วันเวลาปัจจุบัน 14 ม.ค. 2025, 05:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 125 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ดู และ เดา เอาว่า มีมาก ที่ กลัวติดฌาณ
ว่ากันไปเลยครับ ทุกท่าน :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านหลับอยู่

อานิสงส์ ติดสุขในฌาน
ติดสุขในฌานย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มากครับ

ผู้ใดกล่าวว่า การติดสุขในฌานไม่มีผลไม่มีอานิสงส์ ย่อมเป็นการบัญญัติอธรรมขึ้นมาแสดงเอง
เพราะไปหลงเชื่อตามคัมภีร์ที่แต่งขึ้นมาในชั้นหลัง

Quote Tipitaka:
[๑๑๔] ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวายในการประกอบ
ตนให้ติดเนื่องในความสุขอยู่ ดังนี้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 14:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔
ประการเหล่านี้ เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่ของพระอริยะ

การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้
คนพาลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์แล้วยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๑

คนพาลบางคนในโลกนี้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว ยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๒

คนพาลบางคนในโลกนี้ กล่าวเท็จแล้ว ยังตนให้ถึงความสุขให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้
ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๓

คนพาลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เพรียบพร้อมพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณทั้ง ๕ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๔

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูกรจุนทะการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
หน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

๔ ประการเป็นไฉน

ดูกรจุนทะภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๑

ดูกรจุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๒

ดูกรจุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ข้อที่ ๓

ดูกรจุนทะ ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๔

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามมักเกิดขึ้นสำหรับผู้ปฏิับัติแนวทางนอกพระไตรปิฎก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รู้ผิดๆ เกี่ยวกับสุขวิปัสสโกเป็นต้น ที่คิดว่าฌาน เป็นสิ่งที่ห้ามปัญญา

สาธุชน พิจารณาตามพุทธวจนะเถิด


Quote Tipitaka:
[๑๑๖] ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ก็เมื่อพวกท่านประกอบตนให้ติดเนื่อง
ในความสุข ๔ ประการเหล่านี้อยู่ ผลกี่ประการ อานิสงส์กี่ประการ อันท่าน
ทั้งหลายพึงหวังได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส เมื่อพวกเราประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่ ผล ๔ ประการอานิสงส์ ๔ ประการ อันพวกเราพึงหวังได้

๔ ประการเป็นไฉน

ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้จะเป็นพระโสดาบันมีอันไม่ต้องตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในภายหน้าเพราะสังโยชน์สามสิ้นไป ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๑ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑

ดูกรอาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะเป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สุด
แห่งทุกข์ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป และเพราะความที่ ราคะ โทสะ โมหะ
เบาบางข้อนี้เป็นผลประการที่ ๒ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒

ดูกรอาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะเป็นอุปปาติกะ [เป็นพระอนาคามี] ผู้จะปรินิพพานในภพนั้น
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ทั้ง ๕ สิ้นไป
ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๓ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓

ดูกรอาวุโส ข้ออื่นยังมีอีกภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๔เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔

ดูกรอาวุโส เมื่อพวกเราเป็นผู้ประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่ ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการเหล่านี้อันพวกเราพึงหวังได้ ดังนี้ ฯ


นี่คือพุทธวจนะอันไม่พึงจะมีผู้ใดปฏิเสธ

อ้างอิงจาก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๖. ปาสาทิกสูตร (๒๙)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 14:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
เทวทหวรรค
๑. เทวทหสูตร (๑๐๑)


[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ความพยายามจึงจะมีผล ความเพียรจึงจะมีผล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑
ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ๑
ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความสุขนั้น ๑

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณเช่นนั้น ที่จริง ในพระไตรปิฏก มีเยอะ ที่สนับสนุน ฌาณ
แต่กระทู้นี้ผม ไม่อยากลอก พุทธพจน์มาแล้ว
รอลอกของคุณเช่นนั้น ไปใช้ดีกว่า :b13: ไม่ว่ากันนะครับ เพราะเคยลอกไปแล้ว
อนุโมทนา :b8: :b8: :b8:
ส่วนตัว ผมว่า แฟชั่นเดี๋ยวนี้ไปเล่นตัว รู้ บางคนเข้าใจไปว่า คือ ปัญญา :b10:
แต่ ไม่มีศีล สมาธิ เลย ครับ คงไม่งงนะ :b10: ผมเข้าใจพวกเขานะ แต่ ก้อยากให้พวกเขาเข้าใจ พุทธพจน์
ครูบาอาจารย์ของผม ท่านยังบอกให้ เข้าปฐมฌาณให้ได้เลยง่ะ :b34:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 19:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น จี้ เข้า ประเด้นได้ เยี่ยมครับ เรื่องการเข้าใจผิด ในแนว สุขวิปัสสโก
:b8:
ตรงๆ คือ ว่าผมไปอ่าน ตำราของ...(ขอสงวนนาม) การเข้าส่งจิตเข้าใน การเข้าฌาณ ในการสอนของเขาผมอ่านแล้ว คือ วิปัสนูปกิเลส
งงไหมครับ :b5: :b5: :b5:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 20:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามมักเกิดขึ้นสำหรับผู้ปฏิับัติแนวทางนอกพระไตรปิฎก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รู้ผิดๆ เกี่ยวกับสุขวิปัสสโกเป็นต้น ที่คิดว่าฌาน เป็นสิ่งที่ห้ามปัญญา

นี่แหละครับประเด็น
ที่ผมเดาเอาว่าสิ่งที่พวกเขาเข้าใจนั้นคือปัญญา(คิดๆรู้ๆ (รู้ก็รู้ไม่จริง คิดก็คิดผิด หากคิดว่าฌาณไม่ดี))
ติดแฟชั่นค่านิยม ปราชญ์ตะวันตกมากไปหรือเปล่า :b5: Onion_L
Onion_L Onion_L Onion_L


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 20:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
คำถามมักเกิดขึ้นสำหรับผู้ปฏิับัติแนวทางนอกพระไตรปิฎก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รู้ผิดๆ เกี่ยวกับสุขวิปัสสโกเป็นต้น ที่คิดว่าฌาน เป็นสิ่งที่ห้ามปัญญา

นี่แหละครับประเด็น
ที่ผมเดาเอาว่าสิ่งที่พวกเขาเข้าใจนั้นคือปัญญา
ติดแฟชั่นค่านิยม ปราชญ์ตะวันตกมากไปหรือเปล่า


หลับอยุ่ เขียน:
ส่วนตัว ผมว่า แฟชั่นเดี๋ยวนี้ไปเล่นตัว รู้ บางคนเข้าใจไปว่า คือ ปัญญา :b10:
แต่ ไม่มีศีล สมาธิ เลย ครับ คงไม่งงนะ :b10: ผมเข้าใจพวกเขานะ แต่ ก้อยากให้พวกเขาเข้าใจ พุทธพจน์
ครูบาอาจารย์ของผม ท่านยังบอกให้ เข้าปฐมฌาณให้ได้เลยง่ะ :b34:




:b8: :b8: :b8: :b35: :b35: :b35:

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมๆ
วันนี้ครูบาอาจารย์ของผม(อุบาสิกา ท่านไปยิ่งกว่าฌาณ16 ตั้งนานแล้วขอสงวนนามนั่งสมาธิจน กระดูกสันหลังละลายไป2ข้อ หมอ งง ว่า มีชีวิตอยู่ได้ยังไง ฤทธฺิ์ เดชท่านเยอะ แค่คิดเฉยๆ เดี๋ยวท่านก็ สอนมา ลูกศิษย์คนอื่นอาจ งง ว่าท่านพูดเรื่องอะไร แต่ บางอย่าง ต้องผ่านไปหลายวันผมถึงนึกออก)
ท่านว่า ความสบาย เป็นมารร้าย(อนุสัยส่วนตัวผม ชอบแบบนั้นอยู่แล้ว) คง หมายถึง พุทธพจน์ ข้างบนที่คุณเช่นนั้น ยกมาแน่ๆเลย
แล้ว ชีวิตนี้ของผม ถือว่า เป็นบุญ ได้เจอนักปฏิบัติ ทรงภูมิธรรม มาเยอะอภิญญามาก จัดว่าพอสมควร(ขี้เกียจเล่า) แต่ พอเจอ แฟชั่นยุคนี้ ที่เขาว่า ธรรมะ ผม คิดว่า คงเป็น ธรรมดำ หรือไม่ก็ อัพยากตาธรรม มากกว่า
พวกนี้คิดว่า การเข้าฌาณ สุดโต่ง(ไม่รู้ใครสุดโต่งกันแน่?) น่ากลัว ลำบาก ๆลๆ บางทีลามไปถึง อานาปาน ว่า ยาก
ผมว่า มันไปกันใหญ่แล้วนะ เขาจะมา พิจารณาพุทธพจน์กันหรือ???
แฟชั่น แนวนี้ การปฏิบัติ คือ แบบที่เรารู้กันนั่นแหละ คิดๆ รู้ๆ ก็บรรลุ( คิดได้ไงง่ะ)
Onion_L Onion_L Onion_L Onion_L Onion_L


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 21:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อๆๆๆ
สายที่ว่า ส่งจิตเข้าใน เข้าฌาณ เป็นวิปัสสนูปกิเลส
ผมเดาว่า มีคนเชื่อเยอะมากด้วย(คิดว่าเดาไม่ผิด)
:b5: :b5: :b5: :b5: :b5: :b5: :b5:
ขอส่อเสียดหน่อย แฟชั่นระบาดนี้ ผมขอเรียกว่า....
ปริพาชก 2012
:b32: :b32: :b32:

Onion_L Onion_L Onion_L Onion_L Onion_L :b13:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 29 ธ.ค. 2009, 14:50, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้เก่าๆ ก็ คุยกันมากแล้ว

เห็นด้วยกับทุกท่าน ที่ท่านเห็นด้วยกับพระพุทธพจน์... :b8:



เวลาพูดถึงเรื่อง ความน่ากลัว ของฌาน :b5:

ต้องแบกออกเป็นสอง คือ โลกียฌาน และ โลกุตระฌาน เสียก่อน

ไม่งั้น... จะคุยกันคนล่ะเรื่อง

คุยถึงเรื่อง โลกียฌาน อยู่ดีๆ ถ้าเผลอไปเอา โลกุตระฌาน มากล่าวแทน.... เดี๋ยว งง

หรือ คุยกันถึงเรื่อง โลกุตระฌาน(ที่สืบเนื่องจากการเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน)อยู่ดีๆ ถ้าเผลอไปเอา โลกียฌาน มากล่าวแทน.... เดี๋ยว ก็งง เช่นกัน

ถึง โลกียฌาน กับ โลกุตระฌาน จะมีลักษณะขององค์ประกอบหลักของฌานคล้ายๆกัน แต่ เหตุนำไปสู่ และ ผลที่จะติดตามมา นั้น ....แตกต่างกัน

ถ้าขืน ใครบอกว่า โลกุตระฌาน น่ากลัว :b6: ...ผมก็คงของดการเสวนาน่ะครับ เพราะ เป็นการสวนพระพุทธโอวาทอย่างแรง

ด้วย โลกุตระฌาน นั้น เป็นองค์แห่งมรรค ที่ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "พึงเจริญ" ....หาใช่ว่า "พึงกลัว"




ที่จะคุยต่อไปนี้ จึงขอคุยเฉพาะ โลกียฌาน

ใน สถานการณ์ กระแสอันเชี่ยวกราก... ที่ชาวพุทธปัจจุบัน เห็นสุขจากสมาธิที่ปราศจากกาม เป็นของที่น่ากลัวกว่าสุขจากกาม ...ไปเสียแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เสนอ เพ่งเล็ง สมาธิภาวนา4ประเภท ตาม พระบาลี โรหิตัสวรรค



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑

๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
เป็นไฉน คือ

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑




สมาธิภาวนาที่เกี่ยวกับ ฌาน ซึ่งอาจจะมีผลเสียได้จริง...ถ้า มัวแต่เพลินกับผลของสมาธิ จนไม่นำผลนั้นๆมาสนับสนุนการเกิดปัญญา คือ

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่

และ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่




ซึ่ง ถ้าจะกล่าวระบุถึงเรื่อง การติดสุขจากสมาธิ ที่อาจเกิดขึ้นได้... ก็ต้องชี้ระบุไปยังข้อ1 คือ สมาธิภาวนาเพื่อเป็นเครื่องอยู่สุขในปัจจุบัน(ทิฏฐธรรมสุขวิหาร)

ส่วน ข้อ2นั้น ถ้าเกิดหลงเพลิน ก็จะไปกลายเป็นหลงสำคัญตนเป็นผู้วิเศษ...เป็นปัญหาไปอีกแบบหนึ่ง





( ปล...

ส่วน สมาธิภาวนาประเภทที่3 นั้น ก็คือ สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ เป็นลักษณะใช้สมาธิมาช่วยเจริญสติรู้แจ้ง ใน สัญญา เวทนา และ วิตก ที่เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป

และ สมาธิภาวนาประเภทที่4นั้น ท่านผู้รู้ชี้ว่า นั้นเป็น สัมมาสมาธิในองค์มรรค โดยตรง

สมาธิภาวนาประเภทที่3 และ 4 นี้ จึงไม่อยู่ในประเด็นที่สนทนา ครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 125 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร