วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 19:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 50, 51, 52, 53, 54, 55, 56 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2019, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พราหมณ์ผู้ใดมาขอหม่อมฉันว่า ขอพระราชทาน
พระเนตรเถิด หม่อมฉันได้ให้ดวงตาทั้งสองแก่
พราหมณ์ผู้นั้นซึ่งเป็นวณิพก ปิติ และโสมนัสเป็น
อันมากเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันยิ่งนัก ด้วยการกล่าวคำสัตย์
นี้ ขอจักษุจงบังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันเถิด ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ มํ ความว่า พราหมณ์ใดมาขอเรา.
บทว่า โส ความว่า พราหมณ์นั้นมีจักษุพิการมาขอเราว่า ขอพระองค์โปรด
พระราชทาน แก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด. บทว่า วนิพฺพโต ความว่า แก่พราหมณ์
ผู้มาขอ. บทว่า ภิยฺโย มํ อาวิสิ ความว่า ครั้นให้จักษุทั้งสองแก่พราหมณ์
แล้ว นับแต่นั้นมาก็เป็นคนตาบอด แต่ในเวลาตาบอดนั้น หาได้คำนึงถึง

ทุกขเวทนาเห็นปานนั้นไม่ ปิติอันยิ่งเกิดแผ่ซ่านไป คือ เข้าสู่ดวงหทัยของเรา
ผู้พิจารณาเห็นว่า โอ เราได้ให้ทานด้วยดีแล้ว ทั้งความโสมนัสก็เกิดขึ้นแก่เรา
หาประมาณมิได้. บทว่า เอเตน ความว่า ถ้าหากปิติโสมนัสมิใช่น้อยเกิดขึ้น
แก่เราในกาลนั้นไซร้ นี้เป็นสัจจวาจาอันเรากล่าวแล้ว ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้
จักษุแม้ข้างที่สองจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด.

ในทันใดนั้นเอง พระเนตรดวงที่สองก็เกิดขึ้น. แต่พระเนตรของ
พระเจ้าสีวิราชนั้น จะว่าเป็นพระเนตรปกติก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นพระเนตรทิพย์ก็
ไม่ใช่ เพราะพระเนตรของพระองค์ทรงพระราชทานแก่สักกพราหมณ์แล้ว
ทั้งสักกพราหมณ์ก็ไม่สามารถทำพระเนตรให้เป็นปกติเหมือนของเดิมได้ อนึ่ง

ธรรมดาพระเนตรทิพย์ จะเกิดขึ้นแก่จักษุ ซึ่งมีที่ตั้งอันถอนเสียแล้ว หามิได้
ฉะนั้น พระเนตรเหล่านั้น ของพระเจ้าสีวิราช ต้องเรียกว่า สัจจปารมิตาจักษุ


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2019, 23:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
คือจักษุที่เกิดขึ้นเพราะสัจจบารมีของพระองค์ ในกาลที่พระเนตรเหล่านั้นเกิดขึ้น
พร้อมกันนั่นเอง ราชบริษัททั้งปวงต่างก็มาประชุมพร้อมกันด้วยอานุภาพของ
ท้าวสักกเทวราช. ลำดับนั้น เมื่อท้าวสักกเทวราช จะทรงทำการชมเชย
พระเจ้าสีวิราชในท่ามกลางมหาชนนั่นเอง จึงตรัสพระคาถาสองคาถา ความว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบำรุงสีพีรัฐ พระองค์ตรัส
พระคาถาแล้วโดยธรรม พระเนตรทั้งสองของพระองค์
จะปรากฏเป็นตาทิพย์เห็นได้ทะลุภายนอกฝา ภายนอก
กำแพงและภูเขาตลอดร้อยโยชน์ โดยรอบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ภาสิตา ความว่า ข้าแต่
มหาราช คาถาเหล่านี้พระองค์ตรัสแล้วตามธรรม คือ ตามสภาพ. บทว่า
ทิพฺยานิ ความว่า ประกอบด้วยอานุภาพอันเป็นทิพย์. บทว่า ปฏิทิสฺสเส
แปลว่า จักปรากฏ. บทว่า ติโรกุฑฺฑํ ความว่า ข้าแต่มหาราช พระเนตร
เหล่านี้ของพระองค์ จงเสวยผล คือ ผ่องใส ทอดพระเนตรเห็นรูปได้ทะลุ
ล่วงนอกฝานอกกำแพง และแม้ภูเขาอย่างใดอย่างหนึ่ง ราวกะว่าจักษุแห่งเหล่า
เทพยดา ตลอด ๑๐๐ โยชน์ทั่วสิบทิศโดยรอบ.

ท้าวสักกเทวราช ประทับยืนขึ้นบนอากาศ ตรัสพระคาถาเหล่านี้
ในท่ามกลางมหาชนแล้ว ทรงโอวาทพระมหาสัตว์เจ้าว่า ขอพระองค์จงอย่า
ประมาท แล้วเสด็จไปยังเทวโลกทันที.

ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้าแวดล้อมด้วยมหาชนเสด็จเข้าสู่พระนคร ด้วย
สักการะใหญ่ แล้วเสด็จขึ้นประทับ ณ สุจันทกปราสาท. ความที่ท้าวเธอได้
พระเนตรทั้งคู่กลับคืนมา ปรากฏแพร่สะพัดไปตลอดทั่วสีวีรัฐสีมามณฑล.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น ประชาชนชาวสีวีรัฐทั้งสิ้น ต่างถือเอาเครื่องบรรณาการมาถวาย
เป็นอันมาก เมื่อต้องการจะเข้าเฝ้าชมพระบารมี พระเจ้าสีวิราช พระมหา-
สัตว์เจ้าทรงดำริว่า เมื่อมหาชนนี้ประชุมกันแล้ว เราจักพรรณนาทานของเรา
จึงตรัสสั่งให้สร้างมณฑปใหญ่ ที่ประตูพระราชนิเวศน์ ประทับนั่งบนราชบัล-

ลังก์ ภายใต้ สมุสสิตเศวตรฉัตร ตรัสให้ตีกลองประกาศในพระนคร ตรัสสั่ง
ให้เสนาข้าราชการทั้งมวลประชุมกันแล้วตรัสว่า ดูก่อนประชาชนชาวสีวีรัฐ
ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นพระเนตรทิพย์ของเราเหล่านี้แล้ว จำเดิม
แต่นี้ไป ยังไม่ได้ให้ทานก่อน แล้วอย่าเพิ่งบริโภค เมื่อจะทรงแสดงธรรม
ได้ตรัสพระคาถา ๔ คาถา ความว่า

ใครหนอในโลกนี้ ถูกขอทรัพย์อันน่าปลื้มใจ
แล้ว แม้จะเป็นของพิเศษ แม้จะเป็นของที่รักอย่างดี
ของตน จะไม่พึงให้ เราขอเตือนท่านทั้งหลายผู้เป็น
ชาวแคว้นสีพีทุก ๆ คน ที่มาประชุมกัน จงดูดวงตา
ทั้งสองอันเป็นทิพย์ของเราในวันนี้ ตาทิพย์ของเรา

เห็นได้ทะลุภายนอกฝา ภายนอกกำแพง และภูเขา
ตลอด ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ ในโลกอันเป็นที่อยู่ของ
สัตว์ทั้งหลายนี้ ไม่มีอะไรที่จะยิ่งไปกว่าการบริจาคทาน
เราได้ให้จักษุที่เป็นของมนุษย์แล้ว กลับได้จักษุทิพย์
ดูก่อนชาวแคว้นสีพีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้เห็นจักษุ

ทิพย์ที่เราได้นี้แล้ว จงให้ทานเสียก่อน จึงค่อยบริโภค
เถิด บุคคลผู้ให้ทานและบริโภคแล้วตามอานุภาพของ
ตน ไม่มีใครจะติเตียนได้ ย่อมเข้าถึงสุคติสถานดังนี้.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนีธ ตัดบทเป็น โก นุ อิธ แปลว่า
ใครหนอในโลกนี้. บทว่า อปิ วิสิฏฺ€ํ ความว่า แม้จะเป็นของสูงสุด. บทว่า
จาคมตฺตา ความว่า ขึ้นชื่อว่าจักษุอื่นที่จะยอดเยี่ยมกว่า ประมาณการบริจาค
ไม่มี. บทว่า อิธ ชีวิเต ความว่า ในชีวโลกนี้. ปาฐะว่า อิธ ชีวิตํ ดังนี้ก็มี.

ความก็ว่า เป็นอยู่ในชีวโลกนี้. บทว่า อมานุสึ ความว่า จักษุทิพย์อันเรา
ได้แล้วด้วยเหตุนี้จึงควรทราบความข้อนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่จะสูงสุดกว่าการบริจาค
ไม่มี. บทว่า เอตํปิ ทิสฺวา ความว่า ท่านทั้งหลายแม้เห็นแล้วซึ่งจักษุอัน
เป็นทิพย์ อันเราได้แล้วนี้ (จงให้ทานก่อนจึงบริโภค).

ครั้นพระเจ้าสีวิราช ทรงแสดงธรรมด้วยคาถา ๔ คาถาเหล่านี้ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว จำเดิมแต่นั้นมา ในวันกึ่งเดือนและวันปัณณรสีอุโบสถ ก็
รับสั่งให้มหาชนประชุมกัน ทรงแสดงธรรมด้วยคาถาเหล่านี้เป็นประจำ มหาชน
สดับธรรมนั้นแล้ว พากันทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ได้ไปสู่เทวโลกเต็ม
บริบูรณ์ทั่วกัน.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน ไม่ยินดีด้วยทานในภายนอก ได้ควัก
ดวงตาทั้งสองของตนบริจาคทานแก่ยาจกผู้มาถึงเฉพาะหน้าด้วยอาการอย่างนี้
แล้วทรงประกาศจตุราริยสัจ ประชุมชาดกว่า สีวิกแพทย์ในครั้งนั้นได้มาเป็น
พระอานนท์ ท้าวสักกเทวราชได้มาเป็นพระอนุรุทธะ ราชบริษัทที่เหลือ
ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนพระเจ้าสีวิราช ได้มาเป็นเราผู้ตถาคตฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสีวิราชชาดก
.......................................
สิริเมณฑกปัญหานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปฺายุเปตํ สิริยา วิหีนํ
จักมีแจ้งในมหาอุมมังคชาดก.
จบอรรถกถาสิริเมณฑกชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
การเสียสละชีวิตของท่านพระอานนท์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
เอเต ยูเถ ปฏิยนฺติ ดังนี้.

ก็การเสียสละชีวิตของท่านพระอานนท์นั้น จักปรากฏชัดเจนในเรื่อง
ทรมานช้างชื่อว่าธนบาล ในจุลลหังสชาดก อสีตินิบาต. เมื่อท่านพระอานนท์
นั้นสละชีวิตเพื่อป้องกันพระศาสดาอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงสนทนากันใน
โรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่านพระอานนท์เป็นเสกขบุคคล บรรลุปฏิสัม-
ภิทา ยอมสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่พระทศพล. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัส

ถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่
ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในปางก่อน อานนท์ก็เคยสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่เรา
เหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้

ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติ ณ พระนคร-
พาราณสี พระองค์มีอัครมเหสีทรงพระนามว่า "เขมา" ในครั้งนั้น
พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในกำเนิดมฤคชาติ มีผิวพรรณเหมือนสีทอง อยู่ใน
หิมวันตประเทศ แม้เนื้อน้องชายของพระโพธิสัตว์ชื่อจิตตมิคะ ก็เป็นสัตว์

ถึงความเป็นเยี่ยมด้วยความงาม มีผิวพรรณเสมอด้วยสีทองเหมือนกัน แม้เนื้อ
น้องสาวของพระโพธิสัตว์ ที่ชื่อว่าสุตตนานั้น ก็เป็นสัตว์มีผิวพรรณปาน
ทองคำเหมือนกัน. ส่วนพระมหาสัตว์ได้เป็นพญาเนื้อ ชื่อโรหนมฤคราช
พญาเนื้อนั้นมีเนื้อแปดหมื่นเป็นบริวารสำเร็จนิวาสถานอยู่อาศัยสระชื่อโรหนะ
ระหว่างชั้นที่ ๓ เลยเทือกเขาสองลูกไปในหิมวันตประเทศ. พญาเนื้อโรหนะ
เลี้ยงดูมารดาบิดา ผู้ชรา ตาบอด.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ครั้งนั้น มีบุตรพรานคนหนึ่ง อยู่ในเนสาทคามไม่ห่างจากพระนคร
พาราณสีนัก เขาเข้าไปสู่หิมวันตประเทศพบมหาสัตว์เจ้า แล้วกลับมาบ้าน
ของตน ต่อมาเมื่อจะทำกาลกิริยาจึงบอกแก่บุตรชายว่า พ่อคุณ ในที่ชื่อโน้น
ณ ภาคนี้สถานที่ทำกินของพวกเรา มีเนื้อสีทองอาศัยอยู่ ถ้าพระราชาตรัสถาม
พึงกราบทูลให้ทรงทราบ.

อยู่มาวันหนึ่ง พระนางเขมา บรมราชเทวี ทรงพระสุบินในเวลา
ใกล้รุ่ง. พระสุบินนั้น ปรากฏอย่างนี้ว่า

มีพญาเนื้อสีเหมือนทอง ยืนอยู่บนแท่นทอง แสดงธรรมแด่พระเทวี
ด้วยเสียงอันไพเราะ เหมือนบุคคลเคาะกระดิ่งทอง พระนางประทานสาธุการ
แล้วสดับพระธรรมเทศนาอยู่. เมื่อธรรมกถายังไม่ทันจบ เนื้อทองนั้นก็ลุกเดิน
ไปเสีย. ส่วนพระนางเทวีก็มีพระเสาวนีย์ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับเนื้อ

ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับเนื้อดังนี้ อยู่จนตื่นพระบรรทม. พวกนางสนมได้ยิน
เสียงพระนาง พากันขบขันว่า ประตูหน้าต่างห้องบรรทมก็ปิดหมดแล้ว แม้คน
ก็ไม่มีโอกาสจะเข้าไปได้ พระแม่เจ้ายังรับสั่งให้จับเนื้อในเวลานี้ได้ ขณะนั้นพระ
เทวีทรงรู้พระองค์ว่า นี้เป็นความฝัน จึงทรงพระดำริว่า ถ้าเราจักกราบทูลพระ
ราชาว่า เราฝันเห็นดังนี้ พระองค์ก็จักไม่ทรงสนพระทัย แต่เมื่อเรากราบทูลว่า

แพ้พระครรภ์ พระองค์ก็จักช่วยแสวงหามาให้ด้วยความสนพระทัยเราจักได้ฟัง
ธรรมของพญามฤคตัวมีสีเหมือนทอง พระนางจึงทรงบรรทม ทำมายาว่า
ประชวร.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระราชาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนพระนางผู้มีพักตร์อันเจริญ
เธอไม่สบาย เป็นอะไรไปหรือ ? พระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรง
พระคุณอันประเสริฐ โรคอย่างอื่นไม่มีดอกเพคะ แต่กระหม่อมฉันเกิด
แพ้ท้อง. พระราชาตรัสถามว่า เธออยากได้อะไร ? พระนางจึงกราบทูลว่าขอ
เดชะ กระหม่อมฉันปรารถนาจักฟังธรรมของพญาเนื้อมีสีเหมือนทองพะยะค่ะ

พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพระนางผู้มีพักตร์อันเจริญ สิ่งใดไม่มี เจ้าก็เกิดแพ้
ท้องต้องประสงค์สิ่งนั้นหรือ ขึ้นชื่อว่าเนื้อสีทองไม่มีดอก. พระนางกราบทูลว่า
ถ้าไม่ได้หม่อมฉันจักนอนตายในที่นี้แหละ แล้วผินเบื้องพระปฤษฏางค์ให้พระ-
ราชา ทรงบรรทมเฉยเสีย พระราชาทรงปลอบโยนว่า ถ้าหากมีอยู่เจ้าก็จักได้

แล้วประทับนั่งท่ามกลางบริษัท ตรัสถามพวกอำมาตย์และพวกพราหมณ์ ตาม
นัยที่กล่าวแล้วในโมรชาดกนั่นเอง ทรงสดับว่า เนื้อที่มีสีเหมือนทองมีอยู่จึงมี
พระบรมราชโองการให้พวกนายพรานประชุมกัน ตรัสถามว่า เนื้อสีเหมือนทอง
เห็นปานนี้ ใครเคยเห็น เคยได้ยินมาบ้าง ? เมื่อบุตรนายเนสาทกราบทูล

โดยทำนองที่ตน ได้ยินมาจากสำนักบิดาแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนสหาย เมื่อเจ้านำ
เนื้อนั้นมาได้ เราจักทำสักการะใหญ่แก่เจ้า ไปเถิด จงไปนำเนื้อนั้นมา พระ-
ราชทานเสบียงแล้ว ทรงส่งเขาไป. ฝ่ายบุตรนายเนสาทก็กราบทูลว่า ขอเดชะ

พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ถ้าหากข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถจะนำ
เนื้อทองนั้นมาถวายได้ ข้าพระพุทธเจ้าจักนำหนังของมันมาถวาย เมื่อไม่อาจ


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นำหนังมาถวายได้ ก็จักนำแม้ขนของมันมาถวาย ขอพระองค์อย่าทรงวิตกเลย
แล้วไปเรือนมอบเสบียงแก่ลูกและเมีย แล้วไปที่หิมวันตประเทศนั้นพบพญา
เนื้อนั้นแล้ว ดำริว่า เราจะดักบ่วง ณ ที่ไหนหนอจึงจักสามารถจับเนื้อนี้ได้
เมื่อพิจารณาไปจึงเห็นช่องทางที่ท่าน้ำ เขาจึงฟั่นเชือกหนังทำเป็นบ่วงให้มั่นคง
แล้วปักหลักดักบ่วงไว้ในสถานที่พระมหาสัตว์เจ้าลงดื่มน้ำ.

ในวันรุ่งขึ้น พระมหาสัตว์พร้อมด้วยเนื้อบริวารแปดหมื่น เที่ยวไป
แสวงหาอาหาร คิดว่า เราจักดื่มน้ำที่ท่าเดิมนั่นแหละ จึงไปที่ท่านั้น พอก้าวลง
ไปเท่านั้นก็ติดบ่วง พระมหาสัตว์ดำริว่า ถ้าหากเราจักร้องว่าติดบ่วงเสียใน
บัดนี้ทีเดียว หมู่ญาติของเราจักไม่ดื่มน้ำ จักพากันตกใจกลัวแตกหนีไป จึง
แอบหลัก เบี่ยงไว้ข้างตัว ทำทีเหมือนดื่มน้ำอยู่ ครั้นเวลาที่เนื้อทั้งแปดหมื่น

ดื่มน้ำขึ้นไปแล้ว คิดว่า เราจักตัดบ่วงให้ขาด จึงกระชากมา ๓ ครั้ง ในวาระ
แรกหนังขาดไป วาระที่สองเนื้อหลุด วาระที่สามเอ็นขาด บ่วงบาดลึก
จดแนบกระดูก. เมื่อพระมหาสัตว์ไม่สามารถจะตัดให้ขาดได้ จึงร้องขึ้นว่า
เราติดบ่วง. หมู่เนื้อทั้งหลายตกใจกลัว พากันแยกหลบหนีไปเป็น ๓ ฝูง

จิตตมฤคไม่เห็นพระมหาสัตว์ ในระหว่างฝูงเนื้อทั้ง ๓ แล้วจึงคิดว่า เมื่อภัย
นี้เกิด คงจักเกิดแก่พี่ชายของเรา จึงมายังสำนักของพญาเนื้อนั้น เห็นพระ-
มหาสัตว์ติดบ่วงอยู่.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เห็นจิตตมฤค จึงพูดว่า พ่อน้องชาย เธออย่า
มายืนอยู่ที่นี่ สถานที่นี้น่ารังเกียจ เมื่อจะส่งกลับไป จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า
ดูก่อนน้องจิตตกะ ฝูงเนื้อเหล่านี้ กลัวความตาย
จึงพากันหนีกลับไป ถึงเธอก็จงไปเสียเถิด อย่าห่วง
พี่เลย เนื้อทั้งหลาย จักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเธอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอเต พญาเนื้อกล่าวหมายถึงฝูงเนื้อที่
หนีล่วงคลองจักษุของตนไปไกล. บทว่า ปฏิยนฺติ แปลว่า กลับไป อธิบายว่า
แตกหนีไป. พระโพธิสัตว์เรียกเนื้อน้องชายว่า "จิตตกะ". บทว่า ตยา สห
ความว่า (พระโพธิสัตว์) กล่าวว่า จิตตกะ เธอจงเป็นราชาแห่งเนื้อเหล่านี้
ดำรงอยู่ในตำแหน่งแทนพี่ เนื้อเหล่านี้ จักอยู่ร่วมกับเจ้าต่อไป.

ต่อจากนั้น เป็นคาถาที่เนื้อทั้งสองสนทนาโต้ตอบกัน รวม ๓ คาถา
เป็นลำดับกันดังต่อไปนี้
พี่โรหนะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักมาคร่าเอาหัวใจ
ของฉันไป ฉันก็จักไม่ทิ้งพี่ไป ฉันจักยอมสละชีวิตอยู่
ในที่นี้.

ก็มารดาบิดาทั้งสองเรานั้น ท่านตาบอดเมื่อไม่มี
ผู้นำจักต้องตายแน่ เธอจงไปเถิดอย่าห่วงใยพี่เลย
เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเธอ.
พี่โรหนะ ฉันไม่ยอมไป ถึงใครจักมาคร่าเอา
ดวงใจของฉันไป ฉันจักไม่ทิ้งพี่ผู้ถูกมัดไป ฉันจัก
ยอมสละชีวิตไว้ในที่นี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โรหน ความว่า จิตตมฤคเรียกพระ-
มหาสัตว์โดยชื่อว่า "โรหนะ". บทว่า อวกสฺสติ ความว่า ใคร ๆ จะมาฉุด
คือคร่าเอาดวงใจไป หรือดวงใจถูกความโศกฉุดคร่าไป. บทว่า เต หิ นูน
ความว่า มารดาบิดาของเราเหล่านั้น เมื่อเราทั้งสองต้องตายรวมกันอยู่ในที่นี้

จะขาดผู้ช่วยเหลือนำทาง เมื่อไม่มีใครปฏิบัติ ก็จักซูบผอมตายไป เพราะฉะนั้น
น้องจิตตกะเจ้าจงไปเสียเถิด เนื้อทั้งหลายเหล่านั้น จักได้มีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า.
บทว่า อิธ เหสฺสามิ ความว่า ฉันจักทิ้งชีวิตไว้ในสถานที่นี้ทีเดียว.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ครั้นจิตตมฤคกล่าวดังนี้แล้ว ก็เดินไปยืนพิงแนบข้างเบื้องขวาของพระ-
โพธิสัตว์ ปลอบโยนให้ดำรงกาย สบายใจ ฝ่ายนางสุตตนามฤคี หนีไปไม่เห็น
พี่ชายทั้งสองในระหว่างฝูงเนื้อ คิดว่า ภัยนี้จักเกิดแก่พี่ชายทั้งสองของเรา จึง
หวนกลับมายังสำนักของเนื้อทั้งสองนั้น พระมหาสัตว์เห็นนางสุตตนามฤคีกำลัง
เดินทางจึงกล่าวคาถาที่ ๕ ความว่า
เจ้าเป็นผู้ขลาด จงหนีไปเสียเถิด พี่ติดอยู่ใน
หลักเหล็ก เธอจงไปเสียเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อ
ทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่กับเธอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภีรุ ความว่า ขึ้นชื่อว่ามาตุคามย่อมกลัว
แม้ด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย ด้วยเหตุนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะน้องสาวอย่างนี้.
บทว่า กูเฏ ได้แก่ บ่วงที่เขาปกปิดไว้. บทว่า อายเส ความว่า ก็บ่วงนั้น
เขาวางซี่เหล็กไว้ภายในน้ำ แล้วผูกหลักไม้แก่นดักแช่ไว้ในน้ำนั้น เพราะเหตุนั้น
พระมหาสัตว์จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า ตยา สห ความว่า เนื้อทั้งแปดหมื่น
เหล่านั้น จักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า.

เบื้องหน้าแต่นั้น มีคาถา ๓ คาถา ซึ่งเนื้อสองพี่น้องโต้ตอบกันโดย
นัยก่อนนั่นแหละ ดังนี้.
พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะมาคร่าเอา
หัวใจของฉันไป ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ ฉันจักยอมทิ้ง
ชีวิตไว้ในที่นี้.

ก็มารดาบิดาทั้งสองของเรานั้น ท่านตาบอด
ขาดผู้ปรนนิบัตินำทาง จักต้องตายแน่ เธอจงไปเถิด
อย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่กับเธอ.

พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะมาคร่าเอาหัวใจ
ของฉันไป ฉันจะไม่ละทิ้งพี่ผู้ถูกมัด ฉันจักยอมทิ้ง
ชีวิตไว้ในที่นี้แหละ.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น แม้ในบทว่า เต หิ นูน นี้ พระโพธิสัตว์
กล่าวไว้หมายถึง มารดาบิดาเท่านั้น.
แม้นางสุตตนามฤคีนั้น ครั้นปฏิเสธอย่างนั้นแล้ว ไปยืนพิงข้างเบื้อง
ซ้ายของพระมหาสัตว์ผู้พี่ชายปลอบใจอยู่ ฝ่ายนายพรานเห็นเนื้อเหล่านั้นหนีไป
และได้ยินเสียงร้องแห่งเนื้อที่ติดบ่วง คิดว่าพญาเนื้อคงจักติดบ่วง แล้วนุ่งผ้า
หยักรั้งมั่นคง ถือหอกสำหรับฆ่าเนื้อ วิ่งมาโดยเร็ว พระมหาสัตว์เห็นนายพราน
กำลังวิ่งมาจึงกล่าวคาถาที่ ๙ ความว่า

วันนี้นายพรานคนใด จักฆ่าเราด้วยลูกศรหรือ
หอก นายพรานคนนี้นั้น มีรูปร่างร้ายกาจ ถืออาวุธ
เดินมาแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลุทฺทรูโป แปลว่า เหี้ยมโหดทารุณ.
บทว่า สตฺติยามปิ ความว่า นายพรานคนใดจักประหัตประหารฆ่าเราด้วย
ลูกศรก็ดี ด้วยหอกก็ดี นายพรานนั้นมีรูปร่างเหี้ยมโหดทารุณ ถืออาวุธมา
เพราะเหตุนั้น เจ้าทั้งสองจงพากันหนีไป ก่อนที่เขายังมาไม่ถึง.

จิตตมฤคแม้เห็นพรานนั้นแล้วก็มิได้หนีไป ส่วนนางสุตตนามฤคี
ไม่อาจดำรงอยู่โดยภาวะของตนได้ มีความกลัวต่อมรณภัย หนีไปหน่อยหนึ่ง
แล้วกลับคิดว่า เราจักทิ้งพี่ชายทั้งสองคนหนีไปไหน จึงยอมสละชีวิตของตน
กล้ำกลืนความกลัวตาย ย้อนกลับมาใหม่ ยืนอยู่เคียงข้างซ้ายพี่ชายของตน.

เมื่อจะประกาศความนั้น พระศาสดาจึงตรัสพระคาถาที่ ๑๐ ความว่า
นางสุตตนามฤคีนั้น ถูกภัยบีบคั้นคุกคามหนี
ไปครู่หนึ่ง แล้วย้อนกลับมาเผชิญหน้ามฤตยู ถึงจะมี
ขวัญอ่อนก็ได้กระทำกรรมที่ทำได้แสนยาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มรณายูปนิวตฺตถ แปลว่า ย้อน
กลับมาเพื่อเผชิญหน้าความตาย.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ฝ่ายนายพรานเห็นสัตว์ทั้ง ๓ ยืนเผชิญหน้ากันอยู่ก็เกิดเมตตาจิต มี
ความสำคัญประหนึ่งว่า เป็นพี่น้องเกิดร่วมท้องเดียวกัน จึงคิดว่า พญาเนื้อ
ติดบ่วงเราก่อน แต่เนื้อทั้งสองนี้ ติดอยู่ด้วยหิริโอตตัปปะ สัตว์ทั้งสองนี้เป็น
อะไรกันกับพญาเนื้อนี้หนอ ครั้นคิดดังนี้แล้ว เมื่อจะถามเหตุนั้นจึงกล่าวคาถา
ความว่า
เนื้อทั้งสองนี้เป็นอะไรกับท่านหนอ พ้นไปแล้ว
ยังย้อนกลับมาหาเครื่องผูกอีก ไม่ปรารถนาจะละทิ้ง
ท่านไป แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุ เตเม ตัดบทเป็น กึ นุ เต อิเม
แปลว่า เนื้อทั้งสองนี้เป็นอะไรกับท่านหนอ. บทว่า อุปาสเร แปลว่า ยัง
เข้าไปใกล้.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงบอกแก่นายพรานว่า
ดูก่อนนายพราน เนื้อทั้งสองนี้ เป็นน้องชาย
น้องสาวของข้าพเจ้า ร่วมท้องมารดาเดียวกัน ไม่
ปรารถนาละข้าพเจ้าไป แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.

นายพรานได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้ว เป็นผู้มีจิตอ่อนลงไปเป็น
อันมาก. จิตตมฤคราชรู้ว่านายพรานมีจิตอ่อนแล้ว จึงกล่าวว่า ดูก่อนนายพราน
ผู้สหาย ท่านอย่าสำคัญพญาเนื้อนี้ว่า เป็นเพียงเนื้อสามัญเท่านั้น แท้จริง
พญาเนื้อนี้ เป็นราชาแห่งเนื้อแปดหมื่น ถึงพร้อมด้วยศีลและมรรยาท มีจิต
อ่อนโยนในสรรพสัตว์ มีปัญญามาก เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้ชราตาบอด ถ้าหาก

ท่านฆ่าเนื้อผู้ตั้งอยู่ในธรรมเห็นปานนี้ให้ตายลง ชื่อว่าฆ่าพวกเราให้ตายถึง ๕
ชีวิต คือ มารดาบิดาของเรา ตัวเรา และน้องสาวของเราทีเดียว แต่เมื่อท่าน
ให้ชีวิตแก่พี่ชายของเรา เป็นอันได้ชื่อว่าให้ชีวิตแก่พวกเราแม้ทั้ง ๕ แล้ว
กล่าวคาถาความว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่นายพราน มารดาบิดาของเราเหล่านั้น
ตาบอด หาผู้ปรนนิบัตินำทางไม่ได้ คงจักต้องตาย
แน่แท้ โปรดให้ชีวิตแก่พวกเราทั้ง ๕ เถิด โปรดปล่อย
พี่ชายเสียเถิด.
นายพรานได้ฟังธรรมกถาของจิตตมฤคแล้ว มีจิตเลื่อมใสแล้วกล่าวว่า
ท่านอย่ากลัวเลย แล้วกล่าวคาถาเป็นลำดับไปว่า
ข้าพเจ้าจะปล่อยเนื้อผู้เลี้ยงมารดาบิดาแน่นอน
มารดาบิดาได้เห็นพญาเนื้อหลุดจากบ่วงแล้ว จงยินดี
เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โว เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ทิสฺวา
ความว่า เห็นพญาเนื้อหลุดแล้วจากบ่วง.

ก็แลนายพรานครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงคิดว่า ยศที่พระราชาพระ-
ราชทานแล้ว จักช่วยอะไรเราได้ ถ้าหากเราจักฆ่าพญาเนื้อนี้เสีย แผ่นดินนี้
จักแยกออกให้ช่องแก่เรา หรือสายอสนีบาตจักฟาดลงบนกระหม่อมของเรา
เราจักปล่อยพญาเนื้อนั้น. เขาจึงเข้าไปหาพระมหาสัตว์เจ้า แล้วกล่าวว่า
ข้าพเจ้าจักโยกหลักบ่วงให้ล้มลง แล้วตัดเชือกหนังออกดังนี้แล้ว ประคอง

พญาเนื้อให้นอนลงที่ชายน้ำ ค่อย ๆ แก้บ่วงออกด้วยมุทิตาจิต ทำเส้นเอ็น
ให้ประสานกับเส้นเอ็น เนื้อให้ประสานกับเนื้อ หนังให้ประสานกับหนัง แล้ว
เอาน้ำล้างเลือด ลูบคลำไปมาด้วยมุทิตาจิต. ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาจิตของ
นายพราน และด้วยอานุภาพแห่งบารมีที่พระมหาสัตว์ได้บำเพ็ญมา เอ็น หนัง

และเนื้อทั้งหมด ก็สมานติดสนิทดังเดิม. เท้าก็ได้มีหนังและขนปกปิดสนิทดี
ในอวัยวะที่มีแผลเก่าไม่ปรากฏว่า มีแผลติดอยู่เลย. พระมหาสัตว์ถึงความสบาย
ปลอดภัยลุกขึ้นยืนแล้ว จิตตมฤคเห็นดังนั้นแล้ว เกิดความโสมนัสเมื่อจะทำ
อนุโมทนาต่อนายพราน จึงกล่าวคาถาความว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่นายพราน ท่านจงยินดีเพลิดเพลินกับ
พวกญาติทั้งปวง เหมือนข้าพเจ้าเห็นพญาเนื้อที่หลุด
จากบ่วงแล้ว ชื่นชมยินดีในวันนี้ ฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าคิดว่า นายพรานนี้เมื่อจะจับเรา จับโดย
งานอาชีพของตน หรือว่าจับโดยการบังคับของผู้อื่น จึงถามเหตุที่จับ. บุตร
นายพรานตอบว่า ดูก่อนพญาเนื้อ ข้าพเจ้าจะมีกิจกรรมเกี่ยวกับท่านก็หามิได้
แต่พระอัครมเหสีของพระราชา ซึ่งมีพระนามว่า พระนางเขมาราชเทวี มี
พระประสงค์จะฟังธรรมกถาของท่าน ท่านจึงถูกข้าพเจ้าจับโดยพระราชโองการ

เพื่อประโยชน์แก่พระเทวีนั้น. พระมหาสัตว์กล่าวว่า สหายเอ๋ย เมื่อเป็นเช่นนั้น
ท่านปล่อยเราเสีย ชื่อว่าทำสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง มาเถิด จงนำเราไปแสดงแก่
บรมกษัตริย์เถิด เราจักแสดงธรรมถวายพระนางเทวี. นายพรานกล่าวว่า
ดูก่อนพญาเนื้อ ธรรมดาพระราชาทั้งหลายมีพระเดชานุภาพร้ายกาจ ใครจักรู้

ว่า จักมีอะไรเกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยินดียศศักดิ์ที่ทรงพระราชทานดอก เชิญ
ท่านไปตามสบายของท่านเถิด. พระมหาสัตว์คิดว่า พรานนี้เมื่อปล่อยเราไป
ชื่อว่าทำกิจที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง เราจักทำอุบายให้พรานนั้นได้รับยศศักดิ์ แล้ว
จึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย ท่านจงเอามือลูบหลังเราก่อนเถิด. นายพรานจึงเอา

มือลูบหลังพญาเนื้อ มือของเขาก็เต็มไปด้วยขนมีสีเหมือนทองคำ. เขาจึงถามว่า
ดูก่อนพญาเนื้อ ข้าพเจ้าจักทำอย่างไรกับขนเหล่านี้ พญาเนื้อจึงบอกว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2019, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดูก่อนสหาย ท่านจงเอาขนเหล่านี้ไปถวายแด่พระราชา และพระราชเทวี ทูลว่า
นี้เป็นขนของสุวรรณมฤคนั้น ดังนี้ ตั้งอยู่ในฐานะตัวแทนของเรา แสดง
ธรรมถวายพระบรมราชเทวี ด้วยคาถาเหล่านี้ การแพ้พระครรภ์ของพระนาง
ก็จักสงบ เพราะทรงสดับธรรมกถานั้นแล ดังนี้แล้ว ให้นายพรานเรียน
ราชธรรมคาถา ๑๐ คาถา มีอาทิว่า ธมฺมฺจร มหาราช ซึ่งแปลว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า พระราชาพึงประพฤติธรรมดังนี้แล้วให้เบญจศีล กล่าวสอนด้วย
ความไม่ประมาทแล้วส่งไป.

บุตรของนายพราน ยกย่องพระมหาสัตว์ไว้ในตำแหน่งอาจารย์ กระทำ
ประทักษิณสามครั้ง แล้วไหว้ในฐานะสี่ เอาใบบัวห่อขนทองทั้งหลายแล้วลา
หลีกไป. เนื้อทั้งสามตามไปส่งนายพรานหน่อยหนึ่ง แล้วเอาปากคาบอาหาร
และน้ำ พากันกลับไปยังสำนักของมารดาบิดา. มารดาบิดาทั้งสองเมื่อจะถามว่า
โรหนะลูกรัก ได้ยินว่า เจ้าติดบ่วง แล้วพ้นมาได้อย่างไร จึงกล่าวคาถา
ความว่า

ลูกรัก เมื่อชีวิตเข้าไปใกล้ความตายแล้ว เจ้า
หลุดมาได้อย่างไร ไฉนนายพรานจึงปล่อยจากบ่วง
เหล็กมาเล่า
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนีตสฺมิ ความว่า เมื่อชีวิตสถิตอยู่
เฉพาะหน้ามฤตยู เจ้ารอดตายมาได้อย่างไร.

พระโพธิสัตว์ฟังคำนั้นแล้ว กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
น้องจิตตกะกล่าววาจาไพเราะหู เป็นที่จับใจ
ดื่มด่ำในหฤทัย ช่วยให้ข้าพเจ้าหลุดมาได้ ด้วยวาจา
สุภาษิต น้องสุตตนาได้กล่าววาจาไพเราะหู จับใจ
ดื่มด่ำในหฤทัย ช่วยข้าพเจ้าให้หลุดมาได้ด้วยวาจา
สุภาษิต นายพรานได้ฟังวาจาไพเราะหู เป็นที่จับใจ
ดื่มด่ำในหฤทัย แล้วปล่อยข้าพเจ้า เพราะฟังวาจา
สุภาษิตของน้องทั้งสองนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภณํ แปลว่า กล่าวอยู่. บทว่า หทยงฺคํ
แปลว่า ดื่มด่ำในหฤทัย. บทว่า ภณํ ในคาถาที่ ๒ เท่ากับ ภณมานา แปลว่า
เมื่อน้องนางสุตตนากล่าวอยู่. บทว่า สุตฺวา ความว่า นายพรานนั้นฟังวาจา
ของเนื้อทั้งสองเหล่านี้แล้ว.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ต้นไม้ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่พระธรรมและการปฏิบัตินั้นฟอกจิตใจ
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 50, 51, 52, 53, 54, 55, 56 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร