วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 04:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ประทานพระธำมรงค์แล้วตรัสว่า ถ้าเป็นธิดาเจ้าจงจำหน่ายแหวนเลี้ยงดู ถ้า
เป็นบุตร เจ้าจงนำมายังสำนักของเราพร้อมกับแหวน ครั้นตรัสแล้วจึงเสด็จ
หลีกไป. ฝ่ายหญิงนั้นมีครรภ์แก่แล้วก็คลอดพระโพธิสัตว์. ในเวลาที่พระ-
โพธิสัตว์นั้นเล่นอยู่ในสนามเล่น. มีคนกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราถูกคนไม่มีพ่อ
ทุบตีแล้ว. พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงไปหามารดาถามว่า แม่จ๋า ใคร

เป็นพ่อของหนู ? มารดากล่าวว่า ลูกเอ๋ย เจ้าเป็นโอรสของพระเจ้าพาราณสี
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ก็พยานอะไร ๆ มีอยู่หรือจ๊ะแม่. มารดากล่าวว่า ลูก
เอ๋ย พระราชาประทานแหวนนี้ไว้แล้วตรัสว่า ถ้าเป็นธิดา พึงจำหน่ายเลี้ยงดู
กัน ถ้าเป็นบุตร พึงพามาพร้อมกับแหวนนี้ ดังนี้แล้วก็เสด็จไป. พระโพธิ-
สัตว์กล่าวว่า แม่จ๋า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร แม่จึงไม่นำฉันไปยังสำนัก

ของพระบิดา. นางรู้อัธยาศัยของบุตร จึงไปยังประตูพระราชวังให้คนกราบทูล
แก่พระราชาให้ทรงทราบ และเป็นผู้อันพระราชารับสั่งให้เข้าเฝ้า จึงเข้าไป
ถวายบังคมพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ผู้นี้เป็นโอรสของพระองค์
พระราชาแม้ทรงทราบอยู่ ก็เพราะทรงละอายในท่ามกลางบริษัทจึงตรัสว่า ไม่ใช่
บุตรของเรา. หญิงนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นี้พระธำมรงค์ของพระ-

องค์ พระองค์คงจะทรงจำพระธำมรงค์นี้ได้. พระราชาตรัสว่า แม้พระธำมรงค์
นี้ก็ไม่ใช่ธำมรงค์ของเรา. หญิงนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บัดนี้ เว้น
สัจกิริยาเสียคนอื่นผู้จะเป็นสักขีพยานของกระหม่อมฉันย่อมไม่มี ถ้าทารกนี้
เกิดเพราะอาศัยพระองค์ อันกระหม่อมฉันเหวี่ยงขึ้นไปแล้ว จงอยู่ในอากาศ

ถ้าไม่ได้อาศัยพระองค์เกิด จงตกลงมาตายบนภาคพื้นดิน แล้วจับเท้าทั้งสอง
ของพระโพธิสัตว์เหวี่ยงไปในอากาศ. พระโพธิสัตว์นั่งคู้บัลลังก์ในอากาศ เมื่อ
จะกล่าวธรรมะแก่พระบิดาด้วยเสียงอันไพเราะ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ ข้าพระบาทเป็น
โอรสของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่ง
หมู่ชน ขอพระองค์ได้ทรงโปรดชุบเลี้ยงข้าพระบาท
ไว้ แม้คนเหล่าอื่นพระองค์ยังทรงชุบเลี้ยงได้ ไฉนจะ
ไม่ทรงชุบเลี้ยงโอรสของพระองค์เองเล่า.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺโต ตฺยาหํ ตัดบทเป็น ปุตฺโต
เต อหํ แปลว่า ข้าพระบาทเป็นโอรสของพระองค์. ก็ชื่อว่าบุตรนี้มี ๔
ประเภท คือ บุตรผู้เกิดในตน ๑ บุตรผู้เกิดในเขต ๑ อันเตวาสิก
ลูกศิษย์ ๑ และบุตรเขาให้ ๑.

บรรดาบุตร ๔ ประเภทนั้นบุตรผู้อาศัยตนเกิด ชื่อว่า บุตรผู้เกิดใน
ตน. บุตรผู้เกิดในที่ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ บนหลังที่นอน บนบัลลังก์และ
ที่อก ชื่อว่า บุตรผู้เกิดในเขต. บุคคลผู้เรียนศิลปศาสตร์ในสำนัก ชื่อว่า
ลูกศิษย์. บุตรที่เขาให้มาเลี้ยง ชื่อว่าบุตรที่เขาให้ คือ บุตรบุญธรรม.
แต่ในที่นี้ ท่านหมายเอาบุตรที่เกิดในตน จึงกล่าวว่าบุตร.

ที่ชื่อว่า พระราชา เพราะทำชนให้ยินดี ด้วยสังคหวัตถุ ๔. พระ-
ราชาผู้ใหญ่ชื่อว่า มหาราชา พระโพธิสัตว์เมื่อจะตรัสเรียกพระราชานั้นจึง
ตรัสว่า มหาราช ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่.

บทว่า ตฺวํ มํ โปส ชนาธิป ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น
ใหญ่ในหมู่มหาชน พระองค์จงชุบเลี้ยง คือ จงเลี้ยงดูข้าพระบาทอยู่เถิด.
อญฺเปิ เทโว โปเสติ ความว่า ชนเป็นอันมากเหล่าอื่น ได้แก่พวก
มนุษย์ผู้เลี้ยงช้างเป็นต้น และสัตว์เดียรัจฉานมีช้างและม้าเป็นต้น พระองค์ยัง

ทรงชุบเลี้ยงได้. ก็ศัพท์ว่า กิญฺจ ในบทว่า กิญฺจ เทโว สกํ ปชํ นี้
เป็นศัพท์นิบาตใช้ในความหมายว่า ติเตียน และความหมายว่า อนุเคราะห์.
พระโพธิสัตว์ทรงโอวาทว่า ประชาชนของพระองค์ คือข้าพระบาทผู้เป็นโอรส
ของพระองค์ พระองค์ไม่ทรงชุบเลี้ยง ดังนี้ ชื่อว่าย่อมติเตียน. เมื่อตรัสว่า

คนอื่นเป็นอันมาก พระองค์ทรงชุบเลี้ยงได้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมอนุเคราะห์ช่วย
เหลือ. ดังนั้นพระโพธิสัตว์แม้เมื่อจะทรงติเตียนจึงตรัสว่า ไฉนจะไม่ทรงชุบ
เลี้ยงโอรสของพระองค์เล่า.

เมื่อพระโพธิสัตว์ประทับนั่งในอากาศทรงแสดงธรรมอยู่อย่างนี้ พระ-
ราชาได้ทรงสดับแล้ว จึงทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า จงมาเถิดพ่อ เราแหละ
จักชุบเลี้ยงเจ้า. มีมือตั้งพันเหยียดมาแล้ว พระโพธิสัตว์ไม่ลงในมือคนอื่น ลง
ในพระหัตถ์ของพระราชาเท่านั้น แล้วประทับนั่งบนพระเพลา พระราชาทรง
ประทานความเป็นอุปราชแก่พระโพธิสัตว์นั้น แล้วได้ทรงตั้งมารดาให้เป็น
อัครมเหสี. เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว พระโพธิสัตว์นั้นได้เป็นพระราชาพระ
นามว่า กัฏฐวาหนะ ครองราชสมบัติโดยธรรม ได้เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาทรงแสดงแก่พระเจ้าโกศล
แล้ว ทรงแสดงเรื่อง ๒ เรื่องสืบต่ออนุสนธิ แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระ-
มารดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระมหามายาเทวี พระบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น
พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ส่วนพระเจ้ากัฏฐวาหนราชในครั้งนั้น ได้เป็น
เราเองแล.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันทรงปรารภภิกษุละความ
เพียร จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อปิ อตรมานานํ ดังนี้.

ก็เรื่องปัจจุบันและเรื่องอดีตในชาดกนี้ จักมีแจ้งในสังวรชาดก เอกา-
ทสนิบาต ก็ในสังวรชาดกนั้น และชาดกนี้ เรื่องเป็นเช่นเดียวกันเทียว แต่คาถา
ต่างกัน มีความย่อว่า คามนิกุมารตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ แม้จะเป็น
พระกนิษฐาของพระภาดาทั้งร้อยพระองค์ ก็เป็นผู้อันพระภาดาทั้งร้อยพระองค์
ห้อมล้อม ประทับนั่งบนบัลลังก์อันประเสริฐ ภายใต้เศวตฉัตร ทอดพระเนตร-
ดูยศสมบัติของพระองค์ ทรงดีพระทัยว่า ยศสมบัติของเรานี้ เป็นของอาจารย์
เรา จึงทรงเปล่งอุทานนี้ว่า

เออ ก็ความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็ว
ด่วนได้ เรามีพรหมจรรย์แก่กล้าแล้ว ท่านจงเข้าใจ
ดังนี้เถิด พ่อคามนิ.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า อปิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อตรมา-
นานํ ได้แก่ ผู้ตั้งอยู่ในโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย ไม่รีบด่วน กระทำการ
โดยอุบาย. บทว่า ผลาสาว สมิชฺฌติ ความว่า ความหวังในผลที่ปรารถนา
ไว้ ชื่อว่าย่อมสำเร็จแน่ เพราะความสำเร็จผลนั้น อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า
ผลาสา ได้แก่ ผลแห่งความหวัง คือ ผลตามที่ปรารถนาไว้ ย่อมสำเร็จ

ทีเดียว. ในบทว่า วิปกฺกพฺรหฺมจริโยสฺมิ นี้ สังคหวัตถุ ๔ ชื่อว่า
พรหมจรรย์เพราะเป็นความประพฤติอันประเสริฐ ก็พรหมจรรย์นั้น ชื่อว่าแก่
กล้าแล้วทีเดียว เพราะได้เฉพาะยศสมบัติอันมีสังคหวัตถุนั้นเป็นมูล ยศที่สำเร็จ
แก่คามนิกุมารแม้นั้น ก็ชื่อว่าพรหมจรรย์ เพราะอรรถว่าประเสริฐ. ด้วยเหตุ
นั้นท่านจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีพรหมจรรย์แก่กล้าแล้ว. บทว่า เอวํ
ชานาหิ คามนิ ความว่า ในที่บางแห่งบุรุษชาวบ้านก็ดี หัวหน้าชาวบ้าน

ก็ดี ชื่อว่า คามนิ ผู้ใหญ่บ้าน แต่ในที่นี้ หมายเอาตนเองซึ่งเป็นหัวหน้า
คนทั้งปวงจึงกล่าวว่า ดูก่อนนายบ้านผู้เจริญ ท่านจงรู้เหตุนี้อย่างนี้ว่า เรา
ก้าวล่วงพี่ชายร้อยคน ได้รับราชสมบัติใหญ่นี้ เพราะอาศัยอาจารย์ ดังนี้ เปล่ง
อุทานแล้ว.

ก็เมื่อคามนิกุมารนั้นได้ราชสมบัติแล้ว เมื่อเวลาล่วงไป ๒ - ๓ วัน
พี่ชายทุกคนได้ไปยังสถานที่อยู่ของตน ๆ พระเจ้าคามนิครองราชสมบัติโดย
ธรรม แล้วเสด็จไปตามยถากรรม ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทำบุญแล้วได้ไปตามกรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศ
อริยสัจทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ละความเพียรได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต
แล พระศาสดาตรัส ๒ เรื่องสืบอนุสนธิต่อกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า
พระเจ้าคามนิในครั้งนั้นได้เป็นพระอานนท์ ส่วนอาจารย์ คือเราเองแล.
จบ คามนิชาดกที่ ๘


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภการเสด็จ
ออกมหาภิเนษกรมณ์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุตฺตมงฺครุหา
มยฺหํ ดังนี้. การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์นั้นได้กล่าวไว้แล้วในนิทานกถาใน
หนหลังนั้นแล. ก็ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งพรรณนาการเสด็จออกบรรพชา
ของพระทศพล.

ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จมายังโรงธรรมสภา ประทับนั่งบนพุทธ-
อาสน์ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ
นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายมิได้นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอย่างอื่น แต่นั่งพรรณนา
การเสด็จออกบรรพชาของพระองค์เท่านั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ตถาคตออกเนกขัมมะในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ออก

เนกขัมมะแล้วเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายจึงอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อตรัส
เรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิด
ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ในกรุงมิถิลา วิเทหรัฐ ได้มีพระราชาพระนามว่า
มฆเทวะ เป็นพระมหาธรรมราชาผู้ดำรงอยู่ในธรรม พระเจ้ามฆเทวะนั้นทรง
ให้กาลเวลาอันยาวนานหมดสิ้นไปวันหนึ่ง ตรัสเรียกช่างกัลบกมาว่า ดูก่อน
ช่างกัลบกผู้สหาย ท่านเห็นผมหงอกบนศีรษะของเราในกาลใด ท่านจงบอก
แก่เราในกาลนั้น ฝ่ายช่างกัลบกก็ได้ทำให้เวลาอันยาวนานหมดสิ้นไป วันหนึ่ง

เห็นพระเกศาหงอกเส้นหนึ่งในระหว่างพระเกศาทั้งหลายอันมีสีดังดอกอัญชัน
ของพระราชา จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระเกศาหงอกเส้นหนึ่งปรากฏ
แก่พระองค์. พระราชาตรัสว่า สหาย ถ้าอย่างนั้นท่านจงถอนผมหงอกนั้นของ
เราเอามาวางในฝ่ามือ เมื่อพระราชาตรัสอย่างนั้น ช่างกัลบกจึงเอาแหนบทอง
ถอนแล้วให้พระเกศาหงอกประดิษฐานอยู่ในฝ่าพระหัตถ์ของพระราชา ใน

กาลนั้น พระราชายังมีพระชนมายุเหลืออยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น
พระราชาได้ทรงเห็นผมหงอกแล้ว ก็ทรงสำคัญประหนึ่งว่าพระยามัจจุราชมา
ยืนอยู่ใกล้ ๆ และประหนึ่งว่าตนเองเข้ามาอยู่ในบรรณศาลาอันไฟติดโพลงอยู่

ฉะนั้น ได้ทรงถึงความสังเวช จึงทรงพระดำริว่า ดูก่อนมฆเทวะผู้เขลา เจ้า
ไม่อาจละกิเลสเหล่านี้จนตราบเท่าผมหงอกเกิดขึ้น เมื่อพระเจ้ามฆเทวะนั้นทรง
รำพึงถึงผมหงอกที่ปรากฏแล้ว ความเร่าร้อนภายในก็เกิดขึ้น พระเสโทใน
พระสรีระไหลออก ผ้าสาฎกได้ถึงอาการที่จะต้องบิด (เอาพระเสโท) ออก
พระเจ้ามฆเทวะนั้นทรงพระดำริว่า เราควรออกบวชในวันนี้แหละ จึงทรง
ประทานบ้านชั้นดีอันเป็นที่ตั้งขึ้นแห่งทรัพย์เจ็ดพัน แก่ช่างกัลบก แล้วรับสั่ง

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 07:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ให้เรียกพระโอรสพระองค์ใหญ่มาตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ผมหงอกปรากฏบนศีรษะ
ของพ่อแล้ว พ่อเป็นคนแก่แล้ว ก็กามของมนุษย์พ่อได้บริโภคแล้ว บัดนี้ พ่อ
จักแสวงหากามอันเป็นทิพย์ นี้เป็นกาลออกบวชของพ่อ เจ้าจงครอบครอง
ราชสมบัตินี้ ส่วนพ่อบวชแล้วจักอยู่กระทำสมณธรรมในอัมพวันอุทยานชื่อ
มฆเทวะ อำมาตย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระราชานั้นผู้มีพระประสงค์จะบวชอย่าง
นั้น แล้วทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพอะไรเป็นเหตุแห่งการทรงผนวชของพระ-
องค์ ? พระราชาทรงถือผมหงอก ตรัสพระคาถานี้แก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า.

ผมที่หงอกบนศีรษะของเรานี้เกิดแล้ว เป็นเหตุ
นำวัยไป เทวทูตปรากฏแล้ว นี้เป็นสมัยแห่งการ
บรรพชาของเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺตมงฺครุหา ได้แก่ผม จริงอยู่ ผม
ทั้งหลายเรียกว่า อุตฺตมงฺครุหา เพราะงอกขึ้นบนเบื้องสูงแห่งอวัยวะมีมือและ
เท้าเป็นต้น คือว่า บนศีรษะ. บทว่า อิเม ชาตา วโยหรา ความว่า
พ่อทั้งหลาย จงดู ผมหงอกเหล่านี้เกิดแล้ว ชื่อว่าเป็นเหตุนำเอาวัยไป เพราะ
นำเอาวัยทั้ง ๓ ไป โดยภาวะปรากฏผมหงอก. บทว่า ปาตุภูตา ได้แก่
บังเกิดแล้ว.

มัจจุ ชื่อว่า เทวะ ที่ชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตแห่งเทวะนั้น
จริงอยู่ เมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏบนศรีษะ บุคคลย่อมเป็นเหมือนยืนอยู่ใน
สำนักของพญามัจจุราช เพราะฉะนั้น ผมหงอกทั้งหลายท่านจึงเรียกว่า ทูตของ
เทวะคือมัจจุ ที่ชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตเหมือนเทวะ ดังนี้ก็มี เหมือน

อย่างว่า บุคคลย่อมเป็นเหมือนผู้อันเทวดาผู้มีทั้งประดับและตกแต่งแล้วยืนใน
อากาศกล่าวว่า ท่านจักตายในวันชื่อโน้น ฉันใดเมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏ
แล้วบนศรีษะย่อมเป็นเช่นกับเทวดาพยากรณ์ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น
ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงกล่าวว่าเป็นทูตเหมือนเทพ ที่ชื่อว่าเทวทูต
เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพทั้งหลาย ดังนี้ก็มี. จริงอยู่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์
ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต เท่านั้น ก็ถึงความ
สังเวช เสด็จออกบวช. สมดังที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนมหาบพิตร เพราะอาตมภาพเห็นคนแก่
คนป่วยไข้ได้ความทุกข์ คนตายอันถึงความสิ้นอายุ
และบรรพชิตผู้ครองผ้ากาสาวะ จึงได้บวช ดังนี้.
โดยปริยายนี้ ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงเรียกว่าเทวทูต เพราะเป็น
ทตแห่งวิสุทธิเทพทั้งหลาย. ด้วยบทว่า ปพฺพชฺชาสมโย มมํ นี้ ท่าน

แสดงว่า นี้เป็นกาลแห่งการถือสมณเพศอันได้ชื่อว่าบรรพชา เพราะอรรถว่า
ออกจากความเป็นคฤหัสถ์ของเรา.
พระเจ้ามฆเทวะนั้น ครั้นตรัสอย่างนี้แล้วจึงสละราชสมบัติบวชเป็น
ฤาษีในวันนั้นเอง ประทับอยู่ในมฆอัมพวันนั้นนั่นแหละ เจริญพรหมวิหาร ๔
อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ดำรงอยู่ในฌานอันไม่เสื่อม สวรรคตแล้วบังเกิดในพรหมโลก
จุติจากพรหมโลกนั้น ได้เป็นพระราชาพระนามว่า เนมิ ในกรุงมิถิลา
นั่นแหละอีก สืบต่อวงศ์ของพระองค์ที่เสื่อมลง จึงทรงผนวชในอัมพวันนั้นนั่น
แหละ เจริญพรหมวิหาร กลับไปเกิดในพรหมโลกตามเดิมอีก.

แม้พระศาสดาก็ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกมหา
ภิเนษกรมณ์ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ออกแล้วเหมือนกัน
ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประกาศอริยสัจ ๔ ในเวลา
จบอริยสัจ ภิกษุบางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี
บางพวก ได้เป็นพระอนาคามี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ๒ เรื่องนี้สืบต่ออนุสนธิ
กันด้วยประการดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ช่างกัลบกในครั้งนั้น ได้เป็น
พระอานนท์ในบัดนี้ บุตรในครั้งนั้น ได้เป็นพระราหุลในบัดนี้ ส่วนพระเจ้า
มฆเทวะได้เป็นเราตถาคตแล.
จบ มฆเทวชาดกที่ ๙


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อทรงอาศัย อนุปิยนคร ประทับอยู่ในอนุปิยอัมพวัน
ทรงปรารภพระภัททิยเถระผู้มีปกติอยู่เป็นสุขจึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม
ต้นว่า ยญฺจ อญฺเ น รกฺขนฺติ ดังนี้. พระภัททิยเถระผู้มีปกติอยู่เป็น
สุข มีพระอุบาลีเป็นที่ ๗ บวชในสมาคมกษัตริย์ ๖ พระองค์ บรรดาพระ
เถระเหล่านั้น พระภัททิยเถระ พระกิมพิลเถระ พระภคุเถระ พระอุบาลีเถระ
บรรลุพระอรหัต พระอานนท์เถระเป็นพระโสดาบัน พระ อนุรุทธเถระเป็นผู้มี

ทิพยจักษุ พระเทวทัตเป็นผู้ได้ฌาน ก็เรื่องของกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ จัก
มีแจ้งในกัณฑหาลชาดกเพียงแค่อนุปิยนคร. ก็ท่านพระภัททิยเถระรักษาคุ้ม
ครองพระองค์ในคราวเป็นพระราชา ก็ยังทรงเห็นภัยที่จะเกิดขึ้นแก่พระองค์ผู้
อันเขารักษาอยู่ด้วยการรักษามากมายดุจเทวดาจัดการรักษา และภัยที่จะเกิดแก่
พระองค์ผู้ทรงพลิกกลับไปมาอยู่บนพระที่บรรทมใหญ่ในปราสาทชั้นบน บัดนี้

บรรลุพระอรหัตแล้ว แม้จะอยู่ในที่ใดที่หนึ่งมีป่าเป็นต้น ก็พิจารณาเห็นความ
ที่พระองค์เป็นผู้ปราศจากภัย จึงเปล่งอุทานว่า สุขหนอ สุขหนอ ภิกษุ
ทั้งหลายได้ฟังดังนั้นจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระภัททิยเถระ
พยากรณ์พระอรหัตผล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภัททิยะมีปกติอยู่เป็นสุขในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อนก็มีปกติอยู่เป็น

สุขเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลายจึงทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อต้องการให้
ทรงประกาศเรื่องนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพ
ปกปิดไว้ ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์มหาศาลผู้เกิดในตระกูลสูง เห็นโทษใน
กามทั้งหลายและอานิสงส์ในการออกบวช จึงละทิ้งกามทั้งหลายเข้าป่าหิมพานต์
บวชเป็นฤาษี ทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดขึ้น แม้บริวารของพระโพธิสัตว์นั้นได้
เป็นบริวารใหญ่ มีดาบสอยู่ ๕๐๐ รูป. ในฤดูฝน พระโพธิสัตว์นั้นออกจาก

ป่าหิมพานต์ แวดล้อมด้วยหมู่ดาบสเที่ยวจาริกไปในคามและนิคมเป็นต้น
บรรลุถึงเมืองพาราณสี ทรงอาศัยพระราชาสำเร็จการอยู่ในพระราชอุทยาน ทรง
อยู่ในพระราชอุทยานนั้นตลอด ๔ เดือนฤดูฝน แล้วทูลลาพระราชา. ลำดับ
นั้น พระราชาทรงอ้อนวอนพระโพธิสัตว์นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านก็แก่แล้ว
ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยป่าหิมพานต์ ท่านจงส่งอันเตวาสิกทั้งหลายไปป่า

หิมพานต์แล้วอยู่เสียในที่นี้เถิด. พระโพธิสัตว์ทรงมอบดาบส ๕๐๐ รูป กับอัน
เตวาสิกผู้ใหญ่ แล้วส่งดาบสเหล่านั้นไปด้วยคำว่า ท่านจงไปอยู่ในป่าหิมพานต์
กับดาบสเหล่านี้ ส่วนเราจักอยู่ในที่นี้แหละ แล้วตนเองก็สำเร็จการอยู่ในพระ-
ราชอุทยานนั้นนั่นเอง ก็หัวหน้าอันเตวาสิกนั้นของพระโพธิสัตว์นั้น เป็น
ราชบรรพชิต ละราชสมบัติใหญ่ออกบวช กระทำกสิณบริกรรมได้สมาบัติ ๘.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
หัวหน้าอันเตวาสิกนั้นอยู่ในป่าหิมพานต์กับดาบสทั้งหลาย มีความประสงค์
จะเห็นอาจารย์ จึงเรียกดาบสเหล่านั้นมาแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้
รำคาญ จงอยู่ในที่นี้แหละ เราเห็นอาจารย์แล้วจักกลับมา แล้วไปยังสำนัก
ของอาจารย์ ไหว้แล้วกระทำปฏิสันถาร ปูลาดเสื่อลำแพนผืนหนึ่งนอนอยู่ใน
สำนักของอาจารย์นั่นเอง. ก็สมัยนั้น พระราชาทรงพระดำริว่าจักเยี่ยมพระ-

ดาบส จึงเสด็จไปยังพระราชอุทยาน ไหว้แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ดาบสผู้
เป็นอันเตวาสิกแม้เห็นพระราชาก็ไม่ลุกขึ้น แต่นอนอยู่อย่างนั้นแลเปล่งอุทาน
ว่า สุขหนอ สุขหนอ. พระราชาทรงน้อยพระทัยว่า ดาบสนี้ แม้เห็นเราก็
ไม่ลุกขึ้น จึงตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ ดาบสนี้คงจักฉันตามต้อง

การ จึงสำเร็จการนอนอย่างสบายทีเดียวเปล่งอุทานอยู่. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า
มหาบพิตร ดาบสนี้ เมื่อก่อนได้เป็นพระราชาองค์หนึ่งเช่นกับพระองค์ ดาบส
นี้นั้นคิดว่า เมื่อก่อนในคราวเป็นคฤหัสถ์ เราเสวยสิริราชสมบัติ แม้อันคน
เป็นอันมาก มีมือถืออาวุธคุ้มครองอยู่ ก็ยังไม่ได้ชื่อว่าความสุขเห็นปานนี้ จึง
ปรารภสุขในการบวช และสุขในฌานของตนแล้วเปล่งอุทานนี้ ก็แหละครั้น
ตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อจะตรัสธรรมกถาแก่พระราชาจึงตรัสคาถานี้ว่า

ชนเหล่าอื่นไม่ต้องรักษาผู้ใดด้วย และผู้ใดก็ไม่
ต้องรักษาชนเหล่าอื่นด้วย ดูก่อนมหาบพิตร ผู้นั้นแล
ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยญฺจ อญฺเ น รกฺขนฺติ ความว่า
บุคคลเหล่าอื่นเป็นอันมาก ย่อมไม่รักษาบุคคลใด. บทว่า โย จ อญฺเ
น รกฺขติ ความว่า แม้บุคลใดก็ไม่รักษาคนอื่นเป็นอันมาก ด้วยคิดว่า
เราผู้เดียวครองราชสมบัติ. บทว่า ส เว ราชสุขํ เสติ ความว่า ดูก่อน
มหาบพิตร บุคคลนั้นผู้เดียวไม่มีเพื่อน สงัดเงียบแล้ว เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วย
ความสุขทางกายและทางจิต ย่อมนอนเป็นสุข. ก็คำว่า นอนเป็นสุขนี้ เป็นหัว

ข้อเทศนาเท่านั้น ย่อมนอนเป็นสุขอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ ก็บุคคลเห็นปาน
นี้ย่อมเดิน ยืน นั่ง นอน เป็นสุข คือได้รับความสุขในทุกอิริยาบถทีเดียว.
บทว่า กาเมสุ อนเปกฺขวา ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลเห็นปานนี้
เว้นจากความเพ่งเล็งในวัตถุกามและกิเลสกาม คือปราศจากฉันทราคะไม่มีตัณหา
ย่อมอยู่เป็นสุขทุกอิริยาบถ.

พระราชาได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาแล้วมีพระทัยยินดี บังคมแล้ว
เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์นั่นเอง ฝ่ายอันเตวาสิกก็ไหว้พระอาจารย์แล้วไป
ยังป่าหิมพานต์เหมือนกัน ฝ่ายพระโพธิสัตว์อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ มีฌานไม่
เสื่อม กระทำกาละแล้วบังเกิดในพรหมโลก.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัส ๒ เรื่อง
สืบต่ออนุสนธิกันแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า อันเตวาสิกในครั้งนั้นได้เป็น
พระภัททิยเถระ ส่วนครูของคณะคือเราเองแล.
จบสุขวิหาริชาดกที่ ๑๐
จบอปัณณกวรรคที่ ๑



:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
๑. อรรถกถาลักขณชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยพระนครราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระ
เวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภ พระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า โหติ สีลวตํ อตฺโถ ดังนี้ เรื่องพระเทวทัตจนถึงการประกอบ
กรรมคือ การฆ่าอย่างหนัก จักมีแจ้งในกัณฑหาลชาดก เรื่องการปล่อยช้าง
ธนปาลกะ จักมีแจ้งในจุลลหังสชาดก และการถูกแผ่นดินสูบ จักมีแจ้งใน
สมุททพาณิชชาดก ในทวาทสนิบาต.

สมัยหนึ่ง พระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕ ประการ เมื่อไม่ได้จึงทำลายสงฆ์
พาภิกษุ ๕๐๐ ไปอยู่ที่คยาสีสประเทศ ครั้งนั้นญาณของภิกษุเหล่านั้นได้ถึง
ความแก่กล้าแล้ว พระศาสดาทรงทราบดังนั้น จึงตรัสเรียกพระอัครสาวกทั้ง
สองมาว่า ดูก่อนสารีบุตรและโมคคัลลานะ ภิกษุ ๕๐๐ ผู้เป็นนิสิตของพวก
เธอ ชอบใจลัทธิของเทวทัตไปกับพระเทวทัตแล้ว ก็บัดนี้ญาณของภิกษุเหล่า

นั้นถึงความแก่กล้าแล้ว พวกเธอจงไปที่นั้นพร้อมกับภิกษุจำนวนมาก แสดง
ธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ให้ภิกษุเหล่านั้นตรัสรู้มรรคผลแล้วจงพามา พระ-
อัครสาวกทั้งสองนั้นจึงไปที่คยาสีสประเทศนั้นนั่นแหละ แสดงธรรมแก่ภิกษุ
เหล่านั้นให้ตรัสรู้ธรรมด้วยมรรคผลแล้ว วันรุ่งขึ้นเวลาอรุณขึ้น จึงพาภิกษุ

เหล่านั้นมายังพระเวฬุวันวิหารนั่นเทียว ก็แลในเวลาที่พระสารีบุตรเถระมา
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่ภิกษุทั้งหลายพากันสรรเสริญพระเถระ
แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเสนาบดี
พี่ชายใหญ่ของข้าพระองค์ทั้งหลาย อันภิกษุ ๕๐๐ แวดล้อมมาอยู่ งดงามเหลือ
เกิน ส่วนพระเทวทัตเป็นผู้มีบริวารเสื่อมแล้ว พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สารีบุตรอันหมู่ญาติแวดล้อมมาย่อมงดงาม แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้
แม้ในกาลก่อนก็งดงามเหมือนกัน ฝ่ายพระเทวทัตเสื่อมจากหมู่ญาติในบัดนี้
เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เสื่อมมาแล้วเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายทูล
อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อให้ทรงประกาศเรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดไว้ ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระเจ้ามคธพระองค์หนึ่ง ครองราชสมบัติในนคร
ราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในกำเนิด
มฤคชาติ พอเติบโต มีเนื้อหนึ่งพันเป็นบริวารอยู่ในป่า พระโพธิสัตว์นั้นมี
ลูก ๒ ตัว คือ ลักขณะ และ กาฬะ. ในเวลาที่ตนแก่ พระโพธิสัตว์นั้น
กล่าวว่า ลูกพ่อทั้งสอง บัดนี้ พ่อแก่แล้ว เจ้าทั้งสองจงปกครองหมู่เนื้อนี้ แล้ว

ให้บุตรแต่ละคนรับมอบเนื้อคนละ ๕๐๐ ตั้งแต่นั้น เนื้อแม้ทั้งสองก็ปกครอง
หมู่เนื้อ. ก็ในแคว้นมคธ ในสมัยข้าวกล้าอันเต็มไปด้วยข้าวกล้า อันตราย
ย่อมเกิดแก่เนื้อทั้งหลายในป่า เนื่องจากพวกมนุษย์ต้องการฆ่าพวกเนื้อที่มา
กินข้าวกล้า จึงขุดหลุมพรางปักขวาก ห้อยหินยนต์[ฟ้าทับเหว] ดักบ่วงมีบ่วง
ลวงเป็นต้น เนื้อเป็นอันมากพากันถึงความพินาศ พระโพธิสัตว์รู้คราวที่เต็ม

ไปด้วยข้าวกล้า จึงให้เรียกลูกทั้งสองมากล่าวว่า พ่อทั้งสอง สมัยนี้เป็นสมัย
ที่เต็มแน่นไปด้วยข้าวกล้า เนื้อเป็นอันมากพากันถึงความพินาศ เราแก่แล้ว
จักยับยั้งอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง พวกเจ้าจงพาหมู่เนื้อของพวก
เจ้า เข้าไปยังเชิงเขาในป่าในเวลาเขาถอนข้าวกล้าแล้วจึงค่อยมา บุตรทั้งสอง

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
นั้นรับคำของบิดาแล้ว พร้อมด้วยบริวารพากันออกไป ก็พวกมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมรู้หนทางที่พวกเนื้อเหล่านั้นไปและมาว่า ในเวลานี้ พวกเนื้อกำลังลงจาก
ภูเขา ในเวลานี้กำลังขึ้นภูเขา มนุษย์เหล่านั้นพากันนั่งในที่กำบัง ณ ที่นั้น
แทงเนื้อเป็นอันมากให้ตาย ฝ่ายเนื้อกาฬะ เพราะความที่ตัวโง่ จึงไม่รู้ว่า เวลา
ชื่อนี้ควรไป จึงพาหมู่เนื้อไปทางประตูบ้าน ทั้งในเวลาเช้าและเวลาเย็น ทั้ง
เวลาพลบคํ่า และเวลาใกล้รุ่ง พวกมนุษย์ยืนและนั่งตามปรกตินั่นแล อยู่ใน
ที่นั้น ๆ ยังเนื้อเป็นอันมากให้ถึงความพินาศ เนื้อกาฬะนั้นให้เนื้อเป็นอันมาก
ถึงความพินาศ เพราะความที่ตนเป็นผู้โง่เขลาอย่างนี้ จึงเข้าป่าด้วยเนื้อมี
ประมาณน้อยเท่านั้น.

ส่วนเนื้อลักขณะเป็นบัณฑิตมีปัญญา ฉลาดในอุบายรู้ว่า เวลานี้ควร
ไป เนื้อลักขณะนั้นไม่ไปทางประตูบ้าน ไม่ไปเวลากลางวันบ้าง ไม่ไปเวลา
พลบคํ่าบ้าง เวลาใกล้รุ่งบ้าง พาหมู่เนื้อไปเวลาเที่ยงคืนเท่านั้น เพราะฉะนั้น
เนื้อลักขณะจึงไม่ทำเนื้อแม้ตัวหนึ่งให้พินาศเข้าป่าไปแล้ว เนื้อเหล่านั้นอยู่ใน
ป่านั้น ๕ เดือน เมื่อพวกมนุษย์ถอนข้าวกล้าแล้วจึงพากันลงจากภูเขา เนื้อ

กาฬะแม้ไปภายหลังก็ทำแม้เนื้อทั้งหมดให้ถึงความพินาศ โดยนัยก่อนนั่นแหละ
ผู้เดียวเท่านั้นมาแล้ว ส่วนเนื้อลักขณะแม้เนื้อตัวเดียวก็ไม่ให้พินาศ อันเนื้อ
๕๐๐ ตัวแวดล้อมมายังสำนักของบิดามารดา ฝ่ายพระโพธิสัตว์เห็นบุตรทั้งสอง
มา เมื่อปรึกษาหารือกับนางเนื้อ จึงกล่าวคาถาว่า

ความจริงย่อมมีแก่คนทั้งหลายผู้มีศีล ผู้ประพฤติ
ในการปฏิสันถาร ท่านจงดูเนื้อชื่อลักขณะ ผู้อันหมู่
ญาติแวดล้อมกลับมาอยู่ อนึ่ง ท่านจงดู เนื้อชื่อกาฬะ
นี้ ผู้เสื่อมจากหมู่ญาติ กลับมาแต่ผู้เดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวตํ ความว่า ชื่อว่าผู้มีศีล คือ
สมบูรณ์ด้วยอาจาระ เพราะมีความสุขเป็นปรกติ. บทว่า อตฺโถ ได้แก่
ความเจริญ. ปฏิสนฺถารวุตฺตินํ ชื่อว่า ผู้มีปรกติประพฤติในปฏิสันถาร เพราะ
มีปรกติประพฤติในธรรมปฏิสันถาร และอามิสปฏิสันถารนั้น แก่ชนเหล่านั้น
ผู้มีปรกติประพฤติในปฏิสันถาร ก็ในที่นี้ พึงทราบธรรมปฏิสันถารเช่นห้ามทำ

บาป การโอวาท และอนุศาสน์ เป็นต้น พึงทราบอามิสปฏิสันถารเช่นการให้
ได้ที่หากิน การบำรุงเฝ้าไข้ และการรักษาอันประกอบด้วยธรรม ท่านกล่าว
คำอธิบายนี้ไว้ว่า ชื่อว่าความเจริญย่อมมีแก่ชนผู้เป็นบัณฑิต ผู้เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระผู้ตั้งอยู่ในปฏิสันถาร ๒ เหล่านี้ บัดนี้ พระโพธิสัตว์เมื่อจะเรียก
มารดาของเนื้อเพื่อจะแสดงความเจริญนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ท่านจงดูเนื้อ
ชื่อลักขณะ ดังนี้ ในคำที่กล่าวนั้นมีความสังเขปดังนี้:-

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ตามใจลูกเสียคน ตามใจตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจตาตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจหูตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจจมูกตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจลิ้นตนทุกข์ล้น
ตามใจลูกเสียคน ตามใจกายตนทุกข์ล้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เธอจงดูบุตรของตนผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระและปฏิสันถาร ไม่ทำแม้เนื้อ
ตัวหนึ่งให้พินาศอันหมู่ญาติกระทำไว้ข้างหน้า คือห้อมล้อมมาอยู่ แต่เออ ก็เธอ
จงดูเนื้อชื่อกาฬะนี้ ผู้มีปัญญาเขลา ผู้ละเว้นจากสัมปทา คือ อาจาระและ
ปฏิสันถาร ผู้เสื่อมจากญาติทั้งหลาย ไม่เหลือญาติแม้สักตัวมาแต่ผู้เดียว.
ก็พระโพธิสัตว์ชื่นชมบุตรอย่างนี้แล้ว ดำรงอยู่ชั่วอายุ ได้ไปตาม
ยถากรรมแล้ว.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรอันหมู่ญาติห้อม
ล้อม ย่อมงดงามในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็งดงามเหมือนกัน
พระเทวทัตเสื่อมจากหมู่คณะในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เสื่อม
แล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสเรื่อง ๒
เรื่อง สืบอนุสนธิต่อกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า เนื้อกาฬะในครั้งนั้น

ได้เป็นเทวทัต แม้บริษัทของเนื้อกาฬะนั้น ในกาลนั้น ได้เป็น
บริษัทของพระเทวทัต เนื้อชื่อลักขณะในกาลนั้น ได้เป็นพระสารี-
บุตร แม้บริษัทของเนื้อลักขณะในกาลนั้น ได้เป็นพุทธบริษัท
มารดาในครั้งนั้น ได้เป็นพระมารดาของพระราหุล ส่วนบิดาใน
ครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.
จบลักขณชาดกที่ ๑


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุณีผู้
เป็นมารดาของพระกุมารกัสสปเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
นิโคฺรธเมว เสเวยฺย ดังนี้.

ได้ยินว่าภิกษุณีนั้น ได้เป็นธิดาของเศรษฐีผู้มีทรัพย์มากในนคร
ราชคฤห์ มีกุศลมูลหนาแน่น มีสังขารอันยํ่ายีแล้ว เป็นปัจฉิมภวิกสัตว์
(สัตว์ผู้มีภพสุดท้าย) อุปนิสัยแห่งพระอรหัตโพลงอยู่ในหทัยของนาง เหมือน
ประทีปโพลงอยู่ภายในหม้อฉะนั้น. ครั้งนั้น จำเดิมแต่กาลที่รู้จักตนแล้ว
ธิดาของเศรษฐีนั้นไม่ยินดีในเรือน มีความประสงค์จะบวช จึงกล่าวกะบิดา

มารดาว่า ข้าแต่คุณพ่อและคุณแม่ จิตใจของข้าพเจ้าไม่ยินดีในฆราวาส
ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะบวชในพระพุทธศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์
ท่านทั้งหลายจงให้ข้าพเจ้าบวชเถิด. บิดามารดากล่าวว่า แม่ เจ้าพูดอะไร
ตระกูลนี้มีทรัพย์สมบัติมาก และเจ้าก็เป็นธิดาคนเดียวของเราทั้งหลาย เจ้าไม่
ควรจะบวช. นางแม้จะอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่ได้การบรรพชาจากสำนักของ
บิดามารดา จึงคิดว่า ช่างเถอะ เราไปตระกูลสามียังสามีให้โปรดปรานแล้วจัก

บวช. นางเจริญวัยแล้วไปยังตระกูลสามี เป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมครองเหย้า-
เรือน. ลำดับนั้น เพราะอาศัยการอยู่ร่วม นางก็ตั้งครรภ์. นางไม่รู้ว่าตั้ง
ครรภ์. ครั้งนั้น เขาโฆษณางานนักขัตฤกษ์ในพระนคร ชาวพระนครทั้งสิ้น
พากันเล่นงานนักขัตฤกษ์. พระนครได้มีการประดับตกแต่งเหมือนดังเทพนคร
ก็เมื่อการเล่นนักขัตฤกษ์แม้จะใหญ่ยิ่งเพียงนั้น เป็นไปอยู่ นางก็ไม่ลูบไล้

ร่างกายของตน ไม่ประดับประดา เที่ยวไปด้วยเพศตามปรกตินั่นเอง. ลำดับนั้น
สามีกล่าวกะนางว่า นางผู้เจริญ นครทั้งสิ้นอาศัยนักขัตฤกษ์ แต่เธอไม่ปฏิบัติ
ร่างกาย ไม่ทำการตกแต่ง เพราะเหตุไร. นางจึงกล่าวว่า ข้าแต่ลูกเจ้า
ร่างกายเต็มด้วยซากศพ ๓๒ ประการทีเดียว ประโยชน์อะไรด้วยร่างกายนี้ที่
ประดับแล้ว เพราะกายนี้ เทวดา พรหมไม่ได้นิรมิต ไม่ใช่สำเร็จด้วยทอง

ด้วยแก้วมณี ด้วยจันทน์เหลือง ไม่ใช่เกิดจากห้องแห่งดอกบุณฑริก ดอก
โกมุท และดอกอุบลเขียว แต่เต็มไปด้วยคูถ ไม่สะอาด ไม่ใช่เต็มด้วยอมฤต
โอสถ โดยที่แท้ เกิดในซากศพ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด มีการขัดสีและ
การนวดฟั้นเป็นนิตย์ และมีการแตกทำลายและการกระจัดกระจายไปเป็น
ธรรมดา รกป่าช้า อันตัณหายึดจับ เป็นเหตุแห่งความโศก เป็นวัตถุที่ตั้ง

แห่งความรํ่าไร เป็นที่อยู่อาศัยแห่งโรคทั้งปวง เป็นที่รับเครื่องกรรมกรณ์
ของเสียภายใน ไหลออกภายนอกเป็นนิตย์ เป็นที่อยู่ของหมู่หนอนหลายตระกูล
จะไปยังป่าช้า มีความตายเป็นที่สุด แม้จะเปลี่ยนแปลงไปในคลองจักษุของ
ชาวโลกทั้งปวง

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แก้ไขล่าสุดโดย sssboun เมื่อ 25 พ.ย. 2018, 09:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
กายประกอบด้วยกระดูกและเอ็น ฉาบทาด้วย
หนังและเนื้อ เป็นกายที่ถูกผิวหนังปกปิดไว้ ไม่
ปรากฏตามความเป็นจริง เต็มด้วยลำใส้ใหญ่ เต็มด้วย
ท้องด้วยตับ หัวไส้ เนื้อหัวใจ ปอด ไต ม้าม นํ้ามูก
นํ้าลาย เหงื่อ มันข้น เลือด ไขข้อ ดี และมันเหลว
เมื่อเป็นเช่นนั้น ของไม่สะอาดย่อมไหลออกจากช่อง

ทั้ง ๙ ของกายนั้นทุกเมื่อ คือ ขี้ตาไหลออกจากตา
ขี้หูไหลออกจากหู และนํ้ามูกไหลออกจากจมูก บาง
คราวออกทางปาก ดีและเสมหะย่อมไหลออกจากกาย
เป็นหยดเหงื่อ เมื่อเป็นอย่างนั้นศีรษะของกายนั้นเป็น
โพรงเต็มด้วยมันสมอง คนพาลถูกอวิชชาห่อหุ้ม จึง

สำคัญโดยความเป็นของงดงาม กายมีโทษอนันต์
เปรียบเสมอด้วยต้นไม้พิษเป็นที่อยู่ของสรรพโรค ล้วน
เป็นกองทุกข์ ถ้ากลับเอาภายในของกายนี้ออกข้าง
นอก ก็จะต้องถือท่อนไม้คอยไล่กาและสุนัขเป็นแน่.
กายไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น เป็นดังซากศพ เปรียบ
เหมือนส้วม ผู้มีจักษุติเตียน แต่คนเขลาเพลิดเพลิน อัน
หนังสดปกปิดไว้ มีทวาร ๙ มีแผลใหญ่ ของไม่สะอาด
มีกลิ่นเหม็น ไหลออกรอบด้าน ก็ในกาลใดกายนั้น

นอนตายขึ้นพองมีสีเขียวคลํ้า ถูกทอดทิ้งไว้ในสุสาน
ในกาลนั้น ญาติทั้งหลายย่อมไม่ห่วงอาลัย สุนัขบ้าน
สุนัขจิ้งจอกย่อมเคี้ยวกินกายนั้น และนกตะกรุม
หนอน กา แร้ง และสัตว์ทั้งปวงอื่น ๆ ย่อมเคี้ยวกิน
ก็ภิกษุผู้มีญาณในศาสนานี้นั่นแล ได้ฟังพระพุทธพจน์
แล้ว ย่อมรู้แจ้งกายนั้น ย่อมเห็นตามเป็นจริงแลว่า
ร่างกายนี้ฉันใด ร่างกายนั่นก็ฉันนั้น ร่างกายนั่นฉันใด

ร่างกายนี้ก็ฉันนั้น ข้าพเจ้าคายความเพลิดเพลินใน
กายทั้งภายในและภายนอกเสียแล้ว.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แก้ไขล่าสุดโดย sssboun เมื่อ 25 พ.ย. 2018, 09:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ข้าแต่พระลูกเจ้า ข้าพเจ้าจักประดับประดาร่างกายนี้ทำอะไร การกระทำความ
ประดับกายนี้ ย่อมเป็นเหมือนกระทำจิตรกรรมภายนอกหม้อ ซึ่งเต็มด้วยคูถ
เศรษฐีบุตรได้ฟังคำของนางดังนั้นจึงกล่าวว่า นางผู้เจริญ เธอเห็นโทษทั้งหลาย
อย่างนี้แห่งร่างกายนี้ เพราะเหตุไรจึงไม่บวช. นางกล่าวว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า
ข้าพเจ้าเมื่อได้บวช จะบวชวันนี้แหละ. เศรษฐีบุตรกล่าวว่า ดีแล้ว ฉันจัก

ให้เธอบวช. แล้วบำเพ็ญมหาทาน กระทำมหาสักการะ แล้วนำไปสำนักของ
ภิกษุณีด้วยบริวารใหญ่ เมื่อจะให้นางบวช ได้ให้บวชในสำนักของภิกษุณีผู้
เป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัต. นางได้บรรพชาแล้วมีความดำริเต็มบริบูรณ์ ดีใจ
แล้ว. ครั้งนั้น เมื่อครรภ์ของนางแก่แล้ว ภิกษุณีทั้งหลายเห็นความที่อินทรีย์
ทั้งหลายแปรเป็นอื่นไป ความที่หลังมือและเท้าบวม และความที่พื้นท้องใหญ่

จึงถามนางว่า แม่เจ้า เธอปรากฏเหมือนมีครรภ์ นี่อะไรกัน ? ภิกษุณีนั้น
กล่าวว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่า เหตุชื่อนี้ แต่ศีลของข้าพเจ้ายัง
บริบูรณ์อยู่. ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นจึงนำนางภิกษุณีนั้นไปยังสำนักของ
พระเทวทัต ถามพระเทวทัตว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า กุลธิดานี้ยังสามีให้โปรด
ปรานได้โดยยาก จึงได้บรรพชา ก็บัดนี้ ครรภ์ของนางปรากฏ ข้าพเจ้า

ทั้งหลายย่อมไม่รู้ว่ากุลธิดานี้ได้ตั้งครรภ์ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ หรือในเวลาบวช
แล้ว บัดนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายจะกระทำอย่างไร. เพราะความที่คนไม่รู้ และ
เพราะขันติ เมตตา และความเอ็นดูไม่มี พระเทวทัตจึงคิดอย่างนี้ว่า ความ
ครหานินทาจักเกิดแก่เราว่า ภิกษุณีผู้อยู่ในฝ่ายของพระเทวทัตมีครรภ์ แต่

พระเทวทัตกลับเพิกเฉยเสีย เราให้ภิกษุณีนี้สึกจึงจะควร. พระเทวทัตนั้นไม่
พิจารณา แล่นออกไปเหมือนกลิ้งก้อนหิน กล่าวว่า พวกท่านจงให้ภิกษุณี
นั้นสึก ภิกษุณีเหล่านั้นฟังคำของพระเทวทัตแล้ว ลุกขึ้นไหว้แล้วไปยังสำนัก
ลำดับนั้น ภิกษุณีสาวนั้นกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พระ-
เทวทัตเถระไม่ใช่พระพุทธเจ้า การบรรพชาของเราในสำนักของพระเทวทัต

นั้น ก็หามิได้ ก็บรรพชาของเราในสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบุคคล
เลิศในโลก อนึ่ง บรรพชานั้น เราได้โดยยาก ท่านทั้งหลายอย่าทำให้การ
บรรพชานั้นอันตรธานหายไปเสียเลย มาเถิดท่านทั้งหลาย จงพาเราไปยัง
พระเชตวัน ในสำนักของพระศาสดา ภิกษุณีทั้งหลายจึงพาภิกษุณีสาวนั้นไป
จากกรุงราชคฤห์สิ้นหนทาง ๔๕ โยชน์ถึงพระเชตวันมหาวิหารโดยลำดับ ถวาย
บังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แก้ไขล่าสุดโดย sssboun เมื่อ 25 พ.ย. 2018, 09:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาทรงพระดำริว่า ภิกษุณีนี้ตั้งครรภ์ในเวลาเป็นคฤหัสถ์โดย
แท้ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พวกเดียรถีย์จักได้โอกาสว่า พระสมณโคดมพา
ภิกษุณีที่พระเทวทัตทิ้งแล้วเที่ยวไปอยู่ เพราะฉะนั้น เพื่อจะตัดถ้อยคำนี้ ควร
จะวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ในท่ามกลางบริษัทซึ่งมีพระราชา ในวันรุ่งขึ้น จึงให้ทูล
เชิญพระเจ้าโกศล และเชิญมหาอนาถบิณฑิกเศรษฐี จูฬอนาถบิณฑิกเศรษฐี

นางวิสาขามหาอุบาสิกา และตระกูลใหญ่ ๆ อื่น ๆ ที่มีชื่อเสียง ในเวลาเย็น
เมื่อบริษัททั้ง ๔ ประชุมกันแล้ว จึงตรัสเรียกพระอุบาลีเถระมาว่า เธอจงไป
ชำระกรรมของภิกษุณีสาวนี้ ในท่ามกลางบริษัท ๔. พระเถระทูลรับพระดำรัส
แล้ว จึงไปยังท่ามกลางบริษัท นั่งบนอาสนะที่เขาตกแต่งไว้เพื่อตน แล้วให้
เรียกนางวิสาขาอุบาสิกามาตรงเบื้องพระพักตร์ของพระราชา ให้รับอธิกรณ์นี้

ว่า ดูก่อนวิสาขา ท่านจงไป จงรู้โดยถ่องแท้ว่า ภิกษุณีสาวนี้บวชในเดือน
โน้น วันโน้น แล้วจงรู้ว่าเธอได้มีครรภ์นี้ก่อนหรือหลังบวช มหาอุบาสิการับ
คำแล้วจึงให้วงม่าน ตรวจดูที่สุดมือ เท้า สะดือ และท้องของภิกษุณีสาว
ภายในม่าน นับเดือนและวัน รู้ว่านางได้ตั้งครรภ์ในภาวะเป็นคฤหัสถ์โดย
ถ่องแท้ จึงไปยังสำนักของพระเถระแล้วบอกเนื้อความนั้น. พระเถระได้กระทำ
ภิกษุณีนั้นให้เป็นผู้บริสุทธิ์ ในท่ามกลางบริษัท ๔. ภิกษุณีนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์
แล้วไหว้ภิกษุสงฆ์และถวายบังคมพระศาสดา แล้วไปยังสำนักนั่นแล พร้อม
กับภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นอาศัยครรภ์แก่แล้ว ได้คลอดบุตรมีอานุภาพ
มาก ผู้ตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ.

ครั้นวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปโดยใกล้ ๆ สำนักของภิกษุณี ได้
ทรงสดับเสียงทารก จึงตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลาย. อำมาตย์ทั้งหลายรู้เหตุนั้น
จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ภิกษุณีสาวนั้นคลอดบุตรแล้ว นั่นเสียงของ
บุตรภิกษุณีสาวนั้นนั่นเอง. พระราชาตรัสว่า แน่ะพนาย ชื่อว่าการปรนนิบัติ
ทารกเป็นเครื่องกังวลสำหรับภิกษุณีทั้งหลาย พวกเราจักปรนนิบัติทารกนั้น.

พระราชาทรงให้มอบทารกนั้นแก่หญิงฟ้อนทั้งหลาย ให้เติบโตโดยการบริหาร
ดูแลอย่างกุมาร. ก็ในวันตั้งชื่อกุมารนั้น ได้ตั้งชื่อว่ากัสสป ครั้งนั้น คน
ทั้งหลายรู้กันว่า กุมารกัสสป เพราะเจริญเติบโตด้วยการบริหารอย่างกุมาร
ในเวลามีอายุได้ ๗ ขวบ กุมารกัสสปนั้นบวชในสำนักของพระศาสดา พอมี
อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ก็ได้อุปสมบท เมื่อกาลเวลาล่วงไป ได้เป็นผู้กล่าวธรรม

อันวิจิตร ในบรรดาพระธรรมกถึกทั้งหลาย. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงตั้ง
พระกุมารกัสสปนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย กุมารกัสสปนี้ เป็นเลิศแห่งสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวธรรมอัน
วิจิตร ภายหลังพระกุมารกัสสปนั้นบรรลุพระอรหัต ในเพราะวัมมิกสูตร. แม้

ภิกษุณีผู้เป็นมารดาของพระกุมารกัสสปนั้น เห็นแจ้งแล้วบรรลุพระอรหัต.
พระกุมารกัสสปเถระปรากฏในพระพุทธศาสนา ประดุจพระจันทร์เพ็ญในท่าม
กลางท้องฟ้าฉะนั้น.

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่วาสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แก้ไขล่าสุดโดย sssboun เมื่อ 25 พ.ย. 2018, 09:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อยู่มาวันหนึ่ง พระตถาคตเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต
ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายแล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ภิกษุทั้งหลายรับ
พระโอวาทแล้ว ให้ภาคกลางวันหมดไปในที่เป็นที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน
ของตน ๆ ในเวลาเย็น ประชุมกันในโรงธรรมสภา นั่งพรรณนาพระพุทธคุณ
ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตทำคนทั้งสอง คือ พระกุมารกัสสป
เถระและพระเถรีให้พินาศ เพราะความที่ตนไม่รู้ และเพราะความไม่มี

ขันติและเมตตาเป็นต้น แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นปัจจัยแก่ท่านทั้งสอง
นั้น เพราะพระองค์เป็นพระธรรมราชา และเพราะทรงถึงพร้อมด้วยพระขันติ
พระเมตตา และความเอ็นดู. พระศาสดาเสด็จมายังโรงธรรมสภาด้วยพุทธลีลา
ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ด้วยเรื่องพระคุณของพระองค์เท่านั้น แล้วกราบทูลเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบ
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นปัจจัยและเป็นที่พึ่งแก่ชน
ทั้งสองนี้ ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้เป็นแล้วเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลายจึงทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อต้องการให้เรื่องนั้นแจ่ม
แจ้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดไว้ให้ปรากฏ
ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในกำเนิดมฤคชาติ. พระโพธิสัตว์เมื่อออกจาก
ท้องของมารดา ได้มีสีเหมือนดังสีทอง นัยน์ตาทั้งสองของเนื้อนั้น ได้เป็น
เช่นกับลูกแก้วมณีกลม เขาทั้งคู่มีวรรณะดังเงิน หน้ามีวรรณะดังกองผ้ากัมพล
แดง ปลายเท้าหน้าและเท้าหลัง เหมือนทำบริกรรมด้วยรสนํ้าครั่ง ขนหาง

ได้เป็นเหมือนขนจามรี ก็ร่างกายของเนื้อนั้นใหญ่มีขนาดเท่าลูกม้า เนื้อนั้นมี
บริวาร ๕๐๐. โดยชื่อ มีชื่อว่า นิโครธมิคราช สำเร็จการอยู่ในป่า. ก็ใน
ที่ไม่ไกลแห่งพระยาเนื้อนิโครธนั้น มีเนื้อแม้อื่นซึ่งมีเนื้อ ๕๐๐ เป็นบริวาร มีชื่อ
ว่า สาขะ อาศัยอยู่ แม้เนื้อสาขะก็มีวรรณะดุจสีทอง. สมัยนั้น พระเจ้า
พาราณสีทรงขวนขวายในการฆ่าเนื้อ เว้นเนื้อไม่เสวย ทรงกระทำพวกมนุษย์
ให้ขาดการงาน ยังชาวนิคมและชนบททั้งปวงให้ประชุมกัน แล้วเสด็จไปฆ่า

เนื้อทุกวัน. พวกมนุษย์คิดกันว่า พระราชานี้ทรงทำพวกเราให้ขาดการงาน
ถ้ากระไร พวกเราวางเหยื่อของเนื้อไว้ในพระราชอุทยาน จัดนํ้าดื่มไว้ให้
พร้อม ต้อนเนื้อเป็นอันมากให้เข้าไปยังพระราชอุทยานแล้วปิดประตูมอบถวาย
พระราชา มนุษย์เหล่านั้นทั้งหมดจึงปลูกผักที่เป็นเหยื่อของเนื้อไว้ในพระราช-
อุทยาน จัดนํ้าดื่มไว้ให้พร้อม แล้วประกอบประตู ถือบ่วง มือถืออาวุธ

• อ่านชาดกดีกว่า นิทานไหนๆ
• พระพุทธเจ้าผู้ประเสิฐที่สุดเลิศที่สุดเรื่องราวของพระองค์ย่อมจะดีที่สุด
• ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้น หากเลิกครบกับอุบายมุข
• กินดื่มแต่พอประมาณ ชีวิตจะได้ยืนยาวนานขึ้น
• ทำดีวันน้อย ไม่ต้องมัวค่อยแต่เวสนา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร