วันเวลาปัจจุบัน 24 ก.ค. 2025, 02:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 35, 36, 37, 38, 39, 40, 41 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อินฺทโคปกสฺฉนฺนา ความว่า คนผู้
ประทุษร้ายต่อมิตรนั้น กราบทูลแสดงว่า ภาคพื้นแห่งไพรสณฑ์ตรงนั้น
ดาดาษไปด้วยติณชาติมีสัมผัสเป็นสุข มีสีแดงเหมือนสีแมลงค่อมทอง อ่อนนุ่ม
ประหนึ่งข้าวกล้าอ่อน ณ ไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์นี้นั้น กวางทองนั้นพำนักอยู่
พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงสดับคำของเขาแล้ว ตรัสสั่งหมู่อำมาตย์ว่า เธอทั้งหลาย
กับคนที่ถืออาวุธ จงพากันล้อมไพรสณฑ์ไว้โดยเร็ว มิให้มฤคนั้นหนีไปได้.
พวกเหล่านั้นได้กระทำตามพระดำรัสนั้น แล้วพากันร้องขึ้น. พระราชาประทับ
ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งกับคนสองสามคน. บุรุษนั้นก็ยืนอยู่ไม่ห่าง. พระมหาสัตว์

ฟังเสียงนั้นแล้วดำริว่า เสียงของหมู่พลกองหลวง อันภัยของเราต้องเกิดจาก
บุรุษนั้น. พระมหาสัตว์นั้นลุกขึ้นมองทั่วบริษัทเห็นสถานที่ประทับยืน
แห่งพระราชานั้นคิดว่า ความสวัสดียังจักมีแก่เราได้ ควรที่เราจะไป ณ

ที่นั้นทีเดียว แล้วเดินมุ่งหน้าเฉพาะพระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็น
มฤคนั้นกำลังเดินมา ทรงพระดำริว่า มฤคมีกำลังดังพญาช้าง น่าจะถาโถม
มาได้ ต้องสอดลูกศรไว้คอยขู่ให้มฤคนี้สะดุ้ง ถ้าหนีไป จักยิงทำให้ทรพลแล้ว
ค่อยจับเอา ทรงยกธนูขึ้นเล็งตรงพระโพธิสัตว์.

พระศาสดา เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาสองคาถาว่า
พระเจ้าพาราณสี ทรงโก่งธนูสอดใส่ลูกศรไว้
เสด็จเข้าไปแล้ว ส่วนมฤคเห็นพระราชาแล้ว ได้ร้อง
กราบทูลไปแต่ไกลว่า ข้าแต่พระมหาราชผู้ประเสริฐ
โปรดทรงรอก่อน อย่าเพิ่งทรงยิงข้าพระบาทเสียเลย
ใครหนอได้กราบทูลความเรื่องนี้แก่พระองค์ว่า มฤค
ตัวนี้อยู่ ณ ไพรสณฑ์นี้.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทชฺฌํ ความว่า ทรงโก่งธนูพร้อมกับ
สายและลูกศรไว้. บทว่า สนฺนยฺห แปลว่า สอดไว้แล้ว. บทว่า อาคเมหิ
ความว่า พญามฤคกล่าวด้วยวาจาอันไพเราะว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์
จงรอก่อน จงอย่ายิงข้าพระบาทเลย จงไว้ชีวิตข้าพระบาทเถิด.

พระราชาทรงติดพระหฤทัยในมธุรกถาของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงลด
ธนูลงประทับยืนด้วยพระอาการอันน่าเคารพ. พระมหาสัตว์ก็เข้าไปใกล้พระราชา
ทรงกระทำมธุรปฏิสันถาร แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายมหาชนก็พากันวาง
อาวุธทั้งปวงเสีย ต่างมาแวดล้อมพระราชา. ขณะนั้นพระมหาสัตว์กราบทูล
ถามพระราชาด้วยเสียงอันไพเราะ ประหนึ่งคนสั่นกระดิ่งทองว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โปรดทรงรอก่อน ข้าแต่
พระจอมรถ โปรดอย่าเพิ่งยิงข้าพระบาทเลย ใครหนอ
กราบทูลข้อนี้ แด่พระองค์ว่า พญามฤคนั้นพำนักอยู่
ที่นี้.

ขณะนั้นคนใจบาปถอยไปหน่อยหนึ่ง แล้วยืนอยู่ตรงนั้นเอง. พระราชา
เมื่อจะตรัสบอกว่า ผู้นี้แสดงแก่เรา จึงตรัสพระคาถาที่ ๖ ว่า

ดูก่อนสหาย บุรุษผู้มีมารยาทอันเลวทราม ยืนอยู่
ห่างๆ นั่น บุรุษคนนั้นแหละ ได้บอกความเรื่องนี้
แก่เราว่า มฤคตัวนี้อยู่ ณ ไพรสณฑ์นี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปจโร แปลว่า ผู้มีมารยาทเลวทราม.
พระมหาสัตว์ ครั้นติเตียนคนประทุษร้ายมิตรแล้ว เมื่อจะเจรจา
ปราศรัยกับพระราชา จึงกล่าวคาถาที่ ๗ ว่า


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ได้ยินว่า คนบางพวกในโลกนี้ กล่าวความจริง
ไว้อย่างนี้ว่า ไม้ลอยน้ำยังดีกว่า คนบางคนไม่ดีเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิปาวตํ แปลว่า ถูกช่วยเหลือไว้. บทว่า
เอกจฺจิโย ความว่า แต่บุคคลบางคนสันดานบาป มักประทุษร้ายมิตร แม้
กำลังจะตายในน้ำ ได้รับการช่วยเหลือขึ้นมาได้ ก็ยังหาประเสริฐไม่. เพราะ
ท่อนไม้ยังเป็นไปเพื่ออุปการะโดยประการต่าง ๆ ส่วนคนประทุษร้ายมิตร มีแต่
จะล้างผลาญ เพราะเหตุนั้น ท่อนไม้ประเสริฐกว่าคนนั้นหนักหนา แต่ข้า-
พระบาทมิได้กระทำตามคำของท่านเหล่านั้น.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถาต่อไปว่า

ดูก่อนพญามฤค เธอติเตียนพวกไหนแน่ ติเตียน
พวกมฤค พวกนก หรือพวกมนุษย์ เรามีความกลัว
ไม่น้อย เพราะได้ฟังเจ้าพูดภาษามนุษย์ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า มิคานํ พระราชาตรัสถามว่า เธอ
ติเตียนพวกมฤคตัวใดตัวหนึ่ง หรือพวกนก หรือพวกมนุษย์. บทว่า ภยํ หิ
มํ วนฺทติ ความว่า เธอติเตียนเราผู้กลัวอยู่ เราออกจะครั่นคร้ามอยู่ไม่น้อย.
บทว่า อนปฺปรูปํ ได้แก่ มาก.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะแสดงว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ข้าพระบาทมิได้ติเตียนมฤคเป็นต้น แต่ติเตียนพวกมนุษย์กล่าวคาถาที่ ๙ ว่า

ข้าพระองค์ช่วยยกขึ้นซึ่งบุรุษคนใด ผู้ลอยไปใน
ห้วงน้ำคงคา มีน้ำมากไหลเชี่ยว ภัยมาถึงข้าพระบาท
แล้ว เพราะบุรุษผู้นั้นเป็นเหตุ ข้าแต่พระมหาราชา
การสมาคมกับอสัตบุรุษทั้งหลาย นำทุกข์มาให้โดยแท้.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วหเน ความว่า ในห้วงน้ำแม่น้ำคงคา
อันสามารถที่จะพัดพาผู้ที่ตกแล้ว ๆ ไปได้. บทว่า มโหทเก สลิเล ความว่า
มีน้ำมาก คือมีกระแสเชี่ยว. พระมหาสัตว์ แสดงห้วงน้ำคงคานั่นแหละ ว่ามี
น้ำมากด้วยบททั้งสอง. บทว่า ตโตนิทานํ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

บุคคลใดเล่าที่พระองค์ทรงชี้ให้ข้าพระบาทพูดนั้น กำลังลอยล่องไปในแม่น้ำ
คงคา ร้องไห้คร่ำครวญน่าสงสารอยู่ในเวลาเที่ยงคืน ข้าพระบาทช่วยเขาขึ้น
ไว้ได้ วันนี้ภัยมาถึงข้าพระบาท เพราะเขาเป็นต้นเหตุ ข้าแต่มหาราชเจ้า
ขึ้นชื่อว่า การสมาคมกับคนเลว ๆ ลำบาก พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงกริ้วเขา ทรงพระดำริว่า มันช่าง
ไม่รู้คุณของมหาสัตว์นี้ ชื่อว่ามีอุปการะมากเช่นนี้ ต้องยิงมันเสียให้ตาย แล้ว
ตรัสพระคาถาที่ ๑๐ ว่า

เรานั้นจะปล่อยลูกศร ๔ ปีกนี้แหวกไปในอากาศ
ให้ไปตัดตรงหัวใจ เราจักฆ่ามันผู้ประทุษร้ายมิตร
ผู้ไม่ทำกิจที่ควรทำ ไม่รู้จักผู้กระทำคุณให้เช่นท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุปตฺตํ ความว่า ประกอบด้วยลูกศร
๔ ปีก. บทว่า วิหงฺคมํ แปลว่า แหวกไปทางอากาศ. บทว่า คุจฺฉิทํ
แปลว่า เชือดเอาร่างกาย. บทว่า โอสชฺชามิ ความว่า เราจักปล่อยลูกศร
ไปตรงหัวใจเขา.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า ผู้นี้จงอย่าวอดวายเสียเพราะเราเลย
จึงกล่าวคาถาที่ ๑๑ ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งประชาชน สัตบุรุษ
ทั้งหลาย ไม่สรรเสริญการฆ่าบัณฑิตและคนพาลเลย
คนผู้มีธรรมอันลามก จงกลับไปสู่เรือนของเขาตาม
ปรารถนาเถิด อนึ่ง ขอได้โปรดพระราชทานค่าจ้าง
ตามที่พระองค์ตรัสไว้แก่เขาด้วยเถิด อนึ่ง ข้าพระองค์
ขอทำความปรารถนาของพระองค์.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามา ความว่า เขาจงไปบ้านเรือน
ของตนตามปรารถนา ตามความพอใจเถิด. บทว่า ยฺจสฺส ภตฺตํ ตเทตสฺส
เทหิ ความว่า โปรดจงประทานสิ่งที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เราจักให้สิ่งนี้นั้นแก่
เขาด้วยเถิด. บทว่า กามกโร ความว่า ข้าพระองค์ขอเป็นผู้ทำตามประสงค์

คือพระองค์ทรงปรารถนาสิ่งใด ก็จงกระทำสิ่งนั้นเถิด หมายความว่า จะเสวย
เนื้อข้าพระองค์ก็ได้ จะกระทำข้าพระองค์ให้เป็นมฤคสำหรับกีฬาก็ได้ ข้า-
พระองค์จะปฏิบัติตามประสงค์ของพระองค์ทุกประการ.

พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงพอพระหฤทัย เมื่อจะทรง
ชมเชยพระมหาสัตว์ จึงตรัสพระคาถาต่อไปว่า
ดูก่อนพญามฤค ท่านผู้ไม่ประทุษร้ายต่อมนุษย์
ผู้ประทุษร้าย นับเป็นผู้หนึ่งในจำนวนสัตบุรุษทั้งหลาย
เป็นแน่ คนผู้มีธรรมอันลามก จงกลับไปสู่เรือนของ
ตนตามความปรารถนา อนึ่ง เราจะให้ค่าจ้างที่เราพูด
ไว้แก่เขา และเราขอให้บ้านส่วยแก่ท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตํ โส ความว่า เธอต้องเป็นผู้หนึ่ง
ในบรรดาบัณฑิตทั้งหลายแน่นอน. บทว่า คามวรํ ความว่า พระราชาทรง
ประทานพรแก่พระมหาสัตว์ว่า เราเลื่อมใสในธรรมกถาของเธอ จะให้บ้านส่วย
ให้อภัยแก่ท่าน ตั้งแต่นี้ไป ขอท่านจงปลอดภัยเที่ยวไปตามความชอบใจ.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะลองหยั่งท้าวเธอดูว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ธรรมดามนุษย์ ปากพูดไปอย่างหนึ่ง กระทำไปอย่างหนึ่ง ได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอกก็ดี ของ
นกก็ดี รู้ได้ง่าย เสียงของมนุษย์รู้ได้ยาก ยิ่งกว่านั้น
อนึ่ง ผู้ใดเมื่อก่อนเป็นคนใจดี คนทั้งหลายนับถือว่า
เป็นญาติ เป็นมิตรหรือเป็นสหาย ภายหลังผู้นั้นกลับ
กลายเป็นศัตรูไปก็ได้ ใจของมนุษย์รู้ได้ยากอย่างนี้.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสว่า พญามฤคอย่าได้หมิ่นฉันอย่างนี้
ฉันน่ะแม้จะละทิ้งราชสมบัติ ก็จักไม่ขอละทิ้งพรที่ให้แก่เธอเลย เชื่อเถิด
จงรับพรของฉันเถิด. พระมหาสัตว์เมื่อรับพรจากสำนักของท้าวเธอ ขอรับพร
คืออภัยทานแก่สรรพสัตว์ตั้งต้นแต่ตนไป. ฝ่ายพระราชาก็โปรดประทานพร
แล้วพาพระมหาสัตว์สู่พระนคร ตรัสสั่งให้ประดับพระนครและพระมหาสัตว์

เชิญให้แสดงธรรมแก่พระเทวี. พระมหาสัตว์แสดงธรรมแก่พระราชาและราช-
บริษัทตั้งต้นแต่พระเทวี ด้วยภาษามนุษย์อย่างไพเราะ ตักเตือนพระราชา
ด้วยทศพิธราชธรรมสั่งสอนมหาชนแล้วเข้าป่า แวดล้อมไปด้วยหมู่มฤค พำนัก

อาศัยอยู่. พระราชาทรงสั่งคนให้เที่ยวตีกลองร้องประกาศไปในพระนครว่า
เราให้อภัยแก่สรรพสัตว์ ฝูงเนื้อกินข้าวกล้าของหมู่คน ใครๆ ก็ไม่อาจห้าม
ได้. มหาชนพากันไปสู่ท้องพระลานหลวงร้องทุกข์ขึ้น.
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ชาวชนบทและชาวนิคมทั้งหลาย มาประชุม
พร้อมกันร้องทุกข์ว่า ฝูงเนื้อพากันมากินข้าว ขอ
พระองค์จงตรัสห้ามฝูงเนื้อนั้นเสียบ้าง พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทโว ความว่า ขอพระองค์จงตรัสห้าม
หมู่เนื้อนั้น.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสสองพระคาถาว่า
ชนบทอย่าได้มี แม้แว่นแคว้นจะพินาศไป
ก็ตามทีเถิด เราให้อภัยแก่ฝูงเนื้อและนกยูงแล้ว ไม่
ขอประทุษร้ายพญาเนื้อรุรุเป็นอันขาด.

ชาวชนบทของเราจะไม่มีก็ตาม ชาวชนบทจะไม่
พูดกะเราก็ตาม เราได้ให้พรแก่พญาเนื้อไว้แล้ว จะไม่
พูดเท็จเป็นอันขาด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาสิ ความว่า ชาวชนบทของเราจะ
ไม่มีก็ตามที. บทว่า รุรุํ ความว่า เราได้ให้พรแก่พญาเนื้อชื่อว่ารุรุ ตัวมีสีดัง
ทองคำจักไม่ประทุษร้ายต่อนกทั้งหลายเลย.

มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระราชาแล้ว เมื่อไม่อาจจะกล่าวคำอะไร ๆ
ได้จึงพากันหลีกไป. ถ้อยคำนั้นได้แพร่กระจายไปแล้ว. พระมหาสัตว์ได้ฟังเรื่อง
นั้นแล้ว จึงเรียกให้ฝูงเนื้อมาประชุมกัน กล่าวสอนว่า ตั้งแต่นั้นไปเจ้าทั้งหลาย

อย่าพากันกินข้าวกล้าของพวกมนุษย์เลย แล้วบอกแก่พวกมนุษย์ว่า จงพากัน
ผูกหุ่นหญ้าไว้ในไร่นาของตน ๆ เถิด. มนุษย์เหล่านั้นพากันทำตามนั้น ด้วย
เครื่องหมายนั้น ฝูงเนื้อไม่กินข้าวกล้า จนถึงทุกวันนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนเทวทัตก็อกตัญญูเหมือนกัน
ทรงประชุมชาดกว่า เศรษฐีบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัต พระราชา
ได้มาเป็นอานนท์ ส่วนเนื้อรุรุคือเราตถาคตแล.
จบอรรถกถารุรุชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ
ปรารภการพยากรณ์ปัญหา ที่พระองค์ตรัสถามโดยย่อได้อย่างพิสดารของ
พระธรรมเสนาบดี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อาสึเสเถว
ปุริโส ดังนี้.

ก็แลในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสถามปัญหากะพระเถรเจ้าโดยย่อ
ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวในคราวเสด็จจากเทวโลกนั้นโดยสังเขป.

กล่าวความจำเดิมแต่ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ถือเอาบาตรไม้-
จันทน์แดง ในสำนักของราชคหเศรษฐี ได้ด้วยฤทธิ์แล้ว พระศาสดาตรัสห้าม
การกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ แก่ภิกษุทั้งหลาย. ครั้งนั้น เหล่าเดียรถีย์คิดกันว่า
พระสมณโคดม ทรงห้ามการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์เสียแล้ว ที่นี้แม้ตนเองก็คง
จักกระทำไม่ได้ ครั้นถูกพวกสาวกของตนซึ่งขายหน้าไปตามกันพูดว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายถือเอาบาตรด้วยฤทธิ์ไม่ได้แล้วหรือ ก็พากันแถลงว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย นั่นมิใช่เป็นการที่พวกเราจะกระทำได้ยากเลย แต่ที่พวกเรา
ไม่ถือเอาเพราะคิดกันว่า ใครเล่าจักประกาศคุณที่ละเอียดสุขุมของตนแก่พวก
คฤหัสถ์เพื่อต้องการบาตรไม้อันเป็นประหนึ่งศพ ฝ่ายพวกสมณศากยบุตร

พากันสำแดง ถือเอาไปเพราะเป็นคนโง่ ใจโลเล พวกเธออย่าคิดเลยว่า การ
กระทำฤทธิ์เป็นเรื่องหนักของพวกเรา เพราะพวกเราน่ะพวกสาวกของสมณะ-
โคดมจงยกไว้เถิด แต่จำนงจะแสดงฤทธิ์กับพระสมณโคดม แม้นว่าพระสมณะ-


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
โคดมจักกระทำปฏิหาริย์อย่างหนึ่ง ฝ่ายพวกเราจักกระทำให้ได้สองเท่า. พวก
ภิกษุฟังเรื่องนั้นแล้วพากันกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข่าวว่าพวกเดียรถีย์จักพากันกระทำปฏิหาริย์. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย จงพากันกระทำเถิด แม้เราก็จักกระทำบ้าง. พระเจ้าพิมพิสารทรง

สดับเรื่องนั้น เสด็จมากราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข่าวว่าจักทรงกระทำปาฏิหาริย์. ตรัสว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร. ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้วมิใช่หรือ. ตรัสว่า
มหาบพิตร นั่นอาตมาภาพบัญญัติแก่หมู่สาวก แต่สิกขาบทของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่มี มหาบพิตร เหมือนอย่างว่า ดอกไม้และผลไม้ในพระอุทยานของ

มหาบพิตร ทรงห้ามไว้แก่ชนเหล่าอื่น มิได้ทรงห้ามแก่บพิตร ฉันใด ข้อนี้
ก็พึงเห็นเทียบเคียงฉันนั้น. ทูลถามสืบไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
จักทรงกระทำปาฏิหาริย์ ณ ที่ไหนพระเจ้าข้า ตรัสว่า ณ โคนไม้คัณฑามพฤกษ์
ใกล้ประตูเมืองสาวัตถี ขอถวายพระพร ทูลถามว่า ในเรื่องนั้นพวกหม่อมฉัน
จะต้องทำอะไรบ้าง. ตรัสว่า ไม่มีอะไรเลย มหาบพิตร.

ครั้นวันรุ่งขึ้น พระศาสดาทรงกระทำภัตกิจเสร็จ ก็เสด็จจาริกไป
หมู่มนุษย์พากันถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย พระศาสดาจักเสด็จไป
ณ ที่ไหน พระเจ้าข้า พวกภิกษุบอกว่า ไปกระทำยมกปาฏิหาริย์กำราบ
เดียรถีย์ ณ โคนไม้คัณฑามพฤกษ์ ใกล้ประตูเมืองสาวัตถี. มหาชนฟัง

ถ้อยคำของพวกภิกษุเหล่านั้นแล้วคิดว่า พระปาฏิหาริย์จักมีทีท่าหน้าอัศจรรย์
เป็นไฉน พวกเราต้องไปดูปาฏิหาริย์นั้น แล้วปิดประตูเรือน ไปกับ


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเลยทีเดียว. พวกอัญเดียรถีย์ก็พากันบอกว่าแม้พวกเราก็จักพา
กันกระทำปาฏิหาริย์ ณ สถานที่ ที่สมณโคดม กระทำปาฏิหาริย์ พากัน
ติดตามพระศาสดาไปกับพวกอุปัฏฐากเหมือนกัน. พระศาสดาเสด็จถึง
เมืองสาวัตถีโดยลำดับ พระราชาทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข่าวว่าจัก
ทรงกระทำปาฏิหาริย์หรือพระเจ้าข้า ตรัสว่า จักกระทำ ขอถวายพระพร ทูล

ถามว่า เมื่อไรพระเจ้าข้า ตรัสว่าในวันที่ ๗ จากวันนี้ เป็นวันเดือนอาสาฬห
(เดือน ๘). กราบทูลว่า หม่อมฉันจะทำมณฑปพระเจ้าข้า. ตรัสว่า อย่าเลย
มหาบพิตร ท้าวสักกะจักกระทำมณฑปแก้วขนาด ๑๒ โยชน์ ในที่กระทำปาฏิ-
หาริย์ของอาตมาภาพ. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอป่าวร้อง
เรื่องนี้ในพระนคร พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ป่าวร้องเถิด มหาบพิตร.

พระราชาตรัสสั่งธรรมโฆสก (ผู้ป่าวร้องธรรม) ขึ้นเหนือหลังช้างที่
ประดับประดาแล้วทำการโฆษณาทุกๆ วันจนถึงวันที่ ๖ ว่า ได้ยินว่า พระศาสดา
จักทรงกระทำพระปาฏิหาริย์กำราบเดียรถีย์ ณ โคนไม้คัณฑามพฤกษ์ใกล้เมือง
สาวัตถีในวันที่ ๗ แต่วันนี้. พวกเดียรถีย์รู้ข่าวว่าจักทรงกระทำพระปาฏิหาริย์ ณ

โคนไม้คัณฑามพฤกษ์ ก็พากันให้ทรัพย์แก่พวกเจ้าของให้ตัดต้นมะม่วงทีใกล้
เมืองสาวัตถีเสีย. ถึงวันเพ็ญแต่เช้าตรู่ ธรรมโฆสกป่าวร้องก้องสนั่นว่า พระ-
ปาฏิหาริย์ของพระผู้ทรงพระภาคจักปรากฏในวันนี้. ด้วยอานุภาพแห่งเทวดาได้
เป็นประหนึ่งว่า ยืนปรากฏป่าวร้องที่ประตู ชมพูทวีปทั้งสิ้น. ชนเหล่าใด ๆ

เกิดคิดจะไป ชนเหล่านั้นก็เห็นตนถึงเมืองสาวัตถีทีเดียว. ประชุมชนได้มี
ปริมณฑล ๑๒ โยชน์. พระศาสดาเสด็จเข้าสู่พระนครสาวัตถีแต่เช้าตรู่ เมื่อ
โปรดสัตว์แล้วเสด็จออก. คนเฝ้าพระอุทยานชื่อคัณฑะ กำลังนำผลมะม่วงสุก
ผลใหญ่ ขนาดหม้อสุกงอมทีเดียวไปถวายพระราชา พบพระศาสดาที่ประตู
พระนคร คิดว่า ผลมะม่วงสุกสมควรแก่พระตถาคตเจ้าแท้ ๆ จึงได้ถวาย.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาทรงรับประทับนั่ง ณ ส่วนหนึ่ง ใกล้ประตูพระนครนั้นเอง เสวย
เสร็จตรัสว่า อานนท์ เธอจงให้เมล็ดมะม่วงนี้แก่คนเฝ้าอุทยานเพื่อปลูกตรงนี้
ต้นมะม่วงนี้จักมีนามว่า คัณฑามพะ. พระเถระเจ้าได้กระทำตามนั้น คนเฝ้า
อุทยานคุ้ยดินแล้วปลูก. ทันใดนั้นเองรากทั้งหลายก็ชำแรกเมล็ดหยั่งลงไป.

หน่อสีแดงขนาดเท่าหัวคันไถ ก็ตั้งขึ้น. เมื่อมหาชนกำลังดูอยู่นั่นเอง ต้นมะม่วง
มีลำต้นวัดรอบถึง ๕๐ ศอก มีกิ่งยาว ๕๐ ศอก. โดยส่วนสูงเล่า ก็มีประมาณ
๑๐๐ ศอก ทันทีทันใด ต้นมะม่วงนั้นก็ออกช่อและมีผลมากมาย ต้นมะม่วง
นั้นระย้าระยับด้วยดอกและผล มีสีเหมือนสีทอง มีรสอร่อย ปรากฏประหนึ่ง
เต็มท้องฟ้า. เวลาต้องลมพัดผลสุกอันอร่อยทั้งหลายก็หล่นลง พวกภิกษุที่พา

กันมาทีหลังต่างก็มาฉัน. ถึงเวลาเย็นท้าวเทวราชทรงรำพึงทราบว่า การสร้าง
รัตนมณฑปเพื่อพระศาสดา เป็นภาระของพวกเรา ทรงส่งวิษณุกรรมเทพบุตร
ไปสร้างมณฑปแก้ว ๗ ประการ มีประมาณ ๑๒ โยชน์ ดาดาษด้วยอุบลเขียว
เทพดาในหมื่นจักวาลพากันมาประชุมด้วยประการฉะนี้.

พระศาสดาทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์กำราบเหล่าเดียรถีย์ มิใช่เป็น
เรื่องทั่วไปกับสาวก ทรงทราบความที่ชนเป็นอันมากพากันเลื่อมใส เสด็จลง
ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ ทรงแสดงธรรม ฝูงปาณชาติ ๒๐ โกฏิพากันดื่ม
น้ำอมฤต. ต่อจากนั้นทรงพระดำริว่า ก็พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน ทรงกระทำ

ปาฏิหาริย์แล้วเสด็จไป ณ ที่ไหน ทรงทราบว่า เสด็จไปสู่ดาวดึงส์พิภพ จึงเสด็จ
ลุกจากพระพุทธอาสน์ ย่างพระบาทเบื้องขวาเหยียบเขายุคนธร พระบาทซ้าย
เหยียบยอดเขาสิเนรุ แล้วเสด็จเข้าจำพรรษาเหนือบัณฑุกัมพลศิลา โคนปาริ-


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ฉัตตกพฤกษ์ ภายในระยะกาล ๓ เดือน ทรงแสดงพระอภิธรรมกถาแก่ฝูง
เทวดา. ฝ่ายบริษัทเมื่อไม่ทราบสถานที่พระศาสดาเสด็จไป คิดว่า เห็นพระ-
องค์แล้วจักพากันไป เลยพากันอยู่ตรงนั้นเองตลอดไตรมาส. ครั้นใกล้ถึง
ปวารณา พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้า จึงไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามว่า ก็เดียวนี้สารีบุตรอยู่ที่ไหน. กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เธออยู่ที่นครสังกัสสะกับพวกภิกษุ ๕๐๐ รูปที่พากันบวช
เพราะเลื่อมใสในพระยมกปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า. ตรัสว่า โมคคัลลานะในวันที่
เจ็ดแต่วันนี้ เราจักลงที่ประตูนครสังกัสสะ. ฝูงชนที่ต้องการจะเห็นตถาคต จง

ชุมนุมกันที่นครสังกัสสะเถิด. พระเถรเจ้าทูลรับสั่งว่า สาธุ แล้วมาบอกแก่บริษัท
ช่วยให้บริษัททั้งสิ้นลุถึงนครสังกัสสะ อยู่ห่างนครสาวัตถี ๓๐ โยชน์ โดยเวลา
ครู่เดียวเท่านั้นเอง. พระศาสดาทรงออกพรรษาปวารณาแล้ว ตรัสแจ้งแก่
ท้าวสักกะว่า มหาบพิตร อาตมาภาพจักไปสู่มนุษยโลก.

ท้าวสักกะตรัสเรียกวิษณุกรรมเทพบุตร มาตรัสว่า เธอจงกระทำบันได
เพื่อพระทศพลเสด็จมนุษยโลกเถิด. วิษณุกรรมเทพบุตรนั้น สร้างเป็นบันได
สามอันคือท่ามกลางเป็นบันไดแก้วมณี ข้างหนึ่งเป็นบันไดเงิน ข้างหนึ่งเป็น
บันไดทอง ทุกอันหัวบันไดอยู่ยอดเขาสิเนรุ เชิงบันไดจรดประตูนครสังกัสสะ

แวดล้อมด้วยไพทีล้วนแล้วด้วยแก้วเจ็ดประการ. พระศาสดาทรงกระทำพระ
ปาฏิหาริย์เปิดโลก เสด็จลงทางบันไดแก้วมณี อันมี ณ ท่ามกลาง. ท้าวสักกะทรง
เชิญบาตรจีวร ท้าวสุยามทรงเชิญวาลวิชนี ท้าวสหัมบดีพรหมทรงเชิญฉัตร.
เทพดาในหมื่นจักรวาลพากันบูชาด้วยของหอมและมาลาอันเป็นทิพย์ พอพระ


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ศาสดาเสด็จประทับ ณ เชิงบันได พระสารีบุตรเถรเจ้าถวายบังคมเป็นประถม
ทีเดียว. บริษัทที่เหลือพากันถวายบังคมที่หลัง. พระศาสดาทรงดำริในสมาคม
นั้นว่าโมคคัลลานะ ปรากฏว่ามีฤทธิ์ อุบาลีปรากฏว่าทรงพระวินัย แต่ปัญญาคุณ
ของสารีบุตรยังไม่ปรากฏเลย. ได้ยินว่า ยกเว้นเราผู้สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ผู้อื่น

ที่จะได้นามว่ามีปัญญาเสมอเหมือนเธอไม่มีเลย เราต้องกระทำปัญญาคุณของ
เธอให้ปรากฏไว้แล้วทรงตั้งต้นถามปัญหาของปุถุชนก่อน. ปุถุชนพวกเดียว
พากันกราบทูลแก้ปัญหานั้น. ต่อจากนั้นทรงถามปัญหาในวิสัยแห่งเหล่า
พระโสดาบัน. เหล่าโสดาบันเท่านั้นพากันกราบทูล แก้ปัญหานั้น.

พวกปุถุชนไม่รู้เลย. ต่อจากนั้นทรงถามปัญหา ในวิสัยพระสกทาคามี พระ-
อนาคามี พระขีณาสพ และพระมหาสาวกโดยลำดับ. ท่านที่ดำรงในชั้นต่ำ ๆ
ไม่ทราบปัญญาแม้นั้นเลย ท่านที่ดำรงในภูมิสูงๆ เท่านั้นพากันกราบทูลแก้.
แม้ถึงปัญหาในวิสัยแห่งอัครสาวก พระอัครสาวกกราบทูลแก้ได้. พวกอื่น

ไม่รู้เลย ต่อจากนั้นตรัสถามปัญหาในวิสัยแห่งพระสารีบุตรเถรเจ้า. พระเถร-
เจ้าองค์เดียวกราบทูลแก้ได้. พวกอื่นไม่รู้เลย ฝูงคนพากันถามว่า พระเถรเจ้า
ที่กราบทูล กับพระศาสดานั้น มีนามว่าอะไร พอฟังว่า ท่านเป็นธรรม
เสนาบดีมีนามว่า สารีบุตรเถรเจ้า ต่างกล่าวว่า โอ้ โฮ มีปัญญามากจริง ๆ
ตั้งแต่บัดนั้นคุณคือปัญญาอันมากของพระเถรเจ้าก็ได้ปรากฏ ไปในกลุ่มเทพย-
ดาและมนุษย์ ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสถามปัญหาในพุทธวิสัยกะท่านว่า

ชนเหล่าใดเล่า มีธรรมอันกำหนดได้แล้วสิ ชน
เหล่าใดเล่าที่ยังต้องศึกษา มีจำนวนมากในธรรมวินัยนี้
ดูก่อนท่านผู้ไร้ทุกข์ เธอมีปัญญารักษาตัวรอด ถูกเรา
ถาม เชิญบอกความเป็นไปแห่งชนเหล่านั้นแก่เราดังนี้


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แล้วตรัสว่า สารีบุตร เธอพึงเห็นความแห่งภาษิต โดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร
อย่างไรเล่าหนอ. พระเถรเจ้าตรวจดูปัญหาแล้ว เห็นว่า พระศาสดาตรัสถาม
ปฏิปทาอันเป็นทางบรรลุ แห่งพระเสขะและพระอเสขะกะเรา เลยหมดสงสัย
คงกังขาในพระอัธยาศัยว่า อันปฏิปทาทางบรรลุอาจกล่าวแก้ได้ โดยมุขเป็น
อันมากด้วยอำนาจขันธ์เป็นต้น เมื่อเรากราบทูลแก้โดยอาการไรเล่า ถึงจัก

สามารถยึดพระอัธยาศัยของพระศาสดาได้. พระศาสดาทรงทราบว่า สารีบุตร
หมดสงสัยในข้อปัญหา แต่ยังกังขาในอัธยาศัยของเรา แม้นว่าเรายังไม่ให้นัย
เธอไม่อาจกล่าวแก้ได้ จักต้องให้นัยแก่เธอ เมื่อจะประทานนัย ตรัสว่า สารีบุตร
เธอจักเล็งเห็นภูตนี้. ได้ยินว่า พระองค์ทรงมีพระปริวิตกอย่างนี้ว่า เมื่อสารีบุตร

จักถืออัธยาศัยของเรากล่าวแก้ ต้องแก้ด้วยอำนาจขันธ์. พอทรงประทานนัย
ปัญหานั้นกระจ่างแก่พระเถระเจ้าตั้งร้อยนัยพันนัย. ท่านยึดตามนัยที่พระศาสดา
ประทาน กราบทูลแก้ปัญหาในพุทธวิสัยได้. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่
บริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์. ปาณชาติ ๓๐ โกฏิดื่มน้ำอมฤตแล้ว. พระศาสดา

ทรงส่งบริษัท แล้วเสด็จจาริกถึงพระนครสาวัตถีโดยลำดับ วันรุ่งขึ้นเสด็จเข้า
ไปโปรดสัตว์ในพระนครสาวัตถี เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว พวกภิกษุพากัน
แสดงวัตรเสร็จ เสด็จเข้าพระคันธกุฎี. ยามเย็นพวกภิกษุพากันนั่งในธรรมสภา
กล่าวถึงคุณกถาของพระเถระเจ้าว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสารีบุตร มีปัญญามาก

มีปัญญาหลักแหลม มีปัญญาว่องไว มีปัญญาคมคาย กราบทูลความแก้ปัญหา
ที่พระทศพลตรัสถามโดยย่อได้อย่างพิสดาร. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนาด้วยเรื่องอะไรกัน เมื่อ


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2019, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แล้วตรัสว่า สารีบุตร เธอพึงเห็นความแห่งภาษิต โดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร
อย่างไรเล่าหนอ. พระเถรเจ้าตรวจดูปัญหาแล้ว เห็นว่า พระศาสดาตรัสถาม
ปฏิปทาอันเป็นทางบรรลุ แห่งพระเสขะและพระอเสขะกะเรา เลยหมดสงสัย
คงกังขาในพระอัธยาศัยว่า อันปฏิปทาทางบรรลุอาจกล่าวแก้ได้ โดยมุขเป็น
อันมากด้วยอำนาจขันธ์เป็นต้น เมื่อเรากราบทูลแก้โดยอาการไรเล่า ถึงจัก

สามารถยึดพระอัธยาศัยของพระศาสดาได้. พระศาสดาทรงทราบว่า สารีบุตร
หมดสงสัยในข้อปัญหา แต่ยังกังขาในอัธยาศัยของเรา แม้นว่าเรายังไม่ให้นัย
เธอไม่อาจกล่าวแก้ได้ จักต้องให้นัยแก่เธอ เมื่อจะประทานนัย ตรัสว่า สารีบุตร
เธอจักเล็งเห็นภูตนี้. ได้ยินว่า พระองค์ทรงมีพระปริวิตกอย่างนี้ว่า เมื่อสารีบุตร
จักถืออัธยาศัยของเรากล่าวแก้ ต้องแก้ด้วยอำนาจขันธ์. พอทรงประทานนัย

ปัญหานั้นกระจ่างแก่พระเถระเจ้าตั้งร้อยนัยพันนัย. ท่านยึดตามนัยที่พระศาสดา
ประทาน กราบทูลแก้ปัญหาในพุทธวิสัยได้. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่
บริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์. ปาณชาติ ๓๐ โกฏิดื่มน้ำอมฤตแล้ว. พระศาสดา
ทรงส่งบริษัท แล้วเสด็จจาริกถึงพระนครสาวัตถีโดยลำดับ วันรุ่งขึ้นเสด็จเข้า
ไปโปรดสัตว์ในพระนครสาวัตถี เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว พวกภิกษุพากัน

แสดงวัตรเสร็จ เสด็จเข้าพระคันธกุฎี. ยามเย็นพวกภิกษุพากันนั่งในธรรมสภา
กล่าวถึงคุณกถาของพระเถระเจ้าว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสารีบุตร มีปัญญามาก
มีปัญญาหลักแหลม มีปัญญาว่องไว มีปัญญาคมคาย กราบทูลความแก้ปัญหา
ที่พระทศพลตรัสถามโดยย่อได้อย่างพิสดาร. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนาด้วยเรื่องอะไรกัน เมื่อ


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 35, 36, 37, 38, 39, 40, 41 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร