วันเวลาปัจจุบัน 26 ก.ค. 2025, 14:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 39, 40, 41, 42, 43, 44, 45 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อุททาลกะ ได้ฟังดังนั้นแล้วคิดว่า เราไม่อาจโต้กับปุโรหิตนี้ ด้วย
อำนาจเป็นฝ่ายแย้งได้ ธรรมดาบุคคลที่จะไม่ทำความไยดีในคำที่ถูกกล่าวไม่
มีเลย เราต้องบอกความเป็นลูกแก่เขา จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า

บุตรที่เกิดแต่มารดาบิดาและเผ่าพันธุ์ใด อันบุตร
จะต้องเลี้ยงดู อาตมภาพเป็นคน ๆ นั้นแหละ มีชื่อว่า
อุททาลกะ เป็นเชื้อสายของวงค์ตระกูลโสตถิยะแห่ง
ท่านผู้เจริญ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภจฺจา ความว่า บิดามารดาและพวกพ้อง
ที่เหลือ เป็นผู้ได้นามว่า เป็นผู้อันบุตรต้องเลี้ยงดู อาตมภาพก็เป็นบุตร
ผู้นั้นแหละ ที่จริงตนนั้นแหละย่อมเกิดเพื่อตนได้ แม้อาตมภาพก็เกิดแล้วที่
โคนไม้คูน เพราะท่าน ท่านกล่าวตั้งชื่อไว้แล้วทีเดียว อาตมภาพชื่ออุททาลกะ
นะท่านผู้เจริญ.

เมื่อท่านปุโรหิตถามว่า แน่หรือคุณชื่ออุททาลกะ ท่านตอบว่า แน่ซิ
ถามต่อไปว่า ข้าพเจ้าให้เครื่องหมายไว้แก่มารดาของท่าน เครื่องหมายนั้น
ไปไหนเล่า ตอบว่า นี่พราหมณ์ พลางวางแหวนลงในมือของท่าน. พราหมณ์
จำแหวนได้แต่ยังกล่าวว่า คุณเป็นพราหมณ์ตามโอกาสที่เลือกเรียน แต่จะรู้
พราหมณธรรมละหรือ เมื่อจะถามพราหมณธรรม จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า

ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์ได้
อย่างไร เป็นพราหมณ์เต็มที่ได้อย่างไร ความดับรอบ
จะมีได้อย่างไร เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียกว่า
กระไร.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อุททาลกะเมื่อบอกแก่ท่านจึงกล่าวคาถาที่ ๗ ว่า
บุคคลเป็นพราหมณ์ ต้องบูชาไฟเป็นนิตย์ ต้อง
รดน้ำ เมื่อบูชายัญต้องยกเสาเจว็ด ผู้กระทำอย่างนี้จึง
เป็นพราหมณ์ ผู้เกษมด้วยเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงพา
กันสรรเสริญว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิรํ กตฺวา อคฺคิมาทาย ความว่า
บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ต้องก่อไฟบำเรอไฟมิให้ขาดระยะ. บทว่า อาโปสิฺจํ
ยชํ อสฺเสติ ยูปํ ความว่า เมื่อกระทำการรดน้ำ เมื่อจะบูชาสัมมาปาสยัญ
ก็ดี วาจาเปยยัญก็ดี นิรัคคลยัญก็ดี ต้องให้ยกเจว็ดทองขึ้นทำ อย่างนี้จึงจะ
เป็นพราหมณ์ผู้ถึงความเกษม. บทว่า เขมี ได้แก่ ถึงความเกษม. บทว่า
อมาปยึสุ ความว่า ก็ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ชนทั้งหลาย ย่อมพากันเรียกว่า
ผู้ดำรงอยู่ในธรรม.

ปุโรหิตได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อติเตียนพราหมณ์ตามที่เขากล่าวจึงกล่าว
คาถาที่ ๘ ว่า
ความหมดจด ย่อมไม่มีด้วยการรดน้ำ อนึ่ง
พราหมณ์จะเป็นพราหมณ์เต็มที่ ด้วยการรดน้ำก็หาไม่
ขันติและโสรัจจะย่อมมีไม่ได้ ทั้งผู้นั้นจะเป็นผู้ดับรอบ
ก็หามิได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสจเนน ความว่า ปุโรหิตแสดง
พราหมณธรรมทั้งหลายที่เขากล่าวข้อเดียวคือ ด้วยการรดน้ำ ห้ามเสียทุกข้อไป
ข้อนี้มีอธิบายว่า อันความหมดจดมีไม่ได้เลย ด้วยการบำเรอไฟ ด้วยการรดน้ำ
หรือด้วยฆ่าสัตว์บูชายัญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้จะเป็นพราหมณ์ผู้บริบูรณ์สิ้นเชิง
ก็มิได้ ความอดทนคือความอดกลั้นจะมีไม่ได้ ความสงบเสงี่ยมคือศีล จะมีไม่
ได้และจะชื่อว่าเป็นผู้ดับโดยรอบเพราะความดับเสียรอบด้านซึ่งกิเลส ก็ไม่ได้.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น อุททาลกะ เมื่อจะถามว่า ถ้าว่าไม่เป็นพราหมณ์ด้วยอย่างนี้
ละก็จะเป็นได้อย่างไรกัน จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า

ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์ได้
อย่างไร และเป็นพราหมณ์เต็มที่ได้อย่างไร ความดับ
รอบจะมีได้อย่างไร ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียกว่า
กระไร.
ฝ่ายปุโรหิต เมื่อจะกล่าวแก่เขาก็กล่าวคาถาต่อไปว่า

บุคคลผู้ไม่มีไร่นา ไม่มีพวกพ้อง ไม่ถือว่าเป็น
ของเรา ไม่มีความหวัง ไม่มีบาปคือความโลภ สิ้น
ความโลภในภพแล้ว ผู้กระทำอย่างนี้ ชื่อว่าเป็น
พราหมณ์ผู้เกษม เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงได้
พากันสรรเสริญว่าผู้ตั้งอยู่ในธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺเขตฺตพนฺธุ ได้แก่ ผู้ไม่มีไร่นา
ไม่มีพวกพ้อง. อธิบายว่า ท่านผู้เว้นแล้วจากครอบครองไร่นา บ้านตำบล
ชื่อว่า ผู้ไม่มีไร่นา เว้นขาดแล้วจากการปกครองพวกพ้องทางญาติ พวกพ้อง
ทางมิตร พวกพ้องทางสหาย และพวกพ้องทางศิลปะชื่อว่าผู้ไม่มีพวกพ้อง

ผู้เว้นแล้วจากการถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิในสัตว์และสังขาร
ทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ไม่ถือว่าของเรา ผู้เว้นแล้วจากความหวังในลาภ ในทรัพย์
ในบุตรและในชีวิต ชื่อว่าผู้หมดความหวัง เว้นแล้วจากความโลภอันเป็นบาป
ได้แก่ความโลภ ในฐานะอันไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่าผู้หมดบาปคือความโลภ สิ้น
ความยินดีในภพแล้ว ชื่อว่าผู้สิ้นความโลภในภพแล้ว.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น อุททาลกะกล่าวคาถาว่า
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว
ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุก ๆคนเป็นผู้เย็นแล้ว
ยังจะมีคนดีคนเลวอีกหรือไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ เสยฺโยว ปาปิโย ความว่า
อุททาลกะถามว่า กษัตริย์เป็นต้นเหล่านี้ ทุกคนย่อมมีคุณสมบัติคือความเป็น
ผู้แช่มชื่นได้ทั้งนั้น ก็เมื่อเป็นอย่างนี้กันแล้ว ความต่ำความสูงอย่างนี้ว่า ผู้นี้
ดีกว่า ผู้นี้เลวกว่า มีหรือไม่มี.

ลำดับนั้น เพื่อจะชี้แจงว่า จำเดิมแต่บรรลุพระอรหัตไป ขึ้นชื่อว่า
ความต่ำความสูงย่อมไม่มีแก่เขา พราหมณ์กล่าวคาถาว่า
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตน
แล้วย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุก ๆ คนเป็นผู้เย็น
แล้ว ย่อมไม่มีคนดีคนเลวเลย.

ลำดับนั้น เมื่ออุททาลกะจะติเตียนท่านปุโรหิตนั้น จึงกล่าวสองคาถาว่า
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว
ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุก ๆ คนเป็นผู้เย็นแล้ว
ย่อมไม่มีคนดีคนเลวเลย เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านชื่อว่า
ทำลายความเป็นเชื้อสายแห่งตระกูลโสตถิยะ จะ
ประพฤติเพศพราหมณ์ ที่เขาสรรเสริญกันอยู่ทำไม.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
คาถานั้นมีอรรถาธิบายว่า แม้นว่าความพิเศษของผู้มีคุณเหล่านั้นไม่
มีเลยและย่อมเป็นวรรณะเดียวกันได้ละก็ เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านก็กำลังทำลาย
ความเป็นผู้อุภโตสุชาตเสีย ชื่อว่ากำลังประพฤติทำลายความเป็นพราหมณ์ลง
เสมอกับจัณฑาล ทำลายความเป็นเชื้อสายแห่งสกุลโสตถิยะเสียสิ้น.

ครั้งนั้นท่านปุโรหิตจะเปรียบเทียบให้เขาเข้าใจ จึงกล่าวสองคาถาว่า
วิมานที่เขาคลุมด้วยผ้ามีสีต่าง ๆ กัน เงาแห่งผ้า
เหล่านั้นย่อมเป็นสีเดียวกันหมด สีที่ย้อมนั้น ย่อมไม่
เกิดเป็นสีฉันใด ในมนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น เมื่อใด
มาณพบริสุทธิ์ เมื่อนั้นมาณพเหล่านั้นเป็นผู้มีวัตรดี
เพราะรู้ทั่วถึงธรรม ย่อมละชาติของตนได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิมานํ มีอรรถาธิบายว่า วิมานหมายถึง
เรือนหรือมณฑป. บทว่า ฉายา ความว่า ที่มุงด้วยผ้าย้อมสีต่าง ๆ กัน
แสงฉายของผ้าเหล่านั้นจะเหลื่อมกันไม่ได้ สีที่ย้อมต่าง ๆ กันนั้น ย่อมไม่เป็น
สีวิจิตรไป แสงฉายทั้งหมดย่อมเป็นสีเดียวกันทั้งนั้น. บทว่า เอวเมว ความ
ว่า แม้ในหมู่มนุษย์ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน พวกพราหมณ์ไม่มีความรู้บาง

พวกร่วมกันบัญญัติวัณณะ ๔ ไว้โดยหาการกระทำมิได้เลย เธออย่าถือว่าข้อนี้มี
อยู่เลย กาลใดท่านผู้บัณฑิตในโลกนี้ผุดผ่องด้วยอริยมรรค กาลนั้นบุรุษบัณฑิต
มีวัตรดี คือ มีศีลเพราะทราบนิพพานธรรมตามที่ท่านเหล่านั้นบรรลุแล้ว
ท่านเหล่านั้นย่อมเปลื้องชาติของตนเสีย เพราะว่าตั้งแต่บรรลุพระนิพพานไป
ขึ้นชื่อว่าชาติก็หาประโยชน์มิได้เลย.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อุททาลกะไม่สามารถ จะนำปัญหามาถามอีกได้ ก็นั่งจำนน. ทีนั้น
ท่านพราหมณ์จึงกราบทูลถึงเขากะพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช พวกนี้ทั้งหมด
เป็นผู้หลอกลวง จักพากันทำลายชมพูทวีปทั้งสิ้นเสียด้วย ความหลอกลวง
เป็นแท้ พระองค์โปรดให้อุททาลกะสึกเสีย ตั้งให้เป็นปุโรหิต ที่เหลือเล่าก็

โปรดให้สึกเสีย พระราชทานโล่และอาวุธ โปรดให้เป็นเสวกเสียเถิด พระราชา
ตรัสว่า ดีละ ท่านอาจารย์ ได้ทรงกระทำอย่างนั้นแล้ว. อุททาลกะเป็นข้าเฝ้า
พระราชาไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนเธอก็เคยหลอกลวงเหมือนกัน
ทรงประชุมชาดกว่า อุททาลกะในครั้งนั้นได้มาเป็นภิกษุผู้หลอกลวง
พระราชาได้มาเป็นอานนท์ ส่วนปุโรหิตได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาอุททาลกชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระ-
ปรารภภิกษุผู้กระสัน ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อสฺสํ ควํ รชฏํ ชาตรูปํ
ดังนี้.

ก็เรื่องปัจจุบันจักแจ่มแจ้งในกุสราชชาดก แต่ว่าในกาลครั้งนั้น
พระศาสดาตรัสถามพระภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอเป็นผู้กระสัน
จริงหรือ ครั้นภิกษุนั้นรับว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัสถามต่อไปว่า อาศัยอะไร
เมื่อทูลว่า กิเลสพระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบวชในศาสนาอันมีธรรม

เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้เห็นปานนี้ เหตุไรยังจะอาศัยกิเลสกระสันอยู่เล่า
บัณฑิตในครั้งก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติบวชในลัทธิเป็นพาเหียร ยัง
พากันปรารภถึงวัตถุกาม และกิเลสกามกระทำได้เป็นคำสบถอยู่ได้เลย ทรง
นำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ผู้มหาศาล มีสมบัติ
๘๐ โกฏิ. พวกญาติพากันขนานนามว่า มหากาญจนกุมาร. ครั้นเมื่อท่าน
เดินได้ ก็เกิดบุตรคนอื่นอีกคนหนึ่ง พวกญาติขนานนามว่า อุปกาญจนกุมาร
โดยลำดับอย่างนี้ ได้มีบุตรถึง ๗ คน. แต่คนสุดท้องเป็นธิดาคนหนึ่ง พวก

ญาติขนานนามว่า กาญจนเทวี. มหากาญจนกุมารโตแล้วเรียนศิลปะทั้งปวง
มาจากเมืองตักกศิลา. ครั้งนั้นมารดาบิดาปรารถนาจะผูกพันท่านไว้ด้วยฆราวาส
พูดกันว่า เราพึงสู่ขอทาริกาจากสกุลที่มีกำเนิดเสมอกับตนให้เจ้า เจ้าจงดำรง
ฆราวาสเถิด. ท่านบอกว่า คุณพ่อคุณแม่ครับ ข้าพเจ้าไม่ต้องการครองเรือน
เลย เพราะภพทั้ง ๓ ปรากฏแก่ข้าพเจ้า ว่ามีภัยน่าสะพรึงกลัวเหมือนไฟติดอยู่

ทั่ว ๆ ไป เป็นเครื่องจองจำเหมือนเรือนจำ เป็นของพึงเกลียดชังอย่างยิ่ง
เหมือนกับแผ่นดิน อันเป็นที่เทโสโครก ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเมถุนธรรมแม้แต่
ความฝัน บุตรคนอื่น ๆ ของท่านมีอยู่ โปรดบอกให้เขาครองเรือนต่อไปเถิด
แม้จะถูกอ้อนวอนบ่อย ๆ แม้จะถูกท่านบิดามารดาส่งพวกสหายไปอ้อนวอนก็

คงไม่ปรารถนาเลย. ครั้งนั้นพวกสหายพากันถามท่านว่า เพื่อนเอ๋ยก็แก่
ปรารถนาอะไรเล่าจึงไม่อยากจะบริโภคกามคุณเลย. ท่านบอกอัธยาศัยในการ
ออกจากกามแก่พวกนั้น มารดาบิดาฟังเรื่องนั้นแล้วก็ขอร้องบุตรที่เหลือ. แม้


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บุตรเหล่านั้นต่างก็ไม่ต้องการ. กาญจนเทวีก็ไม่ต้องการเหมือนกัน. อยู่มาไม่ช้า
มารดาบิดาก็พากันถึงแก่กรรม. มหากาญจนบัณฑิต ครั้นกระทำกิจที่ต้องทำให้
แก่มารดาบิดาแล้ว ก็ให้มหาทานแก่คนกำพร้าและคนขัดสนด้วยทรัพย์ ๘๐ โกฎิ
แล้วชวนน้องชาย ๖ คนและน้องสาว ทาสชายคนหนึ่ง ทาสหญิงคนหนึ่ง และ
สหายคนหนึ่ง ออกมหาภิเนษกรมณ์เข้าสู่ป่าหิมพานต์. ท่านเหล่านั้นอาศัยสระ

ปทุมในป่าหิมพานต์นั้นสร้างอาศรม ณ ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์แล้วพากันบวช
เลี้ยงชีพด้วยมูลผลาหารในป่า. ท่านเหล่านั้นไปป่าก็ไปร่วมกัน ผู้หนึ่งพบต้นไม้
หรือใบไม้ ณ ที่ใด ก็เรียกคนอื่น ๆ ไป ณ ที่นั้น ต่างพูดกันถึงเรื่องที่เห็น
ที่ได้ยินเป็นต้นไปพลาง เลือกเก็บผลไม้ใบไม้ไปพลาง เป็นเหมือนที่ทำงาน

ของชาวบ้าน. ดาบสมหากาญจน์ผู้อาจารย์ ดำริว่า อันการเที่ยวแสวงหาผลาผล
ด้วยอำนาจความคะนองเช่นนี้ ดูไม่เหมาะแก่พวกเราผู้ทิ้งทรัพย์ ๘๐ โกฏิมาบวช
เสียเลย ตั้งแต่นี้ไปเราคนเดียวจักหาผลไม้มา. พอถึงอาศรมแล้วท่านก็เรียก
ดาบสเหล่านั้นทุกคนมาประชุมกันในเวลาเย็น แจ้งเรื่องนั้นให้ทราบแล้ว

กล่าวว่า พวกเธอจงอยู่ทำสมณธรรมกันในที่นี้แหละ ฉันจักไปหาผลาผลมา.
ครั้งนั้นดาบสมีอุปกาญจนะเป็นต้น พากันกล่าวว่า ท่านอาจารย์ขอรับ พวก
ข้าพเจ้าพากันอาศัยท่านบวชแล้ว ท่านจงกระทำสมณธรรม ณ ที่นี้แหละ
น้องสาวของพวกเราก็ต้องอยู่ที่นี้เหมือนกัน ทาสีเล่าก็ต้องอยู่ในสำนักของ

น้องสาวนั้น พวกข้าพเจ้า ๘ คนจักผลัดกันไปนำผลาผลมา ท่านทั้งสามคน
เป็นผู้พ้นวาระ แล้วรับปฏิญญา. ตั้งแต่บัดนั้น คนทั้ง ๘ ก็ผลัดกันวาระละ
หนึ่งคน หาผลาผลมา. ที่เหลือคงอยู่ในศาลาของตนนั้นเอง ไม่จำเป็นก็ไม่
ได้รวมกัน. ผู้ที่ถึงวาระหาผลาผลมาแล้ว ก็แบ่งเป็น ๑๑ ส่วน เหนือแผ่นหิน

ซึ่งมีอยู่แผ่นหนึ่ง เสร็จแล้วตีระฆัง ถือเอาส่วนแบ่งของตนเข้าไปที่อยู่. ดาบส
ที่เหลือพากันออกมาด้วยเสียงระฆังอันเป็นสัญญา ไม่กระทำเสียงเอะอะ เดินไป
ด้วยท่าทางอันแสดงความเคารพ ถือเอาส่วนแบ่งที่จัดไว้เพื่อตน แล้วไปที่อยู่ฉัน


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แล้วทำสมณธรรมต่อไป. กาลต่อมา ดาบสทั้งหลายนำเหง้าบัวมาฉัน พากันมีตบะ
รุ่งเรือง มีตบะแก่กล้า ชำนะอินทรีย์ได้อย่างยอดเยี่ยม ต่างกระทำกสิณกรรมอยู่.

ครั้งนั้น พิภพของท้าวสักกะหวั่นด้วยเดชแห่งศีลของดาบสเหล่านั้น.
ท้าวสักกะเล่าก็ยังทรงระแวงอยู่นั้นเองว่า ฤาษีเหล่านี้ยังน้อมใจไปในกามอยู่
หรือหามิได้หนอ. ท้าวเธอทรงดำริว่า เราจักคอยจับฤาษีเหล่านี้ แล้วสำแดง
อานุภาพซ่อนส่วนแบ่งของพระมหาสัตว์เสียตลอด ๓ วัน. วันแรกพระมหาสัตว์
ไม่เห็นส่วนแบ่งก็คิดว่า คงจักลืมส่วนแบ่งของเราเสียแล้ว ในวันที่สองคิดว่า

เราคงมีโทษ ชะรอยจะไม่ตั้งส่วนแบ่งไว้เพื่อเราด้วยต้องการจะประณาม ในวัน
ที่สามคิดว่า เหตุการณ์อะไรเล่านะถึงไม่ตั้งส่วนแบ่งแก่เรา ถ้าโทษของเราจักมี
เราต้องขอให้งดโทษ แล้วก็ตีระฆังเป็นสัญญาในเวลาเย็น. ดาบสทั้งหมดประชุม
กัน พูดกันว่าใครตีระฆัง. ท่านตอบว่า ฉันเอง. พ่อคุณทั้งหลายพากันถามว่า

เพราะเหตุไรเล่า ขอรับท่านอาจารย์. ตอบว่า พ่อคุณทั้งหลาย ในวันที่ ๓ ใครหา
ผลาผลมา. ดาบสท่านหนึ่งลุกขึ้นยืนกราบเรียนว่า ข้าพเจ้า ขอรับท่านอาจารย์.
ถามว่า เมื่อเธอแบ่งส่วนที่เหลือ แบ่งส่วนเผื่อฉันหรือไม่เล่า. ตอบว่า
แบ่งครับท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าแบ่งไว้เป็นส่วนที่เจริญขอรับ. ถามว่า เมื่อ
วานเล่าเวรใครไปหามา. ท่านผู้อื่นลุกขึ้นยืนกราบเรียนว่า ข้าพเจ้าขอรับ.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ถามว่า เมื่อเธอแบ่งส่วนนึกถึงฉันหรือไม่. ตอบว่า ข้าพเจ้าตั้งส่วนอัน
เจริญไว้เผื่อท่านครับ. ถามว่า วันนี้เล่าใครหามา. อีกท่านหนึ่งลุกขึ้นยืน
กราบเรียนว่า ข้าพเจ้า. ถามว่า เมื่อเธอแบ่งส่วนได้นึกถึงฉันหรือไม่.
ตอบว่า ข้าพเจ้าตั้งส่วนที่เจริญไว้เพื่อท่านแล้วครับ. ท่านกล่าวว่า พ่อคุณ

ทั้งหลาย ฉันไม่ได้รับส่วนแบ่งสามวันทั้งวันนี้ ในวันแรกฉันไม่เห็นส่วนแบ่ง
คิดว่า ผู้แบ่งส่วนคงจักลืมฉันเสีย ในวันที่สองคิดว่า ฉันคงมีโทษอะไร ๆส่วน
วันนี้คิดว่า ถ้าโทษของฉันมี ฉันจักขอขมา จึงเรียกเธอทั้งหลายมาประชุมด้วย
ตีระฆังเป็นสัญญา เธอทั้งหลายต่างบอกว่า พวกเราพากันแบ่งส่วนเหง้าบัว

เหล่านี้ แล้วฉันไม่ได้ ควรจะรู้ตัวผู้ขโมยกินเหง้าบัวเหล่านั้น ขึ้นชื่อว่าการ
ขโมยเพียงเหง้าบัวก็ไม่เหมาะแก่ผู้ที่ละกามแล้วบวช. ดาบสเหล่านั้นฟังคำ
ของท่านแล้ว ต่างก็มีจิตเสียวสยองกันทั่วที่เดียวว่า โอ กรรมหนักจริง.

เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้อันใหญ่ในป่า ณ อาศรมบทนั้น ลงมาจากคาคบ
นั่งอยู่ในสำนักของดาบสเหล่านั้นเหมือนกัน. ช้างเชือกหนึ่งถูกจำปลอก ไม่
สามารถทนทุกข์ได้ ทำลายปลอกหนีเข้าป่าไป ได้เคยมาไหว้คณะฤาษีตามกาล
สมควร. แม้ช้างนั้นก็มายืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ยังมีลิงตัวหนึ่งเคยถูกให้เล่นกับงู

รอดมาได้จากมือหมองู เข้าป่าอาศัยอยู่ใกล้อาศรมนั้นเอง. วันนั้นลิงแม้นั้นก็นั่ง
ไหว้คณะฤาษีอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ท้าวสักกะดำริว่า จักคอยจับคณะฤาษีก็ไม่ได้
สำแดงกายให้ปรากฏยืนอยู่ในสำนักของดาบสเหล่านั้น. ขณะนั้นอุปกาญจน-
ดาบสน้องชายของพระโพธิสัตว์ ลุกจากอาสนะไหว้พระโพธิสัตว์แล้ว แสดง

ความนอบน้อมแก่ดาบสที่เหลือถามว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่ได้ปรารถนา
สิ่งอื่นเลย จะได้เพื่อจะชำระตนเองหรือไม่. ท่านตอบว่า ได้จ๊ะ. อุปกาญจน-
ดาบสนั้น ยืนในท่ามกลางคณะฤาษี เมื่อจะกระทำสบถว่า ถ้าข้าพเจ้าฉันเหง้าบัว
ของท่านแล้ว ขอให้เป็นอย่างนี้เถิด จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของ
ท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงได้ ม้า วัว เงิน ทอง และ
ภรรยาที่น่าชอบใจ จงพร้อมพรั่งด้วยบุตรและภรรยา
มากมายเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสํ ควํ นี้ พึงทราบว่า เขากล่าว
ติเตียนวัตถุกามทั้งหลายว่า ปิยวัตถุมีประมาณเท่าใด ความโศกและความทุกข์
มีประมาณเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น เพราะความวิปโยคเหล่านั้น.

คณะฤาษีได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านผู้นิรทุกข์
คำสบถของท่านหนักยิ่งปานไร พากันปิดหู. ส่วนพระโพธิสัตว์กล่าวว่า
พ่อคุณเอ๋ย คำสบถของเธอหนักยิ่งนัก เธอไม่ได้ฉัน จงนั่ง ณ อาสนะสำหรับ
เธอเถิด. เมื่ออุปกาญจนดาบสทำสบถนั่งลงแล้ว น้องคนที่ ๒ ลุกขึ้นไหว้พระ-
มหาสัตว์ เมื่อจะชำระตนด้วยคำสบถ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของท่าน
ไป ขอให้ผู้นั้นจงทัดทรงระเบียบ ดอกไม้ เครื่อง
ลูบไล้กระแจะจันทน์ แคว้นกาสี จงเป็นผู้มากไปด้วย
บุตร จงกระทำความเพ่งเล็งอย่างแรงกล้า ในกาม
ทั้งหลายเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติพฺพํ ความว่า จงกระทำความเพ่งเล็ง
อย่างแรงกล้า ในวัตถุกามและกิเลสกาม. คำนี้ เขากล่าวด้วยอำนาจการปฏิเสธ
ทุกข์เท่านั้นว่า ผู้ใดมีความเพ่งเล็งอย่างแรงกล้าในวัตถุกามและกิเลสกามเหล่านั้น
ผู้นั้นย่อมได้รับทุกข์อย่างมหันต์ เพราะความวิปโยคเหล่านั้น.
เมื่อน้องชายที่ ๒ นั่งแล้ว ดาบสที่เหลือต่างก็ได้กล่าวคาถาคนละ
คาถา ตามควรแก่อัธยาศัยของตนว่า

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของ
ท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงเป็นคฤหัสถ์มีธัญชาติมากมาย
สมบูรณ์ด้วยกสิกรรม มียศ จงได้บุตรทั้งหลาย จงมี
ทรัพย์ ได้กามคุณทุกอย่าง จงอยู่ครองเรือนอย่างไม่
เห็นความเสื่อมเลย.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของท่าน
ไป ขอให้ผู้นั้นจงปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์บรมราชา-
ธิราช มีกำลัง มียศศักดิ์ จงครอบครองแผ่นดินมี
มหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขตเถิด.

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเหง้าบัวของท่านไป
ขอให้ผู้นั้นจงเป็นพราหมณ์ มัวประกอบในทางทำนาย
ฤกษยาม อย่าได้คลายความยินดีในตำแหน่ง ท่านผู้
เป็นเจ้าแคว้น ผู้มียศ จงบูชาผู้นั้นเถิด.
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของท่าน
ไป ขอชาวโลกทั้งมวลจงสำคัญผู้นั้นว่า เป็นผู้เชี่ยว-
ชาญเวทมนต์ทั้งปวงผู้เรืองตบะ ชาวชนบททั้งหลาย
ทราบดีแล้ว จงบูชาผู้นั้นเถิด.

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของท่าน
ไป ขอให้ผู้นั้นจงครอบครองบ้านส่วยอันพระราชา
ทรงพระราชทานให้ เป็นบ้านที่มั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วย
เหตุ ๔ ประการ ดุจท้าววาสวะพระราชทานให้ อย่า
ได้คลายความยินดีจนกระทั่งถึงความตายเถิด.

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของท่าน
ไป ขอให้ผู้นั้นจงเป็นนายบ้าน บันเทิงอยู่ด้วยความ
ฟ้อนรำขับร้องในท่ามกลางสหาย อย่าได้รับความ
พินาศอย่างใดอย่างหนึ่ง จากพระราชาเลย.
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หญิงใดลักเอาเหง้าบัวของ
ท่านไป ขอให้พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นเอกราช ทรง
ปราบปรามศัตรูได้ทั่วพื้นปฐพี ทรงสถาปนาให้หญิง
นั้นเป็นยอดสตรีจำนวนพัน ขอหญิงนั้นจงเป็นมเหสี
ผู้ประเสริฐกว่านางสนมทั้งหลายเถิด.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หญิงใดลักเอาเหง้าบัวของ
ท่านไป ขอให้หญิงนั้นจงเป็นทาสี ไม่สะดุ้งสะเทือน
กินของดี ๆ ในท่ามกลางคนทั้งปวงที่มาประชุมกันอยู่
จงเที่ยวโออวดลาภอยู่เถิด.

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของท่าน
ไป ขอให้ผู้นั้นเป็นเจ้าอาวาสในวัดใหญ่ ๆ จงเป็นผู้
ประกอบนวกรรมในเมืองกชังคละ จงกระทำหน้าต่าง
ตลอดวันเถิด.

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ช้างเชือกใดลักเอาเหง้าบัว
ของท่านไป ขอให้ช้างเชือกนั้นจงถูกคล้องด้วยบ่วง
บาศตั้งร้อย จงถูกนำออกจากป่า อันน่ารื่นรมย์มายัง
ราชธานี จงถูกทิ่มแทงด้วยปฏักและสับด้วยขอเถิด.
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ลิงตัวใดลักเอาเหง้าบัว
ของท่านไป ขอให้ลิงตัวนั้นมีดอกไม้สวมคอ ถูกเจาะหู
ด้วยดีบุก ถูกเฆี่ยนด้วยไม้เรียว เมื่อฝึกหัดให้เล่นงู
เข้าไปใกล้ปากงู ถูกมัดตระเวนเที่ยวไปตามตรอกเถิด.

ในบรรดาคาถาเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓ ที่น้องชาย
คนที่ ๓ ของพระโพธิสัตว์กล่าวเป็นคำสบถ. บทว่า กสิมา ได้แก่ กสิกรรม
ที่สมบูรณ์. บทว่า ปุตฺเต คิหี ธินิมา สพฺพกาเม ความว่า ให้ผู้นั้น
เป็นชาวนามีกสิกรรมอันสมบูรณ์ จงได้บุตรมาก มีเหย้าเรือน มีทรัพย์ มีแก้ว

๗ ประการ ได้สิ่งที่น่าใคร่มีรูปเป็นต้นทุกประเภท. บทว่า วยํ อปสฺสํ ความว่า
จงไม่เห็นความเสื่อมของตนแม้จะสมควรแก่บรรพชาในเวลาแก่ จงครองเรือน
อันเพียบพร้อมด้วยเบญจกามคุณเรื่อยไปดังนี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่าผู้ที่เพียบ
พร้อมด้วยเบญจกามคุณนั้น ย่อมถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ด้วยความพลัด
พรากจากกามคุณ. ในคาถาที่น้องชายคนที่ ๔ กล่าว บทว่า ราชาธิราชา ได้แก่


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เป็นพระราชาผู้ยิ่งในระหว่างแห่งพระราชาทั้งหลายนี้ท่านแสดงโทษในราชสมบัติ
ว่า ธรรมดาว่าท่านผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อความยิ่งใหญ่พลัดพรากไป ย่อมเกิดทุกข์อย่าง
ใหญ่หลวง. ในคาถาที่น้องชายคนที่ ๕ กล่าว บทว่า อวีตราโค ได้แก่ ผู้มีตัณหา
ด้วยตัณหาอันเป็นที่ตั้งของปุโรหิต ทั้งนี้ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า ความเป็นปุโรหิต
ของพราหมณ์ปุโรหิตถูกมฤตยูกลืนเสียเท่านั้นความโทมนัสใหญ่หลวงย่อมเกิดขึ้น.

ในคาถาที่น้องชายคนที่ ๖ กล่าว บทว่า ตปสฺสีนํ ความว่า ชาวโลก
ทั้งปวงจงสำคัญเขาว่า เป็นผู้มีตบะ สมบูรณ์ด้วยศีล ท่านกล่าวทั้งนี้ด้วยสามารถ
ติเตียนลาภสักการะว่า ความโทมนัสใหญ่หลวงย่อมเกิดเพราะลาภสักการะปราศ
ไปเสีย. ในคาถาที่ดาบสผู้เป็นสหายกล่าว บทว่า จตุสฺสทํ ความว่า ผู้ใด

ลักเหง้าบัวของท่านไป ผู้นั้นจงครอบครองบ้านส่วยด้วยอุดมเหตุ ๔ สถาน คือ
ด้วยผู้คน เพราะเป็นผู้มีคนคับคั่ง ด้วยข้าวเปลือก เพราะข้าวเปลือกมากมาย
ด้วยฟืนหาได้ง่าย และด้วยน้ำ เพราะมีน้ำสมบูรณ์มั่งคั่ง อันพระราชาทรง
พระราชทาน. บทว่า วาสเวน ความว่า อันไม่หวั่นไหว ดุจท้าววาสวะทรง

ประทาน คือ อันพระราชานั้นพระราชทานแล้ว เพราะให้พระราชาพระองค์
นั้นทรงโปรดปราน ด้วยอานุภาพแห่งพรที่ได้จากท้าววาสวะ. บทว่า อวีตราโค
ความว่า จงมีราคะไม่ไปปราศเลย คือยังจมอยู่ในปลักกาม เหมือนสุกรเป็นต้น
จมปลักตมอยู่ฉะนั้น ตกไปสู่ความตายเถิด. ดาบสผู้สหายนั้น เมื่อแถลงโทษ
ของกามทั้งหลาย จึงกล่าวอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2019, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในคาถาที่ทาสกล่าว บทว่า คามณี ความว่า เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ทาสแม้นี้ก็ติเตียนกามทั้งหลายเหมือนกัน จึงกล่าวอย่างนี้. ในคาถาที่กาญจนเทวี
กล่าว บทว่า ยํ ได้แก่ หญิงใด. บทว่า เอกราชา คืออัครราชา. บทว่า
อิตฺถีสหสฺสานํ ท่านกล่าวด้วยความสละสลวยแห่งคำ อธิบายว่า ทรงตั้งไว้ใน

ตำแหน่งที่เลิศกว่าหญิง ๑๖,๐๐๐ นาง. บทว่า สีมนฺตินีนํ ความว่า แห่งหญิง
ผู้ประเสริฐกว่านางสนมทั้งหลาย. กาญจนเทวีนั้น แม้ดำรงอยู่ในความเป็นหญิง
ก็ติเตียนกามทั้งหลาย ดุจกองคูถที่มีกลิ่นเหม็นฉะนั้น จึงได้กล่าวอย่างนี้ด้วย
ประการฉะนี้. ในคาถาที่ทาสีกล่าว บทว่า สพฺพสมาคตานํ ความว่า
ให้ผู้นั้นเป็นทาสีนั่งไม่หวั่นไหวไม่สะดุ้งสะเทือน บริโภคของมีรสดี ในท่าม-

กลางคนทั้งปวงที่ประชุมกันได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่า การนั่งกินในสำนักของเจ้านาย
ทั้งหลาย เป็นเรื่องอัปรีย์ของพวกทาสี เหตุนั้น นางทาสีนั้น จึงกล่าวอย่างนี้
เพราะเป็นเรื่องอัปรีย์ของตน. บทว่า จราตุ แปลว่า จงประพฤติ. บทว่า
ปรลาเภน วิกตถมานา ความว่า กระทำกรรมแห่งผู้ล่อลวงเพราะเหตุแห่ง
ลาภ ยังลาภสักการะให้เกิดขึ้นเถิด. นางแม้ดำรงอยู่ในความเป็นทาสี ก็ยัง
ติเตียนวัตถุแห่งกิเลสเหมือนกันด้วยคาถานี้.

ในคาถาที่เทวดากล่าว บทว่า อาวาสิโก ความว่า ผู้ปกครองอาวาส.
บทว่า กชงฺคลายํ ความว่า ในนครมีชื่ออย่างนั้น ได้ยินว่า ในนครนั้น
มีทัพสัมภาระหาได้ง่าย. บทว่า อาโลกสนฺธึ ทิวสา ความว่า จงกระทำ
บานหน้าต่างตลอดวันเถิด ได้ยินว่า เทวบุตรนั้น ในกาลแห่งพระพุทธกัสสป

ได้เป็นพระเถระในสงฆ์ ในมหาวิหารเก่า มีบริเวณ ๑ โยชน์ ติดกับเมือง
กชังคละ เมื่อกระทำนวกรรมในวิหารเก่านั่นแล ต้องเสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวง
เหตุนั้นจึงปรารภถึงทุกข์นั้นแล จึงได้กล่าวอย่างนี้.


* ความสามัคคีคือกำลัง ทุกกำลังคือความแข็งแกร่งของสังคม
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 39, 40, 41, 42, 43, 44, 45 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร