วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 05:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2013, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCA9EOT7A.jpg
imagesCA9EOT7A.jpg [ 14.66 KiB | เปิดดู 6342 ครั้ง ]
ผัสสะ แปลว่า ความสัมผัส คือ การกระทบกันระหว่างอายตนะภายใน กับอายตนะภายนอก และวิญญาณ
ได้แก่ สิ่ง ๓ สิ่งมาประชุมพร้อมกันจึงเรียกว่าผัสสะ ผัสสะจึงมี ๖ อย่าง คือ
๑. สัมผัสทางตา จึงเรียกว่า จักขุสัมผัสสะ
๒. สัมผัสทางหู จึงเรียกว่า โสตสัมผัสสะ
๓. สัมผัสทางจมูก จึงเรียกว่า ฆานสัมผัสสะ
๔. สัมผัสทางลิ้น จึงเรียกว่า ชิวหาสัมผัสสะ
๕. สัมผัสทางกาย จึงเรียกว่า กายสัมผัสสะ
๖. สัมผัสทางใจ จึงเรียกว่า มโนสัมผัสสะ
ทั้ง ๖ อย่างนี้ เรียกว่าผัสสะ แต่ละอย่างจะต้องมีธรรม ๓ ประการมาประจวบพร้อมกัน
เช่นว่า จักขุปสาท + รูป + วิญญาณ จึงจะเรียกว่าผัสสะ แต่ถ้าว่าจักขุปสาทกระทบกับรูปเฉยๆ
ซึ่งไม่มีวิญญาณมาร่วมด้วย ก็ไม่เรียกว่าผัสสะ ก็เป็นเพียงอายตนะไป ทวารอื่นๆก็ในทำนองเดียวกัน
ผัสสะนี้ว่าโดยองค์ธรรมก็ได้แก่ ผัสสะเจตสิก ผัสสะทั้ง๖ อย่างนี้เป็นปัจจัยให้แก่เวทนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2018, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-4369.jpg
Image-4369.jpg [ 40.24 KiB | เปิดดู 5421 ครั้ง ]
สภาวธรรมใดถูกต้อง เหตุนั้น สภาวธรรมนั้นจึงชื่อว่า ผัสสะ
ผัสสะนี้นั้น มีการถูกต้องเป็นลักษณะ มีการทำให้ กระทบกันเป็นกิจ
มีการร่วมกันเข้า(แห่งจิตกับอารมณ์)เป็นผล มีอารมณ์ที่มาปรากฏ(แห่งจิต)เป็นเหตุใกล้

จริงอยู่ผัสสะนี้เป็นอรูปธรรม ก็ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ด้วยอาการ(ดุจ)
ถูกต้อง(จึงว่ามีการถูกต้องเป็นลักษณะ) อนึ่ง ผัสสะนั้นแม้ไม่ติดอยู่(ที่ไหน)สักแห่ง
ก็ยังจิตและอารมณ์ให้กระทบกันได้ ดังรูปกระทบจักษุ และเสียงกระทบหู
ฉะนั้น(จึงว่ามีการกระทบกันเป็นกิจ)ชื่อว่ามีความร่วมกันเข้ากันเป็นผล

เพราะปรากฏด้วยอำนาจเหตุของตนกล่าวคือติกสันนิบาต(ความร่วมกันเข้าแห่งธรรม ๓ คือ
อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาน)
ชื่อว่ามีอารมณ์ที่มาปร่กฏเป็นเหตุใกล้ เพราะเกิดขึ้นในอารมณ์
ที่สมันนาหาร(การประมวลความคิด)อันได้แก่ผัสสะนั้นและอินทรีย์ด้วย(ช่วยกัน)
แต่งให้โดยไม่มีระหว่างที่เดียว ว่าโดยความเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
ผัสสะนี้ บัณฑิตพึงเห็นเป็นดังโคที่ไม่มีหนังหุ้มหนังเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2024, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติใดที่เสวยอารมณ์ ธรรมชาตินั้นแหละชื่อว่า เวทนา คือความรู้สึกใน
อารมณ์นั้น
ความรู้ในอารมณ์ หรือ การเสวยอารมณ์ที่ชื่อว่า เวทนานี้ กล่าวโดยลักษณะ
แห่งการสวยอารมณ์ ก็มี ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา
กล่าวโดยประเภทแห่งอินทรีย์ คือเความเป็นใหญ่ในการมอารมอารมณ์ ก็มี ๕ คือ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา และ อุเบกขาเวทนา

กล่าวโดยอาศับทวาร คือ อาศัยทางที่ให้กิดเวทนาตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทที่
กำลังกล่าวถึงอยู่ในขณะนี้ ก็มี ๖ คือ เวทนาที่เกิดทางจักขุ ทางโสตะ ทางฆานะ ทางชิวหา
ทางกายและทางใจ

เวทนาที่กิดทางจักขุที่เรียกว่า จักขึสัมผัสชาเวทนา, เกิดทางโสตะที่รียกว่า โสต-
สัมผัสชาเวทนา, เกิดทางฆานะที่เรียกว่า ฆานสัมผัสสชาเวทนาและเกิดทางชิวหาที่เรียก
ชิวหาสัมผัสชาเวทนา รวม ๔ ทางนี้เป็นอุเบกขาเวทนาแต่อย่างดียว
เวทนาที่เกิดทางกายที่เรียกว่า กายสัมผัสชาเวทนานั้น เป็นวทมา หรือ ทุกข
เวทนา อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างนี้เท่านั้น คือถ้ากายได้สัมผัสถูกต้องกับอิฏฐโผฏ
ฐัพพารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดี ก็เป็นสุขเวทนา แต่เมื่อกายให้รับถูกต้องกับอนิฏฐโผฏฐัพพารมณ์
คือ อารมณ์ที่ไม่ดี ก็เป็นทุกขเวทนา
ส่วนเวทนาที่เกิดทางใจที่เรียกว่า มโนสัมผัสสชาเวทนานั้น เมื่อได้เสวยอารมณ์ที่ดีที่
เรียกว่า อิฏฐารมณ์ ก็มีความชื่นชมยินดีทางใจ เป็นโสมนัสเวทนา แต่ถ้าได้เสวยที่
ไม่ดีที่เรียกว่า อนิฏฐารมณ์ ทางธรรมถือว่ามีความอาพาธทางใจ จึงได้ชื่อว่าเป็นโทมนัส
เวทนา หากว่าได้เสวยอารมณ์ที่เป็นปานกลางที่เรียกว่ามัชฌัตตารมณ์ ก็มีความเฉลียวฉลาด ๆ ไม่
ถึงกับเกิดความชื่นชมยินดี จึงได้ชื่อว่าเป็น อุเบกขาเวทนา

เวทนาทั้ง ๖ ที่กล่าวในบทนี้ หมายเฉพาะเวทนาที่ประกอบกับโลกียวิปากวิญญาณ
๓๒ เท่านั้น โดยถือสืบเนื่องมาจากวิปากวิญญาณ คือจิตที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของสังขาร
โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ นี้ ก็มีเวทนาที่เกิดร่วมได้ด้วยเพียง ๔ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
โสมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนาเท่านี้ ไม่มีโทมนัสเวทนาด้วย

ผัสสะ กับ เวทนา ต่างก็เป็นเจตสิกเหมือนกัน และประกอบกับจิตร่วมกันพร้อมกัน
ถึงกระนั้นต่างก็เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันได้ด้วยอำนาจแห่งสหชาตปัจจัย และ อัญญบัญญัญปัจจัย
ในทำนองเดียวกับจิตและเจตสิก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบท นานรูปเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้น
ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่ผัสสะ
ในบทผัสสะเป็นปัจจัยแก่เวทนานี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้วก็เป็นไปได้ด้วย
อำนาจแห่งปัจจัย ๘ คือ
๑. สหชาตปัจจัย ๒ฺ อัญญมัญญปัจจัย. ๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย. ๕. อาหารปัจจัย ๖. สัมปยุตตปัจจัย
๗. อัตถิปัจจัย. ๘. อวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2025, 20:16 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2538

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร