วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2011, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




bua.jpg
bua.jpg [ 71.12 KiB | เปิดดู 12023 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

cool

มาตรฐานแห่งความดีความชั่ว

อะไรคือความดี ? อะไรคือความชั่ว ? เป็นปัญหาทางจริยศาสตร์ ซึ่งนักปราชญ์ทางนี้ได้ถกเถียงกันเป็นอันมาก และตกลงกันไม่ค่อยได้ เพราะมีขอบเขตกว้างขวางมาก อะไรคือคุณธรรม ? ก็เป็นปัญหาที่ตอบยากเช่นเดียวกันนักปราชญ์ทั้งหลาย แม้เป็นถึงศาสดาผู้ตั้งศาสนาที่มีคนนับถือทั่วโลก ก็ยังบัญญัติคุณธรรมไว้ไม่ตรงกัน ยิ่งหย่อน กว้างแคบกว่ากัน

ความชั่วกับความผิดเป็นอันเดียวกันหรือไม่ ความดีกับความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันหรือต่างกัน หมายความว่า ความถูกต้องอาจไม่เป็นความดีเสมอไปหรืออย่างไร ? นี่ก็เป็นปัญหาทางจริยศาสตร์เช่นเดียวกัน

คนส่วนมากมักถือเอาความสุข ความสมปรารถนาในชีวิตปัจจุบันเป็นมาตรฐานวัดความดี คือความดีต้องมีผลออกมาเป็นความสุข ความสมปรารถนา เป็นลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ส่วนความชั่วต้องมีผลตรงกันข้าม แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่แน่เสมอไป .... พระพุทธเจ้าทรงให้แนวคิดไว้ว่า “กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนภายหลัง กรรมนั้นดี บุคคลทำกรรมใดแล้วเดือดร้อนภายหลัง กรรมนั้นไม่ดี” ตามแง่นี้ เราจะมองเห็นความจริงอย่างหนึ่งว่า คนทำชั่วบางคนได้รับความสุขเพราะการทำชั่วนั้นในเบื้องต้น ถ้าเขาเพลิดเพลินในการทำชั่วนั้นต่อไป ไม่รีบเลิกเสีย เขาจะต้องได้รับความทุกข์ในตอนปลาย ส่วนคนทำความดีบางคน ได้รับความทุกข์ในเบื้องต้น แต่ถ้าเขามั่นอยู่ในความดีนั้นต่อไป ไม่ยอมเลิกทำความดี เขาย่อมต้องได้รับความสุขในเบื้องปลาย ตรงกับข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “เมื่อกรรมชั่วยังไม่ให้ผล คนชั่วอาจเห็นกรรมชั่วเป็นกรรมดี แต่เมื่อกรรมชั่วให้ผล เขาย่อม เห็นกรรมชั่วว่าเป็นกรรมชั่ว ส่วนคนดี อาจเห็นกรรมดีเป็นกรรมชั่ว เมื่อกรรมดียังไม่ให้ผล แต่เมื่อกรรมดีให้ผลเมื่อนั้นเขาย่อมเห็นกรรมดีเป็นกรรมดี”

โดยนัยดังกล่าวนี้ ถ้ามองกรรมและผลของกรรมในสายสั้น อาจทำความไขว้เขวบ้างในบางเรื่อง แต่ถ้ามองในสายยาวจะเห็นถูกต้องทุกเรื่องไป ความเป็นไปในชีวิตคนเป็นปฏิกิริยาแห่งกรรมของเขาทั้งสิ้น ถ้ามองในสายสั้นก็จะยังไม่เห็น แต่ถ้าเรามองเหตุผลสายยาวก็จะเห็น ทฤษฎีเรื่องการเกิดใหม่ (อันเป็นเหตุผลของกรรมในสายยาว) จึงต้องควบคู่กันไปกับเรื่องกฎแห่งกรรม แยกจากกันไม่ได้ เพราะถ้าแยกจากกันเมื่อไร บุคคลก็จะมองเห็นเหตุผลในเรื่องกรรมเพียงสายสั้นเท่านั้น สมมติว่าวันหนึ่งเป็นชาติหนึ่ง เหตุการณ์ในวันนี้อาจเกี่ยวโยงไปถึงเหตุการณ์ในอีกร้อยวันข้างหน้า เหตุการณ์เมื่อร้อยวันก่อนอาจเกี่ยวโยงมาถึงเหตุการณ์ในวันนี้ ในทำนองเดียวกัน เหตุการณ์เมื่อพันชาติมาแล้ว อาจมาเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ในชาตินี้ คนสามัญอาจงง แต่ท่านผู้ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณเห็นเป็นเรื่องธรรมดา เหมือนกับเรารู้ว่า เมื่อ ๒๐ ปีก่อน เราเรียนหนังสือมาอย่างไร เราจึงมามีความรู้อยู่อย่างวันนี้

ในเหตุผลสายสั้น คนขโมยเงินย่อมได้เงิน เงินมันไม่ได้ทักท้วงใครว่าถูกหรือผิด ดีหรือชั่ว ถ้ามองกันเพียงวันเดียว อาจเห็นการขโมยเป็นทางดี เพราะได้เงินมาจับจ่ายใช้สอยหาความสุขสำราญได้ แต่ผลที่ตามมาอีกชั้นหนึ่ง คือความเดือดร้อนใจของผู้ขโมยนั้นเอง ซึ่งจะต้องมีอยู่อย่างแน่ ๆ ไม่ต้องสงสัย และถ้าเจ้าทรัพย์หรือตำรวจจับได้ เขาต้องได้รับโทษตามกฎหมาย อาจติดคุก บางทีในขณะที่เขาได้รับโทษนั้น เขากำลังประกอบกรรมดีบางอย่างอยู่ ระยะเวลาห่างจากวันที่เขาขโมยถึง ๒๕๐ – ๓๐๐ วัน หรือ ๒ – ๓ ปี ๙ – ๑๐ ปี ก็ได้ นี่คือตัวอย่างที่พอมองเห็นกันได้

อนึ่ง ความเกี่ยวข้องระหว่างบุคคลในทางดีหรือไม่ดี ทางเกื้อหนุนหรือเบียดเบียน ตัวเขาเองนั่นแหละเป็นคนรู้ เพราะความเกี่ยวข้องเหล่านี้ ถูกเก็บรวบรวมไว้ในวิญญาณอันท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏตราบเท่าที่กิเลสยังมีอยู่ เมื่อเจอกันเข้าในชาติใดชาติหนึ่ง ความรู้สึกของวิญญาณย่อมบอกให้เรารู้ว่าเคยเป็นมิตรเป็นศัตรูกันมาอย่างไร

มาตรฐานเครื่องตัดสินกรรมดีกรรมชั่วอีกอย่างหนึ่งตามแง่ของพระพุทธเจ้า คือ กรรมใดทำแล้ว ทำให้กิเลสพอกพูนขึ้น กรรมนั้นเป็นกรรมชั่ว ส่วนกรรมใดทำแล้วเป็นไปเพื่อความขัดเกลากิเลสทำให้กิเลสเบาบางลง กรรมนั้นเป็นกรรมดี กล่าวให้ชัดอีกหน่อยหนึ่งว่า ทำอย่างไร พูดอย่างไร และคิดอย่างใด ทำให้โลภ โกรธ หลง เพิ่มพูนขึ้นในสันดานหรือในจิต อันนั้นเป็นกรรมชั่ว ส่วนกรรมดีก็ตรงกันข้าม มาตรฐานนี้ค่อนข้างสูงหน่อย พ้นจากสำนึกของคนสามัญ กล่าวคือคนทั่วไปไม่ค่อยนึกในแง่นี้ เมื่อเอาหลักตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการมาพิจารณาก็จะยิ่งเห็นชัดขึ้นว่า มาตรฐานแห่งความดีของพระพุทธองค์นั้นอยู่ที่การลดโลภ โกรธ หลง ยิ่งลดได้มากเท่าใด ยิ่งดีมากเท่านั้น ลดได้หมดเกลี้ยงก็ดีถึงที่สุด


ทรงแสดงลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ แก่พระนางมหาปชาบดีภิกษุณีไว้ดังนี้
... ... ... ธรรมใดเป็นไปเพื่อ
๑. ความกำหนัด (สราคะ)
๒. การประกอบตนอยู่ในทุกข์ (สังโยคะ)
๓. สะสมกิเลส (อาจยะ)
๔. ความมักใหญ่ อยากใหญ่ (มหิจฉตา)
๕. ความไม่สันโดษ (อสันตุฏฐิตา)
๖. ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ (สังคณิกา)
๗. ความเกียจคร้าน (โกสัชชะ)
๘. ความเลี้ยงยาก (ทุพภรตา)
ทั้ง ๘ นี้ พึงทราบเถิดว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา
... ... ... ส่วนธรรมใดเป็นไปเพื่อ
๑. คลายความกำหนัด (วิราคะ)
๒. การไม่ประกอบตนไว้ในกองกิเลส (วิสังโยคะ)
๓. การไม่สะสมกองกิเลส (อปจยะ)
๔. ความปรารถนาน้อย (อัปปิจฉตา)
๕. ความสันโดษ (สันตุฏฐิตา)
๖. การไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ (อสังคณิกา)
๗. ความไม่เกียจคร้าน คือความเพียรติดต่อสม่ำเสมอ (วิริยารัมภะ)
๘. ความเลี้ยงง่าย (สุภรตา)
พึงทราบเถิดว่า ทั้ง ๘ นี้ เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสอนของพระศาสดา

เมื่อเอาหลักทั้ง ๘ ประการนี้มาตัดสินว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรควรเว้น อะไรควรทำ แล้วจะเห็นว่ามาตรฐานแห่งกรรมดีของพระพุทธองค์นั้นอยู่ในระดับสูง และเป็นการแน่นอนว่า ความดีเช่นนี้ย่อมมีจุดจบในตัวเอง คือไม่ใช่ความดีเพื่อลาภ ยศ ชื่อเสียง หรือเพื่อจุดมุ่งหมายอื่น แต่เป็นความดีเพื่อความดี ความดีเพื่อพ้นจากความวนเวียนในสังสารวัฏ เพราะถือว่าการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏนั้น แม้จะเกิดดีเพียงไร ก็ยังเจืออยู่ด้วยทุกข์ ต่างกันแต่เพียงรูปแบบของความทุกข์เท่านั้น แต่ในเนื้อหาแล้วเป็นความทุกข์เหมือนกัน เช่น ชาวนาก็ทุกข์อย่างชาวนา พ่อค้า ข้าราชการ พระมหากษัตริย์ พระสงฆ์ ล้วนแต่ต้องทุกข์ในรูปแบบของตน ๆ

ในความหมายอย่างสูงที่ว่า “ความดีเพื่อความดี” นี้ ทำให้เราเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้นซึ่งพระพุทธภาษิตที่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว.........กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ”
การทำดี.........คือ การกระทำที่ประกอบด้วยคุณธรรม เช่น เมตตา กรุณา ความเสียสละ ความเอื้อเฟื้อ ฯ สิ่งที่เขาจะได้รับอย่างแน่นอนคือคุณธรรมที่เพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เขาทำ นั่นคือการได้ดี ใจของเขาย่อมสูงขึ้น สะอาด สว่างขึ้น ตามสัดส่วนแห่งคุณธรรมที่เพิ่มขึ้น เสียงสรรเสริญ ก็ไม่ใช่เครื่องวัดความดีที่แน่นอนเสมอไป ในหมู่โจรย่อมสรรเสริญโจรที่เก่งกล้า อันธพาลที่สามารถคุมอันธพาลด้วยกันได้ ย่อมได้รับเสียงสรรเสริญจากกลุ่มอันธพาลด้วยกัน บัณฑิตย่อมได้รับเสียงสรรเสริญจากหมู่บัณฑิต แต่ได้รับเสียงติเตียนจากหมู่คนพาล ด้วยเหตุนี้ เมื่อได้รับสรรเสริญ จึงต้องพิจารณาดูก่อนว่าใครเป็นผู้สรรเสริญ ถ้าบัณฑิตสรรเสริญก็เชื่อได้ว่าเสียงสรรเสริญนั้นมาจากคุณธรรมหรือการทำความดี

การทำชั่ว.........คือการกระทำที่ไร้คุณธรรม ที่ว่าได้ชั่วก็เพราะมีนิสัยชั่วเกิดขึ้นในจิต ถ้าทำบ่อย ๆ นิสัยชั่วก็พอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ จนเกาะแน่นเป็นลักษณะนิสัยของผู้นั้นยากที่จะแก้ไขได้ เหมือนดินพอกหางหมู ความชั่วหรือนิสัยชั่วที่พอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ นั้น ย่อมชักนำเขาไปในทางที่ชั่ว ในที่สุดเขาก็จะพบกับหายนะอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เพราะวิบากชั่วซึ่งแฝงอยู่ในจิตของเขานั่นเองจะคอยกระซิบ กระตุ้นเตือนให้บุคคลผู้นั้นคิด พูด กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันจะนำไปสู่ผลร้าย คือทำให้เขาตัดสินใจผิด ก้าวผิด เมื่อถึงคราวที่กรรมจะให้ผล เพราะวิบากแก่กล้า
สุกรอบแล้วนั้น แม้คนมีปัญญาก็อับจนปัญญา ซึ่งท่านเปรียบว่า นกแร้งมีสายตาไกลสามารถมองเห็นซากศพได้เป็นร้อย ๆ โยชน์ แต่พอถึงคราวเคราะห์ (ถึงคราวกรรมจะให้ผล) บ่วงอยู่ใกล้ก็มองไม่เห็น เดินเข้าไปติดบ่วงจนได้ ตรงกันข้าม ถ้าถึงคราวกรรมดีจะให้ผล วิบากแห่งกรรมซึ่งสั่งสมอยู่ในจิต ย่อมบันดาลให้เขาทำ พูด คิด ไปในทางที่ถูก อันจะนำไปสู่ผลดีอันนั้น

พิจารณาในแง่นี้แล้ว ควรเว้นกรรมชั่ว สั่งสมแต่กรรมดี เพื่อจะได้มีวิบากอันดีอยู่ในจิต นี่คือการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ย้ำอีกทีว่า คนประพฤติกระทำอย่างใดย่อมได้ความเป็นอย่างนั้นขึ้นในตน เช่น หัดเป็นโจรเป็นนักเลง ย่อมได้ความเป็นโจรเป็นนักเลงขึ้นในตน หัดเป็นคนดีในทางไหน ย่อมได้ความเป็นคนดีในทางนั้นขึ้นในตน ด้วยเหตุนี้ คนที่มีความปรารถนาจะเป็นอย่างใด แล้วเริ่มหัดประพฤติกระทำอยู่เสมอ ๆ เขาย่อมได้เป็นอย่างนั้นแน่นอน ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เร็วหรือช้า สุดแล้วแต่คุณสมบัตินั้นจะสุกรอบหรือแก่กล้า (Maturation) เมื่อใด นี่คือคำอธิบายพระพุทธภาษิตที่ว่า บุคคลทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ย่อมต้องรับมรดกแห่งกรรมนั้น

(จากบางส่วนหนังสือ หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด.....อาจารย์วศิน อินทสระ)


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:


เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2011, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2011, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2011, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 08:25
โพสต์: 326


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: ค่ะ
:b45: :b45: :b45: :b44: :b42:

.....................................................
สุดปลายฟ้า... เชื่อมั่นและสัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ผู้รู้แจ้ง เห็นจริง ยึดถือพระองค์เป็นสรณะ อย่างไม่มีสิ่งใดเหนือกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2011, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:18
โพสต์: 105

สิ่งที่ชื่นชอบ: การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง
อายุ: 0
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




Lotus124.jpg
Lotus124.jpg [ 2.58 KiB | เปิดดู 11974 ครั้ง ]
ผลแห่งความดี-ความชั่ว

เราเกิดมาได้ชื่อว่า ได้ของอันมีค่า ๓ ประการคือ
ได้อัตภาพมาเป็นคน ๑
ได้มารดาบิดา ๑
และได้มรดกที่มารดาบิดาหามาไว้ให้ ๑
เพราะตัวของเราก็ดี มารดาบิดาของเราคู่นี้ก็ดี
จะหาแลกเปลี่ยนซื้อขายเอาได้ที่ไหนในโลกนี้
จะชั่วดีอย่างไรพร้อมทั้งตัวของเรานี้ ก็เป็นของของเราได้มาแล้ว
จะแลกเปลี่ยนเอาอื่น เหมือนวัตถุสิ่งของอื่นไม่ได้เลย อีกสมบัติข้าวของที่ท่านหามาให้ไม่ว่ามากหรือน้อย ก็เป็นอันท่านหามาให้ด้วยความเมตตาและอุตสาหะอย่างยิ่ง จึงเป็นของมีค่ามาก

อนึ่ง โคตรตระกูลเป็นของมีค่ามาก อารยชนทั้งหลายเขาถือกันนักหนา คนใดจะดูถูกเหยียดหยามไม่ได้เด็ดขาด การทำเช่นนั้นถือกันว่าเป็นการทำที่เลวร้ายให้อภัยกันไม่ได้เลย
แต่นั่นแหละเรื่องวงศ์ตระกูลแล้ว คนอื่นถึงเขาจะเหยียดหยามดูถูกอย่างไร ก็ไม่สามารถจะทำวงศ์ตระกูลของเราให้เสื่อมสูญไปได้ ที่ทำลายได้ง่าย ที่สุดก็คือคนในตระกูลของเราเอง อันได้แก่ลูกหลานในตระกูล แล้วพวกเหล่านี้ตั้งใจทำลายด้วยความสมัครใจ อย่างไม่เสียดายเลย

มารดาบิดาและบรรพบุรุษของเราได้สร้างคุณงามความดีให้เกิดสิริมงคล
ตั้งตน อยู่ในสุจริต ประกอบแต่กิจในทางสัมมาอาชีพ
ตั้งมั่นอยู่ในคุณพระรัตนตรัย ให้ทานรักษาศีลเป็นกิจวัตร
ปฏิบัติตามแนวของอุบาสก อุบาสิกา เป็นลำดับมา
เมื่อมา ถึงลูกหลานเป็นคนผลาญสมบัติของตระกูล ที่บรรพบุรุษแสวงหาไว้ให้ ตั้งใจประกอบแต่อบายมุข เห็นความชั่วเป็นของสนุกสนาน
เหมือนแมลงเม่าเห็นไฟเป็นของสวยงามโผเข้าใส่ ถูกไฟไหม้ใกล้ตายจึงจะเห็นโทษ

ความชั่วที่ตนทำลงไปนั้น
มิใช่จะทำให้เกิดความเสียหายให้แก่ตนและทรัพย์สมบัติมรดกเท่านั้น
แต่มันเกี่ยวถึงวงศ์ตระกูลด้วย
ฉะนั้น ทุกๆคนจึงต้องพากัน รักษาวงศ์ตระกูลของตน
ด้วยการประพฤติดีตามรอยบุพชนของตน ที่ท่านได้ทำดี ทำชอบมาแล้วจงทุกประการ หรือจะทำดียิ่งๆขึ้นไปกว่าบุพชนของเราก็ยิ่งเป็นการชอบแท้

เมื่อทำได้อย่างนั้นแล้ว มิใช่แต่จะเป็นการรักษาวงศ์ตระกูลอันมีเกียรติของเราไว้เท่านั้น แต่มันยังเป็นการทำความดีเพื่อความเจริญก้าวหน้าแก่ตน อันเป็นคุณสมบัติที่ทุกๆคนพึงปรารถนาอีกด้วย

แท้จริง ความดีที่คนอื่นทำให้เราเห็นเป็นตัวอย่างนั้น
เป็นเหมือนกระจกเงาสำหรับส่องหน้า
เพื่อเราจะได้แต่งหน้าแต่งตัว ว่าที่ไหนเป็นฝ้ามัวมอม
เราจะได้ขัดจะได้แต่งให้สะอาดสวยงาม
คุณงามความดีที่คนอื่นเขาทำให้เราเห็นเป็นตัวอย่าง
แล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเราเห็นว่าดี ชอบแล้ว จงทำตามแบบอย่างที่ดีของเขา แล้วระลึกเอาความดีนั้น มาเทียบกับความประพฤติเป็นอยู่ของเราอยู่เสมอๆ และอย่าเข้าใจว่าความดีของเรานั้นเราทำตามไม่ได้ ไม่เป็นของเหลือวิสัยเลยหากเรารักและสนใจในความดีอย่างนั้น
แล้วตั้งใจประพฤติฝึกฝนอบรมตาม
เพราะนิสัยสันดานแม้แต่สัตว์ดิรัจฉานก็อาจตามได้ ทั้งๆที่สัตว์เหล่านั้นไม่รู้ความหมายของเจ้าของเลย

ร่างกายของคนเราสมประกอบบริบูรณ์ครบครันแล้วทุกประการ
แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีการเสริมสวย เพื่อให้เข้ากับสังคมเขาได้
และเมื่อขาดการตกแต่งเสริมสวยแล้ว ก็จะเป็นที่น่าเกลียดสกปรกเป็นธรรมดา ของที่เราใช้ถึงจะเป็นของสวยสะอาดแล้วก็ตาม
เมื่อนำออกมาใช้แล้วจำจะต้องสกปรก ร่างกายมนุษย์ของคนเรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ฉะนั้น จึงจำต้องตกแต่งเสริมสวยเพื่อความสะอาดอยู่เสมอ
แต่ ความสะอาดของร่างกายต้องตกแต่งไม่รู้จักจบจักสิ้นไปสักที ตายแล้วเป็นผีเขาตกแต่งรูปกายไม่ได้ เขาก็นำไปแต่งหีบแต่งเมรุภายนอก มันได้ประโยชน์คุ้มค่าตรงไหน ไปเผาแล้วเป็นเถ้าผงไปหมด ถึงกระนั้นคนทั้งหลายก็ยังอุตส่าห์พากัน ลงทุนลงแรงตกแต่งกันอยู่

หากพวกเราพากันมาลงทุนด้วยการใช้อุตสาหะ วิริยะพากเพียร
อบรมกาย วาจา ใจ ของตนให้สุภาพเรียบร้อยดีงามตามศีลธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อเครื่องเสริมสวยแล้วจะมิดีกว่าหรือ

ผู้ที่สนใจตกแต่งกาย วาจา ใจ ของตน
ด้วยน้อมเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าเข้ามาฝึกอบรมแล้ว
ไม่ว่าหญิง ชาย หนุ่ม แก่ หรือจะอยู่ในฐานะชั้นภูมิใดๆก็ตาม
ย่อมเป็นคนสุภาพเรียบร้อย น่าคบค้าสมาคม เป็นที่นิยมแก่คนทั่วไป
ทั้งเมื่อมีชีวิต อยู่และตายไปแล้ว
การตกแต่งชนิดนี้จึงเป็นของดีมีค่ามาก
ไม่ต้องลำบากด้วยเครื่องเสริมสวย สมกับพุทธภาษิตว่า

สีลํ ยาว ชรา สาธุ
ศีลทำให้เป็นคนดีงามตราบเท่าชรา ดังนี้
ผู้ไม่มีศีลได้ชื่อว่าเป็นผู้สกปรก ดังท่านแสดงไว้ในเรื่องโทษของศีลว่า
ผู้ล่วง ละเมิดในศีลข้อนั้นๆ นอกจากจะเป็นผู้สกปรก เดือดร้อนด้วยโทษนั้นๆแล้ว เมื่อตายไปแล้วจะต้องไปสู่ทุคติ มีนรกเป็นที่สุด
เมื่อเสวยผลของกรรมนั้นพอควรแล้ว จึงจะพ้นจากนรกนั้นมาเกิดเป็นคน
แล้วได้รับเศษกรรมนั้นอีก ดังนี้

โทษของการฆ่าสัตว์ ทรมานสัตว์ จะเป็นผู้มีอายุสั้นพลันตาย
เป็นคนขี้โรค ทรมาน รูปร่างก็น่าเกลียด ไม่มีใครเมตตาเอ็นดู

โทษของการฉ้อโกง ลักขโมยของเขา
จะเป็นคนจนทรัพย์อับปัญญา อนาถาหา ที่พึ่งมิได้
หาทรัพย์มาไว้ได้ ก็จะมีแต่คนมาฉ้อโกง ลักขโมยเอา และฉิบหายด้วยภัยต่างๆ

โทษของการประพฤติมิจฉาจาร
เมื่อได้ลูกเมียมาจะได้แต่คนว่ายากสอนยาก
ประพฤตินอกใจ ทำให้ชอกช้ำใจ เป็นทุกข์มาก

โทษของการกล่าวเท็จเป็นต้น
เมื่อเกิดมาเป็นคนพูดจาสิ่งใดไม่มีคนเชื่อถ้อยฟังคำ
มีแต่เขาจะมาหลอกลวงให้เสียทรัพย์ เสียดสีด่าว่าหยาบคายต่างๆ นานา เป็นต้น

โทษของการดื่มสุราเมรัย จะเป็นคนบ้าใบ้เสียจริตผิดมนุษย์
อีกทั้งเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญาไม่น่าคบ

นี่โทษของการไม่ตกแต่งฝึกฝนอบรม กาย วาจา ใจ
ตามศีลธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้สกปรกเศร้าหมอง ทั้งที่เป็นมนุษย์และละโลกนี้ไปแล้ว

ด้วยเหตุนี้ จึงควรแต่งกาย วาจา ใจให้สะอาดเสียตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เพราะถ้าไม่สะอาดแต่เมื่อยังอยู่ในโลกนี้
ตายไปแล้วก็จะเป็นผู้สกปรก ไม่สะอาด ในโลกหน้าต่อไปอีก

จึงไม่ควรแต่งให้สะอาดแต่เฉพาะกายอย่างเดียว
ความสะอาดและความสกปรก ของกายนั้น
จะมีได้ก็เมื่อรูปกายนี้ยังปรากฏแก่สายตาโลกนี้อยู่
ถึงอย่างนั้นทั้งความ สะอาดและความสกปรก
เมื่อกายแตกดับละโลกนี้ไปแล้ว
ความสะอาดและความสกปรกนั้นก็หาได้ติดตามตัวไปไม่

ส่วนความดี ความสะอาดของกาย วาจา และ ใจ ที่เราชำระด้วยศีลธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว จะเป็นผู้สงบเสงี่ยมเรียบร้อยอันดีงามอยู่ในโลก
เมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ก็ย่อมไปสู่สุคติสวรรค์
หากยังได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะได้รับผลบุญที่ยังเหลืออยู่

คนเราทุกๆ คนเมื่อเกิดมาแล้ว ชอบความสมบูรณ์พูนสุขทุกประการ
ถึงอายุก็อยากให้ยืนนาน ร่างกายก็อยากให้สวยงาม
พูดจาไพเราะเสนาะโสต ให้คนทั้งหลาย รักใคร่ชอบใจ มีเมตตาแก่ตน พร้อมด้วยได้สามีได้ภรรยาและลูก ก็อยากให้ซื่อสัตย์สุจริต
คิดนึกอะไรให้มีไหวพริบปัญญาดี
แต่ไม่ชอบทำดีอันเป็นเหตุให้ได้ผลในสิ่งที่ตนปรารถนานั้น
อยากรวยแต่เกียจคร้านแสวงหาทรัพย์ มันจะไปรวยได้อย่างไร

ฉะนั้นเมื่อพากันได้สดับธรรมิกถาดังแสดงมานี้แล้ว
จงพากันจดจำนำเอาไปปฏิบัติตาม
พวกเราทุกๆ คนยังไม่สาย พอปฏิบัติให้สำเร็จได้อยู่

ที่มา : www.dhammathai.org


กราบอนุโมทนาบุญกับผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านนะเจ้าค่ะ tongue tongue tongue

.....................................................
“การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง”

เราต่างเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา...เพราะพระพุทธศาสนาจริง ๆ
ดีได้เพียงนี้ ไม่ดีน้อยกว่านี้...เพราะพระพุทธศาสนา
ร้ายเพียงเท่านี้ ไม่ร้ายไปกว่านี้...เพราะพระพุทธศาสนา
เราจะไม่เป็นเช่นนี้
“ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี”
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 02:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 14:50
โพสต์: 69

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาครับ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron