วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 03:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 56, 57, 58, 59, 60, 61, 62 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2019, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แม้พระมหาสัตว์เจ้า เมื่อจะชมเชยพระราชา จึงกล่าวคาถานอกนี้
ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์
ทรงเอ็นดูนาคสกุล เหมือนมารดาผู้เอ็นดูบุตรคนเดียว
ผู้เป็นสุดที่รักฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้ากับนาคสกุลจะขอ
กระทำเวยยาวฏิกกรรม อย่างโอฬารแด่พระองค์.
พระราชาทรงสดับคำของนาคราชแล้ว มีพระประสงค์จะเสด็จไป
นาคพิภพ เมื่อจะตรัสสั่งให้ทำการตระเตรียมพลเสนาที่จะเสด็จไป จึง
ตรัสพระคาถา ความว่า

เจ้าพนักงานรถ จงตระเตรียมราชรถอันงามวิจิตร
จงเทียมอัสดรอันเกิดในกัมโพชกรัฐ ซึ่งฝึกหัดอย่างดี
แล้ว และเจ้าพนักงานช้างจงผูกช้างตัวประเสริฐทั้ง-
หลาย ให้งามไปด้วยสุวรรณหัตถาภรณ์ เราจะไปดู
นิเวศน์แห่งท้าวนาคราช.


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺโพชเก อสฺสตเร สุทนฺเต
ความว่า จงเทียมอัศวพาชี อันเกิดในกัมโพชกรัฐ ที่ได้รับการฝึกหัดอย่างดี.
คาถานอกนี้ต่อไป เป็นพระคาถาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในกาล
เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ความว่า
พนักงานเภรี ตะโพน บัณเฑาะว์ และแตรสังข์
ของพระเจ้าอุคคเสนราช มาพร้อมหน้ากัน พระราชา
ทรงแวดล้อมด้วยสนมนารี เสด็จไปในท่ามกลางหมู่
สนมนารีงามสง่ายิ่งนัก.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2019, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุ โสภมาโน ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พระเจ้าพาราณสี แวดล้อมด้วยเหล่าสนมนารีหมื่นหกพันนาง เป็น
บริวาร เสด็จไปสู่นาคพิภพ แต่พระนครพาราณสีท่ามกลางหมู่สนมนารีนั้น
เสด็จดำเนินไปงดงามยิ่งนัก.

ในกาลเมื่อพระเจ้าพาราณสี เสด็จออกจากพระนครไป พระมหา-
สัตว์เจ้า ทรงบันดาลนาคพิภพให้ปรากฏมีกำแพงแก้ว ๗ ประการ และประตู
ป้อมคู หอรบ แล้วนิรมิตมรรคาที่จะเสด็จไปยังนาคพิภพ ให้ประดับตกแต่ง
ด้วยเครื่องประดับงดงาม ด้วยอานุภาพของตน. พระราชาพร้อมด้วยราชบริพาร
เสด็จเข้าไปยังนาคพิภพโดยมรรคานั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นภูมิภาคและ
ปราสาทราชวัง น่ารื่นเริง บันเทิงพระทัย.

พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้ากรุงกาสีวัฒนราช ได้ทอดพระเนตรเห็น
ภูมิภาคอันงาม วิจิตรลาดแล้วด้วยทรายทอง ทั้งสุวรรณ
ปราสาทก็ปูลาดไปด้วยแผ่นกระดานแก้วไพฑูรย์ พระ-
องค์เสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์ ของจัมเปยยนาคราชมีรัศมี
โอภาสดังแสงอาทิตย์แรกอุทัย รุ่งเรืองไปด้วยรัศมี
ประหนึ่งสายฟ้าในกลุ่มเมฆ.

พระเจ้ากาสิกราช ทรงทอดพระเนตรจนทั่ว
นิเวศน์ ของจัมเปยยนาคราช อันดารดาษไปด้วย
พฤกษชาตินานาชนิด หอมฟุ้งขจรไป ด้วยทิพยสุคนธ์
อบอวลล้วนวิเศษ.
เมื่อพระเจ้ากาสิกราช เสด็จเข้าไปในนิเวศน์ของ
ท้าวจัมเปยยนาคราช เหล่าทิพยดนตรี ก็ประโคมขับ
บรรเลง ทั้งนางนาคกัญญาทั้งหลายก็ฟ้อนรำ ขับร้อง.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระเจ้ากาสิกราช เสด็จขึ้นนิเวศน์ ซึ่งมีหมู่
นางนาคกัญญาตามเสด็จ ทรงพอพระทัย ประทับนั่ง
ณ พระสุวรรณแท่นทอง อันมีพนักไล้ทาด้วยแก่น-
จันทน์ทิพย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวณฺณจิตฺตกํ ความว่า ลาดแล้วด้วย
ทรายทอง. บทว่า พฺยมฺหํ ความว่า สู่นาคพิภพอันประดับตกแต่งแล้ว.
บทว่า จมฺเปยฺยสฺส ความว่า เสด็จไปยังนาคพิภพอันประดับแล้ว ทรง
พระราชดำเนินเข้าสู่นิเวศน์ ของจัมเปยยนาคราช. บทว่า กํสวิชฺชูปภสฺสรํ
ความว่า รุ่งเรืองไปด้วยรัศมีประหนึ่งสายฟ้าในกลุ่มเมฆ. บทว่า นานาคนฺธ-

สมีริตํ ความว่า หอมฟุ้งขจรไปด้วยทิพยสุคนธ์มีอย่างต่าง ๆ. บทว่า จริตํ
คเณน ความว่า สู่นิเวศน์นั้นอันนางนาคกัญญา ตามเสด็จไปพร้อมหน้า.
บทว่า จนฺทนสารลิตฺเต ความว่า ไล้ทาแล้วด้วยแก่นจันทน์อันเป็นทิพย์.

เมื่อพระเจ้ากาสิกราช ประทับนั่งบนบัลลังก์แล้ว พนักงานชาว
เครื่องวิเศษ ก็เชิญเครื่องทิพย์อันสมบูรณ์ด้วยรสโอชานานาประการ น้อมเข้า
ไปถวาย และเชิญไปเลี้ยงดู เหล่าสนมนารีหมื่นหกพันนาง พร้อมทั้งราชบริษัท
ที่เหลือ. พระเจ้าพาราณสี พร้อมด้วยราชบริษัท ทรงเสวยข้าวน้ำอันเป็น

ทิพย์เป็นต้น เพลิดเพลินเจริญใจด้วยทิพยกามคุณ และประทับ ณ สุขไสยาสน์
ประมาณได้เจ็ดวัน ทรงสรรเสริญอิสริยยศของพระมหาสัตว์ แล้วตรัสถามว่า
ดูก่อนท่านนาคราช ก็เพราะเหตุไรหรือ ท่านจึงละสมบัติเห็นปานนี้ ไปนอน
อยู่รักษาอุโบสถศีล ณ จอมปลวกในมนุษยโลก ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้าก็ทูลเล่า
ถวายให้ทรงทราบ.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้ากาสิกราชนั้น ครั้นเสวยสมบัติ และ
ทรงรื่นรมย์ประทับอยู่ ในนาคพิภพนั้นแล้ว ได้ตรัส
ถามจัมเปยยนาคราชว่า วิมานอันประเสริฐของท่าน
เหล่านี้ มีรัศมีดังพระอาทิตย์ งามผุดผาด วิมานเช่นนี้
ไม่มีในมนุษยโลก ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญ
ตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.

นางนาคกัญญาเหล่านั้น สวมใส่กำไลทองนุ่งห่ม
เรียบร้อย มีนิ้วมือกลมกลึง ฝ่ามือฝ่าเท้าแดงงามยิ่งนัก
ผิวพรรณงดงามไม่ทรามเลย พากันยกทิพยปานะถวาย
ให้พระองค์ทรงเสวย สนมนารีเช่นนี้จะมีอยู่ในมนุษย-
โลกก็หามิได้ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญตบ-
ธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.

อนึ่ง มหานทีอันชุ่มชื่น ดาษดื่นไปด้วยปลามี
เกล็ดหนานานาชนิด มีอาทาสสกุณปักษีร่ำร้องไพเราะ
จับใจ ทั้งท่าขึ้นลงนทีธารก็ราบรื่นเป็นอันดี แม่น้ำ
เช่นนี้จะได้มีอยู่ในมนุษยโลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยา-
นาคราช ท่านบำเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.

ฝูงนกกระเรียน ฝูงนกยูง ฝูงหงส์ และฝูงนก
ดุเหว่าทิพย์ ร่ำร้องเสียงไพเราะจับใจ ต่างก็โผผินบิน
จับอยู่บนต้นไม้ ทิพยสกุณาเช่นนี้ จะได้มีในมนุษย-
โลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญตบธรรม
เพื่อประโยชน์อะไร.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ต้นมะม่วง ต้นสาละ ทั้งช้างน้าว อ้อยช้างและ
ต้นชมพู่ ต้นคูนและแคฝอย ผลิดอกออกผลเป็น
พวง ๆ ทิพยรุกขชาติเช่นนี้ จะได้มีอยู่ ในมนุษยโลก
ก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญตบะเพื่อ
ประโยชน์อะไร.

อนึ่ง ทิพยสุคนธ์รอบ ๆ สระโบกขรณีเหล่านี้
หอมฟุ้งอยู่เป็นนิตย์ ทิพยสุคนธ์เช่นนี้ จะมีอยู่ใน
มนุษยโลกก็หามิได้ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญ
ตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.

(จัมเปยยนาคราช ทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอม
ประชาชน ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญตบธรรมเพราะ
เหตุแห่งบุตร ทรัพย์ หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุก็หาไม่
แต่เพราะข้าพระพุทธเจ้า ปรารถนากำเนิดมนุษย์ ฉะนั้น
จึงได้บากบั่นมุ่งมั่นบำเพ็ญสมณธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตา พระราชาตรัสหมายถึงนางนาคกัญญา
หมื่นหกพันนางเหล่านั้น. บทว่า กมฺพุกายูรธรา แปลว่า สวมใส่อาภรณ์
อันล้วนด้วยทอง. บทว่า วฏฺฏงฺคุลี แปลว่า มีองคุลีกลมเช่นกันหน่อแก้ว-
ประพาฬ. บทว่า ตมฺพตลูปปนฺนา ความว่า ประกอบไปด้วยฝ่ามือและ

ฝ่าเท้า แดงงดงามยิ่งนัก. บทว่า ปาเยนฺติ ความว่า พากันยกทิพยปานะ
ประคองเข้าถวาย ให้พระองค์ทรงเสวย. บทว่า ปุถุโลมมจฺฉา ความว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ประกอบไปด้วยปลานานาชนิด ที่มีเกล็ดหนา. บทว่า อาทาสสกุนฺตาภิสุทา
ความว่า มีนกเงือกร่ำร้องอยู่อึงมี่. บทว่า สุติตฺถา ความว่า มีท่าขึ้นลง
ราบรื่นเรียบร้อย. บทว่า ทิวิยา จ หํสา ได้แก่ ฝูงหงส์ทิพย์. บทว่า
สมฺปตนฺติ ความว่า ร่ำร้องเสียงไพเราะจับใจ ต่างโผผินบินจากต้นโน้น
มาต้นนี้.

บทว่า ทิพฺยา คนฺธา ความว่า อนึ่ง ทิพยสุคนธ์ทั้งหลาย ย่อม
ฟุ้งตลบไปไม่ขาดสาย ในสระโบกขรณีทั้งหลายเหล่านั้น. บทว่า อภิปตฺถยาโน
ความว่า ปรารถนาซึ่งกำเนิดมนุษย์เที่ยวไป. บทว่า ตสฺมา ความว่า ด้วย
เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงบากบั่น คือประคองความเพียร กระทำตบะคือ
บำเพ็ญอุโบสถศีล ได้แก่ เข้าอยู่รักษาอุโบสถ.

เมื่อพระมหาสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาเมื่อจะทรงทำการ
ชมเชย จึงตรัสพระคาถาความว่า
ท่านมีดวงเนตรแดง มีรัศมีส่องแสงสว่าง
ประดับตกแต่งแล้ว ปลงเกศาและมัสสุแล้ว ประพรม
ด้วยจุรณจันทน์แดง ฉายแสงไปทั่วทิศ ดังคนธรรพ-
ราชฉะนั้น ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยเทวฤทธิ์ มีอานุภาพ
มาก เพรียบพร้อมไปด้วยสรรพกามารมณ์ ดูก่อนท่าน
นาคราช เราขอถามเนื้อความนี้กะท่าน มนุษยโลก
ประเสริฐกว่านาคพิภพด้วยเหตุไร.

ลำดับนั้น พระยานาคราช เมื่อจะกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ จึง
กราบทูลว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน เว้นมนุษย-
โลกเสียแล้ว ความบริสุทธิ์ หรือความสำรวมย่อมไม่มี
เลย ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญตบธรรม ด้วยตั้งใจว่า
เราได้กำเนิดมนุษย์แล้ว จักทำที่สุดแห่งชาติและ
มรณะได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทฺธิ วา ความว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า
เว้นจากมนุษยโลกแล้ว ความบริสุทธิ์กล่าวคืออมตนฤพานก็ดี ความสำรวม
ระวังในศีลก็ดี ไม่มีเลย. บทว่า อนฺตํ ความว่า ข้าพระพุทธเจ้ากระทำตบะ
ด้วยคิดว่า เราได้กำเนิดมนุษย์แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งชาติและมรณะได้.
พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว ตรัสพระคาถาความว่า

ชนเหล่าใด มีปัญญาเป็นพหูสูต ตรึกตรอง
เหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก ชนเหล่านั้นควรคบหาแท้ทีเดียว
ดูก่อนพระยานาคราช เราได้เห็นนางนาคกัญญา
ทั้งหลายของท่านและตัวท่านแล้ว จักทำบุญให้มาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาริโย จ ความว่า พระราชาตรัสว่า
เราเห็นนางนาคกัญญาทั้งหลายเหล่านี้ ของท่านและตัวท่านแล้ว จักกระทำบุญ
เป็นอันมาก.
ลำดับนั้น พระยานาคราชกราบทูลพระราชาว่า

ชนเหล่าใด มีปัญญาเป็นพหูสูต ตรึกตรอง
เหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก ชนเหล่านั้นควรคบหาแท้ทีเดียว
ข้าแต่พระมหาราชา พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น
นางนาคกัญญา และตัวข้าพระพุทธเจ้าแล้ว ขอจง
บำเพ็ญบุญให้มากเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กโรหิ ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
พระองค์พึงกระทำ (บุญกุศลให้มาก ๆ เถิด).


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ครั้นพระมหาสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้าอุคคเสนะ ทรงมีพระ
ประสงค์จะเสด็จกลับไปยังมนุษยโลก จึงตรัสอำลาว่า ดูก่อนท่านนาคราช
เรามาอยู่ก็เป็นเวลานาน จำจักต้องลากลับไปยังมนุษยโลก.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าจึงทูลท้าวเธอว่า ขอเดชะ พระมหาราชเจ้า
ถ้าเช่นนั้นพระองค์โปรดเลือกถือเอาทรัพย์สมบัติไปตามพระประสงค์เถิด เมื่อ
จะทรงแสดงทรัพย์สมบัติ จึงกราบทูลว่า

กองเงินและกองทอง ของข้าพระพุทธเจ้านี้มาก
มาย สูงประมาณเท่าต้นตาล พระองค์จงตรัสสั่งให้
พวกราชบุรุษขนไปจากนาคพิภพนี้ แล้วจงตรัสสั่งให้
สร้างพระราชวังด้วยทองคำ ให้สร้างกำแพงด้วยเงิน
เถิด.

นี้กองแก้วมุกดา อันเจือปนด้วยแก้วไพฑูรย์
ห้าพันเล่มเกวียน พระองค์จงตรัสสั่งให้ราชบุรุษขนไป
จากนาคพิภพนี้ แล้วให้ลาดลง ณ ภูมิภาคภายใน
พระราชฐาน ภูมิภาคภายในพระราชฐานก็จักสะอาด
ปราศจากเปลือกตมและละอองธุลี ขอเดชะพระองค์
ผู้เป็นราชาอันประเสริฐ ผู้ทรงพระปรีชาอันล้ำเลิศ
ขอพระองค์โปรดเสวยราชสมบัติ ครอบครองพระ-

นครพาราณสี อันมั่งคั่งสมบูรณ์ สง่างามล้ำเลิศ ดุจ
ทิพยวิมานเห็นปานฉะนี้เถิด พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราสิ ความว่า กองเงินกองทองประมาณ
ชั่วลำตาล มีอยู่ในที่นั้น ๆ. บทว่า โสวณฺณฆรานิ ได้แก่ พระราชวังทอง.
บทว่า นิกฺกทฺทมา ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภูมิภาคภายในพระราชฐาน
ก็จักสะอาดปราศจากเปลือกตมและละอองธุลี. บทว่า เอตาทิสํ ความว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
(ครอบครองพระนครพาราณสี) อันมีกำแพงล้อมไปด้วยทองและเงิน มีภูมิภาค
ลาดแล้วด้วยแก้วมุกดา และแก้วไพฑูรย์ เห็นปานฉะนี้. บทว่า ผีตํ ความว่า
ขอพระองค์จงทรงอยู่ครอบครองพระนครพาราณสี อันมั่งคั่งแพร่หลายฉะนี้.
บทว่า อโนมปฺา ความว่า มีพระปัญญาอันไม่ทราม.

พระราชาทรงสดับถ้อยคำของพระมหาสัตว์แล้วก็ทรงรับไว้. พระ-
มหาสัตว์จึงให้พนักงานเภรี เที่ยวตีกลองประกาศว่า ราชบุรุษทั้งปวงจงพากัน
ขนเอาทรัพย์สมบัติ มีเงินทองเป็นต้นไปตามปรารถนาเถิด แล้วเอาเกวียน
หลายร้อยเล่มบรรทุกทรัพย์สมบัติ ส่งถวายพระราชา. พระราชาเสด็จออกจาก
นาคพิภพ กลับไปสู่พระนครพาราณสี ด้วยยศบริวารเป็นอันมาก. เล่ากันว่า
นับแต่นั้นมา พื้นชมพูทวีปจึงเกิดมีเงินมีทองขึ้น.

พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า
โปราณบัณฑิตทั้งหลาย ละนาคสมบัติแล้ว อยู่รักษาอุโบสถศีล ด้วยอาการ
อย่างนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า หมองูในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต
ในบัดนี้ นางนาคกัญญาสุมนาเทวี ได้มาเป็นราหุลมารดา พระเจ้าอุคคเสนราช
ได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนจัมเปยยนาคราช ได้มาเป็นเราผู้ตถาคตฉะนี้แล.
จบอรรถกถาจัมเปยยชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถามหาปโลภนชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
มาตุคามทำสัตว์ผู้บริสุทธิ์ให้เศร้าหมอง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
พฺรหฺมโลกา จวิตฺวาน ดังนี้.

เรื่องปัจจุบัน ข้าพเจ้ากล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง. ก็ในชาดกนี้
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่ามาตุคามนี้ ย่อมกระทำสัตว์ผู้บริสุทธิ์
ให้เศร้าหมองได้ ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้

เรื่องอดีตนิทาน บัณฑิตพึงให้พิสดารตามนัยที่กล่าวแล้ว ในจุลล-
ปโลภนชาดก ในอดีต. ก็ในครั้งนั้น พระมหาสัตว์เจ้า จุติจากพรหมโลก มาบัง
เกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสิกราช ทรงพระนามว่า อนิตถิคันธกุมาร.
พระกุมารไม่ยอมอยู่ในมือของสตรีเลย. สตรีที่จะให้พระกุมารดื่มน้ำนมต้อง
แปลงเป็นบุรุษเพศ พระราชกุมารโปรดประทับในฌานาคาร ไม่อยากพบเห็น
สตรีเพศ.

พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๔ คาถา
ความว่า
เทพบุตรผู้มีฤทธิมาก จุติจากพรหมโลกแล้ว มา
เกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสี ผู้ทรงดำรงอยู่ใน
ราชสมบัติ อันเพรียบพร้อมด้วยสรรพกาม.
ความใคร่ก็ดี ความสำคัญในกามก็ดี ไม่มีใน
พรหมโลกเลย พระราชกุมารนั้นจึงทรงรังเกียจกาม
ทั้งหลาย ด้วยฌานสัญญาอันบังเกิดในพรหมโลกนั้น
เอง.

พระราชบิดาตรัสสั่งให้สร้างฌานาคารไว้ภายใน
พระราชฐาน สำหรับพระราชกุมารนั้นทรงหลีกเร้น
บำเพ็ญฌานในอาคารนั้นเพียงพระองค์เดียว.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระเจ้ากาสิกราช ทรงอัดอั้นตันพระทัย ด้วย
ความเศร้าโศกถึงพระโอรส ทรงปริเทวนาการว่าโอรส
คนเดียวของเรานี้ ไม่ยินดีเสวยกามารมณ์เสียเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพกามสมิทฺธิสุ ความว่า ก็เทพบุตร
องค์หนึ่ง บังเกิดเป็นพระโอรสของพระราชา ผู้ดำรงอยู่ในราชสมบัติอันมั่งคั่ง
บริบูรณ์ด้วยสรรพกามารมณ์. บทว่า สฺวาสฺสุ ความว่า พระราชกุมารนั้น.
บทว่า ตาเยว ความว่า ด้วยฌานสัญญาอันบังเกิดแล้วในพรหมโลกนั้นเอง.

บทว่า สุมาปิตํ ความว่า พระราชบิดาทรงสร้างฌานาคารไว้อย่างน่าพึงใจยิ่ง.
บทว่า รหสิ ฌายถ ความว่า พระกุมารหาได้สนพระทัยมองดูมาตุคามไม่.
บทว่า ปริเทเวสิ ความว่า ทรงบ่นพร่ำเพ้อ.
คาถาที่ ๕ เป็นคาถาแสดงความปริเทวนาการของพระราชา ความว่า

อุบายในข้อนี้มีอยู่อย่างไรหนอ ผู้ใดพึงประเล้า-
ประโลมโอรสของเรา ให้เธอปรารถนากามได้ หรือว่า
ผู้นั้นใครเล่าจะรู้เหตุที่จะให้โอรสของเราพัวพันในกาม
ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ โขตฺถ อุปาโย โส ความว่า
ในเรื่องนี้ จะมีอุบายให้โอรสของเราเสวยกามสมบัติได้อย่างไรหนอ. ปาฐะว่า
โก นุโข อิธูปาโย โส อุบายในข้อนี้ มีอยู่อย่างไรหนอ ดังนี้ก็มี แต่ใน
อรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า โก นุโข ตํ อุปวสิตฺวา อุปลาปนการณํ

ชานาติ ความว่า ใครเล่าหนอที่จะเข้าไปรู้เหตุที่ทำให้ลูกของเราเข้าไปพัวพัน
อยู่ในกามได้. บทว่า โก วา ชานาติ กิฺจนํ ความว่า หรือว่าใครจะ
รู้เหตุให้โอรสของเรานี้หมกมุ่นในกามได้.

เบื้องหน้าต่อไปนี้ เป็นอภิสัมพุทธคาถาอันพระศาสดาตรัสไว้ พระ-
คาถากึ่ง ความว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ภายในพระราชฐานนั้นเอง มีกุมารีคนหนึ่ง มี
ฉวีวรรณงดงาม รูปสวย ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง
และชำนาญในการดีดสีตีเป่า นางเข้าไปในพระราช-
ฐานนั้นแล้ว กราบทูลความนี้กะพระราชา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
ภายในพระราชฐานนั้นเอง มีดรุณกุมารีนางหนึ่งในจำนวนจูฬนาฏนารีทั้งหลาย.
บทว่า ปทกฺขิณา ความว่า ได้รับการฝึกจนชำนาญ.
นางกุมาริกา กล่าวคาถากึ่งคาถาทูลพระราชา ความว่า

เกล้ากระหม่อมฉันนี้แล จะพึงประเล้าประโลม
พระราชกุมารนั้นได้ ถ้าหากพระราชกุมารนั้น จักได้
เป็นพระภัสดาของกระหม่อมฉัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ ภตฺตา ความว่า ถ้าพระราชกุมารนั้น
จักเป็นพระภัสดาของหม่อมฉัน.

พระราชาจึงตรัสกะนางกุมาริกา ผู้กล่าวยืนยัน
เช่นนั้นว่า เธอจงประเล้าประโลมลูกของเรา ลูกของ
เราจักเป็นสามีของเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตว ภตฺตา ความว่า โอรสของเรานี้
จักเป็นสามีของเจ้า และตัวเจ้าก็จักได้เป็นอัครมเหสีแห่งโอรสของเราทีเดียว
ไปเถิด เจ้าจงประเล้าประโลมล่อพระโอรส ให้ทราบซึ้งกามรส.

ครั้นพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงส่งนางกุมาริกานั้นไปมอบแก่ชาว
พนักงาน ผู้อภิบาลบำรุงพระกุมาร โดยพระราชโองการว่า เจ้าพนักงาน
ผู้อภิบาลทั้งหลาย จงเปิดโอกาสแก่นางกุมาริกานี้เถิด. ในเวลาใกล้รุ่ง นาง
กุมาริกาถือพิณไปยืนอยู่ภายนอกใกล้ห้องบรรทมของพระกุมาร แล้วเอาปลาย
เล็บดีดพิณ ขับกล่อมคลอไปด้วยเสียงอันไพเราะ ประโลมล่อพระกุมารนั้น.

พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัส (พระคาถา
ทั้งหลาย) ความว่า


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นางกุมารีนั้น ได้เข้าไปภายในพระราชฐานแล้ว
จึงกล่าวเป็นคาถาไพเราะ จับจิตใจ ยั่วยวนชวนให้
รักใคร่ เปลี่ยนแปลงขับลำนำ ประกอบไปด้วยกามา-
รมณ์ มากมายหลายอย่าง.
กามฉันทะบังเกิดแก่พระราชกุมารนั้น เพราะได้
ทรงสดับเสียงของนางกุมารี ผู้ขับกล่อมอยู่ พระราช-
กุมารจึงตรัสถามคนที่อยู่ใกล้เคียงว่า โอ ! นั่นเสียงใคร
หรือใครมาขับร้องเสียงสูงต่ำไพเราะจับใจ น่ารักนัก-
หนา ไพเราะหูของเรานัก.

(พวกพระพี่เลี้ยงจึงกราบทูลว่า) ขอเดชะ เสียงนี้
น่ายินดี น่าสนุกสนานมิใช่น้อย ถ้าพระองค์พึงบริโภค
กามคุณไซร้ กามทั้งหลายจะพึงเป็นที่โปรดปรานพอ-
พระทัยของพระองค์อย่างยิ่ง.
(พระราชกุมารรับสั่งว่า) เชิญมาภายในนี้ จงมา
ขับร้องใกล้ๆ เรา เลื่อนเข้ามาขับใกล้ตำหนักของเรา
จงขับกล่อมใกล้ที่บรรทมของเรา.

นางกุมารีนั้น เข้าไปขับกล่อมภายนอกฝาห้อง
บรรทม แล้วเลื่อนเข้าไป ณ ตำหนักฌานาคารโดย
ลำดับ จนผูกพระราชกุมารไว้ได้ เหมือนนายหัตถา-
จารย์ จับคชสารป่า มัดไว้ฉะนั้น.

เพราะรู้กามรสโลกีย์แห่งนางกุมารีนั้น พระราช
กุมารจึงเกิดความปรารถนาเป็นอธรรมว่า เราเท่านั้น
พึงได้บริโภคกาม อย่าได้มีบุรุษอื่นเลย ต่อแต่นั้น
พระราชกุมารทรงถือดาบเล่มหนึ่งแล้ว เสด็จไปเพื่อจะ
ฆ่าบุรุษทั้งหลายเสีย ด้วยทรงดำริว่า เราจักบริโภคกาม
แต่เพียงผู้เดียว อย่าพึงมีบุรุษอื่นอยู่เลย.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ต่อแต่นั้น ชาวชนบททั้งปวงจึงมาประชุมกัน
ถวายเรื่องราวร้องทุกข์ว่า ข้าแต่พระมหาราชา พระ-
ราชโอรสของพระองค์นี้ ทรงเบียดเบียนผู้หาโทษมิได้
พระเจ้าข้า.

พระเจ้ากาสีบรมกษัตริย์ ทรงเนรเทศพระราช-
กุมารออกไปจากรัฐสีมาของพระองค์แล้ว มีพระราช
โองการว่า อาณาเขตของเรามีอยู่เพียงใด เจ้าอย่าอยู่
ในอาณาเขตของเราเพียงนั้นเป็นอันขาด.
ครั้งนั้น พระราชกุมารทรงพาพระชายาไปจน
บรรลุถึงสมุทรนทีแห่งหนึ่ง ทรงสร้างบรรณศาลา
แล้ว จึงเสด็จเข้าไปสู่ป่า เพื่อแสวงหาผลาผล.

ครั้งนั้น มีฤาษีตนหนึ่ง มาถึงบรรณศาลานั้น
โดยทางเบื้องบนสมุทร เข้าไปยังบรรณศาลาของพระ-
ราชกุมาร ในเวลาที่นางกุมารี จัดแจงภัตตาหารไว้แล้ว.
ชายาของพระราชกุมาร ประเล้าประโลมฤาษีนั้น
ดูเถิด กรรมที่นางกุมารีทำนั้นหยาบช้าเพียงไร ฤาษี
นั้นเคลื่อนจากพรหมจรรย์เสื่อมจากฤทธิ์.

ฝ่ายพระราชโอรสแสวงหามูลผลาผลในป่าได้
จำนวนมากแล้ว ครั้นถึงเวลาเย็น จึงใส่หาบขนเข้าไป
สู่อาศรม.
ฝ่ายพระฤาษีพอเห็นพระขัตติยราชกุมาร จึงรีบ
เข้าไปยังฝั่งสมุทร ด้วยตั้งใจว่า เราจักไปทางเวหาส
แต่ต้องจมลงในมหรรณพนั่นเอง.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ฝ่ายขัตติยราชกุมาร ได้ทอดพระเนตรเห็นฤาษี
จมลงในมหรรณพ จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ด้วย
ความอนุเคราะห์ต่อพระฤาษีนั้นว่า

ตัวท่านเองมาด้วยฤทธิ์ บนน้ำอันไม่แตกแยก
ครั้นถึงความระคนด้วยสตรีแล้วต้องจมลงในมหรรณพ
ธรรมดาสตรีมีปกติหมุนเวียน มีมายามาก มักทำ
พรหมจรรย์ให้กำเริบ ย่อมทำนักพรตให้จมลง ท่าน
รู้แจ้งฉะนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล สตรีทั้งหลาย
มีวาจาไพเราะ เจรจานุ่มนวล ถมไม่เต็มเหมือนกับ

นทีธาร ย่อมยังนักพรตให้จมลง ท่านรู้แจ้งฉะนี้แล้ว
พึงเว้นเสียให้ห่างไกล สตรีทั้งหลายย่อมเข้าไปซ่อง-
เสพบุรุษใด ด้วยความพอใจหรือด้วยทรัพย์ก็ตาม ย่อม
พลันตามเผาผลาญบุรุษนั้น เหมือนไฟป่าเผาสถานที่
ตนเองฉะนั้น.

ความเบื่อหน่ายได้เกิดมีแก่ฤาษี เพราะได้ฟัง
ถ้อยคำของขัตติยราชกุมาร ฤาษีนั้นกลับได้ทางอันมี
มาก่อน แล้วเหาะขึ้นไปยังเวหาส.
ฝ่ายขัตติยราชกุมารผู้ทรงพระปรีชา ได้ทอด-
พระเนตรเห็นพระฤาษีกำลังเหาะไปยังเวหาส จึงได้
ความสลดจิต น้อมพระทัยสู่การบรรพชา ต่อแต่นั้น
ขัตติยราชกุมารก็ทรงบรรพชา สำรอกกามราคะแล้ว
ได้เข้าถึงพรหมโลก.


* เวลาจะมีมากขึ้นหากตัดสิ่งที่เป็นอสาระออกจากชีวิตไปบ้าง
* ฝึกตนพ้นภัย ฝึกใจพ้นทุกข์ ยิ่งทุกข์มากหากมิฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
* รถติดอากาศเป็นพิษ ชีวิตย่อมจะลำบาก
* รักต้นไม้ก็เหมือนรักชีวิต เพราะทุกชีวิตจะอยู่ได้ก็เพราะมีต้นไม้
* การปลูกต้นไม้การสร้างนั้นยาก แต่ก็ตัดและทำลายนั้นง่ายมาก
* ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความเจริญ มิควรเพลิดเพลินอยู่กับรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* อีกไม่ช้าเราก็ต้องตาย แล้วจะก่อความวุ้นวายใจไปทำไม

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 56, 57, 58, 59, 60, 61, 62 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร