วันเวลาปัจจุบัน 24 ก.ค. 2025, 10:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 38, 39, 40, 41, 42, 43, 44 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พ่อเหยี่ยวนั้นบินไปที่อยู่ของพญานกออกโดยเร็ว แล้วขันบอกให้รู้การ
ที่ตนมา ได้รับโอกาส ก็เข้าไปไหว้ ถูกถามว่า เจ้ามาทำไม เมื่อแสดงเหตุที่
ต้องมา กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

ข้าแต่พญานกออก ท่านเป็นนกประเสริฐกว่า
นกทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอยึดท่านเป็นที่พึ่ง พวกพราน
ชาวชนบทปรารถนาจะกินลูกน้อยของข้าพเจ้า ขอท่าน
จงช่วยให้ข้าพเจ้าได้รับความสุขเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิโช ความว่า ท่านเป็นนกที่ประเสริฐกว่า
นกทั้งหลาย.
พญานกออกปลอบเหยี่ยวว่า อย่ากลัวเลย แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ผู้แสวงหาความสุข ทั้งในกาล
และไม่ใช่กาล ย่อมทำบุคคลให้เป็นมิตรสหาย ดูก่อน
เหยี่ยว ฉันจะกระทำประโยชน์อันนี้แก่ท่านจงได้ ที่ -
จริง อริยชนย่อมกระทำกิจให้แก่อริยชน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเล อกาเล ได้แก่ ในกลางวัน
และกลางคืน. อาจาระในบทว่า อริโย นี้ท่านประสงค์เอาอริยะผู้ประเสริฐ
พญานกออกกล่าวว่า ในที่นี้อะไรเรียกว่า อริยะ จริงอยู่ผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระ
ย่อมทำกิจของผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระเท่านั้น.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พญานกออกถามเหยี่ยวว่า พวกคนป่าพากันขึ้นต้นไม้แล้ว
หรือสหาย. ก็ตอบว่า ตอนนั้นยังไม่ได้ขึ้น กำลังพากันมัดคบเท่านั้น. บอกว่า
ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงรีบไปปลอบแม่สหายของเรา บอกถึงการมาของเราไว้เถิด.
เหยี่ยวทำอย่างนั้น. ฝ่ายพญานกออกก็บินมาจับที่ยอดไม้ต้นหนึ่ง มองดูทางขึ้น
ของพวกชาวป่าไม่ไกลต้นกระทุ่ม เวลาที่ชาวป่าคนหนึ่งขึ้นต้นกระทุ่ม ใกล้

จะถึงรังก็ดำลงในสระ เอาน้ำมาด้วยปีกและด้วยปาก รดราดบนคบเสีย
คบนั้นก็ดับ. พวกชาวป่ากล่าวว่า พวกเราต้องกินเหยี่ยวตัวนี้ด้วย กินลูก
ของมันด้วยแล้วถอยลง จุดคบให้ลุก พากันปีนขึ้นไปใหม่. พญานกออกก็
เอาน้ำมาดับเสียอีก. เมื่อพญานกออกใช้อุบายนี้ดับคบที่ผูกแล้ว ๆ เวลาก็ล่วง

ไปถึงเที่ยงคืน. พญานกออกเหน็ดเหนื่อยยิ่งนัก. พังผืดภายใต้ท้องหย่อน
ตาทั้งคู่แดงก่ำ แม่เหยี่ยวเห็นแล้ว กล่าวกะผัวว่า นายจ๋า พญานกออกลำบาก
เหลือเกินแล้ว พี่ เจ้าจงไปบอกพญาเต่าเถิด เพื่อให้พญานกออกพักผ่อนได้บ้าง
พ่อเหยี่ยวฟังคำนั้นเข้าไปหาพญานกออก พลางเชื้อเชิญด้วยคาถาว่า

กิจอันใด ที่อริยชนผู้มีความอนุเคราะห์ จะพึง
กระทำแก่อริยชน กิจอันนั้น ชื่อว่าอันท่านกระทำแล้ว
ขอท่านจงรักษาตัวเถิด อย่ารีบร้อนไปนักเลย เมื่อท่าน
ยังมีชีวิตอยู่ เราก็จะได้ลูกคืนมาเป็นแน่.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตยิทํ ตัดเป็น ตยา อิทํ บาลีก็
เหมือนกันแล.
พญานกออกฟังคำของเหยี่ยวนั้นแล้ว เมื่อจะบันลือสีหนาทกล่าวคาถา
ที่ ๕ ว่า
ฉันกระทำการรักษาป้องกันนั้น แม้ถึงตัวจะตาย
ก็ไม่ได้สะดุ้งเลย แท้จริงสหายทั้งหลายผู้ยอมสละชีวิต
กระทำเพื่อสหายทั้งหลาย นี่เป็นธรรมดาของสัตบุรุษ
ทั้งหลาย.

ก็พระศาสดาเป็นอภิสัมพุทธ์ เมื่อทรงพรรณนาคุณของพญานกออก
นั้นจึงตรัสคาถาที่ ๖ ว่า
นกออกตัวนี้ซึ่งเป็นอัณฑชะ ได้กระทำกรรมที่
ทำได้แสนยากเพื่อประโยชน์แก่ลูกเหยี่ยว ตั้งแต่ยาม-
ครึ่งจนถึงเที่ยงคืนไม่หยุดหย่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุรุโร แปลว่า พญานกออก (หรือ
เหยี่ยวดำ). บทว่า ปุตฺเต ความว่า รักลูกของเหยี่ยวอยู่เพื่อประโยชน์แก่ลูก
ของเหยี่ยวเหล่านั้น. บทว่า อฑฺฒรตฺเต อนาคเต ความว่า กระทำความ
พยายามจนถึงยามที่สอง จัดว่ากระทำได้ยาก.

ฝ่ายพ่อเหยี่ยว กล่าวว่า ข้าแต่พญานกออกผู้สหาย เชิญท่านพักสัก
หน่อยเถิด แล้วไปหาเต่า ปลุกเต่าลุกขึ้น เมื่อเต่ากล่าวว่า มาทำไม เพื่อนเอ๋ย
ก็บอกว่า ภัยเห็นปานนี้บังเกิดแล้ว พญานกออกพยายามมาตั้งแต่ยามต้นจน
เหนื่อย เหตุนั้นแหละ ข้าพเจ้าจึงต้องมาหาท่าน แล้วกล่าวคาถาที่ ๗ ว่า

แท้จริง คนบางพวก ถึงจะเคลื่อนคลาด
พลาดพลั้งจากการงานของตน ก็ยังตั้งตัวได้ด้วยความ
อนุเคราะห์ของมิตรทั้งหลาย พวกลูกทั้งหลายของ
ข้าพเจ้าเดือดร้อน ข้าพเจ้าจึงรีบมาหาท่านเพื่อขอให้
เป็นที่พึ่งอาศัย ดูก่อนเต่าผู้เป็นสหาย ขอท่านช่วย
บำเพ็ญประโยชน์แก่ข้าพเจ้าเถิด.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ความแห่งคาถานั้นมีว่า นายเอ๋ย จริงอยู่ บุคคลบางพวกถึงจะคลาด-
เคลื่อนจากยศหรือจากทรัพย์ ถึงจะพลาดพลั้งจากการงานของตน ย่อมตั้งตน
ได้ด้วยความอนุเคราะห์ของเพื่อนฝูง ก็บุตรของข้าพเจ้ากำลังถูกกิน เดือดร้อน
เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงมากระทำท่านให้เป็นคติให้เป็นที่พำนัก เชิญท่านช่วยให้
ชีวิตทานแก่บุตรของข้าพเจ้า บำเพ็ญประโยชน์แก่ข้าพเจ้าเถิด.

เต่าฟังคำนั้นแล้วกล่าวคาถาต่อไปว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมทำบุคคลให้เป็นมิตร สหาย
ด้วยทรัพย์ข้าวเปลือกและด้วยตน ดูก่อนเหยี่ยว
ข้าพเจ้าจะกระทำประโยชน์นี้แก่ท่านให้จงได้ เพราะ
อริยชนย่อมทำกิจแก่อริยชน.

ครั้งนั้น บุตรของเต่านอนอยู่ไม่ไกล ฟังคำบิดา คิดว่าบิดาของเรา
อย่าลำบากเลย เราจักกระทำกิจเอง กล่าวคาถาที่ ๙ ว่า

คุณพ่อครับ ขอคุณพ่อจงมีความขวนขวายน้อย
อยู่เฉยๆ เถิด บุตรย่อมบำเพ็ญสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อ
บิดา ผมเองจักป้องกันลูกทั้งหลายของพญาเหยี่ยว จัก
บำเพ็ญประโยชน์เพื่อคุณพ่อ.
ครั้งนั้นบิดาได้กล่าวโต้ด้วยคาถาว่า


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลูกเอ๋ย บุตรพึงบำเพ็ญสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อ
บิดา นี่เป็นธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายโดยแท้แล พวก
พรานทั้งหลายแลเห็นพ่อผู้มีกายอันใหญ่โต ที่ไหน
เลยจะเบียดเบียนลูกทั้งหลายของพญาเหยี่ยวได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตเมส ธมฺโม ความว่า นี่เป็นธรรม
ของบัณฑิตทั้งหลาย. บทว่า ปุตฺตา น ความว่า พวกพรานชนบท ไม่พึง
เบียดเบียนพวกลูก ๆของเหยี่ยว.

เต่าใหญ่ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ส่งเหยี่ยวไปล่วงหน้า ด้วยคำว่า
เพื่อนเอ๋ย อย่ากลัว เจ้าจงไปก่อน ข้าจักไปเดี๋ยวนี้ พลางโดดลงน้ำ กวาด
เปือกตมและสาหร่ายมา ถึงเกาะแล้ว ก็ดับไฟเสียหมอบอยู่. พวกชาวป่า
พูดกันว่า พวกเราจะไปมัวต้องการลูกนกทำไม กลับมาฆ่าไอ้เต่าบอดตัวนี้เถิด

มันถึงจะพอแก่เราทุกคน พลางดึงเถาวัลย์เป็นสาย แก้ผ้านุ่งผูกไว้ ณ ที่นั้น ๆ
ก็ไม่อาจพลิกเต่าได้. เต่าเล่าก็พาพวกนั้นไปโดดลงน้ำตรงที่ลึก ๆ. พวกเหล่านั้น
ต่างตามไปด้วยเพราะอยากได้เต่า ต่างก็มีท้องเต็มไปด้วยน้ำ ลำบากไปตามๆกัน
ครั้นผละได้แล้วพูดกันว่า พวกเราเหวย นกออกตัวหนึ่งคอยดับคบของเราเสีย

ตั้งครึ่งคืน คราวนี้โดนเต่านี้ให้ตกน้ำ ดื่นน้ำท้องกางไปตามๆ กัน ก่อไฟกัน
ใหม่เถอะ แม้อรุณจะขึ้นแล้ว ก็ต้องกินลูกเหยี่ยวเหล่านี้จงได้ แล้วเริ่มก่อไฟ.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แม่นกฟังคำของพวกนั้นกล่าวว่า นายเอ๋ย พวกเหล่านี้จักต้องกินลูกของเรา
ให้ได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง แล้วจึงจะพากันไป เธอจงไปหาราชสีห์ที่เป็นสหาย
ของเราเถิด. เหยี่ยวนั้นไปถึงสำนักราชสีห์ทันทีทันใด เมื่อราชสีห์พูดว่า เป็น
อะไรเล่า จึงได้มาในเวลาอันไม่ควร ก็แจ้งเรื่องนั้นตั้งแต่ต้น แล้วกล่าวคาถาที่
๑๑ ว่า

ข้าแต่ราชสีห์ที่ประเสริฐด้วยความแกล้วกล้า
สัตว์และมนุษย์เมื่อตกอยู่ในภัยแล้ว ย่อมเข้าไปหาผู้
ประเสริฐ พวกบุตรของข้าพเจ้าเดือดร้อน ข้าพเจ้าจึง
รีบมาหาท่านเพื่อขอให้ท่านเป็นที่พึ่งอาศัย ท่านเป็น
เจ้านายของข้าพเจ้า ขอท่านได้โปรดช่วยให้ข้าพเจ้า
ได้รับความสุขด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ปสู เหยี่ยวนั้นกล่าวหมายเอาสัตว์
ดิรัจฉานทั้งหลาย ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ว่า ดูก่อนนาย ในบรรดาหมู่มฤค
ท่านเป็นผู้ประเสริฐกว่าด้วยความเพียร ทั้งสัตว์ดิรัจฉานทั้งมนุษย์ ทั้งหมดใน
โลกยามประสบภัย ย่อมพากันเข้าหาท่านผู้ประเสริฐ ก็แลพวกบุตรของข้าพเจ้า

กำลังเดือดร้อน ข้าพเจ้านั้นจึงมาพึ่งพาท่าน ท่านเป็นราชาแห่งพวกข้าพเจ้า
ก็ขอจงเป็นเพื่อความสุขของข้าพเจ้าเถิด.

ราชสีห์ ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนพญาเหยี่ยวผู้สหาย ฉันจะบำเพ็ญประ-
โยชน์นี้เพื่อท่านให้จงได้ เรามาด้วยกันเพื่อกำจัดหมู่
ศัตรูของท่านนั้นเสีย วิญญูชนรู้ว่าภัยเกิดขึ้นแก่มิตร
จะไม่พยายามเพื่อคุ้มครองมิตรอย่างไรได้.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ ทิสตํ ได้แก่ หมู่แห่งศัตรูนั้น
อธิบายว่า หมู่แห่งศัตรูของท่านนั้น. บทว่า ปหุ ความว่า สามารถเพื่อ
กำจัดหมู่อมิตร. บทว่า สมฺปชาโน ความว่า รู้อยู่ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งภัย
ของมิตร. บทว่า อตฺตชนสฺส ได้แก่ ชนผู้เป็นมิตรผู้เสมอกับตน คือผู้เสมอ
กับอวัยวะ.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ราชสีห์ก็ส่งเหยี่ยวนั้นไปว่า เจ้าจงไป จง
คอยปลอบลูกไว้เถิด แล้วเดินลุยน้ำอันมีสีเหมือนแก้วมณีไป. พวกชาวป่าเห็น
ราชสีห์นั้นกำลังเดินมา พากันพูดว่า ครั้งแรกนกออกคอยดับไฟของพวกเราเสีย
เต่ามาทำพวกเรามิให้เหลือผ้านุ่ง คราวนี้ราชสีห์จักทำให้พวกเราถึงสิ้นชีวิต

ต่างกลัวตายเป็นกำลัง พากันวิ่งหนีกระเจิงไป. ราชสีห์มาถึงโคนกระทุ่มนั้น
ไม่เห็นใคร ๆที่โคนต้นไม่เลย. ครั้งนั้นนกออก เต่า และเหยี่ยว ก็พากัน
เข้าไปหากราบกรานราชสีห์นั้น. ราชสีห์นั้นก็กล่าวอานิสงส์แห่งมิตรแก่สัตว์
เหล่านั้นตักเตือนว่า ตั้งแต่นี้ไป เจ้าทั้งหลายจงอย่าทำลายมิตรธรรม ต่างไม่

ประมาทไว้เถิด แล้วก็หลีกไป. สัตว์แม้เหล่านั้น ก็พากันไปสู่ที่อยู่ของตน.
แม่เหยี่ยวมองดูลูกของตนแล้ว คิดว่า เพราะอาศัยหมู่มิตร เราจึงได้ลูกๆ ไว้
ครั้นถึงสมัยที่นั่งกันอยู่อย่างสบาย เมื่อจะเจรจากับพ่อเหยี่ยว จึงกล่าวคาถา
๖ คาถา มีชื่อว่าคาถาประกาศมิตรธรรมว่า


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บุคคลพึงคบมิตรสหายและเจ้านายไว้ เพื่อได้รับ
ความสุข เรากำจัดศัตรูได้ด้วยกำลังแห่งมิตร เป็นผู้
พร้อมเพรียงด้วยบุตรทั้งหลาย บันเทิงอยู่เหมือนเกราะ
ที่บุคคลสวมแล้ว ป้องกันลูกศรทั้งหลายได้ ฉะนั้น.
ลูกน้อยทั้งหลายของเรา เปล่งเสียงอันจับใจ
ร้องรับเราผู้ร้องหาอยู่ ด้วยการกระทำของพญาเนื้อ
ผู้เป็นมิตรสหายของตนซึ่งมิได้หนีไป.

แน่ะเธอผู้ต้องการสิ่งที่น่าปรารถนา บัณฑิตได้
มิตรสหายแล้วย่อมปกปักรักษาบุตร ปศุสัตว์และทรัพย์
ไว้ได้ ฉัน บุตร และสามีของฉันด้วย เป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน เพราะความอนุเคราะห์ของมิตรทั้งหลาย
บุคคลผู้มีพระราชาและมีมิตรผู้กล้าหาญ สามารถจะ
บรรลุถึงประโยชน์ได้เพราะสหายเหล่านี้ ย่อมมีแก่ผู้
มิตรธรรมอันบริบูรณ์ บุคคลผู้มีมิตรสหายมียศ มีตน
อันสูงส่ง ย่อมบันเทิงใจอยู่ในโลกนี้ด้วย.

ข้าแต่พญาเหยี่ยว มิตรธรรมทั้งหลาย แม้ผู้ที่
ยากจนก็ควรทำ ดูซิท่าน เราพร้อมด้วยหมู่ญาติเป็นผู้
พร้อมเพรียงกัน ด้วยความอนุเคราะห์ของมิตร นก
ตัวใดผูกมิตรไว้กับผู้กล้าหาญมีกำลัง นกตัวนั้น ย่อมมี
ความสุขเหมือนฉันกับเธอ ฉะนั้น.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตฺจ ได้แก่ มิตรของตนอย่างใด
อย่างหนึ่ง. บทว่า สุหทยฺจ ความว่า จงกระทำการคบมิตรผู้มีใจดี ผู้มี
ตำแหน่งเป็นเจ้านายและมิตรอันสูงส่ง. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นิวตฺถโก-
โชว สเรภิหนฺตฺวา นี้ ดังต่อไปนี้ ด้วยบทว่า โกโช ท่านกล่าวเกราะ

คือเกราะที่บุคคลสวมไว้แล้ว ย่อมกำจัด คือ ย่อมห้ามลูกศรทั้งหลายเสียได้ชื่อ
ฉันใด แม้เราทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมกำจัดข้าศึกทั้งหลายด้วยกำลังแห่งมิตร บันเทิง
กับบุตรทั้งหลาย. บทว่าสกมิตฺตสฺส กมฺเมน ความว่า เพราะความบากบั่น
แห่งมิตรของตน. บทว่า สหายสฺสาปลายิโน ได้แก่ พญาเนื้อผู้เป็นสหาย
ไม่หนีหน้า. บทว่า โลมหํสา ความว่า ปักษีทั้งหลายเป็นลูกน้อยของเรา

จึงเปล่งเสียงขันขานจับใจไพเราะกะเราผู้ขันเรียกอยู่ได้. บทว่า สมงฺคิภูตา
คือตั้งอยู่ในฐานะเดียวกัน. บทว่า ราชวตา สุรวตา จ อตฺโถ ความว่า
บุคคลผู้สามารถจะบรรลุประโยชน์ได้ ด้วยคุณเครื่องความเป็นพระราชา เช่น
อย่างราชสีห์ และคุณเครื่องความเป็นผู้แกล้วกล้า เช่นนกออกและเต่า

ซึ่งเป็นมิตรที่กล้าหาญ. บทว่า ภวนฺติ เหเต ความว่า และคุณเครื่อง
ความเป็นผู้กล้าหาญเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมชักนำให้เป็นสหายของผู้ที่มีเนื้อฝูง
สมบูรณ์ คือมีมิตรธรรมสมบูรณ์. บทว่า อุคฺคตตฺโต ได้แก่ ความเป็นผู้
มีมิตรมียศเฟื่องฟู ด้วยสิริเสาวภาคย์. บทว่า อิมสฺมิฺจ โลเก ความว่า

ย่อมบันเทิงในโลกนี้ กล่าวคืออิธโลก. นางร้องเรียกสามีว่า กามกามิ ผู้ใคร่
ในกาม จริงอยู่ สามีนั้นใคร่ในกาม ชื่อว่า กามกามิ. บทว่า สมคฺคมฺหา
ความว่า เราเกิดเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน. บทว่า สญาตเก ความว่า พร้อม
กับญาติและบุตรทั้งหลาย.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นางเหยี่ยวแสดงคุณของมิตรธรรมด้วยคาถาทั้ง ๖ ด้วยประการฉะนี้.
แม้สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ก็คงเป็นสหายกัน ไม่ทำลายมิตรธรรม ดำรงอยู่
ตลอดอายุแล้ว ต่างไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อุบาสกนี้อาศัยภรรยามีความสุข แม้ในกาลก่อน
ก็มีความสุขเพราะอาศัยภรรยาแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
พ่อเหยี่ยวแม่เหยี่ยวในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยา ลูกเต่าได้มาเป็น
ราหุล พ่อเต่าได้มาเป็นมหาโมคคัลลานะ นกออกได้มาเป็นสารีบุตร
ส่วนราชสีห์คือเราตถาคตแล.
จบอรรถกถามหาอุกกุสชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ทรง
พระปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ขราชินา
ชฏิลา ปงฺกทนฺตา ดังนี้.

เรื่องย่อมีว่า ภิกษุนั้น แม้บวชในพระศาสนาอันมีธรรมเป็นเครื่อง
นำออกจากทุกข์ได้แล้ว ก็ยังชอบประพฤติเรื่องหลอกลวง ๓ สถาน เพื่อต้อง
การปัจจัยทั้งสี่. ครั้งนั้นพวกภิกษุเมื่อจะประกาศโทษของเธอ ตั้งเรื่องสนทนา
กันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุที่ชื่อโน้นบวชในพระศาสนา อัน
ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้แล้ว ยังจะอาศัยการ

หลอกลวงเลี้ยงชีวิตอยู่เล่า. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อกี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อพวกภิกษุกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนเธอก็
หลอกลวงเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ พระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นปุโรหิต เป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาด.
วันหนึ่งท่านไปเล่นอุทยาน เห็นหญิงแพศยารูปงามนางหนึ่ง ติดใจ สำเร็จการ
อยู่ร่วมกับนาง. นางอาศัยท่านมีครรภ์ ครั้นรู้ว่าตนมีครรภ์ ก็บอกท่านว่า

เจ้านาย ดิฉันตั้งครรภ์แล้วละ ในเวลาเด็กเกิด เมื่อดิฉันจะตั้งชื่อ จะขนานนาม
เขาว่าอย่างไรเจ้าคะ. ท่านคิดว่า เพราะเด็กเกิดในท้องวัณณทาสีไม่อาจขนาน
นามตามสกุลได้ แล้วกล่าวว่า แม่นางเอ๋ย ต้นไม้ที่ป้องกันลมได้ต้นนี้ชื่อว่า
ต้นคูณ เพราะเราได้เด็กที่นี้ เธอควรตั้งชื่อเขาว่า อุททาลกะ (คูณ)เถิด แล้ว


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ได้ให้แหวนสวมนิ้วชี้ไปสั่งว่า ถ้าเป็นธิดา เธอพึงเลี้ยงดูเด็กนั้นด้วยแหวนนี้
ถ้าเป็นบุตรละก็พึงส่งตัวเขาผู้เติบโตแล้วแก่ฉัน ต่อมานางคลอดบุตรชาย ได้
ขนานนามว่า อุททาลกะ. เขาเติบโตแล้ว ถามมารดาว่า แม่จ๋า ใครเป็นพ่อ
ของฉัน. นางตอบว่า ปุโรหิต พ่อ. เขากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นฉันต้องเรียน

พระเวท แล้วรับแหวนและค่าคำนับอาจารย์จากมือมารดา เดินทางไปตักกศิลา
เรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์อยู่ เห็นคณะดาบสคณะหนึ่ง คิดว่า
ในสำนักของพวกนี้ คงมีศิลปะอันประเสริฐ เราจักเรียนศิลปะนั้นเพราะความ
โลภในศิลปะจึงบวช พอทำวัตรปฏิบัติแก่ดาบสเหล่านั้นแล้วก็ถามว่า ข้าแต่
ท่านอาจารย์ทั้งหลาย โปรดให้ข้าพเจ้าศึกษาในศิลปะที่ท่านรู้เถิด. ดาบส

เหล่านั้นก็ให้เขาศึกษาตามทำนองที่ตนรู้ บรรดาดาบสทั้ง ๕๐๐ ไม่ได้มีเลย
แม้แต่รูปเดียวที่ฉลาดยิ่งกว่าเขา. เขาคนเดี่ยวเป็นยอดของดาบสเหล่านั้นทาง
ปัญญา. ครั้งนั้นพวกดาบสเหล่านั้นจึงประชุมกันยกตำแหน่งอาจารย์ให้แก่เขา
ครั้นแล้วเขากล่าวกะดาบสเหล่านั้นว่า ผู้นิรทุกข์ พวกคุณพากันบริโภคเผือก
มันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่กันในป่า เหตุไรจึงไม่พากันไปสู่ถิ่นแดน

มนุษย์เล่า. พวกดาบสตอบว่า ผู้นิรทุกข์ ธรรมดาพวกมนุษย์ให้ทานมาก ๆ
แล้ว ก็ขอให้ทำอนุโมทนา ขอให้กล่าวธรรมกถา พากันถามปัญหา พวกเรา
ไม่ไปในถิ่นมนุษย์นั้นเพราะเกรงภัยนั้น. เขากล่าวว่า แม้ถึงว่าจักเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ การพูดให้จับใจละก็เป็นภาระของฉัน พวกท่านอย่ากลัวเลย จึง


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ท่องเที่ยวไปกับพวกดาบสนั้น ลุถึงพระนครพาราณสีโดยลำดับ พักอยู่ใน
พระราชอุทยาน พอรุ่งขึ้นก็เที่ยวภิกขาไปตามประตูบ้าน กับดาบสทั้งปวง.
พวกมนุษย์พากันให้มหาทาน รุ่งขึ้นพวกดาบสก็พากันเข้าสู่พระนคร. พวก
มนุษย์ได้พากันให้มหาทาน อุททาลกดาบสกระทำอนุโมทนา กล่าวมงคล
วิสัชนาปัญหา. พวกมนุษย์พากันเลื่อมใสได้ให้ปัจจัยมากมาย. ชาวเมือง

ทั่วหน้าพากันกราบทูลแด่พระราชาว่า ดาบสผู้ทรงธรรมเป็นบัณฑิต เป็น
คณะศาสดามาถึงแล้ว. พระราชาตรัสถามว่า อยู่ที่ไหน ทรงสดับว่า ในอุทยาน
ก็ตรัสว่า ดีละ วันนี้เราจักไปพบดาบสเหล่านั้น. ยังมีบุรุษผู้หนึ่งได้ไปบอกแก่
อุททาลกะว่า ข่าวว่าพระราชาจักเสด็จมาเยี่ยมพระคุณเจ้าทั้งหลาย. เขาเรียก
คณะฤาษีบอกว่า ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ข่าวว่าพระราชาจักเสด็จมา ธรรมดาท่าน

ผู้เป็นใหญ่ ทำให้พอใจได้เสียวันหนึ่งแล้ว ก็พอใจไปตลอดชีพ. พวกดาบส
พากันถามว่า ท่านอาจารย์ครับ ก็พวกผมต้องทำอะไรกันเล่า. เขากล่าวอย่าง
นี้ว่า ในพวกท่านบางพวกจงประพฤติวัคคุลิวัตร (ข้อปฏิบัติอย่างค้างคาว)
บางพวกจงตั้งหน้านั่งกระโหย่ง บางพวกจงพากันนอนบนหนาม บางพวกจง

ผิงไฟ ๕ กอง บางพวกจงพากันแช่น้ำ บางพวกจงพากันสังวัธยายมนต์ในที่
นั้น ๆ พวกดาบสกระทำตามนั้น. ฝ่ายตนเองชวนดาบสที่ฉลาด ๆ มีวาทะ
คมคาย ๘ หรือ ๑๐ รูปไว้ วางคัมภีร์ที่สวยงามไว้บนกากะเยียที่ชวนดู แวดล้อม
ด้วยอันตวาสิก นั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้เป็นอันดี. ขณะนั้นพระราชาตรัสชวน
ปุโรหิตเสด็จไปพระอุทยานกับบริวารขบวนใหญ่ ทอดพระเนตรเห็นดาบส


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เหล่านั้นพากันประพฤติตบะผิด ๆ กันอยู่ ทรงเลื่อมใสว่า ท่านพวกนี้พ้นแล้ว
จากภัย ในอบาย เสด็จถึงสำนักอุททาลกดาบส ทรงพระปฏิสันถารประทับนั่ง
ณ ส่วนข้างหนึ่ง มีพระมนัสยินดี เมื่อตรัสสนทนากับท่านปุโรหิต ตรัสคาถา
แรกว่า

ชฎิลเหล่าใดครองหนังเสือพร้อมเล็บ ฟันเขลอะ
รูปร่างเลอะเทอะ ร่ายมนต์อยู่ ชฎิลเหล่านั้นเป็นผู้รู้การ
ประพฤติตบะและการสาธยายมนต์นี้ ในความเพียรที่
มนุษย์จะพึงทำกัน จะพ้นจากอบายได้ละหรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขราชินา ความว่า ประกอบด้วยหนังเสือ
พร้อมด้วยเล็บ. บทว่า ปงฺกทนฺตา ความว่า มีฟันอันมลทินจับแล้ว เพราะ
ไม่เคี้ยวไม้สีฟัน. บทว่า ทุมฺมกฺขรูปา ความว่า นัยน์ตาไม่หยอดตา ร่างกาย
มิได้ประดับ มีผ้าพาดสกปรก. บทว่า มานุสเก จ โยเค ความว่า พวก

มนุษย์ควรกระทำความเพียร. บทว่า อิทํ วิทู ความว่า รู้อยู่ซึ่งการประพฤติ
ตบะ และการท่องมนต์นี้. บทว่า อปายา ความว่า พระราชาตรัสถามว่า
อาจารย์พ้นจากอบาย ๔ เหล่านี้ ได้อย่างไรหรือ ?

ท่านปุโรหิต ได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ดำริว่า พระราชาพระองค์นี้
ทรงเลื่อมใสในฐานะอันไม่ควร เราจะนิ่งเสียไม่ได้ละ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
ข้าแต่พระราชา ถ้าบุคคลเป็นพหูสูต แต่ไม่
ประพฤติธรรม ก็จะพึงกระทำกรรมอันลามกทั้งหลาย
ได้ แม้จะมีเวทตั้งพัน อาศัยแต่ความเป็นพหูสูต ยัง
ไม่บรรลุจรณธรรม จะพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้เลย.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุสฺสุโต ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ถ้าบุคคลทะนงตนว่าเราเป็นพหูสูตดังนี้ แม้จะมีเวทเชี่ยวชาญ ไม่ประพฤติ
กุศลธรรมทั้ง ๑๐ ประการ ก็พึงกระทำบาปด้วยทวารทั้งสามได้เหมือนกัน
เวททั้งสามยกเสียเถิด ต่อให้มีเวทตั้ง ๑,๐๐๐ มิได้บรรลุจรณธรรม คือสมาบัติ
๘ แล้ว จะอาศัยความเป็นพหูสูตนั้น พ้นจากอบายทุกข์ไม่ได้เลย.
อุททาลกะ ได้ฟังคำของท่านดังนั้นแล้ว คิดว่า พระราชาทรงเลื่อมใส
คณะฤาษีตามพระอัธยาศัยแล้ว แต่พราหมณ์ผู้นี้มาขว้างโคที่กำลังเที่ยวไป ทิ้ง
หยากเยื่อลงในภัตที่เขาคิดไว้แล้วเสียได้ เราต้องพูดกับเขา เมื่อจะพูด จึง
กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า

บุคคลผู้มีเวทตั้งพัน อาศัยแต่ความเป็นพหูสูต
นั้น ยังไม่บรรลุจรณธรรมแล้ว จะพ้นจากทุกข์ไปไม่
ได้ อาตมภาพย่อมสำคัญว่าเวททั้งหลายก็ย่อมไม่มีผล
จรณธรรมอันมีความสำรวมเท่านั้นเป็นความจริง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อผลา ความว่า ในวาทะของท่าน เวท
ทั้งหลายและศิลปะที่เหลือ ย่อมถึงความไม่มีผล เพราะฉะนั้น จะเรียนเวท
และศิลปะเหล่านั้นไปทำไม จรณะกับการสำรวมศีลเท่านั้น จึงสำเร็จเป็นสัจจะ
อันหนึ่ง.
ลำดับนั้น ปุโรหิตกล่าวคาถาว่า

เวททั้งหลายจะไม่มีผลก็หามิได้ จรณธรรมอันมี
ความสำรวมนั้นนั่นแลเป็นความจริง แต่บุคคลเรียน
เวททั้งหลายแล้ว ย่อมได้รับเกียรติคุณ ท่านผู้ฝึกฝน
ตนด้วยจรณธรรมแล้ว ย่อมบรรลุสันติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาเหว ความว่า เราไม่ได้กล่าวว่า
เวททั้งหลายไม่มีผล ก็แต่ว่า จรณธรรมพร้อมกันกับการสำรวม เป็นความ
จริงทีเดียว คือเป็นสภาวะอันสูงสุด เพราะเหตุนั้นแล จึงสามารถพ้น
จากทุกข์ได้. บทว่า สนฺตึ ปาปุณาติ ความว่า เมื่อบุคคลฝึกตนด้วย
จรณธรรมกล่าวคือสมาบัติ ย่อมถึงพระนิพพาน อันกระทำความสงบแห่ง
หทัย.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 38, 39, 40, 41, 42, 43, 44 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร