใจทำเท่านั้นเอง ถึงจะว่าพุทโธ ยุบหนอ-พองหนอ หรืออะไรก็ตามรวมแล้วคือการกำหนดให้จิตมีอารมณ์เดียว ให้รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก

การทำกรรมฐานชนิดนี้ ไม่ต้องรู้อะไรมาก ให้รู้ลมเข้า-ออกเท่านั้น กำหนดดูลมให้สบายๆ ไม่ต้องเคร่งเครียด ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย อย่าไปคิดว่าเมื่อไหร่หนอจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อย่าคิดเลยมันจะวุ่นวาน

ขณะนั่งสมาธิ ให้เราตั้งใจดูลมเข้า-ออกตลอดเวลา แล้วพยายามตั้งสติขึ้นไว้ให้รู้ชัดขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ลืม ให้นึกได้อยู่เสมอ จดจ่ออยู่กับอารมณ์อันนั้น ใจเราจะผ่องใส ไม่ง่วงเหงา ไม่เหน็ดเหนื่อย เพราะเห็นอารมณ์ชัดเจน เมื่อไม่ง่วง ไม่รำคาญ ไม่วุ่นวาย เราก็จะรู้จักจิตและอารมณ์ตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ


เคยฟังท่านผู้รู้ ท่านกล่าวไว้ว่า

อานาปานสตินี้ ฐานแรก คือ กายานุปัสสนา นั้น มีสมถะเด่นกว่าวิปัสสนา

อานาปานสติฐานสอง และ สาม คือ เวทนานุปัสสนา และ จิตตานุปัสสนา นั้น มีทั้งสมถะและวิปัสสนาพอๆกัน

อานาปานสติฐานที่สี่ คือ ธัมมานุปัสสนา นั้น มีวิปัสสนาเด่นกว่าสมถะ




ทีนี้ ไม่ว่าจะกำหนดลมหายใจเข้าออกที่จมูก หน้าอก หรือ ท้อง ...ตอนเริ่ม มันก็เริ่มที่กายทั้งนั้น
ซึ่ง เป็นที่แน่ชัดว่า ต้องมีส่วนของสมถะเด่น...


เพราะ ในขณะนี้ เป็นลักษณะกำหนดอารมณ์คือ ลักษณะของกาย เป็นเป้าหมาย(อารัมณูปณิชฌาน). ในขั้นนี้ ยังไม่ใช่การกำหนดที่นำไปสู่การประจักษ์ไตรลักษณ์(ลักขณูปนิชฌาน)เสียเลยทีเดียว

แต่ เมื่อสติมีกำลังเข้มแข็ง สมาธิพัฒนา มากขึ้น.... ก็จะสนับสนุนให้เจริญวิปัสสนาได้ดี ในกาลต่อมาภายหลัง



จาก กระทู้เก่า ทันตภูมิสูตร ที่ ๕

viewtopic.php?f=2&t=24149&start=0

นำมาลงเปรียบเทียบ

พระพุทธองค์ทรงแสดง การที่เจริญสติปัฏฐาน โดยที่ปารภเนกขัมมะ-ศีล-อินทรีย์สังวรเป็นบาท แล้วปรากฏฌานลำดับต่างๆ ขึ้น

โดยแสดง การผ่านจากปฐมฌานเข้าสู่ทุติยฌานไว้ดังนี้
"พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย" ...ซึ่งนี่ ตรงกับ ละ วิตก วิจาร(ที่เข้าประกอบกับกาย) หรือ เรียกว่า ระงับกายสังขาร เข้าสู่ทุติยฌาน นั่นเอง

เมื่อ อารมณ์ที่หยาบกว่าละวางไป
อารมณ์ที่เหลือ (ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์)นั้น ก็จะมี ปิติ และ สุข ที่เป็นเวทนา(จิตตสังขาร)เด่นสุด ...ในขั้น เวทนานุปัสสนานี้ จึงเป็นขั้น "วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่" จึงบรรลุตติยฌาน.
และ เมื่อวางสุข(ทุกข์วางก่อนนั้นนานแล้ว) ก็จะบรรลุจตุตฌาน คือ มีอุเบกขา สติบริสุทธิ์.
รวมในขั้นเวทนานุปัสสนานี้ว่า ระงับจิตตสังขาร

และ ก็จะพัฒนาไปยัง ฐานจิตตานุปัสสนา ๆลๆ..... ธัมมานุปัสสนา ตามลำดับ




แนะนำ อานาปานสติภาวนา ฉบับสมบูรณ์ โดยท่านพุทธทาสภิกขุ

http://smartdhamma.googlepages.com/home ... uddhadhasa


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ส่วนตัวผมเห็นว่ามันไม่พร้อมนะครับ
จิตที่"รู้อะไร" มันเกิดอยู่ก่อน
เมื่อระลึกได้ สติมาแล้ว อันที่รู้อยู่ก่อนจะดับไป "ทันที"
แล้วสติที่มาชั่วสายฟ้าแล่บนั้นก็ดับไป"ตาม"กันไป
ชั่วขณะฟ้าแล่บนั้น ปราศจากอะไรใดๆเลย ทั้งสิ้นทั้งปวง
เวลาผมเห็นสติ ผมเห็นอย่างนี้จริงๆ แว๊บๆ


ครับ ส่วนตัวจะเห็นอย่างไรก็ได้ เป็นเรื่องธรรมดาของความต่าง เพราะความรู้เกิดได้ถึง
๓ ทาง เรียนรู้ คิดรู้ และปฏิบัติรู้

ที่ผมตอบไปหมายถึงเวลากำหนดพองยุบครับ หรือเวลาปฏิบัติครับ
ตอนที่กำหนดได้ปัจจุบัน ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา จะเกิดพร้อมจิต
ดับพร้อมจิต ถ้าไม่เป็นดังนี้ ไม่เห็นไตรลักษณ์ครับ ไม่เห็นรูปนามที่ดับไปพร้อมกัน
มันขาดวั๊บๆ :b12:

ชาติสยาม เขียน:
เวลาผมตกใจเสียงอะไรนี่ ชัดที่สุดเลย
(ยกเว้นตกใจอย่างแรงนะ อันนั้นช่วยไม่ได้ ตกใจไปเลย
เช่นฟ้าผ่า ประตุโดนลมแรงๆพัด)
แต่อันที่ไม่แรงมากนี่เห็นสติชัดเลย ว่าเวลาสติมา
มันแว๊บขึ้นมา"ตัด"ความตกใจ"เกือบจะทันที"
เรียกว่าแทบจะไม่ตกใจ


สติที่คุณหมายถึง เป็นสติแบบไม่มีเวลาปฏิบัติ สติแบบคนทั่วไปรู้
เช่น คุณไปถามคนที่ยืนอยู่ว่า กำลังยืนหรือนั่ง เขาตอบได้เลยว่ายืน
ทั้งที่เขาไม่เคยมีสติรู้ว่ายืนเลย สติที่คุณยกตัวอย่างมาเป็นสติแบบนั้นไง
สติแบบนี้เรียก สัมโมหสติ สติที่ประกอบด้วยโมหะ

ชาติสยาม เขียน:
แต่ไม่ใช่ว่ามีสติรอจ้องอยู่แล้วพอเสียงดังมันทำงาน
ไม่ใช่อย่างนั้นนะ


เอ..ถามผมเรื่องยุบพอง ผมตอบสติในยุบพอง คุณมายกตัวอย่างสตินอกจากเวลา
ที่ปฏิบัติ มันก็คนละสติแล้ว เพราะสติที่ปฏิบัิติพองยุบ เกิดก่อนไม่ได้ ดับทีหลังไม่ได้
เพราะต้องรับรู้ปัจจุบันครับ





ชาติสยาม เขียน:
ประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ


ครับๆๆ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ครูบาอาจารย์รุ่นก่อนๆ ท่านจะให้ความสำคัญกับ สติ และ สมาธิ มาก...ใน กรณีที่ หากการเจริญปัญญาไม่ก้าวหน้า

นำมาลง เผื่อใครยังไม่เคยศึกษา



โอวาทธรรม หลวงปู่ เทสก์ เทสก์รังสี


ยามที่พิจารณาไม่ชัด อย่าได้ท้อแท้ ท้อถอย

แต่ให้เข้าใจว่าที่ไม่ชัด เพราะสติ สมาธิเราอ่อนไป

ให้ปล่อยวางการพิจารณานั้นเสีย แล้วให้มาอบรม สติ สมาธิให้มีกำลังมากขึ้น
อย่าอยากให้รู้ชัดโดยลืมนึกไปถึงสติ-สมาธิของตน




...................................




คือ เห็นบางท่าน เหมือนจะกังวลเกี่ยวกับ การบริกรรม การกำหนด(อารมัณูปณิชฌาน)...
ผมเห็นว่า การบริกรรม การกำหนด ไม่น่าจะเป็นเรื่องเสียหายอะไร .ถ้าฝึกหัดใหม่ หรือ สติ สมาธิ ในขนาดนั้นไม่คมชัดพอ การบริกรรม การกำหนด ก็ช่วยเหมือนกัน

คล้ายๆกับคนหัดว่ายน้ำ ในการฝึกหัดตอนแรก ห่วงยาง หรือ ชูชีพ ก็ช่วยให้เป็นง่ายขึ้น.หรือ เวลาล้ามาก ห่วงยาง หรือ ชูชีพ ก็ช่วยให้มีที่เกาะพักได้

แต่ ถ้าเป็นดีแล้ว กำลังก็ดี ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ ห่วงยาง หรือ ชูชีพ อีก (เพราะมันอาจจะว่ายช้าลง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 23:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ
เคยฟังท่านผู้รู้ ท่านกล่าวไว้ว่า
อานาปานสตินี้ ฐานแรก คือ กายานุปัสสนา นั้น มีสมถะเด่นกว่าวิปัสสนา
อานาปานสติฐานสอง และ สาม คือ เวทนานุปัสสนา และ จิตตานุปัสสนา นั้น มีทั้งสมถะและวิปัสสนาพอๆกัน
อานาปานสติฐานที่สี่ คือ ธัมมานุปัสสนา นั้น มีวิปัสสนาเด่นกว่าสมถะ


อานาปานะสติ จัดเป็นกายานุปัสสนา ก็ชอบอยู่ แต่จะเป็นเวทนาจิตธรรมหรือไม่นั้น ข้อนี้ขอสงวน
เพราะเป็นความเห็นที่คุณฟังมาจากผู้รู้
ในความเห็นผม พระพุทธองค์แยก เวทนา จิต ธรรม ออกจากกายานุปัสสนาแล้ว
เมื่ออานาปานสติเป็นกาย ก็ไม่ควรเป็น เวทนา จิต ธรรม

ตรงประเด็น เขียน:
ทีนี้ ไม่ว่าจะกำหนดลมหายใจเข้าออกที่จมูก หน้าอก หรือ ท้อง ...ตอนเริ่ม มันก็เริ่มที่กายทั้งนั้นซึ่ง เป็นที่แน่ชัดว่า ต้องมีส่วนของสมถะเด่น...
เพราะ ในขณะนี้ เป็นลักษณะกำหนดอารมณ์คือ ลักษณะของกาย เป็นเป้าหมาย(อารัมณูปณิชฌาน). ในขั้นนี้ ยังไม่ใช่การกำหนดที่นำไปสู่การประจักษ์ไตรลักษณ์(ลักขณูปนิชฌาน)เสียเลยทีเดียว
แต่ เมื่อสติมีกำลังเข้มแข็ง สมาธิพัฒนา มากขึ้น.... ก็จะสนับสนุนให้เจริญวิปัสสนาได้ดี ในกาลต่อมาภายหลัง


เราแบ่งแยกวิธีเพราะการศึกษาครับ วิธีการก็จะแนวความเห็นข้อนี้เอง

ส่วนพระสูตรกับของท่านพุทธทาส ขออนุญาตไม่มีความคิดเห็นครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 23:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
หลวงปู่ ชา สุภัทโท

ท่านเคยกล่าวเกี่ยวกับ ยุบหนอ-พองหนอ ไว้
ฯลฯ

หรือบางคนอาจจะนึกในใจว่า ยุบหนอ...พองหนอ อันนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่ถึงเราไม่ว่ายุบหนอพองหนอ เมื่อเราหายใจเข้า-ออก ท้องมันก็ยุบเองพองเองของมัน ไม่ต้องไปว่ายุบว่าพองก็ได้ แต่ที่ท่านให้นึกคำเหล่านี้ในใจนั้น เพื่อให้เราตั้งใจทำเท่านั้นเอง ถึงจะว่าพุทโธ ยุบหนอ-พองหนอ หรืออะไรก็ตามรวมแล้วคือการกำหนดให้จิตมีอารมณ์เดียว ให้รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก
การทำกรรมฐานชนิดนี้ ไม่ต้องรู้อะไรมาก ให้รู้ลมเข้า-ออกเท่านั้น กำหนดดูลมให้สบายๆ ไม่ต้องเคร่งเครียด ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย อย่าไปคิดว่าเมื่อไหร่หนอจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อย่าคิดเลยมันจะวุ่นวาน
ขณะนั่งสมาธิ ให้เราตั้งใจดูลมเข้า-ออกตลอดเวลา แล้วพยายามตั้งสติขึ้นไว้ให้รู้ชัดขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ลืม ให้นึกได้อยู่เสมอ จดจ่ออยู่กับอารมณ์อันนั้น ใจเราจะผ่องใส ไม่ง่วงเหงา ไม่เหน็ดเหนื่อย เพราะเห็นอารมณ์ชัดเจน เมื่อไม่ง่วง ไม่รำคาญ ไม่วุ่นวาย เราก็จะรู้จักจิตและอารมณ์ตามความเป็นจริง[/color]


พองยุบไม่ใช่กำหนดลมเข้าออกนะครับ ดูอาการที่ตึงหย่อนของท้อง ไม่รู้สัณฐาน รู้แต่อาการ
ข้ออื่นก็ตรง ที่ไม่เหมือนก็แค่กล่าวว่าพองยุบดูลมเข้าออกครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
คือ เห็นบางท่าน เหมือนจะกังวลเกี่ยวกับ การบริกรรม การกำหนด(อารมัณูปณิชฌาน)...
ผมเห็นว่า การบริกรรม การกำหนด ไม่น่าจะเป็นเรื่องเสียหายอะไร .ถ้าฝึกหัดใหม่ หรือ สติ สมาธิ ในขนาดนั้นไม่คมชัดพอ การบริกรรม การกำหนด ก็ช่วยเหมือนกัน

คล้ายๆกับคนหัดว่ายน้ำ ในการฝึกหัดตอนแรก ห่วงยาง หรือ ชูชีพ ก็ช่วยให้เป็นง่ายขึ้น.หรือ เวลาล้ามาก ห่วงยาง หรือ ชูชีพ ก็ช่วยให้มีที่เกาะพักได้

แต่ ถ้าเป็นดีแล้ว กำลังก็ดี ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ ห่วงยาง หรือ ชูชีพ อีก (เพราะมันอาจจะว่ายช้าลง)



smiley smiley smiley


สาธุ ครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 00:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
สติที่คุณหมายถึง เป็นสติแบบไม่มีเวลาปฏิบัติ สติแบบคนทั่วไปรู้
เช่น คุณไปถามคนที่ยืนอยู่ว่า กำลังยืนหรือนั่ง เขาตอบได้เลยว่ายืน
ทั้งที่เขาไม่เคยมีสติรู้ว่ายืนเลย สติที่คุณยกตัวอย่างมาเป็นสติแบบนั้นไง
สติแบบนี้เรียก สัมโมหสติ สติที่ประกอบด้วยโมหะ


ไม่มีอะไรนะครับ
เพียงจะบอกว่า สติที่ผมพูดถึง มันไม่ใช่สติแบบที่คุณกามว่ามา

ของผมนี้ "สติมันมาเอง" โดย "ปราศจากการกำหนด"
อธิบายยากอยู่พอสมควร

เช่นว่า กำลังนอนหลับ เกิดมีเสียงโหวกเหวกขึ้นมา คุยกันเอะอะอะไรอย่างนี้
มีรถมาขายของโทรโข่งเอะอะอะไรอย่างนี้ แต่เดิมเราจะโมโหมาก หงุดหงิด
โกรธก่อนจะตื่นนอนอีก ตื่นแล้วถึงรู้ว่าตื่นมาพร้อมกับโกรธ

แต่สติที่ว่านี้
เมื่อได้ยินเสียงปั๊บ ...
....ฉับพลันนั้นความรู้สึกที่ไม่สบายอย่างมากมันจะเริ่มก่อตัวอย่าง"ไว"มาก....
....แต่แค่มันก่อตัวกระหึ่มเตรียมจะบึ้มนี่น่ะครับ
....สติมันจะมาตัดตรงความรู้สึกนี้เลย
ไม่มีคิด ไม่มีเอะใจ ไม่มีเอ๊ะเรา ไม่มีการสำรวจ ไม่มีการควาน ไม่มีการอะไรทั้งนั้น

ไม่ทันได้โมโหเป้นเรื่องเป้นราว ทั้งๆที่กำลังครึ่งหลับครึ่งตื่น งัวเงียๆอยู่แท้ๆ
ความรู้สึกที่มีอะไรมาตัดความรู้สึกอันนี้ มันจะทันควัน ชัดเจนมากๆ
มันปราศจากการใช้ความคิดทั้งปวง ปราศจากเจตนาจะใช้สติ

หรืออย่างเร็วๆนี้ คนใกล้ตัวมาพูดเรื่องที่น่าโกรธที่สุด
ประเภทว่าคนทั่วๆไปได้ยินแล้วโกรธถึงกับแบบฆ่ากันได้เลย
แต่ว่าพอเราได้ยินปั๊บ ใจมันเริ่มกระหึ่มติดเครื่อง กำลังเร่งเครื่องขึ้นมาเลย
สติก็มาปั๊บ ตัดขาดวับลงไปตรงนั้น แล้วก็ใจไม่สั่น อกไม่สั่น กายไม่สั่น
หาความโกรธ ความเดือด ความหวั่นความไหวอะไรก็ไม่เจอเลย
ปกติราบเรียบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
คนพูดยังแปลกใจว่าเราทำไมไม่โมโห ที่จริงโมโหนะ เห็น"หัว"ความโมโหแพลมๆแล้ว
แต่"โมโหยังไม่เสร็จ"
ผ่านไปหลายวันนู่น เผลอกลับไปคิด เผลอดพูดพาดพิงกัน ถึงมีตึงๆแค้นๆโผล่มาบ้าง
แต่ไม่ค่อยแรง พอไม่ค่อยแรง สติไม่มาซะอย่างนั้น ก็อารมณ์บูดใช้ได้เลย
ก็ได้ปะทะคามรมกันนิดนึงพอแก้อึดอัด ไม่มากมาย

เมื่อเทียบกับที่ว่า ยืนอยู่ไม่ทันสังเกตุตัวว่ายืนหรือนั่ง
พอมีคนมาถามว่ายืนหรือนั่ง ถึงจะหันมาสังเกตุตัวเอง
อันนี้มันมีอาการ "ควานหา,สำรวจ,ใช้ความคิด" แล้วจึงทราบว่ายืนอยู่
มันหลายขั้นตอนเกินไป มันช้า และมี"เจตนา"ผสมอยู่ด้วย
ซึ่งไม่ใช่สติแบบที่ผมบอกไป

สรุปว่า ถ้าเมื่อใดอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
จะมีสติมาอารักขาจิตเสมอๆ มาเอง มาทำให้กลับสู่สมดุลย์ มาแล้วสบาย
ความไม่สบายนั้นจบเร้ว จะไม่ต่อความยาวสาวความยืดกับความคิด

แต่ว่าสติมาเฉพาะเวลาอารมณ์เปลี่ยนอย่างแรงๆนะ
อันที่อารมณ์เปลี่ยนแปลงไม่ค่อยแรงนี้จะไม่ค่อยทัน สติไม่มา
เพราะอารมณ์มันเปลี่ยนแบบเนียนๆ ไม่ contrast มาก

ถ้าแรง สติมาทุกครั้ง
โดยปราศจากการกำหนด ค้นคว้า ตรึกตรอง ใครครวญอะไรทั้งสิ้นเลย
เหมือนฟ้าแล่บ แล่บเสร้จก็หายไปเลย

เขาชอบพูดกันว่าเจริญสติแล้วมีสติรู้กาย รู้ย่าง รู้เหยียด กายอย่างไรก้รู้ ใจอย่างไรก้รู้ ฯลฯ
ฟังดูคล้ายๆว่าสติมันจะเป้นของที่ยาวนานพอสมควร
แต่ส่วนตัวของผมไม่เคยเห็นตัวเองมีสติที่จะยาวนานกว่าชั่วสายฟ้าแล่บเลย
เห็นแค่นั้นจริง

ส่วนตัวผมเห็นว่า ที่พยามรู้กายว่ายืนเดินนั่งนอนอยู่อย่างไร แล้วเราตามรู้ตามดูไปนั้น
ผมคิดว่ามันไม่ใช่สติจริง รสชาดมันผิดกัน

เพราะอะไรผมว่าอย่างนั้น ก็เช่นความรู้สึกดีใจ เสียใจ โมโห ที่ไม่มากมายอะไร
เวลามันเกิด ผมก็ดูมันอยู่ตั้งนาน รู้มันอยู่ตั้งนาน ทำไมมันไม่มีอะไรเกิดขึ้น โกรธก้ยังอยู่ ดีใจก้ยังอยู่
กุศลไม่เกิดพร้อมอกุศล ก็ในเมื่อเรายังเห็นโกรธมันเต็มปรี่อยู่ในใจ ถ้าว่ามีสติรู้ใจที่โกรธ
ทำไมโกรธไม่หาย สติต้องไม่เกิดพร้อมโกรธสิ กุศลกับอกุศลมันไม่พร้อมกันได้
ทำไมตามรู้ตามดูแล้วมันไม่แก้ปัญหาอะไรเลย อุตส่าห์มีสติรู้ใจรู้กาย แต่สติไม่ทำอะไรเลย
ผมก็เลยคิดว่ามันไม่(น่าจะ)ใช่สติ

ผมกลับเห็นว่า สติมาตอนผมเผลอนั่นแหละ มันตอบโจทย์ครบเลย
ก็เป็นความน่าฉงนจากประสบการณ์ของผมนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


cool

ชาติสยาม เขียน:
ไม่มีอะไรนะครับ
เพียงจะบอกว่า สติที่ผมพูดถึง มันไม่ใช่สติแบบที่คุณกามว่ามา
ของผมนี้ "สติมันมาเอง" โดย "ปราศจากการกำหนด"
อธิบายยากอยู่พอสมควร


การกำหนดที่เข้าใจกัน จริงแล้วเป็นสมมติบัญญัติเพื่อให้เข้าใจง่ายในเวลาปริยัติหรือสื่อเพื่อ
ให้เข้าใจง่ายถึงวิธีปฏิบัติ จริงแล้ว การที่เรารู้สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ ก็คือการกำหนด
โดยไม่ต้องมีบริกรรมเช่น โกรธหนอ มากำกับก็ได้ครับ
ข้อนี้ของคุณ ในภาษาที่ใช้แนะผู้ใหม่เรียกว่ากำหนด คนไหนที่สติสมาธิดีขึ้นลำดับหนึ่งแล้ว
จะใช้คำว่ารู้ในการแนะนำครับ


ชาติสยาม เขียน:
เช่นว่า กำลังนอนหลับ เกิดมีเสียงโหวกเหวกขึ้นมา คุยกันเอะอะอะไรอย่างนี้
มีรถมาขายของโทรโข่งเอะอะอะไรอย่างนี้ แต่เดิมเราจะโมโหมาก หงุดหงิด
โกรธก่อนจะตื่นนอนอีก ตื่นแล้วถึงรู้ว่าตื่นมาพร้อมกับโกรธ
แต่สติที่ว่านี้
เมื่อได้ยินเสียงปั๊บ ...
....ฉับพลันนั้นความรู้สึกที่ไม่สบายอย่างมากมันจะเริ่มก่อตัวอย่าง"ไว"มาก....
....แต่แค่มันก่อตัวกระหึ่มเตรียมจะบึ้มนี่น่ะครับ
....สติมันจะมาตัดตรงความรู้สึกนี้เลย
ไม่มีคิด ไม่มีเอะใจ ไม่มีเอ๊ะเรา ไม่มีการสำรวจ ไม่มีการควาน ไม่มีการอะไรทั้งนั้น
ไม่ทันได้โมโหเป้นเรื่องเป้นราว ทั้งๆที่กำลังครึ่งหลับครึ่งตื่น งัวเงียๆอยู่แท้ๆ
ความรู้สึกที่มีอะไรมาตัดความรู้สึกอันนี้ มันจะทันควัน ชัดเจนมากๆ
มันปราศจากการใช้ความคิดทั้งปวง ปราศจากเจตนาจะใช้สติ


ข้อนี้ในความเห็นผม ผมเข้าใจว่า ไม่มีการเคลื่อนไหวของกายและจิตที่ปราศจากเจตนา
หรือความตั้งใจจะทำ จะหยุด จะคิด จะปรุงแต่ง

ในกรณีของคุณที่ว่าสติเกิดมารู้สภาวะที่จะกระหึ่มนั้นแล้วตัดไปได้ ก็มาจากเจตนา
เพียงแต่ในบุคคลที่ได้รับการฝึกเรื่อสติสมาธิมาพอสมควร ชวนะของจิตจะไว เมื่อจิตเกิด
พร้อมสติ จิตไว สติก็เกิดไว อะไรมากระทบไม่ว่าทางใดๆ จิตที่ประกอบด้วยสติ ออกมารับ
รู้เป็นอัตโนมัติ ไวจนเราคิดว่าไม่มีเจตนา ในความจริงข้อนี้ ผมว่าเป็นอานิสงส์ของจิตที่ฝึก
มาดีพอสมควร ในการฝึกจิตไม่ว่าการปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จะมีสมาธิเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะต้อง
มีคู่กัน เมื่อมีสภาวะมากระทบ จิตพร้อมสติเกิดขึ้น ก็รับรู้ง่าย เพราะสมาธิช่วยเรื่องความชัด
เจน ไม่ฟุ้ง ไม่ส่าย ทำให้จิตที่ประกอบกับสติรับรู้สภาวะได้เร็ว แม่นยำ

อุปมาเหมือนนักดาบที่ฝึกมาดีแล้ว เมื่อต้องต่อสู้ แม้ไม่ต้องคิดก็สามารถรับการปะดาบได้โดย
อัตโนมัติ ในขณะนั้น จิต สติ สมาธิ ทำงานพร้อมกันบริบูรณ์ ดูเหมืนอว่าไม่เจตนา แต่แท้จริง
เจตนาเกิดขึ้นไปพร้อมๆกัน

ชาติสยาม เขียน:
หรืออย่างเร็วๆนี้ คนใกล้ตัวมาพูดเรื่องที่น่าโกรธที่สุด
ประเภทว่าคนทั่วๆไปได้ยินแล้วโกรธถึงกับแบบฆ่ากันได้เลย
แต่ว่าพอเราได้ยินปั๊บ ใจมันเริ่มกระหึ่มติดเครื่อง กำลังเร่งเครื่องขึ้นมาเลย
สติก็มาปั๊บ ตัดขาดวับลงไปตรงนั้น แล้วก็ใจไม่สั่น อกไม่สั่น กายไม่สั่น
หาความโกรธ ความเดือด ความหวั่นความไหวอะไรก็ไม่เจอเลย
ปกติราบเรียบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
คนพูดยังแปลกใจว่าเราทำไมไม่โมโห ที่จริงโมโหนะ เห็น"หัว"ความโมโหแพลมๆแล้ว
แต่"โมโหยังไม่เสร็จ"
ผ่านไปหลายวันนู่น เผลอกลับไปคิด เผลอดพูดพาดพิงกัน ถึงมีตึงๆแค้นๆโผล่มาบ้าง
แต่ไม่ค่อยแรง พอไม่ค่อยแรง สติไม่มาซะอย่างนั้น ก็อารมณ์บูดใช้ได้เลย
ก็ได้ปะทะคามรมกันนิดนึงพอแก้อึดอัด ไม่มากมาย


สติมาทำหน้าที่ให้จิตรู้ปัจจุบันตรงนั้นครับ(ตรงอาการ) แต่ที่ตัดขาดวับนั้นน่าจะเป็นปัญญาครับ
ในความเห็นผม สติตัดกิเลสไม่ได้ แต่สติ สมาธิ เมื่อสมบูรณ์ดี ช่วยให้ปัญญาทำหน้า
ที่ของตนได้ เช่น
ใจเริ่มกระหึ่มติดเครื่องสติมาปั๊บ------ตรงนี้สติรู้พร้อมจิตและเหนี่ยวไว้ที่ขณะนั้นๆ
การเหนี่ยวไว้ คือ เอกัคคตาจิตหรือสมาธิในขณะนั้น ช่วยให้จิตและสติมีที่ตั้ง(ธัมมานุปัสสนาสติ
สติตามเห็นธรรมหรือสิ่งมากระทบทางอายตนะ ๖)จิตรู้ สติเหนี่ยว สมาธิทำปัจจุบัน ต้องพร้อมกัน
ไม่พร้อมจะไม่เห็นสภาวะเลย
ตัดขาดวั๊บไปตรงนั้น คืออาการที่เห็นสภาวะตามจริงและ้ไม่ปรุงแต่งต่ออีก(เพราะสติเหนี่ยวจิตให้อยู่
กับปัจจุบันคือสมาธิหรือเอกัคคตาในขณะนั้น) จิตจึงไม่มีการฟุ้งไป ข้อนี้เป็นสภาวะปัญญาที่มาจาก
จิต สติ สมาธิ ที่อบรมมาบ้างแล้ว

วันหลังที่เผลอแล้วรู้สึกตึ่งๆแค้นๆ ความจริงสติทำงานแล้ว แต่ไม่มีเอกัคคตาสมาธิ(ตรงอาการ)
มาให้สติรั้งเหนี่ยวจิตไว้ เมื่อไม่มีเอกัคคตาสมาธิ จิตก็ส่ายไปพร้อมสติ(ไม่ได้ปัจจุบันแท้จริง)นั่นแหละ
อารมณ์ก็เลยบูด

จริงแล้วอธิบายยากแบบที่คุณว่านั่นแหละ บางคนเข้าใจนะครับ แต่ไม่รุ้จะอธิบายอย่างไร
เพราะถ้ามองตามสภาวะแล้ว แทบหาชื่อมันไม่ได้ นอกจากเลียบๆเคียงๆตามสมมติบัญญัติไปพอให้เข้าใจกันได้เท่านั้นเอง


ชาติสยาม เขียน:
เมื่อเทียบกับที่ว่า ยืนอยู่ไม่ทันสังเกตุตัวว่ายืนหรือนั่ง
พอมีคนมาถามว่ายืนหรือนั่ง ถึงจะหันมาสังเกตุตัวเอง
อันนี้มันมีอาการ "ควานหา,สำรวจ,ใช้ความคิด" แล้วจึงทราบว่ายืนอยู่
มันหลายขั้นตอนเกินไป มันช้า และมี"เจตนา"ผสมอยู่ด้วย
ซึ่งไม่ใช่สติแบบที่ผมบอกไป


ตรงนี้ละครับที่จะบอกว่า จิตมี สติมี แต่เอกัคคตาสมาธิไม่ตรงกับจิตและสติที่รู้ เช่นอาจยืน
อยู่ แต่มือทำงาน จิต สติ ไม่อยู่กับการยืน อยู่กับมือที่ทำงาน เอกัคคตาสมาธิตอนนั้นอยู่
ที่มือทำงาน ก็เลยไม่ตรงกับจิตและสติ(ไม่ได้ปัจจุบันของการยืน)
แต่ถ้าถามว่า ทำอะไรอยู่ ก็ได้ปัจจุบันเลย เพราะจิตและ
สติ อยู่ที่เอกัคคตาสมาธิ(อาการ)ที่มือทำงานอยู่ รู้แจ้งอารมณ์ของมือเลย แต่จะไม่รู้แจ้งอารมณ์
ของการยืนอีกเช่นกัน ข้อนี้เป็นสภาวะของเอกัคคตาจิตไม่ตรงอาการ


ชาติสยาม เขียน:
สรุปว่า ถ้าเมื่อใดอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
จะมีสติมาอารักขาจิตเสมอๆ มาเอง มาทำให้กลับสู่สมดุลย์ มาแล้วสบาย
ความไม่สบายนั้นจบเร้ว จะไม่ต่อความยาวสาวความยืดกับความคิด
แต่ว่าสติมาเฉพาะเวลาอารมณ์เปลี่ยนอย่างแรงๆนะ
อันที่อารมณ์เปลี่ยนแปลงไม่ค่อยแรงนี้จะไม่ค่อยทัน สติไม่มา
เพราะอารมณ์มันเปลี่ยนแบบเนียนๆ ไม่ contrast มาก
ถ้าแรง สติมาทุกครั้ง
โดยปราศจากการกำหนด ค้นคว้า ตรึกตรอง ใครครวญอะไรทั้งสิ้นเลย
เหมือนฟ้าแล่บ แล่บเสร้จก็หายไปเลย


ผมเข้าใจว่า สติมาระลึกรู้ทั้งแรงทั้งเบาครับ แต่ว่า สมาธิในตอนนั้นไม่สมดุลกับสติ สภาวะ
ไหนหยาบมากก็จะรู้ง่าย ทำให้เข้าใจว่าสติมา พอสภาวะละเอียดมา เผลอไปก็คิดว่าสติไม่มา
ความจริงมาครับ แต่สมาธิอาจน้อยไป เลยทำให้สติทำงานไม่เต็มที่ มีผลให้รับรู้ได้ไม่ชัดเจน
เมื่อรับรู้ไม่ชัดเจนสติก็เหมือนไม่มาเลย
ข้อนี้ตามหลักการปรับอินทรีย์ ๕ เลยครับ ถ้าไม่ได้ดุลกัน สภาวะไม่ชัดซักอย่าง อินทรีย์ ๕
ต้องสมดุลทั้งในและนอกบัลลังค์ปฏิบัติครับ ลองสังเกิตครับ เวลาเรานั่งปฏิบัติ จะรับรู้ได้ดี
และชัดขึ้นตามลำดับ แต่เวลาใช้ชีวิตปกติ ก็เผลอๆลืมตามอารมณืไปบ้าง เพราะนอกเวลา
ปฏิบัติ อินทรีย์ ๕ จะหย่อนกว่าในเวลาที่ปฏิบัติครับ



ชาติสยาม เขียน:
เขาชอบพูดกันว่าเจริญสติแล้วมีสติรู้กาย รู้ย่าง รู้เหยียด กายอย่างไรก้รู้ ใจอย่างไรก้รู้ ฯลฯ
ฟังดูคล้ายๆว่าสติมันจะเป้นของที่ยาวนานพอสมควร
แต่ส่วนตัวของผมไม่เคยเห็นตัวเองมีสติที่จะยาวนานกว่าชั่วสายฟ้าแล่บเลย
เห็นแค่นั้นจริง
ส่วนตัวผมเห็นว่า ที่พยามรู้กายว่ายืนเดินนั่งนอนอยู่อย่างไร แล้วเราตามรู้ตามดูไปนั้น
ผมคิดว่ามันไม่ใช่สติจริง รสชาดมันผิดกัน


สติของจริงเลยครับ แล้วได้ปัจจุบันเสียด้วย ถ้าถึงจุดที่เห็นสภาวะของการเกิดดับแล้ว
ฟ้าแล๊บที่คุณเข้าใจ ยังช้าไปครับ สติเกิดดับพร้อมจิต ในเสี้ยววินาทีหนึ่งอนุมานกันว่า
หนึ่งล้านล้านครั้งเห็นจะได้ ที่เขาเจริญสติกันเป็นระยะเช่น ย่าง เหยียบ นั้น เขาทำอินทรีย์ให้
กล้าขึ้นทีละลำดับ คือให้รู้เห็นสภาวะเป็นขณะๆไปก่อน หยาบไปก่อน เมื่ออินทรีย์กล้าขึ้น จะเห็น
ลึกลงไป ละเอียดไป ตามแต่สภาวะของผู้ปฏิบัติจนถึงสภาวะพระอรหันต์ครับ ซึ่งจะเห็นความ
ละเอียดของรูป เมื่อรูปเกิด นาม(จิต)ก็เกิดสติรู้พร้อมจิต รูปดับนามก็ดับ สติที่พร้อมนาม(จิต)
ก็ดับ รูปเกิดดับล้านล้านครั้ง นาม(จิต)สติที่พร้อมจิต ก็เกิัดดับล้านล้านครั้ง
ถ้าไม่รู้เป็นขณะในเบื้องแรกไป ก็คือไม่ฝึกสติทีละขณะไป ก็ไม่สามารถเพิกสันตติได้ง่ายๆครับ


ชาติสยาม เขียน:
เพราะอะไรผมว่าอย่างนั้น ก็เช่นความรู้สึกดีใจ เสียใจ โมโห ที่ไม่มากมายอะไร
เวลามันเกิด ผมก็ดูมันอยู่ตั้งนาน รู้มันอยู่ตั้งนาน ทำไมมันไม่มีอะไรเกิดขึ้น โกรธก้ยังอยู่ ดีใจก้ยังอยู่
กุศลไม่เกิดพร้อมอกุศล ก็ในเมื่อเรายังเห็นโกรธมันเต็มปรี่อยู่ในใจ ถ้าว่ามีสติรู้ใจที่โกรธ
ทำไมโกรธไม่หาย สติต้องไม่เกิดพร้อมโกรธสิ กุศลกับอกุศลมันไม่พร้อมกันได้
ทำไมตามรู้ตามดูแล้วมันไม่แก้ปัญหาอะไรเลย อุตส่าห์มีสติรู้ใจรู้กาย แต่สติไม่ทำอะไรเลย
ผมก็เลยคิดว่ามันไม่(น่าจะ)ใช่สติ


ถ้าเพิกสันตติได้ คือถ้าคุณเห็นการขาดของการสืบต่อของรูปนามได้ คุณจะเห็นอารมณ์โกรธที่
ยกตัวอย่างมามันไม่ใช่ตั้งอยู่มาแต่แรกครับ อันแรกเกิดดับไปแล้ว ไวมาก ในขณะต่อๆกันมันเกิดดับๆ
กันยาวเหมือนไข่กบเลยแต่ถี่กว่ามากที่สุด(ไม่รู้จะเปรียบอย่างไรเลย ต้องเห็นเอง)
ที่บอกว่าโกรธยังอยู่ ดีใจก็ยังอยู่ กุศลไม่เกิดพร้อมอกุศล ถูกแล้วครับ เพราะจิตสลับรับอารมณ์ไวมาก
อย่างที่บอก เสี้ยววินาทีหนึ่งอนุมานว่าล้านล้านครั้ง มันสลับรับอารมณ์ด้วยความเร็วที่สติคุณจับปัจจุบัน
ไม่ทันก็เลยรู้สึกเหมือนเกิดพร้อมกัน ยกตัวอย่างครับ หูที่ได้ยินเสียง ไม่ได้ยินพร้อมกันนะครับ
จิตที่อาศัยอุปาทายรูปเกิดทางหูสองข้างเกิดดับสลับกันอย่างไวมาก จนคิดว่าได้ยินพร้อมกัน ข้อนี้สม
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลย เอกจรํ จิตฺตํ จิตเที่ยวไปดวงเดียว คือเกิดดับทีละดวง อีกตัวอย่างหนึ่งครับ
แสงไฟที่สว่างอยู่ นั่นจริงแล้วมันกระพริบครับ ด้วยกระแสสลับที่ ๕๐-๗๕ ครั้งต่อวินาที เรายังคิดว่า
มันติดอยู่ตลอดเลย

ถ้าคุณเห็นได้ขนาดที่ผมอธิบายมา แม้ไม่กล้าแบบพระอรหันต์ ผมเชื่อว่าคุณจะแก้ปัญหาได้แน่
นี่แหละครับ อานิสงค์ของการตามรู้(อนุปัสสนา)เป็นขณะๆไป


ชาติสยาม เขียน:
ผมกลับเห็นว่า สติมาตอนผมเผลอนั่นแหละ มันตอบโจทย์ครบเลย
ก็เป็นความน่าฉงนจากประสบการณ์ของผมนะครับ


ครับ ข้อนี้ตามแต่ประสบการณ์ที่รู้เห็นกันมา ข้อสำคัญ สติอย่างเดียว ทำงานไม่เต็มที่ครับ
ที่คุณสนทนากับผม นับว่าดีมากครับ น่าสนใจกันดี อย่างไรก็ตาม คนเราเรียนรู้มาคนละแนว
การต่างในทรรศนะก็ต้องมีบ้างครับ อย่างไรเสีย วางใจเป็นกลาง จะได้ประโยชน์สูงสุดครับ

อนุโมทนาครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียนอาจารย์ทราบค่ะ ว่าจะไม่รายงานเพราะคิดว่า
ไม่มีอะไรคืบหน้า และคิดว่าสิ่งที่ผ่านมาไม่สำคัญ แต่ตอนนี้ชักไม่แน่ใจแล้วค่ะ

คือเมื่อคืนก่อนนััน ตอนเดินแทบจะไม่มีอะไร กำหนดไปตามสภาวะได้เรื่อยๆ
แต่ว่าสะดุ้งค่ะ เสียงอะไรนิดเดียว เบาๆ ก็ทำให้สะดุ้งได้ และตลอดระยะการเดิน
จะมีเสียงในหู เสียงความเงียบ คือเวลาที่เราอยู่คนเดียวที่เงียบสงัด มันจะมีเสียงวิ้งๆๆๆ
นะค่ะชัดมาก ขนาดห้องที่เดินอยู่ติดฟรีเวย์มีรถแล่นทั้งคืน เสียงรถดังตลอด ก็ยังได้ยิน
ชัดมาก
ตอนนั่ง ยังมีแสงแวบๆ วอมๆ ตลอด ถ้าเป็นแสงสีขาว จะแว่บเหมือนไฟที่เราเปิดในผับ
คือแว่บเดียว แล้วหายไป แต่ที่วอมๆ แวมๆ จะเป็นสีดำ คือเหมือน ผ่านไป ผ่านมา
ที่หน้า ค่อนข้างนาน พอวูบวาบหายไป ที่นี้เห็นตอนแรกเป็นผู้ชายก่อนหันหลังให้ แลัว
ก็นึกรู้ทันทีว่า เดี๋ยวถ้าหันหน้ามาต้องไม่น่าดูแน่ๆ ก็กำหนดเห็นหนอ ขณะที่กำหนด ก็กลัว
ก็กำหนดกลัว ก็หายไปแป๊ปเดียว เป็นผู้หญิงอีกแล้ว นอนหันหลังใส่ชุดขาวผมยาว แล้วก็
ทำท่าจะหันกลับมา ก็อีกแหละค่ะ รู้ว่าหันมาจะต้องไม่น่าดู ก็กำหนด เห็น รู้ไปตามนั้น แล้ว
ก็กลัวอีก แล้วก็เห็นหลายๆอย่าง ที่เป็นแบบนี้ตลอดการนั้่งค่ะ รู้ว่าเดี๋ยวจะต้องมีสิ่งที่น่ากลัว
ให้เห็น เมื่อนึกรู้ตามนั้นก็กำหนดไป จนหมดเวลา เวทนาเกิดก็เกิดสลับกันไปๆมาๆ แบบไม่
มีช่องว่าเลย เสียงวิงๆๆนั้นก็ดังอยุ่ตลอดการนั่ง ได้ยินตลอดไม่ว่าจะเกิดสภาวะอะไร ปนกันไป
ก็กำหนดตามที่ชัดก่อน

วันต่อมาเริ่มมีความลังเลที่จะปฏิบัติ เริ่มจากกลัวและก็อ้าง แล้วก็ขึ้เกียจ แต่ก็เข้าปฏิบัติ
เพราะความใฝ่ดียังมีมากกว่า ตอนเดินก็แทบจะเหมือนเดิม ไม่ค่อยมีอะไรเกิดขึ้น นอกจาก
เสียงวิงๆนั้ชัดมาก ถึงแม้ว่าจะรู้อยู่ที่เท้า เสียงก็ยังชัดอยู่ มีปวดหลังนิดหน่อย เริ่มมีความ
สงสัยนั่นนี่ เริ่มจุกจิกๆ ก็กำหนดไปจนหมดเวลา เสียงมีตลอดการเดิน

พอถึงเวลานั่ง เริ่มจากลัวก่อนเลย ก็กำหนดไป แล้วก็มาสงสัย แล้วแสงก็ยังมีอยู่แต่ไม่ชัดแล้ว
เดี๋ยวก็ผ่านมา แบบเร็วมาก เร็วกว่าเราเปิดไฟฉายแล้วปิดอีก เป็นแบบผ่านไปผ่านมา แล้วก็สลับ
แสดงดำๆ แต่อันหลังคือช้ากว่า ชัดกว่า ค่ะ สักพักก็มีความรู้สึกเป็นเงาวูบไป วาบมาข้างหน้า
ถึงกำหนดแล้วก็ไม่หาย แล้วก็กลัว สงสัย ปวดขา ปวดหลัง คันหน้า แบบเร็วทุกอาการ สลับ
กันเหมือนฉากหนังแว่บภาพนั่นที นี่ที อันนี้ยังไม่หาย อันใหม่เข้ามาตลอดการนั่งจนจบค่ะ
มีงุบ ทั้งที่มีภาพนั่นนี่ สงสัยอยุ่ว่าง่วงหรือเปล่า? หรืออะไรกันแน่ มีสภาวะมากมายเข้ามาเร็วมาก
สองวันมาแล้วนะค่ะ ที่ความกลัวยังติดอยู่ที่ใจ ก่อนจะปฏิบัติจะเริ่มกลัวแล้ว ตอนเดินยังไม่เท่าไหร่?
แต่พอจะนั่งจะกลัวมาก เมื่อคืนนี้ต้องย้ายที่นั่งออกมานั่งข้างนอกห้องค่ะ ตอนนี้สะดุ้งกับกลัวนำค่ะ
แค่เสียงเบาๆ อย่างเช่น เพื่อเคลื่นไหวอยู่นอกห้องก็ได้ยินและก็สะดุ้งค่ะ ตามมาด้วยกลัวอีกแล้ว
พอเสียงนาฬิกาที่ตั้งไว้ดัง จะสะดุ้งแบบสุดตัวเลยค่ะ ปกติไม่ใช่เป็นคนขึ้กลัวเลย ไม่เคยมีความรู้สึก
แบบนี้มาก่อนเลยค่ะ
นี่เป็นรายงานค่ะ เรียนให้อาจารย์ทราบประกอบการพิจารณา

อนุโมทนา เจริญในธรรมค่ะ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2009, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



อิอิ .. เคยเป็นเหมือนกันเลยค่ะ อันนี้เล่าสู่กันฟังค่ะ :b12:

เมื่อก่อนเป็นคนกลัวผีมากๆ เพราะเจอผีๆมาตั้งแต่เด็กๆ เรียกว่าตั้งแต่จำความได้เลยจะดีกว่า

ไปบ้านใครก็เจอ ไปที่ไหนก็เจอ ยิ่งมาปฏิบัติยิ่งเจอ ..

แต่แปลกอยู่อย่าง ไม่เคยเจอผีแบบในหนังที่เขาเจอกัน ไม่มีหน้าตาเละๆเน่าๆอะไรแบบนั้น

เจอเหมือนคนปกติธรรมดา มีแต่เปรตน่ะน่ากลัว เพราะมีแต่ลูกกะตาแดงแปร๊ด ...

แต่ตั้งแต่มาเจริญสติปัฏฐาน 4 แบบที่คุณทักทายกำลังทำอยู่นี่แหละค่ะ

สติ สัมปชัญญะมากขึ้น เลยตั้งสติได้ทันเวลาเจอ ...

เดี๋ยวนี้ก็ยังเจออยู่ แต่กลัวน้อยลง แค่เหลืออาการขนหัวตั้ง แต่ไม่หนีเหมือนเมื่อก่อน

พอเจอปั๊บ จะตั้งจิตแผ่เมตตาให้กับเขาทันที เขามาขอส่วนกุศลจากเราน่ะค่ะ

คนมีบุญนะคะที่เจอผีเนี่ย เพราะมีบุญจึงอุทิศให้กับเขา

คนไม่มีบุญ ผีไม่ไปหาหรอกค่ะ เพราะเขารู้ว่าไปแล้วแห้ว :b32:

จริงมั๊ยจ๊านนนนนนนนกามมมมม :b13:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 169 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร