วันเวลาปัจจุบัน 26 ก.ค. 2025, 14:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 41, 42, 43, 44, 45, 46, 47 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ธรรมดาว่าการประมาณของพระนาง ซึ่งแม้จะพรรณนา ๑๐๐ คาถา
๑,๐๐๐ คาถา ก็หาเพียงพอไม่ ด้วยประการฉะนี้. ในเวลาที่พระนางพรรณนาคุณ
ของตนได้ด้วยพระคาถา ๑๕ เท่านั้น ท้าวสักกะก็ตัดพระดำรัสของพระนางเสีย
เพราะท้าวเธอมีกิจที่ต้องกระทำมาก เมื่อจะทรงสรรเสริญพระนางว่า คุณของ
พระนางจริงทั้งนั้น จึงตรัส ๒ คาถาว่า

ดูก่อนราชบุตรี ผู้เรืองยศงดงาม คุณอันเป็นธรรม
เหล่านั้นมีทุกอย่าง พระราชโอรสผู้เป็นกษัตริย์ สมบูรณ์
ด้วยพระชาติ เป็นอภิชาตบุตร เรืองพระยศเป็นธรรม
ราชาแห่งชนชาววิเทหะ จงอุบัติแก่พระนาง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมคุณา ได้แก่ มีคุณตามความเป็นจริง
คือมีคุณเป็นจริง. บทว่า สํวิชฺชนฺติ ความว่า พระคุณเหล่าใดเล่าที่พระองค์
ตรัสแล้ว พระคุณเหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว สมบูรณ์เพียบพร้อมในพระองค์.
บทว่า อภิชาโต ความว่า พระราชโอรสผู้ทรงพระกำเนิดบริสุทธิ์ทั้ง ๒ ฝ่าย.
บทว่า ยสสฺสิมา ความว่า ทรงเพียบพร้อมด้วยสมบัติ คือ ยศและสมบัติ
คือบริวาร. บทว่า อุปฺปชฺชเต ความว่า บุตรเห็นปานนี้จักบังเกิดแต่พระองค์
และอย่าทรงวิตกไปเลย.

พระนางทรงสดับพระดำรัสของท้าวเธอแล้ว ทรงโสมนัส เมื่อจะ
ตรัสถามท้าวเธอได้ทรงภาษิต ๒ พระคาถาว่า
ท่านผู้มีดวงตาน่ายินดี ทรงผ้าคลุกธุลี สถิตอยู่
บนเวหาอันไม่มีสิ่งใดกั้น ได้กล่าววาจาอันเป็นที่พอใจ
จับใจของดิฉัน ท่านเป็นเทวดามาจากสวรรค์ เป็นฤาษี
ผู้มีฤทธิ์มาก หรือว่าเป็นใครมาถึงที่นี้ ขอท่านจงกล่าว
ความจริงให้ดิฉันทราบด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุมฺหิ ความว่า พระนางตรัสเรียก
อย่างนี้ ก็เพราะท้าวสักกะทรงมีพระเนตรไม่กระพริบเลย เมื่อเสด็จมาก็เสด็จ
มาด้วยเพศเป็นดาบสอันน่ายินดี โดยเป็นบรรพชิต (ท่านมาสถิตในเวหา).
บทว่า อเฆ ได้แก่ ในที่ที่ไม่มีสิ่งใดกั้น. บทว่า ยํ มยฺหํ ความว่า ท่าน

กำลังกล่าวคำอันน่าพอใจของดิฉันนี้นั่นน่ะ เป็นเทวดาจากสวรรค์มา ณ ที่นี้
หรือไม่อีกทีก็เป็นฤาษีผู้มีฤทธิ์มาก หรือในบรรดาเทพเจ้า มีท้าวสักกะเป็นต้น
ท่านเป็นเทพเจ้าองค์ไรเล่า มาปรากฏแล้ว ณ ที่นี้. บทว่า อตฺตานํ เม
ปเวทยา พระนางตรัสว่า เชิญท่านบอกความจริงให้ดิฉันทราบเถิดเจ้าค่ะ.
ท้าวสักกะ เมื่อจะตรัสบอกแก่พระนาง จึงได้ตรัส ๖ พระคาถาว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
หมู่เทวดามาประชุมกันที่สุธรรมาสภา ย่อมกราบ
ไหว้ท้าวสักกะองค์ใด ข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกะองค์นั้น
มีดวงตาพันหนึ่งมายังสำนักของท่าน หญิงเหล่าใดใน
เทวโลกเป็นผู้มีปกติประพฤติสม่ำเสมอ มีปัญญา มีศีล
มีพ่อผัวแม่ผัว เป็นเทวดายำเกรงสามี เทวดาทั้งหลาย

ผู้มิใช่มนุษย์มาเยี่ยมหญิงเช่นนั้น ผู้มีปัญญา มีกรรม
อันสะอาด เป็นหญิงมนุษย์ ดูก่อนนางผู้เจริญ ท่าน
เกิดในราชสกุลนี้ พรั่งพร้อมไปด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา
ทุกอย่าง ด้วยสุจริตธรรมที่ท่านประพฤติดีแล้วใน
ปางก่อน ดูก่อนพระราชบุตรี ก็แหละข้อนี้เป็นชัยชนะ
ในโลกทั้งสองของท่าน คือ การอุบัติในเทวโลก และ

เกียรติในชีวิตนี้ ดูก่อนพระนางสุเมธา ขอให้พระนาง
จงมีสุข ยั่งยืนนานจงรักษาธรรมไว้ในตนให้ยั่งยืนเถิด
ข้าพเจ้านี้ ขอลาไปสู่ไตรทิพย์ การพบเห็นท่าน เป็น
การพบเห็นที่ดูดดื่มใจของข้าพเจ้ายิ่งนัก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสกฺโข ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีดวงตา
ตั้ง ๑,๐๐๐ ด้วยสามารถเล็งเห็นเรื่องที่คนตั้ง ๑,๐๐๐ คน คิดกันเพียงครู่เดียว.
บทว่า อิตฺถิโย ความว่า หญิงทั้งหลายผู้มีปกติประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้
ประกอบด้วยการประพฤติสม่ำเสมอด้วยทวารทั้ง ๓. บทว่า ตาทิสาย แปลว่า
เห็นปานนั้น. บทว่า สุเมธาย ได้แก่ผู้มีปัญญาดี. บทว่า อุภยตฺถ


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
กฏคฺคโห ความว่า ข้อนี้เป็นการยึดถือชัยไว้ได้ ของท่านทั้งในอัตภาพนี้
และในอนาคต คือ บรรดาโลกนี้และโลกหน้าเหล่านั้น ในอนาคตได้แก่การ
เข้าถึงเทวโลก ในชีวิตที่กำลังเป็นไปอยู่เล่า ก็ได้เกียรติ เหตุนั้น ข้อนี้จึงชื่อว่า
เป็นการถือเอาชัยไว้ได้ในโลกทั้งสอง สุเมธา ให้นางมีสุขยืนนานเถิด จงรักษา
ธรรม (คือคุณที่มีจริงอย่างนั้น) ไว้ในตนให้ยั่งยืนเถิด ข้าพเจ้านี้ขอลาไปสู่
สรวงสวรรค์ การพบเห็นท่านเป็นการพบเห็นที่ดูดดื่มแก่ข้าพเจ้า.

ท้าวสักกะประทานโอวาทแก่พระนางว่า ก็กิจที่ต้องกระทำของข้าพเจ้า
มีอยู่ในเทวโลก เหตุนั้น ข้าพเจ้าต้องไป ท่านจงไม่ประมาทเถิดนะ แล้วเสด็จ
หลีกไป. ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่ง นฬการเทพบุตรก็จุติถือปฏิสนธิในพระครรโภทร
ของพระนาง. พระนางทรงทราบความที่พระองค์ทรงครรภ์ กราบทูลแก่
พระราชา. พระราชาประทานเครื่องผดุงครรภ์ ถ้วนกำหนดทศมาส พระนางก็

ประสูติพระโอรส. พระประยูรญาติทรงขนานพระนามพระโอรสว่า มหาปนาท
ชาวแคว้นทั้งสอง (อังคะและมคธ) พากันทิ้งเหรียญกระษาปณ์ลงที่ท้องพระ-
ลานหลวงคนละ ๑ กระษาปณ์ เพื่อให้พระราชาทรงทราบว่า เป็นค่าน้ำนม

ของพระลูกเจ้าแห่งชาวเรา. เหรียญกระษาปณ์ได้เป็นกองใหญ่โต. แม้พระราชา
จะตรัสห้าม ก็พากันกราบทูลว่า จักได้เป็นทุนรอนในเวลาที่พระลูกเจ้าของ
พวกข้าพระองค์ทรงพระเจริญ ต่างไม่รับคืนพากันหลีกไป. พระกุมารทรง

พระเจริญด้วยบริวารมากมาย ครั้นทรงถึงวัยมีพระชนม์ ๑๖ พรรษา ก็ทรง
ลุความสำเร็จในศิลปะทุกประการ. พระราชาทรงตรวจดูพระชนม์ของพระโอรส
แล้ว ตรัสกับพระเทวีว่า นางผู้เจริญในเวลาอภิเษกลูกของเราในราชสมบัติ
จักสร้างปราสาทอันน่ารื่นรมย์ให้เธอแล้วถึงทำการอภิเษก. พระนางรับพระ-


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
โองการว่า ดีแล้วพระเจ้าคะ. พระราชารับสั่งให้หาอาจารย์ในวิชาพื้นที่มา
ตรัสว่า พ่อทั้งหลาย จงคุมช่างให้สร้างปราสาทเพื่อลูกของเรา ณ ที่ไม่ห่าง
วังของเรา เราจักอภิเษกลูกของเรานั้นในราชสมบัติ. พวกอาจารย์ในวิชา
พื้นที่เหล่านั้น รับพระโองการว่า ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า
ปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอรับใส่เกล้าฯ แล้วพากันตรวจภูมิ
ประเทศ.

ขณะนั้นพิภพของท้าวสักกะสำแดงอาการร้อน. ท้าวเธอทรงทราบ
เหตุนั้น ตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมา ตรัสสั่งว่า ไปเถิดพ่อเอ๋ย จงสร้าง
ปราสาทแก้วยาว ๙ โยชน์ กว้าง ๘ โยชน์ สูง ๒๕ โยชน์ ให้แก่มหาปนาท
ราชกุมารเถิด. วิสสุกรรมเทพบุตรแปลงเพศเป็นช่าง ไปสู่สำนักของพวกช่าง

แล้วส่งพวกช่างนั้นไปเสียด้วยคำว่า พวกคุณกินข้าวเช้าแล้วค่อยมาเกิด แล้ว
ประหารแผ่นดินด้วยท่อนไม้. ทันใดนั้นเอง ปราสาท ๗ ชั้น มีขนาดดังกล่าว
แล้ว ก็ผุดขึ้น. มงคล ๓ ประการ คือ มงคลฉลองปราสาท มงคลอภิเษก
สมโภชเศวตฉัตร และอาวาหมงคล ของพระกุมารมหาปนาทได้มีคราวเดียว

กันแล. ชาวแคว้นทั้งสองพากันประชุมในสถานมงคล ให้กาลเวลาล่วงไปถึง
๗ ปี ด้วยการมหรสพฉลองมงคล. พระราชามิได้ทรงบอกให้พวกนั้นเลิกงาน
เลย. สิ่งของทั้งหมดเป็นต้นว่า ผ้าเครื่องประดับของเคี้ยวของกิน ของชน
เหล่านั้น ได้เป็นสิ่งของของราชสกุลทั้งนั้นเลย. ครั้นล่วง ๗ ปี ฝูงชนเหล่านั้น

พากันร้องทุกข์ พระสุรุจิมหาราชตรัสถามว่า นี่อะไรกันเล่า ก็พากันกราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราช เมื่อพวกข้าพระองค์พากันสมโภชการมงคล ๗ ปีผ่านไป
แล้ว ที่สุดของงานมงคลจะมีเมื่อไรเล่า พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า
ตลอดกาลถึงเท่านี้ ลูกเราไม่เคยหัวเราะเลย เมื่อใดเธอหัวเราะ เมื่อนั้นพวกเจ้า
ทั้งหลายจงพากันไปเถิด. ครั้งนั้นมหาชนเที่ยวตีกลองป่าวร้อง เชิญนักฟ้อน


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ของพระเจ้ามหาปนาทนั้นประชุม. นักฟ้อน ๖,๐๐๐ พากันมาประชุม แบ่งกัน
เป็น ๗ ส่วน พากันรำฟ้อน ก็มิอาจที่จะให้พระราชาทรงพระสรวลได้. ทั้งนี้
เพราะความที่ท้าวเธอเคยทอดพระเนตรกระบวนฟ้อนรำอันเป็นทิพย์มาช้านาน
การฟ้อนของนักฟ้อนเหล่านั้น จึงมิได้เป็นที่ต้องพระหทัย.

ครั้งนั้นจอมนักฟ้อน ๒ นาย คือ กัณฑกรรณ และปัณฑุกรรณ คิดว่า
พวกเราจะให้พระราชาทรงพระสรวลให้ได้ พากันเข้าไปในท้องพระลาน.
บรรดาจอมนักฟ้อนทั้งสองคนนั้น กัณฑกรรณให้ปลูกต้นมะม่วงใหญ่ชื่ออตุละ
ที่พระราชทวาร แล้วขว้างกลุ่มด้ายขึ้นไปให้คล้องที่กิ่งของต้นมะม่วงนั้น แล้ว

ไต่ขึ้นไปตามเส้นด้าย. ได้ยินว่า ไม้มะม่วงชื่ออตุละ เป็นต้นมะม่วงของท้าวเวส-
วัณ ครั้งนั้นพวกทาสของท้าวเวสวัณก็พากันตัดกิ่งน้อยใหญ่ของต้นมะม่วงนั้น
นั้นโค่นลงมา. นักฟ้อนที่เหลือ เก็บกิ่งเหล่านั้นกองไว้แล้วรดด้วยน้ำ.
กัณฑกรรณนั้นนุ่งห่มผ้ากรองดอกไม้ลุกขึ้นฟ้อนรำไป. พระเจ้ามหาปนาททอด
พระเนตรเห็นเขาแล้ว ก็มิได้ทรงพระสรวลเลย. ปัณฑุกรรณได้ทำเชิงตะกอน

ไม้ในท้องพระลานหลวง แล้วเดินเข้าสู่กองไฟกับบริษัทของตน. ครั้นไฟดับ
แล้ว นักฟ้อนทั้งหลายเอาน้ำรดเชิงตะกอน. ปัณฑุกรรณนั้นกับบริษัท นุ่งห่ม
ผ้ากรองดอกไม้ลุกขึ้นฟ้อนรำ. พระราชาทรงทอดพระเนตรการนั้นแล้ว คง
มิได้ทรงพระสรวลอยู่นั่นเอง. เมื่อสุดฝีมือที่จะให้พระราชาพระองค์นั้นทรง

พระสรวล ฝูงคนก็พากันระส่ำระสายด้วยประการฉะนี้. ท้าวสักกะทรงทราบ
เหตุนั้น จึงทรงส่งนักฟ้อนเทวดาไปด้วยพระเทวบัญชาว่า ไปเถิดพ่อเอ๋ย จง
ทำให้พระมหาปนาทะทรงพระสรวลเสด็จอุฎฐาการจงได้เถิด. เทพนักฟ้อนนั้น
มายืนอยู่บนอากาศในท้องพระลานหลวง แสดงขบวนฟ้อนที่เรียกว่า อุปัฑฒังคะ.
มือข้างเดียวเท่านั้น เท้าก็ข้างเดียว ตาก็ข้างเดียว แม้คิ้วก็ข้างเดียว ฟ้อนไป
ร่ายรำไป เคลื่อนไหวไป ที่เหลือคงนิ่งไม่หวั่นไหวเลย. พระเจ้ามหาปนาทะ


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ทอดพระเนตรเห็นการนั้นแล้ว ทรงพระสรวลหน่อยหนึ่ง. แต่มหาชนเมื่อ
หัวเราะ ก็สุดที่จะกลั้นความขบขันไว้ สุดที่จะดำรงสติไว้ได้ ปล่อยอวัยวะ
หมดเลย ล้มกลิ้งไปในท้องพระลานหลวง. มงคลเป็นอันเลิกได้ตอนนั้น
ข้อความที่เหลือในเรื่องนี้ พรรณนาไว้ในมหาปนาทชาดกที่มีคำว่า ปนาโท
นาเมโส ราชา ยสฺส ยูโป สุวณฺณมโย เป็นต้น.

พระราชามหาปนาททรงกระทำบุญถวายทานเป็นต้น เมื่อสิ้นพระชนม์
ก็เสด็จไปสู่เทวโลกนั่นเอง.
พระศาสดาทรงนำธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
มหาปนาท ในครั้งนั้นได้มาเป็นภัททชิ สุเมธาเทวีได้มาเป็นวิสาขา
วิสสุกรรมได้มาเป็นอานนท์ ส่วนท้าวสักกะได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาสุรุจิชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภ
อุบาสก ๕๐๐ ผู้รักษาอุโบสถ ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า อปฺโปสฺสุโกทานิ
ตุวํ กโปต ดังนี้.

มีเรื่องย่อว่า ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งเหนือพระพุทธ-
อาสน์อันอลงกต ท่ามกลางบริษัทสี่ ในธรรมสภา ทอดพระเนตรดูบริษัท
ด้วยพระหฤทัยอันอ่อนโยน ทรงทราบว่า วันนี้เทศนาจักตั้งเรื่องขึ้น เพราะ
อาศัยถ้อยคำแห่งพวกอุบาสกเป็นแท้ จึงตรัสเรียกพวกอุบาสกมา ตรัสถามว่า
ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย พวกเธอพากันบำเพ็ญวัตรแห่งผู้รักษาอุโบสถหรือ

ครั้น อุบาสกเหล่านั้น กราบทูลว่าพระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตรัสว่า
พวกเธอกระทำดีแล้ว อันอุโบสถนี้เป็นเชื้อสายแห่งหมู่บัณฑิตแต่ครั้งก่อน
ที่จริงบัณฑิตแต่ครั้งก่อนพากันอยู่จำอุโบสถเพื่อข่มกิเลสมีราคะเป็นต้น อุบาสก
เหล่านั้นพากันกราบทูลอาราธนา ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล ได้มีประเทศอันเป็นดงน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก อยู่ระหว่าง
พรมแดนแห่งแคว้นทั้งสาม มีแคว้นมคธเป็นต้น. พระโพธิสัตว์บังเกิดใน
สกุลพราหมณ์มหาศาลในแคว้นมคธ เจริญวัยแล้ว ละกามทั้งหลาย ปลีกตน
เข้าไปสู่ดงนั้น สร้างอาศรมบทบวชเป็นฤาษี พำนักอาศัยอยู่. ก็ในที่ไม่ไกล
อาศรมของท่าน นกพิราบกับภรรยาอาศัยอยู่ที่เชิงแห่งหนึ่ง งูอาศัยที่จอมปลวก

จอมหนึ่ง ที่ละเมาะป่าแห่งหนึ่งหมาจิ้งจอกอาศัยอยู่ ที่ละเมาะป่าอีกแห่งหนึ่งเล่า
หมีอาศัยอยู่. ทั้งสี่สัตว์เหล่านั้น ต่างก็เข้าไปหาพระฤาษี ฟังธรรม ตามกาล
อันเป็นโอกาส. อยู่มาวันหนึ่ง นกพิราบกับภรรยาออกจากรังไปหากิน. เหยี่ยว
ตัวหนึ่งจับนางนกพิราบตัวบินไปข้างหลังนกพิราบนั้นแล้วบินหนีไป. นกพิราบ

ได้ยินเสียงร้องของนางนกพิราบนั้น เหลียวกลับมองดู เห็นนางนกพิราบนั้น
กำลังถูกเหยี่ยวนั้นโฉบไป. ฝ่ายเหยี่ยวเล่าก็ฆ่านางนกพิราบนั้นทั้ง ๆ ที่กำลัง
ร้องอยู่นั่นเองตาย แล้วจิกกินเสีย. นกพิราบกลุ้มใจ เพราะพลัดพรากจากนาง

นกนั้น ดำริว่า ความรักนี้ทำให้เราลำบากเหลือเกิน คราวนี้เรายังข่มความรัก
ไม่ได้แล้ว จักไม่ขอออกไปหากิน. มันตัดขาดทางโคจรเลยไปสู่สำนักพระดาบส
สมาทานอุโบสถเพื่อข่มราคะนอนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

กล่าวถึงงู คิดจักแสวงหาเหยื่อ ออกจากที่อยู่ เที่ยวแสวงหาเหยื่อ
ในสถานเป็นที่เที่ยวไปของแม่โคในบ้านชายแดน. ครั้งนั้นโคผู้อันเป็นมงคล
ขาวปลอดของนายอำเภอ กินหญ้าแล้วก็คุกเข่าที่เชิงจอมปลวกแห่งหนึ่ง เอา
เขาขวิดดินเล่นอยู่. งูเล่าก็กลัวเสียงฝีเท้าของแม่โคทั้งหลาย เลื้อยไปเพื่อจะ
เข้าจอมปลวกนั้น. ทีนั้นโคผู้ก็เหยียบมันด้วยเท้า. มันโกรธโคนั้นจึงกัด


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
โคผู้ถึงสิ้นชีวิตตรงนั้นเอง. พวกชาวบ้านได้ยินข่าวว่า โคผู้ตายแล้ว ทุกคน
พากันมารวมกัน ร้องไห้บูชาโคผู้ตัวนั้นด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น พา
กันขุดหลุมฝังแล้วหลีกไป. เวลาพวกนั้นพากันกลับแล้ว งูก็เลื้อยออกมา
คิดว่า เราอาศัยความโกรธฆ่าโคผู้ตัวนี้เสีย ทำให้มหาชนพากันเศร้าโศก ที่นี้
เราข่มความโกรธนี้ไม่ได้แล้ว จักไม่ออกหากินละกลับไปสู่อาศรมนั้น นอน
สมาทานอุโบสถเพื่อข่มความโกรธ.

ฝ่ายหมาจิ้งจอกเที่ยวแสวงหาอาหาร เห็นช้างตายตัวหนึ่ง ดีใจว่า เรา
ได้เหยื่อชิ้นใหญ่แล้ววิ่งไปกัดที่งวงได้เป็นเหมือนเวลากัดเสา ไม่ได้ความยินดีที่
ตรงงวงนั้น กัดงาต่อไป ได้เป็นอย่างแกะแท่นหิน ปรี่เข้ากัดท้อง ได้เป็นอย่าง
กระด้ง ตรงเข้ากัดหาง ได้เป็นอย่างกัดสาก กรากเข้ากัดช่องทวารหนัก ได้เป็น

เหมือนกับขนมหวาน. มันตั้งหน้าขย้ำอยู่ด้วยอำนาจความโลภ เลยเข้าไปภายใน
ท้องเวลาหิวก็กินเนื้อในท้องนั้น เวลากระหายก็ดื่มเลือด เวลานอนก็นอนทับไส้
และปอด. มันคิดว่าทั้งข้าวทั้งน้ำมีเสร็จแล้วในที่นี้ทีเดียว กูจักทำอะไรในแห่ง
อื่นเล่า แสนรื่นรมย์อยู่ในท้องช้างนั้นแห่งเดียว ไม่ออกข้างนอกเลย คงอยู่

ในท้องช้างเท่านั้น. จำเนียรกาลต่อมา ซากช้างก็แห้งด้วยลมและแดด ช่อง
ทวารหนักก็ปิด. หมาจิ้งจอกนอนอยู่ภายในท้อง กลับมีเนื้อและเลือดน้อย
ร่างกายผ่ายผอมมองไม่เห็นทางออกได้. ครั้นวันหนึ่ง เมฆมิใช่ฤดูกาลให้ฝนตก
ช่องทวารหนักชุ่มชื้นอ่อนตัว ปรากฏช่องให้เห็น. หมาจิ้งจอกพอเห็นช่อง
คิดว่า กูลำบากนานนัก ต้องหนีออกช่องนี้จงได้ แล้วเอานิ้วดันช่องทวารหนัก.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เมื่อมันมีสรีระยุ่ยดันออกจากที่แคบโดยเร็ว ขนเลยติดอยู่ที่ช่องทวารหนัก
หมด. มันมีตัวโล้นเหมือนจาวตาลหลุดออกมาได้. มันคิดว่า เพราะอาศัย
ความโลภ กูต้องเสวยทุกข์นี้ ที่นี้กูข่มความโลภไม่ได้ จักไม่ขอหากินละ ไปสู่
อาศรมนั้น สมาทานอุโบสถ เพื่อข่มความโลภนอนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.

กล่าวถึงหมีออกจากป่าแล้ว ถูกความอยากยิ่งครอบงำ จึงไปสู่บ้านชาย
แดนในแคว้นมัลละ. พวกชาวบ้านได้ยินว่าหมีมาแล้ว ต่างถือธนูและพลองเป็น
ต้นพากันออกไปล้อมละเมาะที่หมีนั้นเข้าไป. มันรู้ว่าถูกมหาชนล้อมไว้ จึงออก

หนี. เมื่อมันกำลังหนีอยู่นั้นเอง ฝูงชนพากันยิงด้วยธนูตีด้วยพลอง. มันหัวแตก
เลือดไหลอาบไปที่อยู่ของตน ได้คิดว่า ทุกข์นี้เกิดเพราะอำนาจความโลภ คือ
ความอยากยิ่งของกู ทีนี้กูข่มความโลภคือความอยากยิ่งนี้ไว้มิได้แล้ว จักไม่
หากินละ ไปสู่อาศรมนั้น สมาทานอุโบสถ เพื่อข่มความอยากยิ่ง หมอบอยู่
ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. ฝ่ายดาบสเล่า ก็อาศัยชาติของตน ตกไปในอำนาจ

มานะ ไม่สามารถจะยังฌานให้บังเกิดได้. ครั้งนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
ทราบความที่ดาบสนั้นมีมานะ ดำริว่า สัตว์ผู้นี้มิใช่อื่นเลย ที่แท้เป็นหน่อ
เนื้อแห่งพระพุทธเจ้า จักบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในกัลป์นี้เองแหละ เรา
ต้องกระทำการข่มมานะของสัตว์นี้เสียแล้ว กระทำให้สมาบัติบังเกิดจงได้ จึง
มาจากป่าหิมพานต์ตอนเหนือ ขณะเมื่อดาบสนั้นกำลังนอนอยู่ในบรรณศาลา

นั้นเอง นั่งเหนือแผ่นกระดานหินของดาบสนั้น. ดาบสนั้นออกมาเห็นพระปัจ-
เจกพุทธเจ้านั้นนั่งเหนืออาสนะของตน ก็ขุ่นใจเพราะความมีมานะ ปรี่เข้าไปหา
ท่านแล้วตบมือตวาดว่า ฉิบหายเถิด ไอ้ถ่อย ไอ้กาลกรรณี ไอ้สมณะ
หัวโล้น มึงมานั่งเหนือแผ่นกระดานของกูทำไม.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ครั้งนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นกล่าวกะท่านว่า พ่อคนดี เหตุไร พ่อ
จึงมีแต่มานะ ข้าพเจ้าบรรลุปัจเจกพุทธญาณแล้วนะในกัลป์นี้เอง พ่อก็จัก
เป็นพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า พ่อเป็นหน่อเนื้อพระพุทธเจ้านะ พ่อบำเพ็ญ
บารมีมาแล้ว รอกาลเพียงเท่านี้ ข้างหน้าผ่านไป จักเป็นพระพุทธเจ้า

พ่อดำรงในความเป็นพระพุทธเจ้าจักมีชื่อว่า สิทธัตถะ บอกนามตระกูลโคตร
และพระอัครสาวกเป็นต้นแล้วได้ประทานโอวาทว่า พ่อยังจะมัวเอาแต่มานะ
เป็นคนหยาบคาย เพื่ออะไรเล่า นี้ไม่สมควรแก่พ่อเลย. ดาบสนั้นแม้เมื่อ
ท่านกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ยังคงไม่ไหว้ท่านอยู่นั่นเอง มิหนำซ้ำไม่ถามเสีย
ด้วยว่า ข้าจักเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อไร. ครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า

เธอไม่รู้ถึงความใหญ่หลวงแห่งชาติและความใหญ่โตแห่งคุณของเรา หากเธอ
สามารถ ก็จงเที่ยวไปในอากาศเหมือนเรา แล้วเหาะไปในอากาศ โปรย
ฝุ่นที่เท้าของตนลงในมณฑลชฎาของดาบสนั้น ไปสู่หิมพานต์ตอนเหนือดัง
เดิม. พอท่านไปแล้ว ดาบสถึงสลดใจคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นสมณะเหมือน
กัน มีสรีระหนัก ไปในอากาศได้ ดุจปุยนุ่น ที่ทิ้งไปในช่องลม เพราะ

ถือชาติเรามิได้กราบเท้าทั้งคู่ ของพระปัจเจกพุทธเจ้าเห็นปานฉะนี้ มิหนำ
ซ้ำไม่ถามเสียด้วยว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อไร ขึ้นชื่อว่าชาตินี้จักกระทำ


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อะไรได้ ศีลและจรณะเท่านั้นเป็นใหญ่ในโลกนี้ ก็แต่ว่ามานะของเรานี้แล
จำเริญอยู่ จักพาไปหานรกได้ ทีนี้เรายังข่มมานะนี้มิได้แล้วจักไม่ไปหาผลาผล
เข้าสู่บรรณศาลาสมาทานอุโบสถเพื่อข่มมานะเสีย นั่งเหนือกระดานเลียบเป็น
กุลบุตรผู้มีญาณใหญ่ ข่มมานะเสียได้ เจริญกสิณ ยังอภิญญาและสมาบัติ

๘ ให้บังเกิดได้แล้ว จึงออกไปนั่งที่แผ่นกระดานหินท้ายที่จงกรม. ครั้งนั้น
สัตว์มีนกพิราบเป็นต้น พากันเข้าไปหาท่าน ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนหนึ่ง พระมหาสัตว์จึงถามนกพิราบว่า ในวันอื่น ๆ เจ้าไม่ได้มา
เวลานี้ เจ้าคงไม่ได้หาอาหาร ในวันนี้เจ้าเป็นผู้รักษาอุโบสถหรือไฉนเล่า.
นกพิราบกราบเรียนว่า ขอรับกระผม. ครั้งนั้นเมื่อท่านจะถามมันว่าด้วยเหตุ
ไรเล่า กล่าวคาถาเป็นประถมว่า

ดูก่อนนกพิราบ เพราะเหตุไร บัดนี้ เจ้าจึงมี
ความขวนขวายน้อย ไม่ต้องการอาหาร อดกลั้น
ความหิวกระหาย มารักษาอุโบสถ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺโปสฺสุโก ได้แก่ ผู้ปราศจากความ
อาลัย. บทว่า น ตฺว ความว่า วันนี้ท่านไม่มีความต้องการด้วยโภชนะ.
นกพิราบได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าว ๒ คาถาว่า
แต่ก่อนนี้ข้าพเจ้าบินไปกับนางนกพิราบ เราทั้ง

๒ ชื่นชมยินดีกันอยู่ในป่าประเทศนั้น ทันใดนั้น
เหยี่ยวได้โฉบนางนกพิราบไปเสีย ข้าพเจ้าไม่ปรารถนา
จะพลัดพรากจากนางไป แต่จำต้องพลัดพรากจากนาง
เพราะพลัดพรากจากนาง ข้าพเจ้าได้เสวยเวทนาทางใจ
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า
ความรักอย่าได้กลับมาหาเราอีกเลย.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รมาม ความว่า พวกเราย่อมยินดีด้วย
ความยินดีในกาม. บทว่า สากุณิโก แปลว่า นกเหยี่ยว.
เมื่อนกพิราบแถลงอุโบสถกรรมของตนแล้ว พระมหาสัตว์จึงถามงู
เป็นต้นทีละตัว ๆ. แม้สัตว์เหล่านั้นก็พากันแถลงความจริง. เมื่อจะถามงูท่าน
กล่าวว่า

ดูก่อนผู้ไปไม่ตรง เลื้อยไปด้วยอก มีลิ้น ๒ ลิ้น
เจ้ามีเขี้ยวเป็นอาวุธ มีพิษร้ายแรง เพราะเหตุไร เจ้าจึง
อดกลั้นความหิวกระหายมารักษาอุโบสถ.
งูกล่าวว่า
โคของนายอำเภอ กำลังเปลี่ยว มีหนอกกระเพื่อม
มีลักษณะงาม มีกำลัง มันได้เหยียบข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
โกรธจึงได้กัดมัน มันก็ถูกทุกขเวทนาครอบงำ ถึง
ความตาย ณ ที่นั้น ลำดับนั้น ชนทั้งหลายก็พากัน
ออกมาจากบ้าน ร้องไห้คร่ำครวญ หาได้พากันหลบ-
หลีกไปไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้รักษาอุโบสถ
ด้วยคิดว่า ความโกรธอย่าได้มาถึงเราอีกเลย.
พระมหาสัตว์เมื่อจะถามสุนัขจิ้งจอก จึงกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนสุนัขจิ้งจอก เนื้อของคนที่ตายแล้ว มีอยู่
ในป่าช้าเป็นอันมาก อาหารชนิดนี้เป็นที่พอใจของเจ้า
เพราะเหตุไร เจ้าจึงอดกลั้นความกระหายมารักษา
อุโบสถ.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า
ข้าพเจ้าได้เข้าไปสู่ท้องช้างตัวใหญ่ ยินดีใน
ซากศพ ติดใจในเนื้อช้าง ลมร้อนและแสงแดดอัน
กล้าได้แผดเผาทวารหนักช้างนั้นให้แห้ง ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งผอมทั้งเหลือง ไม่มีทางจะออกได้
ต่อมามีฝนห่าใหญ่ตกลงมาโดยพลัน ชะทวารหนักของ

ช้างนั้นให้เปียกชุ่ม ดูก่อนท่านผู้เจริญ ทีนั้น ข้าพเจ้า
จึงออกมาได้ดั่งดวงจันทร์พ้นจากปากราหู ฉะนั้น
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า
ความโลภอย่ามาถึงเราอีกเลย.
เมื่อจะถามหมีจึงกล่าวว่า

ดูก่อนหมี แต่ก่อนนี้ เจ้าขยี้กินตัวปลวกในจอม
ปลวก เพราะเหตุไร เจ้าจึงอดกลั้นความหิวกระหาย
มารักษาอุโบสถเล่า.
หมีกล่าวว่า

ข้าพเจ้าดูหมิ่นถิ่นที่เคยอยู่ของตน ได้ไปยัง
ปัจจันตคามแคว้นมลรัฐ เพราะความเป็นผู้อยากมาก
เกินไป ครั้งนั้นชนทั้งหลายก็พากันออกจากบ้าน รุมตี
ข้าพเจ้าด้วยคันธนู ข้าพเจ้าศรีษะแตกเลือดอาบ ได้
กลับมาอยู่ถิ่นที่เคยอยู่อาศัยของตน เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า ความอยากมาก
เกินไปอย่าได้มาถึงเราอีกเลย.

ในคาถานั้น พระมหาสัตว์เรียกงูนั้น ด้วยคำว่า อนุชฺชคามิ เป็นต้น.
บทว่า จลกฺกกุโธ ความว่า โคนั้นมีหนอกกระเพื่อม. บทว่า ทุกฺขาภิตนฺโน
ความว่า โคนั้นถูกทุกข์บีบคั้นยิ่งนัก กระสับกระส่าย. บทว่า พหู แปลว่า
มาก. บทว่า ปาวิสํ แปลว่า เข้าไปแล้ว. บทว่า รสฺมิโย แปลว่า แสง

แห่งพระอาทิตย์ (แสงแดด). บทว่า นิกฺขมิสฺสํ แปลว่า ออกไปแล้ว.
บทว่า กิปิลฺลิกานิ แปลว่า ปลวกทั้งหลาย. บทว่า นิปฺโปถยนฺโต แปลว่า
ขยี้ขยำ. บทว่า อติเหฬยาโน แปลว่า ดูหมิ่น นินทา ติเตียน. บทว่า
โกทณฺฑเกน ได้แก่ ด้วยไม้คันธนูและไม้พลอง.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ครั้นสัตว์ทั้ง ๔ นั้น พรรณนาอุโปสถกรรมของตนอย่างนี้แล้ว ก็ชวน
กันลุกขึ้นไหว้พระมหาสัตว์ เมื่อจะถามบ้างว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ วัน
อื่น ๆ ในเวลานี้ พระคุณเจ้าเคยไปหาผลาผล วันนี้ เหตุไร พระคุณเจ้าจึง
ไม่ไป กระทำอุโปสถกรรมอยู่ จึงกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อความอันใด ท่านก็ได้ถาม
พวกข้าพเจ้า ข้าพเจ้าทั้งหมดก็ได้พยากรณ์ข้อความ
อันนั้นตามที่ได้รู้เห็นมา ข้าแต่ท่านผู้เป็นวงศ์พรหม
ผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าจะขอถามท่านบ้างละ เพราะ
เหตุไร ท่านจึงรักษาอุโบสถเล่า.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์นั้น ก็แถลงแก่พวกนั้นว่า

พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่ง ผู้ไม่แปดเปื้อนด้วย
กิเลส นั่งอยู่ในอาศรมของฉันครู่หนึ่ง ท่านได้บอก
ให้ฉันทราบถึงที่ไปที่มา นามโคตรและจรณะทุกอย่าง
ถึงอย่างนั้น ฉันก็มิได้กราบไหว้เท้าทั้ง ๒ ของท่าน
อนึ่ง ฉันก็มิได้ถามถึงนามและโคตรของท่านเลย
เพราะเหตุนั้น ฉันจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า มานะ
อย่าได้มาถึงฉันอีกเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ โน ความว่า ท่านไม่ได้ถามถึงความใด
กะพวกข้าพเจ้าเลย. บทว่า ยถาปชานํ ความว่า พวกข้าพเจ้าได้แถลงเรื่องนั้น
ตามที่ตนได้รู้มา. บทว่า อนูปลิตฺโต ความว่า อันกิเลสทุกอย่างจะไม่เข้า
ไปไล้ทาจิตได้เลย. บทว่า โส มํ อเวทิ ความว่า ท่านได้บอกให้ทราบ

ข้ารู้ แสดงแก่ข้าทุกอย่าง ถึงฐานะที่ข้าควรดำเนิน ฐานะที่ข้าดำเนินไปแล้ว
ในบัดนี้ และเรื่องนามโคตรและจรณะของข้าในอนาคตเช่นนี้ว่าเธอจักมีนาม
อย่างนี้ จักมีโคตรอย่างนี้ เธอจักมีศีลและจรณะเห็นปานนี้. บทว่า เอวมหํ
นิคฺคหึ ความว่า เมื่อท่านแสดงถึงอย่างนี้ ข้ามิได้กราบบาทยุคลของท่าน
เพราะอาศัยมานะของตน.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระมหาสัตว์แถลงการกระทำอุโบสถของตนอย่างนี้แล้ว ตักเตือนสัตว์
เหล่านั้นส่งต่อไป กลับเข้าบรรณศาลา. สัตว์เหล่านั้นเล่าต่างพากันไปที่อยู่
ของตน พระมหาสัตว์มีฌานไม่เสื่อม ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
สัตว์พวกนั้นตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน ได้ไปสวรรค์ตาม ๆกัน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้ ตรัสย้ำว่า อุบาสกทั้งหลาย
อันอุโบสถนี้เป็นเชื้อแถวแห่งหมู่บัณฑิตแต่เก่าก่อนด้วยประการฉะนี้ อุโบสถ
เป็นอันควรจะบำเพ็ญ แล้วทรงประชุมชาดกว่า นกพิราบในครั้งนั้น ได้มา
เป็นอนุรุทธะ หมีได้มาเป็นกัสสปะ หมาจิ้งจอกได้มาเป็นโมคคัลลานะ
งูได้มาเป็นสารีบุตร ส่วนดาบสได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาปัญจอุโบสถชาดก

พระศาสดาเสด็จประทับ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภ
ภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สเจ หิ ตฺยาหํ ธนเหตุ
คหิโต ดังนี้.

เรื่องย่อมีว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือที่ข่าวว่า เธอ
กระสันจะสึก ครั้นเธอรับสารภาพว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ความกำหนัดด้วยความสามารถชื่นใจนี้ ไฉนจักไม่ให้บุคคลอย่างเธอวุ่นวายได้
เล่า มีอย่างหรือ ลมที่จะสามารถพลิกภูเขาสุเนรุได้ ไม่ทำให้ใบไม้เก่า ๆ ใกล้ ๆ

กระจัดกระเจิงไป ในปางก่อนนั่นนะ แม้สัตว์ผู้บริสุทธิ์คอยหักห้ามความฟุ้งซ่าน
ของกิเลสในภายในอยู่ ๗๐๐ ปี ก็ยังโดนความกำหนัดด้วยสามารถความชื่นใจนี้
ทำให้วุ่นวายได้เลย ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ไม่แก่เกินเรียน หากมีความพากเพียรและความตั้งใจ
* เมื่อภัยยังไม่มาใกล้ มาถึงตัวก็ไม่รู้สึกตัวเกรงกลัวอะไร
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 41, 42, 43, 44, 45, 46, 47 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร