วันเวลาปัจจุบัน 12 ก.ย. 2024, 00:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2012, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธัมมเมกขสถูป หรือ “ธรรมเมกขสถูป”
อนุสรณ์สถานแห่งการแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
พระปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรกของโลก)
ใน “วันอาสาฬหบูชา”


รูปภาพ

พระพุทธศาสนาได้ประดิษฐานขึ้นในโลก
นับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ๒,๖๐๐ ปีมาแล้ว
(พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)
เมื่อย้อนไปครั้งอดีตกาลในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา คือเทศน์กัณฑ์แรกของโลก
ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”
พระสูตรว่าด้วยการหมุนกงล้อแห่งพระธรรม
แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี
หรือ
“ธัมมเมกขสถูป” ภายในอาณาบริเวณสารนาถ ในปัจจุบัน
และผลแห่งการแสดงพระธรรมนี้ หัวหน้าปัญจวัคคีย์ คือ
ท่านโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบัน
พระอริยบุคคลชั้นแรกในพระพุทธศาสนาเป็นคนแรก จึงกราบทูลขออุปสมบท
โดยพระพุทธองค์ทรงทำการอุปสมบทให้ด้วยวิธี “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”
(พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง) นับเป็น “ปฐมสาวก”
ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันที่เกิดสังฆรัตนะขึ้นครั้งแรกในโลก
เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบองค์ ๓ โดยสมบูรณ์ บริบูรณ์
คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
(ก่อนหน้านี้มีเพียงพระพุทธและพระธรรมเท่านั้น)
ซึ่งตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
และเป็นที่มาของ
“วันอาสาฬหบูชา”

เท่ากับว่าใน “วันอาสาฬหบูชา” นี้เอง
ที่พระพุทธเจ้าทรงได้รับพระนามว่าเป็น “สัมมาสัมพุทโธ”
(เป็นผู้ทรงตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง) โดยสมบูรณ์
เพราะมี “พยาน” (พระอัญญาโกณฑัญญะ)
ในการตรัสรู้ธรรมโดยชอบ คือรู้ตามพระธรรมของพระองค์แล้ว

เหตุการณ์ในวันอาสาฬหบูชานี้
เกิดขึ้นหลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันวิสาขบูชา
วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ แล้วสองเดือน


:b44:

สำหรับสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
คือเทศน์กัณฑ์แรกเพื่อประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรกในโลกนั้น
ได้มีพุทธานุสรณ์สถานอันเป็นที่ระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นั่นก็คือ
“ธัมมเมกขสถูป” ๑ ในพุทธสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง
ที่สำคัญของพุทธศาสนิกชน


ธัมมเมกขสถูปหรือธรรมเมกขสถูป มีหลายท่านสันนิษฐานว่า
มาจากคำว่า ธัมม+มุข หมายถึง พระธรรมจากพระโอษฐ์
บางท่านก็สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ธัมมะ+อิกข
ตามหลักไวยากรณ์บาลี แปลงตัว อิ ให้เป็น เอ
สนธิกับคำว่า ธัมมะ เป็น “ธัมมเมกขะ” หมายถึง เห็นธรรม
ส่วน “สถูป” หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่มีรูปโอคว่ำ
ซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา
มีกระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เป็นต้น
เป็นอนุสรณ์สถานเตือนใจให้เกิดกุศลธรรม
ดังนั้น ธัมมเมกขสถูปนี้เป็นตัวแทนแห่งการเห็นธรรมจักษุ
หรือในอีกความหมายหนึ่ง สถูปนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่
ท่านผู้เห็นธรรมจักษุในครั้งนั้น คือพระอัญญาโกณทัญญะ นั่นเอง


บริเวณสถานที่แสดงปฐมเทศนาได้มีการสร้างพระสถูปใหญ่
ความเป็นมาของธัมมเมกขสถูปนี้ ไม่แน่ชัดว่าเริ่มสร้างขึ้นในสมัยใด
สันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.๒๖๙-๓๑๑)
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด
และอาจมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติมขึ้นมาในสมัยราชวงศ์คุปตะ
(ราวปี พ.ศ.๙๐๐-๑๑๐๐) จากการขุดค้นสำรวจพบว่า
แผ่นอิฐด้านในพระสถูปนั้น มีอายุเก่าแก่กว่าแผ่นอิฐด้านนอก
และลวดลายที่ปรากฏบนองค์พระสถูปด้านนอกนั้นเป็นลวดลายใบไม้
ดอกไม้ นก และรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งเป็นศิลปะที่นิยมมากในสมัยคุปตะ

ธัมมเมกขสถูปเป็นสถูปขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนที่เนิน
มีความสูง ๓๓ เมตรครึ่ง และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๘ เมตรครึ่ง
ส่วนล่างก่อด้วยหินมีภาพสวัสดิกะเป็นแผ่นหินอยู่โดยรอบ
สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งทำเป็นช่องๆ แต่ละช่องประดิษฐานพระพุทธรูปแบบต่างๆ
ช่องเหล่านั้นมีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างคละกันไป
สำหรับช่องใหญ่รอบองค์พระสถูปนั้นมี ๘ ช่อง
ซึ่งมีความหมายถึงมรรคมีองค์ ๘ ประการ (อัฏฐังคิกมรรค)


เป็นเวลากว่า ๒,๖๐๐ ปีแล้วที่สังเวชนียสถานแห่งนี้
ได้น้อมนำให้ผู้พบเห็นได้เข้าไปสู่เรื่องราวแห่งครั้งพุทธกาล
ที่พระพุทธองค์ทรงประกาศพระพุทธศาสนา
ด้วยการขับเคลื่อนวงล้อแห่งธรรมให้หมุนออกไปสู่ทุกผู้นาม
ณ วันนั้นเองที่พระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นและเริ่มเผยแผ่ออกไปแล้ว


:b44:

ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือป่ากวางในอดีตนั้น
ปัจจุบันคือ ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี
ซึ่งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย

และที่เรียกว่า “สารนาถ” (Sarnath) นั้น
สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “สารังคนาถ” แปลว่า ที่พึ่งของเนื้อ
เหตุเพราะในป่าแห่งนี้บรรดาเนื้อทั้งหลาย
อยู่ด้วยความปลอดภัย เพราะมีพระโพธิสัตว์และพระราชาเป็นที่พึ่ง

สารนาถ (Sarnath) พุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ ๓
เป็นที่อุบัติขึ้นแห่งปฐมเทศนา-ปฐมสาวก-ปฐมแสงธรรม

นอกจากเป็นที่ประดิษฐาน “ธัมมเมกขสถูป”
อนุสรณ์สถานแห่งการแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแล้ว
ยังมีกลุ่มพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สำคัญอื่นๆ เช่น

• ธัมมราชิกสถูป
อนุสรณ์สถานแห่งการแสดงอนัตตลักขณสูตร
ทุติยเทศนา พระสูตรที่สองในพระพุทธศาสนา

• เจาคัณฑีสถูป
อนุสรณ์สถานที่พระพุทธเจ้าทรงพบปัญจวัคคีย์

• ยสเจติยสถาน
อนุสรณ์สถานที่่พระพุทธเจ้าทรงพบยสกุลบุตร


นอกจากนี้แล้ว สารนาถ ยังเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้า
ทรงส่งพระอรหันตสาวกจำนวน ๖๐ รูป

(พระปัญจวัคคีย์ ๕ รูป + พระยสะและสหายพระยสะ ๕๕ รูป)
ไปประกาศพระศาสนา เผยแผ่แนวทางดำเนินชีวิต
อันประเสริฐแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก
ซึ่งนับเป็นคณะธรรมทูตชุดแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

ด้วยพระดำรัสว่า...“มุตฺตาหํ ภิกฺขเว สพฺพปาเสหิ เย ทิพฺพา เย จ มานุสฺสา ตุมฺเหปิ ภิกฺขเว มุตฺตา สพฺพปาเสหิ เย ทิพฺพา จ เย มานุสฺสา จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ มา เอเกน เทฺว อคมิตฺถ เทเสถ ภิกฺขเว ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ สตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสถ”

คำแปล : ภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งของทิพย์และของมนุษย์ พวกเธอก็พ้นแล้วเช่นกัน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่คนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่คนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พวกเธออย่าไปทางเดียวกันสองคน จงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ (การดำเนินชีวิตประเสริฐ) ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ทั้งอรรถะ (ความ) และพยัญชนะ (คำ)


ดังนั้น สารนาถ จึงอยู่ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้น
แห่งการประกาศพระพุทธศาสนา
หรือเป็นจุดกำเนิดขึ้นของพระพุทธศาสนานั่นเอง


------------

ที่มา >>> :b39: พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
: สถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39377

:b49: :b49: สังฆคุณ ๙ : คุณของพระสงฆ์ ๙ ประการ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=27032

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2012, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
พระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของโลก

:b47: :b44: :b47:

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระสูตรว่าด้วยการหมุนกงล้อแห่งพระธรรม มีใจความสำคัญกล่าวถึงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการ คือ

ก. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ได้บรรลุถึงจุดหมายในการแสวงหาทางพ้นทุกข์ มิใช่การดำเนินชีวิตสุดโต่ง ๒ ทาง กล่าวคือ บรรพชิตไม่ควรประพฤติปฏิบัติที่สุด ๒ อย่างคือ

(๑) กามสุขัลลิกานุโยค คือ การหมกมุ่นอยู่ในกามสุข มัวเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ถือว่าจะดับทุกข์ได้ด้วยการบริโภคกามให้เต็มเปี่ยม เป็นการหลงใหลเข้าใจผิด ยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งเพิ่มกำลังให้กับกิเลส มีแต่โทษหาประโยชน์มิได้เลย

(๒) อัตตกิลมถานุโยค คือ การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก คอยหวังพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยคิดว่าจะสามารถช่วยให้พ้นทุกข์ได้ ถือว่าเป็นการประพฤติปฏิบัติที่เคร่งครัดจนเกินไป ยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งทำให้หลงใหลงมงายมากขึ้นและไม่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติพ้นทุกข์ได้

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ละเว้นจากการปฏิบัติผิด ๒ ทางนี้ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ตึงเกินไปและหย่อนเกินไป ทรงให้หันกลับมาดำเนินในทางสายกลาง เพราะพระองค์เคยผ่าน ๒ ทางนี้มาแล้ว ทรงเห็นว่าไม่ได้ผลและไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ที่แท้จริง ทางสายกลางที่ถูกต้องสมบูรณ์นั้นต้องประกอบด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

ข. อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ, สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์, นิโรธ คือความดับทุกข์ และ มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

------------

:b47: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
: พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48156

:b47: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=28599

:b47: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กงล้อแห่งความจริงอันประเสริฐ
(ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=57701

:b47: บทสวด “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=20815

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2012, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


(พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มวางหลักธรรมก่อนเรื่องอื่น)

..................ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

(หันทะ มะยัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส)

เท๎วเม (อ่านว่า ทะ-เว-เม) ภิกขะเว อันตา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างเหล่านี้ มีอยู่,

ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา,.....เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย,

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค,

นี้คือการประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย,

ฮีโน,......................................เป็นของต่ำทราม,

คัมโม,....................................เป็นของชาวบ้าน,

โปถุชชะนิโก,..........................เป็นของชนชั้นปุถุชน,

อะนะริโย,................................ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า,

อะนัตถะสัญหิโต,......................ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย นี้อย่างหนึ่ง,

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค,

อีกอย่างหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้ลำบาก,

ทุกโข,......................................เป็นสิ่งนำมาซึ่งทุกข์,

อะนะริโย,.................................ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า,

อะนัตถะสัญหิโต,.......................ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย,

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง
ไม่เข้าไปหาที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างนั้น มีอยู่,

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,

เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว,

จักขุกะระณี,..............................เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ,

ญาณะกะระณี,...........................เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ,

อุปะสะมายะ,..............................เพื่อความสงบ,

อะภิญญายะ,..............................เพื่อความรู้ยิ่ง,

สัมโพธายะ,................................เพื่อความรู้พร้อม,

นิพพานายะ สังวัตตะติ,................เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน,

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น เป็นอย่างไรเล่า?

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,

ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้เอง,

เสยยะถีทัง,....ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ,

สัมมาทิฏฐิ,.....ความเห็นชอบ,.......สัมมาสังกัปโป,.....ความดำริชอบ,

สัมมาวาจา,.....การพูดจาชอบ,......สัมมากัมมันโต,.....การทำการงานชอบ,

สัมมาอาชีโว,...การเลี้ยงชีวิตชอบ,..สัมมาวายาโม,......ความพากเพียรชอบ,

สัมมาสะติ,.......ความระลึกชอบ,.....สัมมาสะมาธิ,........ความตั้งใจมั่นชอบ,

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง,

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,

เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว,

จักขุกะระณี,..............................เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ,

ญาณะกะระณี,...........................เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ,

อุปะสะมายะ,..............................เพื่อความสงบ,

อะภิญญายะ,..............................เพื่อความรู้ยิ่ง,

สัมโพธายะ,................................เพื่อความรู้พร้อม,

นิพพานายะ สังวัตตะติ,................เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน,

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์คือทุกข์นี้ มีอยู่,

ชาติปิ ทุกขา,...............................คือความเกิดก็เป็นทุกข์,

ชะราปิ ทุกขา,..............................แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,

มะระณัมปิ ทุกขัง,.........................แม้ความตายก็เป็นทุกข์,

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,

แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์,

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข,

ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,

มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์,

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,

ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์,

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ มีอยู่,

ยายัง ตัณ๎หา,...........................นี้คือ ตัณหา,

โปโนพภะวิกา,..........................อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก,

นันทิราคะสะหะคะตา,

อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน,

ตัต๎ระ ตัต๎ราภินันทินี,

อันเป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ,

เสยยะถีทัง,............................ได้แก่ตัณหาเหล่านี้ คือ,

กามะตัณ๎หา,...........................ตัณหาในกาม,

ภะวะตัณ๎หา,............................ตัณหาในความมีความเป็น,

วิภะวะตัณ๎หา,...........................ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น,

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่,

โย ตัสสาเยวะ ตัณ๎หายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ,

นี้คือความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้น นั่นเอง,

จาโค,.......................................เป็นความสลัดทิ้ง,

ปะฏินิสสัคโค,............................เป็นความสลัดคืน,

มุตติ,........................................เป็นความปล่อย,

อะนาละโย,................................เป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น,

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์คือ
ข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่,

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,

นี้คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ,

เสยยะถีทัง,....ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ,

สัมมาทิฏฐิ,.....ความเห็นชอบ,.......สัมมาสังกัปโป,.....ความดำริชอบ,

สัมมาวาจา,.....การพูดจาชอบ,......สัมมากัมมันโต,.....การทำการงานชอบ,

สัมมาอาชีโว,...การเลี้ยงชีวิตชอบ,..สัมมาวายาโม,......ความพากเพียรชอบ,

สัมมาสะติ,.......ความระลึกชอบ,.....สัมมาสะมาธิ,........ความตั้งใจมั่นชอบ,

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง
อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์คือทุกข์เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว ดังนี้,

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,
อาโลโก อุทะปาทิ,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรละเสีย ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะฮีนันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เราละได้แล้ว ดังนี้,

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ,
จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,
อาโลโก อุทะปาทิ,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เราทำให้แจ้งได้แล้ว ดังนี้,

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ
อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ,
วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์
ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล
เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล
เราทำให้เกิดมีได้แล้ว ดังนี้,

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว, อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ, เอวันติปะริวัฏฏัง
ท๎วาทะสาการัง, ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง,
มีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ เช่นนั้น, ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ เหล่านี้ *
ยังไม่เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เราอยู่เพียงใด,

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก,
สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ, สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง
สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตลอดกาลเพียงนั้น, เรายังไม่ปฏิญญาว่า ได้ตรัสรู้พร้อม
เฉพาะแล้ว, ซึ่งอนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ, ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก, ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว, อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ, เอวันติปะริวัฏฏัง
ท๎วาทะสาการัง, ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง,
มีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ เช่นนั้น, ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ เหล่านี้
เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา,

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก,
สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ, สะเทวะมะนุสสายะ, อนุตตะรัง
สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง,


เมื่อนั้นเราจึงปฏิญญาว่า ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ซึ่งอนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ,
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก,
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์,

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณและทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา,

อะกุปปา เม วิมุตติ,..........................ว่าความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ,

อะยะมันติมา ชาติ,...........................ความเกิดนี้เป็นความเกิดครั้งสุดท้าย,

นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ,......................บัดนี้ ความเกิดอีกย่อมไม่มี ดังนี้.


:b8: :b8: :b8:

คำอธิบายเพิ่มเติม

* ปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ อธิบายดังนี้

ญาตปริญญา ปัญญาหยั่งรู้อริยสัจจ์ ๔
(๑) ทุกข์ ความทุกข์มีจริง
(๒) สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์มีจริง
(๓) นิโรธ ความดับทุกข์มีจริง
(๔) มรรค ทางให้ถึงความดับทุกข์มีจริง

ตีรณปริญญา
(๑) ทุกข์เป็นกิจที่ควรกำหนดรู้
(๒) สมุทัยเป็นกิจที่ควรละ
(๓) นิโรธเป็นกิจที่ควรทำให้แจ้ง
(๔) มรรคเป็นกิจที่ควรเจริญให้มาก

ปหานปริญญา
(๑) ทุกข์กำหนดรู้แล้ว
(๒) สมุทัยละได้แล้ว
(๓) นิโรธทำให้แจ้งแล้ว
(๔) มรรคเจริญแล้ว กิจที่ต้องทำไม่มีอีก


...คัดลอกเนื้อหามาจาก...
หนังสือสวดมนต์-ไหว้พระ-สาธยายธรรม (แปล)
ธรรมานุสรณ์แด่พระอาจารย์สุโข กตปุญโญ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=20792

:b8: :b8: :b8:

:b44: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
: พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48156

:b44: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=28599

:b44: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กงล้อแห่งความจริงอันประเสริฐ
(ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=57701

:b44: ธัมมเมกขสถูป หรือ ธรรมเมกขสถูป
อนุสรณ์สถานแห่งการแสดง “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”
ใน “วันอาสาฬหบูชา” วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=41327

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2012, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

:b44: :b45: :b44:

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

ที่มา >>> :b39: พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
: สถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39377

:b49: :b49: สังฆคุณ ๙ : คุณของพระสงฆ์ ๙ ประการ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=27032

:b47: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
: พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48156

:b47: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=28599

:b47: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กงล้อแห่งความจริงอันประเสริฐ
(ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=57701

:b47: บทสวด “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=20815

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2012, 10:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 09:11
โพสต์: 597


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุๆๆค่ะ ท่านสาวิกาน้อย :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2019, 20:34 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2020, 16:32 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: อัศจรรย์แห่งธรรมดีแท้
ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2020, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2023, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร