วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 12:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เมตตาจิตอันอ่อนโยน ทรงพระดำริว่า บริษัทนี้งามเหลือเกิน การคะนองมือ
คะนองเท้า หรือเสียงไอเสียงจาม แม้ของภิกษุรูปเดียวก็มิได้มี ภิกษุแม้ทั้งปวง
นี้มีความเคารพด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า อันเดชของพระพุทธเจ้าคุก
คามแล้ว เมื่อเรานั่งไม่กล่าวแม้ตลอดกัป ภิกษุทั้งหลายจักไม่ตั้งถ้อยคำขึ้น
กล่าวก่อน ชื่อว่าวัตรในการตั้งเรื่อง เราควรจะรู้ เราแหละจักกล่าวก่อนจึง
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยพระสุรเสียงดุจเสียงพรหมอันไพเราะ ตรัสว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร เรื่องอะไรที่
พวกเธอพูดค้างไว้ในระหว่าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งอยู่ในที่นี้ ไม่กล่าวเดียรฉานกถาอย่างอื่น แต่นั่ง
พรรณนาพระคุณทั้งหลายของพระองค์เท่านั้นว่า อาวุโสทั้งหลาย พระมหา-
ปันถกไม่รู้อัธยาศัยของพระจุลลปันถก ไม่อาจให้เรียนคาถาเดียวโดย ๔ เดือน
ฉุดออกจากวิหารโดยกล่าวว่า พระจุลลปันถกนี้โง่เขลา แต่พระสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าได้ประทานพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแก่พระจุลลปันถกนั้นในระหว่าง
ภัตครั้งเดียวเท่านั้น เพราะพระองค์ทรงเป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม น่า
อัศจรรย์ ชื่อว่าพระกำลังของพระพุทธเจ้าทั้งหลายใหญ่หลวงนัก พระศาสดา

ได้ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระ
จุลลปันถกบรรลุถึงความเป็นใหญ่ในธรรม ในธรรมทั้งหลายในบัดนี้ เพราะ
อาศัยเราก่อน แต่ในปางก่อน จุลลปันถกนี้ถึงความเป็นใหญ่ในโภคะ แม้ใน
โภคะทั้งหลาย ก็เพราะอาศัยเรา. ภิกษุทั้งหลายจึงทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาค
เจ้า เพื่อตรัสเรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอัน
ระหว่างภพปกปิดไว้ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในเมืองพาราณสี
ในแคว้นกาสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐี เจริญวัยแล้ว ได้รับ
ตำแหน่งเศรษฐี ได้ชื่อว่าจุลลกเศรษฐี จุลลกเศรษฐีนั้นเป็นบัณฑิตฉลาด
เฉียบแหลมรู้นิมิตทั้งปวง วันหนึ่ง จุลลกเศรษฐีนั้นไปสู่ที่บำรุงพระราชา เห็น
หนูตายในระหว่างถนน คำนวนนักขัตฤกษ์ในขณะนั้นแล้ว กล่าวคำนี้ว่า

กุลบุตรผู้มีดวงตาคือปัญญา อาจเอาหนูตัวนี้ไปกระทำการเลี้ยงดูภรรยาและ
ประกอบการงานได้.

กุลบุตรผู้ยากไร้คนหนึ่งชื่อว่า จูฬันเตวาสิก ได้ฟังคำของเศรษฐีนั้น
แล้วคิดว่า ท่านเศรษฐีนี้ไม่รู้ จักไม่พูด จึงเอาหนูไปขายในตลาดแห่งหนึ่ง
เพื่อเป็นอาหารแมว ได้ทรัพย์กากณึกหนึ่ง จึงซื้อนํ้าอ้อยด้วยทรัพย์หนึ่ง
กากณึกนั้น แล้วเอาหม้อใบหนึ่งตักนํ้าไป เขาเห็นพวกช่างดอกไม้มาจากป่าจึง

ให้ชิ้นนํ้าอ้อยคนละหน่อยหนึ่ง แล้วให้ดื่มนํ้ากระบวยหนึ่ง พวกช่างดอกไม้เหล่า
นั้นได้ให้ดอกไม้คนละกำมือแก่เขา.

• ขยั่นทำความดีไว้ จะได้มีทุนติดไปภพชาติต่อไป
• ความดีไม่ค่อยจะบอกต่อ แต่สิ่งที่บอกต่อบ่อยๆนั้นล้วนแต่สิ่งที่ไม่ดี
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• ความผิดพลาดเล็กน้อยก็เหมือนกับก้อนกรวดบนถนนที่เราเดิน หลีกเว้นเสียแล้วไปต่อ
• ยิ่งอ่านความรู้ยิ่งเพิ่มพูน แต่จะเพิ่มทะวีคูณหากจิตเรานั้นอ่อนน้อมด้วย
• อ่านหนังสือไปมาก ก็พักกลับมาอ่านจิตอ่านอารามณ์ของเราบ้างว่าเป็นไง

การมองการไกลนั้นบางครั้ง หรือบางสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อแล้วมิควรก่อ
ให้เกิดความท้อแท้ เช่น เห็นหนังสือ กองใหญ่ เป็นตู้ แล้วเกิดความคิดว่า เราจะอ่าน
หมดได้อย่างไร? คงไม่มีเวลาอ่านเป็นแน่แท้เป็นต้น แต่หากคิดว่า เราอ่านไปทีละน้อย
วันละไม่กี่หน้า วันละหลายเวลา ทำอย่างนี้บ่อยๆไม่นานก็จะจบเอง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
แม้ในวันรุ่งขึ้น เขาก็เอาค่าดอกไม้นั้นซื้อนํ้าอ้อยและนํ้าดื่มหม้อหนึ่ง
ไปยังสวนดอกไม้ทีเดียว พวกช่างดอกไม้ได้ให้กอดอกไม้ที่เก็บไปแล้วครึ่งกอ
แก่เขาในวันนั้นแล้วก็ไป ไม่นานนัก เขาก็ได้เงิน ๘ กหาปณะ โดยอุบายนี้.

ในวันมีฝนเจือลมวันหนึ่ง ไม้แห้งกิ่งไม้ และใบไม้เป็นอันมาก ใน
พระราชอุทยาน ถูกลมพัดตกลงมาอีก คนเฝ้าอุทยานไม่เห็นอุบายที่จะทิ้ง เขา
ไปในพระราชอุทยานนั้นแล้วกล่าวกะคนเฝ้าอุทยานว่า ถ้าท่านจักให้ไม้และ
ใบไม้เหล่านั้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักนำของทั้งหมดออกไปจากสวนนี้ของท่าน
คนเฝ้าอุทยานนั้นรับคำว่า เอาไปเถอะนาย. จูฬันเตวาสิกจึงไปยังสนามเล่นของ

พวกเด็ก ๆ ให้นํ้าอ้อย ให้ต้นไม้และใบไม้ทั้งหมดออกไปโดยเวลาครู่เดียว ให้
กองไว้ที่ประตูอุทยาน ในกาลนั้น ช่างหม้อหลวงเที่ยวหาฟืนเพื่อเผาภาชนะ
ดินของหลวง เห็นไม้และใบไม้เหล่านั้นที่ประตูอุทยานจึงซื้อเอาจากมือของ
จูฬันเตวาสิกนั้น วันนั้นจูฬันเตวาสิกได้ทรัพย์ ๑๖ กหาปณะ และภาชนะ ๕
อย่างมีตุ่มเป็นต้น ด้วยการขายไม้.

เมื่อมีทรัพย์ ๒๔ กหาปณะ จูฬันเตวาสิกนั้นจึงคิดว่า เรามีอุบายนี้
แล้วตั้งตุ่มนํ้าดื่มตุ่มหนึ่งไว้ในที่ไม่ไกลประตูพระนคร บริการคนหาบหญ้า ๕๐๐
คนด้วยนํ้าดื่ม. คนหาบหญ้าแม้เหล่านั้นกล่าวว่า สหาย ท่านมีอุปการะมาก
แก่พวกเรา พวกเราจะกระทำอะไรแก่ท่าน (ได้บ้าง) จูฬันเตวาสิกนั้นกล่าวว่า
เมื่อกิจเกิดขึ้นแก่เรา ท่านทั้งหลายจักกระทำ แล้วเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้ ได้

กระทำความสนิทสนม โดยความเป็นมิตรกับคนผู้ทำงานทางบก และคน
ทำงานทางนํ้า.

คนทำงานทางบกบอกแก่จูฬันเตวาสิกนั้นว่า พรุ่งนี้ พ่อค้ามาจักพา
ม้า ๕๐๐ ตัวมายังนครนี้. นายจูฬันเตวาสิกนั้นได้ฟังคำของคนทำงานทางบก
นั้นแล้ว จึงกล่าวกะพวกคนหาบหญ้าว่า วันนี้ ท่านจงให้หญ้าแก่เราคนละ
กำ และเมื่อเรายังไม่ได้ขายหญ้า ท่านทั้งหลายอย่าขายหญ้าของตน ๆ คน

หาบหญ้าเหล่านั้นรับคำแล้วนำหญ้า ๕๐๐กำ มาลงที่ประตูบ้านของจูฬันเตวา-
สิกนั้น. พ่อค้าม้าไม่ได้อาหารสำหรับม้าในพระนครทั้งสิ้น จึงให้ทรัพย์หนึ่ง
พันแก่จูฬันเตวาสิกนั้น แล้วถือเอาหญ้านั้นไป.

แต่นั้นล่วงไป ๒ - ๓ วัน สหายผู้ทำงานทางนํ้าบอกแก่จูฬันเตวาสิก
นั้นว่า เรือใหญ่มาจอดที่ท่าแล้ว. จูฬันเตวาสิกนั้นคิดว่า มีอุบายนี้. จึงเอาเงิน
๘ กหาปณะไปเช่ารถ ซึ่งเพียบพร้อมด้วยบริวารทั้งปวง แล้วไปยังท่าเรือด้วย
ยศใหญ่ ให้แหวนวงหนึ่งเป็นมัดจำแก่นายเรือ ให้วงม่านนั่งอยู่ในที่ไม่ไกลสั่ง

คนไว้ว่า เมื่อพ่อค้าภายนอกมา พวกท่านจงบอก โดยการบอกประวิงไว้สามครั้ง.
พ่อค้าประมาณร้อยคนจากเมืองพาราณสีได้ฟังว่า เรือมาแล้ว จึงมาโดยกล่าว
ว่า พวกเราจะซื้อเอาสินค้า. นายเรือกล่าวว่า พวกท่านจักไม่ได้สินค้า พ่อค้า
ใหญ่ในที่ชื่อโน้น ให้มัดจำไว้แล้ว พ่อค้าเหล่านั้นได้ฟังดังนั้นจึงมายังสำนัก

• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ของจูฬันเตวาสิกนั้น. คนผู้รับใช้ใกล้ชิดจึงบอกความที่พวกพ่อค้าเหล่านั้นมา
โดยการบอกประวิงไว้สามครั้ง ตามสัญญาเดิม. พ่อค้าประมาณ ๑๐๐ คนนั้น ให้
ทรัพย์คนละพัน เป็นผู้มีหุ้นส่วนเรือกับจูฬันเตวาสิกนั้น แล้วให้อีกคนละพัน
ให้ปล่อยหุ้น ได้กระทำสินค้าให้เป็นของตน จูฬันเตวาสิกถือเอาทรัพย์สอง
แสนกลับมาเมืองพาราณสี คิดว่า เราควรเป็นคนกตัญญู จึงให้ถือเอาทรัพย์

แสนหนึ่งไปยังที่ใกล้จุลลกเศรษฐี. ลำดับนั้น จุลลกเศรษฐีจึงถามจูฬันเตวา-
สิกนั้นว่า ดูก่อนพ่อ เธอทำอะไรจึงได้ทรัพย์นี้. จูฬันเตวาสิกนั้นกล่าวว่า
ข้าพเจ้าตั้งอยู่ในอุบายที่ท่านบอก จึงได้ทรัพย์ภายใน ๔ เดือนเท่านั้น แล้ว
บอกเรื่องราวทั้งหมด ตั้งแต่หนูตายเป็นต้นไป. ท่านจุลลกมหาเศรษฐี ได้

ฟังคำของจูฬันเตวาสิกนั้นแล้วคิดว่า บัดนี้ เรากระทำทารกเห็นปานนี้ให้เป็น
ของเราจึงจะควร จึงให้ธิดาของตนผู้เจริญวัยแล้วกระทำให้เป็นเจ้าของทรัพย์
ทั้งสิ้น. เมื่อท่านเศรษฐีล่วงลับไปแล้ว จูฬันเตวาสิกนั้นก็ได้ตำแหน่งเศรษฐี
ในนครนั้น. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ได้ไปตามยถากรรม.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นตรัสพระธรรมเทศนานี้ ทรงเป็นผู้ตรัสรู้
พร้อมยิ่งทีเดียว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

บุคคลผู้มีปัญญารู้จักใคร่ครวญ ย่อมตั้งตนได้
ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุน แม้มีประมาณน้อย เหมือน
คนก่อไฟกองน้อยให้เป็นกองใหญ่ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปเกนปิ แปลว่า แม้น้อย คือ
แม้นิดหน่อย. บทว่า เมธาวี แปลว่า ผู้มีปัญญา. บทว่า ปาภเฏน
ได้แก่ ด้วยต้นทุนของสินค้า. บทว่า วิจกฺขโณ ได้แก่ ผู้ฉลาดในโวหาร.
บทว่า สมุฏฺ€าเปติ อตฺตานํ ความว่า ยังทรัพย์และยศใหญ่ให้เกิดขึ้น

แล้วตั้งตน คือยังตนให้ตั้งอยู่ในทรัพย์และยศนั้น. ถามว่า เหมือนอะไร ?
ตอบว่า เหมือนคนก่อไฟกองน้อยให้เป็นกองใหญ่ อธิบายว่า บุรุษผู้เป็น
บัณฑิตใส่โคมัยและจุรณเป็นตนแล้วเป่าด้วยลมปาก ก่อไฟนิดหน่อยขึ้น คือ
ให้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ทำให้เป็นกองไฟใหญ่ โดยลำดับ ฉันใด บัณฑิตก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ได้ทรัพย์อันเป็นต้นทุนแม้น้อย แล้วประกอบอุบายต่าง ๆ ย่อม
ทำทรัพย์และยศให้เกิดขึ้น คือให้เพิ่มขึ้น ก็แหละครั้นให้เพิ่มขึ้นแล้วก็ดำรง
ตนไว้ในทรัพย์และยศนั้น ก็หรือว่า ย่อมตั้งตนไว้ คือ กระทำให้รู้กัน คือ
ให้ปรากฏ เพราะความเป็นใหญ่ในทรัพย์และยศนั้นนั่นแหละ.

• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย จุลลปันถกอาศัยเราแล้วถึงความเป็นใหญ่ในธรรม ในเพราะธรรม
ทั้งหลาย ในบัดนี้ ก็หามิได้ ส่วนในกาลก่อนก็อาศัยเราจึงถึงความเป็นใหญ่
ในโภคะ แม้เพราะโภคะทั้งหลาย แล้วตรัสเรื่อง ๒ เรื่อง สืบอนุสนธิกัน
แล้วทรงประชุมชาดกว่า จูฬันเตวาสิกในกาลนั้น ได้เป็นพระจุลลปันถกใน
บัดนี้ ส่วนจุลลกมหาเศรษฐีในกาลนั้นได้เป็นเราเองแล.
จบ จุลลกมหาเศรษฐีชาดกที่ ๔

• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ พระ-
โลฬุทายีเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กิมคฺฆตี
ตณฺฑุลนาฬิกา จ ดังนี้.

สมัยนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตร ได้เป็นพระภัตตุเทสก์ของสงฆ์
เมื่อพระทัพพมัลลบุตรนั้นแสดงสลากภัตเป็นต้น แต่เช้าตรู่ บางคราวภัตดีก็
ถึงแก่พระอุทายีเถระ บางคราวภัตเลว. ในวันที่ได้ภัตเลว พระอุทายีเถระนั้น
ก็กระทำโรงสลากให้อากูลวุ่นวาย กล่าวว่า พระทัพพะเท่านั้นรู้เพื่อให้สลาก
หรือ พวกเราไม่รู้หรือ. เมื่อพระอุทายีนั้นทำโรงสลากให้วุ่นวายอยู่ ภิกษุ
ทั้งหลายได้ให้กระเช้าสลากด้วยคำว่า เอาเถอะท่านนั่นแหละจงให้สลากเดี๋ยวนี้.

จำเดิมแต่นั้น พระอุทายีนั้นได้ให้สลากแก่สงฆ์. ก็แหละเมื่อจะให้ ย่อมไม่รู้
ว่า นี้ ภัตดีหรือภัตเลว หรือว่า ย่อมไม่รู้ว่า ภัตดีตั้งไว้ที่โรงโน้น ? ภัต
เลวตั้งไว้ที่โรงโน้น ? ย่อมไม่กำหนดว่า บัญชีแสดงยอดจำนวนอยู่ในโรงโน้น ?
ในเวลาที่ภิกษุทั้งหลายยืน ก็ขีดเส้นที่พื้น หรือที่ข้างฝา มีอันให้รู้ว่า ในที่นี้
บัญชีที่ตั้งลำดับนี้ยืน ในที่นี้ บัญชีที่ตั้งลำดับนี้ยืน. วันรุ่งขึ้น ในโรงสลาก

มีภิกษุน้อยกว่าบ้าง มากกว่าบ้าง เมื่อภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นน้อยกว่า รอยขีด
ก็อยู่ตํ่า เมื่อภิกษุทั้งหลายมากกว่า รอยขีดก็อยู่สูง. พระอุทายีนั้นเมื่อไม่รู้
บัญชีที่ตั้งลำดับ จึงให้สลากไปตามหมายรอยขีด.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะพระอุทายีนั้นว่า ดูก่อนอาวุโส
อุทายี ธรรมดารอยขีดจะอยู่ตํ่าหรืออยู่สูงก็ตามเถอะ แต่ภัตดีตั้งอยู่ที่โรงโน้น
ภัตเลวตั้งอยู่ที่โรงโน้น. พระอุทายีเมื่อจะโต้ตอบภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวว่า ถ้า
เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร รอยขีดนี้จึงตั้งอยู่อย่างนี้ เราจะเชื่อพวกท่าน

ได้อย่างไร เราเชื่อตามรอยขีดนี้. ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย
จึงกล่าวกะพระอุทายีนั้นว่า ดูก่อนอาวุโสอุทายี เมื่อท่านให้สลากอยู่ ภิกษุ
ทั้งหลายพากันเสื่อมลาภ ท่านไม่สมควรให้สลาก จงออกไปจากโรงสลาก
แล้วฉุดคร่าออกจากโรงสลาก. ขณะนั้น ในโรงสลาก ได้มีความวุ่นวายมาก.

พระศาสดาได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสถามพระอานนท์เถระว่า อานนท์
ในโรงสลากมีความวุ่นวายมาก นั่นชื่อว่าเสียงอะไร. พระเถระได้กราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระตถาคต. พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ อุทายีกระทำความเสื่อม
ลาภแก่คนอื่น เพราะความที่ตนเป็นคนโง่ มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน
ก็ได้กระทำแล้วเหมือนกัน. พระเถระทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ
ตรัสเรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพ
ปกปิดไว้ ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ได้มีพระราชาพระนามว่าพรหมทัต อยู่ในพระนคร
พาราณสี แคว้นกาสี. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายได้เป็นพนักงาน
ตีราคาของพระเจ้าพรหมทัตนั้น ได้ตีราคาช้างและม้าเป็นต้น และแก้วมณีกับ
ทองเป็นต้น ครั้นตีราคาแล้วให้มูลค่าอันสมควรแก่ภัณฑะนั่นแหละ แก่เจ้า
ของภัณฑะทั้งหลาย แต่พระราชาทรงเป็นคนโลภ เพราะความเป็นผู้มักโลภ

พระราชานั้นจึงทรงดำริอย่างนี้ว่า พนักงานตีราคาคนนี้ เมื่อตีราคาอยู่อย่างนี้
ไม่นานนัก ทรัพย์ในวังของเราจักถึงความหมดสิ้นไป เราจักตั้งคนอื่นให้เป็น
พนักงานตีราคา พระราชานั้นทรงให้เปิดสีหบัญชรทอดพระเนตรดูพระลาน-
หลวง ทรงเห็นบุรุษชาวบ้านคนหนึ่งผู้ทั้งเหลวไหลและโง่เขลา จึงทรงพระ-

• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ดำริว่า ผู้นี้จักอาจกระทำงานในตำแหน่งพนักงานตีราคาของเราได้ จึงรับสั่ง
ให้เรียกเขามา แล้วตรัสว่า พนาย เธอจักอาจทำงานในตำแหน่งพนักงานตี
ราคาของเราได้ไหม. บุรุษนั้นทูลว่า อาจ พะย่ะค่ะ พระราชาจึงทรงตั้งบุรุษ
เขลาคนนั้นไว้ในงานของผู้ตีราคา เพื่อต้องการรักษาทรัพย์ของพระองค์. ตั้ง
แต่นั้น บุรุษผู้โง่เขลานั้น เมื่อจะตีราคาช้างและม้าเป็นต้น กล่าวตีราคาเอา

ตามความชอบใจ ทำให้เสียราคา. เพราะเขาดำรงอยู่ในตำแหน่ง เขากล่าว
คำใด คำนั้นนั่นแลเป็นราคา. ครั้งนั้น พ่อค้าม้าคนหนึ่ง นำม้า ๕๐๐ ตัว
มาจากแคว้นอุตตราปถะ พระราชารับสั่งให้เรียกบุรุษนั้นมาให้ตีราคาม้า บุรุษ
นั้นได้ตั้งราคาม้า ๕๐๐ตัว ด้วยข้าวสารทะนานเดียว ก็แหละครั้นตีราคาแล้ว
จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงให้ข้าวสารหนึ่งทะนานแก่พ่อค้าม้า แล้วให้พัก
ม้าไว้ในโรงม้า.

พ่อค้าม้าจึงไปยังสำนักของพนักงานตีราคาคนเก่า บอกเรื่องราวนั้น
แล้วถามว่า บัดนี้ ควรจะทำอย่างไร ? พนักงานตีราคาคนเก่านั้นกล่าวว่า
ท่านทั้งหลายจงให้สินบนแก่บุรุษนั้นแล้วถามอย่างนี้ว่า ม้าทั้งหลายของพวก
ข้าพเจ้ามีราคาข้าวสารทะนานเดียวก่อน ข้อนี้รู้กันแล้ว แต่ข้าพเจ้าประสงค์
จะรู้ราคาของข้าวสารทะนานเดียว เพราะอาศัยท่าน ท่านจักอาจเพื่อยืนอยู่ใน

สำนักของพระราชาแล้วพูดว่า ข้าวสารหนึ่งทะนานนี้มีราคาชื่อนี้ ถ้าเขาพูดว่า
จักอาจ พวกท่านจงพาเขาไปยังสำนักของพระราชา แม้เราก็จักไปในที่นั้น.
พ่อค้ารับคำพระโพธิสัตว์แล้วให้สินบนแก่นักตีราคา แล้วบอกเนื้อความนั้น.
นักตีราคานั้นพอได้สินบนเท่านั้นก็กล่าวว่า เราจักอาจตีราคาข้าวสารหนึ่ง

ทะนานได้. พ่อค้าม้ากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเราจงพากันไปยังราชสกุล
แล้วได้พานักตีราคานั้นไปยังสำนักของพระราชา. พระโพธิสัตว์ก็ดี อำมาตย์
เป็นอันมากแม้เหล่าอื่นก็ดี ได้พากันไปแล้ว พ่อค้าม้าถวายบังคมพระราชา
แล้วทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ได้ทราบว่าม้า ๕๐๐ตัวมีราคา
เท่าข้าวสารหนึ่งทะนาน แต่ข้าวสารหนึ่งทะนานนี้มีราคาเท่าไร ข้าแต่สมมติ-

เทพ ขอพระองค์ได้โปรดถามพนักงานตีราคา พระเจ้าข้า. พระราชาไม่ทราบ
ความเป็นไปนั้นจึงตรัสถามว่า ท่านนักตีราคาผู้เจริญ ม้า ๕๐๐ ตัวมีราคา
เท่าไร ? พนักงานตีราคากราบทูลว่า มีราคาข้าวสารหนึ่งทะนานพระเจ้าข้า
พระราชาตรัสถามว่า ช่างเถิด พนาย ม้าทั้งหลายมีราคาข้าวสารหนึ่งทะนาน
ก่อน แต่ข้าวสารหนึ่งทะนานนั้น มีราคาเท่าไร ? บุรุษโง่ผู้นั้นกราบทูลว่า
ข้าวสารหนึ่งทะนานย่อมถึงค่าเมืองพาราณสี ทั้งภายในและภายนอก พะย่ะค่ะ.

ได้ยินว่า ในกาลก่อน บุรุษโง่นั้นอนุวรรตตามพระราชา จึงได้ตี
ราคาม้าทั้งหลายด้วยข้าวสารทะนานหนึ่ง ได้สินบนจากมือของพ่อค้า กลับตีราคา
เมืองพาราณสีทั้งภายในและภายนอก ด้วยข้าวสารหนึ่งทะนานนั้น. ก็ในกาล
นั้น เมืองพาราณสีได้ล้อมกำแพงประมาณ ๑๒ โยชน์ แคว้นทั้งภายในและ
ภายนอกเมืองพาราณสีนี้ประมาณ ๓๐๐ โยชน์. บุรุษโง่นั้นได้ตีราคาเมือง
พาราณสีทั้งภายในและภายนอกอันใหญ่โตอย่างนี้ ด้วยข้าวสารหนึ่งทะนาน
ฉะนี้.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าวสารหนึ่งทะนานมีราคาเท่าไร พระนคร
พาราณสีทั้งภายในภายนอกมีราคาเท่าไร ข้าวสาร-
ทะนานเดียว มีราคาเท่าม้า ๕๐๐ ตัวเทียวหรือ.

อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังดังนั้น จึงพากันตบมือหัวเราะทำการเยาะเย้ยว่า
เมื่อก่อน พวกเราได้มีความสำคัญว่า แผ่นดินและราชสมบัติ หาค่ามิได้ นัย
ว่าราชสมบัติในเมืองพาราณสีพร้อมทั้งพระราชาอันใหญ่โตอย่างนี้ มีค่าเพียง
ข้าวสารทะนานเดียว โอ ! ความเพียบพร้อมของพนักงานตีราคา ท่านเป็น
พนักงานตีราคา ดำรงอยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ณ ที่ไหนกัน ท่านเหมาะสม
แก่พระราชาของพวกเราทีเดียว. ครั้งนั้น พระราชาทรงละอาย ให้ฉุดคร่า
บุรุษโง่นั้นออกไป แล้วได้พระราชทานตำแหน่งพนักงานตีราคาแก่พระโพธิ-
สัตว์ตามเดิม. พระโพธิสัตว์ได้ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสเรื่อง ๒ เรื่อง
สืบอนุสนธิต่อกันไป แล้วทรงประชุมชาดกว่า พนักงานตีราคาผู้เป็นชาวบ้าน
โง่เขลาในกาลนั้น ได้เป็นพระโลฬุทายีในบัดนี้ พนักงานตีราคาผู้เป็นบัณฑิต
ในกาลนั้น ได้เป็นเราเอง.
จบตัณฑุลนาฬิชาดกที่ ๕


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้มีภัณฑะมาก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า หิริโอตฺตปฺป-
สมฺปนฺนา ดังนี้.

ได้ยินว่า กุฎุมพีชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง เมื่อภรรยาตายก็บวชกุฎุมพี-
นั้น เมื่อจะบวชได้ให้ทำบริเวณ โรงไฟและห้องเก็บสิ่งของ ทำห้องเก็บสิ่ง
ของให้เต็มด้วยเนยใสและข้าวสารเป็นต้น สำหรับตนแล้วจึงบวช ก็แหละครั้น
บวชแล้ว ให้เรียกทาสของตนมา ให้หุงต้มอาหารตามชอบใจ แล้วจึงบริโภค
และได้เป็นผู้มีบริขารมาก ในเวลากลางคืน มีผ้านุ่งและผ้าห่มผืนหนึ่ง เวลา

กลางวัน มีอีกผืนหนึ่งอยู่ท้ายวิหาร วันหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นนำจีวรและเครื่อง
ปูลาดเป็นต้นออกมาคลี่ตากไว้ในบริเวณ ภิกษุชาวชนบทมากด้วยกัน เที่ยว
จาริกไปตามเสนาสนะ ไปถึงบริเวณ เห็นจีวรเป็นต้น จึงถามว่า จีวรเป็นต้น
เหล่านี้ของใคร ? ภิกษุนั้นกล่าวว่า ของผมครับ ท่านผู้มีอายุ. ภิกษุเหล่านั้น
ถามว่า จีวรนี้ก็ดี ผ้านุ่งนี้ก็ดี เครื่องลาดนี้ก็ดี ทั้งหมดเป็นของท่านเท่านั้น

หรือ ? ภิกษุนั้นกล่าวว่า ขอรับ เป็นของผมเท่านั้น. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า
ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไตรจีวรมิใช่หรือ ท่านบวชใน
ศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มักน้อยอย่างนี้ เกิดเป็นผู้มีบริขารมากอย่างนี้ มา
เถิดท่าน พวกเราจักนำไปยังสำนักของพระทศพล แล้วได้พาภิกษุนั้นไปยัง
สำนักของพระศาสดา พอทรงเห็นภิกษุนั้นเท่านั้นจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายเป็นผู้พาภิกษุผู้ไม่ปรารถนานั้นแลมาแล้วหรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้มีภัณฑะมากมีบริขารมาก พระเจ้าข้า
พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอมีภัณฑะมากจริงหรือ ?
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริงพระเจ้าข้า. พระศาสดา
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ก็เพราะเหตุไรเธอจึงเป็นผู้มีภัณฑะมาก เรากล่าวคุณ

ของความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความสงัด และการปรารภความ
เพียร มิใช่หรือ. ภิกษุนั้นได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดาก็โกรธคิดว่า บัดนี้
เราจักเที่ยวไปโดยทำนองนี้ จึงทิ้งผ้าห่ม มีจีวรผืนเดียว ยืนอยู่ในท่ามกลาง
บริษัท. ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอุปถัมภ์ภิกษุนั้นจึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ เมื่อก่อน แม้ในกาลเมื่อเป็นผีเสื้อนํ้าผู้แสวงหาหิริโอตตัปปะ เธอแสวง

หาหิริโอตตัปปะอยู่ถึง ๑๒ ปี เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรในบัดนี้ เธอบวช
ในพระพุทธศาสนาอันเป็นที่เคารพอย่างนี้ จึงทิ้งผ้าห่มในท่ามกลางบริษัท ละ
หิริโอตตัปปะยืนอยู่เล่า. ภิกษุนั้นได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดา ได้ยังหิริ-
โอตตัปปะให้กลับตั้งขึ้น จึงห่มจีวรนั้นแล้วถวายบังคมพระศาสดานั่ง ณ ส่วน
ข้างหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงยังเรื่องนั้น
ให้แจ่มแจ้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดไว้
ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้

• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล ได้มีพระราชาพระนามว่า พรหมทัต ในนครพาราณสี
ในแคว้นกาสี. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัคร-
มเหสีของพระเจ้าพรหมทัตนั้น. เมื่อครบทศมาส พระนางประสูติพระโอรส.
ในวันเฉลิมพระนามของพระโอรสนั้น พระญาติทั้งหลายได้ตั้งพระนามว่า
มหิสสาสกุมาร ในกาลที่พระกุมารนั้นทรงวิ่งเล่นได้ พระโอรสองค์อื่นก็

ประสูติ พระญาติทั้งหลายตั้งพระนามของพระโอรสนั้นว่า จันทกุมาร. ใน
เวลาที่พระจันทกุมารนั้นทรงวิ่งเล่นได้ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ก็
สวรรคต พระราชาทรงตั้งพระสนมอื่นไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี. พระอัคร-
มเหสีนั้น ได้เป็นที่รักเป็นที่โปรดปรานของพระราชา. พระอัครมเหสีแม้นั้น

ทรงอาศัยการอยู่ร่วมกันก็ประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง. พระญาติทั้งหลายได้ตั้ง
พระนามของพระโอรสนั้นว่า สุริยกุมาร. พระราชาทรงเห็นพระโอรสแล้วมี
พระหฤทัยยินดีตรัสว่า นางผู้เจริญ เราให้พรแก่บุตรของเธอ. พระเทวีเก็บ
ไว้จะรับเอาในเวลาต้องการพรนั่น. เมื่อพระโอรสเจริญวัยแล้ว พระนางกราบ
ทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในกาลที่พระโอรสของหม่อมฉันประสูติ

พระองค์ทรงประทานพรไว้มิใช่หรือ ขอพระองค์จงประทานราชสมบัติแก่พระ-
โอรสของหม่อมฉัน. พระราชาทรงห้ามว่า พระโอรสสองพระองค์ของเรา
รุ่งเรืองอยู่เหมือนกองเพลิง เราไม่อาจให้ราชสมบัติแก่โอรสของเธอ ทรงเห็น
พระนางอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ ทรงพระดำริว่า พระนางนี้จะพึงคิดแม้กรรมอัน

ลามกแก่โอรสทั้งหลายของเรา จึงรับสั่งให้เรียกพระโอรสทั้งสองมาแล้วตรัสว่า
พ่อทั้งสอง ในเวลาที่สุริยกุมารประสูติ พ่อได้ให้พรไว้ บัดนี้มารดาของสุริย-
กุมารนั้นทูลขอราชสมบัติ พ่อไม่ประสงค์จะให้แก่สุริยกุมารนั้น ธรรมดา
มาตุคาม ผู้ลามกจะพึงคิดแม้สิ่งอันลามกแก่พวกเจ้า เจ้าทั้งสองต้องเข้าป่าต่อ
เมื่อพ่อล่วงไปแล้ว จงครองราชสมบัติในนครอันเป็นของมีอยู่ของตระกูล แล้ว

ทรงกันแสง ครํ่าคราญจุมพิตที่ศีรษะแล้วทรงส่งไป. สุริยกุมารทรงเล่นอยู่ที่
พระลานหลวง เห็นพระโอรสทั้งสองนั้นถวายบังคมพระราชบิดาแล้วลงจาก
ปราสาท ทรงเห็นเหตุนั้น จึงคิดว่า แม้เราก็จักไปกับพระเจ้าพี่ทั้งสอง จึง
ออกไปพร้อมกับพระโอรสทั้งสองนั้นเอง พระโอรสเหล่านั้นเสด็จเข้าไปยังป่า
หิมพานต์.

• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระโพธิสัตว์แวะลงข้างทางประทับนั่งที่โคนไม้ เรียกสุริยกุมารมาว่า
พ่อสุริยะ เจ้าจะไปยังสระนั้น อาบและดื่มแล้วจงเอาใบบัวห่อนํ้าดื่มมาแม้เพื่อ
เราทั้งสอง ก็สระนั้นเป็นสระที่ผีเสื้อน้ำตนหนึ่งได้พรจากสำนักของท้าวเวสวัณ
ท้าวเวสวัณตรัสกะผีเสื้อนํ้านั้นว่า เจ้าจะได้กินคนที่ลงยังสระนี้ ยกเว้นคนที่รู้
เทวธรรมเท่านั้น เจ้าจะไม่ได้กินคนที่ไม่ได้ลง ตั้งแต่นั้น รากษสนั้นจึงถาม

เทวธรรมกะคนที่ลงสระนั้น แล้วกินคนที่ไม่รู้เทวธรรม ลำดับนั้นแล สุริยกุมาร
ไปยังสระนั้นไม่ได้พิจารณาเลยลงไปอยู่ ลำดับนั้น รากษสนั้นจับสุริยกุมารนั้น
แล้วถามว่า ท่านรู้เทวธรรมหรือ ? สุริยกุมารนั้นกล่าวว่า เออ ฉันรู้ พระ-
จันทร์และพระอาทิตย์ ชื่อว่า เทวธรรม ลำดับนั้น รากษสนั้นจึงกล่าวกะสุริย
กุมารนั้นว่า ท่านไม่รู้จักเทวธรรม แล้วพาดำไปพักไว้ในที่อยู่ของตน ฝ่าย

พระโพธิสัตว์เห็นสุริยกุมารนั้นชักช้าอยู่ จึงส่งจันทกุมารไป แม้รากษสก็จับ
จันทกุมารนั้นแล้วถามว่า ท่านรู้เทวธรรมไหม ? จันทกุมารกล่าวว่า เออ ฉัน
รู้ ทิศทั้ง ๔ ชื่อว่าเทวธรรม รากษสกล่าวว่า ท่านไม่รู้เทวธรรม แล้วพา
จันทกุมารแม้นั้นไปไว้ในที่อยู่ของตนนั้นนั่นแหละ เมื่อจันทกุมารล่าช้าอยู่
พระโพธิสัตว์คิดว่า อันตรายอย่างหนึ่งจะพึงมี จึงเสด็จไปที่สระนั้นด้วยพระ-

องค์เอง เห็นรอยเท้าลงของพระอนุชาแม้ทั้งสองจึงดำริว่า สระนี้คงเป็นสระที่
รากษสหวงแหน จึงได้สอดพระขรรค์ถือธนูยืนอยู่ ผีเสื้อนํ้าเห็นพระโพธิสัตว์
ไม่ลงนํ้า จึงแปลงเป็นเหมือนบุรุษผู้ทำงานในป่า กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า
บุรุษผู้เจริญ ท่านเหน็ดเหนื่อยในหนทาง เพราะเหตุไร จึงไม่ลงสระนี้ อาบ
ดื่ม กินเหง้าบัว ประดับดอกไม้ไปตามสบาย พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นรู้ว่า

ผู้นี้จักเป็นยักษ์ จึงกล่าวว่า ท่านจับน้องชายของเรามาหรือ. ผีเสื้อนํ้ากล่าวว่า
เออ เราจับมา. พระโพธิสัตว์ถามว่า เพราะเหตุไร. ผีเสื้อนํ้ากล่าวว่า เราย่อม
ได้คนผู้ลงยังสระนี้. พระโพธิสัตว์ถามว่า ท่านย่อมได้ทั้งหมดทีเดียวหรือ ?
ผีเสื้อนํ้ากล่าวว่า เราได้ทั้งหมด ยกเว้นคนที่รู้เทวธรรม. พระโพธิสัตว์นั้นตรัส
ถามว่า ท่านมีความต้องการเทวธรรมหรือ ? ผีเสื้อนํ้ากล่าวว่า เออมีความ

ต้องการ. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น เราจักบอกเทวธรรมแก่
ท่าน. ผีเสื้อนํ้ากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงบอก เราจักฟังเทวธรรม. พระโพธิ-
สัตว์ตรัสว่า แต่เรามีตัวสกปรก. ยักษ์จึงให้ พระโพธิสัตว์อาบนํ้า ให้ดื่มนํ้า ให้
ประดับดอกไม้ให้ลูบไล้ของหอม ได้ลาดบัลลังก์ให้ในท่ามกลางปะรำที่ประดับ
แล้ว. พระโพธิสัตว์ประทับนั่งบนอาสนะ ให้ยักษ์นั่งแทบเท้าแล้วตรัสว่า
ถ้าอย่างนั้นท่านจงเงี่ยโสตฟังพระธรรมโดยเคารพ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
สัปบุรุษผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริและโอต-
ตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันขาว ท่านเรียกว่าผู้มี
เทวธรรมในโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา แปลว่า ผู้
ประกอบด้วยหิริ และโอตตัปปะ บรรดาหิริและโอตตัปปะเหล่านั้น ที่ชื่อว่า
หิริ เพราะละอายแต่กายทุจริต เป็นต้น คำว่า หิริ นี้ เป็นชื่อของความ
ละอาย ที่ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะกลัวแต่กายทุจริตเป็นต้นนั้นนั่นแหละ คำว่า
โอตตัปปะนี้ เป็นชื่อของความกลัวแต่บาป บรรดาหิริและโอตตัปปะนั้น
หิริมีสมุฏฐานที่ตั้งขึ้นภายใน โอตตัปปะมีสมุฏฐานที่ตั้งขึ้นภายนอก. หิริ มีตน
เป็นใหญ่ โอตตัปปะมีโลกเป็นใหญ่ หิริดำรงอยู่ในสภาวะอันน่าละอาย โอต-
ตัปปะดำรงอยู่ในสภาวะอันน่ากลัว หิริมีลักษณะยำเกรง โอตตัปปะมีลักษณะ
โทษและเห็นภัย

บรรดาหิริและโอตตัปปะนั้น บุคคลย่อมยังหิริอันมีสมุฏฐานเป็นภาย
ใน ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการ เพราะพิจารณาถึงชาติกำเนิด ๑ พิจารณา
ถึงวัย ๑ พิจารณาถึงความกล้าหาญ ๑ พิจารณาถึงความเป็นพหูสูต ๑ อย่างไร ?
บุคคลพิจารณาถึงชาติกำเนิดก่อนอย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปนี้ ไม่เป็น
กรรมของคนผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ เป็นกรรมของตนผู้มีชาติตํ่ามีพรานเบ็ดเป็นต้น

จะพึงกระทำ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเช่นท่านไม่ควรกระทำกรรมนี้ แล้วไม่
ทำบาปมีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น อนึ่ง บุคคลพิจารณาถึงวัย
อย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปนี้เป็นกรรมที่คนหนุ่ม ๆ พึงกระทำ กรรมนี้อัน
คนผู้ตั้งอยู่ในวัยเช่นท่านไม่ควรกระทำ แล้วไม่กระทำบาป มีปาณาติบาต
เป็นต้น ชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น แม้อนึ่ง บุคคลพิจารณาถึงความเป็นผู้กล้าหาญ

อย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปนี้ เป็นกรรมของคนผู้มีชาติอ่อนแอ กรรมนี้
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความกล้าหาญเช่นท่าน ไม่ควรกระทำ แล้วไม่กระทำบาป
มีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น อนึ่ง บุคคลพิจารณาความเป็น
พหูสูตอย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปนี้เป็นกรรมของคนอันธพาล กรรมนี้อัน
คนผู้เป็นพหูสูต เป็นบัณฑิตเช่นท่าน ไม่ควรกระทำ แล้วไม่กระทำบาปมี

ปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น บุคคลชื่อว่ายังหิริอันมีสมุฏฐานภาย
ในให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการอย่างนี้. ก็แหละ ครั้นให้ตั้งขึ้นแล้ว ยังหิริให้
เข้าไปในจิตไม่กระทำบาปด้วยตน หิริย่อมชื่อว่ามีสมุฏฐานภายในอย่างนี้.

• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
โอตตัปปะชื่อว่า มีสมุฏฐานภายนอกอย่างไร ? บุคคลพิจารณาว่า ถ้า
ท่านจักทำบาปไซร้ ท่านจักเป็นผู้ถูกติเตียนในบริษัท ๔ และว่า
วิญญูชนทั้งหลายจักติเตียนท่านเหมือนชาวเมือง
ติเตียนของไม่สะอาด ดูก่อนภิกษุ ท่านอันผู้มีศีล
ทั้งหลายเว้นห่างแล้ว จักกระทำอย่างไร ดังนี้.

ย่อมไม่กระทำบาปกรรม เพราะโอตตัปปะอันตั้งขึ้นภายนอก โอตตัปปะย่อม
ชื่กว่ามีสมุฏฐานภายนอกอย่างนี้.

หิริชื่อว่ามีตนเป็นใหญ่อย่างไร กุลบุตรบางคนในโลกนี้ กระทำตน
ให้เป็นใหญ่ ให้เป็นหัวหน้า ไม่กระทำบาปด้วยคิดว่า บุคคลผู้บวชด้วยศรัทธา
เป็นพหูสูต มีวาทะ [คือสอน] ในการกำจัดกิเลสเช่นท่าน ไม่ควรกระทำบาป
กรรม หิริย่อมชื่อว่ามีตนเป็นใหญ่อย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า บุคคลนั้นกระทำตนนั่นแหละให้เป็นใหญ่ ละอกุศล เจริญกุศล
ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่.

โอตตัปปะชื่อว่ามีโลกเป็นใหญ่อย่างไร ? กุลบุตรบางคนในโลกนี้
กระทำโลกให้เป็นใหญ่ ให้เป็นหัวหน้า แล้วไม่กระทำบาปกรรม สมดังที่ตรัส
ไว้ว่า ก็โลกสันนิวาสนี้ใหญ่แล อนึ่ง สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ มีทิพย-
จักษุ รู้จิตของผู้อื่น อยู่ในโลกสันนิวาสอันใหญ่แล สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมเห็นในที่ไกลบ้าง เห็นในที่ใกล้บ้าง รู้จิตด้วยจิตบ้าง สมณพราหมณ์แม้

เหล่านั้นย่อมรู้เราอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงดูกุลบุตรนี้ เขามี
ศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เกลือกกลั้วด้วยอกุศลธรรมอันลามกอยู่
เทวดาทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของผู้อื่นมีอยู่ แม้เทวดาเหล่านั้น
ย่อมเห็นแต่ที่ไกลบ้าง ย่อมเห็นในที่ใกล้บ้าง ย่อมรู้ใจด้วยใจบ้าง แม้เทวดา
เหล่านั้นก็จักรู้เราว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงดูกุลบุตรนี้ เขามีศรัทธา

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตไม่มีเรือน เกลือกกลั้วด้วยอกุศลธรรมอันลามก
อยู่ เขากระทำโลกนั่นแลให้เป็นใหญ่ ละอกุศลเจริญกุศล ละธรรมอัน
มีโทษเจริญธรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ โอตตัปปะ
ย่อมชื่อว่ามีโลกเป็นใหญ่อย่างนี้.

ก็ในคำว่า หิริตั้งอยู่ในสภาวะน่าละอาย โอตตัปปะตั้งอยู่ในสภาวะน่า
กลัว นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อาการละอาย ชื่อว่า ความละอาย หิริตั้งอยู่โดยสภาวะอันนั้น ความ
กลัวแต่อบายชื่อว่า ภัย โอตตัปปะตั้งอยู่โดยสภาวะอันนั้น. หิริและโอตตัปปะ
แม้ทั้งสองนั้น ย่อมปรากฏในการงดเว้นจากบาป จริงอยู่ บุคคลบางคนก้าวลง
สู่ธรรมคือความละอายอันเป็นภายใน ไม่กระทำบาปกรรม เหมือนกุลบุตรเมื่อ
จะถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น เห็นคนหนึ่งอันควรจะละอาย พึงเป็นผู้ถึง
อาการละอาย ถูกอุจจาระ ปัสสาวะบีบคั้นจนอาจมเล็ดก็ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
ไม่ได้ ฉะนั้น บุคคลบางคนกลัวภัยในอบายจึงไม่กระทำบาปกรรม ในข้อนั้น
มีความอุปมาดังต่อไปนี้:-

เหมือนอย่างว่า ในก้อนเหล็ก ๒ ก้อน ก้อนหนึ่งเย็น แต่เปื้อนคูถ
ก้อนหนึ่งร้อน ไฟติดโพลง. ในก้อนเหล็ก ๒ ก้อนนั้น บัณฑิตเกลียดไม่จับ
ก้อนเย็น เพราะก้อนเย็นเปื้อนคูถ ไม่จับก้อนร้อน เพราะกลัวไฟไหม้ฉันใด.
ในข้อที่ว่าด้วยหิริและโอตตัปปะนั้นก็ฉันนั้น พึงทราบการหยั่งลงสู่ลัชชีธรรมอัน
เป็นภายในแล้วไม่ทำบาปกรรม เหมือนบัณฑิตเกลียดก้อนเหล็กเย็นที่เปื้อนคูถ
จึงไม่จับ และพึงทราบการไม่ทำบาปเพราะกลัวภัยในอบาย เหมือนการที่บัณฑิต
ไม่จับก้อนเหล็กร้อน เพราะกลัวไหม้ฉะนั้น.

แม้บททั้งสองนี้ที่ว่า หิริมีลักษณะยำเกรง โอตตัปปะมีลักษณะกลัว
โทษและเห็นภัย ดังนี้ ย่อมปรากฏเฉพาะในการงดเว้นจากบาปเท่านั้น. จริง
อยู่ คนบางคนยังหิริอันมีลักษณะยำเกรงให้เกิดขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ
พิจารณาถึงความเป็นใหญ่โดยชาติ ๑ พิจารณาถึงความเป็นใหญ่แห่ง
พระศาสดา ๑ พิจารณาถึงความเป็นใหญ่โดยทรัพย์มรดก ๑ และ
พิจารณาถึงความเป็นใหญ่แห่งเพื่อนพรหมจารี ๑ แล้วไม่ทำบาป.

คนบางคนยังโอตตัปปะอันมีลักษณะกลัวโทษและมักเห็นภัย ให้ตั้งขึ้น
ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ภัยในการติเตียนตน ๑ ภัยในการที่คนอื่น
ติเตียน ๑ ภัยคืออาชญา ๑ และภัยในทุคติ ๑ แล้วไม่ทำบาป ในข้อ
ที่ว่าด้วยหิริโอตตัปปะนั้น พึงกล่าวการพิจารณาความเป็นใหญ่โดยชาติเป็นต้น
และภัยในการติเตียนตนเป็นต้น ให้พิศดาร ความพิศดารของการพิจารณา
ความเป็นใหญ่โดยชาติเป็นต้นเหล่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาอังคุตตร-
นิกาย.

• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บทว่า สุกฺกธมฺมสมาหิตา ความว่า กุศลธรรมที่ควรกระทำมีหิริ
โอตตัปปะนี้แหละเป็นต้นไป ชื่อว่า สุกกธรรม ธรรมขาว เมื่อว่าโดยนัยที่
รวมถือเอาทั้งหมด สุกกธรรมนั้นก็คือธรรมอันเป็นโลกิยะและโลกุตระอันเป็นไป
ในภูมิ ๔ ที่ประกอบแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยหิริและโอตตัปปะทั้งสองนั้น.
บทว่า สนฺโต สปฺปุริสา โลเก ความว่า ชื่อว่าผู้สงบระงับ เพราะกายกรรม
เป็นต้นสงบระงับแล้ว ชื่อว่า เป็นสัปบุรุษ เพราะเป็นบุรุษผู้งดงามด้วยความ

กตัญญูกตเวที. ก็ในบทว่า โลเก นี้ โลกมีหลายโลก คือ สังขารโลก สัตวโลก
โอกาสโลก ขันธโลก อายตนโลก และธาตุโลก . ในโลกเหล่านั้น สังขารโลก
ท่านกล่าวไว้ในประโยคนี้ว่า โลกหนึ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหารฯลฯ
โลก ๑๘ คือธาตุ ๑๘. โลกมีขันธโลกเป็นต้นรวมอยู่ใน สังขารโลกนั่นแหละ.
ส่วนสัตวโลกท่านกล่าวไว้ในประโยคมีอาทิว่า โลกนี้ โลกหน้า เทวโลก
มนุษยโลก.

โอกาสโลกท่านกล่าวไว้ในประโยคนี้ว่า
พันโลกธาตุมีประมาณเพียงที่พระจันทร์และ
พระอาทิตย์เวียนส่องสว่างไปทั่วทิศ อำนาจของพระ-
องค์ย่อมแผ่ไปในพันโลกธาตุนั้น.

บรรดาโลกเหล่านั้น ในที่นี้ประสงค์เอาสัตวโลก จริงอยู่ในสัตวโลก
เท่านั้น มีสัปบุรุษเห็นปานนี้ สัปบุรุษเหล่านั้นท่านกล่าวว่า มีเทวธรรม. บทว่า
เทว ในบทว่า เทวธมฺมา นั้น เทพมี ๓ ประเภท คือ สมมติเทพ ๑
อุปบัติเทพ ๑ และวิสุทธิเทพ ๑ บรรดาเทพเหล่านั้น พระราชาและพระ-
ราชกุมารเป็นต้น ชื่อว่าสมมติเทพ เพราะชาวโลกสมมติว่าเป็น เทพ จำเดิม

แต่ครั้งพระมหาสมมติราช. เทวดาผู้อุปบัติในเทวโลก ชื่อว่า อุปบัติเทพ.
พระขีณาสพ ชื่อว่า วิสุทธิเทพ.

สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า พระราชา พระราชเทวี พระราชกุมาร
ชื่อว่าสมมติเทพ. เทพสูง ๆ ขึ้นไปตั้งแต่ภุมมเทวดาไป ชื่อว่า
อุปบัติเทพ, พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพ ชื่อ
ว่าวิสุทธิเทพ.

ธรรมของเทพเหล่านี้ ชื่อว่า เทวธรรม.
บทว่า วุจฺจเร แปลว่า ย่อมกล่าว จริงอยู่ กุศลธรรมทั้งหลายมีหิริ
โอตตัปปะเป็นมูล ชื่อว่า เป็นธรรมของเทพทั้ง ๓ ประเภทเหล่านี้ เพราะ
อรรถว่าเป็นเหตุแห่งกุศลสัมปทา แห่งการเกิดในเทวโลกและแห่งความหมดจด
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเทวธรรม แม้บุคคลผู้ประกอบด้วยเทวธรรมเหล่านั้น
ก็เป็นผู้มีเทวธรรม เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม

เหล่านั้น ด้วยเทศนาอันเป็นบุคคลาธิษฐานจึงตรัสว่า สัปบุรุษผู้สงบระงับ
เรียกว่า ผู้มีเทวธรรมในโลก.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ยักษ์ครั้นได้ฟังธรรมเทศนานี้ มีความเลื่อมใสจึงกล่าวกะพระโพธิสัตว์
ว่า ดูก่อนบัณฑิต เราเลื่อมใสท่าน จะให้น้องชายคนหนึ่ง จะให้นำคนไหนมา.
พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ท่านจงนำน้องชายคนเล็กมา. ยักษ์กล่าวว่า ดูก่อนบัณฑิต
ท่านรู้แต่เทวธรรมอย่างเดียวเท่านั้น แต่ไม่ประพฤติในเทวธรรมเหล่านั้น.
พระโพธิสัตว์ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร ? ยักษ์กล่าวว่า เพราะเหตุที่ท่านเว้น

พี่ชายเสียให้นำน้องชายมา ชื่อว่าไม่กระทำกรรมของผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญที่สุด.
พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนยักษ์ เรารู้เทวธรรมทีเดียว และประพฤติใน
เทวธรรมเหล่านั้น เพราะว่าเราทั้งหลายเข้าป่านี้เพราะอาศัยน้องชายนี้ ด้วยว่า
พระมารดาของน้องชายนี้ ทูลขอราชสมบัติกะพระบิดาของพวกเรา เพื่อ
ประโยชน์แก่น้องชายนี้ แต่พระบิดาของพวกเราไม่ให้พรนั้น เพื่อจะทรง

อนุรักษ์พวกเรา จึงทรงอนุญาตการอยู่ป่า พระกุมารนั้นติดตามมากับพวกเรา.
แม้เมื่อพวกเรากล่าวว่า ยักษ์ในป่ากินพระกุมารนั้นเสียแล้ว ใคร ๆ จักไม่เชื่อ
ด้วยเหตุนั้น เรากลัวแต่ภัยคือการครหา จึงให้นำน้องชายคนเล็กนั้นนั่นแหละมา.
ยักษ์มีจิตเลื่อมใสให้สาธุการแก่พระโพธิสัตว์ว่า สาธุ สาธุ ท่านบัณฑิต ท่าน
รู้เทวธรรมทั้งปฏิบัติในเทวธรรมเหล่านั้น ดังนี้แล้ว จึงได้นำน้องชายแม้ทั้งสอง

คนมาให้. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสกะยักษ์นั้นว่า สหาย ท่านบังเกิดเป็น
ยักษ์มีเนื้อและเลือดของคนอื่นเป็นภักษา เพราะบาปกรรมที่ตนทำไว้ในชาติ
ก่อน บัดนี้ท่านยังกระทำบาปนั่นแลซํ้าอีก ด้วยว่าบาปกรรมจักไม่ไห้พ้นจาก
นรกเป็นต้น เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นี้ไป ท่านจงละบาปแล้วกระทำแต่กุศล. ก็

แหละได้สามารถทรมานยักษ์นั้น พระโพธิสัตว์นั้นครั้นทรมานยักษ์นั้นแล้ว
เป็นผู้อันยักษ์นั้นจัดแจงการอารักขาอยู่ในที่นั้นนั่นแล. วันหนึ่ง แลดูนักขัต-
ฤกษ์ รู้ว่าพระชนกสวรรคต จึงพายักษ์ไปเมืองพาราณสี ยึดราชสมบัติ
ประทานตำแหน่งอุปราชแก่พระจันทกุมาร ประทานตำแหน่งเสนาบดีแก่สุริย-

กุมาร ให้สร้างที่อยู่ในที่อันน่ารื่นรมย์ให้แก่ยักษ์ ได้ทรงกระทำโดยประการที่
ยักษ์นั้นได้บูชาอันเลิศ ดอกไม้อันเลิศ ของหอมอันเลิศ ผลไม้อันเลิศ และ
ภัตอันเลิศ. พระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติโดยธรรมได้เสด็จไปตามยถากรรม
แล้ว.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ
ทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. แม้พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าก็ตรัสเรื่อง ๒ เรื่องสืบอนุสนธิต่อกันไป แล้วทรงประชุมชาดกว่า
ผีเสื้อนํ้าในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้มีภัณฑะมากในบัดนี้ สุริยกุมารได้เป็น
พระอานนท์ จันทกุมารได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนมหิสสาสกุมารผู้เป็นเชฏฐา
ได้เป็นเราเองแล.
จบ เทวธรรมชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
๗. อรรถกถากัฏฐหาริชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภพระนาง
วาสภขัตติยา จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปุตฺโต ตฺยาหํ
มหาราช ดังนี้.

เรื่องพระนางวาสภขัตติยา จักมีแจ้งในภัททสาลชาดก ทวาทสนิบาต.
ได้ยินว่า พระนางวาสภขัตติยานั้น เป็นพระธิดาของเจ้าศากยะมหานาม ประสูติ
ในครรภ์ของทาสีชื่อว่า นาคมณฑา (ต่อมา) ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระ
เจ้าโกศล พระนางประสูติพระราชโอรส. ก็ภายหลัง พระราชาทรงทราบว่า
พระนางเป็นทาสีจึงทรงปลดจากตำแหน่ง แม้วิฑูฑภะผู้เป็นพระโอรสก็ถูก

ปลดจากตำแหน่งเหมือนกัน. แม่ลูกแม้ทั้งสองก็คงอยู่ในพระราชนิเวศน์ของ
พระองค์นั่นแล. พระศาสดาทรงทราบเหตุนั้น ครั้นในเวลาเย็น ทรงห้อม
ล้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ของพระราชา ประทับนั่งบน
อาสนะที่ปูลาดไว้แล้วตรัสว่า พระนางวาสภขัตติยาประทับอยู่ที่ไหน. พระราชา
จึงกราบทูลเหตุนั้นให้ทรงทราบ พระศาสดาตรัสถามว่า มหาบพิตร พระนาง

วาสภขัตติยาเป็นธิดาของใคร ? พระราชาทูลว่า เป็นธิดาของเจ้ามหานาม
พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า เมื่อพระนางวาสภขัตติยาเสด็จมา เสด็จมา
แล้วเพื่อใคร ? พระราชาทูลว่า เพื่อหม่อมฉัน พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัส
ว่า มหาบพิตร พระนางวาสภขัตติยานี้ เป็นธิดาของพระราชาและมาเพื่อพระ
ราชา เพราะอาศัยพระราชานั่นแหละ จึงได้พระโอรส เพราะเหตุไร พระ-

โอรสนั้นจึงไม่ได้เป็นเจ้าของราชสมบัติอันเป็นของมีอยู่ของพระราชบิดา พระ
ราชาทั้งหลายในกาลก่อน ได้พระโอรสในครรภ์ของหญิงหาฟืน ผู้เป็นภรรยา
ชั่วคราว ก็ยังได้พระราชทานราชสมบัติแก่พระโอรส. พระราชาทรงขอพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเพื่อตรัสเรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุ
อันระหว่างภพปกปิดไว้ ให้ปรากฏแล้ว.

ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า พรหมทัต ในกรุงพาราณสี
เสด็จไปพระราชอุทยานด้วยพระยศใหญ่ เสด็จเที่ยวไปในพระราชอุทยานนั้น
เพราะทรงยินดีดอกไม้และผลไม้ ทรงเห็นหญิงผู้หนึ่งผู้ขับเพลงไปพลางตัดฟืน
ไปพลางในป่าชัฏในพระราชอุทยาน ทรงมีจิตปฏิพัทธ์จึงทรงสำเร็จการอยู่
ร่วมกัน ในขณะนั้นเอง พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของหญิงนั้น.

ทันใดนั้นครรภ์นางได้หนักอึ้งเหมือนเต็มด้วยเพชร. นางรู้ว่าตั้งครรภ์จึงกราบ
ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันตั้งครรภ์แล้ว เพคะ. พระราชาได้

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร