วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ย. 2024, 23:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2012, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
(ภาพประกอบจากเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์ ม.ราชมงคล)

:b39: :b39:

ในอดีตกาล เมื่อครั้งพระเจ้าพรหมทัตครองกรุงพาราณสี
พระองค์ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง
ทรงพระนามว่า "เจ้าชายพรหมทัต" เช่นเดียวกับพระนามของพระราชบิดา
เมื่อทรงเจริญวัย พระราชบิดาทรงส่งไปศึกษาศิลปวิทยา
ที่นครตักศิลากับอาจารย์ทิศาปาโมกข์
ซึ่งพระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ดังกล่าว
พระราชกุมารเป็นศิษย์ประเภทจ่ายทรัพย์ให้อาจารย์แล้วเรียนศิลปวิทยา
โดยไม่ต้องทำงานให้อาจารย์เหมือนพวกศิษย์อื่นๆ

วันหนึ่งขณะที่อาจารย์และศิษย์อีกหลายคนพากันไปอาบน้ำที่ท่าน้ำ
มีหญิงชราคนหนึ่งตากเมล็ดงา แล้วนั่งเฝ้าถาดงานั้นอยู่ในร่ม
พระราชกุมารเห็นเมล็ดงานั้นจึงกำมากำมือหนึ่งแล้วเสวย
หญิงชราก็ไม่ว่าอะไร

วันรุ่งขึ้นพระราชกุมารก็ทำเช่นนี้อีก หญิงชราจึงโวยวาย ว่า
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ให้ลูกศิษย์มาปล้นตน
เมื่ออาจารย์ทิศาปาโมกข์รู้เรื่องจึงสั่งลงโทษ
โดยให้ศิษย์ ๒ คนจับแขนเจ้าชายไว้แล้วเอาซีกไม้ไผ่เฆี่ยน ๓ ที
พร้อมกับสั่งสอนไม่ให้เจ้าชายทำเช่นนั้นอีก
ฝ่ายเจ้าชายนั้นทั้งเจ็บทั้งอายจึงอาฆาตแค้นอาจารย์ว่า
จะฆ่าอาจารย์เสียให้ได้ในวันหนึ่งข้างหน้า

ในที่สุดการศึกษาของเจ้าชายพรหมทัตก็จบหลักสูตร
จึงเข้าไปลาอาจารย์กลับพระนคร พร้อมรับสั่งว่า
เมื่อตนได้ราชสมบัติจะส่งข่าวถึงอาจารย์ให้ไปพบให้ได้
เมื่อเสด็จถึงนครพาราณสี พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงพอพระทัยมาก
ได้สถาปนาไว้ในราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบแทนพระองค์ต่อไป
พระราชาจึงส่งทูตไปเชิญอาจารย์ที่นครตักสิลา

ฝ่ายอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมื่อได้รับพระราชสาส์นก็คิดว่า
ขณะนี้พระราชายังทรงรุ่นหนุ่ม มีอารมณ์รุนแรง
จักไม่อาจถวายคำแนะนำให้เข้าพระทัยได้ จึงมิได้เข้าเฝ้าตามรับสั่ง
ต่อเมื่อพระราชาทรงเข้าสู่มัชฌิมวัย
อาจารย์จึงได้ออกจากนครตักสิลาไปเฝ้าพระราชา
เพราะเห็นว่าพระราชาทรงเป็นผู้ใหญ่ สามารถเข้าพระทัยในเหตุผลต่างๆได้

ครั้นอาจารย์มาถึงตำหนัก พระราชาจึงรับสั่งกับอำมาตย์ที่เฝ้าอยู่นั้นว่า
คนนี้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ที่เคยเฆี่ยนตีพระองค์
รอยเฆี่ยนนั้นยังฝังอยู่ที่ใจ
อาจารย์คงไม่รู้ว่า ตนเองมาหาความตาย จึงกล่าวสุภาษิตว่า

"การที่ท่านจับแขนเราไว้แล้วเฆี่ยนตีด้วยซีกไม้ไผ่เพราะเหตุเพียงเมล็ดกำมือหนึ่งนั้น
ยังฝังใจเราอยู่ทุกวันนี้ ดูกรพราหมณ์..ท่านไม่ไยดีในชีวิตของท่านแล้วหรือจึงมาหาเราถึงที่นี่
ผลที่ท่านให้จับแขนทั้งสองของเราแล้วเฆี่ยนตีถึง ๓ ทีนั้นจักสนองท่านในวันนี้"


เมื่ออาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงกล่าวสุภาษิตตอบว่า

"อริยชนใดย่อมกีดกันอนารยชนผู้กระทำชั่วด้วยการลงโทษ
การกระทำของอริยชนนั้นเป็นการสั่งสอน...หาใช่เวรไม่
บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้ชัดข้อนั้นอย่างนี้แล.."


เมื่อฟังอาจารย์กล่าวเช่นนั้น เหล่าอำมาตย์ที่กำลังเฝ้าอยู่
จึงทูลสนับสนุนสุภาษิตของอาจารย์ทิศาปาโมกข์
พระราชาก็ทรงได้พระสติ และ ทรงเข้าพระทัยในเหตุผลของอาจารย์ทุกประการ
ในที่สุด จึงทรงประทานตำแหน่งปุโรหิตแก่อาจารย์และตั้งอยู่ในฐานะพระราชบิดา
ดำรงอยู่ในโอวาทของพระอาจารย์นั้น
บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุมีทาน เป็นต้น มีสุคติเป็นเบื้องหน้า


(ติลมุฏฐิชาดก ติกนิบาต สังกัปปวรรค ข้อ ๓๕๕-๓๕๗)


:b43: :b43:


คัดลอกจากหนังสือเรื่อง เตือนตนด้วยพุทธโอวาท
เรียบเรียงโดย แก้ว สุพรรโณ
กรุงเทพ : ไพลิน, ๒๕๔๒ หน้า ๓๘-๔๐

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2018, 08:04 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2885


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร