วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ย. 2024, 19:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=28



กลับไปยังกระทู้  [ 97 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2018, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา ๕ อย่าง

๑. ศาสนธรรมคำสอน (ธรรมะ-วินัย)

๒. ศาสนบุคคล (พุทธบริษัท)

๓. ศาสนสถาน (อาราม, กุฏิวิหาร, อุโบสถ เจดีย์ เป็นต้น)

๔. ศาสนวัตถุ (พุทธปฏิมา)

๕. ศาสนาพิธี (งานบุญทางศาสนา เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น)

ทั้ง ๕ ประการนี้มีความสำคัญด้วยกันทั้งนั้น เปรียบเหมือนกับต้นไม้ที่สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งก็ต้องประกอบไปด้วยกิ่งใบเปลือกกะพี้แก่นราก ขาดอย่างหนึ่งอย่างใดต้นไม้นั้นก็ไม่แข็งแรง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2018, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริตต์ มีความหมายหลายนัย นำนัยที่สามให้ดู

ปริตต์, ปริตร ๓. (ปะ-หริด) “เครื่องคุ้มครองป้องกัน” บทสวดที่นับถือเป็นพระพุทธมนต์ คือ บาลีภาษิตดั้งเดิมในพระไตรปิฎก ซึ่งได้ยกมาจัดไว้เป็นพวกหนึ่งในฐานะเป็นคำขลัง หรือคำศักดิ์สิทธิ์ ที่มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันช่วยให้พ้นจากภยันตรายและเป็นสิริมงคลทำให้เกษมสวัสดีมีความสุขความเจริญ (ในยุคหลังมีการเรียบเรียงปริตรเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากบาลีภาษิตในพระไตรปิฎกบ้าง พึงทราบตามคำอธิบายต่อไป และพึงแยกว่า บทสวดที่มักสวดเพิ่มหรือพ่วงกับพระปริตรในพิธีหรือในโอกาสเดียวกัน มีอีกมาก มิใช่มาจากพระไตรปิฎก แต่เป็นของนิพนธ์ขึ้นภายหลัง มิใช่พระปริตร แต่เป็นบทสวดประกอบ โดยสวดนำบ้าง สวดต่อท้ายบ้าง)

กล่าวได้ว่า การสวดพระปริตรเป็นการปฏิบัติสืบเนื่องจากความนิยมในสังคมซึ่งมีการสวดสาธยายร่ายมนต์ (มันตสัชฌายน์, มันตปริชัปปน์) ที่แพร่หลายเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ แต่ได้ปรับแก้จัดและจำกัดทั้งความหมาย เนื้อหา และการปฏิบัติ ให้เข้ากับคติแห่งพระพุทธศาสนา อย่างน้อยเพื่อช่วยให้ชนจำนวนมากที่เคยยึดถือมาตามคติพราหมณ์ และยังไม่เข้มแข็งมั่นคงในพุทธคติ หรืออยู่ในบรรยากาศของคติพราหมณ์นั้น และยังอาจหวั่นไหว ให้มีเครื่องมั่นใจและให้มีหลักเชื่อมต่อที่จะช่วยพาพัฒนาก้าวต่อไป ฯลฯ

นอกจากนั้น หลายครั้งพุทธเจ้าทรงแนะนำพระสาวก ให้เจริญเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลาย เช่น งูบ้าง ให้ทำสัจกิริยาคืออ้างสัจจะอ้างคุณธรรมบ้าง ให้ระลึกถึงคุณและเคารพนบน้อมพระรัตนตรัยบ้าง เป็นกำลังที่คุ้มครองรักษา แล้วพระดำรัสนั้นก็ได้รับความนับถือจัดเป็นปริตรชื่อต่างๆ ที่กล่าวนี้ พอให้เห็นความเป็นมาของพระปริตร

รวมแล้ว ในเรื่องปริตรนี้ ข้อสำคัญอยู่ที่ต้องมีจิตใจเป็นกุศล นอกจากมีเมตตานำหน้าและมั่นในสัจจะบนฐานแห่งธรรมแล้ว ก็พึ่งรู้เข้าใจสาระของปริตรนั้นๆ โดยมีกัมมัสสกตาปัญญาอันมองเห็นความมีกรรมเป็นของตน ซึ่งผลจะสำเร็จด้วยความพากเพียรในการกระทำของตน เมื่อมีใจโล่งเบาสดชื่นผ่องใสด้วยมั่นใจในคุณพระปริตรที่คุ้มครองป้องกันภัยอันตรายให้แล้ว ก็จะได้มีสติมั่นมีสมาธิแน่วมุ่งหน้าทำการนั้นๆ ให้ก้าวหน้าต่อไปด้วยความเข้มแข็งมีกำลังหนักแน่นและแจ่มใสชัดเจนจนถึงความสำเร็จ

สำหรับพระภิกษุต้องตั้งใจปฏิบัติในเรื่องปริตรนี้ต่อคฤหัสถ์ด้วยจิตเมตตากรุณา พร้อมไปกับความสังวรระวังมิให้ผิดพลาดจากพระวินัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2018, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องสวดมนต์เจ็ดและสิบสองตำนาน

ในงานพิธีต่างๆ ของพุทธศาสนิกชนชาวไทย นิยมนิมนต์พระภิกษุในพระพุทธศาสนามาสวดพระปริตร ซึ่งเราเรียกกันเป็นสามัญว่า สวดมนต์ หรือเจริญพระพุทธมนต์ เป็นประเพณีมาช้านาน ตามตำนานพระปริตรซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า ประเพณีที่พระสงฆ์สวดพระปริตรเกิดขึ้นในลังกาทวีป ประมาณว่าเมื่อพุทธกาลล่วงแล้วราว ๕๐๐ ปี”

สาเหตุที่จะเกิดประเพณีสวดพระปริตรตามบ้านนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงฯ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า “ในเรื่องพงศาวดารปรากฏว่า พวกทมิฬมีอำนาจปกครองบ้านเมือง (ลังกา) อยู่นานๆ ก็หลายครั้ง พวกทมิฬนับถือไสยศาสตร์ พาศาสนาพราหมณ์เข้ามาสั่งสอนในลังกาทวีปด้วยก็ตาม คติศาสนาพราหมณ์นั้นนิยมว่าผู้ทรงพระเวทอาจร่ายมนต์ให้เกิดสิริมงคลหรือป้องกันแก้ไขภยันตรายแก่มหาชนได้

สันนิษฐานว่า พวกชาวลังกาแม้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ก็ย่อมมีเวลาปรารถนาสิริมงคลและมีเวลาหวาดหวั่นต่อภยันตรายตามธรรมดาสามัญมนุษย์ คงจะขอให้พระสงฆ์เถรานุเถระชาวลังช่วยหาทางในพระพุทธศาสนาสงเคราะห์เพื่อให้เกิดสิริมงคล หรือป้องกันภยันตรายให้แก่ตนบ้าง พระสงฆ์มีความกรุณา จึงคิดวิธีสวดพระปริตรขึ้นให้สมประสงค์ของประชาชน ก็แต่วิธีร่ายเวทมนต์ของพราหมณ์นั้น เขาวิงวอนขอพระต่อพระเป็นเจ้า คติพระพุทธศาสนาห้ามการเช่นนั้น พระสงฆ์จึงค้นในพระไตรปิฎกเลือกเอาพระสูตรและปาฐะพระคาถาสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย อันมีตำนานอ้างว่าเกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุการณ์ต่างๆ มาสวดเป็นมนต์”


การสวดมนต์ดังกล่าวนั้น เรียกว่าสวดพระปริตร หมายถึง สวดพระพุทธวจนะที่มีอานุภาพคุ้มกันอันตรายต่างๆ ได้

พระปริตรปรากฏมี ๒ แบบ คือ มหาราชปริตร ราชปริตรใหญ่ ๒ ตำนาน ๑ จุลฺลราชปริตฺต ราชปริตรน้อย ๗ ตำนาน ๑ ที่เรียกราชปริตรนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงสันนิษฐานว่า “คงจะเกิดขึ้นโดยพระราชประสงค์ของพระเจ้าแผ่นดิน” และในข้อที่ว่าอันใดจะเกิดก่อนเกิดหลัง มีพระนิพนธ์ไว้ว่า “อย่างไหนจะเป็นแบบเดิม ข้อนี้เคยสันนิษฐานกันมาแต่ก่อนว่า อย่าง ๑๒ ตำนาน เห็นจะเป็นราชปริตรเดิม ครั้นต่อมาภายหลังมีพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งอาจเป็นต่างประเทศกับลังกา ทรงมีดำริเห็นว่ายังยาวนัก จึงโปรดให้ตัดลงเป็นอย่าง ๗ ตำนาน มีราชปริตรเป็น ๒ อย่างขึ้น จึงได้เรียกอย่างยาวว่า มหาราชปริตร เรียกอย่างสั้นว่า จุลราชราชปริตร ดังนี้

แต่เมื่อมาพิจารณากันในคราวจะแต่งตำนานพระปริตรนี้ มีบัณฑิตหลายคน คือ พระพินิจวรรณการ (แสง สาลิตุล) เป็นต้น กลับเห็นว่า อย่าง ๗ ตำนานจะเป็นแบบเดิม อย่าง ๑๒ ตำนานเป็นของปรุงใหม่ต่อภายหลัง อ้างเหตุให้เห็นเช่นนั้น ด้วยพระปริตรต่างๆ ใน ๗ ตำนาน กับ ๑๒ ตำนาน เหมือนกันโดยมาก เป็นแต่ว่าลำดับผิดกัน

ถ้าว่าเฉพาะตัวพระปริตร ไม่ยาวสั้นผิดกันกี่มากน้อยนัก เป็นแต่มีบทขัดตำนานมากกว่ากัน ถ้าประสงค์เพียงจะตัดพระปริตรอย่าง ๑๒ ตำนานให้สั้น คงไม่ทำเช่นที่ปรากฏ

อีกประการหนึ่งสังเกตเห็นว่า ลักษณะที่จัดพระปริตรต่างๆ ทั้งที่เพิ่มคำขัดตำนานขึ้นอย่าง ๑๒ ตำนาน เป็นระเบียบเรียบร้อยดีกว่าอย่าง ๗ ตำนาน จึงสันนิษฐานว่า ราชปริตรเดิมเห็นจะเป็นอย่าง ๗ ตำนาน ต่อมามีผู้รู้คิดแก้ไขให้เป็นอย่าง ๑๒ ตำนาน”

งานที่จะสวดเจ็ดตำนานและสิบสองตำนาน สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงพระนิพนธ์ว่า “การพิธีพุทธศาสนาล้วนๆ แต่ก่อนมา ถ้าเป็นงานมงคลอย่างสามัญ เช่น ทำบุญเรือน หรือฉลองพระ หรือโกนจุก เป็นต้น สวด ๗ ตำนาน

ถ้าเป็นงานมงคลวิเศษกว่าสามัญ เช่น การราชพิธีใหญ่ แต่สวดมนต์วันเดียว ดังพิธีถือน้ำและพิธีแรกนาเป็นต้นก็ดี งานเชลยศักดิ์ซึ่งเป็นงานสำคัญ เช่น งานฉลองอายุและแต่งงานบ่าวสาวเป็นต้นก็ดี ย่อมสวด ๑๒ ตำนาน แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปแล้ว”


การสวดมนต์ในงานมงคลต่างๆ ในปัจจุบันนี้ใช้สวดเจ็ดตำนานโดยทั่วไป สิบสองตำนานไม่ใคร่จะได้สวด ถ้าจะมีการสวดสิบสองตำนาน ต้องบอกพระให้ท่านทราบล่วงหน้าไว้ ในเวลาที่ไปนิมนต์ หรือหมายเหตุไปกับฎีกาที่นำไปถวาย ในที่นี้ จะได้พูดถึงเรื่องของสิบสองตำนานทั้งบาลีคำแปลและตำนาน ตลอดถึงอธิบายข้อที่ควรอธิบาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2018, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตำนาน น. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง, เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบๆ มา เช่น ตำนานพุทธเจดีย์สยาม; เรียกพระปริตรบทหนึ่งๆ ว่าตำนาน ในคำว่า เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2018, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชุมนุมเทวดา

ผริตฺวานเมตฺตํ สเมตฺตา ภทนฺตา
อวิกฺขิตฺตจิตฺตา ปริตฺตํ ภณนฺตุ

สคฺเค กาเม จ รูเป ฯลฯ ธมฺมสฺสวนกาโล อยมฺภทนฺตา,
ธมฺมสฺสวนกาโล อยมฺภทนฺตา, ธมฺมสฺสวนกาโล อยมฺภทนฺตา

คำแปลทั้งหมด ดังนี้

ขอเชิญท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีเมตตาจิต จงแผ่เมตตา อย่าได้มีจิตฟุ้งซ่าน สวดพระปริตรเทอญ

ขอเชิญบรรดาเทพเจ้า ซึ่งสถิตในสรวงสวรรค์ ชั้นกามภพ รูปภพ และเทพเจ้าผู้สถิตเหนือยอดเขาและหุบเขาและในวิมานอันอยู่ในอากาศทั้งที่สถิตในเกาะ ในแว่นแคว้น ในแดนบ้าน ในต้นไม้ ในป่าโปร่งและป่าทึบ ในเรือน ในเรือกสวน ในไร่นา ทั้งบรรดายักษ์คนธรรพ์และนาค ผู้เป็นสาธุชนอันอยู่ในน้ำ บนบก ที่ลุ่ม ที่ดอนก็ดี ขอจงมาประชุมกันในที่นี้ ฟังคำของพระมุนีอันประเสริฐ ซึ่งข้าพเจ้าจะได้สวดต่อไป ณ บัดนี้ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม.

อีกแบบหนึ่ง

สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา
สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง


สัคเค กาเม จะ รูเป ฯลฯ ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ฯลฯ

ขอเชิญเทพเจ้าในจักรวาลทั้งหลายโดยรอบมา ณ สมาคมนี้ ขอเชิญฟังพระสัทธรรม ของพระมุนีเจ้า อันจะอำนวยให้ทั้งสวรรค์และนิพพานเถิด ฯลฯ (แปลเหมือนข้างบน)

หมายเหตุ :
บทนี้ทั้งสองแบบเป็นบทที่แต่งเพิ่มขึ้นใหม่ ไม่มีในพระไตรปิฎก เรียกว่าบทชุมนุมเทวดา บทชุมนุมเทวดานี้ แต่เดิมมาคฤหัสถ์ที่เป็นผู้อาราธนาพระปริตรเป็นผู้ว่า คืออาราธนาพระปริตรจบแล้ว ก็ว่าบทชุมนุมเทวดาด้วย ต่อมาภายหลังจึงได้ยกถวายพระสวดมนต์เป็นผู้ว่า พระที่ว่าบทนี้โดยปกติเป็นรูปที่ ๓ นับจากพระที่เป็นหัวหน้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 มิ.ย. 2018, 18:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2018, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทนมัสการ

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมทางพระศาสนา จะต้องตั้ง นะโม ๓ ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการใดๆ ทั้งนั้น แม้ที่สุดถวายสังฆทานก็ต้องเริ่มด้วยนะโมฯ ๓ ครั้งก่อน บทนี้ ท่านเรียกกันมาว่า บทนมัสการ หมายความว่า เป็นบทถวายความเคารพแด่พระพุทธเจ้า แต่เป็นการนมัสการพระคุณ มิใช่นมัสการพระองค์

การนมัสการพระคุณเช่นนี้ ทำให้พุทธศาสนิกชนไม่ต้องว้าเหว่ วุ่นวายใจว่า พระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เพราะถึงพระองค์จะล่วงลับดับขันธ์ปรินิพพานไปนานแล้ว แต่พระคุณยังคงดรงอยู่ มิได้ล่วงลับไปตามพระองค์ แม้ในปัจจุบันพระคุณของพระองค์ก็ยังคงปรากฏอยู่ เป็นที่ซาบซึ้งตรึงใจพุทธศาสนิกชนทั่วไป ดังนั้น การนมัสการด้วยบทนมัสการนี้ จึงมีความหมายว่า

“พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นพระผู้ทรงพระภาค เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ขอนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น”

บททั้ง ๓ คือ ภควโต ๑ อรหโต ๑ สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ๑ เป็นบทประกาศพระคุณของพระพุทธเจ้าโดยประมวล มีอรรถาธิบายโดยสังเขป ต่อไปนี้

บท ภะคะวะโต แปลไว้ว่า ผู้ทรงพระภาค เล็งถึงพระกรุณาคุณ คือ ทรงแจกพระธรรมอันล้ำเลิศที่ได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ด้วยพระปัญญาอันยิ่งแก่มหาชนชาวโลก ที่ได้นามว่า “พระพุทธศาสนา” อันพระพุทธศาสนานั้น ท่านแต่ก่อนๆท่านเทิดทูน ไม่เรียกเพียงว่า พระพุทธศาสนา เท่านั้น ท่านเติมคำว่า บวร เข้าไปด้วย เป็นพระบวรพระพุทธศาสนาทีเดียว ทั้งนี้ เพราะยุติต้องกันว่า พระพุทธศาสนาเป็นสมบัติเอกอุดมแท้ที่โลกนี้มีอยู่ สมบัติอื่นๆ นั้น มีความวิบัติเสื่อมสลายแปรผัน และเป็นไปเพื่อความคับแค้นได้ ถึงจะเรียกว่าสมบัติ ก็มิใช่เป็นอย่างเอกอุดม

ส่วนพระบวรพระพุทธศาสนานั้น เป็นสมบัติที่ไม่มีวิบัติคอยตัดรอน เป็นสมบัติที่ปราศจากความสูญสลาย เป็นสมบัติที่ไม่แปรผัน ทั้งไม่เป็นไปเพื่อความคับแค้น พระพุทธองค์โปรดประทานไว้แก่ชาวโลกด้วยพระกรุณาอันล้นพ้น เพราะว่าพระธรรมที่ตรัสรู้นั้น เป็นอมตธรรม

ถ้าพระองค์จะทรงหวงแหนไว้ ไม่ตรัสสอน ใครๆ ก็ไม่สามารถจะตำหนิพระองค์อย่างไรได้ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงเปิดเผยจำแนกแจกจ่ายแก่มหาชน ตามที่ตรัสรู้ทุกประการ มิได้ปิดบังอำพรางความรู้นั้นไว้เลย เป็นพระกรุณาอย่างล้นพ้นทีเดียว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2018, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทคือ อะระหะโต แปลไว้ว่า อรหันต์ หมายถึง เป็นผู้ไกลจากกิเลส เล็งถึงพระบริสุทธิคุณ ความหมายของพระคุณบทนี้ มีหลายนัย ที่ให้ความหมายมาแล้วว่า เป็นผู้ไกลจากกิเลสนั้น เป็นเพียงนัยหนึ่งเท่านั้น ยังมีนัยอื่นๆ อีก คือ ทรงหักกำกงแห่งสงสารจักร หมายถึงสิ้นชาติสิ้นภพ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดสืบไป ทรงกำจัดกิเลสอันเป็นข้าศึก หมายถึงบรรดากิเลสที่เป็นตัวก่อความยุ่งเหยิงในจิตใจ ทรงกำจัดได้เด็ดขาดไม่มีอำนาจที่จะจูงพระองค์ไปในทางเสื่อมเสียได้ และพระองค์ไม่มีความลับ ไม่มีข้อที่จะต้องปกปิดด้วยพระองค์เอง หรือจะต้องให้ผู้อื่นช่วยปกปิด กายสมาจาร ความประพฤติชอบทางกาย วจีสมาจาร ความประพฤติชอบทางวาจา และมโนสมาจาร ความประพฤติชอบทางใจของพระองค์คงที่ ต่อหน้ามหาชนเป็นอย่างใด ลับหลังก็อย่างนั้น

นัยที่พรรณนาตามความของศัพท์ต่างๆ ประมวลลงตรงที่ บริสุทธิ์ คือ ทรงผุดผ่องปราศจากข้อที่วิญญูชนจะตำหนิได้ ทั้งในด้านชาติกำเนิด ทั้งในด้านความรู้ความฉลาด ทั้งในด้านความประพฤติ และในด้านอัธยาศัย ทรงบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2018, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทคือ สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส แปลทับศัพท์ว่า สัมมาสัมพุทธ แต่ในทางภาษาไทยฟังแล้วห้วนไป เติมคำว่า เจ้า ซึ่งประกาศความสูงส่งประกอบเข้าท้ายคำ เป็น สัมมาสัมพุทธเจ้า เล็งถึง พระปัญญาคุณ คือ ตรัสรู้สรรพธรรมที่ควรรู้ได้โดยลำพังพระองค์ และข้อที่ตรัสรู้นั้นๆ เป็นไปโดยชอบ หมายความว่าอาการที่ตรัสรู้นั้น เป็นความจริง ไม่วิปริตแปรผันเป็นอย่างอื่น

ข้อที่ตรัสรู้เล่า ก็เป็นเรื่องจริง ไม่วิปริตแปรผันเป็นอย่างอื่น ข้อที่ตรัสรู้เล่า ก็เป็นเรื่องจริง แท้ แน่นอน ไม่วิปริตแปรผันเป็นอย่างอื่น เป็นสภาวะคงที่อยู่ตลอดกาล ความรู้ชัดรู้แน่นอนของพระองค์เป็นเช่นนี้ จึงเรียกว่า โพธิญาณ หมายถึง รู้จริงๆ คือ ความรู้ของพระองค์ก็ จริง ข้อที่ควรรู้ ก็ จริง จึงกล่าวได้ว่า รู้จริงๆ

ประจักษ์พยานที่จะเห็นได้ง่ายๆ ก็คือตั้งแต่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานมาถึง บัดนี้ ๒๕๖๑ (หนังสือพิมพ์เมื่อ ๒๕๑๕) ปีแล้ว มีใครบ้างที่อาจประกาศตนเป็น สัมมาสัมพุทธะ ซ้อนขึ้นมาเป็นองค์ที่ ๒ แม้จะมีผู้พยายามเป็นนักเป็นหนา ที่จะตั้งตนเป็นศาสดา ก็หาอาจประกาศตนเป็นสัมมาสัมพุทธะไม่ เพราะความรู้ของตนไม่จริง และข้อที่รู้ก็ไม่จริง เข้าไม่ถึงโพธิญาณ เมื่อเข้าไม่ถึงโพธิญาณ จะประกาศตนเป็นสัมมาสัมพุทธะไม่ได้เป็นอันขาด พระปัญญาของพระองค์เป็นเช่นนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2018, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิญาณ ญาณคือความตรัสรู้, ญาณคือปัญญาตรัสรู้, มรรคญาณทั้งสี่มีโสดาปัตติมัคคญาณ เป็นต้น

ภควา พระผู้มีพระภาค, เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า และเป็นแสดงพระพุทธคุณอย่างหนึ่ง แปลว่า “ทรงเป็นผู้มีโชค” คือ หวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายได้, อีกนัยหนึ่งว่า ทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม

อรหัง (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลสและบาปธรรม ทรงความบริสุทธิ์, หรือเป็นผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลสสิ้นแล้ว, หรือเป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร อันได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม, หรือเป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอน เป็นผู้ควรรับความเคารพ ควรแก่ทักษิณา และการบูชาพิเศษ, หรือเป็นผู้ไม่มีข้อเร้นลับ คือ ไม่มีข้อเสียหายอันควรปกปิด

อรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุดผู้ได้บรรลุอรหัตผล

อรหันตขีณาสพ พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ใช้สำหรับพระสาวก, สำหรับพระพุทธเจ้า ใช้คำว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2018, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเรียงลำดับพระคุณตามนิยมของนักปราชญ์นั้น เรียงพระปัญญาคุณก่อน ต่อมาถึงพระบริสุทธิคุณ แล้วพระกรุณาคุณเป็นที่สุด ทั้งนี้ เป็นการเพ่งจากพระองค์ออกมา

พระปัญญาคุณจะประจักษ์ก่อน เพราะทรงอาศัยพระปัญญา อันได้แก่ พระโพธิญาณดังกล่าวนั้น ชำระพระกมลสันดานให้บริสุทธิ์ เป็นพระบริสุทธิคุณ เพราะทรงมีจิตใจบริสุทธิ์ผุดผ่องนั้นแล เป็นเหตุให้ทรงพระกรุณาประกาศอมตธรรมแก่มหาชนโดยปราศจากความปรารถนาผลตอบแทน ทรงประกาศพระธรรมเพื่อสิริสวัสดิ์ของมหาชนเอง มิได้ทรงประกาศพระธรรมเพื่อให้มหาชนตอบแทนพระองค์ด้วยประการใดๆทั้งสิ้น เป็นพระกรุณาล้นเหลือ นี้เป็นการเพ่งจากพระองค์ออกมา

หากเพ่งจากเราเข้าไปหาพระองค์ พระคุณที่ปรากฏประจักษ์แก่เราก่อน ก็คือ พระกรุณาคุณ ที่เราได้ทราบ ได้ศึกษา ได้ปฏิบัติพระธรรม ได้รับอานิสงส์แห่งการปฏิบัติตามสมควรอยู่นั้น เพราะพระองค์ทรงพระมหากรุณาประกาศพระธรรมไว้ หาไม่แล้ว เราจักต้องพากันมืดมนอนธการเป็นนักหนาทีเดียว และการที่ทรงประการเล่า ก็เพื่อความสุขความเจริญของพวกเราเท่านั้น

พระองค์มีพระทัยบริสุทธิ์ผุดผ่องจริงๆ มิได้ทรงมุ่งหวังผลตอบแทนใดๆ จากเราเลย ไม่เหมือนการช่วยเหลือที่ปรากฏอยู่ทั่วๆ ไป เป็นการช่วยเหลือเพื่อผลตอบแทน ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง หากช่วยแล้วไม่ได้รับผลสนอง ก็มีการลำเลิกกัน เช่นนี้ มีอยู่ทั่วไป

พระพุทธองค์มิได้มีพระทัยเช่นนั้นเลย ทรงช่วยด้วยบริสุทธิ์พระทัยจริงๆ การที่จะบริสุทธิ์ได้ดังนี้ ต้องมีพระปรีชาญาณกำจัดความเศร้าหมองในพระองค์ได้หมดจดก่อน

ถ้าไม่หมดจดแล้วจะบริสุทธิ์ไม่ได้ ที่จะหมดจดได้เล่า ก็ต้องมีพระปรีชาญาณล้ำเลิศแท้จริง เพ่งจากเราเข้าไปหาพระองค์แล้ว พระกรุณาคุณย่อมปรากฏประจักษ์ก่อน แล้วถึงบริสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณโดยลำดับ เหตุนั้น ในบทนมัสการจึงวางบท ภควโต อันหมายถึง พระกรุณาคุณเป็นปฐม พระบริสุทธิคุณเป็นที่สอง และปัญญาคุณเป็นที่สุด ด้วยประการฉะนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2018, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากจะตั้งปัญหาขึ้นว่า บทนมัสการ นี้ ใครตั้ง ใครแต่ง ก็อาจตอบได้ว่า บทนมัสการนี้ ท่านผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแต่งตั้งไว้ก็ไม่ผิด เพราะปรากฏในที่ต่างๆ หลายแห่ง ที่ท่านผู้มีศรัทธาได้กล่าววาจานอบน้อมนมัสการพระพุทธองค์ด้วย บท นะโม ฯ นี้ ที่ถึงกับเป็นเหตุแห่งการตรัสเทศนาก็มี มีเรื่องเล่าไว้ว่า

พราหมณ์สองผัวเมีย มีความเลื่อมใสต่างกัน ผัวเลื่อมใสในลัทธิพราหมณ์
เมียเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
คราวหนึ่ง ผัวเชิญพวกพราหมณ์มาเลี้ยงอาหารในการมงคล เมียก็ช่วยตามหน้าที่ของภรรยาที่ดี
นางยกสำรับมาเพื่อให้ผัวเลี้ยงพราหมณ์ เหยียบพื้นพลาดเซไป ก็พลั้งออกมาว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

พวกพราหมณ์ที่ได้รับเชิญมา ฟังแล้วพากันพูดว่า ตัวกาฬกินีเกิดขึ้นในบ้านนี้แล้ว พากันลุกไปหมด
พราหมณ์ผู้ผัว โกรธเมียเป็นไฟ ด่าว่าเมียยกใหญ่ สุดท้ายบอกว่า “ดีละ จะไปเล่นงานสมณโคดมของแกให้จนทีเดียว” รีบไปไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยความโกรธ

พอไปถึงก็ตั้งปัญหาถามทันทีว่า “ฆ่าอะไรเสีย ถึงจะอยู่เป็นสุข”

ตรัสตอบทันทีว่า “ฆ่าความโกรธเสีย ถึงจะอยู่เป็นสุข”

เพียงเท่านี้ พราหมณ์ผู้มีอุปนิสัยก็เห็นจริง เกิดความเลื่อมใส ว่าบทนมัสการได้ด้วยตนเอง และฟังนมัสการของผู้อื่นด้วยใจชื่นบาน

เรื่องผู้ตั้งแต่ง นะโม ฯ นั้น กล่าวตามที่ท่านโบราณาจารย์ได้กล่าวไว้ คงเป็นดังนี้

นโม สาตาคิรายักษ์ เป็นผู้ตั้ง

ตสฺส อสุรินทราหู เป็นผู้ตั้ง

ภควโต ท้าวจาตุมหาราช เป็นผู้ตั้ง

อรหโต ท้าวสักเทวราช เป็นผู้ตั้ง

สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ท้าวมหาพรหม เป็นผู้ตั้ง

ผู้ตั้งนะโม ฯ ตามที่นำมานี้ ไม่ทราบอธิบายของท่านว่า ตั้งกันอย่างไร เพราะเทวะที่กล่าวถึงนั้น บางชื่อก็เป็นหมู่ บางชื่อก็มีเดี่ยว ดังนี้

สาตาคิรายักษ์ เป็นเทวดาชาวเขา ว่าอยู่ที่เขาสาตาคิรี จัดเป็นพวกภุมเทพ เทวดาที่อยู่บนแผ่นดินในมหาสมัยสูตร ปรากฏว่า มีถึง ๓,๐๐๐ แต่ในที่นี้อ้างไว้เป็น เอกพจน์ คือ “นโม สาตาคิรายกฺโข” “นโม ฯ สาตาคิรายักษ์ เป็นผู้ตั้ง” ทีจะหมายถึงหัวหน้าหรือผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของเทวะพวกนั้น

อสุรินทราหู ราหูเป็นชื่อ อสุรินทะ บอกยศว่า จอมอสูร อสูรเป็นเทวะพวกหนึ่งเหมือนกัน เป็นทิพกาย มีกายเป็นทิพย์ ราหูนั้นเป็นอริกับสุริยเทพ คือ พระอาทิตย์ และจันทรเทพ คือพระจันทร์ เป็นมิตรกับจอมพิภพอสูร ชื่อท้าวเวปจิติ

จาตุมหาราช เป็นเทวะหมู่ แปลว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เป็นพิภพที่จัดเข้าในสวรรค์ ๖ ชั้น แต่เป็นชั้นแรก เรียกว่า จาตุมหาราชิก ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น มีหน้าที่ครองโลก เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล ปันกันคนละทิศ ท้าวธตรฐ เป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์ ครองทิศตะวันออก ท้าววิรูฬหก เป็นอธิบดีของพวกกุมภัณฑ์ ครองทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ เป็นอธิบดีของพวกนาค ครองทิศตะวันตก ท้าวกุเวร (เวสวรรณ์) เป็นอธิบดีของพวกยักษ์ ครองทิศเหนือ

ท้าวสักกเทวราช เรียกชื่อกันสามัญว่า พระอินทร์ และยังมีชื่ออีกหลายชื่อ ท้าวสหัสนัยน์ สหัสเนตร มัฆวาน วาสพ บุรินทท ชื่อที่เรียกทั่วไปในพระคัมภีร์ คือ สกฺโก เทวราชา ท้าวสักกะเทวราช เป็นเจ้าพิภพดาวดึงส์ ปกครองถึงจาตุมหาราชด้วย พระอินทร์ที่ยังครองดาวดึงส์อยู่ในบัดนี้ เป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน

ท้าวมหาพรหม เป็นเทวะชั้นสูง อยู่ในภพต่างหากจากพวกเทวะสามัญ ซึ่งเรียกว่า เทวโลก ภพที่อยู่ของพรหม เรียกว่า พรหมโลก แต่คงจัดเข้าในเทวะ เพราะเป็นพวกทิพย์ด้วยกัน ที่ต่างกับเทวะในเทวโลกนั้น เพราะกรรมที่ให้บังเกิดต่างกัน ผู้ให้ทานรักษาศีลไปเกิดในเทวโลก ผู้ได้ฌานสมาบัติจึงจะได้ไปเกิดในพรหมโลก แยกตามกำลังฌานเป็น ๒ ภพ คือรูปภพชั้นที่เกิดของผู้ที่ได้รูปฌาน อรูปภพชั้นที่เกิดของผู้ที่ได้อรูปฌาน ท้าวมหาพรหมได้ฌานซึ่งเพ่งรูปเป็นอารมณ์เกิดในรูปภพ

เทวะทั้ง ๕ พวก ที่ปรากฏว่าเป็นผู้แต่งตั้งนะโม ฯ มีเรื่องราวโดยย่อๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เดี่ยวก็มี หมู่ก็มี จะตั้งแต่ง นะโม ฯ อย่างไร เห็นอยู่ทางหนึ่งว่า ต่างคนต่างกล่าวนมัสการ ตามอัธยาศัยที่มีปสาทศรัทธา ต่อมาคัดของผู้นั่นบางผู้นี้บ้าง ผสมกันเข้าเป็นบทนมัสการประจำสืบมา นำมาเล่าไว้เพื่อให้ทราบว่า ท่านโบราณาจารย์ ท่านกล่าวไว้อย่างไร ในเรื่องของบทนมัสการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2018, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประโยชน์ในการนมัสการพระนั้น ท่านโบราณาจารย์ได้กล่าวไว้ ๔ ประการด้วยกัน คือ

๑. เพื่อดำเนินในร่องรอยแห่งท่านผู้เป็นอริยะ

๒. เพื่อขออำนาจคุณพระคุ้มครองป้องกันอันตราย

๓. เพื่อทำชีวิตให้มีสาระ

๔. เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์

ที่ว่า เพื่อดำเนินในร่องรอยแห่งท่านผู้เป็นอริยะนั้น มีอธิบายว่า ท่านผู้เป็นอริยะจะประกอบงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมรำพึงถึงพระคุณของท่านผู้มีอุปการคุณเป็นเบื้องต้น ข้อนี้ได้เป็นแบบฉบับอันดีงาม เป็นประเพณีนิยมสืบเนื่องต่อๆ มาจนถึงกาลทุกวันนี้ ไม่ว่าจะประกอบกิจกรรมอะไรขึ้น ต้องรำลึกถึงอุปการคุณของท่านผู้ริเริ่มการนั้นๆ เสมอมา ที่เรียกกันว่า “พิธีคำนับครู” หรือ “ไหว้ครู” ซึ่งแพร่หลายไปทั่ว แม้แต่ในการเล่นเต้นรำ เช่น ลิเก ก็ต้องมีกำนลคำนับครู ยังไม่ได้คำนับครู ก็ไม่ยอมเล่น พิณพาทย์ยังไม่ค่าคำนับครู ก็ไม่ยอมตี การรำลึกถึงอุปการคุณของท่านผู้ริเริ่มการนั้นๆ เป็นประเดิม เป็นร่องรอย เป็นแนวทางแห่งท่านผู้เป็นอริยะ

ก็แลพระพุทธศาสนาของเรา พระพุทธเจ้าทรงเป็นเจ้าของ ทรงตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้วประทานไว้แก่มหาชนชาวโลกด้วยมหากรุณาธิคุณ เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะประกอบกิจการใดๆในทางพระศาสนา พุทธศาสนิกชนจึงระลึกถึงพระคุณของพระองค์ท่านเป็นบุรพกิจ เปล่งวาจา หรือน้อมจิตนมัสการพระคุณ ด้วยบทนมัสการ คือ นะโม ฯลฯ

ที่ว่า เพื่อขออำนาจคุณพระคุ้มครองป้องกันอันตรายนั้น มีอธิบายว่า ในการประกอบกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจมีเหตุการณ์เป็นอุปสรรคเข้ามาแทรกแซงในระหว่าง ทำให้การประกอบกิจกรรมนั้นๆ ดำเนินไปอย่างตะกุกตะกักประดักประเดิด หรือถึงกับเลิกล้มเสียกลางคัน การที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ทำให้กิจกรรมนั้นๆ ดำเนินไปไม่ราบรื่น หรือต้องเลิกล้มเช่นนี้ เรียกว่า อันตราย

อันตรายนี้ ไม่มีใครอาจประกันได้ว่าจะไม่เกิด ทั้งไม่มีอะไรเป็นเครื่องอุ่นใจให้คลายกังวลอีกด้วย ถ้าได้นมัสการพระคุณพระพุทธเจ้าก่อนแล้ว ก็เป็นอันได้อัญเชิญพระคุณของพระองค์มาเป็นประหนึ่งปราการแก้วป้องกันอันตราย จิตใจของผู้ประกอบกิจกรรมในทางพระศาสนา จะเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกในความปลอดอันตราย และอบอุ่นอยู่ภายใต้พระคุณอันมหาศาลของพระองค์ ปราศจากความหวาดหวั่นครั่นคร้าม คลายความกังวลในเรื่องที่จะเกิดอุปสรรค เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะประกอบกิจกรรมในทางพระศาสนา พุทธศาสนิกชนจึงเปล่งวาจา หรือน้อมจิตนมัสการพระคุณเป็นเบื้องแรก ด้วยบทนมัสการ คือ นะโม ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2018, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ว่า เพื่อทำชีวิตให้มีสาระนั้น มีอธิบายว่า ชีวิตของคนเรานั้น มีวันที่จะมอดม้วยหมดไป เหมือนดวงเทียนที่จุด มีแต่จะมอดหมดไป
ฉะนั้น การที่มีชีวิตมาครั้งหนึ่ง ก็เปรียบเหมือนได้ถือดวงเทียนมาดวงหนึ่ง และดวงเทียน กล่าวคือชีวิตนี้ จะอยู่ท่ามกลางกระแสลม กล่าวคือ อันตรายรอบด้าน เพราะเหตุที่จะทำให้สิ้นชีวิตนั้นมีมากกมายเหลือเกิน ไม่มีกาลเวลา ไม่มีนิมิตอะไรบอกให้รู้ล่วงหน้า ทั้งไม่เลือกสถานที่อีกด้วย ชีวิตช่างลำเค็ญเป็นสุดแสน เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว ร่างกายก็ปราศจากความเคลื่อนไหว นอนทอดเหมือนขอนไม้ ถึงภาวะที่มิควรจะเอาไว้ในเหย้าเรือน
ยามเป็นอยู่ ตึกตระหง่านโอ่โถง มีห้องนอน ห้องนั่ง ฯลฯ แต่พอตายแล้ว เขาให้อยู่ห้องเดียวแคบๆ แล้วก็นำออกจากบ้าน หลุมฝังหรือเชิงตะกอนเป็นที่สุดท้าย คติของชีวิตมีดังนี้
http://g-picture2.wunjun.com/6/full/521 ... ?s=718x960
แสดงว่า ไม่มีสาระอะไรแน่นอน ผู้มีชีวิตจึงไม่ควรประมาท ควรแสวงหาสาระให้แก่ชีวิต ทำชีวิตนั้นให้มีสาระ ชีวิตที่เต็มไปด้วยความคิดช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในยามทุกข์ยามยาก เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีช่องที่จะตำหนิได้ ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ เต็มไปด้วยความรู้ความฉลาด สามารถในการดำรงตนอยู่ในโลกด้วยสวัสดี ปราศจากทุกข์ภัย ชีวิตอย่างนี้ เป็นชีวิตที่ประเสริฐ ไม่เปล่า ไม่ปราศจากสาระ

แม้ชีวิตจะสิ้นไป คุณความดีก็ยังเหลือตรึงตราอยู่ การเปล่งวาจา หรือน้อมนึกนมัสการพระพุทธเจ้าเป็นการน้อมชีวิตโผเข้าไปเกาะอยู่กับพระคุณ คือ พระกรุณา พระบริสุทธิ์ และพระปัญญา ซึ่งเป็นภาวะอันยั่งยืน ชีวิตก็จะพลอยได้รับสาระคุณนั้นบรรจุเข้าไว้
การน้อมชีวิตโผเข้าหาพระคุณทั้งนี้ เป็นเหมือนสร้างเจดีย์เข้าไว้ ในตนองค์หนึ่ง ภายในบรรจุด้วยคุณของพระพุทธเจ้า ควรแก่การคารวะของตน แม้จะเป็นการชั่วครู่ ก็ยังดีกว่าชีวิตที่ไม่มีพระคุณเช่นนั้นบรรจุไว้เลย
เพราะฉะนั้น พุทธศาสนิกชนจึงเปล่งวาจา หรือน้อมนึกนมัสการพระคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้น ในการประกอบกิจกรรมทางพระศาสนา ด้วยบทนมัสการ คือ นะโม ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2018, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ว่า เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์นั้น มีอธิบายว่า อันจิตใจของสามัญชนนั้น ถูกย้อมด้วยอารมณ์ต่างๆ แปดเปื้อนด้วยมลทินนานัปการ
อารมณ์บางชนิดยั่วให้กำหนัดยินดี บางชนิดให้ขุ่นเคืองขัดแค้น บางชนิดให้เคลิบเคลิ้ม บางชนิดเย้าให้หงุดหงิดรำคาญ บางชนิดแหย่ให้คลางแคลงลังเล ทั้งต้องคอยอาศัยประสาทต่างๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ขวนขวายหาอารมณ์มาบำรุงบำเรอ ตนเองเป็นเหมือนไร้ความสามารถ ไม่อาจหาความสุขให้ตนได้ตามลำพัง

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ได้ชื่อว่า ปราศจากอิสระไม่เป็นใหญ่ ตนตกเป็นทาสของอารมณ์ พบที่น่าปรารถนาก็ชื่นชมนิยมไป
พบที่ไม่น่าปรารถนา ก็ขัดแค้นเคืองขุ่นวุ่นวายไป ไม่เป็นอันจะสงบลงได้ ต้องดิ้นรนไป เหมือนปลาที่ถูกจับโยนขึ้นหาดทรายในเวลาร้อน โดดขึ้นแล้วก็ตกลงมา

โดดขึ้นไปอีกแล้วก็ตกลงมาอีก ไม่หย่อนหยุด จนกว่าจะสิ้นแรง เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมีความบริสุทธิ์ผ่องใสไม่ได้
เมื่อจิตไม่ผ่องใสแล้ว การกระทำ การพูด ก็พลอยเสียไปตามกัน เพราะจิตใจเป็นตัวจักรสำคัญ ที่หมุนให้กายกรรม วจีกรรมดำเนินตาม
ถ้าจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใสแล้ว การกระทำทางกาย ทางวาจา ก็พลอยดีไปด้วย ความบริสุทธิ์ผุดผ่องของจิตใจให้เป็นต้นเค้าสำคัญของกุศล ดังนี้ การเปล่งวาจา หรือน้อมนึกนมัสการพระคุณพระพุทธเจ้า ด้วยความตั้งใจ เป็นทางหนึ่งที่จะชำระจิตให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะเมื่อจิตใจเกาะแนบสนิทอยู่กับพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว อารมณ์ที่เป็นธุลีทำให้เศร้าหมองก็ปราศจากไป เกิดความบริสุทธิ์ผ่องใสขึ้น เป็นกุศลอยู่ในตนเองด้วย เป็นที่เกิดแห่งกองกุศลอื่นๆ อีกด้วย แม้จะเป็นความบริสุทธิ์ได้เพียงชั่วขณะ ก็ยังดีกว่าไม่มีเวลาจะบริสุทธิ์เสียเลย หรือถ้าบริสุทธิ์ได้คราวละขณะ แต่หลายคราวเข้า ตามโอกาสที่ได้เปล่งวาจาหรือน้อมนึกนั้นๆ ก็อาจเป็นปัจจัยแห่งความบริสุทธิ์ผุดผ่องยั่งยืนต่อไปได้
เพราะฉะนั้น พุทธศาสนิกชนก่อนจะประกอบกิจกรรมทางพระศาสนา จึงเปล่งวาจา หรือน้อมนึกนมัสการพระพุทธเจ้าเป็นปฐม ด้วยบทนมัสการ คือ นะโม ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2018, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเปล่งวาจานมัสการพระคุณของพระพุทธเจ้านั้น ต้องว่า ๓ จบ เสมอไป ไม่มีกรณีใดๆ ที่จะกำหนดให้ว่า ๑ จบ หรือ ๒ จบ ว่าคราวใดต้อง ๓ จบทุกครั้ง ที่เป็นดังนี้ ท่านโบราณาจารย์ให้อรรถาธิบายไว้ว่า เมื่อนมัสการพระพุทธเจ้าให้ครบประเภท ซึ่งมีอยู่ ๓ คือ

๑. พระวิริยาธิกพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ด้วยทรงใช้พระวิริยะอย่างเรี่ยวแรง กำหนดระยะกาลบำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัลป์

๒. พระสัทธาธิกพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ด้วยทรงใช้ศรัทธาอย่างเรี่ยวแรง กำหนดระยะกาลบำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัลป์

๓. พระปัญญาธิกพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ด้วยทรงใช้ปัญญาอย่างเรี่ยวแรง กำหนดระยะกาลบำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัลป์
พระพุทธเจ้าของเราเป็นพระปัญญาธิกพุทธเจ้า

คุณธรรมที่เป็นหลักเป็นประธานในการบำเพ็ญบารมี เพื่อเป็นพระพุทธเจ้านั้น ๓ ประการ คือ วิริยะ ศรัทธา และปัญญา ทำให้ระยะกาลบำเพ็ญบารมีเนิ่นกว่ากันเป็นชั้นๆ ถ้าจะเปรียบให้เห็นได้ใกล้ๆ ก็เช่นเดียวกับการที่บุคคลจะเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ทอ. อาจเป็นได้ ๓ ทาง คือ จากพลทหารทาง ๑ จากจ่าอากาศทาง ๑ เรียนจากโรงเรียนนายเรืออากาศโดยตรงทาง ๑ ระยะเวลาที่จะต้องบากบั่นก็ย่อมยิ่งหย่อนกว่ากันเป็นธรรมดา ฉันใด การบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าก็พอจะเปรียบได้ ฉันนั้น

การตั้งนะโม ฯลฯ ๓ ครั้ง ก็เพื่อจะนมัสการพระพุทธเจ้าให้ครบทั้ง ๓ ประเภท ดังนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 97 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร