วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 22:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 34, 35, 36, 37, 38, 39, 40 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ไม่ได้รับคุ้มครอง ท่านอาจารย์ก็บอกอยู่ว่า พ้นวันนี้ไปแล้วต้องรออีกปีหนึ่ง
จึงได้ฤกษ์ เมื่อพระนครไม่มีประตูตั้งปี จักเปิดโอกาสแก่พวกข้าศึกได้ พวกเรา
ต้องฆ่าพราหมณ์นี้ให้พวกพราหมณ์ผู้อื่นที่ฉลาดทำพลีกรรม ยกพระทวารเถิด
พระเจ้าข้า.

พระราชารับสั่งว่า ก็พวกพราหมณ์ผู้อื่นที่ฉลาดเหมือนท่านอาจารย์
ยังจะมีอยู่หรือ. พวกนั้นพากันกราบทูลว่า มีอยู่พระเจ้าข้า อันเตวาสิกของเขา
เองชื่อตักการิยมาณพ โปรดประทานตำแหน่งปุโรหิตแก่เขาแล้วทรงกระทำ
การมงคลเกิดพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสเรียกเขามาให้กระทำสัมมานาการแล้ว
ประทานตำแหน่งปุโรหิต ทรงสั่งเพื่อกระทำอย่างนั้น. เขาได้ไปสู่ประตูพระนคร

ด้วยบริวารเป็นอันมาก. ราชบุรุษทั้งหลายพากันมัดปุโรหิต พามาด้วยอานุภาพ
แห่งพระราชา. พระมหาสัตว์ให้ขุดหลุมในที่ที่จะตั้งพระทวารให้ลงม่านล้อมรอบ
เข้าอยู่ในม่านกับอาจารย์. อาจารย์มองดูหลุมพลางทอดอาลัย ไม่ได้ใครเป็นที่
พำนักแก่ตน พึงรำพึงว่า เราเป็นผู้จัดแจงความฉิบหายทั้งนั้น เพราะเรามันโง่
ไม่อาจจะคุ้มครองปากของตนได้ รีบไปบอกแก่อีตัวร้าย ตัวของเราเองนำ
การฆ่ามาให้ตน เมื่อจะสนทนากับพระมหาสัตว์ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า

ดูก่อนพ่อตักการิยะ ฉันเองเป็นคนโง่เขลา
กล่าวคำชั่วช้าเหมือนกบในป่า ร้องเรียกงูมาให้กินตน
ฉะนั้น ฉันจะตกลงไปในหลุมนี้ ได้ยินมาว่า บุคคลที่
พูดล่วงเลยขอบเขตไม่ดีเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺภาสิตํ ภาสิ ความว่า เราได้กล่าวคำ
อันเป็นทุพภาษิต. บทว่า ภงฺโกว ความว่า เรานั่นแหละย่อมกล่าวแต่คำชั่ว ๆ
เหมือนกบอยู่ในป่าร้องเรียกงูให้มากัดกินตนฉะนั้น. บทว่า ตกฺการิเย ความว่า
คนโง่เรียกเขาซึ่งเพศหญิงอันเป็นชื่อของเขาจึงกล่าวอย่างนั้น.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระมหาสัตว์ ได้ฟังดังนั้นแล้ว กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
บุคคลผู้กล่าวล่วงเลยขอบเขต ย่อมได้ประสบการ
จองจำ การถูกฆ่า ความเศร้าโศกและความร่ำไห้
ข้าแต่ท่านอาจารย์ ชนทั้งหลายจะฝังท่านลงในหลุม
เพราะเหตุใด ท่านต้องติเตียนตัวท่านเอง เพราะ
เหตุนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติเวลภาณี ความว่า คนที่พูดล่วง
เลยขอบเขต คือพูดล่วงประมาณ ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ อธิบายว่า ไม่ดี.
บทว่า โสกปริเทวฺจ ความว่า ดูก่อนอาจารย์ คนที่พูดล่วงเลยเวลา
อย่างนี้แหละ ย่อมถูกฆ่าและถูกจองจำ ถึงความเศร้าโศก ร่ำไห้ด้วยเสียงเอ็ดอึง.

บทว่า ครหาสิ ความว่า ท่านไม่ต้องติเตียนผู้อื่นดอก พึงติเตียนตนเอง.
บทว่า เอตฺโต แปลว่า ในเพราะเหตุนี้. บทว่า อาจริย ตํ ความว่า
อาจารย์ ชนทั้งหลายกำลังจะฝั่งท่านในหลุมที่ท่านขุดไว้อยู่นั่นแหละ เพราะ
ฉะนั้น ท่านพึงติเตียนตนเองเท่านั้น.

พระมหาสัตว์ครั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ จึงกล่าวต่อไปว่า ท่านอาจารย์
ท่านไม่รักษาวาจา ถึงความทุกข์ผู้เดียวเท่านั้นก็หาไม่ แม้คนพวกอื่น ก็ถึง
ความทุกข์เหมือนกัน แล้วนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้

เล่ากันมาว่า ในกาลก่อน ในกรุงพาราณสี ได้มีหญิงแพศยาคนหนึ่ง
นามว่า กาลี น้องชายของนางชื่อว่า ตุณฑิละ. วันหนึ่ง นางกาลีรับเงิน
๑,๐๐๐ กระษาปณ์. แต่ตุณฑิละ เป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา ทั้งเป็นนักเลง
เล่นการพนัน. นางให้ทรัพย์เขา เขาเอาทรัพย์ที่ได้แล้ว ๆ ไปทำลายฉิบหาย

หมด. ถึงนางจะห้ามปรามเขาก็ไม่สามารถที่จะห้ามได้. วันหนึ่งเขาเล่นการพนัน
แพ้ ต้องจำนำผ้านุ่ง เอาเสื่อลำแพนนุ่งมาสู่เรือนของนาง. ก็พวกสาวใช้ของนาง
ต่างได้รับกำชับไว้ว่า เวลาตุณฑิละมาถึง ไม่ต้องให้อะไร จับคอเขาไล่ออก


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ไปเสีย. พวกนั้นจึงพากันทำอย่างนั้น. เขาไปยืนร้องไห้อยู่ใกล้ประตู. ลำดับนั้น
ลูกชายของเศรษฐีคนหนึ่งนำทรัพย์มาให้นางกาลีครั้งละ ๑,๐๐๐ กระษาปณ์
เป็นนิตย์ วันหนึ่งเห็นเขาก็ถามว่า ตุณฑิละเอ๋ย ร้องไห้ทำไม. ตุณฑิละ
ตอบว่า นายจ๋า ผมแพ้การพนันนั้นมาหาพี่สาวของผม พวกสาวใช้เหล่านั้น
มันพากันจับคอผมไล่ออกมา. เขาบอกว่า ถ้าเช่นนั้นรอก่อน ฉันจะช่วยบอก

พี่สาวของแกให้ แล้วก็ไปบอกนางว่า น้องชายของเธอนุ่งเสื่อลำแพนยืนอยู่ที่
ประตู ทำไมเธอถึงไม่ให้ผ้าผ่อนเขาบ้างละ. นางตอบว่า ฉันไม่ให้ละ ถ้าคุณ
มีแก่ใจ คุณก็ให้เขาซิ. ก็ในเรือนหญิงแพศยานั้นมีธรรมเนียมประพฤติติดต่อกัน
มาดังนี้ จากเงิน ๑,๐๐๐ กระษาปณ์ ๕๐๐ กระษาปณ์เป็นของหญิงแพศยา ๕๐๐

กระษาปณ์ เป็นมูลค่าของผ้าของหอมและดอกไม้ ชายที่พากันมา นุ่งผ้าที่ได้
ในเรือนนั้นอยู่ตลอดคืน รุ่งขึ้นเมื่อจะไป ก็ผลัดผ้านั้นไว้ นุ่งผ้าที่ตนนำมา
นั้นแลกลับไป เหตุนั้นลูกชายเศรษฐี จึงนุ่งผ้าที่นางให้แล้วให้ของตนแก่ตุณฑิละ
เขานุ่งผ้าแล้วส่งเสียงตวาดตามประสาคนเข้าโรงเหล้า. ฝ่ายนางกาลีเล่า ก็สั่ง

พวกสาวใช้ไว้ว่า พรุ่งนี้เวลาลูกชายเศรษฐีคนนี้จะไป พวกเจ้าจงช่วยกันแย่ง
เอาไว้ พวกนั้นเวลาลูกชายเศรษฐีนั้นออกมา ก็กรูกันเข้าไปราวกับจะปล้น ช่วย
กันดึงเอาผ้าไว้เสียจนเขาต้องเปลือยกายจึงปล่อยว่า ที่นี้ไปได้ละพ่อหนุ่ม เขา

ต้องเดินออกมาทั้งเปลือย ๆ ฉะนั้นคนพากันยิ้มทั่ว เขาละอายรำพึงรำพันว่า
เราทำมันเองทีเดียว เรานั่นแหละไม่สามารถรักษาปากของตนได้ เมื่อจะแสดง
ความข้อนี้ เขาจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เราจะซักถามตุณฑิละ เพื่อประโยชน์อะไรเล่า
นางกาลีซิควรทำกะน้องชายของเขาเอง เราถูกแย่งผ้า
จนเป็นคนเปลือยกาย แม้เรื่องนี้ ก็เหมือนกับเรื่อง
ของท่านเป็นอันมาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุ ตาทิโสว ความว่า จริงอยู่ แม้
เศรษฐีบุตร ได้รับทุกข์เพราะกรรมที่ตนทำนั้นเอง. เพราะเหตุนั้น แม้ท่าน
ก็เป็นเสมือนเหตุที่เกิดขึ้นแห่งทุกข์นี้ เพราะเหตุมากมาย.

แม้อีกเรื่องหนึ่ง ในกรุงพาราณสี โดยความเลินเล่อของคนเลี้ยงแพะ
ทั้งหลาย เมื่อแพะสองตัวขวิดกันในที่หากิน นกกะลิงตัวหนึ่ง คิดว่า บัดนี้
เองไอ้สองตัวนี้ต้องหัวแตกตาย เราต้องห้ามมันไว้แล้วห้ามว่า ลุงอย่าขวิดกัน
เลยน่ะ เมื่อมันไม่เชื่อถ้อยคำคงขวิดกันอยู่นั่นเอง ก็โดดเกาะที่หลังบ้าง ที่หน้า

บ้าง อ้อนวอนไป เมื่อไม่สามารถจะห้ามได้ ก็พูดว่า ถ้าอย่างนั้น ก็จงฆ่ากู
เสียก่อนแล้วค่อยขวิดกัน โดดเข้าไประหว่างหัวของมันทั้งสอง มันชนกัน
โผงเดียว นกนั้นเหมือนถูกบดในหินบด ถึงความพินาศด้วยเรื่องที่ตนกระทำ
นั้นเอง เมื่อพระมหาสัตว์จะแสดงเหตุแม้อื่นอีกนี้จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า

นกกะลิงตัวใด มิได้ชนกับเขาเลย เข้าไปจับอยู่
ในระหว่างศีรษะแพะ ทั้งสองซึ่งกำลังขวิดกันอยู่ นก
กะลิงตัวนั้น ก็ถูกศีรษะแพะบดขยี้แล้ว ณ ที่นั้นเอง
แม้เรื่องนี้ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมณฺฑนฺตรํ แปลว่า ในระหว่างแพะ
ทั้งสอง. บทว่า ปจฺจุปติ ความว่า โดดเข้าไป คือได้ตั้งอยู่ในระหว่าง คือ
ท่ามกลางแห่งศีรษะแพะทั้งสอง. บทว่า ปึสิโต แปลว่า ถูกแพะขวิดเอาแล้ว.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ฝ่ายพวกนายโคบาล ชาวกรุงพาราณสีอีกพวกหนึ่งเห็นต้นตาลเผล็ดผล
ก็ปีนขึ้นต้นหนึ่งเพื่อจะเอาผล. เมื่อกำลังปลิดผลตาลทิ้งลงมา งูเห่าดำตัวหนึ่ง
เลื้อยออกจากจอมปลวกขึ้นต้นตาล. พวกที่ยืนอยู่ข้างล่าง แม้จะช่วยกันเอาไม้
เป็นต้นตี ก็ไม่อาจห้ามมันได้. พวกนั้นจึงร้องบอกคนที่อยู่บนต้นว่า งูเลื้อย

ขึ้นต้นตาล งูเลื้อยขึ้นต้นตาล คนนั้นกลัวร้องเสียงดังลั่น. คนที่อยู่ข้างล่างเอา
ผ้านุ่งที่เหนียวแน่นมาผืนหนึ่ง ถือไว้คนละมุมทั้งสี่มุมแล้วร้องบอกว่า จงโดด
ลงมาในผ้านี้. ผู้นั้นกลั้นใจโดดลงมากลางผืนผ้าระหว่างคนทั้งสี่. ด้วยอำนาจ
การตกของผู้นั้น คนทั้ง ๔ นั้นไม่อาจทรงตัวอยู่ได้ ต่างเอาหัวชนกันหัวแตก
ตายหมด.
พระมหาสัตว์เมื่อแสดงเหตุนี้ จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า

คน ๔ คน จะป้องกันคนเดียว ช่วยกันจับชายผ้า
ไว้คนละชาย ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปฏฺ€กํ แปลว่า ผ้า. บทว่า สพฺเพว เต
ความว่า คนทั้ง ๔ คนนั้น ช่วยกันถือผ้าไว้ พากันศีรษะแตกนอนตายแล้ว.

อีกเรื่องหนึ่ง พวกโจรขโมยแพะชาวกรุงพาราณสี ร่วมกันขโมยแพะ
ได้ตัวหนึ่งในเวลากลางคืน คิดกันว่าจักกินในป่าในเวลากลางวัน แล้วช่วยกัน
มัดปากเพื่อไม่ให้มันร้อง แล้วเอาไปซ่อนไว้ในกอไผ่ รุ่งขึ้นชวนกันไปเพื่อจะ
กินมัน ต่างลืมอาวุธพากันไปแล้ว. พวกนั้นพูดกันว่า จักฆ่าแพะย่างเนื้อกิน
เอาอาวุธมาซิ ไม่เห็นอาวุธในมือแม้สักคนหนึ่ง ต่างก็พูดกันว่า ถึงแม้จะ

ปราศจากอาวุธก็ฆ่ามันได้ แต่ก็ไม่อาจแล่เนื้อได้ ปล่อยมันไปเถิดนะ บุญของมัน
ยังมีอยู่ แล้วก็ปล่อยไป. ครั้งนั้น ช่างสานคนหนึ่งถือเอาไม้ไผ่แล้วคิดว่า
จะกลับมาเอาไม้ไผ่อีก จึงซุกมีดตัดไม้ไผ่ไว้ในกองใบไผ่หลีกไป. แพะดีใจว่า
ข้าพ้นตายแล้ว คะนองเล่นอยู่ที่โคนก่อไผ่ ดีดด้วยเท้าหลังทำให้มีดนั้นตกลงมา.

พวกโจรได้ยินเสียงมีด ก็ช่วยกันค้นพบมีดนั้นแล้วต่างดีใจ ฆ่าแพะกินเนื้อเสีย
แพะแม้นั้นก็ตายเพราะเรื่องที่ตนกระทำเองด้วยประการฉะนี้ เมื่อจะแสดง
เหตุนี้ จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นางแพะที่ถูกโจรทั้งหลายผูกมัดไว้ในพุ่มก่อไผ่
คึกคะนองเอาเท้าหลังดีดไปกระทบมีดตกลงมา พวก
โจรก็เอามีดนั้นเองเชือดคอนางแพะฉันใด แม้เรื่องนี้
ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเวกฺขิปนฺติ ความว่า แพะที่ถูกมัดไว้
ที่กอไผ่เล่นคะนองดีดเท้าหลัง.
ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พระโพธิสัตว์จึงแสดงว่า ธรรมดา ผู้ที่รักษา
ถ้อยคำของตนไว้พูดพอเหมาะ ย่อมพ้นทุกข์ปางตายได้ นำเรื่องกินนรมาเล่า
ดังต่อไปนี้

ได้ยินว่า บุตรพรานชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่งไปยังป่าหิมพานต์ ใช้อุบาย
อย่างหนึ่งจับกินนรคู่ผัวเมียมาได้ ถวายแด่พระราชา. พระราชาทอดพระเนตร
เห็นกินนร อันมิเคยทอดพระเนตร ทรงพอพระหทัย ตรัสถามว่า พ่อพราน
พวกนี้มีคุณอะไร นายพรานกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พวกเหล่านี้
ร้องเพลงไพเราะ ฟ้อนรำยวนใจ พวกมนุษย์ไม่รู้ที่จะร้องรำได้อย่างนี้เลย

พระเจ้าข้า. พระราชาประทานทรัพย์เป็นอันมากแก่นายพราน แล้วตรัสกะ
กินนรทั้งคู่ว่า ร้องรำไปซิ กินนรทั้งคู่คิดกันว่า ถ้าเราจะร้องเพลงคงไม่อาจ
ทำพยัญชนะให้บริบูรณ์ได้ การจับผิดก็จะมี ฝูงคนต้องติเตียนเรา ต้องฆ่าเรา
อนึ่ง เมื่อเรากล่าวมากไป ก็จะเป็นมุสาวาทได้ เพราะเกรงมุสาวาท แม้จะถูก

พระราชาตรัสซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็ไม่ยอมร้องรำ พระราชาทรงกริ้ว เมื่อจะทรง
สั่งให้ฆ่าเสียเอาเนื้อย่างมาถวาย จึงตรัสพระคาถาที่ ๗ ว่า


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พวกนี้มิใช่เทวดา มิใช่บุตรคนธรรพ์ พวกนี้เป็น
เนื้อ พวกนี้ถูกนำมาด้วยอำนาจประโยชน์ เจ้าทั้งหลาย
จงย่างมันตัวหนึ่ง สำหรับอาหารมื้อเย็น อีกตัวหนึ่ง
สำหรับอาหารมื้อเช้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคา อิเม ความว่า ถ้าพวกเหล่านี้
เป็นเทวดา หรือคนธรรพ์ไซร้ พึงฟ้อนและพึงขับร้องได้ แต่พวกนี้เป็นเนื้อ
เป็นสัตว์เดียรัจฉาน. บทว่า อตฺถวสาภตา อิเม ความว่า พวกนี้ถูกนำ

มาสู่เงื้อมมือของเราด้วยอำนาจแห่งประโยชน์ เพราะถูกพรานผู้หวังประโยชน์
นำมา ในบรรดามันเหล่านั้น สูทั้งหลายจงย่างมันตัวหนึ่งในอาหารมื้อเย็น
อีกตัวหนึ่งในอาหารมื้อเช้าเถิด.

กินรีดำริว่า พระราชากริ้วแล้ว คงจักให้ฆ่าเสียโดยไม่ต้องสงสัย
บัดนี้ เป็นเวลาที่ต้องพูดกันละ จึงกล่าวคาถาต่อไปว่า
คำทุพภาษิตทั้งแสนคำ ก็ไม่ถึงแม้ส่วนเสี่ยวของ
คำสุภาษิต กินนรรังเกียจคำทุพภาษิตจึงเศร้าหมอง
เพราะเหตุนั้น กินนรจึงนิ่งเฉยเสีย ไม่ใช่นิ่งเฉยเพราะ
ความโง่เขลา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺกมาโน กิเลโส ความว่า บางคราว
เราเมื่อพูดก็พูดคำอันเป็นทุพภาษิต กินนร เมื่อรังเกียจคำทุพภาษิตย่อมเศร้า-
หมองคือย่อมลำบากด้วยประการฉะนี้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะ
เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ขับร้องให้แก่ท่าน หาใช่ขับเพราะความโง่ไม่.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระราชาทรงโปรดกินรี จึงตรัสพระคาถาต่อไปว่า
กินรีตัวนี้กล่าวแก้เราได้แล้ว เจ้าทั้งหลายจง
ปล่อยกินรีตัวนั้นไป อนึ่ง จงนำไปส่งให้ถึงเขา
หิมพานต์ ส่วนกินนรตัวนี้ เจ้าทั้งหลาย จงส่งไปให้
โรงครัวใหญ่ จงย่างมันสำหรับอาหารเช้า แต่เช้า
ทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยา เมสา แก้เป็น ยา เมเอสา. บทว่า
เทนฺตุ ความว่า จงให้เพื่อประโยชน์โรงครัวใหญ่.
กินนรฟังพระดำรัสของพระราชาแล้วคิดว่า ท้าวเธอนี้คงให้ฆ่าเรา
ผู้ไม่กล่าวเสียเป็นแน่ บัดนี้เราควรจะพูด ดังนี้ แล้วจึงกล่าวคาถาต่อไปว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า ฝูงปศุสัตว์พากันพึ่งฝน
ประชาชนนี้เล่าพากันพึ่งปศุสัตว์ พระองค์ทรงเป็นที่
พึ่งแก่ข้าพระบาท ภรรยาก็พึ่งข้าพระองค์ บรรดา
ข้าพระบาททั้งคู่ ตัวหนึ่งรู้ว่าอีกตัวหนึ่งตายแล้ว ตน
เองพ้นแล้วจากความตาย จึงจะไปสู่ภูผาได้พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปชฺชุนฺนนาถา ความว่า สัตว์เลี้ยงมีหญ้า
เป็นอาหาร ชื่อว่ามีเมฆฝนเป็นที่พึ่ง. บทว่า ปสุนาถา อยํ ปชา ความว่า
ประชาคือมนุษย์นี้ อาศัยโครส ๕ ชื่อว่าผู้มีปศุสัตว์เป็นที่พึ่งเป็นหลักอาศัย. บทว่า
ตฺวํ นาโถสิ ความว่า พระองค์เป็นที่พึ่งของข้าพระองค์. บทว่า อมฺหนาถา

มม ภริยา ความว่า ข้าพระองค์ก็เป็นที่พึ่งของภรรยานั้น. บทว่า ทวินฺนมฺ-
ตรํ ญตฺวา มุตฺโต คจฺเฉยฺย ปพฺพตํ ความว่า ในระหว่างข้าพระองค์


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ทั้งคู่ ตัวหนึ่งต้องรู้ว่าตัวหนึ่งตายแล้ว ตนเองรอดตายแล้ว จึงไปสู่หิมพานต์
ภายหลัง คือเมื่อข้าพระองค์ทั้งคู่ยังมีชีวิตอยู่ ย่อมไม่ทอดทิ้งกัน เพราะฉะนั้น
แม้มาตรว่าพระองค์ทรงประสงค์จะส่งกินรีนี้ไปสู่หิมพานต์ โปรดฆ่าข้าพระองค์
เสียก่อนส่งนางไปภายหลัง.
ก็แล กินนรครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า ข้าพระบาททั้งสอง ใช่จะนิ่งเสียเพราะปรารถนาจะขัดพระดำรัส
ของพระองค์ก็หามิได้ แต่เพราะเห็นโทษของการพูดมาก จึงมิได้กราบทูลสนอง
พระบัญชา กล่าวคาถา ๒ คาถานี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ความนินทา
ทั้งหลายมิใช่จะหลีกให้พ้นไปโดยง่ายเลย ชนทั้งหลาย
มีฉันทะต่าง ๆ กัน ซึ่งควรจะส้องเสพ คนหนึ่งได้รับ
การสรรเสริญด้วยธรรมข้อใด คนอื่นได้ความนินทา
ด้วยคุณธรรมข้อนั้นเอง.

โลกทั้งปวงมีจิตยิ่งด้วยจิตของคนอื่น โลกทั้งปวง
ชื่อว่า มีจิตในจิตของตน สัตว์ทั้งปวงที่เป็นปุถุชน
ต่างก็มีจิตใจต่างกัน สัตว์ทั้งปวงในโลกนี้ ไม่พึงเป็น
ไปในอำนาจแห่งจิตของใคร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุปริวชฺชยาถ ความว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า ชื่อว่า นินทา ใครๆ ไม่สามารถจะหลีกเสียได้ง่ายเลย. บทว่า
นานา ชนา ความว่า ฝูงชนมีความพอใจต่างๆ กัน. บทว่า เยนว
ความว่า คนหนึ่งได้รับยกย่องด้วยคุณมีศีลเป็นต้น อันใด ด้วยคุณข้อนั้นแหละ

คนอื่นได้รับความนินทา ความจริง เพราะกล่าวในฝูงกินนรข้าพระองค์ย่อมได้
ความยกย่อง เพราะไม่กล่าวในหมู่มนุษย์ ย่อมได้ความนินทา ด้วยอาการ
อย่างนี้ ขึ้นชื่อว่านินทา ย่อมเป็นสิ่งหลีกได้ยาก ข้าพระองค์นั้นคิดว่า เราจัก
ได้ความยกย่องจากสำนักพระองค์อย่างไรเล่า. บทว่า สพฺโพ โลโก ปรจิ-


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ตฺเตน อติจิตฺโต ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ธรรมดาอสัตบุรุษมีจิตยิ่ง
ด้วยจิตมีการฆ่าสัตว์เป็นต้น สัตบุรุษมีจิตยิ่งด้วยจิตมีเจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์
เป็นต้น ชาวโลกทั้งมวล ย่อมมีจิตยิ่งด้วยจิตของคนอื่น ด้วยประการดังนี้.
บทว่า จิตฺตวาสมฺหิ จิตฺเต ความว่า ก็ชาวโลกทั้งมวล ชื่อว่า มีจิตด้วยจิต
ของตนทั้งทรามหรือประณีต. บทว่า ปจฺเจกจิตฺตา ความว่า สัตว์ทั้งหมด

มากประเภทต่างคนต่างมีจิตใจเฉพาะตน ในบรรดาสรรพสัตว์เหล่านั้น กินรี
ก็ดี อย่างข้าพระองค์ก็ดี คนอื่นก็ดี ไม่น่าประพฤติไปในความคิดอ่านของ
ใครๆ สักคนหนึ่ง จะเป็นของพระองค์หรือของผู้อื่นก็ตามที เพราะเหตุนั้น

พระองค์อย่าทรงพิโรธข้าพระองค์ว่า ผู้นี้ไม่ประพฤติเป็นไปในอำนาจจิตของ
เรา ด้วยสรรพสัตว์ย่อมไม่ลุอำนาจจิตของตนไปได้พระเจ้าข้า กินนรแสดง
ธรรมแก่พระราชาด้วยประการฉะนี้.

พระราชาทรงโสมนัสว่า กินนรนี้เป็นบัณฑิตกล่าวถูกต้องทีเดียวจึง
ตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
กินนรพร้อมด้วยกินรีผู้ภรรยา เป็นผู้นิ่งไม่พูด
เป็นผู้กลัวภัย ได้กล่าวแก้แล้วในบัดนี้ กินนรนั้นชื่อว่า
พ้นแล้วในบัดนี้ เป็นผู้มีความสุขหาโรคมิได้ เพราะว่า
การเปล่งวาจาดีนำมาซึ่งประโยชน์แก่นรชนทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาจา คิเรวตฺถวตี นรานํ ความว่า
วาจา คือคำที่ควรเปล่งย่อมมีประประโยชน์ คือนำมาซึ่งประโยชน์แก่สัตว์
เหล่านี้.
พระราชารับสั่งให้กินนรทั้งคู่จับอยู่ในกรงทอง รับสั่งให้หาพรานคน
นั้น และให้ปล่อยด้วยพระดำรัสว่า เจ้าจงไป ปล่อยกินนรคู่นี้ ณ ที่ที่จับได้
นั้นเถิด.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ฝ่ายพระมหาสัตว์กล่าวว่า ท่านอาจารย์ ดูเถิด กินนรทั้งคู่รักษาวาจา
ไว้อย่างนี้ เมื่อถึงคราวตายก็รอดตายได้ด้วยสุภาษิตที่ตนกล่าวนั้นเอง ส่วนท่าน
ถึงทุกข์ใหญ่หลวง เพราะพูดชั่ว ครั้นแสดงอุทาหรณ์นี้แล้ว ก็ปลอบว่า ท่าน
อาจารย์อย่ากลัวเลย ผมจักให้ชีวิตแก่ท่าน เมื่อเขาพูดว่า ก็อีกอย่างหนึ่งเล่า พ่อ

คุณช่วยคุ้มครองฉันเถิด ก็บอกว่า ยังไม่ได้ฤกษ์ก่อนครับ รั้งรอจนตลอดวันนั้น
ในระหว่างใกล้มัชฌิมยาม จึงให้คนเอาแพะตายมาแล้วพูดว่า ท่านพราหมณ์เชิญ
ไปทำมาหากินเสียที่ไหน ๆ เถิด ไม่ให้ใคร ๆ รู้เลย ปล่อยพราหมณ์ไปเอา
เนื้อแพะทำพลีกรรมตั้งพระทวาร.

พระศาสดา ครั้นทรงนำธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่โกกาลิกะถูกวาจากำจัดตนเสีย แม้ใน
ครั้งก่อนก็ถูกกำจัดแล้วเหมือนกัน ทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์
เคี้ยวงอกตาเหลือง ในครั้งนั้นได้มาเป็นโกกาลิกะ ส่วนตักการิยบัณฑิต
คือ เราตถาคตแล.
จบอรรถกถาตักการิยชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ตสฺส คามวรํ ทมฺมิ ดังนี้.
เล่ากันมาว่า พระเทวทัตนั้น เมื่อพวกภิกษุพากันพูดว่า เทวทัตผู้มีอายุ
พระศาสดาทรงมีอุปการะเป็นอันมากแก่ท่าน ทั้งท่านได้บวชได้เรียนพระไตร-
ปิฎกร่ำรวยลาภสักการะ เพราะอาศัยพระตถาคตเจ้า กลับกล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย พระศาสดามิได้ทรงทำอุปการะแก่ผมแม้มาตรว่า ปลายเส้นหญ้า ผม

บวชเองทีเดียว เรียนพระไตรปิฎกก็ด้วยตนเองแหละร่ำรวยลาภสักการะก็ตนเอง.
ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภากล่าวโทษของพระเทวทัตนั้นทีเดียวว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัตเป็นผู้อกตัญญูอกตเวที.
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตเป็นคน
อกตัญญู แม้ในครั้งก่อนก็เป็นคนอกตัญญูเหมือนกัน แล้วตรัสว่า

แม้ในกาลก่อนพระเทวทัตนี้ แม้เมื่อเราให้ชีวิตแล้ว ก็ยังไม่รู้
แม้เพียงคุณของเราดังนี้แล้ว จึงได้นำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี
เศรษฐีมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ได้บุตรขนานนามเธอว่า มหาชนกะ คิดว่าเมื่อบุตร
เราเรียนศิลปะจักต้องลำบาก จึงไม่ยอมให้เรียนศิลปะอะไร ๆ เลย. เธอไม่รู้
อะไร ๆ นอกจากหากินอันได้มาจากการขับร้องฟ้อนรำและประโคม. เมื่อเธอ
เจริญวัยแล้ว มารดาบิดาก็จัดแจงตบแต่งให้มีภรรยาตามสมควร แล้วก็ล่วงลับ
* บาลีเป็น รุรมิคชาดก


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ไป. พอท่านทั้งสองล่วงลับไป เขาก็แวดล้อมไปด้วยพวกนักเลงหญิงและนักเลง
เล่นการพนันเป็นต้น ทำลายทรัพย์ทั้งหมดเสียด้วยทางฉิบหายต่าง ๆ ต้องกู้หนี้
ยืมสิน เมื่อไม่อาจใช้หนี้ทั้งหมดนั้นได้ ก็ถูกเจ้าหนี้รุมกันทวง ดำริว่า เราจะอยู่
ไยเล่า เราก็เกิดมาด้วยร่างกายอันหนึ่ง เหมือนคนอื่นๆ ตายเสียดีกว่า เมื่อถูกเจ้า
หนี้ทวงถาม ก็กล่าวว่า ทรัพย์ของตระกูลของเราที่ฝังที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ยังมีอยู่

ผมจักใช้ทรัพย์นั้นให้พวกท่าน. เจ้าหนี้เหล่านั้นก็ไปกับเขา. เขาทำเป็นเหมือน
บอกที่คุมทรัพย์ว่า ทรัพย์มีที่นี้ แล้วหนีไปด้วยคิดว่าเราจักโดดลงคงคาตายเสีย
แล้วก็โดดลงแม่น้ำคงคาไป. เขาถูกกระแสน้ำเชี่ยวพัดลอยไป ก็ร้องคร่ำครวญ
ชวนให้สงสาร.

ครั้งนั้น พระมหาสัตว์บังเกิดในกำเนิดรุรุมฤค ทิ้งบริวารเสียพำนักอยู่
ที่ป่ามะม่วงอันมีช่องดงาม ผสมกับดงรังอันน่ารื่นรมย์ตรงวังวนแห่งแม่น้ำคงคา
ลำพังตัวเดียวเท่านั้นเพื่อประสงค์จะกระทำการรักษาอุโบสถ. ผิวแห่งสรีระของ
พญารุรุมฤคนั้น มีสีเหมือนแผ่นกระดาษทองที่ขัดมัน เท้าทั้งสี่มีสีประดุจดังย้อม

ด้วยน้ำครั่ง หางก็ประหนึ่งหางแห่งจามรี เขาทั้งหลายเช่นเดียวกับช่อเงิน นัยน์ตา
ทั้งคู่ประหนึ่งเม็ดทับทิมที่เจียระไนแล้ว ปากเปรียบดังลูกข่างที่หุ้มด้วยผ้ากัมพล
แดง รูปร่างของพญารุรุมฤคนั้น มีรูปเห็นปานฉะนี้. เวลากลางคืน พญารุรุมฤค
นั้นได้ยินเสียงน่าสงสารของเขา ดำริว่า เราได้ยินเสียงมนุษย์ เมื่อเรายังดำรงอยู่

อย่าตายเสียเลย เราต้องช่วยชีวิตเขาไว้ แล้วลุกจากที่นอนเดินไป ณ ฝั่งแม่น้ำ
ปลอบว่าบุรุษผู้เจริญ อย่ากลัวเลย ข้าจักช่วยชีวิตท่าน พลางว่ายตัดกระแสน้ำไป
รับเขาขึ้นหลัง พาถึงฝั่งนำไปที่อยู่ของตน ทำให้เขาโปร่งใจล่วงมาได้สองสาม
วันก็กล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ ข้าจักพาท่านออกจากป่านี้ ส่งให้ถึงทางไปพาราณสี
ท่านจักไปโดยสวัสดี ก็แต่ขอสักอย่างหนึ่ง ท่านจงอย่าบอกเราแก่พระราชาหรือ
มหาอำมาตย์ของพระราชา เพราะเหตุมุ่งทรัพย์ว่า ณ ที่ตรงโน้น กวางทอง


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พำนักอยู่ ดังนี้เลยนะ. เขารับคำว่าดีละ พระมหาสัตว์รับปฏิญญาของเขาแล้ว
ก็ให้เขาขึ้นหลังตนพาไปส่งถึงทางไปกรุงพาราณสีแล้วจึงกลับ. ในวันที่เขาเข้า
ไปถึงกรุงพาราณสีนั่นเอง พระอัครมเหสีของพระราชาพระนามว่า เขมาเทวี
ทรงฝันเห็นกวางทองแสดงธรรมกถาถวายพระนางในพระสุบินเมื่อใกล้รุ่ง
ทรงพระดำริว่า ถ้ามฤคเห็นปานนี้ ไม่พึงมีไซร้ เราไม่น่าฝันเห็นเขา

ได้เลย คงจักมีแน่ ต้องกราบทูลแด่พระราชา. พระนางเข้าเฝ้าพระราชา
กราบทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม หม่อมฉันปรารถนาจะเห็นกวางทอง
ประสงค์จะฟังธรรมกถาของกวางทอง ถ้าจักได้ หม่อมฉันจักคงมีชีวิตอยู่
ถ้าไม่ได้ชีวิตของหม่อมฉันจักไม่มี. พระราชาทรงปลอบพระนาง พลางตรัสว่า

ขอให้มีในมนุษยโลกเถอะน่ะ เธอต้องได้แน่ ดังนี้แล้วรับสั่งให้หาพวกพราหมณ์
มาเฝ้า ตรัสถามว่า ธรรมดามฤคที่มีสีเหมือนสีทองยังจะมีอยู่หรือ ทรงสดับว่า
ข้าแต่สมมติเทพ มีอยู่พระเจ้าข้า ก็รับสั่งให้บรรจุถุงเงิน ๑,๐๐๐ กระษาปณ์
ลงในผอบทอง วางไว้ ณ คอช้างที่ประดับเสร็จแล้ว มีพระประสงค์จะประทาน

ช้างนั้นกับผอบทองที่ใส่ถุงเงิน ๑,๐๐๐ กระษาปณ์ และสิ่งของที่ยิ่งกว่านี้แก่ผู้ที่
บอกเรื่องกวางทองได้ แล้วรับสั่งให้เขียนคาถาลงในแผ่นทอง ให้หาอำมาตย์
ผู้หนึ่งมาเฝ้า มีดำรัสตรัสว่า มาเถิด เจ้าจงแจ้งคาถานี้ตามคำของเราแก่ชาว
พระนครนะพ่อ แล้วตรัสพระคาถาที่ ๑ ในชาดกนี้ว่า

ใครบอกมฤคซึ่งสูงสุดกว่ามฤคทั้งหลายนั้นแก่
เราได้ เราจะให้บ้านส่วยและหญิงที่ประดับประดาแล้ว
แก่ผู้นั้น.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อำมาตย์ ถือแผ่นทองเที่ยวป่าวร้องไปในพระนครทั่วทุกแห่ง ลำดับนั้น
แลเศรษฐีบุตรก็เข้าไปสู่กรุงพาราณสี ฟังถ้อยคำนั้นแล้วไปสู่สำนักอำมาตย์
กล่าวว่า ข้าพเจ้าจักทูลมฤคนั้นแด่พระราชา ได้เชิญแสดงข้าพเจ้าแด่พระราชา
เถิด. อำมาตย์ลงจากช้างพาเขาไปสู่สำนักของพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่

สมมติเทพ ได้ยินว่า ผู้นี้จักกราบทูลถึงมฤคนั้นได้พระเจ้าข้า. พระราชาตรัส
ถามว่า จริงหรือบุรุษผู้เจริญ เมื่อเขากราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช เป็น
ความจริงพระเจ้าข้า ขอพระองค์โปรดประทานยศนั้นแก่ข้าพระองค์เถิดพระ-
เจ้าข้า กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

ขอได้โปรดพระราชทานบ้านส่วย และหญิงที่
ประดับประดาแล้วแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะ
กราบทูลมฤคซึ่งสูงสุดกว่ามฤคทั้งหลายแก่พระองค์.

พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว โปรดปรานแก่ผู้ประทุษร้ายมิตรนั้น
จึงตรัสถามว่า พ่อเฮ้ย มฤคนั้นพำนักอยู่ที่ไหน เมื่อเขากราบทูลว่า ณ ที่โน้น
พระเจ้าข้า ก็ทรงกระทำเขาให้เป็นมัคคุเทศก์ เสด็จไปสู่สถานนั้นด้วยราชบริพาร
ขบวนใหญ่. ลำดับนั้น คนประทุษร้ายมิตร กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์โปรดสั่งให้เสนาหยุดได้พระเจ้าข้า เมื่อเสนา
หยุดเรียบร้อยแล้ว ก็กราบทูลเชิญเสด็จ เมื่อจะยกมือชี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้สมมติเทพ สุวรรณมฤคนั้นพำนักอยู่ ณ ที่ตรงนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
ณ ไพรสณฑ์นั้น มีต้นมะม่วงและต้นรังทั้งหลาย
ดอกบานสะพรั่ง พื้นที่แห่งไพรสณฑ์นั้น ดารดาษ
ไปด้วยติณชาติมีสีเหมือนแมลงค่อมทอง มฤคตัวนั้น
อยู่ที่ไพรสณฑ์นั้น.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 34, 35, 36, 37, 38, 39, 40 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร