วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2016, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




b_a019.gif
b_a019.gif [ 37.11 KiB | เปิดดู 1288 ครั้ง ]
ถ้าจะช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมนี้ แต่ยังห่วงผลดี
ต่อตัวตน ผลดีเชิงบุคคลและผลดีเชิงคาานิยมทางสังคมอยู่ ก็ขอแค่ว่า อย่า
ถึงกับละทิ้งหรือละเลยความต้องการผลดีที่ตรงตามธรรม ผลดีต่อชีวิต และ
ผลดีที่แท้ต่อสังคม เอาพอประนีประนอมกัน

แค่นี้ก็จะประคับประคองโลกมนุษยให้พออยู่กินไปได้แต่จะเอาดีจริงคงยาก
เพราะมนุษย์นี้เองไม่ได้ต้องการผลดีแท้จริงทิ ตรงตามธรรมของกรรมดี
๕) ทำกรรมเก่าให้เกิดประโยชน์
คนไทยสมัยนี้ได้ยินคําว่า “กรรม” มักจะนึกไปในแง่ว่ากรรมจะตามมา
ให้เคราะห์ให้โทษอย่างไร พูดถึงกรรมก็จะนึกถึงอะไรอย่างหนึ่งที่คอยตามจะ
ลงโทษ หรือทําให้เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ โดยเฉพาะคิดไปถึงชาติก่อน คือ
มองกรรมในแง่กรรมเก่า และเป็นเรื่องไม่ดี

คำว่า“กรรมเก่า” ก็บอกอยู่ในตัวเองแล้วว่า มันถูกจํากัดให้หดแคบ
เข้ามาเหลือเพียงส่วนหนึ่ง เพราะเติมคําว่า “เก่า” เข้าไป กรรมก็เหลือแคบ
เข้ามา ยิ่งนึกในแง่ว่ากรรมไม่ดีอีก ก็ยิ่งแคบหนักเข้า รวมแล้วก็คือเป็นกรรม
ที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไปๆ มาๆ ก็เลยอะไรๆ ก็แลวแต่กรรม (เก่า-ที่ไม่ดี)
บางทีถึงกับมีการหาทางตัดกรรม เลยพลัดออกไปจากพระพุทธศาสนา

ความจริง กรรมก็เป็นเรื่องธรรมดาธรรมชาติคือเป็นเรื่องความเป็น
ไปตามเหตุปัจจัยของชีวิตมนุษย์ ที่มีเจตนา มีการคิด การพูด และการ
กระทำแสดงออก มีความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย แล้วก็เกิดผลต่อเนื่องกัน
ไปในความสัมพันธ์นั้น

ถ้ามัวไปยึดถือว่า แล้วแต่กรรมเก่าปางก่อนอย่างเดียว ก็จะทำกรรม
ใหม่ที่เป็นบาปอกุศลโดยไม่รู้ตัว
หมายความว่า ใครก็ตามที่ปลงว่า “แล้วแต่กรรม (เก่า)” นั้น ก็คือ
เขากําลังทําความประมาท ที่ปล่อยปละละเลย ไม่ทํากรรมใหม่ที่ควรทํา
ความประมาทนั้นก็เลยเป็นกรรมใหม่ของเขา ซึ่งเป็นผลจากโมหะ แล้วกรรม
ใหม่ที่ประมาทเพราะโมหะหลงงมงายนั้น ก็จะก่อผลร่ายแก่เขาต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2016, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




b_a028.gif
b_a028.gif [ 29.95 KiB | เปิดดู 1288 ครั้ง ]
ความเชื่อว่าชีวีตจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่กรรมเก่า กรรมปางก่อนหรือ
กรรมในชาติก่อน คือลัทธิกรรมเก่านั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่เรี่ยกว่า ปุพเพกตเหตุวาท
หรือเรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตวาท ดังพุทธพจน์ที่แสดงแล้วข้างต้น
ท่านไม่ได้สอนว่าไม่ให้เชื่อกรรมเก่า แต่ท่านสอนไม่ให้เชื่อว่าอะไรๆ
จะเป็นอย่างไรก็เพราะกรรมเก่า

การเชื่อแต่กรรมเก่า ก็สุดโต่งไปข้างหนึ่ง
การไม่เชื่อกรรมเก่า ก็สุดโต่งไปอีกข้างหนึ่ง
ได้กล่าวแล้วว่า “กรรม” พอเติม “เก่า” เข้าไป คําเดิมที่กว้าง
ครบถ้วนสมบูรณ์ ก็หดแคบเข้ามาเหลืออยู่ส่วนเดียว อย่ามองกรรมที่กว้าง
สมบูรณ์ให้เหลือส่วนเดียวแค่กรรมเก่า
เรื่องกรรมที่เชื่อกันในแง่กรรมเก่านี้มีจุดพลาดอยู่ ๒ แง่ คือ

๑. ไปจับเอาส่วนเดียวเฉพาะอดีต ทั้งที่กรรมนั้นก็เป๋นกลางๆ ไม่จํากัด
ถ้าแยกโดยกาลเวลาก็ต้องมี ๓ คือ กรรมเก่า (ในอดีต) กรรมใหม่ (ใน
ปัจจุบัน) กรรมข่างหน้า (ในอนาคต) ต้องมองให้ครบ

๒. มองแบบแยกขาดตัดตอน ไม่มองให ้ เห็นความเป็นไปของเหตุ ปัจจัย
ที่ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด คือ ไม่มองเป็นกระแสหรือกระบวนการที่ต่อเนื่อง
อยู่ตลอดเวลา แต่มองเหมือนกับว่ากรรมเก่าเป็นอะไรก่อนหนึ่งที่ลอยตาม
เรามาจากชาติก่อน แล้วมารอทําอะไรกับเราอยู่เรื่อยๆ

ถ้ามองกรรมให้ถูกต้องทั้ง ๓ กาล และมองอย่างเป็นกระบวนการ
ของเหตุปัจจัย ในด้านเจตจํานง และการทํา-คิด-พูด ของมนุษย์ ที่ต่อเนื่อง
อยู่ตลอดเวลา ก็จะมองเห็นกรรมถูกต้อง ชัดเจนและง่ายขึ้น ในที่นี้แม้จะไม่
อธิบายรายละเอียด แต่จะขอให้จุดสังเกตในการทําความเข้าใจ ๒-๓ อย่าง

๑. ไม่มองกรรมแบบแยกขาดตัดตอน คือ มองให้เห็นเป็นกระแสที่ต่อ
เนื่องตลอดมาจนถึงขณะนี้และกำลังดำเนินสืบต่อไป
ถ้ามองกรรมให้ครบ ๓ กาล และมองเป็นกระบวนการต่อเนื่อง จาก
อดีต มาถึงบัดนี้และจะสืบไปข้างหน้า ก็จะเห็นว่า กรรมเก่า (ส่วนอดีต) ก็
คือ เอาขณะปัจจุบันเดี๋ยวนี้เป็นจุดกําหนด นับถอยจากขณะนี้ ย้อนหลังไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2016, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




water_glass_PNG15227.png
water_glass_PNG15227.png [ 154.19 KiB | เปิดดู 1288 ครั้ง ]
นานเท่าไรก็ตาม กี่ร้อยกี่พันชาติก็ตาม มาจนถึงขณะหนึ่งหรือวินาทีหนึ่ง
ก่อนนี้ก็เป็นกรรมเก่า (ส่วนอดีต) ทั้งหมด
กรรมเก่าทั้งหมดนี้ คือกรรมที่ได้ทําไปแล้ว ส่วนกรรมใหม่ (ใน
ปัจจุบัน) ก็คือที่กําลังทําๆ ซึ่งขณะต่อไปหรือวินาทีต่อไป ก็จะกลายเป็นกรรม
เก่า (ส่วนอดีต) และอีกอย่างหนึ่งคือ กรรมข้างหน้า ซึ่งยังไม่ถึง แต่จะทําในอนาคต

กรรมเก่านั้นยาวนานและมากนักหนา สําหรับคนสามัญ กรรมเก่าที่
จะพอมองเห็นได้ก็คือกรรมเก่าในชาตินี้ ส่วนกรรมเก่าในชาติก่อนๆ ก็อาจ
จะลึกล้ำเกินไป เราเป็นนักศึกษาก็ค่อยๆ เริ่มจากมองใกล้หน่อยก่อน แล้วจึง
ค่อยๆ ขยายไกลออกไป

อย่างเช่นเราจะวัดหรือตัดสินคนด้วยการกระทําของเขา กรรมใหม่ใน
ปัจจุบันเรายังไม่รู่ว่าเขากําลังจะทําอะไร เราก็ดูจากกรรมเก่า คือความ
ประพฤติและการกระทําต่างๆ ของเขาย้อนหลังไปในชีวิตนี้ตั้งแต่วินาทีนี้ไป
นี้ก็กรรมเก่า ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เลย

๒. รู้จักตัวเองทั้งทุนที่มีและข้อจำกัดของตน พร้อมทั้งเห็นตระหนักถึงผล
สะท้อนที่ตนจะประสบซึ่งเกิดจากกรรมที่ตนได้ ประกอบไว้
กรรมเก่ามีความสําคัญอย่างยิ่งต่อเราทุกคน เพราะแต่ละคนที่เป็น
อยู่ขณะนี้ก็คือผลรวมของกรรมเก่าของตนที่ได้สะสมมา ด้วยการทํา-พูด-
คิด การศึกษาพัฒนาตน และความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ในอดีตทั้งหมด
ตลอดมาจนถึงขณะหรือวินาทีสุดท้ายก่อนขณะนี้

กรรมเก่านี้ให้ผลแก่เรา หรือเรารับผลของกรรมเก่านั้นเต็มที่ เพราะ
ตัวเราที่เป็นอยู่ขณะนี้ เป็นผลรวมที่ปรากฏของกรรมเก่าทั้งหมดที่ผ่านมา
กรรมเก่านั้นเท่ากับเป็นทุนเดิมของเราที่ได้สะสมไว้ซึ่งกําหนดว่า เรามีความ
พร้อม มีวิสัยขีดความสามารถทางกาย วาจา ทางจิตใจ และทางปัญญาเท่า
ไร และเป็นตัวบ่งชี้ว่าเราจะทําอะไรได้ดีหรือไม่ อะไรเหมาะกับตัวเรา เราจะ
ทําได้แค่ไหน และควรจะทําอะไรต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร