วันเวลาปัจจุบัน 14 พ.ย. 2024, 13:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=28



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2009, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


(พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มวางหลักธรรมก่อนเรื่องอื่น)

..................ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

(หันทะ มะยัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส)

เท๎วเม (อ่านว่า ทะ-เว-เม) ภิกขะเว อันตา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างเหล่านี้ มีอยู่,

ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา,.....เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย,

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค,

นี้คือการประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย,

ฮีโน,......................................เป็นของต่ำทราม,

คัมโม,....................................เป็นของชาวบ้าน,

โปถุชชะนิโก,..........................เป็นของชนชั้นปุถุชน,

อะนะริโย,................................ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า,

อะนัตถะสัญหิโต,......................ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย นี้อย่างหนึ่ง,

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค,

อีกอย่างหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้ลำบาก,

ทุกโข,......................................เป็นสิ่งนำมาซึ่งทุกข์,

อะนะริโย,.................................ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า,

อะนัตถะสัญหิโต,.......................ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย,

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง
ไม่เข้าไปหาที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างนั้น มีอยู่,

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,

เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว,

จักขุกะระณี,..............................เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ,

ญาณะกะระณี,...........................เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ,

อุปะสะมายะ,..............................เพื่อความสงบ,

อะภิญญายะ,..............................เพื่อความรู้ยิ่ง,

สัมโพธายะ,................................เพื่อความรู้พร้อม,

นิพพานายะ สังวัตตะติ,................เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน,

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น เป็นอย่างไรเล่า?

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,

ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้เอง,

เสยยะถีทัง,....ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ,

สัมมาทิฏฐิ,.....ความเห็นชอบ,.......สัมมาสังกัปโป,.....ความดำริชอบ,

สัมมาวาจา,.....การพูดจาชอบ,......สัมมากัมมันโต,.....การทำการงานชอบ,

สัมมาอาชีโว,...การเลี้ยงชีวิตชอบ,..สัมมาวายาโม,......ความพากเพียรชอบ,

สัมมาสะติ,.......ความระลึกชอบ,.....สัมมาสะมาธิ,........ความตั้งใจมั่นชอบ,

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง,

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,

เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว,

จักขุกะระณี,..............................เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ,

ญาณะกะระณี,...........................เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ,

อุปะสะมายะ,..............................เพื่อความสงบ,

อะภิญญายะ,..............................เพื่อความรู้ยิ่ง,

สัมโพธายะ,................................เพื่อความรู้พร้อม,

นิพพานายะ สังวัตตะติ,................เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน,

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์คือทุกข์นี้ มีอยู่,

ชาติปิ ทุกขา,...............................คือความเกิดก็เป็นทุกข์,

ชะราปิ ทุกขา,..............................แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,

มะระณัมปิ ทุกขัง,.........................แม้ความตายก็เป็นทุกข์,

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,

แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์,

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข,

ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,

มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์,

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,

ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์,

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ มีอยู่,

ยายัง ตัณ๎หา,...........................นี้คือ ตัณหา,

โปโนพภะวิกา,..........................อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก,

นันทิราคะสะหะคะตา,

อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน,

ตัต๎ระ ตัต๎ราภินันทินี,

อันเป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ,

เสยยะถีทัง,............................ได้แก่ตัณหาเหล่านี้ คือ,

กามะตัณ๎หา,...........................ตัณหาในกาม,

ภะวะตัณ๎หา,............................ตัณหาในความมีความเป็น,

วิภะวะตัณ๎หา,...........................ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น,

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่,

โย ตัสสาเยวะ ตัณ๎หายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ,

นี้คือความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้น นั่นเอง,

จาโค,.......................................เป็นความสลัดทิ้ง,

ปะฏินิสสัคโค,............................เป็นความสลัดคืน,

มุตติ,........................................เป็นความปล่อย,

อะนาละโย,................................เป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น,

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์คือ
ข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่,

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,

นี้คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ,

เสยยะถีทัง,....ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ,

สัมมาทิฏฐิ,.....ความเห็นชอบ,.......สัมมาสังกัปโป,.....ความดำริชอบ,

สัมมาวาจา,.....การพูดจาชอบ,......สัมมากัมมันโต,.....การทำการงานชอบ,

สัมมาอาชีโว,...การเลี้ยงชีวิตชอบ,..สัมมาวายาโม,......ความพากเพียรชอบ,

สัมมาสะติ,.......ความระลึกชอบ,.....สัมมาสะมาธิ,........ความตั้งใจมั่นชอบ,

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง
อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์คือทุกข์เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว ดังนี้,

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,
อาโลโก อุทะปาทิ,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรละเสีย ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะฮีนันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เราละได้แล้ว ดังนี้,

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ,
จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,
อาโลโก อุทะปาทิ,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เราทำให้แจ้งได้แล้ว ดังนี้,

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ
อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ,
วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์
ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล
เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี ดังนี้,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ,

ว่า ก็อริยสัจจ์คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล
เราทำให้เกิดมีได้แล้ว ดังนี้,

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว, อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ, เอวันติปะริวัฏฏัง
ท๎วาทะสาการัง, ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง,
มีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ เช่นนั้น, ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ เหล่านี้ *
ยังไม่เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เราอยู่เพียงใด,

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก,
สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ, สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง
สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตลอดกาลเพียงนั้น, เรายังไม่ปฏิญญาว่า ได้ตรัสรู้พร้อม
เฉพาะแล้ว, ซึ่งอนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ, ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก, ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว, อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ, เอวันติปะริวัฏฏัง
ท๎วาทะสาการัง, ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ,


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง,
มีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ เช่นนั้น, ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ เหล่านี้
เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา,

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก,
สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ, สะเทวะมะนุสสายะ, อนุตตะรัง
สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง,


เมื่อนั้นเราจึงปฏิญญาว่า ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ซึ่งอนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ,
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก,
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์,

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณและทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา,

อะกุปปา เม วิมุตติ,..........................ว่าความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ,

อะยะมันติมา ชาติ,...........................ความเกิดนี้เป็นความเกิดครั้งสุดท้าย,

นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ,......................บัดนี้ ความเกิดอีกย่อมไม่มี ดังนี้.


:b8: :b8: :b8:

...คัดลอกเนื้อหามาจาก...
หนังสือสวดมนต์-ไหว้พระ-สาธยายธรรม (แปล)
ธรรมานุสรณ์แด่พระอาจารย์สุโข กตปุญโญ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=20792

:b44: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กงล้อแห่งความจริงอันประเสริฐ
(ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=57701

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2009, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


คำอธิบายเพิ่มเติม

* ปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ อธิบายดังนี้

ญาตปริญญา ปัญญาหยั่งรู้อริยสัจจ์ ๔
(๑) ทุกข์ ความทุกข์มีจริง
(๒) สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์มีจริง
(๓) นิโรธ ความดับทุกข์มีจริง
(๔) มรรค ทางให้ถึงความดับทุกข์มีจริง

ตีรณปริญญา
(๑) ทุกข์เป็นกิจที่ควรกำหนดรู้
(๒) สมุทัยเป็นกิจที่ควรละ
(๓) นิโรธเป็นกิจที่ควรทำให้แจ้ง
(๔) มรรคเป็นกิจที่ควรเจริญให้มาก

ปหานปริญญา
(๑) ทุกข์กำหนดรู้แล้ว
(๒) สมุทัยละได้แล้ว
(๓) นิโรธทำให้แจ้งแล้ว
(๔) มรรคเจริญแล้ว กิจที่ต้องทำไม่มีอีก


:b8: :b8: :b8:

:b44: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
: พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48156

:b44: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=28599

:b44: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กงล้อแห่งความจริงอันประเสริฐ
(ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=57701

:b44: ธัมมเมกขสถูป หรือ ธรรมเมกขสถูป
อนุสรณ์สถานแห่งการแสดง “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”
ใน “วันอาสาฬหบูชา” วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=41327

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว



:b8: :b44: :b51: :b46: :b53: :b44: :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์[1] ในวันอาสาฬหบูชา

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลาง เดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


เนื้อหาในพระสูตร

เนื้อหาที่เป็นประเด็นหลักในพระพุทธพจน์ที่ปรากฏในธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรโดยสรุปมีดังนี้

อ้างคำพูด:
"..ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ คือ ความจริงที่ช่วยมนุษย์ให้เป็นผู้ประเสริฐเกี่ยวกับการพิจารณาเห็นทุกข์ เป็นอย่างนี้ คือ การเข้าใจว่า "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" ล้วนแต่ เป็นทุกข์ แม้แต่ความโศรกเศร้าเสียใจ ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ทั้งความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ การยึดมั่นแบบฝังใจ ว่า เบญจขันธ์ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ว่าเป็น อัตตา เป็นตัวเรา เป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์แท้จริง

ภิกษุทั้งหลาย เหตุทำให้เกิดความทุกข์ (สมุหทัย) มีอย่างนี้ คือ ความอยากเกินควร ที่เรียกว่า ทะยานอยาก ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มัวเพลิดเพลินอย่างหลงระเริงในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้นๆ ได้แก่

ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่
ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่
ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็น เช่น ไม่อยากจะเป็นคนไร้เกียรติ ไร้ยศ เป็นต้น อยากจะดับสูญไปเลย ถ้าไม่ได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธ คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ ดับความกำหนัดอย่างสิ้นเชิง มิให้ตัณหาเหลือยู่ สละตัณหา ปล่อยวางตัณหาข้ามพ้นจากตัณหา ไม่มีเยื่อใยในตัณหา

ภิกษุทั้งหลาย ทุกขโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ (1) ความเห็นชอบ (2) ความดำริชอบ (3) วาจาชอบ (4) การงานชอบ (5) เลี้ยงชีวิตชอบ (6) ความเพียรชอบ (7) ความระลึกชอบ (8) ความตั้งจิตมั่นชอบ.."
:b42: :b44: :b44: :b44: :b42:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวโดยสรุป ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แสดงถึง

:b42: ส่วนที่สุดสองอย่าง ที่พระพุทธศาสนาปฏิเสธ อันได้แก่ "กามสุขัลลิกานุโยค" (หวังสบายเกิน ไม่ทำอะไร มัวอ้อนวอนพระเจ้า พึ่งหวังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หวังเสวยสุขโดยส่วนเดียว) และ "อัตตกิลมถานุโยค" คือการปฏิบัติตนเพื่อพ้นทุกข์โดยลำบากเกินไปโดยปล่าวประโยชน์
:b42: มัชฌิมาปฏิปทา คือปฏิปทาทางสายกลางที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ ได้แก่ มรรคมีองค์แปด
:b42: อริยสัจสี่ คือธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐสี่ประการ

ส่วนที่สุดสองอย่าง

ส่วนที่สุดสองอย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ

:b39: การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

:b39: การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน (เช่น บำเพ็ญทุกรกิริยา) เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง)

ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรคมีองค์แปด คือ

:b47: ปัญญาเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
:b47: ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
:b47: วาจาชอบ (สัมมาวาจา)
:b47: การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)
:b47: เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ)
:b47: ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)
:b47: ระลึกชอบ (สัมมาสติ)
:b47: ตั้งจิตชอบ (สัมมาสมาธิ)

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจสี่

อริยสัจสี่ ธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐสี่ประการ คือ

ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหาดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค คือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปด


อริยสัจสี่นี้

ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้.
ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละเสีย
ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรทำให้แจ้ง
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปด ควรเจริญ


http://www.analaya.com/listen-to-dhamma ... nting.html

:b8: ขออนุญาตเพิ่มเติมเพื่อสาธุชนเข้าใจได้ง่ายขึ้น

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2011, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 08:25
โพสต์: 326


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: ชอบสวดบทนี้มากเลยค่ะ สวดบ่อยมาก ชอบๆ สวดแล้วสบายใจค่ะ tongue

.....................................................
สุดปลายฟ้า... เชื่อมั่นและสัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ผู้รู้แจ้ง เห็นจริง ยึดถือพระองค์เป็นสรณะ อย่างไม่มีสิ่งใดเหนือกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2011, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านนะเจ้าค่ะ มีดวงตาเห็นธรรม มีความสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม มีความสุขความเจริญ และอยู่เย็นเป็นสุขนะค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2012, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 08:25
โพสต์: 326


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: :b8: สาธู สาธุ อนุโมทนาค่ะ ขออนุญาตแชร์สิ่งดีๆนี้เพื่อแบ่งปันด้วยนะคะ :b8:

.....................................................
สุดปลายฟ้า... เชื่อมั่นและสัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ผู้รู้แจ้ง เห็นจริง ยึดถือพระองค์เป็นสรณะ อย่างไม่มีสิ่งใดเหนือกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2012, 01:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2011, 10:52
โพสต์: 256

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b8: :b8: :b8: :b39:

.....................................................
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร ไม่ต้อง อ้อนวอน ขอพร กะใคร ให้กวน
พรที่ ให้กัน ผันผวน เป็นเหมือน ลมหวน อวลไป อวลมา อย่าหลง
พรทำ ดีเอง มั่นคง วันคืน ยืนยง ซื่อตรง ต่อผู้ รู้ทำ
อยากรวย ด้วยพร เพียรบำ - เพ็ญบุญ กุศลนำ ให้ถูก ให้พอ ต่อตน
ทุกคน เกิดมา เป็นคน ชั่วดี มีจน เป็นผล แห่งกรรม ทำเอง
ถือธรรม เชื่อกรรม ยำเยง บาปชั่ว กลัวเกรง ทำแต่ กรรมดี ทวีพรฯ

ท่านพุทธทาสภิกขุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2016, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 05:25
โพสต์: 621


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร