วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 19:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 89 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ความหมายของท่านจริงๆ แล้วคืออันที่สองใช่ไหมคับ?

ครับ ปกติเจริญปัญญาสมาธิก็เกิดตามเป็นเงาอยู่แล้ว

อ้างคำพูด:
1. ปัญญาจากการปฏิบัติแบบไหนที่ท่านว่าไม่เสื่อม และมีไหมปัญญาจากการปฏิบัติที่เกิดแล้วเสื่่อม ?

การเจริญปัญญาจนได้ผลสมาบัติ ไม่เสื่อม ต่อไปถึงชาติหน้าเลย ปกติถ้าราได้ผลสมาบัติชาตินี้แค่ขั้นแรกขั้นเดียว อีกไม่เกิน ๗ ชาติ เราก็ถึงนิพพาน

อ้างคำพูด:
2. ศีล สติ สมาธิ ปัญญา ต้องทำอันไหนให้เกิดก่อนหลังอย่างไรเพราะอะไร และใน 4 ตัวนี้อะไรคือเป้าหมายของการปฏิบัติ

ปัญญาคือเป้าหมาย มีอุปมาการปฎิบัติตั้งแต่ต้นจนจบ ตอนกุมารกัสปะทูลถามปัญญหา ๑๕ ข้อ
viewtopic.php?f=7&t=24998
ต้องทำปัญญาให้เกิดก่อน องค์ธรรมอื่นๆ ก็จะเกิดตามมาได้ง่ายๆ

อ้างคำพูด:
3. แล้วการเจริญปัญญานั้นท่านทำอย่างไรคับ มีวิธีการอย่างไร เอาที่ท่านทำอยู่ปัจจุบันนี้นะครับ เจริญปัญญาอย่างไร พิจารณาอย่างไร กำหนด บริกรรมอย่างไร บอกเป็นธรรมทานหน่อยนะครับ

ใช้การพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ปกติเมื่อเกิดผสะ คือ ตาเห็นรูป ก็พิจารณาว่ารูปไม่เที่ยงเกิดดับ ตื่นขึ้นมาเห็นเพดานก็พิจารณาเพดานว่าใหม่เก่าแตกสลาย มือหยิบผ้าห่มก็พิจารณาผ้าห่มว่าใหม่เก่าแตกสลาย ... หูได้ยินเสียง ... ลิ้นรับรส ... จมูกได้กลิ่น ... กายสัมผัส ... ใจคิดนึก ก็พิจารณาว่าความคิดนี้ไม่เที่ยงเกิดดับ ประกอบกับการพิจารณาตัวตนว่า ตัวฉันนั้นก็หนุ่มแก่เจ็บตาย หรือเมื่อเกิดเวทนาใดๆ เช่น โกรธ ก็พิจารณาว่า ความโกรธก็ไม่เที่ยง ฯ ถ้าสามารถทำได้ต่อเนื่องเฉพาะตอนเช้าตั้งแต่ตื่นนอนประมาณ 1 ชั่วโมงได้ ก่อนออกไปทำงาน จะมีอานิสงค์มาก เพราะจะทำให้เรามองทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆ ตัวในวันนั้นว่าไม่เที่ยงเกิดดับ เกิดจากเหตุจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวเท่านั้น อะไรมากระทบเราในวันนั้น โลภะ โทสะ โมหะ จะทำอะไรเราแทบไม่ได้เลย

หลักในการวิปัสสนาภาวนามีอยู่เพียงว่า ให้พิจารณาสิ่งที่มากระทบในปัจจุบันเท่านั้น ที่ผ่านไปก็ไม่ต้องไปคิด อนาคตก็ไม่ต้องไปนึกถึง พิจารณาเฉพาะธรรมที่เห็นที่สัมผัสได้รู้สึกได้ก่อน และต้องใช้ปัญญาพิจารณาทวารหรืออินทรีย์ทั้ง ๖ ให้ครบ เพียงเท่านี้ ปัญญาก็จะเกิดขึ้นมาพิจารณาอารมณ์ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในพระสูตรเล่ม ๘,๙,๑๐,๑๑)

อันนี้ดูประกอบ
ยานสู่นิพพาน (อุปมามรรค)
viewtopic.php?f=7&t=25131
viewtopic.php?f=7&t=25155
ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย
viewtopic.php?f=7&t=25124
ว่าด้วยการรู้เห็นที่ทำให้สิ้นอาสวะ
viewtopic.php?f=7&t=25125

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 23:23, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญญาคือเป้าหมาย มีอุปมาการปฎิบัติตั้งแต่ต้นจนจบ ตอนกุมารกัสปะทูลถามปัญญหา ๑๕ ข้อ
viewtopic.php?f=7&t=24998
ต้องทำปัญญาให้เกิดก่อน องค์ธรรมอื่นๆ ก็จะเกิดตามมาได้ง่ายๆ


มันไม่ขัดกันหรือครับที่ท่านบอกว่าเป้าหมายคือปัญญา แล้วท่านก็บอกว่าปัญญาเกิดก่อน เมื่อปัญญาเกิดท่านจะต้องการองค์ธรรมอื่นอีกทำไม ช่วยขยายความให้ฟังหน่อยครับ




Quote Tipitaka:
หลักในการวิปัสสนาภาวนามีอยู่เพียงว่า ให้พิจารณาสิ่งที่มากระทบในปัจจุบันเท่านั้น ที่ผ่านไปก็ไม่ต้องไปคิด อนาคตก็ไม่ต้องไปนึกถึง


สองอันนี้มันไม่ขัดกันหรือคับที่ว่า "ให้พิจารณาสิ่งที่มากระทบปัจจุบัน" แต่พอมีสิ่งมากระทบท่านก็ใช้จินตมยปัญญา
Quote Tipitaka:
ใจคิดนึก ก็พิจารณาว่าความคิดนี้ไม่เที่ยงเกิดดับ ประกอบกับการพิจารณาตัวตนว่า ตัวฉันนั้นก็หนุ่มแก่เจ็บตาย หรือเมื่อเกิดเวทนาใดๆ เช่น โกรธ ก็พิจารณาว่า ความโกรธก็ไม่เที่ยง ฯ
ซึ่งอันนี้มันใช่ปัจจุบันจริงๆ หรือคับ อยู่ที่ปัจจุบันไม่ใช่การมีสติรู้อารมณ์ปัจจุบันหรือ เช่น เดินก็รู้ นั่งก็รู้ คิดก็รู้ ฯลฯ อีกอย่างปัญญาตัวนี้มันก็เสื่อมได้ไม่ใช่หรือ ท่านช่วยขยายความให้ผมอีกทีนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มันไม่ขัดกันหรือครับที่ท่านบอกว่าเป้าหมายคือปัญญา แล้วท่านก็บอกว่าปัญญาเกิดก่อน เมื่อปัญญาเกิดท่านจะต้องการองค์ธรรมอื่นอีกทำไม ช่วยขยายความให้ฟังหน่อยครับ

มันเกิดขึ้นมาเองครับ เหมือนปลูกข้าวอยากได้รวงข้าว ก็มีต้นข้าว เป็นผลพลอยได้ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย มันก็จะได้ไปเรื่อยๆ จนครบ ๓๗ ประการนั่นหละครับ
อ้างคำพูด:
สองอันนี้มันไม่ขัดกันหรือคับที่ว่า "ให้พิจารณาสิ่งที่มากระทบปัจจุบัน" แต่พอมีสิ่งมากระทบท่านก็ใช้จินตมยปัญญา

การพิจารณา เป็นการสร้างปัญญา ถ้าเราไม่พิจารณา ปัญญาก็ไม่เกิด ตอนปฏิบัติ ให้ลองดูว่าระหว่างการมองดูเฉยๆ จนเวทนาหายไปเอง กับการคิดพิจารณา แบบใหนเวทนาดับเร็วกว่ากัน

การพิจารณาตัวเองเป็นการพิจารณาขันธ์ ๕ ว่าเราต้องแก่เจ็บตาย เพื่อลดความยึดมั่นในกาย ให้ทำไปด้วยคู่ๆ กัน ก็จะได้พิจารณาทั้งขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ครบ

ผู้มีกำลังมาก อาจจะสามารถยังปัญญินทรีย์ให้เกิดได้ทันทีหลังจากการพิจารณาเพียงครั้งเดียว ได้โสดาปัตติผลเลยก็มีตามที่จารึกไว้ในสมัยพุทธกาล คนเราในปัจจุบัน ถ้าสามารถทำได้ภายใน ๗ วัน ก็ถือว่าเป็นผู้สั่งสมบุญญาบารมีมามากแล้ว

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มันเกิดขึ้นมาเองครับ เหมือนปลูกข้าวอยากได้รวงข้าว ก็มีต้นข้าว เป็นผลพลอยได้ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย มันก็จะได้ไปเรื่อยๆ จนครบ ๓๗ ประการนั่นหละครับ

ที่ท่านเรียกว่าวิปัสสนานำสมถะ คือรูปแบบอันนี้จัดอยู่ในการปฏิบัติรูปแบบไหนครับ
สมถะ 40 แล้วเจริญวิปัสสนาต่อ หรือ อานาปานะสติ หรือ สติปัฎฐาน 4 มี ตัวเลือกแค่นี้นะครับ

อ้างคำพูด:
การพิจารณา เป็นการสร้างปัญญา ถ้าเราไม่พิจารณา ปัญญาก็ไม่เกิด

อันนี้เป็นสมถะหรือ วิปัสสนาครับ

อ้างคำพูด:
ตอนปฏิบัติ ให้ลองดูว่าระหว่างการมองดูเฉยๆ จนเวทนาหายไปเอง กับการคิดพิจารณา แบบใหนเวทนาดับเร็วกว่ากัน


การหายของเวทนามันไม่น่าจะเกี่ยวกับการพิจารณาเลยนะครับ ถ้าเวทนามันจะหายมันก็หาย ถ้ามันจะไม่หายให้พิจารณาอย่างไรมันก็ไม่หาย จนกว่ามันจะหายไปเอง ถ้าพิจารณาแล้วเวทนาหายแสดงว่าเวทนานี้บังคับได้ยังงั้นหรือคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ) -> ศีล -> วิปปฏิสาร -> ปราโมทย์ -> ปีติ -> ปัสสัทธิ -> สุข -> สมาธิ -> ยถาภูตญาณทัสสนะ -> นิพพิทาวิราคะ -> วิมุตติญาณทัสสนะ

อ้างคำพูด:
สมถะ 40 แล้วเจริญวิปัสสนาต่อ หรือ อานาปานะสติ หรือ สติปัฎฐาน 4 มี ตัวเลือกแค่นี้นะครับ

ตรงนี้ไม่มีเขียนไว้ในพระไตรปิฎกแน่นอน สติปัฏฐาน ๕ เป็นการละสังโยชน์เบื้องสูง สมถะเป็นเครื่องอยู่สุขสำหรับพระอเสขะ ที่บอกว่าต้องเจริญสมถะก่อนจึงจะวิปัสสนาได้นั้นก็ไม่ได้มีเขียนไว้ในพระไตรปิฎกตรงใหนเลย

วิธีการที่ทำนี้เรียกว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
(พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค; ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา)

การพิจารณา เป็นการสร้างปัญญา เป็นการวิปัสสนา

ปัญญาที่ใช้สำหรับดับทุกข์ ต้องสามารถดับทุกข์ได้ทันที การตั้งสติพิจารณาจะสามารถดับทุกข์ได้ทันทีตอนนั้น ไม่ใช่ค่อยๆ ดับ ไม่ใช่ปล่อยให้มันทุเลาแล้วหายไปเอง นี่เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ค้นพบ การดับทุกข์นั้นจึงเป็นเรื่องง่ายๆ เป็นใบไม้ใบเดียวในป่าใหญ่ เป็นเพียงเส้นผมบังภูเขา

-------------------------------------------------------------------------------------
ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตโดยลำดับด้วยประการดังนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีวิปปฏิสาร ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอความปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่มีวิปปฏิสารนี้เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปราโมทย์ ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอปีติจงเกิดแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ปราโมทย์นี้เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้มีใจปีติ ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กายของบุคคลผู้มีใจมีปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีกายสงบ ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเสวยความสุข ข้อที่บุคคลผู้มีกายสงบเสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความสุขไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอจิตของเราจงตั้งมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของบุคคลผู้มีความสุขตั้งมั่นนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงรู้จงเห็นตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น รู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริง ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเบื่อหน่าย จงคลายกำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้รู้ผู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัด ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ นี้เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผลมีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีความปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผลมีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์เพื่อจากเตภูมิกวัฏอันมิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง คือ นิพพานด้วยประการดังนี้แล

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 01 ก.ย. 2009, 18:12, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณอายะก็คุยกับเขามาพักนึงแล้ว
น่าจะรู้ว่าเสียเวลาคุยนะ

ผมพูดตรงไปนิดนะ
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


คงจะต้องรบกวนคุณชาติสยามแล้วละครับ ตรงจุดใหนที่ผมแสดงแล้วผิดไปจากพระไตรปิฎก ก็รบกวนช่วยชี้แนะด้วยนะครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิธีการที่ทำนี้เรียกว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
(พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค; ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา)

การพิจารณา เป็นการสร้างปัญญา เป็นการวิปัสสนา


เมื่อท่านอ้างอย่างนี้ผมคงต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติมแล้วละครับ ถ้าไม่เป็นการรบกวนพอจะบอกหน้าได้ไหมครับ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค; ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา แต่ละอันหน้าไหนครับ

ผมก็ไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรมก็เลยไม่สามารถจะอ้างพระไตรปิฎกได้ คือจะอ้างจากการปฏิบัติและที่พระอาจารย์ได้สั่งสอนมา สิ่งที่เรียนก็เรียนเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติคือ อินทรีย์ 5 การปรับอินทรีย์ นิวรณ์ 5 แล้วก็วิปัสสนูกิเลส ในหัวผมมีเพียงเท่านี้ ทั้งหลายที่ผมคุยกับท่านเป็นเพราะผมมีความเห็นไม่ตรงกับท่านดังนี้คือ

1. ลำดับการเกิดขององค์ธรรมทั้งหลายต้องเกิดเป็นไปตามลำดับดังนี้คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เหตุผลเพราะศีลจะทำให้จิตไม่เศร้าหมองเมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สมาธิก็เกิดขึ้นง่าย เมื่อสมาธิเกิด ปััญญา ก็จะเกิดตามมาเองหลังจากจิตเห็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนันตา วนไปเวียนมาจากการกำหนดรู้ตามฐานทั้ง 4 หรือฐานใดฐานหนึ่ง ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอาศัยสติเป็นตัวนำ หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า สติ นำ สมาธิตาม ได้ผลลัพธ์คือ ปัญญา นั่นเองครับ


2. การพิจารณา ขันธ์ 5 เพื่อจะให้ได้โลกุตรปัญญานั้น ต้องอาศัยสมาธิในระดับอุปจารสมาธิ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจำเป็นต้องไปพักอยู่ในฌาณก่อนเพื่อให้จิตมีกำลัง(คือจิตที่เข้า็ฌาณนิวรณ์ก็ไม่สามารถทำร้ายได้ ทำให้จิตนิ่ง) แล้วค่อยถอนออกจากฌาณ(จิตที่เพิ่งถอยออกมาจากฌาณนิวรณ์ก็ยังไม่มารบกวน สติก็มีมากขึ้นกว่าเดิม ช่วงนี้เองปัญญาจะแหลมคมมาก) แล้วค่อยมาพิจารณาขันธ์ 5 จิตก็จะเห็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนันตา ได้ ดังนั้นการพิจารณาให้ได้ปัญญาที่แท้จริงนั้น ต้องอาศัยสมาธิเป็นฐานไม่ใช่รีบพิจารณา

3. จากข้อ 2. จะเห็นว่าต้องมี สติ ก่อน แล้วสมาธิจึงเกิด เมื่อสมาธิเกิด ปัญญาจึงเกิด ครับ ส่วนของท่านบอกว่าปัญญาเกิดเลย สมาธิ สติ ศีล เป็นแค่ผลพลอยได้ อันนี้เห็นไม่ตรงกัน 180 องศาเลยครับ

4.
อ้างคำพูด:
ปัญญาที่ใช้สำหรับดับทุกข์ ต้องสามารถดับทุกข์ได้ทันที การตั้งสติพิจารณาจะสามารถดับทุกข์ได้ทันทีตอนนั้น ไม่ใช่ค่อยๆ ดับ ไม่ใช่ปล่อยให้มันทุเลาแล้วหายไปเอง
อันนี้ก็เห็นไม่ตรงกันอย่างสิ้นเชิง ผมเห็นว่าความเร็วช้าของการดับทุกข์ขึ้นอยู่กับสติครับ คือว่า้ถ้าสติดีมากๆ ทุกข์ก็ไม่สามารถเข้ามาได้เปรียบเหมือนกำแพงป้องกัน แต่ถ้าสติอ่อนมาหน่อยเมื่อทุกข์เข้ามา ค่อยตั้งสติกำหนดรู้ แล้วทุกข์ก็จะหายไปเอง แต่ถ้าใช้โลกียะปัญญา ถ้าสติอ่อนไม่เพียงพอต่อให้ใช้ปัญญาอย่างไรก็ดับทุกข์ไม่ได้หรอกคับ ในทางปฏิบัติผมทดสอบมาแล้วครับช่วงไหนที่สติอ่อนโครตทุกข์เลยครับ

5. ปัญญาตามความหมายของผมอย่างแท้จริงนั้น คือปัญญาที่ใช้ตัดสังโยชน์ 10 ครับ อันนี้ผมถือเป็นเป้าหมาย และเป็นสุดยอดปัญญา เมื่อสังโยชน์โดนขุดรากถอนโคนออกไป กิเลสก็ไม่เกิด เมื่อกิเลสไม่เกิดทุกข์ก็ไม่เกิด ภพชาติ ก็สิ้นสุด

เจริญธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 01 ก.ย. 2009, 22:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
คงจะต้องรบกวนคุณชาติสยามแล้วละครับ ตรงจุดใหนที่ผมแสดงแล้วผิดไปจากพระไตรปิฎก ก็รบกวนช่วยชี้แนะด้วยนะครับ


แนะไม่ได้ เพราะดันไปแน่ใจว่าถูก

เมื่อไหร่มั่นใจว่าถูก เมื่อนั้นก็จบข่าวแล้ว

ไม่งั้นท่านไม่สอนหรอกว่า เชื่ออะไรก็ไม่ใช่เชื่อทั้งนั้น
แถมเมื่อปัจฉิมโอวาท ก็สั่งเสียอีกว่า"อย่าประมาท"

ปัจฉิมโอวาทนี้กว้างขวางมาก โดยเฉพาะคำว่า"ประมาท" มันกว้างขวางจริงๆ

ผมไม่ต้องวุ่นวายกับความเข้าใจของคุณหรอก
เดี๋ยวก็พัฒนาขึ้นเอง

อะไรที่เคยเตือนก็เตือนหมดแล้ว
ก็แล้วแต่เวรกรรมของแต่ละคนนะ

เพียงแต่ห่วงคุณอายะมาเสียเวลาสอนแคลคูลัสให้เด็กประถม มันเสียเวลา
(ไม่ได้ด่านะ เปรียบเทียบให้เข้าใจระดับเฉยๆ)


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 01 ก.ย. 2009, 22:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค - หน้าที่ 245

อ้างคำพูด:
อินทรีย์ 5 การปรับอินทรีย์ นิวรณ์ 5 แล้วก็วิปัสสนูกิเลส

ท้งหมดที่ว่ามาเป็นเรื่องของสมาธิ ผลก็คือความสงบและฌานอภิญญา ไม่มีอะไรเกี่ยวกับปัญญาที่จะนำมาดับทุกข์ได้ เป็นการหลบทุกข์ พระพุทธองค์ได้ได้ทำสมาธิจนถึงสมาบัติ ๘ เมื่อเห็นว่าไม่มีปัญญามาดับทุกข์ได้จึงลาอาจารย์ทั้ง ๒ มาวิปัสสนาจนตรัสรู้ได้ในที่สุด

ปัญญาที่เกิดจากสมาธิ คือ ปัญญายิ่ง เป็นการทำงานของจิต ปัญญาที่เกิดจากการวิปัสสนา เป็นปัญญารู้จริง เป็นการทำงานของเจตสิก ไม่เหมือนกัน เหมือนมะม่วงกับมะละกอ เอามาต่อยอดกันไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็ยังทำไม่ได้ คนทำสมาธิได้ฌานอภิญา ก็ต้องมาเริ่มต้นตั้งหน้าตั้งตาสร้างปัญญาดับทุกข์กันใหม่

อ้างคำพูด:
หลังจากจิตเห็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนันตา วนไปเวียนมาจากการกำหนดรู้ตามฐานทั้ง

โลภะ โทสะ โมหะ ปัญญา เป็นเจตสิกทั้งหมด ไม่ใช่จิต การกำหนดรู้แบบนี้ใช้สำหรับผู้ที่ได้สมาธิขั้นสูงมาก่อน ส่วนมากเป็นนักบวชศาสนาอื่น หากต้องการจะบวช พระพุทธองค์ไห้ปราวาส ๔ เดือนก่อนจึงจะบวชได้ และให้วิปัสสนาโดยพิจารณาการเกิดดับในองค์ฌาน เพราะว่า บุคคลเหล่านี้ได้ฌานมาก่อนแล้ว ในพระไตรปิฎกไม่ได้มีปรากฎให้สาวกมาทำสมาธิเพื่อจะมาวิปัสสนาแต่อย่างใด ไม่เชื่อก็ลองไปค้นดูได้

การรักษาศีล แล้วนั่งสมาธิ เพื่อได้ปัญญานั้น เป็นคำสอนของอาฬารดาบสและอุทกดาบส ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีในพระไตรปิฎกเรื่องการให้ปฏิบัติแนวนี้เลย ในพระไตรปิฎกจึงไม่ปรากฏการสอนรายละเอียดของการทำสมาธิ จะมีแต่การพูดถึงการใช้สมาธิ จะสอนเรื่องการเจริญปัญญาพิจารณาการเกิดดับ ตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ลองไปอ่านดู พระสูตรตั้งแต่เล่ม ๑ ถึงเล่ม ๑๖ กับแล่มที่ ๒๓ ถ้าสมาธิสำคัญต่อการได้มรรคผลทำไมในพระไตรปิฎกไม่มีรายละเอียดขั้นตอนการทำสมาธิตั้งแต่เริ่มจนจบ

คนธรรมดาไม่มีทางรักษาศีลให้บริสุทธิได้ พวกทำสมาธิถึงต้องหลบไปอยู่ในที่เร้น เพื่อหลีกเลี่ยงผสะ ที่เป็นเหตุทำให้ผิดศีล เพราะต้องการสมาธิ เพราะต้องการมีฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้

อ้างคำพูด:
สติ นำ สมาธิตาม ได้ผลลัพธ์คือ ปัญญา นั่นเองครับ

เรื่องทำนองนี้ไม่ได้มีต้นตอมาจากพระไตรปิฎก สาเหตุนั้นก็ลองตามๆ ศึกษากันดู ไม่ขอวิจารณ์

อ้างคำพูด:
การพิจารณา ขันธ์ 5 เพื่อจะให้ได้โลกุตรปัญญานั้น ต้องอาศัยสมาธิในระดับอุปจารสมาธิ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจำเป็นต้องไปพักอยู่ในฌาณก่อนเพื่อให้จิตมีกำลัง

อันนี้เป็นเรื่องการอธิฐานเพื่อแสดงฤทธิ์ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการเจริญปัญญา การเจริญปัญญาใช้ขณิกะสมาธิก็ทำได้

อ้างคำพูด:
สติ ก่อน แล้วสมาธิจึงเกิด เมื่อสมาธิเกิด ปัญญาจึงเกิด

สติไม่ใช่เป็นเหตุปัญญจัยของการเกิดสมาธิ สติเป็นเจตสิกที่ทำหน้าที่ดึงความทรงจำ(สัญญา)ออกมา คนปกติมีสติเพียงพออยู่แล้ว มันทำงานของมันตลอดเวลา คนสติไม่ดี ก็คือคนความจำบกพร่อง

อ้างคำพูด:
ท่านบอกว่าปัญญาเกิดเลย สมาธิ สติ ศีล เป็นแค่ผลพลอยได้ อันนี้เห็นไม่ตรงกัน 180 องศาเลยครับ

ผมไม่ได้บอก ผมเอาพระธรรมของพระพุทธองค์มาแสดงเท่านั้น ที่ยกพระสูตรมาให้อ่านเป็นการสนทนาระหว่างพระสัมมามัมพุทธเจ้ากับพระอานนท์

อ้างคำพูด:
ผมเห็นว่าความเร็วช้าของการดับทุกข์ขึ้นอยู่กับสติครับ

อันนี้ก็ถูก พอเกิดผสะ หรือเวทนา ก็ต้องใช้สติระลึกถึงข้อมูลที่เคยบันทึกไว้ในความทรงจำว่าจะวิปัสสนาเวทนานั้น อันที่จริงก็ต้องใช้พละ ๕ ให้ครบ (สรัทราพละ วิริยะพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ)

สัทธินทรีย์ด้วยความว่าน้อมไป วิริยินทรีย์ด้วยความว่าประคองไว้ สตินทรีย์ด้วยความว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์ด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์ด้วยความว่าเห็น ศรัทธาพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา วิริยพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน สติพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท สมาธิพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ

อ้างคำพูด:
ตั้งสติกำหนดรู้ แล้วทุกข์ก็จะหายไปเอง แต่ถ้าใช้โลกียะปัญญา ถ้าสติอ่อนไม่เพียงพอต่อให้ใช้ปัญญาอย่างไรก็ดับทุกข์ไม่ได้หรอกคับ ในทางปฏิบัติผมทดสอบมาแล้วครับช่วงไหนที่สติอ่อนโครตทุกข์เลยครับ

ปัญญาไม่ได้เกิดเอง ต้นตอของปัญญามาจากการพิจารณา คราวหน้าลองใหม่ ลองพิจารณาอย่างที่ผมบอก จะนึกในใจหรืออกเสียงก็ได้ แล้วเอาผลมาเล่าสู่กันฟัง

อ้างคำพูด:
ปัญญาตามความหมายของผมอย่างแท้จริงนั้น คือปัญญาที่ใช้ตัดสังโยชน์ 10 ครับ

ก็นั่นแหละ ตัวเดียวกันแหละ แต่ไม่ใช่ปัญญาที่เกิดจากสมาธินะ

ถ้าคุณปฏิบัติ ศีล สมาธิ(อัปนา) ปัญญา(ยิ่ง) แล้วมาวิปัสสนาต่อ ก็คือ คุณฝึกไปเป็นฤาษีสำเร็จก่อนแล้วจึงกลับมาเป็นพุทธ ยังมีเรื่องตาข่ายดักพรมหณ์ที่ยังต้องรู้อีก

แต่ถ้าคุณปกติให้ทาน ถือศีล มีสมาธิเกิดขึ้นเอง (กายใจสงบกว่าก่อนรักษาศีล) ไม่ได้ไปนั่งสมาธิ แล้วมาเจริญปัญญา ตรงนี้ถูกตามครรลองคลองธรรม

จะไม่เชื่อตามที่บอกมาก็ได้ ลองเอาพระไตรปิฎกมาอ่านดู พระสูตรถึง ๑ ถึงเล่ม ๑๖ ถ้ามีตรงใหนที่เอามาแสดงไม่มีในพระไตรปิฎกหรือขัดแย้งกับพระไตรปิฎกก็กลับมาต่อว่าได้

ผลการเจริญสติปัฏฐานสี่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใด ผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น พระอนาคามี ๑ ฯ


ลองแปลประโยคง่ายๆ นี้นะครับ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากาม สงัดจากอกุศลกรรม เกิดปิติสุข บรรลุปฐมฌาน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 02 ก.ย. 2009, 18:40, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 01:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2071.jpg
2071.jpg [ 32.54 KiB | เปิดดู 5723 ครั้ง ]
ญานที่ ๓๑ : วิหารสมาปัตตัฏฐญาณ





ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ



ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณอย่างไร


พระโยคาวจร.....

.....พิจารณาเห็น “สังขารนิมิต” โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ

.....พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ

.....พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ


เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เนื่องจากว่าท่านแตกประเด็นออกไปมากมาย แล้วผมจะค่อยๆ ไล่และตอบแต่ละประเด็นต่อไป นะครับ

คราวนี้มาคำถามหลักของเจ้าของกระทู้ก่อน ที่ว่าเมื่อสติกล้าแล้ว นอนไม่หลับต้องแก้ด้วยสมถะ อันนี้ยอมรับไหมครับ การแก้ด้วยการใส่บาตรพระเป็นการแก้ไม่ตรงเหตุ อันนี้ยอมรับหรือไม่ครับ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายครับ

ผมอยากรู้ว่าวิธีการปฏิบัติของท่านตามที่ท่านกล่าวแบบนี้ท่านปฏิบัติจากสำนักไหนครับ มีพระอาจารย์คอยกำกับดูแลหรือไม่ หรือท่านปฏิบัติตามพระไตรปิฏกตามที่ท่านตีความ และท่านไปเรียนพระอภิธรรมจากที่ไหน โปรดเผยแพร่เป็นธรรมธานด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ย. 2008, 22:30
โพสต์: 222

ที่อยู่: เวียนว่ายในวัฏสงสาร (-_-!)

 ข้อมูลส่วนตัว


cool ขออภัยที่ไม่ได้เข้ามา รายงานความคืบหน้าขอรับ smiley
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจและคำแนะนำขอรับ :b4:

ทุกวันนี้.....กินอิ่มนอนอุ่น หุ่นอวบอั๋น.... :b17: :b20:

นอนหลับได้สบาย..ขอรับ.... :b4: เริ่มแรกก็ลอง ลดเวลาทำเดินจงกลม+สมาธิลงเหลื่อ 15 นาที
จนพอดีพี่สาวมานอนด้วย...เลยไม่ได้ปฏิบัติธรรม :b5: สวดมนต์อย่างเดียว 2 คืน.....ผลที่ได้....สบายดี..นอนอืด... :b30: :b30: ... :b12: :b16: แล้วกลับมาปฏิบัติใหม่ก็ นอนได้สบายขึ้นขอรับ :b6: แต่จะไม่เพ็งสมาธิมากเกินไป.....ขอรับ

ขอบคุณทุกคำแนะนำนะขอรับ......กระผมสบายดีเล้น....... smiley ขอบคุณสหายธรรมที่ดีทุกท่านขอรับ :b19:

.....................................................
ขอประสบความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


นอนไม่หลับก็กินยานอนหลับ นี่เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ เพราะมีสมมุติฐานว่าเป็นเพราะระบบร่างกาย
สติมากสมถะน้อยก็เพิ่มสมถะ เพราะมีสมมุติฐานว่าเป็นพเราะสติมาก ทำให้ร่างกายขาดสมดุลย์
ถ้าจะถามต่อไปว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้สติมาก ใครมีความรู้ก็ช่วยตอบด้วย? :b12:

การพักโดยมีสติของพะรอริยะเจ้าต่างกันกับอาการนอนไม่หลับ เพราะจิตตื่นแต่กายหลับ กายได้พักเต็มที่

ฐานคติของผมก็คือ ออกรบก็ต้องมีเกราะ ไปรอให้ได้เแผลแล้วมารักษาเป็นทีๆ ไป ชอบก็เอา ผมไม่เอาด้วยคนละ :b4:

บารมี ๑๐ เป็นเหตุเป็นปัจจัยในการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการเจริญปัญญาหรือเจริญความสงบ หากองค์ธรรมที่มาประชุมรวมในผู้นั้นไม่บริบูรณ์ประการใด การจะปฏิบัติจนได้ผลนั้นยากเป็นสังขัด ปัญหาอุปสรรค์จะตามมาจนรับไม่หวาดไม่ใหว ไม่มีอะไรให้ผู้ไม่หวังดีกลัวหรือเกรงใจ

ทานให้สงฆ์โดยการใส่บาตรเช้าไม่ไช่ว่าจะได้แต่โภคทรัพย์ ได้มากกว่าที่ท่านคิดเยอะ

กล่าวง่ายๆ ก็คือ การปฏิบัติธรรมต้องอาศัยกำลังบุญ เป็นการป้องกันและรักษาทางอ้อม และต้องถือศีล เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่จะป้องการการทำบาป อย่างน้อยก็บาปหนักๆ คนถือศีลขยาดกลัวที่จะทำอกุศลกรรมทั้งปวง

เปรียบง่ายๆ ว่า ร่างกายแข็งแรงก็ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน พวกท่านว่ารักษาตามอาการ ผมบอกว่าให้วัคซีน
------------------------------------------------------------------------------

เรื่องการปฏิบัติ เริ่มจากมีบุคคลผู้หนึ่ง ชื่อคุณสินธพ ทรวงแก้ว ได้ใช้เวลาว่างจากงานมาอ่านพระไตรปิฎก โดยไปขอยืมพระไตรปิฎกจากวัดมาอ่าน เจ้าอาวาสบอกว่าเอาไปเลย เพราะไม่มีใครอ่าน (เก็บมาหลายปีแต่ใหม่กิ๊ก) หลังจากอ่านจนจบ ก็หาเงินซื้อมาเป็นของส่วนตัว อ่านอีก 5 รอบ จนจบครบ 6 รอบ จากนั้นก็ปฏิบัติตามที่ได้ศึกษามาโดยตรงจากพระไตรปิฎก คือ การพิจารณาขันธ์ 5 อินทรีย์ 6 จนได้โสดาบัน เมื่อ พ.ศ. 2525 เมื่อปฏิบัติต่มาเรื่อยๆ อีก 20 ปี ก็เกิดฌานทัศนะ จากนั้นจึงเริ่มนำสิ่งที่คนได้ปฏิบัติมาเผยแพร่

ผมใช้เวลาประมาณ 8 เดือนอ่านพระสูตรจนจบ โดยการแนะแนวทางของอาจารย์สินธพ โดยเฉพาะเรื่องใครพูด ใครฟัง พูดเรื่องอะไร เพื่ออะไร หากท่านมีความสนใจในพระธรรมจริง ต้องอ่านโดยตรงจากพระไตรปิฎก อ่านให้จบ อย่าอ่านข้ามไปข้ามมา จะทราบถึงพระธรมของพระพุทธองค์ที่เป็นจริงแท้

คนนั่งสมาธิจนได้ฌานสมาบัติ กับคนที่ไม่นั่งสมาธิมาเลย มาวิปัสสนแนวใดแนวหนึ่งวันเดียวกัน เริ่มพร้อมกัน มีฐานะทางธรรมไม่แตกต่างกันเลย คือ เพิ่งมายื่นใบสมัครเรียนและเข้าห้องเรียนวันเดียวกัน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 03 ก.ย. 2009, 21:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 00:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เพราะมีสมมุติฐานว่าเป็นเพราะระบบร่างกายสติมากสมถะน้อยก็เพิ่มสมถะ เพราะมีสมมุติฐานว่าเป็นพเราะสติมาก ทำให้ร่างกายขาดสมดุลย์ถ้าจะถามต่อไปว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้สติมาก ใครมีความรู้ก็ช่วยตอบด้วย?

ทำไมท่านไม่ลองอ้างอิงจากพระไตรปิฏกดูบ้างครับ อันนี้เป็นเรื่องปกติที่ผู้ปฏิบัติแนวปัญญานำสมาธิจะพึงเจอนะครับ ผมจะพยายามหาหลักฐานอ้างอิงจาำกพระไตรฺปิฏกมาให้นะครับ เมื่อเจริญสติต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จะทำให้สติมากขึ้นตามลำดับ คือจะมากจนกระทั่งขณะที่หลับไม่ฝัน จะพลิกตัวก็รู้ จะยกแขนมาไว้ที่หน้าอกก็รู้ มีเสียงอะไรก็ได้ยิน โดยการสังเกตุอริยาบทเคลื่อนไหวจะทำให้สติเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อริยาบทนั่งจะทำให้สมาธิเพิ่มได้มาก นี่คือสาเหตุให้ ลดการเดิน แล้วเพิ่มสมถะ จะทำให้หลับได้

อ้างคำพูด:
บารมี ๑๐ เป็นเหตุเป็นปัจจัยในการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการเจริญปัญญาหรือเจริญความสงบ หากองค์ธรรมที่มาประชุมรวมในผู้นั้นไม่บริบูรณ์ประการใด การจะปฏิบัติจนได้ผลนั้นยากเป็นสังขัด ปัญหาอุปสรรค์จะตามมาจนรับไม่หวาดไม่ใหว ไม่มีอะไรให้ผู้ไม่หวังดีกลัวหรือเกรงใจ
ทานให้สงฆ์โดยการใส่บาตรเช้าไม่ไช่ว่าจะได้แต่โภคทรัพย์ ได้มากกว่าที่ท่านคิดเยอะ
กล่าว ง่ายๆ ก็คือ การปฏิบัติธรรมต้องอาศัยกำลังบุญ เป็นการป้องกันและรักษาทางอ้อม และต้องถือศีล เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่จะป้องการการทำบาป อย่างน้อยก็บาปหนักๆ คนถือศีลขยาดกลัวที่จะทำอกุศลกรรมทั้งปวงปรียบง่ายๆ ว่า ร่างกายแข็งแรงก็ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน พวกท่านว่ารักษาตามอาการ ผมบอกว่าให้วัคซีน
โดยพื้นฐานแล้วผู้ปฏิบัติก็จะทำบุญเป็น default อยู่แล้วครับท่านไม่น่าห่วงเรื่องนี้ ผมก็ทำอยู่ครับ ทานแม้เพียงเล็กน้อยผมก็ไม่ประมาทครับ


เพื่อเป็นธรรมทานแก่ผมและท่านอื่น ท่านช่วยบอกรูปแบบการปฏิบัติของท่านแบบละเอียดได้ไหมคับ

1 มีเดินจงกรมหรือไม่ ถ้ามีทำอย่างไร เพราะอะไร
2 นั่งกำหนดอย่างไร มีบริกรรมไหม ถ้ามีบริกรรมอย่างไร เอาจิตไปไว้ที่ไหน เพราะอะไร
3 อริยาบทย่อย ตอนไม่เดินจงกลมและนั่งกำหนดทำอย่างไร เพราะอะไร
4 ปฏิบัติไปสามารถละกิเลสหยาบๆ บ้างไหมครัเช่น เลิกฟังเพลง เลิกติดในรสอาหาร กินง่ายอยู่ง่ายขึ้น ฯลฯ
5 ท่านอ้างอิงพระสูตรไหนในการปฏิบัติ และท่านตีความจากพระสูตรอย่างไร
ุ6 การพิจารณาขันธ์ 5 อินทรีย์ 6 ที่ท่านอ้างถึงนั้น อันนี้เป็นทางสายเอกใช่ไหมครับ และเป็นสติปัฏฐาน ๔ ด้้วยใช่ไหมครับ
ึึ7 เกิดฌานทัศนะ อันเรียกว่าปัญญาที่ใช้ตัดสังโยชน์ใช่ไหมครับ หรือเป็นอภิญญา
8 เราจะรู้ได้อย่างไรว่าบุคคลๆ หนึ่งสำเร็จเป็นอริยะบุคคล ผู้ที่สำเร็จท่านประกาศตัวเอง หรือคนอื่นประกาศให้ ถ้าไม่ทั้งสองอย่างท่านมีวิธีสังเกตุ พิจารณา วิเคราะห์อย่างไร

เจริญธรรมคับ


.............................................
กระทู้ที่ติดไว้มีประเด็นประมาณนี้คือ
อ้างคำพูด:
อินทรีย์ 5 การปรับอินทรีย์ นิวรณ์ 5 แล้วก็วิปัสสนูกิเลส
ท้ง หมดที่ว่ามาเป็นเรื่องของสมาธิ ผลก็คือความสงบและฌานอภิญญา ไม่มีอะไรเกี่ยวกับปัญญาที่จะนำมาดับทุกข์ได้ เป็นการหลบทุกข์ พระพุทธองค์ได้ได้ทำสมาธิจนถึงสมาบัติ ๘ เมื่อเห็นว่าไม่มีปัญญามาดับทุกข์ได้จึงลาอาจารย์ทั้ง ๒ มาวิปัสสนาจนตรัสรู้ได้ในที่สุด

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑
สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๕๐๖๑ - ๕๐๖๓. หน้าที่ ๒๑๑.

ปฏิบัติทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อตัวนี้ละครับ "ปัญญินทรีย์" นี่แหละครับที่ผมเข้าใจว่าปัญญาที่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนันตา เพื่อจะตัดสังโยชน์ หวังว่าคงไม่เห็นผมเป็นผู้นอกรีดนะครับแล้วทำไมอ้างว่าเป็นพวกฤาษีลองอ้างพระสูตรมาบ้างซิครับ อีกอย่างกรุณาอย่าไปติติงท่านผู้สำเร็จฌาณอภิญญา เพราะท่านพวกนี้สมาธิดีเหมือนต้นทุนเยอะ ถ้าหันมาเจริญปัญญาจะสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว ดูอย่างที่พระพุทธองค์อุทาน ถ้าอาจารย์ทั้งสองของท่านได้ฟังธรรมเพียงนิดเีดียวก็จะสามารถบรรลุธรรมได้ คนเราจริตไม่เหมือนกันนะครับ

อ้างคำพูด:
เห็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนันตา วนไปเวียนมาจากการกำหนดรู้ตามฐานทั้ง 4

โล ภะ โทสะ โมหะ ปัญญา เป็นเจตสิกทั้งหมด ไม่ใช่จิต การกำหนดรู้แบบนี้ใช้สำหรับผู้ที่ได้สมาธิขั้นสูงมาก่อน ส่วนมากเป็นนักบวชศาสนาอื่น


ผมบอกว่าบุคคลที่จะบรรลุธรรมได้ปัญญาที่ใช้ตัดสังโยชน์นั้นต้องใ้ช้สามตัวนี้เ่ท่านั้น คือ "อนิจจัง ทุกข์ขัง อนันตา" ตัวใดตัวหนึ่ง อันนี้ท่านยอมรับหรือไม่ ไม่ใช่ "โล ภะ โทสะ โมหะ " อย่างที่ท่านกล่าว นี่คืออุบายให้จิตคลายสังโยชน์ทั้ง 10 โดยขันธ์ 5 ที่ท่านพิจารณาอยู่ก็ไม่พ้นสามตัวนี้ไม่ใช่เหรอครับ

อ้างคำพูด:
ถ้าสมาธิสำคัญต่อการได้มรรคผลทำไมในพระไตรปิฎกไม่มีรายละเอียดขั้นตอนการทำสมาธิตั้งแต่เริ่มจนจบ


ผมไม่ได้กล่าวเลยว่าสมาธิอย่างเดียวจะสามารถทำให้ได้มรรคผลได้ท่านกรุณาตีความให้รอบคอบ แต่การบรรลุธรรมจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องใช้สมาธิเป็นฐานไม่มากก็น้อย เพราะสมาธิทำให้นิวรณ์ระงับ เมื่อนิวรณ์ระงับแล้วค่อยพิจารณามันจะไม่ดีอย่างไรครับ

อ้างคำพูด:
สติ นำ สมาธิตาม ได้ผลลัพธ์คือ ปัญญา นั่นเองครับ

เรื่องทำนองนี้ไม่ได้มีต้นตอมาจากพระไตรปิฎก สาเหตุนั้นก็ลองตามๆ ศึกษากันดู ไม่ขอวิจารณ์


เรื่องทำนองนี้เกิดขึ้นแล้วครับ แจ่มด้วยคับ

[๔๐๑] ธรรม ๔ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน ๔ ดูกรผู้มี
อายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
ความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
ความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ

ความผิดพลาดของท่านอยู่ที่การตีความต่างหากละครับ ในทางปฏิบัติไม่ว่าทำสมถะ หรือวิปัสสนา ล้วนต้องใช้สติ ทั้งสิ้น เืมื่อสติเกิดสมาธิก็เกิด เมื่อสมาธิเกิดก็อย่างที่กล่าวไปแล้วนะครับ

อ้างคำพูด:
การพิจารณา ขันธ์ 5 เพื่อจะให้ได้โลกุตรปัญญานั้น ต้องอาศัยสมาธิในระดับอุปจารสมาธิ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจำเป็นต้องไปพักอยู่ในฌาณก่อนเพื่อให้จิตมีกำลัง

อันนี้เป็นเรื่องการอธิฐานเพื่อแสดงฤทธิ์ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการเจริญปัญญา การเจริญปัญญาใช้ขณิกะสมาธิก็ทำได้


ไม่เกี่ยวกับฤทธิ์เลยคับท่าน เพียงแต่ผมจะเปรียบเีทียบให้ฟังว่าขณะท่านเดินคุยกับเพื่อนอยู่แล้วก็พิจารณาขันธ์ 5 ไปด้วย (ขณิกะ) กับนั่งกำหนดอยู่แล้วสามารถได้อุปจาระ แล้วก็พิจารณาขันธ์ 5 ตัวเดียวกัน อันไหนปัญญาจะเกิดง่ายกว่ากันคับ อันไหนดีกว่ากัน ตอบมาให้ชัดนะครับ


อ้างคำพูด:
ท่านบอกว่าปัญญาเกิดเลย สมาธิ สติ ศีล เป็นแค่ผลพลอยได้ อันนี้เห็นไม่ตรงกัน 180 องศาเลยครับ
ผมไม่ได้บอก ผมเอาพระธรรมของพระพุทธองค์มาแสดงเท่านั้น ที่ยกพระสูตรมาให้อ่านเป็นการสนทนาระหว่างพระสัมมามัมพุทธเจ้ากับพระอานนท์


แล้วท่านเข้าใจว่าอย่างไร ท่านตีความว่าอย่างไรครับ เอาที่ท่านเข้าใจนะครับ
อ้างคำพูด:
ปัญญาไม่ได้เกิดเอง ต้นตอของปัญญามาจากการพิจารณา คราวหน้าลองใหม่ ลองพิจารณาอย่างที่ผมบอก จะนึกในใจหรืออกเสียงก็ได้ แล้วเอาผลมาเล่าสู่กันฟัง


ทำแล้วสู้สติไม่ได้ และก็เอามาใช้ไม่ทันด้วยครับ อยู่ดีๆ มีดบาดนิ้ว ผมกำหนดเจ็บหนอๆ ๆๆ มันก็เจ็บแต่ไม่ทรมาน กลับกันพิจารณาว่านิ้วมันไม่เที่ยง เลือดที่ไหลก็ไม่เที่ยง ความปวดมันไม่เที่ยง แต่สติไม่ดีก็เลยพิจารณาไม่ทัน ทรมานมากคับ

ผมกับท่านต่างอ้างว่าปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานสี่เหมือนกัน แต่วิธีปฏิบัีิติ และความเข้าใจต่างกันสิ้นเชิงอาจมีคนใดคนหนึ่งผิดแน่นอนซึ่งอาจจะเป็นผมก็ได้ วิธีการปฏิบัติของผมคือ ปฏิบัติตามครูบาอาจารย์ ซึ่งตรงกับพระสูตรข้างต้น (ธรรม ๔ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน ๔ )
ปวด ก็รู้ว่าปวด ได้ยินก็รู้ว่าได้ยิน เดินก็รู้ว่าเดิน เห็นก็รู้ว่าเห็น พองก็รู้ว่าพอง ยุบก็รู้ว่ายุบ คิดก็รู้ว่าคิด ไม่มีการพิจารณาใดๆ ทั้งสิ้น ผมทำอย่างนี้ผิดหรือไม่ อย่างไร เพราะอะไร

เจริญธรรมคับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 89 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร