วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิสนธิ คือ การสืบต่อภพชาติ หรือการเกิดขึ้นในภพใหม่ชาติใหม่ หมายถึง ว่า เมื่อภพเก่า ชาติเก่าสิ้นสุดลงแล้ว จิต เจตสิก กัมมชรูป ปรากฏขึ้นเป็นครั้ง แรกในภพใดภพหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งการสืบต่อภพเก่ากับภพใหม่ นั่นแหละเรียกว่า ปฏิสนธิ ปฏิสนธินี้มี ๔ พวกด้วยกัน คือ

๑. อบายปฏิสนธิ คือการปรากฏขึ้นแห่ง จิต เจตสิก และกัมมชรูปเป็นขณะ แรกในอบายภูมิ ๔

๒. กามสุคติปฏิสนธิ คือ จิต เจตสิก และกัมมชรูป ปรากฏขึ้นในขณะแรก ในกามสุคติภูมิ ๗

๓. รูปาวจรปฏิสนธิ คือ จิต เจตสิก และกัมมชรูป ปรากฏขึ้นเป็นขณะแรก ในรูปภูมิ ๑๕ และการปรากฏขึ้นเป็นขณะแรกแห่งกัมมชรูป(อย่างเดียว) ในอสัญญ สัตตภูมิ ๑

๔. อรูปาวจรปฏิสนธิ คือจิตและเจตสิก ปรากฏขึ้นเป็นขณะแรกในอรูปภูมิ ๔

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ก. อบายปฏิสนธิ

อุเบกขาสันตีรณ อกุสลวิบาก ๑ ดวงย่อมเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เป็นปฏิสนธิ จิตของสัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย

เมื่อได้ทำหน้าที่ปฏิสนธิในปฏิสนธิกาล คือขณะแรกเกิดแล้ว ต่อจากนั้นก็ทำ หน้าที่ภวังค-(เว้นแต่เวลาที่จิตขึ้นวิถี)-ตลอดทั้งชาติ จนถึงวาระสุดท้ายแห่งภพนั้น ชาตินั้น จึงทำหน้าที่จุติ เป็นอันสิ้นภพนั้นชาตินั้นกันเสียที

ดังนี้จะเห็นได้ว่า เมื่อได้ปฏิสนธิด้วยจิตดวงใดแล้ว จิตดวงนั้นแหละทำหน้าที่ ภวังครักษาภพชาตินั้นไว้และที่จิตดวงนั้นอีกนั่นแหละ ทำหน้าที่จุติหาใช่จิตอื่นใดไม่

ภูมิที่เกิดของสัตว์เหล่านี้เป็นทุคคติภูมิ และปฏิสนธิจิตก็เป็นพวกอเหตุกจิต เหตุนี้จึงเรียกสัตว์เหล่านี้ว่าทุคคติอเหตุกบุคคล แต่ส่วนมากเรียกกันสั้น ๆ ว่าทุคคติ บุคคล

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. กามสุคติปฏิสนธิ

๑. อุเบกขาสันตีรณ กุสลวิบาก ๑ ดวงย่อมเกิดในมนุสสภูมิ ๑ และในจาตุม มหาราชิกาภูมิ ๑

มนุษย์ ผู้ปฏิสนธิด้วยอุเบกขาสันตีรณกุสลวิบากนี้ เป็นผู้มีบุญน้อยจึงพิการ ต่าง ๆ มาแต่กำเนิด ไม่ใช่มาพิการในภายหลัง ความพิการนี้มีถึง ๑๐ ประการ คือ

    ๑. ชจฺจนฺธ ตาบอด

    ๒. ชจฺจพธิร หูหนวก

    ๓. ชจฺจฆานก จมูกเสีย ไม่ได้กลิ่น เพราะไม่มีฆานปสาท

    ๔. ชจฺจมูค เป็นใบ้

    ๕. ชจฺจชฬ โง่เง่าผิดปกติ นับสิบก็ไม่ถูก

    ๖. ชจฺจุมฺมตฺตก เป็นบ้า

    ๗. ปณฺฑก พวกบัณเฑาะก์ คือ พวกวิปริตในเรื่องเพศ

    ๘. อุภโตพยญฺชนก ผู้ปรากฏเป็น ๒ เพศ

    ๙. นปุํสก ผู้ไม่ปรากฏเพศ

    ๑๐. มมฺม ผู้ติดอ่าง

ส่วนเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ที่ปฏิสนธิด้วยอุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ก็ เฉพาะพวกเทวดาชั้นต่ำ เป็นพวกภุมมัฏฐเทวดา มีวินิปาติกอสุราบางพวก และตาม อรรถกถาแสดงว่า เวมานิกเปรตบางพวกอีกด้วย

ที่ว่าต้อง“บางพวก” ด้วยก็เพราะว่า เทวดาพวก วินิปาติกอสุรา และเวมานิก เปรต ที่มีปฏิสนธิจิตเป็นทวิเหตุกปฏิสนธิ หรือติเหตุกปฏิสนธิก็มี ใช่แต่เท่านั้น วินิ ปาติกอสุรานี้เป็นติเหตุกบุคคล ได้บรรลุมัคคผลก็มีเหมือนกัน

รวมความว่า ผู้ที่ปฏิสนธิด้วยอุเบกขาสันตีรณกุสลวิบากนี้ กล่าวตามนัยแห่ง พระอภิธัมมัตถสังคหะแล้ว มี ๑๑ พวก คือ มนุษย์พิกลพิการ ๑๐ และ วินิปาติก อสุรา ๑ ถ้ากล่าวตามนัยแห่งอรรถกถาแล้ว มี ๑๒ จำพวก โดยนับเวมานิกเปรต เพิ่มเข้าไปอีกด้วย

ภูมิที่เกิดของมนุษย์และเทวดาทั้ง ๑๑ หรือ ๑๒ จำพวกนี้ เป็นสุคติภูมิ แต่ ปฏิสนธิจิตเป็นอเหตุกจิต ดังนั้นจึงเรียกว่า สุคติอเหตุกบุคคล

๒. มหาวิบาก ๘ ดวง ย่อมเกิดในมนุสสภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ รวมเป็น ๗ ภูมิด้วยกัน

บรรดามนุษย์ทั้งหลาย (เว้นผู้ไม่สมประกอบ ๑๐ จำพวก) และเทพยดาทั้ง ปวง (เว้นเทวดาชั้นต่ำ ๒ จำพวก) ล้วนแล้วแต่ปฏิสนธิมาด้วยมหาวิบากดวงใด ดวงหนึ่งในจำนวน ๘ ดวงนั้น และก็จำแนกได้เป็น ๒ ประเภท หรือ ๒ บุคคล ประเภทที่เป็นญาณวิปปยุตต คือ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เรียกว่าเป็นทวิเหตุกบุคคล ส่วนประเภทที่เป็นญาณสัมปยุตต คือเป็นผู้ที่มีปัญญา ก็เรียกว่าเป็นติเหตุกบุคคล

อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ๑ ดวง มหาวิบาก ๘ ดวง รวมจิต ๙ ดวงนี้ กล่าวในเรื่องปฏิสนธิ ได้ชื่อว่า กามสุคติปฏิสนธิ และเมื่อรวมอุเบกขาสันตีรณ อกุสลวิบาก ๑ ดวงเข้าอีกด้วยแล้ว ก็ได้ชื่อว่า กามปฏิสนธิ ๑๐

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ค. รูปาวจรปฏิสนธิ

๑. รูปาวจรปฐมฌานวิบากจิต ๑ ดวง ย่อมเกิดในปฐมฌานภูมิ ๓ กล่าวคือ ปฐมฌานวิบากเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิตของรูปพรหมในปฐมฌานภูมิ ๓ ภูมิ

๒. รูปาวจรทุติยฌานวิบากจิต ๑ ดวง และรูปาวจรตติยฌานวิบากจิต ๑ ดวง ย่อมเกิดในทุติยฌานภูมิ ๓ ภูมิ

ทุติยฌานวิบาก กับตติยฌานวิบาก เป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ของรูป พรหม ในทุติยฌานภูมิ ๓ ภูมิ

ที่วิบากจิต ๒ ดวงนี้ ไปเกิดในทุติยฌานภูมิร่วมกันนั้น ก็ด้วยเหตุผลดังที่ได้ กล่าวแล้วข้างต้นในรูปภูมิ (หน้า ๑๕)

๓. รูปาวจรจตุตถฌานวิบาก ๑ ดวง ย่อมเกิดในตติยฌานภูมิ ๓ กล่าวคือ จตุตถฌานวิบาก เป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิตของรูปพรหมในตติยฌานภูมิ ๓ภูมิ

๔. รูปาวจรปัญจมฌานวิบาก ๑ ดวง ย่อมเกิดในจตุตถฌานภูมิ ๖ (เว้น อสัญญสัตตภูมิ ๑)

ปัญจมฌานวิบาก เป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ของรูปพรหมในจตุตถ ฌานภูมิ ๖ ภูมิ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ)

๕. รูปปฏิสนธิอย่างเดียว ย่อมเกิดในอสัญญสัตตภูมิ ๑ กล่าวคือ อสัญญสัตต พรหมมีการปฏิสนธิด้วยรูปเท่านั้นปฏิสนธิจิตไม่มี ทั้งนี้เป็นเพราะอำนาจของปัญจม ฌานกุสล ที่เกี่ยวด้วยสัญญาวิราคภาวนา

รวมรูปาวจรปฏิสนธินี้ มี ปฏิสนธิ ๖ ประการ คือ ปฏิสนธิด้วยรูปาวจรวิบาก จิต ๕ ปฏิสนธิด้วยรูปปฏิสนธิ (กัมมชรูป) ๑

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ง. อรูปาวจรปฏิสนธิ

๑. อากาสานัญจายตนวิบาก ๑ ดวง ย่อมเกิดในอากาสานัญจายตนภูมิ ๑ โดย ความเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต

๒. วิญญานัญจายตนวิบาก ๑ ดวง ย่อมเกิดในวิญญานัญจายตนภูมิ ๑ โดย ความเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต

๓. อากิญจัญญายตนวิบาก ๑ ดวง ย่อมเกิดในอากิญจัญญายตนภูมิ ๑ โดย ความเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต

๔. เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก ๑ ดวง ย่อมเกิดในเนวสัญญานาสัญญา ยตนภูมิ ๑ โดยความเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร