วันเวลาปัจจุบัน 14 ต.ค. 2024, 14:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
:: ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข

สารบัญ

หมวดที่ ๑ - พระพุทธสรีระ

๏ มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ
๏ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ
๏ พระฉัพพรรณรังสีที่แผ่จากพระวรกายพระพุทธเจ้า


หมวดที่ ๒ - พระพุทธเจ้า และพระนาม

๏ พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ อุบัติในภัททกัปนี้
๏ พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ ใกล้กาลปัจจุบัน
๏ พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่พระโคดมพุทธเจ้าทรงพบ
๏ พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา
๏ พระพุทธเจ้าทรงณาน ๕ พระองค์
๏ ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ทรงเลือก ๕ อย่าง
๏ ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า
๏ ความฝัน ๕ เรื่องของพระบรมโพธิสัตว์
๏ พระนามของพระพุทธเจ้า
๏ พระพุทธประวัติ


หมวดที่ ๓ - พุทธสาวก และพุทธบริษัท

๏ อุบาสกสำคัญในสมัยพุทธกาล
๏ อุบาสิกาสำคัญในสมัยพุทธกาล
๏ ปฐมเทศนา-ปฐมสาวก และพระอรหันต์ ๖ องค์แรก
๏ พระมหาสาวก ๘๐ องค์
๏ ภิกษุณีสงฆ์ในสมัยพุทธกาล
๏ พระเถรีสำคัญในสมัยพุทธกาล


หมวดที่ ๔ - พุทธสถาน

๏ หมู่บ้าน ตำบล เมือง และแคว้น
๏ มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล
๏ พระวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้า
๏ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
๏ ๘ พุทธสถานสำคัญในสมัยพุทธกาล
๏ ๑๖ ตำบล ทรงแสดงนิมิตต์โอภาส
๏ เจดีย์และสถูปสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
๏ ต้นไม้ สวนและป่า
๏ แม่น้ำ
๏ ถ้ำและภูเขา
๏ ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒๙ พระองค์


หมวดที่ ๕ - พุทธจริยา

๏ พุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ และพุทธจริยา ๓ ประการ
๏ หลักในการตอบ ๔ วิธี
๏ หลักในการแสดงธรรม ๔ วิธี
๏ พุทธกิจ ๔๕ พรรษา


หมวดที่ ๖ - พระธรรม

๏ เวสารัชชญาณในฐานะทั้ง ๔
๏ พุทธคุณ ๙ ประการ
๏ พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔
๏ ลักษณะแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
๏ หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก


หมวดที่ ๗ - พุทธอิทธานุภาพ

๏ ทรงปาฏิหารย์ ๓ คำรบปรากฏแก่พระพุทธบิดา
๏ แสดงอิทธานุภาพสยบคณาจารย์ใหญ่นักบวชชฎิล
๏ ยมกปาฏิหาริย์ อัศจรรย์ไฟคู่น้ำ
๏ รัตนสูตรปราบภัย ๓ ประการ ณ เมืองไพศาลี อาณาจักรวัชชี
๏ ทรงเปิดโลก เสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์


หมวดที่ ๘ - หลังพุทธปรินิพพาน

๏ พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน
๏ พระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
๏ สังคายนา ๕ ครั้ง
๏ กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป
๏ พุทธศาสนา ๒ นิกายใหญ่ มหายานกับเถรวาท
๏ วันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา
๏ เทศกาลสำคัญในทางพระพุทธศาสนา

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


หมวดที่ ๑ - พระพุทธสรีระ

๏ มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ

ผู้ที่มีมหาบุรุษลักษณะเป็นคำที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้ ลักษณะของมหาบุรุษมี ๓๒ ประการคือ

๑. มีพระบาทราบเสมอกัน (พระบาท = เท้า)

๒. ลายพื้นพระบาทเป็นจักร (จักร = รูปลอยล้อรถ คือธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุลล้อนำไปสู่ที่หมาย)

๓. มีส้นพระบาทยาย (ถ้าแบ่ง ๔ ส่วน พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓) ; (พระชงฆ์ = แข้ง)

๔. มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย) ; (นิ้วพระหัตถ์ = นิ้วมือ)

๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม

๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย

๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน (อัฐิ = กระดูก ; ดำเนิน = เดิน)

๘. พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย

๙. เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับพระชานุ (พระชานุ = เข่า)

๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก (พระคุยหะ = อวัยวะที่ลับ)

๑๑. มีฉวีวรรณดุจสีทอง (ฉวีวรรณ =สีผิวกาย)

๑๒. พระฉวีละเอียด (พระฉวี = ผิว)

๑๓. มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้นๆ (พระโลมา = ขน)

๑๔. เส้นพระโลมาดำสนิทเวียนเป็นทักขิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน (ทักขิณาวัฏ = วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา)

๑๕. พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม

๑๖. มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาททั้ง ๒, พระอังสาทั้ง ๒, กับลำพระศอ) ; (พระมังสะ = เนื้อ, ชิ้นเนื้อ ; พระอังสา = บ่า, ไหล่ ; พระศอ = คอ)

๑๗. มีส่วนพระสรีระกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ (สรีระ = ร่างกาย)

๑๘. พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน (พระปฤษฎางค์ = ส่วนหลัง, ข้างหลัง)

๑๙. ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุลปริมณฑลแห่งต้นไทร (พระกายสูงเท่ากับว่าของพระองค์) ; (วา = เท่ากับ ๔ ศอก ประมาณ ๒ เมตร)

๒๐. มีลำพระศอกกลมงามเสมอตลอด

๒๑. มีเส้นประสาทสำหรับรสพระกระยาหารอันดี

๒๒. มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์) ; (พระหนุ = คาง)

๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) ; (พระทนต์ = ฟัน)

๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน

๒๕. พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง

๒๖. เขี้ยวพระทนต์ทั้ง ๔ ขาวงามบริสุทธ์

๒๗. พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฏใต้) ; (พระชิวหา = ลิ้น, พระนลาฎ = หน้าผาก)

๒๘. พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก

๒๙. พระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด

๓๐. ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด

๓๑. มีอุณาโลมระหว่างพระโขนง เวียนขวาเป็นทักขิณาวัฏ (อุณาโลม = ขนระหว่างคิ้ว)

๓๒. มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (พระเศียร = ศีรษะ)



มีต่อ >>> ๏ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ

นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการแล้ว ยังมีลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ นิยมเรียกกันว่า "อสีตยานุพยัญชนะ" หรือ "อนุพยัญชนะ" อีก ๘๐ ประการด้วยกันคือ

๑. มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม

๒. นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไปโดยลำดับแต่ต้นจนปลาย

๓. นิ้วพระหัตถ์แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี

๔. พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง (พระนขา = เล็บ)

๕. พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง

๖. พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลมสนิทมิได้เป็นริ้วรอย

๗. ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะมิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก

๘. พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา

๙. พระดำเนินงามดุจอาการเดินแหงกุญชรชาติ

๑๐. พระดำเนินงามดุจสีหราช

๑๑. พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์

๑๒. พระดำเนินงามดุจอสุภราชดำเนิน

๑๓. ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน

๑๔. พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก

๑๕. มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์ คือมิได้กิริยามารยาทคล้ายสตรี

๑๖. พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง (พระนาภี = สะดือ)

๑๗. พระอุทรมีสัณฐานอันลึก (พระอุทร = ท้อง)

๑๘. ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏ

๑๙. ลำพระเพลาทั้งสองงามดุจลำสุวรรณกัททลี (พระเพลา = ตัก, ขา ; สุวรรณกัททลี = ลำต้นกล้วยสีทอง)

๒๐. งวงแห่งเอราวัณวัณเทพหัตถี (เอราวัณเทพยหัตถี = ช้าง ๓๓ เศียร เป็นพาหนะของพระอินทร์)

๒๑. พระอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คืองามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้ (พระอังคาพยพ = องคาพยพ = ส่วนน้อยใหญ่แห่งร่างกาย, อวัยวะน้อยใหญ่)

๒๒. พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรบางก็บางตามที่ทั่วทั้งพระสรีรกาย

๒๓. พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนี่ง

๒๔. พระสรีกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง

๒๕. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง

๒๖. พระกายงามบริสุทธิ์สิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง

๒๗. ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ (โกฏิ = สิบล้าน)

๒๘. มีพระนาสิกอันสูง (พระนาสิก = จมูก)

๒๙. สัณฐานพระนาสิกงามแฉล้ม

๓๐. มีพระโอษฐเบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก (พระโอษฐ = ปาก, ริมฝีปาก)

๓๑. พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน

๓๒. พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์

๓๓. พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย

๓๔. พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์ เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น (พระอินทรีย์ = ร่างกาย และจิตใจ)

๓๕. พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์

๓๖. ดวงพระพักตร์มีสัณฐานขาวสวย

๓๗. พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน (พระปรางค์ = แก้ม)

๓๘. ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก

๓๙. ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว

๔๐. ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด

๔๑. สายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง

๔๒. รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ

๔๓. กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์

๔๔. กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน

๔๕. ดวงเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น

๔๖. ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้วอมิได้คด

๔๗. พระชิวหามีสัณฐานอันงาม

๔๘. พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้าง มีพรรณอันแดงเข้ม

๔๙. พระกรรณทั้งสองมีสันฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ (พระกำรณ = หู)

๕๐. ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม

๕๑. ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง

๕๒. แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่อมิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง

๕๓. พระเศียรมีสัณฐานอันงาม

๕๔. ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน

๕๕. พระนลาฏมีสันฐานอันงาม

๕๖. พระโขนงมีสันฐานอันงามดุจกันธนูอันก่งไว้

๕๗. พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด

๕๘. เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วราบไปโดยลำดับ

๕๙. พระโขนงนั้นใหญ่

๖๐. พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร

๖๑. ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระวรกาย

๖๒. พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ

๖๓. พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์

๖๔. พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ

๖๕. พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย

๖๖. กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา

๖๗. พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น

๖๘. พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย

๖๙. ลมอัสสะปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด

๗๐. พระโอษฐมีสันฐานอันงามดุจแย้ม

๗๑. กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล (อุบล = ดอกบัว, บัว)

๗๒. พระเกสาดำเป็นแสง (พระเกสา = ผม)

๗๓. กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ

๗๔. พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ

๗๕. พระเกสามีสันฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น

๗๖. พระเกสาดำสนิททุกเส้น

๗๗. พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด

๗๘. เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง

๗๙. เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏทุกๆ เส้น

๘๐. วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแหงพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ (พระเกตุมาลา = รัศมีซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า)



มีต่อ >>> ๏ พระฉัพพรรณรังสีที่แผ่จากพระวรกายพระพุทธเจ้า

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ พระฉัพพรรณรังสีที่แผ่จากพระวรกายพระพุทธเจ้า

ฉัพพรรณรังสี คือแสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลางเป็นรัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระสรีรกายของพระพุทธเจ้า คือ

๑. นีละ เขียวเหมือนดอกอัญชัน
๒. ปีตะ เหลืองเหมือนหรดาลทอง
๓. โลหิตตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน
๕. มัญเชฏฐะ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่
๖. ปภัสสระ เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก


สีทั้ง ๖ นี้ไม่ได้พุ่งออกเป็นสีๆ ดังที่แยกไว้นี้ แต่แผ่ออกมาพร้อมกันในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าวถึงพระฉัพพรรณรังสีที่แผ่ซ่านออกจากพระกายพระพุทธเจ้า ไว้ดังนี้

"ในลำดับนั้น พระฉัพพรรณรังสีก็โอภาสแผ่ออกจากพระสริรกาย อันว่านิลประภาก็เขียวสดเสมอด้วยสีแห่งดอกอัญชันมิฉะนั้นดุจพื้นแห่งเมฆแลดอกนิลุบลแลปีกแห่งแมลงภู่ ผุดออกจากอังคาพยพในที่อันเขียวแล่นไปจับเอาราวป่า และพระรัศมีที่เหลืองนั้นมีครุวนา ดุจสีเขียวแล่นไปจับเอาราวป่า แลพระรัศมีที่เหลืองนั้นมีครุวนา ดุจสีหรดารทองแลดอกกรรณิการ์แลกาญจนปัฏอันแผ่ไว้ พระรัศมีออกจากพระสริรประเทศในที่อันเหลืองแล้ว แล่นไปสู่ทิศานุทิศต่างๆ พระรัศมีที่แดงอย่างพาลทิพากรแลแก้วประพาฬ แลกุมุทปทุมกุสุมชาติ โอภาสออกจากพระสริรอินทรีย์ในที่อันแดงแล้วแล่นฉวัดเฉวียนไปในประเทศที่ทั้งปวง พระรัศมีมีที่ขาวก็ขาวดุจดวงรัชนิกร แลแก้วมณี แลสีสังข์ แลแผ่นเงิน แลดวงดาวพกาพฤกษ์ พุ่งออกจากพระสริรประเทศในที่อันขาวแล้วแล่นไปในทิศโดยรอบ พระรัศมีหงสสิบาทก็พิลาสเล่ห์ดุจสีดอกเซ่ง แลดอกชบา แลดอกหงอนไก่ออกจากรัชกายรุ่งเรืองจำรัส พระรัศมีประภัสสรประภาครุนาดุจสีแก้วพลึกแลแก้วไพฑูริย์เลื่อมประพระฉัพพรรณรังสีทั้ง ๖ ประการแผ่ไพศาลแวดล้อมไปโดยรอบพระสกลกายยินทรีย์ กำหนดที่ ๑๒ ศอก โดยประมาณ อันว่าศศิสุริยประภาแลดาราก็วิกลวิการอันแสง เศร้าสีดุจหิ่งห้อยเหือดสิ้นสูญ มิได้จำรูญไพโรจโชติชัชวาล"

รัศมีเฉกเช่นฉัพพรรณรังสีนี้มีเฉพาะพระพุทธเจ้าและเทวดาเท่านั้น นอกจากนี้ก็เกิดแต่ธรรมชาติเช่นสีรุ้งที่เรียกกันเป็นสามัญว่ารุ้งกินน้ำ หรือพระจันทร์ พระอาทิตย์ทรงกลด ที่ออกจากเทวดานั้นจะเห็นได้ดังที่พรรณนาไว้ในพระสูตรต่างๆ ในเวลาที่เทวดามาเฝ้าพระพุทธเจ้าดังนี้

มีเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีสว่างจ้าเข้ามายังพระเชตวัน ทำพระเชตวันให้สว่างไสวไปทั่วบริเวณ เข้าเผ้าพระทุทธเจ้าที่ประทับความสว่างของรัศมีนั้น ไม่เหมือนแสงเดือนแสงตะวัน หรือไม่เหมือนแสงไฟ เป็นแสงสว่างที่เสมอกันทั้งหมด และเป็นแสงสว่างที่ไม่มีเงาเหมือนแสงอื่นเป็นแสงที่แผ่ไปติดอยู่ทั่วบริเวณ

มีข้อความในปฐมสมโพธกถา ปริเฉทที่ ๑๓ ธรรมจักรปริวรรตว่าดังนี้

"ฝ่ายอุปกาชีวเดินมาโดยทุราคมวิถีทางไกล ระหว่างคยาประเทศเขตเมืองราชคฤห์กับมหาโพธิญาณ ติดต่อกัน แลเห็นไพสณฑ์สถานอันโอฬารไพโรจน์พรรณราย ด้วยข่ายฉัพพรรณรังสีโสณิวิลาส ปรากฏโดยทิวาทัศนาการทั้งพสุธารแลอากาศโอภาสด้วยพระรัศมีมีพรรณแห่งละ ๖ อย่าง ทั่วทั้งทิศล่างและทิศบน มาสัมผัสกายตนประหลาดมหัศจรรย์ไม่เคยได้พบเห็นเป็นเช่นนี้มาแต่ก่อน ถ้าจะเป็นเพลิง ไฉนกายอาตมาจึงไม่ร้อนกระวนกระวายแม้จะเป็นน้ำ ไฉนกายอาตมาจะไม่ชุ่มชื้นเย็นนี่จะเป็นสิ่งอันใดยิ่งสงสัยสนเท่ห์จิต จึงเพ่งพิศไปข้างโน้นข้างนี้ ก็เห็นองค์พระผู้ทรงสวัสดิ์ภาคย์เสด็จบทจรมา รุ่งเรืองด้วยพระสิดิฉันธมหาหว่างติสสุระ ลักษณะแลพระพยามประภาโอภาสเบื้องบน พระสุริยก็ช่วงโชติด้วยพระเกตุมาลา ครุนาดุจทองทั้งแท่งประดับด้วยฉัพพรรณรังสี รังสีแสงไพโรจน์จำรัส"



มีต่อ >>> หมวดที่ ๒ - พระพุทธเจ้า และพระนาม

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


หมวดที่ ๒ - พระพุทธเจ้า และพระนาม

๏ พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ อุบัติในภัททกัปนี้

คำว่า "กัป" หมายถึง ระยะเวลาที่ยาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักวาฬ ประลัยครั้งหนึ่ง คือกำหนดอายุของโลก ท่านให้เข้าใจด้วยอุปามาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ (๔๐๐ เส้น หรือประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวกว่านั้น

"กัป" ปัจจุบันนี้เรียกว่า "ภัททกัป" หรือ "ภัทรกัป" แปลว่า กัปเจริญ เพราะในภัททกัปจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์ คือ

๑. พระกกุสันธะ
๒. พระโกนาคมนะ
๓. พระกัสสปะ
๔. พระโคดม (คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)
๕. พระศรีอริยเมตไตรย

ในภัททกัปนี้จักมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในอนาคตอีกหนึ่ง พระองค์คือ "พระศรีอริยเมตไตรย"
บทนมัสการว่า "นโม พุทธาย" แปลตามศัพท์ว่า "นอบน้อมแต่พระพุทธเจ้า"เป็นคำ กลางๆ แต่ก็นับถือกันว่าเป็นบทไหว้พระพุทธเจ้า ๕ ประองค์ น่าจะเพราะนับได้ ๕ อักษร และพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นั้น ก็หมายถึง พระพุทธเจ้าซึ่งได้อุบัติแล้วและจักอุบัติในภัททกัปนี้



มีต่อ >>> ๏ พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ ใกล้กาลปัจจุบัน

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ ใกล้กาลปัจจุบัน

พระพุทธเจ้า ๗ ประองค์ ที่ใกล้กาลปัจจุบันที่สุด และคัมภีร์กล่าวถึงบ่อยๆ คือ

๑. พระวิปัสสี
๒. พระสิขี
๓. พระเวสสภู
๔. พระกกุสันธะ
๕. พระโกนาคมนะ
๖. พระกัสสปะ
๗. พระโคดม
(คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)



มีต่อ >>> ๏ พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่พระโคดมพุทธเจ้าทรงพบ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่พระโคดมพุทธเจ้าทรงพบ

พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นี้ ๒๔ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าที่พระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบ และพระโคดมพุทธเจ้าทรงได้รับพยากรณ์ว่า จะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า นิยมนับรวมพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเข้ารวมด้วยเรียกว่า "พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์" นับแต่พระองค์แรกจนถึงพระโคดมพุทธเจ้า มีดังนี้

๑. พระทีปังกร
๒. พระโกณฑัญญะ
๓. พระสุมัคละ
๔. พระสุมนะ
๕. พระเรวตะ
๖. พระโสภิตะ
๗. พระอโนมทัสสี
๘. พระปทุมะ
๙. พระนารทะ
๑๐. พระปทุมุตตระ
๑๑. พระสุเมธะ
๑๒. พระสุชาตะ
๑๓. พระปิยทัสสี
๑๔. พระอัตถทัสสี
๑๕. พระธรรมทัสสี
๑๖. พระสิทธัตถะ
๑๗. พระติสสะ
๑๘. พระปุสสะ
๑๙. พระวิปัสสี
๒๐. พระสิขี
๒๑. พระเวสสภู
๒๒. พระกกุสันธะ
๒๓. พระโกนาคมนะ
๒๔. พระกัสสปะ
๒๕. พระโคตมะ
(พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)



มีต่อ >>> ๏ พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา

ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาแสดงย้อนหลังพระนามของพระพุทธเจ้ารวมกันถึง ๒๘ พระองค์ ซึ่งมักอ้างในบทสวดหรือในการประกอบพิธีหลายอย่างมีดังนี้

๑. พระตัณหังกร
๒. พระเมธังกร
๓. พระสรณังกร
๔. พระทีปังกร (รวม ๔ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)

๕. พระโกณฑัญญะ (เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)

๖. พระสุมังคละ
๗. พระสุมนะ
๘. พระเรวตะ
๙. พระโสภิตะ (รวม ๔ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)

๑๐. พระอโนมทัสสี
๑๑. พระปทุมะ
๑๒. พระนารทะ (รวม ๓ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)

๑๓. พระปทุมุตตระ (เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)

๑๔. พระสุเมธะ
๑๕. พระสุชาตะ (รวม ๒ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)

๑๖. พระปิยทัสสี
๑๗. พระอัตถทัสสี
๑๘. พระธรรมทัสสี (รวม ๓ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)

๑๙. พระสิทธัตถะ (เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)

๒๐. พระติสสะ
๒๑. พระปุสสะ (รวม ๒ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)

๒๒. พระวิปัสสี (เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)

๒๓. พระสิขี
๒๔. พระเวสสภู (รวม ๒ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)

๒๕. พระกกุสันธะ
๒๖. พระโกนาคมนะ
๒๗. พระกัสสปะ
๒๘. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย (รวม ๔ พระองค์อุบัติแล้วในกัปนี้)

อนึ่ง ในกัปนี้เอง จักอุบัติขึ้นในอนาคตอีกหนึ่งพระองค์ คือ "พระเมตเตยยะ" หรือ "พระศรีอารยเมตไตรย" แต่มักเรียกกันว่า "พระศรีอารย์" ซึ่งจะอุบัติขึ้นหลังจากสิ้นศาสนาพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันแล้ว ในกาลนั้นมนุษย์มีอายุยืน ๘๐,๐๐๐ ปี

จะเห็นได้ว่าใน ๑๑ กัปที่ผ่านมาไม่มีกัปใดที่มีพระพุทธเจ้าเกิน ๔ พระองค์ แต่ในกัปปัจจุบันนี้ (คือกัปที่ ๑๒ นับจากพระพุทธเจ้าองค์แรก คือ พระตัณหังกร) จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์รวมทั้งพระศรีอารย์ จึงเรียกว่า "ภัททกัป" หรือ "ภัทรกัป" แปลว่า กัปเจริญ



มีต่อ >>> ๏ พระพุทธเจ้าทรงณาน ๕ พระองค์

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ พระพุทธเจ้าทรงณาน ๕ พระองค์

พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ในคติมหายาน ถือว่ามีมากมายเหลือคณานับ เวลาบูชาเมื่อกล่าวนอบน้อมพระนามของพระพุทธเจ้า และประโพธิสัตว์ ทั้งหลายเท่าที่จำได้แล้ว สุดท้ายย่อมเติมนมัสการพระะทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเท่าที่จำได้แล้ว สุดท้ายย่อมเติมนมัสการพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายตลอดจักวาร อันนับประมาณมิได้ดุจทรายในแม่น้ำคงคา ฉะนั้น (คงคานทีวาลุโปมา พุทธา)

นิกายมหายานถือว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นทิพยภาวะอันบริสุทธิ์เป็นอนาทิ อนันตะ เช่นเดียวกับพระพรหมในศาสนาพราหมณ์ แต่ทรงสำแดงนิรมานกายมาช่วยสัตว์โลก ทำนองเดียวกับพระนารายณ์ อวตารจำนวนพระพุทธเจ้าจึงมีมากจนนับไม่ถ้วน ในขณะที่พระพุทธเจ้าของเราดำรงพระชนม์อยู่ในโลก พระพุทธเจ้าอีกเป็นอันมากทรงแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์โลกอยู่ในโลกธาตุต่างๆ ที่เรียกว่า "พุทธเกษตร"

พุทธเกษตรแต่ละแห่งมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามพระปฏิธานและคุณาภินิหารแห่งพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ พุทธเกษตรแต่ละแห่งมีความสวยงามวิจิตรพิสดารเป็นอันมาก

แต่พระพุทธเจ้าที่มีผู้รู้จักมากและทรงความสำคัญมีอยู่ ๕ พระองค์ เรียกว่า "ธยานิพุทธะ" แปลว่า พระพุทธเจ้าทรงฌาน คือ

๑. พระไวโรจนพุทธะ มีวรรณะขาว พระพุทธเจ้าองค์นี้ถือว่าเป็นแก่นหฤทัยแห่งโลกานุโลก พุทธศาสนานิกายฝ่ายเหนือ (อุตรนิกายมนตรยาน) นับถือยิ่งนัก พุทธสาวกชาวญี่ปุ่นในนิกายชินยอน (มนตรยานแบบญี่ปุ่น) เคารพพระพุทธเจ้าองค์นี้ยิ่งกว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้าเสียอีก ถัดลงมาเป็นพระพุทธเจ้าประจำพุทธเกษตรแห่งทิศทั้ง ๔ คือ

๒. พระอักโษภยพุทธะ มีวรรณะน้ำเงิน

๓. พระรัตนสัมภวะ มีวรรณะเหลือง

๔. พระอมิตาภพุทธะ มีวรรณะแดง พุทธสาวกนิกายเจ้งโท้วในจีนหรือนิกายยินในญี่ปุ่น นับถือองค์นี้มากยิ่งกว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้า ถือว่าใครก็ตามถ้าระลึกถึงพระนามด้วยใจบริสุทธิ์อาจทำให้ไปสู่คติได้

๕. พระอโมฆสิทธิพุทธะ มีวรรณะเขียว



มีต่อ >>> ๏ ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ทรงเลือก ๕ อย่าง

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ทรงเลือก ๕ อย่าง

ในกาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์เจ้า บังเกิดเป็นสันตุสิตเทวราชเสวยทิพยสมบัติอยู่ในรัตนวิมานสวรรค์ ชั้นดุสิตเทวโลก ครั้งนั้นท้าวมหาพรหม และเทวราชในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นฟ้า ชวนกันไปเผ้ากราบทูลอาราธนาพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ให้จุติลงไปบังเกิดทั้งสองประชากร ให้รู้ธรรม และประพฤติธรรม สมดังที่พระองค์ได้บำเพ็ญบารมีตั้งพระทัยไว้แต่แรก

พระบรมโพธิสัตว์เจ้า ยังมิได้รับอาราธนาของทวยเทพทั้งหลายทรงพิจารณาดู "ปัญจมหาวิโลกนะ" หมายถึง สิ่งที่พระบรมโพธิสัตว์ทรงพิจารณาข้อตรวจสอบที่สำคัญหรือ "การตรวจดูอันยิ่งใหญ่ ๕ อย่าง" ก่อนที่จะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้ามี ๕ อย่าง คือ ๑. กาล ๒. ทวีป ๓. ประเทศ ๔. ตระกูล ๕. มารดา พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทรงเลือกดังนี้

๑. กาล ทรงเลือกอายุกาลของมนุษย์

๒. ทวีป ทรงเลือกชมพูทวีป

๓. ประเทศ ทรงเลือกมัธยมประเทศ

๔. ตระกูล ทรงเลือกตระกูลกษัตริย์ศากยวงศ์

๕. มารดา ทรงเลือกมารดาที่มีศีลห้าบริสุทธิ์ ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป และกำหนดอายุของมารดา ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา

การที่ทรงเลือกอายุกลมนุษย์ เพราะอายุมนุษย์ขึ้นลงตามกระแสสังขาร บางยุคอายุ ๘ หมื่นปี ๔ หมื่นปี ๒ หมื่นปี อายุกาลของมนุษย์ในยุคนั้น ๑๐๐ ปีตรงตามที่ทรงกำหนดไว้คือต้องไม่สั้นกว่าร้อยปี ต้องไม่ยาวเกินแสนปี ที่ทรงเลือกอายุ ๑๐๐ ปีเพื่อให้เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร เหตุที่ไม่ตรัสรู้บนสวรรค์ทั้งนี้เพราะเทวดาไม่เห็นทุกข์มีแต่สุข อายุยืนยาวนานนัก จะไม่เห็นอริยสัจ การตรัสรู้ธรรมและแสดงธรรมได้ผลดีมากในเมืองมนุษย์

การที่ทรงเลือกชมพูทวีป ซึ่งแปลว่า "ทวีปแห่งต้นหว้า" เพราะมีต้นหว้าขึ้นมากในดินแดนแห่งนี้ แผ่นดินชมพูทวีปในยุคนั้นกว้างใหญ่ไพศาลกว่าประเทศอินเดียในปัจจุปันมากนัก มีดินแดนกินประเทศอื่นในปัจจุบันอีก ๖ ประเทศคือ ๑. ปากีสถาน ๒. บังกลาเทศ ๓. เนปาล ๔. ภูฏาน ๕. สิขิม ๖. บางส่วนของอัฟกานิสถาน (แคว้นกัมโพชะ ในมหาชนบท ๑๖ ปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถาน)

ชมพูทวีปครั้งพุทธกาลแบ่งเป็นหลายอาณาจักร เป็นมหาชนบท ๑๖ แคว้น และยังปรากฏอีก ๔ แคว้นในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา อาณาจักรเหล่านี้มีพระเจ้าแผ่นดินดำรงยศเป็นมหาราชาบ้าง ราชาบ้างมีอธิบดีบ้าง เป็นผู้ปกครองโดยทรงอำนาจสิทธิขาดบ้างโดยสามัคคีธรรมบ้าง บางคราวตั้งเป็นอิสระ บางคราวตกอยู่ในอำนาจอื่นตามยุคตามสมัย

คนในชมพูทวีปแบ่งเป็นชนชั้น ที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์เรียกว่า วรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทรคนในชมพูทวีปสนใจในวิชาธรรมมาก มีคณาจารย์ตั้งสำนักแยกย้ายกันตามลัทธิต่างๆ มากมาย เกียรติยศของศาสดาเจ้าลัทธิเจ้าสำนักผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ได้รับยกย่องเสมอเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินหรือมากยิ่งกว่า

การที่ทรงเลือกมัธยมประเทศ เพราะชมพูทวีปแบ่งเป็น ๒ จังหวัด เหนือ ๑ อาณาเขต อาณาเขตในคือ มัชณิมชนบทหรือมัธยมประเทศเป็นถิ่นกลางที่ตั้งแห่งนครใหญ่ๆ มีความเจริญรุ่งเรือง มีเศรษฐกิจดี มีประชากรหนาแน่น เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่ของนักปราชญ์ผู้มีความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษาและศิลปวิทยาการ เคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของพวกอารยันหรืออริยกะ รูปร่างสูง ผิวค่อนข้างขาวเป็นพวกที่มีความเจริญไม่ใช่เจ้าของถิ่นเดิม ทรงกำหนดกรุงกบิลพัสดุเป็นที่บังเกิด ส่วนอาณาเขตนอก เรียกว่าปัจจันตชนบทหรือประเทศปลายแดนเป็นถิ่นที่ยังไม่เจริญ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของคนพื้นเมืองดั้งเดิม รูปร่างเล็กผิวดำ จมูกแบน เป็นพวกเชื้อสายดราวิเดียนหรือพวกทมิฬในปัจจุบัน

การที่ทรงเลือกอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา เพระทรงกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมบัติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ และศากยสกุลเป็นตระกูลที่บริสุทธิ์ ๗ ชั่วโคตร ถ้าไม่บริสุทธิ์ก็ยากที่จะมีคนเคารพนับถือ การเผยแผ่ศาสนาจะทำได้ยาก เพราะคนในสมัยนั่นถือชั้นวรรณะกันมากจึงเลือกวรรณะกษัตริย์ที่สูงสุด เพราะไม่ใช่เพื่อตรัสรู้อย่างเดียว ทรงประประสงค์สั่งสอนธรรมแก่ประชาชนด้วย

การที่ทรงเลือกมารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีลห้าบริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่ไม่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาเป็นเจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าอัญชนะเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์

พระบรมโพธิสัตว์ทรงเลือกพระมารดาที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนมลทินโทษ มิฉะนั้น จะยากแก่การเผยแผ่ศาสนาจะถูกโจมตี พระนางสิริมหามายา ได้อธิฐานไว้ว่า ขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้าเมื่อประสูติ พระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้ ๗ วันก็เสด็จทิวงคต เพระสงวนไว้สำหรับประสูติพระพุทธเจ้าองค์เดียว ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสถิตในดุสิตเทวโลกตามประเพณีพระพุทธมารดาไม่ได้เป็นหญิงอย่างเก่า ที่เกิดเป็นหญิงเพระอธิฐานขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้า



มีต่อ >>> ๏ ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า

ครั้นพระนางสิริมหามายา พระราชมารดาของพระพุทธเจ้าเมื่อใกล้ถึงกำหนดพระประสูติกาล ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปยังกรุงเทวทหะอันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง (ตามธรรมเนียมพราหมณ์ที่ฝ่ายหญิงจะต้องกลับไปคลอดที่บ้านบิดามารดา) เมื่อขบวนผ่านมาถึงอุทยานลุมพินีซึ่งตั้งอยู่ระหว่างนครทั้งสอง พระนางประชวรพระครรภ์ บรรดาข้าราชบริพาลก็รีบจัดที่ประสูติถวายภายใต้ต้นสาละใหญ่

กาลเวลานั้นแดดอ่อน ดวงตะวันยังไม่ขึ้นตรงศรีษะเป็นวันเพ็ญเดือน ๖ พระจันทร์จักโคจรเต็มดวงในยามเที่ยงคืน ชมพูทวีปเริ่มมีฝนอากาศโปร่ง ต้นไม้ในอุทยานป่าสาละกำลังผลิดอกออกใบอ่อน ดอกสาละ ดอกจำปาป่า ดอกอโศก และดอกไม้นานาพรรณกำลังเบ่งบานส่งกลิ่นเป็นที่จำเริญใจ พระนางสิริมหามายาประทับยืน พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละ พระหัตถ์ซ้ายปล่อยตก ประสูติพระโอรสโดยสะดวก

ในวันเพ็ญเดือน ๖ วันที่พระกุมารประสูตินั้น มีมนุษย์และสัตว์กับสิ่งซึ่งเป็นสหชาติมงคลบังเกิดร่วมถึง ๗ อัน "สหชาติ" นั้น หมายถึงผู้เกิดร่วมด้วย ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า คือ

๑. พระนางพิมพา

หรือพระนางยโสธรา เป็นพระราชบุตรีของประเจ้าสุปปพุทธะกรุงเทวทหะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะเมื่อมีประชนม์ได้ ๑๖ พรรษา เป็นพระมารดาของพระราหุล ภายหลังออกบวชมีนามว่า พระภัททกัจจานา

๒. พระอานนท์

เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ โอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านออกบวชในพุทธศาสนา และได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธศาสนาและได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหลายด้าน ท่านบรรลุพระอรหัตหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนาท่านดำรงชีวิตสืบมาจนถึงอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศเหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติสองฝ่ายคือศากยะ และโกลิยะ

๓. นายฉันนะ

เป็นอำมาตย์คนสนิท และเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวัง เสด็จออกบรรพชาเมื่อมีพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา นายฉันนะตามเสด็จไปด้วยและนำเครื่องอาภรณ์พร้อมทั้งคำกราบทูลของเจ้าชายสิทธัตถะกลับกรุงกบิลพัสดุ์ ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่าไปฟังเกิดความบ่อยๆ หลังจาก พระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว ถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์หายพยศและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

๔. อำมาตย์กาฬุทายี

เป็นพระสหายสนิทของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์พระเจ้าสุทโธนะส่งไปทูลเชิญพระศาสดาเพื่อเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์อำมาตย์กาฬุทายีไปเผ้าพระศาสดาที่กรุงราชคฤห์ ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุพระอรหัตตผล อุปสมบทเป็นภิกษุแล้วทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส

๕. ม้ากัณฐกะ

ม้าพระที่นั่งของเจ้าชายสิทธัตถะ ตัวม้ายาวจากคอถึงหาง ๑๘ ศอก ส่วนสูงก็เหมาะสมกับส่วนยาว มีสีขาวผ่องเหมือนเปลือกหอยสังข์ที่ขาวสะอาด ในราตรีที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีออกจากพระราชวัง เพื่อเสด็จออกพรรพชา การเดินทางครั้งนี้มีนายฉันนะเกาะหางม้ากัณฐกะไปด้วย ม้ากัญฐกะเดินทางถึงแม่น้ำอโนมาใช้เวลาเที่ยงคืนถึงเช้าระยะทาง ๓๐ โยชน์ (๔๘๐ กิโลเมตร) กระโดดครั้งเดียวก็ข้ามแม่น้ำอโนมา เมื่อข้ามฝั่งแม่น้ำแล้วเจ้าชายสิทธัตถะจึงรับสั่งว่า กัณฐกะเจ้าจงกลับไปยังเมืองกบิลพัสดุ์เถิด ม้ากัณฐกะจึงเหลียวมองไปทางเจ้าชายสิทธัตถะ พอเจ้าชายลับสายตาไป ม้าก็ถึงแก่ความตายเนื่องจากเสียใจ และได้ไปเกิดอยู่ในดาวดึงส์ มีชื่อว่า "กัณฐกเทวบุตร"

๖. ต้นมหาโพธิ์

เจ้าชายสิทธัตถะขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ใต้ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ ตำบลพุทธคยา แขวงเมืองอุรุเวลาเสนานิคม ของรัฐพิหาร) ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๑ เกิดพร้อมกับเจ้าชายสิทธัตถะ มีอายุ ๓๐๕ ปี (ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๒ มีอายุ ๘๙๑ ปี ต้นที่ ๓ มีอายุ ๑,๒๒๗ ปี ต้นโพธิ์ตรัสรู้ปัจจุบันเป็นหน่อที่ ๔ ปลูกราว พ.ศ. ๒๔๓๔)

๗. ขุมทรัพย์ทั้งสี่

ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ หรือนิธิกุมภี คือขุมทอง ๔ ขุม ได้แก่ ขุมทองสังขนิธี ขุมทองเอลนิธี ขุมทองอุบลนิธี ขุมทองปุณฑริกนิธี



มีต่อ >>> ๏ ความฝัน ๕ เรื่องของพระบรมโพธิสัตว์

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ ความฝัน ๕ เรื่องของพระบรมโพธิสัตว์

เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงเลิกละทุกรกิริยาแล้ว ก็ทรงเริ่มทำความเพียรทางจิตต่อไป จนถึงราตรีขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา คืนก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสุบินเรียกว่า "ปัญจมหาสุบิน" คือความฝัน ๕ เรื่องของพระบรมโพธิสัตว์มีความว่า

๑. พระองค์ทรงบรรทมหงายเหนือพื้นปฐพี พระเศียรหนุนเขาหิมพานต์เป็นพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายหยั่งลงในมหาสุมทรทิศใต้ (ผทม = นอน ; พระเขนย = หมอนหนุน)

๒. หญ้าแพรกเส้นหนึ่งงอกจากพระนาภีสูงขึ้นไปจนถึงท้องฟ้า (พระนาภี = สะดือ)

๓. หมู่หนอนทั้งหลาย สีขาวบ้าง ดำบ้างเป็นอันมากไต่ขึ้นมาแต่พื้นพระบาททั้งคู่ ปกปิดลำพระชงฆ์หมด และไต่ขึ้นมาถึงพระชานุมลฑล (พระชงฆ์ = แข้ง ; พระชานุ = เข่า)

๔. ฝูงนก ๔ จำพวก มีสีต่างๆ กัน คือ สีเหลือง เขียง แดง ดำบินมาแต่ทิศทั้ง ๔ ลงมาจับแท่นพระบาทแล้วกลับกลายเป็นสีขาวไปสิ้น

๕. เสด็จขึ้นไปเดินจงกรมบนยอดภูเขาอันเต็มไปด้วยอาจมแต่อาจมนั้นมิได้เปื้อนพระยุคลบาท

พระมหาสุบินทั้ง ๕ เรื่องนั้น มีอธิบายคำทำนายว่า

๑. พระบรมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศในโลกทั้ง ๓

๒. พระบรมโพธิสัตว์จะได้ทรงประกาศสัจธรรม เผยมรรคผล นิพพาน แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งมวล

๓. คฤหัสถ์ พราหมณ์ทั้งหลาย จะเข้ามาสู่สำนักของพระองค์เป็นอันมาก

๔. ชาวโลกทั้งหลาย คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เมื่อมาสู่สำนักของพระองค์แล้ว จะรู้ทั่วถึงธรรมอันบริสุทธิ์หมดจดผ่องใสไปสิ้น

๕. ถึงแม้พระองค์จะพร้อมมูลด้วยสักการะวรามิศ ที่ชาวโลกอุทิศน้อมถวายด้วยความเลื่อนใส ก็มิได้มีพระทัยข้องอยู่ให้เป็นมลทินแม้แต่น้อย

ครั้นพระบรมโพธิสัตว์ตื่นผทมแล้ว ก็ทรงดำริถึงข้อความในพระมหาสุบินทั้ง ๕ เรื่อง แล้วทำนายด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์เองว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแน่แท้ ครั้นได้ทรงทำสรีรกิจสระสรงพระกายหมดจดแล้วก็เสด็จมาประทับนั่ง ณ ที่ควงไม้นิโครธพฤกษ์ในยามเช้าแห่งวันเพ็ญวิสาขปุรณมีดิถี กลางเดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี



มีต่อ >>> ๏ พระนามของพระพุทธเจ้า

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ พระนามของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าในที่นี้หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายหรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนั้นเอง มีคำเรียกกล่าวนามพระพุทธเจ้าของเรามากมาย ซึ่งพอจะนำมาประมวลไว้ได้ ดังต่อไปนี้

๑. พระบรมโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตา อุเบกขา

๒. อังคีรส หมายถึง มีรัศมีแผ่ซ่านจากพระกาย เป็นพระนามแรก เมื่อพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำหน้าที่ถวายพระนามและทำนายลักษณะพระกุมาร กล่าวถึงเมือพินิจจากลักษณะแรกพบเห็น

๓. สิทธัตถกุมาร เป็นพระนามที่พราหมณ์ ๘ คนผู้ทำหน้าที่ถวายพระนามและทำนายลักษณะพระกุมาร ตั้งถวาย "สิทธัตถ" แปลว่า มีความต้องการสำเร็จ หรือสำเร็จตามที่ต้องการ คือสมประสงค์จะต้องการอะไรได้หมด

๔. สิทธัตถะ, เจ้าชายสิทธัตถะ, พระสิทธัตถะ พระนามเดิมของพระพุทธเจ้าก่อนเสด็จออกบรรพชา

๕. พระมหาบุรุษ หมายถึง บุรุษผู้ยิ่งใหญ่เป็นคำใช้เรียกพระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้

๖. โคดม, โคตมะ, พระโคดม, พระโคตมะ, พระสมณโคดม, โคดมพระพุทธเจ้า หมายถึง ชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า มหาชนเรียกพระพุทธเจ้าตามพระโคตรของพระองค์

๗. ตถาคต พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่างคือ ๑. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น ๒. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น ๓. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ ๔. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น ๕. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น ๖. พระผู้ตรัสอย่างนั้น ๗. พรุผู้ทำอย่างนั้น ๘. พระผู้เป็นเจ้า

๘. ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต

๙. ธรรมกาย หมายถึง ผู้มีธรรมในกาย เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า

๑๐. ธรรมราชา คือ พระราชาแห่งธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้า

๑๑. ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร คือ ผู้เป็นใหญ่โดยฐานเป็นเจ้าของธรรม หมายถึง พระพุทธเจ้า

๑๒. ธรรมสามี คือ ผู้เป็นเจ้าของธรรม เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้า

๑๓. ธรรมิศราธิบดี คือ ผู้เป็นอธิปดีโดยฐานเป็นใหญ่ในธรรมเป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า

๑๔. บรมศาสดา, พระบรมศาสดา คือ ศาสดาที่ยอดเยี่ยม พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู หมายถึง พระพุทธเจ้า

๑๕. พระผู้มีพระภาคเจ้า หมายถึง พระนามของพระพุทธเจ้า

๑๖. พระพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม, ท่านผู้รูดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาบ วาจา ใจ

๑๗. พระศาสดา หมายถึง ผู้สอนเป็นพระนามเรียกพระพุทธเจ้า

๑๘. พระสมณโคดม เป็นคำที่คนภายนอกนิยมใช้เมื่อกล่าวถึงพระพุทธเจ้า

๑๙.พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้เอง หมายถึงพระพุทธเจ้า

๒๐. ภควา คือ พระนามของพระพุทธเจ้า แปลว่า ทรงเป็นผู้มีโชค คือหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายได้ คำแปลอีกนัยหนึ่งว่า ทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม

๒๑. มหาสมณะ พระนามหนึ่งสำหรับเรียกสมเด็จพระสัมพุทธเจ้า

๒๒. โลกนาถ, พระโลกนาถ เป็นที่พึ่งแห่งโลก หมายถึง พระพุทธเจ้า

๒๓. สยัมภู, พระสัมภู คือ ตรัสรู้ได้เองโดยไม่มีใครสั่งสอน หมายถึง พระพุทธเจ้า

๒๔. สัพพัญญู, พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า หมายถึง ผู้รู้หมด, ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง คือ พระนามของพระพุทธเจ้า

๒๕. พระสุคต, พระสุคโต หมายถึง ผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า



มีต่อ >>> ๏ พระพุทธประวัติ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ พระพุทธประวัติ

“ภาพพุทธประวัติ” งดงามมาก พร้อมคำบรรยาย ๓๕ ภาพ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=38097

“ภาพพุทธประวัติ” พร้อมคำบรรยายโดยสังเขป ๘๑ ภาพ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=39272

“ภาพพุทธประวัติ” พร้อมคำร้อยกรอง-คำบรรยาย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=39613

ภาพพระพุทธประวัติ (ครูเหม เวชกร)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=18&t=31170


มีต่อ >>> หมวดที่ ๓ - พุทธสาวก และพุทธบริษัท

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


หมวดที่ ๓ - พุทธสาวก และพุทธบริษัท

๏ อุบาสกสำคัญในสมัยพุทธกาล

คำว่า "อุบาสก" หมายถึง ชายผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, คนใกล้ชิดพระศาสนาที่เป็นคฤหัสถ์ชายที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา โดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

อุบาสกสองผู้อัครอุปัฏฐาก (ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณรที่เป็นชาย) คือ จิตตคฤหบดี และหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

ปฐมอุบาสก หรืออุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ตปุสสะ กับภัลลิกะ ซึ่งถึงสรณะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรม ทั้งสองเป็นพ่อค้าที่นำกองเกวียนเดินทางมาจากทุกกลชนบท มาถึงแขวงเมืองอุรุเวลาเสนานิคม พบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นไม้ราชาตนะ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ในกาลนั้นเป็นสัปดาห์ที่ ๗ ที่พระพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะและปวงทุกข์) ภายหลังจากตรัสรู้ ตปุสสะ กับภัลลิกะเข้ามาถวายสัตตุผงสัตตุก้อน (ข้าวตูเสบียงเดินทาง) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสร็จการเสวยแล้ว พ่อค้าทั้งสองได้กราบทุลแสดงตนเป็นอุบาสกด้วยความเลื่อมใสขอถึงพระผู้มีภาคเจ้ากับพระธรรม ว่าเป็นสรณะตลอดชีวิต ด้วยเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ปฐมอุบาสกทั้งสองนี้จึงเป็นอุบาสกประเภท "เทวาจิก" คือเปล่งวาจาขอถึงพระพุทธเจ้า และพระธรรมทั้งสองเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของหญิงงามเมือง ในเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ครั้นคลอดแล้วถูกนำไปทิ้งที่กองขยะ เจ้าชายอภัยโอรสของพระเจ้าพิมพิสารมาพบเข้าจึงเก็บไปเลี้ยงไว้ในวัง ครั้นชีวกเจริญวัยขึ้นพอจะทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้า ก็คิดแสวหาศิลปวิทยาไว้เลี้ยงตัวจึงเดินทางไปศึกษาวิชาแพทย์กับอาจารย์แพทย์ทิศาปาโมกข์ ที่เมืองตักศิลาศึกษาอยู่ ๗ ปี ครั้นสำเร็จจึงเดินทางกลับยังพระนครราชคฤห์

เมื่อเสบียงหมดในระหว่างทาง ได้แวะหาเสบียงที่เมืองสาเกตโดยไปรักษาภรรยาเศรษฐีหายจากโรคปวดศีรษะมา ๗ ปี ไม่มีใครรักษาหาย ภรรยาเศรษฐีหายจากโรค ให้รางวัลหมอชีวกมากมาย ครั้นถึงพระนครราชคฤห์ ได้นำเงินและรางวัลทั้งหมดไปถวายเจ้าชายอภัยเป็นค่าปฏิการะคุณที่ได้ทรงเลี้ยงตนมา เจ้าชายอภัยโปรดให้หมอชีวกเก็บรางวัลไว้เป็นของตนเอง และโปรดให้หมอชีวกสร้างบ้านอยู่ในวังของพระองค์

ต่อมาไม่นานเจ้าชายอภัยนำหมอชีวกไปรักษาโรคริดสีดวงงอกแก่พระเจ้าพิมพิสาร เมื่อพระองค์ทรงหายประชวรแล้ว ทรงพระราชทานเครื่องประดับของสตรีชาววัง ๕๐๐ คนให้เป็นรางวัล หมอชีวกไม่รับโดยทูลว่า ขอให้ทรงถือว่าเป็นหน้าที่ของตนเท่านั้น พระเจ้าพิมพิสารจึงโปรดให้หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ประจำฝ่ายในทั้งหมด และประจำพระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

หมอชีวกได้รักษาโรครายสำคัญหลายครั้งเช่น ผ่าตัดรักษาโรคในสมองของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ ผ่าตัดเนื้องอกในสำใส้ของบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี รักษาโรคผอมเหลืองแด่พระเจ้าจัณฑปัชโชตแห่งกรุงอุชเชนี และถวายการรักษาแด่พระพุทธเจ้าในคราวที่พระบาทห้อโลหิตจากเศษหินจากก้อนศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาจากภูเขาเพื่อหมายปลงพระชนม์ชีพ

หมอชีวกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้าปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง เห็นว่าพระเวฬุวันวิหารที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ไกลเกินไป จึงสร้างวัดถวายในสวนมะม่วงของตน เรียกกันว่า ชีวกัมพวัน ครั้นเมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเริ่มน้อมพระทัยมาทางศาสนา หมอชีวกก็เป็นผู้แนะนำให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

ด้วยเหตุที่หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำคณะสงฆ์และเป็นผู้มีศรัทธาเอาใจใส่เกื้อกูลคณะสงฆ์มาก จึงเป็นเหตุให้มีคนมาบวชเพื่ออาศัยวัดเป็นที่รักษาตัวจำนวนมาก จนหมอชีวกต้องทูลเสนอพระพุทธเจ้าให้ทรงบัญญัติข้อห้ามมิให้รับบวชคนเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิด นอกจากนั้นหมอชีวกได้กราบทูลเสนอให้ทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ เพื่อเป็นที่บริหารกายช่วยรักษาสุขภาพ ของภิกษุทั้งหลาย หมอชีวกได้รับพระดำรัสยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสผู้เลื่อมใสในบุคคล

บิดาพระยสะ ภายหลังจากพระปัจจวัคคีย์สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ๕ องค์แรก ในพระพุทธศาสนา แล้ว พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนายสมาณพบุตรเศรษฐีกรุงพาราณสีได้ดวงตาเห็นธรรม ครั้นบิดาของสกุลบุตร ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชาวบ้านเสนานิคมตำบลอุรุเวลามาตามหาลูกชายพบพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประทับ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนา โปรดท่านเศรษฐีบิดาได้ดวงตาเห็นธรรมแสดงตนเป็นอุบาสก สมาณพซึ่งนั่งอยู่ในที่นั้นได้ฟังเทศนา ซ้ำเป็นครั้งที่สองก็ได้บรรลุอรหัตตผล ฝ่ายเศรษฐีบิดาก็กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาให้ไปรับอาหารบิณฑบาตที่เรือนของตน แล้วถวายบังคมลากลับ เมือเศรษฐีบิดากลับแล้ว สมาณพทูลขออุปสมบท นับเป็นภิกษุสาวกและพระอรหันต์องค์ที่ ๖ นอกจากนั้นยังเป็นพระอรหันต์องค์แรกที่อยู่ในเพศคฤหัสถ์ คือยังมิทันได้บวชก็บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์

ในเวลาเช้าวันนั้น พระบรมศาสดาก็มีพระยสะเป็นพระตามเสด็จ ๑ รูป เสด็จไปยังเรือนท่านเศรษฐีตามคำอาราธนา ประทับนั่งยังอาสนะมารดาของยสะคือ นางสุชาดา ผู้ถวายข้าวปายาส (ข้าวสุกที่หุงด้วยนมโค) ถวายแก่พระมหาบุรุษในเวลาเช้าของวันที่จะตรัสรู้ และภรรยาเก่าของพระยสะเข้าเฝ้า พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมให้สตรีทั้งสองนั้นได้ธรรมจักษุ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ปฎิญาณตนเป็นอะบาสิกาขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะได้เป็นอุบาสิกาสองคนแรกในพระพุทธศาสนาก่อนกว่าอุบาสิกกาทั้งหลายในโลกนี้

ส่วนท่านเศรษฐีบิดาพระยสะได้เป็นอุบาสกที่ถึงสรณะครบ ๓ คนแรก คือ ถึงพระรัตนตรัยอันมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

จิตตคฤหบดี เป็นผู้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา ท่านผู้นี้เคยถูกภิกษุชื่อสุธรรมด่าว่าเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติปฏิสาราณียกรรม คือการลงโทษภิกษุผู้ด่าว่าคฤหัสถ์ที่ไม่มีความผิดด้วยการให้ไปขอขมา จิตตคฤหบดีเป็นหนึ่งในสอง อุบาสกผู้เป็นอัครอุปัฎฐากจิตตคฤหบดี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกธรรมกถึก (เอตทัคคะ = เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งธรรมกถึก = การแสดงธรรม)

นกุลบิดา เป็นผู้มั่งคั่งชาวเมืองสุงสุมารคีรี ในแคว้นภัคคะ มีภรรยาชื่อ นกุลมารดา สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองสุงสุมารคิรีประทับที่ป่าเภสกลาวัน ท่านคฤหบดีและภรรยาไปเผ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่นๆ พอได้เห็นครั้งแรก ทั้งสองสามีภรรยาก็เกิดความรู้สึกสนิทหมายใจเหมือนว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุตรของตน ได้เข้าไปถึงพระองค์และแสดงความรู้สึกนั้น พระพุทธเจ้าเป็นบุตรของตน ได้เข้าไปถึงพระองค์และแสดงความรู้สึกนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงโปรดทั้งสองท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน (ผู้ถึงกระแสที่จะนำไปสู่นิพพาน) ท่านทั้งสองเป็นคู่สามีภรรยาตัวอย่าง ผู้มีความจงรักภักดีต่อกันอย่างบริสุทธิ์และมั่นยั่งยืนตราบเท่าชรา ทั้งยังปรารถนาจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า เคยทูลขอให้พระพุทธเจ้าแสดงหลักธรรมที่จะทำให้สามีภรรยาครองรักกันยั่งยืน ตลอดไปทั้งภพนี้และภพหน้า

เมื่อท่านนกุลบิดาเจ็บป่วยออดแอดร่างกายอ่อนแอ ไม่สบายด้วยโรคชรา ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนาครั้งหนึ่ง ที่ท่านประทับใจมากคือ พระดำรัสที่แนะนำให้ทำใจว่า "ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราไม่ป่วย"

ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า ให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิทสนมคุ้นเคย

พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินมคธครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทรงเสด็จพบพระบรมโพธิสัตว์เมื่อครั้งออกบรรพชาใหม่ๆ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ทรงทูลขอปฏิญญากับพระมหาบุรุษว่า ถ้าพระองค์ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ (พระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต) และขอได้ทรงพระกรุณาเสด็จมายังพระนครราชคฤห์ แสดงธรรมโปรด

พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายพระราชอุทยานเวฬุวันแก่พระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์เสด็จมาแสดงธรรมโปรดภายหลังจากทรงตรัสรู้แล้ว พระราชอุทยานเวฬุวันเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนาพระบรมศาสดาได้เริ่มประดิษฐานพระศาสนา เป็นหลักฐานที่พระเวฬุวันวิหาร เกียรติศักดิ์เกียรติคุณแห่งพระพุทธศาสนาได้เริ่มแพร่ไปในชุมนุมชนตามตำบลน้อยใหญ่ตามลำดับ

พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนมากเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่สวนตาล "ลัฏฐิวัน" ทรงสดับพระธรรมเทศนา ได้ธรรมจักษุ ประกาศพระองค์เป็นอุบาสก

พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่เวฬุวันวิหาร ในพรรษาที่ ๒-๓-๔ พรรษาที่ ๑๗ และ ๑๙ รวม ๕ พรรษาด้วยกัน พระเจ้าพิมพิสารถูกพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู ปลงพระชนม์

มหานามศากยะ เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ โอรสของพระเจ้าอมิโตทนศากยะ เป็นพี่ชายของพระอนุรุทธะ ภายหลังพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาของพระพุทธเจ้าสิ้นพระชนม์ มหานามศากยะได้เป็นราชาปกครองแค้นศากยะ และเป็นอุบาสกผู้มีศรัทธาแรงกล้า ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ถวายของประณีต

พระเจ้าอชาตศัตรู โอรสของพระเจ้าพิมพิสารกับพระนางโกศลเทวี กษัตริย์แคว้นมคธ ขณะพระนางทรงครรภ์ได้แพ้ท้องอยากเสวยโลหิตของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบจึงเอาพระขรรค์แทงพระชานุ (เข่า) รองพระโลหิตให้พระนางเสวย โหรทำนายว่าพระโอรสที่อยู่ในครรภ์เกิดมาจะทำปิตุฆาต พระนางโกศลเทวีพยายามทำลายด้วยการให้แท้งเสียแต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดคิดจะรีด แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงห้ามไว้

เมื่อครบกำหนดประสูติเป็นกุมารจึงตั้งพระนามโอรสว่าอชาตสัตรู แปลว่า เป็นศัตรูตั้งแต่ยังไม่เกิด (บางท่านแปลใหม่ว่า มิได้เกิดมาเป็นศัตรู) ในที่สุดเจ้าชายอชาตศัตรูก็คบคิดกับพระเทวทัตฆ่าพระราชบิดาตามที่โหรทำนายไว้ และได้ขึ้นครองราชสมบัติแคว้นมคธ ณ กรุงราชคฤห์แต่ทรงสำนึกและกลับพระทัยได้ หันมาทรงอุปภัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และได้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ในการสังคายนาครั้งที่ ๑

อนาถบิณฑิก เป็นเศรษฐีอยู่ที่เมืองสาวัตถี ต่อมาได้นับถือพระพุทธศาสนา บรรลุโสดาปัตติผล เป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้า สร้างพระเชตุวันมหาวิหารอันยิ่งใหญ่ ถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ที่เมืองสาวัตถี ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษารวมทั้งหมดถึง ๑๙ พรรษา (สลับกับบุพพารามที่อยู่ใกล้ชิดติดกัน ณ เมืองสาวัตถี)

ท่านอนาถบิณฑิกนอกจากอุปภัภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์แล้วยังได้สงเคราะห์คนยากไร้อนาถาอย่างมากมายเป็นประจำ จึงได้ชื่อว่าอนาถบิณฑิก ซึ่งแปลว่า ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหมู่ทายกฝ่ายอุบาสก (ทายก = ผู้ให้)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

:b44: อุบาสกสำคัญในสมัยพุทธกาล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=71&t=46457

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *


มีต่อ >>> ๏ อุบาสิกาสำคัญในสมัยพุทธกาล

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร